ธรรมฐิต
พระ(มหา) วิชิต ชิต สมถวิล(ฐิตธมฺโม)

แม้มีแผนที่ก็ยังหลงทาง


เช้านี้แสงสุรีย์สาดส่องอย่างเจิดจ้าน่าเชยชม

คล้ายๆต้องการจะมุ่งหน้าเดินทางสู่ความปรารถนา  ที่อยากจะไขว่คว้า

เฉกเช่นเราในโลกโดยมากมีความปรารถนา  ทะเยอทะยาน  หลากหลาย

แต่ทว่าบางคนยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตนเองปรารถนาวาดฝันอะไร

ความไม่แน่นอนเป็นกฎเกณฑ์ของชีวิตอย่างหนึ่งที่เราต้องพึงตระหนักรู้

เราเดินทางไปไหนสักแห่งหนึ่งกางแผนที่ไปพลาง

พอไปไม่ถูกโทร.ถามเพื่อนว่าจะขับรถไปทางไหน

เมื่อเพื่อนถามกลับว่าอยู่ตรงไหนแล้ว  กลับบอกไม่ได้ว่าตัวเองอยู่ตรงไหน

แผนที่ในกำมือก็คือกระดาษที่ไร้ค่าดีๆนี่เอง

แต่ละคนมุ่งเดินทางสู่เป้าหมายที่ปรารถนาไว้โดยกำแผนที่ไว้ในมือ

แต่บางคนยังไม่รู้ว่าที่ๆตัวเองยืนอยู่  มันคือส่วนไหนของแผนที่

แล้วแผนที่จะมีประโยชน์อะไรละใช่ใหม

สำหรับบางคนการเรียนรู้บางอย่างในชีวิตมันช่างเจ็บปวดเกินคณานับ

และการที่ยอมรับความเป็นจริงในสิ่งที่เกิดขึ้นก็อาจจะทำใจให้ปวดร้าวได้เช่นกัน

แต่ทว่าสิ่งเหล่านี้แหละเปรียบเสมือนปุ๋ยที่จะทำให้เราเติบโตได้อย่างงดงาม

เมื่อเราเลือกจะทำอะไรแล้วก็จงยอมรับผลของมันให้ได้

ความงดงามในชีวิตก็จะมาเยือนเราเอง

 

ดอสเตอยัฟซกี้  นักประพันธ์ลือนามของรัสเซียกล่าวไว้น่าฟังว่า..

...มนุษย์เราไม่ว่าจะเป็นใคร  เมื่อไหร่  และที่ไหน

ต่างพอใจที่จะกระทำตามหนทางที่ตนเองเลือก

มากกว่าจะฟังคำสั่งและเหตุผล.........

ธรรมะสวัสดีขอรับ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ธรรมฐิต
หมายเลขบันทึก: 305720เขียนเมื่อ 14 ตุลาคม 2009 07:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 14:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)

นมัสการพระคุณเจ้า

  • พี่ครูคิมมีแผนไปหาดใหญ่เช้าวันนี้ค่ะ
  • ตอนนี้กำลังรอรถ...มารับค่ะ
  • จะแวะไปนมัสการกราบท่าน เจ้าค่ะ

Pตอนนี้พี่ครูอยู่ที่ไหนละ..แล้วมาถูกหรือเปล่าละ

กราบนมัสการยามเช้าเจ้าค่ะ...

แผนที่เนี่ย เค้าก็ไม่ยักกะทำให้มันสำเร็จรูปเหมือน GPRS นะคะ

จะได้รู้ว่าอยู่จุดไหนแถมยังมีคนบอกว่าให้เดินไปทางไหนอีก...สะดวกสบายกว่าแผนที่แยะ..(แต่ไม่สนุก)

ว่าแต่แล้วเราจะทราบได้อย่างไรล่ะเจ้าคะ ว่าเราอยู่ตรงไหนของแผนที่?

Pขออนุโมทนาขอรับอาจารย์

Pคนเราโดยมากชอบอะไรที่มันสำเร็จรูป..

ทุกวันนี้หนุ่มๆสาวเลยทำกับข้าวไม่เป็นก็เพราะอย่างนี้แหละ

แม้แต่ธรรมมะก็ต้องการแบบสำเร็จรูป..

หากเราพึงตระหนักรู้อยู่ด้วยสติแม้ไม่มีแผนที่ก็สามารถที่จะเดินไปถึงที่หมายได้..

เรามัวแต่วาดฝันถึงปลายทางแต่ไม่เคยใส่ใจระหว่างทางที่เดิน

แล้วชีวิตแห่งการเดินทางนี้จะสนุกอย่างไรละ..

รึดาวฟ้าว่ายังไง...

นมัสการค่ะ ท่านธรรมฐิต

  • จากหัวข้อทำให้ครูนกคิดถึงตอนเยี่ยมบ้าน...แม้มีแผนที่ก็ยังหลง 
  • แต่เมื่ออ่านข้อความจบ...ก็บอกตัวเองว่าบางทีอารมณ์ก็อยู่เหนือเหตุผล....

พอดีดาวเป็นพวก low technology ค่ะ ใช้พวก GPRS ไปเป็น...แถมยังอ่านแผนที่ไม่ค่อยจะถูก

ในความเห็นของดาว บางครั้งการเดินหลงทางไปบ้าง...ก็ทำให้เราได้รู้อะไรใหม่ๆ เห็นในสิ่งที่ไม่เคยเห็น

อาจจะไม่ใช่เส้นทางทีลัดที่สุด หรือถึงเร็วที่สุด แต่ก็สนุกดี มีความสุขกับการเดินทาง

จะเลือกเดินเส้นทางไหน..เราเป็นคนตัดสินใจด้วยตัวเอง ไม่ต้องมีคนมาคอยบอก

อาจจะช้าบ้าง...ก็คงถึงจุดหมายสักวันเจ้าค่ะ

คงจะเหมือนบันทึกท่านธรรมฐิตที่ว่า "...มนุษย์เราไม่ว่าจะเป็นใคร เมื่อไหร่ และที่ไหน ต่างพอใจที่จะกระทำตามหนทางที่ตนเองเลือก มากกว่าจะฟังคำสั่งและเหตุผล........."

Pหากมีสติเหตุและผลจะอยู่เหนืออารมณ์ขอรับพี่ครูนก..

Pสาธุๆๆสามครั้งเลยเนาะดาวฟ้า..

ชีวิตก็งี้แหละ..

รอลโล่  เมย์  นักจิตวิทยาผู้ลือชื่อของอเมริกันกล่าวไว้น่าฟังว่า..

...ถือว่าเป็นโชคอย่างหนึ่ง  ถ้าผู้ใดประจักษ์แจ้งว่าตนเองก็มีด้านลบไม่ต่างจากผู้อื่น  และอสูรในมุมมืดนั้นก็เป็นได้ทั้งฝ่ายธรรมและอธรรม  จะเสือกใสไล่ส่งมันออกไปก็มิได้  จะอยู่โดยไม่มีมันก็ไม่ได้.......

กราบขอบพระคุณสำหรับแง่คิดเจ้าค่ะ...

คงต้องค่อยๆ ทำความรู้จักเรียนรู้กับอสูรในมุมมืด จะได้รู้ว่าเมื่อใดเค้าจะเป็นฝ่ายธรรมหรือว่าฝ่ายอธรรมเจ้าค่ะ

นมัสการเจ้าค่ะ...หลวงพี่

มีแผนที่อยู่ในมือก็ไร้ประโยชน์ หากตนยังยืนมึนหลงทิศหลงทางอยู่เช่นนั้น...น่าคิดนะเจ้าค่ะ

ขอบพระคุณเจ้าค่ะ

Pก็คงต้องคิดต่อไปนะอาจารย์

ท่านธรรมฐิตเจ้าคะ...

ชักสงสัยเจ้าค่ะว่า การที่เราสาธุ 3 ครั้ง กับสาธุครั้งเดียวเนี่ย...ใช้ในวาระต่างกันอย่างไรคะ?

Pสงสัยอีกแล้ว(ขี้สงสัยจริง)

เรื่องนี้คงยาวแน่ถ้าเล่าแต่มีที่มาที่ไปตามวิถีของชาวอินเดียตอนนี้ก็ยังเป็นอยุ่

ธรรมฐิตก็เคยสงสัยมาแล้วว่าทำไมต้อง

ทุติยัมปิ  ตติยัมปิ

สงสัยสมองคงใหญ่กว่าเมล็ดถั่วแล้วแน่เลย..

สาธุสองครั้ง..

นมัสการครับ

สมัยพุทธการไม่ต้องมีแผนที่ก็ได้

มีเครื่องบินส่งไปถึงที่หมาย ถ้าเจอคนขับเครื่องบินเก่ง ๆ 55

มาสมัยปัจจุบันมีเครื่องบินกลับยังหลงทาง

สาธุครับ

แก้ โง่นิดนึงครับ

สมัยพุทธกาล ครับ บ่ใช่ พุทธการ

30นี่แหละเจษเป็นสิ่งที่เราควรขบคิดว่าเพราะอะไร..

อยู่ปารีสเป็นไงบ้างละ..

ช่วงนี้ผมกำลังจดจ่ออยู่กับการเดินทางของตนเอง

ทั้งในอดีตและปัจจุบัน

ได้อ่านข้อคิดของพระอาจารย์แล้ว ช่วยได้มากครับ

กราบ

นมัสการพระอาจารย์

  • ได้อ่าน ๑๒ บทเรียนของนโรปะ มหาสิทธาผู้กล้าหาญ --อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจนัก ทำให้นึกถึงพระอาจารย์ จึงส่งมาให้ท่านอ่านขอรับ
  • ท่านอ่านแล้ว โปรดชี้แนะเป็นธรรมทานด้วยขอรับ

(กราบ 3 หน)

 

๑๒ บทเรียนของนโรปะ มหาสิทธาผู้กล้าหาญ


...อุปสรรคสำคัญในการก้าวหน้าทางธรรม คือการยึดมั่นในอัตตาตัวตน อันเป็นเรื่องยากที่จะขจัด

มีเรื่องเล่าจากธิเบตเกี่ยวกับท่านนโนปะ*๑ ( Naropa ) ว่าท่านนโรปะเป็นผู้ฝักใฝ่ในพุทธศาสนาตั้ง แต่อายุ ๘ ขวบ ก็เริ่มรู้สึกเบื่อหน่ายความสุขทางโลก จึงเริ่มศึกษาธรรมะในแคชเมียร์ จนจัดได้ ว่าเป็นผู้รอบรู้คนหนึ่ง ต่อมาท่านปรารถนาที่จะออกบวชตลอดชีวิต แต่บิดาไม่อนุญาตและบัง คับให้แต่งงานเพื่อมีทายาทสืบสกุล แต่ในที่สุดเมื่อท่านอายุได้ ๒๕ ปีท่านนโรปะและภรรยาก็ตัด สินใจออกบวช โดยตัวท่านนโรปะได้เดินทางไปศึกษาธรรมเพิ่มเติมที่มหาวิทยาลัยนาลันทา*๒ ( Nalanda University ) ซึ่งท่านได้ศึกษาทั้งพระสูตรและตันตระอย่างรอบด้าน จนได้รับการยกย่องว่าเป็นปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งแห่งนาลันทา และในสมัยนั้นจะมีนักบวชหรือนักปราชญ์ลัทธิต่าง ๆ มาท้าประลองภูมิธรรมกับบัณฑิตของนาลันทา กันจนเป็นประเพณีเลยทีเดียว โดยมีข้อตกลงว่าหากใครเป็นผู้ชนะนั้นจะได้รับการยกย่องเป็นคุรุ ของผู้แพ้และศิษย์ของผู้แพ้ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้บัณฑิตที่เก่งที่สุด ๔ คน จะถูกคัดเลือกให้เป็นผู้ประ จำประตูทั้ง ๔ ทิศของมหาวิทยาลัยนาลันทา เพื่อคอยเป็นผู้ประลองภูมิธรรมกับผู้มาขอท้า โดย ท่านนโรปะได้รับเลือกให้ประจำประตูทิศเหนือ และเป็นผู้ประลองชนะมาโดยตลอด ท่านจึงมีลูก ศิษย์จำนวนมาก ทุกคนต่างพากันยกย่อง แม้แต่ตัวท่านเองก็เชื่อมั่นว่าเป็นปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่ง

*๑ นโรปะ(๑o๑๖-๑๑oo) เป็นอาจารย์คนสำคัญผู้ถ่ายทอดคำสอนสายตันตระทั้งสี่ได้แก่ กายมายา การสืบทอดวิญญาณ(Consciousness) ความฝันและแสงโอภาส และความร้อนภายในแก่คุรุมาร์ปะ ผู้เป็นอาจารย์ของมิลาเรปะที่มีชื่อเสียง
*๒ มหาวิทยาลัยนาลันทา เป็นมหาลัยสงฆ์ที่รุ่งเรืองและใหญ่ที่สุดในอินเดีย แต่ในปัจจุบันได้ถูก ทำลายลงจนหมดแล้ว

จนกระทั่งวันหนึ่ง ขณะที่ท่านกำลังอ่านคัมภีร์คุยหสมาชตันตระ ( Guhya Samaja Trantra ) อยู่นั้น ได้มีหญิงชราที่มีลักษณะอัปลักษณะ ๓๗ ประการปรากฎกายขึ้น และขอให้ท่านนโรปะ อ่านคัมภีร์ให้นางฟัง เมื่อท่านนโรปะเริ่มต้นอ่านคัมภีร์ นางได้แสดงท่าทีมีความสุขมากถึงกับเต้น รำไปรอบ ๆ เมื่อท่านนโรปะเห็นเช่นนั้น ก็รำพึงออกมาว่า

" เพียงแค่ข้าอ่านคัมภีร์ให้นางฟัง นางยังดูมีความสุขถึงเพียงนี้ หากนางรู้ว่าข้าไม่เพียงแต่อ่าน คัมภีร์ออกเท่านั้น ข้ายังสามารถเข้าใจธรรมในคัมภีร์ทั้งหมด นางคงมีความสุขกว่านี้แน่"

ทันใดนั้น นางก็หยุดเต้นและเริ่มร้องไห้ พร้อมกล่าวว่า

" ข้าเสียใจยิ่งนัก ที่ปราชญ์ยิ่งใหญ่อย่างท่านกลับกลายเป็นคนหลอกลวง เพราะข้ารู้ดีว่า ขณะ นี้ในโลกมีเพียงพี่ชายของข้าคือ ติโล เชอรับ ซางโป ( Tilo Sherab Sangpo ) หรือ ติโลปะ *๓ คนเดียวเท่านั้นที่บรรลุธรรมนั้นได้ อย่างถ่องแท้ " จากนั้นนางก็หายตัวไป

เมื่อได้ยินเช่นนั้น ท่านนโรปะจึงตระหนักว่า แท้จริงแล้วหญิงชราก็คือ ฑากินี ผู้มาส่งสาสน์ให้ ท่านเห็นความไม่บริสุทธิ์ ๓๗ ประการของตัวท่านเองผ่านความอัปลักษณ์ ๓๗ ประการของ รูปร่างภายนอกของนาง ดังนั้นท่านจึงเกิดศรัทธาอย่างแรงกล้าที่จะออกค้นหาคุรุติโลปะ เพื่อ ขอกราบเป็นศิษย์ และเมื่อท่านนโรปะเริ่มต้นเดินทางสืบหาคุรุ ท่านก็ได้เผชิญบทเรียนที่เปลี่ยน ชีวิตของท่านไปอย่างสิ้นเชิง

ท่าน Khenpo Chodrak Rimpoche ( เคนโป โชรัก ริมโปเช ) ได้เล่าถึงเส้นทางการค้นหาคุรุของ ท่านนโรปะว่า ท่านนโรปะได้เริ่มต้นการสืบหาด้วยการบำเพ็ญสมาธิจักรสัมวระ( Chakrasamvara) ที่วัดแห่งหนึ่งทางตอนใต้ของอินเดียเป็นเวลา ๖ เดือน จึงมีฑากินีมาบอกให้ท่านออกเดินทางไป ตามทิศตะวันออก ท่านนโรปะจึงมุ่งหน้าเดินทางไปทิศตะวันออกและพบอุปสรรคความยากลำบากมากมาย แต่ท่านก็ยังไม่มีวี่แววเลยว่าคุรุติโลปะอยู่ที่ใด จนกระทั่งวันหนึ่งท่านเดินทางจนหมด เรี่ยวแรงและรู้สึกท้อใจที่จะค้นหาคุรุอีกต่อไป ทันใดก็มีเสียงหนึ่งดังก้องมาจากฟากฟ้าว่า

" มีแต่มารร้ายเท่านั้นที่จะทำการใดด้วยความเกียจคร้าน หากเจ้าไม่อาจขจัดความเกียจคร้าน ในตัวของเจ้าออกไปได้ ไฉนเลยเจ้าจะพานพบคุรุของเจ้า แล้วสู่การรู้แจ้งเสียที "

และนี่คือจุดเริ่มต้นของบทเรียนที่คุรุติโลปะได้สั่งสอนท่านติโลปะ นั่นคือคุณสมบัติข้อแรกของ ผู้ที่จะรู้แจ้งก็คือการละซึ่งความเกียจคร้าน เพราะไม่มีความรู้แจ้งใดจะได้มาด้วยความเกียจคร้าน ดังนั้น ท่านนโรปะจึงตั้งใจเดินทางค้นหาคุรุอีกครั้งหนึ่งด้วยความศรัทธาอย่างแรงกล้า หมั่นภาวนาถึงคุรุติโลปะทุกเช้าค่ำ โดยไม่ย่อท้อตลอดการเดินทาง จนได้พานพบบทเรียนสำคัญ ๑๒ ประการ ที่คุรุติโลปะได้สั่งสอนผ่านเหตุการณ์ต่าง ๆ ก่อนที่ท่านจะยอมปรากฏตัวพบกับท่าน นโรปะ นั่นคือ

บทเรียนที่ ๑

หลังจากที่ท่านนโรปะเริ่มต้นเดินทางอีกครั้งหนึ่งได้ไม่นาน ท่านก็มาถึงทางเท้าแคบ ๆ เส้นหนึ่ง ที่ด้านหนึ่งเป็นหินผา ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นแม่น้ำ เบื้องหน้าของท่านเป็นหญิงป่วยด้วยโรคเรื้อน ขั้นรุนแรงนอนขวางทางเดินอยู่ ตามเนื้อตัวของนางเต็มไปด้วยแผลมีเลือดและน้ำหนองไหลเยิ้ม แขนขาทั้ง ๒ ข้างก็เน่าเฟะส่งกลิ่นเหม็นไปทั่ว เมื่อนางเห็นท่านนโรปะ นางได้กล่าวขึ้นมาว่า

" ข้าเสียใจที่มาขวางทางเดินของท่าน แต่ข้ามิอาจขยับตัวได้เลย ดังนั้น หากท่านประสงค์จะเดิน ทางต่อ ท่านคงมีทางเลือกอยู่ ๓ ทาง คือ หนึ่งช่วยอุ้มข้าออกไปให้พ้นทาง หรือ กระโดดข้ามร่าง ข้า และสุดท้ายก็โปรดหาเส้นทางเดินใหม่เถิด "

ท่านนโรปะไม่รู้จะทำประการใดดี สุดท้ายท่านก็ตัดสินใจเอามือปิดจมูกเมินหน้าหนีไปทางอื่น เพราะรู้สึกสะอิดสะเอียนเกินกว่าจะทนมองร่างของนาง และกระโดดข้ามร่างของนางไป ทันใด นั้นก็มีเสียงดังก้องมาจากฟากฟ้าว่า

" หากบุคคลใดปรารถนาที่จะฝึกฝนต่อบนเส้นทางธรรมแห่งมหายาน บุคคลนั้นต้องเปี่ยมด้วย ความรักและความเมตตา หาแล้วไม่ย่อมไม่มีวันพบคุรุที่ประเสริฐ และย่อมไม่อาจบรรลุผลของ เส้นทางธรรมสายนี้ได้ จงตระหนักเถิดว่าสรรพชีวิตทั้งปวง ล้วนแต่เคยเป็นบิดามารดาเราทุก คนมาก่อน นั่นคือเหตุผลว่า หากผู้ใดปรารถนาเดินบนเส้นทางธรรมแห่งมหายาน ย่อมไม่อาจ แบ่งแยกกีดกันชีวิตใดชีวิตหนึ่ง พึงมอบความรักและเมตตาให้เสมอเหมือนเท่าเทียมกันโดยไม่ แบ่งแยก "
หลังจากนั้นท่านนโรปะจึงหมั่นสร้างโพธิจิตให้บังเกิด และเพิ่มความรักและความเมตตาให้ขยาย ออกไปโดยไม่มีข้อจำกัด


บทเรียนที่ ๒

เมื่อท่านนโรปะออกเดินทางต่อจนมาถึงริมแม่น้ำ ปรากฎว่ามีสุนัขตัวหนึ่งนอนบาดเจ็บขวางทาง เดินอยู่ ตามลำตัวของมันเต็มไปด้วยแผลเน่าเปื่อยและหนอนไต่อยู่เต็มไปหมด มันได้แต่เห่าอย่าง ดุร้ายเมื่อมันเห็นท่านนโรปะ ตอนแรกท่านนโรปะพยายามหาหนทางที่จะขยับตัวมันให้พ้นทางไป แต่ไม่เป็นผล ในที่สุดท่านได้ตัดสินใจกระโดดข้ามตัวมัน และแล้วก็มีเสียงดังก้องจากฟากฟ้าว่า
" หากบุคคลใดยังไม่เข้าใจว่า ทุกชีวิตทั่วทั้ง ๖ ภพในโลกนี้ ล้วนแต่เคยเวียนว่ายเป็นบิดามารดา ของกันและกันมาก่อน บุคคลผู้นั้นย่อมไม่มีวันที่จะได้มาพบคุรุผู้ประเสริฐ หรือแม้แต่ครูเลว ๆ สักคนหนึ่ง"

ทั้งนี้ชาวธิเบตเชื่อในเรื่องของการกลับชาติมาเกิด ดังนั้น จึงถือว่าทุกชีวิตในภพภูมิทั้งหกล้วน แต่ เคยเกิดเป็นบิดามารดาของตนมาก่อนไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นเทพ ยักษ์ มนุษย์ สัตว์ เปรต หรือแม้แต่ สัตว์นรก ตามวงล้อแห่งวัฏสงสาร ดังนั้น วิถีพุทธแบบธิเบตจึงมีความรัก ความเมตตาต่อกันและ กัน ไม่เลือกว่าชิวิตนั้น ๆ จะอยู่ในภพภูมิใด


บทเรียนที่ ๓

ท่านนโรปะเดินทางต่อจนพบชายคหนึ่งซึ่งบอกทางให้ท่านนโรปะเดินอ้อมไปอีกด้านหนึ่งของ ภูเขา จนกว่าจะพบชายที่ชอบตัดศรีษะมนุษย์มาทุบเล่นกับก้อนหิน แล้วท่านนโรปะจะทราบ ข่าวของคุรุติโลปะจากชายคนนี้ ดังนั้น ท่านนโรปะจึงเดินอ้อมเขาไปอีกด้านหนึ่งจนพบชายคน นั้นกำลังทุบศรีษะมนุษย์อยู่ และเมื่อท่านถามชายคนนั้นว่าคุรุติโลปะอยู่ที่ใด ชายคนนั้นกลับ ตอบว่า จะยอมตอบเมื่อท่านนโรปะจะตัดศรีษะมนุษย์มาทุบเล่นดังเช่นที่เขาทำ ซึ่งท่านนโรปะ ถึงกับคิดขึ้นมาในใจว่า

" ข้าเป็นนักบวช เป็นถึงปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งนาลันทา เหตุใดมาสั่งข้าให้ทำเช่นนี้ "

ทันใดทุกสิ่งก็อันตรธานหายไป พร้อมกับมีเสียงดังจากฟากฟ้าว่า

" การจะรู้แจ้งนั้น เจ้าต้องกำจัดอัตตา ละพยศความเย่อหยิ่งจองหองยึดมั่นนตัวตนของเจ้าให้ หมดเสียก่อน ตราบใดที่เจ้ายังยึดมั่นในอัตตาตัวตน ไม่ตระหนักว่าตัวตนของเจ้าก็เป็นเพียง มายา เจ้าย่อมไม่มีวันเข้าถึง ธรรมอันแท้จริงใด ๆ ได้ "

ทั้งนี้ การที่ท่านนโรปะต้องเผชิญกับเหตุการณ์ค่อนข้างเลวร้ายเช่นนี้ เป็นเพราะท่านนโรปะได้ ศึกษาฝึกฝนปฏิบัติธรรมมานานจนจนถึงขั้นเป็นปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งนาลันทา แต่อุปสรรคสำ คัญในการก้าวหน้าในทางธรรมยิ่งขึ้นไปของท่านก็คือ การยึดมั่นในอัตตาตัวตนของความเป็น ปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ของตัวเองนั่นเอง ซึ่งครูที่ดีย่อมหาหนทางที่จะขจัดอุปสรรคในการก้าวหน้าทาง ธรรมของศิษย์โดยเฉพาะหากอุปสรรคนั้นคือความยึดมั่นในอัตตาตัวตนด้วยแล้ว ย่อมเป็นเรื่อง ยากที่จะขจัด โดยเฉพาะหากจะต้องขจัดให้หมดไปกระทั่งในระดับที่ละเอียดอ่อนที่สุดของจิต ดังนั้น คุรุติโลปะ จึงเลือกบทเรียนที่ต้องยากยิ่งขึ้น ซับซ้อนยิ่งขึ้นให้แก่ท่านนโรปะ เพื่อขจัดอุป สรรคของการยึดมั่นในอัตตาของท่านนโรปะให้หมดสิ้น

ซึ่งจากบทเรียนครั้งนี้เองที่ท่านนโรปะเองก็ตระหนักว่า ทุกเหตุการณ์ที่ผ่านมานั้นเป็นบทเรียน ที่คุรุติโลปะสั่งสอนให้ท่านต้องเรียนรู้ ต้องผ่านให้ได้ ก่อนที่จะมีโอกาสพบคุรุของตนเอง และ ท่านตั้งปณิธานว่าจากนี้ไปท่านจะต้องผ่านทุกบทเรียนที่จะเข้ามาอีกอย่างดีที่สุด


บทเรียนที่ ๔

ครั้งนี้ท่านนโรปะจะต้องเผชิญกับบทเรียนที่ยากขึ้นไปอีก เมื่อท่านได้เดินทางมาจนพบกับชาย ๒ คน กำลังช่วยกันคว้านท้องชายเคราะห์ร้ายผู้หนึ่งที่ถูกจับมัดจนลำไส้ทะลักออกมา เมื่อท่านนโรปะ สอบถามชายทั้งสองว่ารู้จักคุรุติโลปะหรือไม่ ชายทั้งสองตอบว่ารู้จัก และยินดีจะบอกทางให้ หาก ท่านนโรปะจะช่วยพวกเขาสับลำใส้ของชายเคราะห์ร้ายเสียก่อน ซึ่งท่านนโรปะไม่อาจทนเห็น ความเจ็บปวดของชายผู้นั้นได้จึงตอบปฏิเสธ จากนั้นทุกอย่างก็อันตรธานหายไป และเสียงจาก ฟากฟ้าก็ดังขึ้นมาว่า

" รากเหง้าของสังสารวัฏก็คือการยึดมั่นในการมีตัวตนของตนว่ามีอยู่จริง ทั้งที่การตั้งอยู่ในความ คิดเชื่อว่ากายนี้เป็นของเรา เป็นตัวตนของเราควรจะละทิ้งข้ามผ่านไปให้ได้ "

ครั้งนี้บทเรียนของคุรุติโลปะเพื่อช่วยขจัดความยึดมั่นในการมีตัวตนถึงขั้นละเอียดอ่อนของจิต และพึงสามารถรักษาภาวะจิตของตนให้มั่นคง สะอาดสว่างไม่สั่นคลอนไปตามภาวะการณ์ใด ๆ ไม่เกิดเป็นอารมณ์ตอบสนองเหตุการณ์ใด ๆ แม้เมื่อยามเผชิญเหตุการณ์เลวร้าย ซึ่งเป็นบท เรียนที่ยากที่สุดบทหนึ่งของการรักษาจิตไม่ให้สั่นไหว

บทเรียนที่ ๕

จากนั้นท่านนโรปะเดินทางมาจนถึงสถานที่แห่งหนึ่ง และพบกับเหตุการณ์ที่น่าสยดสยอง คือ ชายผู้หนึ่งกำลังเทน้ำเดือดลงไปนท้องที่ถูกคว้านของชายอีกคนหนึ่ง ซึ่งร้องลั่นด้วยความเจ็บ ปวด พร้อมกับมีเลือดไหลทะลักออกมา ครั้งนี้ท่านนโรปะถูกขอร้องให้เป็นผู้เทน้ำเดือดแทนชาย คนนั้น ก่อนที่เขาจะยอมบอกว่าคุรุติโลปะอยู่ที่ใด แน่นอน ท่านนโรปะย่อมไม่อาจทำได้ และบท เรียนจากฟากฟ้าในคราวนี้ก็คือ

" คำสอนของคุรุก็เปรียบดังสายน้ำที่ไหลรินลงไป เพื่อขจัดความไม่บริสุทธิ์ทั้งปวงที่มีอยู่ภายใน ดวงจิตของศิษย์ หาใช่เป็นเพียงเครื่องชำระล้างขัดเกลาเพียงร่างกายและลักษณะท่าท่างภายนอกไม่ และครั้งนี้สิ่งที่เจ้าจะต้องขจัดออกไปจากจิตของเจ้าก็คือความยึดมั่นตัวตนของเจ้าว่า เป็นนักบวช เป็นปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ "

 

บทเรียนที่ ๖


ท่านนโรปะเดินทางต่อจนพบพระราชาผู้ครองนครอันสวยงามแห่งหนึ่งและทรงทราบว่าคุรุติโลปะ อยู่ที่ใด แต่พระองค์ได้ขอให้ท่านนโรปะพำนักอยู่ที่พระราชวังก่อน ซึ่งท่านนโรปะก็ยินยอม และ พำนักอยู่ในพระราชวังแห่งนั้นอย่างสุขสบาย จนเวลาผ่านไปเนิ่นนาน กระทั่งวันหนึ่งพระราชา ขอให้ท่านนโรปะอภิเษกสมรสกับพระธิดา ด้วยความเป็นนักบวช ท่านนโรปะจึงไม่อาจทำได้ เป็น เหตุให้พระราชาไม่พอพระทัยเป็นอย่างมาก ถึงกับสั่งทหารให้ทุบตีท่านนโรปะ ด้วยความโกรธ ท่านนโรปะจึงเริ่มใช้เวทมนต์ดำเพื่อตอบโต้พระราชา ทันใดนั้นเมืองทั้งเมืองก็หายไป เหลือเพียง ผืนทรายว่างเปล่า บทเรียนครั้งนี้คือ


" เจ้าต้องขจัดโลภ โกรธ หลงในตัวตนของเจ้าให้ได้ก่อนที่จะมีโอกาสพบคุรุผู้ประเสริฐ และหาก ปราศจากคุรุแล้ว ไฉนเลยเจ้าจะสามารถปลดปล่อยตนเองจากห้วงวัฏสงสารได้ "


บทเรียนนี้ได้สอนท่านนโรปะได้รู้ว่า แม้ตนเป็นถึงปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แต่ยังไม่อาจสลัดตนจากความ โลภ ความหลง ในความสุขสบายภายในวังและความโกรธเมื่อถูกทุบตี ท่านยังไม่อาจหยั่งรู้ได้อย่าง ถ่องแท้ว่า สรรพสิ่งล้วนเป็นมายา ที่ถูกสรรสร้างจากโลภ โกรธ หลง ที่ผนึกแน่นอยู่ในดวงจิตมา นานแสนนาน


บทเรียนที่ ๗


ท่านนโรปะได้เดินทางมาถึงป่าใหญ่แห่งหนึ่ง และพบว่ามีนายพรานและสุนัขล่าเนื้อกำลังวิ่งไล่กวาง ตัวหนึ่งอยู่ เมื่อท่านนโรปะถามหนทางไปพบคุรุติโลปะ นายพรานก็ตอบว่าจะบอกให้ต่อเมื่อท่าน นโรปะจะช่วยล่ากวางตัวนั้น แต่ท่านนโรปะยังยึดมั่นอยู่ในความเป็นนักบวช และยังมีความเคลือบ แคลงในใจ ทันใดนั้นสุนัขล่าเนื้อและกวางก็หายไป เหลือแต่เพียงนายพรานที่กล่าวต่อท่านนโรปะว่า


" อุปสรรคของท่านคือความยึดมั่นในอัตตาตัวตน ซึ่งท่านต้องผ่านให้ได้ดุจดุจดังลูกธนูที่พุ่งผ่าน ร่างของกวางตัวน้อย ความเข้าใจในธรรมของท่าน ต้องนำไปสู่การละอัตตาตัวตนของตนเอง หาก ตราบใดท่านยังมีความเคลือบแคลงสงสัยในความจริงข้อนี้ ท่านย่อมไม่มีวันพบคุรุของตนเอง "


บทเรียนที่ ๘


ต่อมาท่านนโรปะได้พบสามีภรรยาคู่หนึ่งที่รู้ว่าคุรุติโลปะอยู่ที่ใด แต่พวกเขาขอให้ท่านนโรปะไป พักผ่อนที่บ้านของพวกเขาก่อน เมื่อไปถึงฝ่ายภรรยาได้ปรุงอาหารโดยต้มกบและปลาเป็น ๆ ใน น้ำเดือด แล้วเชิญท่านนโรปะให้ทานอาหารมื้อนั้น แต่ท่านนโรปะยังรู้สึกว่าตนเป็นนักบวชคงไม่ อาจทานอาหารเช่นนี้ได้ โดยเพาะในยามเย็นเช่นนี้ ทันใดนั้นฝ่ายชายจึงจับกบและปลาโยนขึ้น ไปในอากาศหายไปกับสายรุ้งบนท้องฟ้า แล้วหันมาพูดกับท่านนโรปะว่า


" ท่านเป็นนักบวช เป็นปราชญ์ที่ยิ่งใหญ่ ฝึกฝนปฏิบัติธรรมมานานจนบรรลุธรรมได้ระดับหนึ่ง แต่อุปสรรคความก้าวหน้าทางธรรมของท่านก็คือ ความยึดมั่นในอัตตา ความมีตัวตน และรูป แบบที่เหนี่ยวรั่งตนไว้ "


และก่อนที่ทุกอย่างจะหายไป ชายคนนั้นได้บอกท่านนโรปะว่าพรุ่งนี้เขาจะฆ่าพ่อแม่ของเขา ดังนั้นท่านนโรปะจึงคาดว่าหากพบชายผู้นี้อีกในวันพรุ่งนี้ และยอมทำตามที่ชายผู้นั้นร้องขอ คราวนี้ท่านคงจะได้รู้ว่าคุรุติโลปะอยู่ที่ใด


บทเรียนที่ ๙


วันรุ่งขึ้นท่านนโรปะได้พบชายผู้หนึ่งกำลังเตรียมฆ่าบิดาของเขาด้วยตรีศูลและฝังมารดาทั้งเป็น เมื่อบิดามารดาของชายผู้นั้นเห็นท่านนโรปะก็เฝ้าร้องขอความช่วยเหลือ แต่ชายคนนั้นกลับบอก ว่า เขารู้ว่าคุรุติโลปะอยู่ที่ใด และจะยอมบอกต่อเมื่อท่านนโรปะจะช่วยฝังร่างมารดาเขาเสียก่อน ซึ่งท่านนโรปะก็เกิดรู้สึกลังเล ทันใดนั้นทุกอย่างก็หายไป เหลือแต่ชายผู้นั้นที่สอนท่านนโรปะว่า


" ท่านต้องขจัดความคิดยึดมั่นในรูปธรรมและนามธรรมให้หมดสิ้น "


และชายคนนั้นยังบอกอีกว่า พรุ่งนี้เขาจะออกไปขอทาน เมื่อได้ยินเช่นนั้น ท่านนโรปะจึงคิดว่าท่านควรจะค้นหานักบวชที่เที่ยวเร่ร่อนขอทาน ซึ่งคงจะสามารถช่วยท่านตามหาคุรุติโลปะได้ ดังนั้น ท่านจึงเดินทางต่อไปจนถึงวัดแห่งหนึ่ง ซึ่งมีนักบวชพำ นักอยู่สองสามรูป ซึ่งนักบวชทุกรูปต่างเคยได้ยินชื่อเสียงความเป็นปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งนาลันทา ของท่านนโรปะเป็นอย่างดี โดยเฉพาะมีนักบวชรูปหนึ่งเคยพบกับท่านนโรปะมาก่อนจึงต้อนรับ ท่านนโรปะเป็นอย่างดี และเมื่อท่านนโรปะสอบถามถึงคุรุติโลปะว่าอยู่ที่ใด นักบวชเหล่านั้นกลับ ตอบว่าไม่มีใครเลยที่เคยได้ยินชื่อของคุรุติโลปะ พวกเขารู้จักเพียงแต่เฒ่าขอทานที่ชื่อ ติโลปะ เท่านั้น

 


บทเรียนที่ ๑o

หลังจากที่ท่านนโรปะทราบว่ามีเฒ่าขอทานที่ชื่อว่า ติโลปะ จึงขอร้องให้นักบวชเหล่านั้นช่วยพา ไปพบ เมื่อไปถึง ท่านนโรปะได้พบชายผู้หนึ่งกำลังจับกบโยนลงไปในกองไฟเพื่อกินเป็นอาหาร และเมื่อท่านได้รับการบอกเล่าว่านี่คือ ติโลปะ ผู้ที่ท่านเชื่อว่าคือคุรุที่กำลังตามหา ท่านนโรปะจึง ก้มลงกราบและขอถวายตัวเป็นศิษย์ ซึ่งชายผู้นั้นก็ตกลง และเก็บเห็บเหาตามตัวมาได้กำมือหนึ่ง ยื่นให้ท่านนโรปะพร้อมบอกให้ท่านนโรปะต้องเลิกความคิดเดิม ๆ ทั้งหมดด้วยการนำเห็บเหาพวก นี้ไปเผาในกองไฟเสีย ซึ่งท่านนโรปะเกิดความลังเลเพราะเหล่านักบวชกำลังจ้องมองอยู่ เฒ่าขอ ทานจึงสอนท่านว่า

" หากเจ้าไม่สามารถเผาผลาญอารมณ์ ๕๑ ประการที่คอยเหนี่ยวรั้งจิตของเจ้าไว้ให้ได้ เจ้าย่อม ไม่มีวันพบคุรุที่แท้ "

จากนั้นเฒ่าขอทานผู้นั้นก็หายตัวไป


บทเรียนที่ ๑๑

ท่านนโรปะจึงออกเดินทางค้นหาคุรุติโลปะต่อจนมาถึงสถานที่ประหลาดแห่งหนึ่งที่ทำให้จิตมุ่ง มั่นต่อการค้นหาคุรุไขว้เขวไปชั่วขณะหนึ่ง เมื่อท่านพบกลุ่มคนประหลาดที่บางคนกำลังพูดโดย ไม่มีลิ้น คนหูกำลังตั้งใจฟังเสียง คนตาบอดกำลังจ้องมอง บางคนกำลังเดินไปมาโดยไม่มีขา และ ซากศพกำลังร่ายรำ แต่ไม่นานนักท่านนโรปะก็รู้ตัวว่ากำลังถูกทำให้ไขว้เขว ท่านจึงรวบรวมสมาธิ มุ่งไปที่การค้นหาคุรุติโลปะเพียงอย่างเดียว ทันใดนั้น ภาพตรงหน้าก็หายไป และมีเสียงดังก้อง จากฟากฟ้าว่า

" วิธีที่เจ้าออกค้นหาคุรุไม่ใช่วิธีที่ถูกต้อง เพราะคุรุของเจ้าเป็นผู้รู้แจ้งแล้ว เจ้าต้องมีจิตยึดมั่นอยู่ ที่คุรุแล้วคุรุจะปรากฏขึ้นมาตรงหน้าเจ้าเองแต่นี่เพียงแค่เจ้าเห็นภาพประหลาดตรงหน้า จิตของ เจ้าก็สั่นไหวเสียแล้ว และภาพของชีวิตประหลาดเหล่านี้เป็นสัญลักษณ์ให้เจ้าเห็นว่า ไม่มีรูปและ นามที่แท้จริง "

คนตาบอดกำลังจ้องมองหมายถึง หากเจ้าต้องการเข้าใจธรรมชาติแห่งจิตมหามุทรา เจ้าต้องเข้า ถึงให้ได้ว่าไม่มีผู้ใดมองสิ่งใดเห็นอย่างแท้จริง เจ้าต้องข้ามพ้นของความคิดที่ว่าผู้คนมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้อย่างแท้จริง

คนกำลังพูดโดยไม่มีลิ้นและคนหูหนวกกำลังฟังเสียง หมายถึง การรู้แจ้งไม่มีวันถูกเข้าถึงด้วยเพียง คำพูด

คนกำลังเดินโดยไม่มีขา หมายถึง ธรรมชาติแห่งจิตข้ามพ้นภาวะการมาและการไป จิตไม่ได้มาจาก ที่ใดและไม่มีที่ใดจะไป


บทเรียนที่ ๑๒

ท่านนโรปะจึงตระหนักว่าที่ผ่านมาท่านยังไม่สามารถเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ถึงสิ่งที่คุรุติโลปะได้ บันดาลขึ้นมาเพื่อสอนท่าน ท่านนโรปะรู้สึกเสียใจ และละอายใจเป็นอันมากท่านจึงตัดสินใจไม่ ไปใหนอีกทั้งสิ้นนอกจากนั่งทำสมาธิอยู่ที่นี่เท่านั้นและแม้ว่าเวลาผ่านไปอีกเนิ่นนาน ท่านก็ยังไม่ อาจพบคุรุติโลปะได้อีก ท่านจึงรู้สึกหมดหวังและคิดว่าชั่วชีวิตนี้คงไม่อาจพบคุรุติโลปะ ดังนั้น ท่านจึงอธิษฐานด้วยศรัทธาอย่างแรงกล้าขอพบคุรุติโลปะในชีวิตหน้า แล้วนำมีดออกมาเตรียม เชือดคอตนเองเพื่อฆ่าตัวตาย ทันใดนั้นชายผิวสีน้ำเงิน ดวงตาสีแดง ก็ปรากฎขึ้นตรงหน้าซึ่ง ท่านนโรปะรู้ทันทีว่าคุรุติโลปะ ท่านจึงลอกเปลือกอัตตาตัวตนทิ้งทั้งหมด ถวายสักการะแด่คุรุ ติโลปะ และตัดพ้อว่าเหตุใดก่อนหน้านี้ถึงไม่ยอมปรากฏกาย และทำไมท่านจึงมองไม่เห็นคุรุ คุรุติโลปะจึงตอบว่า " นับแต่วินาทีที่เจ้าเริ่มออกค้นหาข้า ข้าอยู่กับเจ้าเสมอมา ทุก ๆ คนที่เจ้า พบตลอดเส้นทาง ล้วนเป็นข้าทั้งสิ้น เพียงแต่ความมืดบอดในใจของเจ้าเท่านั้นที่ปิดกั้นเจ้าไม่ให้ แลเห็นข้า แต่บัดนี้หัวใจของเจ้าเป็นอิสระแล้ว เจ้าจึงเห็นข้า - ติโลปะ "

- จาก ในอ้อมโอบหิมาลัย อุ่นไอธรรม โดย อรอุมา แววศรี

Pลืมตอบบันทึกนี้ไปได้ไงนี่..

สาธุๆๆ

Pเอายังงี้ดีกว่า

อาจารย์สงสัยประการใดให้ปุจฉา

ธรรมฐิตจะวิสัชนาตามที่เข้าใจขอรับ..

 

นมัสการพระอาจารย์

  • กระผมมีข้อสงสัยว่า ในทางธรรมนั้นการตัดสินใจของท่านนโรปะใน 12 บทเรียนนั้น ท่านทำถูกต้องแล้วหรือไม่? เพระเหตุใด? โปรดชี้แนะด้วยขอรับ
  • กราบขอบพระคุณ

(กราบ 3 หน) 

Pอ้าวลืมตอบอาจารย์ไปได้ไงนี่..

ธรรมฐิตเคยอ่านเรื่องของ  นโรปะ มานานแล้ว..

ถามว่าทำถูกหรือไม่  อันนี้ก็แล้วแต่นะอาจารย์

แต่ไม่ใช่ประเด็นๆอยู่ที่ว่าการสอนแต่ละข้อ

เป็นการสอนให้ละอัตตาที่ฝังอยู่ในใจ

แต่เป็นการสอนแบบคนธรรมดาสามัญทั่วๆซึ่งไม่รู้ไม่เคยฝึกฝนใจไม่เรียนรู้ธรรมมาก่อนบ้าง  ก็คงค้านในตัว  แต่เป็นการสอนแบบลึกซึ้ง

ต้งฝึกฝนใจอย่างมีสติจนรู้วางใจเป็นกลางคำสอนเหล่านี้ก็จะเป็นเรื่องธรรมดา

เอาเป็นว่าการที่ท่านทำถูกหรือผิด  ไม่ใช่ประเด็นในการจะหาสิ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในคำสอน

แต่เราอ่านแล้วเห็นอะไรบ้างนี่สิน่าคิดขอรับ

สาธุๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท