คุณธรรมจริยธรรมของครูตามหลักศาสนาอิสลาม


ครูต้องประพฤติและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีอยู่เสมอ

         หลักธรรมในศาสนาอิสลามเผยแพร่โดยศาสดามูฮัมมัด และมีคัมภีร์อัล-กุรอานเป็นคัมภีร์ทางศาสนา หลักธรรมพื้นฐานของศาสนาอิสลาม ที่ปรากฏในคัมภีร์ที่มุสลิมต้องเรียนรู้และปฏิบัติ โดยเฉพาะบุคคลที่เป็นครูจะได้รับการยกย่อง ครูจึงต้องประพฤติและปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีอยู่เสมอ หลักธรรมคำสอนของศาสนาอิสลามประกอบด้วยหลักการใหญ่ ๆ 3 หลัก คือ.

           1. หลักศรัทธา ( อัล – อีมาน ) มี 5 ประการ ซึ่งมุสลิมจะเว้นอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ ได้แก่

               1.1 ศรัทธาในพระเจ้า คือ ศรัทธาว่ามีพระเจ้าองค์เดียว มีพระนามว่า"อัลลอฮฺ"

               1.2 ศรัทธาในบรรดามลาอิกะฮฺ คือ ศรัทธา ว่ามีมลาอิกะฮฺ จำนวนมากเป็นเทพผู้รับใช้ของอัลลอฮฺ

               1.3 ศรัทธาตอ่ บรรดาคัมภีร์ของอัลลอฮฺที่ได้ประทานแกศ่าสดาต่า ง ๆ ของพระองค์

                1.4 ศรัทธาต่อบรรดาศาสดาต่าง ๆ ที่พระองค์ทรงแต่งตั้งเพื่อสั่งสอนมนุษย์

                1.5 ศรัทธาต่อกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่อัลลอฮฺกำหนดไว้

            2. หลักปฏิบัติ ( อัล – อิสลาม ) มี 5 ประการ ที่มุสลิมต้องปฏิบัติเท่าเทียมกัน ได้แก่

                  2.1 การปฏิญาณตนว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮฺ และปฏิญาณว่า มูฮัมมัดเป็นศาสนฑูตของอัลลอฮฺ

                  2.2 การละหมาด ( การนมัสการอัลลอฮฺ ) วันละ 5 เวลา ตามที่กำหนด

                  2.3 การจ่ายซะกาต ( ทานบังคับของศาสนา ) แก่คน 8 ประเภท

                  2.4 การถือศีลอดในเดือนรอมฎอนเป็นเวลา 1 เดือน ทุกปี

                  2 5 การไปประกอบพิธีฮัจญ์ที่เมืองเมกกะฮ์ ประเทศซาอุดิอาระเบียสักครั้งหนึ่งในชีวิต หากมีกำลังกายกำลังทรัพย์เพียงพอ และไม่มีอุปสรรคในการเดินทาง

               3. หลักจริยธรรม ( อัล – อิฮฺศาน ) มีหลายประการ กล่าวโดยสรุป คือ “ จริยธรรมอันสูงสุด คือ การที่เรากระทำความดีตามคำสั่งของอัลลอฮฺ อธิบายว่าเป็นเหมือนเราเห็นพระองค์เพราะถึงแม้ว่าไม่เห็นพระองค์ แต่พระองค์ทรงเห็นเราตลอดเวลา ” หลักจริยธรรมที่มาจากคัมภีร์อัลกุรอานและอัล - หะดิษ ซึ่งมีทั้งสิ่งที่สั่งให้ปฏิบัติ สิ่งที่ห้ามปฏิบัติ สิ่งที่ควรปฏิบัติและสิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ จริยธรรมเหล่านี้ กล่าวถึงหน้าที่ของบุคคลต่อพระเจ้า หน้าที่ของผู้รู้ ของผู้ไม่รู้ ของลูก ของพ่อแม่ ของเพื่อน ของสามี - ภรรยาของผู้นำ ของประชาชน ของครูและของศิษย์ เป็นต้น การประพฤติปฏิบัติตนในทางที่ควรต้องมีสัจจะ มีเมตตา ห้ามคดโกง ให้ถ่อมตน ห้ามขโมย ห้ามรับสินบน ห้ามรับดอกเบี้ย ห้ามดื่มสุรา ห้ามผิดและค้าประเวณี ฯลฯ ข้อห้ามที่ร้ายแรงที่สุด คือ การยกย่องกราบไหว้วัตถุสิ่งของหรือบุคคลเท่าเทียมกับอัลลอฮฺหรือควรคู่กับอัลลอฮฺ

               การนำหลักธรรมทางศาสนาอิสลามของพระเจ้าสู่การปฏิบัติ ซึ่งเป็นหลักธรรมที่ผู้สอนนำมาเผยแพร่ เพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี รักสันติ รักความสงบ มีความเสียสละและเป็นมิตรกับคนทั่วไป ครูเป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการสื่อสารหลักธรรมของพระเจ้าและต้องเป็นแบบอย่าง ในการปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนนั้นด้วย ศาสนาอิสลามให้ความสำคัญต่อการศึกษา และถือว่าเป็นหน้าที่สำหรับมุสลิมทุกคน ทุกคนจะต้องศึกษาตลอดชีวิต เพราะการศึกษาหลักธรรมคำสอนของศาสนาอิสลาม กล่าวถึง ระบอบของการดำเนินชีวิตมีคำสอนหลากหลายต่อการดำเนินชีวิตของมุสลิมในแต่ละวัน เพราะแต่ละชีวิตจะมีหน้าที่รับผิดชอบต่อพระเจ้าอยู่ตลอดเวลา ตามที่ปรากฏในอัล-กุรอาน (กนกวรรณ จิตต์สุภาพ, 2542,หน้า 30 -32) ดังนี้

                                “ จงอ่านด้วยพระนามของพระผู้เป็นเจ้าของเจ้า

                                   ผู้ทรงสร้างมนุษย์มาจากก้อนเลือด

                                   จงอ่านและพระผู้อภิบาลของเจ้า ผู้ทรงเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ยิ่ง

                                   ผู้ทรงสอนให้เขียนด้วยปากกา

                                   ผู้ทรงสอนมนุษย์ให้รู้ในสิ่งที่เขาไม่รู้...”

                ในศาสนาอิสลามครูมีบทบาทและมีความสำคัญยิ่ง (กนกวรรณ จิตต์สุภาพ, 2542, หน้า 30 – 32) มีคำกล่าวว่า “...อัลลอฮฺ ( พระเจ้า ) จะทรงยกย่อง ผู้ศรัทธาและผู้ศึกษาหาความรู้ไว้ในตำแหน่งที่สูง ” ผู้ที่กล่าวความรู้ออกมาเท่ากับเขาได้สรรเสริญพระเจ้า ผู้ใดเผยแพร่ความรู้เท่ากับเขาได้บริจาคทาน ผู้ที่สอนความรู้ ทำการเคารพภักดีต่อพระเจ้า และผู้ใดแสวงหาความรู้ เท่ากับเขากำลังอยู่ในหนทางของพระเจ้า ในสังคมมุสลิมอาชีพครูเป็นอาชีพมีเกียรติ เป็นอาชีพที่ต้องอาศัยการเสียสละ อุทิศตนเองเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ซึ่งสืบทอดมาจากการปลูกฝังคำสอนของอิสลามมาอย่างต่อเนื่อง ผู้นับถือศาสนาอิสลามได้ให้ความสำคัญ และยกย่องครูไว้ในตำแหน่งที่สูงเป็นปูชนียบุคคลเช่นกัน

อ้างอิง

กนกวรรณ จิตต์สุภาพ. (2542).  การตอบสนองนโยบายการพัฒนาข้าราชการครู ของครูโรงเรียน  เอกชนสอนศาสนาอิสลาม : ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอสายบุรีสายบุรี จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

หมายเลขบันทึก: 323570เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2009 07:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของท่านทั้งที่อยู่ในสมณเพศ  แต่ท่านยังศึกษาถึงกฎเกณฑ์ศาสนาอิสลาม ในฐานะมุสลิมคนหนึ่ง  พร้อมที่จะเป็นกัลยาณมิตรของท่านเพื่อการเรียนรู้ที่จะอยู่ด้วยกันอย่างสันติวิธี  สงบ ไม่ระรานซึ่งกันและกัน  

"หลักศรัทธา ( อัล – อีมาน ) มี 5 ประการ"

ขอชี้แจงเพื่อความเข้าใจและแก้ไขให้ถูกต้อง

หลักศรัทธา ( อัล – อีมาน ) มี 6 ประการ

1. ศรัทธาในพระองค์เดียว คือ อัลลอฮ์ ไม่ใช่พระอ้าหล่าอิสลามถือว่าในสากลจักรวาลทั้งหลายมีพระเจ้าที่เที่ยงแท้เพียงองค์เดียวเป็นผู้สร้างสากลจักรวาลและเป็นผู้บริหารควบคุม โลกนี้มิใช่เกิดมาโดยบังเอิญถ้าเกิดโดยบังเอิญมันจะมีระเบียบแบบแผนในการโคจรไม่ได้โลกและดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ได้หมุนโคจรอย่างมีระบบรักษาตำแหน่งหน้าที่ของมันอย่างคงเส้นคงวานับเป็นเวลานานไม่รู้กี่ล้านปีโดยที่มันไม่เคยได้ชนกันเลยนี่ต้องแสดงว่ามีผู้บริหารและต้องมีผู้ควบคุมมัน

2. ศรัทธาในบรรดามลาอีกะฮ์ของพระองค์ มลาอีกะฮ์ คือผู้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางระหว่างพระผู้เป็นเจ้ากับศาสดาทั้งหลายเพื่อจะได้ให้ศาสดาดังกล่าวได้เข้าถึงอัลลอฮ์มนุษย์เราแม้จะมีปัญญาสักปานใดก็ต้องอาศัยสื่อภายนอกด้วยเหมือนกันเช่นมนุษย์นั้นแม้จะมีสายตาดีสักเพียงใดก็ตามเขาก็ไม่สามารถมองเห็นวัตถุใด ๆได้เลยถ้าหากไม่มีแสงสว่างเป็นสื่อคำว่ามลาอีกะฮ์หาคำศัพท์แปลเป็นภาษาไทยไม่ได้มลาอีกะฮ์ เป็นนามธรรมไม่ใช่เทวทูต, เทวดา, ทูตสวรรค์แต่ในศาสนาอิสลามถือว่ามลาอีกะฮ์ไม่มีเพศไม่ขัดขืนคำสั่งของอัลลอฮ์ไม่กิน ไม่ดื่ม ไม่หลับไม่นอนมลาอีกะฮ์ คืออำนาจแห่งความดีส่วนอำนาจแห่งความชั่วนั้น คือชัยตอน หรือซาตานหรือมาร นั่นเองดังนั้น มลาอีกะฮ์จึงไม่ใช่เทวดาและนางฟ้า

3. ศรัทธาในบรรดาคัมภีร์ทั้งหลายของพระองค์ มุสลิมต้องเชื่อถือต้นฉบับเดิมของคัมภีร์ทั้งหลายทุกๆเล่มในอดีตรวมทั้งอัล-กุรอานด้วยทั้งนี้โดยมีเงื่อนไขว่าคัมภีร์เหล่านั้นต้องเป็นวะฮีย์ (ได้รับการดลใจ)มาจากอัลลอฮ์และต้องมีเนื้อหาสาระตรงกับอัล-กุรอานมุสลิมต้องเชื่อถือในส่วนบริสุทธิ์ของคัมภีร์เท่านั้นอิสลามถือว่าคัมภีร์ที่สมบูรณ์ที่สุดและเป็นคัมภีร์สุดท้ายคือคัมภีร์อัล-กุรอาน ไม่ว่าศาสดาเหล่านั้นจะปรากฎชื่ออยู่ในคัมภีร์อัล-กุรอานหรือไม่ก็ตามไม่ว่าศาสดาเหล่านั้นจะเป็นชนชาติใดอยู่ที่ไหนพูดภาษาอะไรก็ตามมุสลิมต้องให้เกียรติยกย่องบรรดาศาสดาเหล่านั้นอย่างเท่าเทียมกันหมดศาสดามุฮัมมัด เป็นศาสดาสุดท้ายของโลกที่มารับภารกิจต่อจากศาสดาก่อนๆที่เชิญชวนมนุษย์ให้รู้จักพระเจ้าและดำเนินชีวิตตามคำสอนของพระองค์ศาสดามุฮัมมัด ได้กล่าวว่าหลังจากท่านแล้วจะไม่มีศาสดาเกิดขึ้นมาอีกเพราะถือว่าท่านได้นำคำสอนหรือแนวทางแห่งการดำเนินชีวิตที่สมบูรณ์มาสู่มนุษยชาติแล้ว

4. ศรัทธาในบรรดารอซูลของพระองค์ บรรดารอซูลที่สำคัญมี 25 ท่าน ท่านนาบีอาดำ เป็นรอซูลท่านแรกของพระองค์ และท่านนาบีมูฮัมหมัด (ซล.) เป็นรอซูลท่านสุดท้าย

5. ศรัทธาในวันสุดท้ายและการเกิดใหม่ในวันปรโลก อิสลามถือว่าโลกที่เราอาศัยอยู่นี้เป็นเพียงวัตถุธาตุชิ้นหนึ่งซึ่งต้องมีการแตกสลายเหมือน ๆกับวัตถุหรือสิ่งอื่น ๆแน่นอนโลกของเราต้องถึงจุดจบไม่วันใดก็วันหนึ่งเมื่อโลกแตกสลายแล้วทุกสิ่งทุกอย่างก็ดับสิ้นนอกจากอัลลอฮ์เท่านั้นที่ยังดำรงอยู่และมนุษย์ทั้งหลายก็จะไปเกิดใหม่อีกครั้งแต่จะไปเกิดสภาพใดนั้นไม่มีมนุษย์ผู้ใดรู้ได้การเกิดใหม่อีกครั้งนี้ก็เพื่อที่จะให้มนุษย์รับผลตอบแทนตามที่เขาได้กระทำไว้เมื่อครั้งที่เขายังมีชีวิตอยู่ผลงานของเขาในโลกนี้จะเป็นตัวกำหนดว่าเขาจะเป็นผู้ได้รับสวรรค์หรือนรกไม่มีใครช่วยใครได้ไม่มีการกลับชาติมาเกิดถ้าเราไม่เชื่อในเรื่องการเกิดใหม่แล้วสังคมของเราก็จะสับสนปั่นป่วนวุ่นวายหาความสงบสุขไม่ได้ดังเช่น พวกอรับในยุคญาฮีลียะฮ(ยุคแห่งความโง่เขลา งมงาย)ซึ่งเชื่อว่าเมื่อพวกเขาเกิดมาแล้วก็ตายไปคือ ตายแล้วสูญเหมือนดังสัตว์อื่น ๆความดีความชั่วที่เขาได้กระทำมานั้นไม่มีการตอบแทนใดๆ ทั้งสิ้น ดังนั้นพวกเขาจึงใช้ชีวิตความเป็นอยู่ไปในทางชั่วช้าทุกรูปแบบจนสร้างความเสียหายปั่นป่วนให้แก่สังคมเป็นอย่างยิ่ง

6. ศรัทธาในกฎกำหนดสภาวะของพระองค์ คือต้องศรัทธาว่าสรรพสิ่งทั้งหลายในสากลจักรวาลนี้ล้วนเกิดขึ้นมาและดำเนินไปตามกฎเกณฑ์ของอัลลอฮ์ทั้งสิ้นเช่น ไฟมีคุณสมบัติร้อนน้ำไหลลงจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำแพะ แกะ วัว ควาย สุนัขออกลูกเป็นตัว นก เป็ด ไก่ออกลูกเป็นไข่ต้นมะม่วงต้องออกลูกเป็นมะม่วงต้นกล้วยจะออกลูกเป็นแอปเปิ้ลไม่ได้ทุก ๆ ชีวิตต้องตายนี่คือกฎกำหนดสภาวะของอัลลอฮ์หมายความว่ากฎธรรมชาติทั้งหลายนั้นอัลลอฮ์เป็นผู้ทรงสร้างและควบคุมมันส่วนการกำหนดสภาวะในหลักจริยธรรมความดี- ความชั่วนั้นพระองค์จะเป็นผู้บอกเราเองว่าอะไรคือความดีและอะไรคือความชั่วแต่สิ่งที่ใช้วัดความดีความชั่วนั้นในอิสลามถือว่ามันไม่ได้มาจากมติบุคคลหรือมติของมหาชนมิได้อาศัยขนบธรรมเนียมประเพณีหรือความนิยมหรือสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องกำหนดเพราะถ้ามนุษย์เป็นผู้กำหนดความดีความชั่วแล้วมาตรฐานความดีของมนุษย์ก็จะแตกต่างกัน


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท