สร้างศรัทธา(อิมาน) ตกแต่งจิตสู่พฤติกรรมที่พึงประสงค์


ชีวิตของเราที่เวียนว่ายอยู่ในห้วงอากาศบนพื้นผิวโลกเราทุกวันนี้ แน่นอนมีการเปลี่ยนแปลง ปกติเราชอบคิดว่าเราจะทำนั้น ทำนี่  และในความเป็นจริงเราทำได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เป็นไปอย่างที่เราคิดว่าน่าจะเกิดบ้างเป็นอย่างอื่นบ้าน

สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นนี้ เกิดจากอะไร ทำไมเป็นแบบนั้น ทำไม่ไม่เป็นตามที่เราคาดหวัง

ปกติเราก็ชอบอ้างว่าเพราะเหตุนั้น เหตุนี้ ส่วนใหญ่แล้วเราจะอ้างที่เป็นสิ่งแวดล้อม ความพร้อมของเรา ผู้เกี่ยวข้อง สิ่งรอบข้าง สุดท้ายก็บอกว่าเพราะธรรมชาติ โดยลืมนึกถึงเหตุผลภายในตัวเราเอง

วิลเลียม พิลเล ได้พูดไว้ว่า "จงเปลี่ยนความคิดของคุณ แล้วโลกของคุณก็จะเปลี่ยนไป"

ใช่ เราจะเปลี่ยนสภาพของเรา ความเป็นอยู่ที่รู้สึกสุขหรือทุกข์ อยู่ที่ความคิดของเรา นั้นหมายถึงเปลี่ยนภายใน

อัลลอฮฺได้ตรัสในอัลกุรอานอย่างชัดเจแล้วว่า

 إِنَّ اللّهَ لاَ يُغَيِّرُ مَا بِقَوْمٍ حَتَّى يُغَيِّرُواْ مَا بِأَنْفُسِهِمْ

"แท้จริงอัลลอฮฺจะไม่เปลี่นสภาพชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง จนกว่าเขาจะเปลี่ยนสภาพภายในของเขาเอง"  (สูเราะฮฺ อัร-เราะอฺดฺ 13/11)

แน่นอน ความเปลี่ยนที่เกิดขึ้นทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต พระเจ้า(อัลลอฮฺ) เป็นผู้กำหนดและเปลี่ยนแปลง เราจะได้รับสิ่งดีๆหรือสิ่งเลยร้าย ก็อัลลอฮฺเป็เป็นผู้กำหนด สภาพของตัวเรา ครอบครัวเรา สังคมเรา หมู่บ้านเรา ประเทศเรา จะดีหรือเลวอยู่ที่อัลลอฮฺ และอัลลอฮฺจะเปลี่ยนให้ดีหรือเลวนั้นก็อยู่สภาพภายในของตัวเรา อย่างวิลเลี่ยมพิลเลบอกว่าอยู่ที่ความคิด ผมขอใช้คำที่กว้างกว่าความคิด คือ อยู่ที่ จิต

จิตเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมมนุษย์ จิตในที่นี้ภาษาอาหรับเรียกว่า ก็อลบุน (قلب) ท่านนบีมุฮัมมัด ซึ่งเป็นศาสนฑูตคนสุดท้ายที่มาบอกวิถีการดำรงชีวิตที่ถูกต้องแก่มวลมนุษย์ ท่านได้กล่าวเกี่ยวกับจิตว่า

« إنّ في الجسد مضغة إذا صلحت صلح الجسد كله ، وإذا فسدت فسد الجسد كله ، ألا وهي القلب)» [ البخاري : 52]

“แท้จริงในร่างกายมนุษย์นั้นมีก้อนเลือด ถ้าก้อนเลือดนั้นดี ร่างกายทุกส่วนก็จะดีด้วย และถ้ามันเลวร่างกายทุกส่วนก็จะเลวด้วย ก้อนเลือดก้อนนั้นไม่ใช่ใจ(จิต)กระนั้นหรือ?” (บันทีกโดย อัลบุคอรี 52)

ดังนั้นจึงไม่เป็นเรื่องที่ต้องสงสัยใดๆอีกเลยว่า พฤติกรรมของมนุษย์จะประพฤติดีหรือเลว จะได้รับผลกรรมที่น่ายินดีหรือเลวร้าย ก็ขึ้นอยู่กับ กอลบุน(จิต) และไม่ต้องสงสัยอีกว่าสิ่งแรกที่ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างยิง คือ จิต

จิต เราจะแก้ไขอย่างไร ไปทางไหนนั้น สำหรับมุสลิมแล้วจะมีเพียงแนวทางเดียวคือ สร้างอีมาน(หรือศรัทธา)ต่ออัลลอฮฺ ยำเกรง เกรงกลัวในอานาจของพระองค์ และคนที่ศรัทธาต่ออัลลอฮฺเขาจะต้องทำทุกอย่างที่อัลลอฮฺทรงรักและทรงชอบ และละทิ้งทุกอย่างที่อัลลอฮฺไม่ทรงโปรด

ท่านมุอาซ อิบนุ ญะบัล ได้กล่าวว่า

اجلس بنا نؤمن ساعة

“จงนั่งกับเรา แล้วเราสร้างศรัทธาช่วงเวลาหนึ่ง” (เป็นคำกล่าวของเศาะฮาบะฮฺ-อะซัรฺ- ที่บันทึกโดย ซุฟยาน อัสเสารี)

สร้างศรัทธาในช่วงเวลาหนึ่งตรงนี้ หมายถึง ให้นึกถึงอัลลอฮฺ กล่าวคำระลึก(ซีกีร)ถึงพระองค์

ท่านผู้นำ อุมัรฺ อิบนุ อัลค็อฏฏอบ ได้บอกแก่บรรดสหายของท่านว่า

هلموا نزداد الإيمان فيذكرون الله

“พวกเรามาร่วมกันเพิ่มศรัทธากันเถิด โดยการนึกถึงอัลลอฮฺ”

อุไมรฺ อิบนุ หะบี หนึ่งในบรรดเศาะฮาบะฮฺ ได้กล่าวว่า

إن الإيمان يزيد وينقص

บรรดาเศาะฮาบะฮฺคนอื่นๆ ก็ถามว่า อะไรละที่ว่าเพิ่มและอะไรละที่ว่าลด

อุไมร์ตอบว่า

إذا ذكرنا الله خشيناه فذلك زيادته، وإذا غفلنا ونسينا وضيعنا فذلك نفصانه

"เมื่อเรานึกถึงอัลลอฮฺ เราก็จะเกรงกลัวพระองค์นั้นเป็นการเพิ่มอิมาน และเมื่อเราหลงลืมพระองค์ ก็จะเป็นการลดอีมาน" (บันทึกโดย อิบนุอะบี ชัยบะฮฺ)

ท่านอิบนุมัสอูด ได้กล่าวว่า “การนึกถึงอัลลอฮฺ(ซีกิร) จะทำให้อิมานงอกเงยขึนในจิต เสมือนน้ำที่ทำให้ต้นไม้งอกเงยขึ้นมา”

แล้วเมื่ออิมานเราเต็ม ความเกรงกลัวต่ออัลลอฮฺก็มั่นคง พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ พฤติกรรมที่ชั่วร้ายทั้งในสายตามนุษย์และที่อัลลอฮฺไม่ต้องการจะเกิดขึ้นอีกหรือ

มาสร้างอิมาน(ศรัทธากันเถอะ)

หมายเลขบันทึก: 302589เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2009 06:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 23:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

มุมคิดและข้อคิดสาระเนื้อหามากล้นครับ...อ่านแล้วได้ประโยชน์มากครับ

อยากให้คนทำงานทุกคนมาอ่านมากครับเผื่อจะได้ฉุกคิดอะไรบ้างครับ

ขอบคุณมากครับ อ.

P
ผมนึกถึงคำพูดของอธิการบดีของเรา ท่านบอกว่า
เราทำงาน เรารับค่าจ้างเต็มร้อย แต่บางครั้งการทำงานของเราไม่เต็มร้อย อัลลอฮฺเลยไปลดในส่วนอื่นของงานเรา เช่น ให้เงินมาไม่พอจ่ายบ้าง เลยทำให้เราพัฒนาไม่ได้ 

สลามครับอาจารย์ อิบรอฮีม

เราทำงาน เรารับค่าจ้างเต็มร้อย แต่บางครั้งการทำงานของเราไม่เต็มร้อย อัลลอฮฺเลยไปลดในส่วนอื่นของงานเรา เช่น ให้เงินมาไม่พอจ่ายบ้าง เลยทำให้เราพัฒนาไม่ได้

เห็นเป็นจริงครับ เพื่อนร่วมงานหลายคน มีทรัพย์สมบัติมากมาย น่าจะทำงานให้พัฒนาแต่ยังติดกับการขวนขวายเพิ่มเงินในทางที่ไม่ถูกต้องครับ

อ้าว..เยี่ยมเฉยๆ หรือว่าอ่านด้วย :)

น่าจะเยี่ยมบ่อยๆ จะได้เขียนบ่อยๆด้วยไง..

แวะมาอ่านแล้วครับ (สามรอบแล้ว) แต่บังเอิญสมองมันวุ่นๆ กับเรื่องอื่น เลยหาประเด็นคุยไม่ได้ ฮิฮิ

ส่วนเรื่่อง blog to book อยูที่ลิงค์นี้นะครับ http://gotoknow.org/blog/whatsnew/300700

alhamdulillah ที่ได้อ่านบทความนี้ มีประโยชน์มากมาย เตือนสติ เราอีกด้วย

"แล้วเมื่ออิมานเราเต็ม ความเกรงกลัวต่ออัลลอฮฺก็มั่นคง พฤติกรรมไม่พึงประสงค์ พฤติกรรมที่ชั่วร้ายทั้งในสายตามนุษย์และที่อัลลอฮฺไม่ต้องการจะเกิดขึ้นอีกหรือ" อาจารย์ค่ะ แล้วถ้าเรายังทำผิดอยู่ได้อีก...นั้นก็หมายความว่าเราก็ยังไม่มีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ...น่ะซิค่ะ คำถามนี้...น่าจะเตือนตนเองและทุกคนได้บ้างน่ะค่ะ

ขอบคุณทุกคนที่คอมเมนต์มา

ครับคุณ S-me เมื่อเรามีอิมานเต็มแล้ว ความชั่วร้ายจะไม่มาจากตัวเราแน่

การสำนึกผิด เตาบัต จะเป็นผลจริงๆ ต้องละทิ้งและไม่หันกลับไปสู่การกระทำผิดนั้นอีก ไม่ใช่หรือ

นูรมา สะบาหานาเล๊าะ

อัสสาลามูอาลัยกุมวาเราะฮมาตุลลอฮ

อาจารย์ค่ะ ของวิชาจิตวิทยาทาง e-learning ที่ว่าอาจารย์ให้งานตอบคำถาม แต่หนูเปิดดูแล้วไม่มีการอัพเดดงานใหม่ค่ะ

โปรดชี้แจงด้วยค่ะอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท