ยูยินดี
นาย นายธรรมศักดิ์ ช่วยวัฒนะ

การเตรียมความพร้อมก่อนการทำการทดลองวิทยาศาสตร์สำคัญต่อมโนมติสุดท้ายของผู้เรียน


ครูก็ต้องเปิดโอกาสท้าทายการทดลอง

 

การพัฒนาปรับปรุงรูปแบบปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์สำหรับผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้สอดคล้องกับธรรมชาติวิทยาศาสตร์และผสานกระบวนการอยากรู้อยากเห็นเพื่อการสื่อสารหรือส่งทอดองค์ความรู้ เป็นการนำเอาวิถีของ Naturalist Inquiry และ Nature of Science

  ดังแผนภาพ

บนความสับสนและความยุ่งยากถึงแม่กระบวนการจัดการเรียนเรียนรู้จะดำเนินไปตามที่กำหนดของครูและผู้เรียน ข้อจำกัดหนึ่งที่รูปแบบการเรียนรู้แบบ Elc ใช้เกิดปัญหาด้านความเข้าใจในมดนมติ Concept กลายเป็นปัญหาด้านพุทธพิสัย เป็นไปได้ใหม ที่กระบวนการบางปฏิบัติการอาจใช้เวลาที่นานกว่าที่ผู้เรียนจะได้รับมโนมติที่ถูกต้อง(มโนมติ หมายถึง องค์ความรู้ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติการนั้น ๆ ) ส่วนความรู้ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติการเป็นผลพลอยได้ที่มีค่า เช่น

        ผู้เรียนทดลองเรื่อง สมบัติการละลายของสาร เกลือ NaCl จากปัญหาที่ผู้เรียนได้รับรู้ในเบื้องต้น ว่าเกลือเป็นของแข็งละลายน้ำได้หรือไม่ ในรูแบบการเรียนรู้ของECL ได้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เตรียมเกลือมาด้วยตนเอง ในวันที่ทำการทดลองเรื่อง แต่ละกลุ่มที่ได้รับมอบหมายนำเกลือรูปแบบต่าง ๆ มาเช่น เกลือป่นบดละเอียด เกลือแกง เกลือทะเล เกลือเกร็ดแผ่น เป็นต้น

     การควบคุมปฏิบัติการทดลองทั้งครูและผู้เรียนจะประสบปัญหาด้านปัจจัยของตัวแปรเกลือต่างชนิดกัน เพราะแท้จริงการที่จะกำหนดให้ท้องถิ่นแต่ละแห่งนำเกลือชนิดเดียวกัน เครื่องหมายการค้าเดียวกัน ก็เท่ากับการจำกัดการเรียนรู้ ครูผู้ออกแบบจึงจำเป็นต้องมีกรอบปฏิบัติการอย่างกว้าง ๆ

    เริ่มต้นที่ผู้เรียนอาจจะมีมโนมติอยู่บ้าง หรือไม่มีเลย หรือ เป็นอคติ ปัญหาที่นอกเหนือความสนใจของผู้เรียนถูกจำกัดความสนใจ แต่ครูก็ต้องเปิดโอกาสท้าทายการทดลอง ด้วยคำกล่าวที่ว่า "ไม่แน่เกลือกลุ่มที่เธอนำมาอาจจะละลายได้ดีกว่ากลุ่มอื่น ๆ " ความอคติต่อปฏิบัติการก็จะลดลงเรื่อย ๆ หากผู้เรียนเริ่มมีความสุข ที่ได้ปฏิบัติการสนองต่อความสนใจ ที่แผนภาพแบ่งเป็นส่วนใกล้ตัวผู้เรียนและห่างตัวผู้เรียน

    ทักษะการวัดการตวงของการดำเนินการปฏิบัติการล้วนแต่มีจุดที่น่าสงสัย บนความต่าง ขององค์ประกอบภายในห้องปฏิบัติการ  แต่การควบคุมControl จึงต้องดำเนินอย่างมีทิศทาง กระบวนการที่จะพิจารณาคำตอบของปัญหา ในเชิงสมมุติฐาน จะเป็นการช่วยให้การออกแบบการทดลอง พิสูจน์ หรือตรวจสอบ เป็นไปอย่างน่าเชื่อเถือ ตามข้อจำกัดด้าน เครืองมือ อุปกรณ์ ความพร้อมและศักยภาพของผู้เรียน

   ขั้นตอนการสร้างมโนมติเพื่อส่งกลับมายังผู้เรียนเกิดด้วยกระบวนการของผู้เรียนเอง มาผสนานด้วยกระบวนการสื่อสารกันภายในกลุ่ม และการแลกเปลี่ยนระหว่างกลุ่มของการนำเสนอ(Presentation) 

   พฤติกรรมการเรียนรู้ที่แสดงออกให้ครูผู้ออกแบบหรือผู้สอนได้สังเกตและบันทึกพัฒนาการจึงเห็นได้ชัดเจนในส่วนของทักษะกระบวนการแก้ปัญหาของปฏิบัติการ

   การนำเสนอจึงเป็นการแสดงพฤติกรรมการเรียนรู้ขั้นสร้างสรรค์ โดยการสื่อมโนมติให้ผู้อื่นได้เข้าใจ และภาคภูมิใจต่อผลงาน ส่วนกลุ่มที่ผิดหวังในบางประการก็จะมีแนวทางดำเนินการให้ประสบผลเช่นกลุ่มอื่นต่อไป

   รายละเอียดของแผนภาพยังมีข้อจำกัดบางประการ จึงนำเรียนมาเพื่อขอข้อเสนอแนะตามกรอบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษา ซึ่งเป็นวัยที่มีแววตาแห่งการเรียนรู้และพร้อมที่จะสร้างสรรค์ปฏิบัติการนอกเหนือจาก direction lab ที่มีอยู่ทั่วไปอย่างน่าอัศจรรย์

 นายยินดี

คำสำคัญ (Tags): #elc
หมายเลขบันทึก: 319162เขียนเมื่อ 9 ธันวาคม 2009 17:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

การเตรียมการเป็นส่วนสำคัญของ inquiry

วงกลมดังกล่าวเปรียบได้สมองของผู้เรียน 1 คน

อ.นิดา สะเพียรชัย ผู้บุกเบิกและนำ การสืบเสาะเข้ามาใช้ ที่พยามบอกถึงความต่างของการสืบเสาะ กับการหาความรู้ ถึงเวลาที่จะยกเลิกหรือปรับการสืบเสาะแบบ 5E ที่ E Engagement ไม่ใช่เฟืองจักร แต่เป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ เปรียบได้กับภาษาที่ใช้คำว่า Protocal ที่เป็นแรงผลัก ไม่ใช่สนันสนุน ในการไปสู่งที่ทางที่กำหนดอย่างแน่นนอน และวัดได้

เมื่อธรรมชาติของการสืบเสาะ ที่เกิดจากปรัชญาตะวันตก แต่จากปัญหาการสืบเสาะไม่สามารถเดินทางร่วมกับวิทยาศาสตร์ที่อยู่ภายใต้กรอบศาสนา จึงทำให้ คำว่า Naturalist Inquiry ที่ โสเครติส ใช้มันอย่างเป็นเหตุเป็นผล กว่า 2000 ปี มาแล้วที่ หยุดในโลกมืด ธรรมชาติของความอยากรู้อยากเห็นไม่ว่าคนหรือสัตว์ต่างก็มีสิ่งที่คล้าย ๆ กัน ทำไมต้องเอาปัจจัยอื่นมาบดบัง เนื่องจากผลประโยชน์ของผู้ที่มีอานาจเหนือการเรียนรู้

ผมไม่อยากเห็นประเทศไทยมีวิทยาศาสตร์ที่ถูกครอบงำ การที่คนทำหรือประพฤติในสิ่งที่ไม่ดี พอให้ชี้แจงอย่างเป็นเหตุเป็นผล กับอ้ำอึ่ง ถ้าคนไม่รู้ด้วยเขลาก็จะตอบตรงไปตรงมา แต่คนที่รู้ ฉลาดรู้อยู่แก่ใจ จึงหาทางเลี่ยง

ความอึดอัดจากข้อจำจัดได้ถูกก้าวผ่าน ด้วยปรัชญาแห่งการพึ่งตน ครูวิทยาศาสตร์ไม่ควรคอย ด้วยกระบวนการที่เป็นธรรมชาติ ผมเชื่อมั่นว่าครูทำได้ เมื่อครูทำได้ นักเรียนก็ย่อมทำได้บนข้อจำกัดนั้น ๆ เช่นกัน

ประเภทและรูปแบบการสืบเสาะ เป็นกระบวนการที่ผสนานความสามารถทางการสื่อสาร กระบวนการ และจิตวิญญาณอย่างแท้จริง ดังที่ประพุทธองค์ ทรงใช้กระบวนการสืบเสาะแห่งการบรรลุนิพาน เรามีแบบอย่างที่มีมามากว่า 2500 ปี คำกล่าวคำสอนยังประจักษ์ แล้วใยต้องพึ่งปรัชญาตะวันตก ที่รอผลการวิจัยสนันสนุนอยู่อีก เราควรพัฒนาปรัชญาที่สอดรับกับวิถีของเราจะดีกว่า

ขอบคุณภาพสวย ๆ สุขใจเช่นกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท