การพัฒนาทุนมนุษย์ (Human capital)


HR Scorecard เป็นเครื่องมือสำหรับใช้ประเมินผลสำเร็จด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์กร เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและเพิ่มขีดสมรรถนะกำลังคนขององค์กรให้มีความเข้มแข็งและสอดรับกับภารกิจขององค์กร

ทุนมนุษย์  (Human capital) นับว่าเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาองค์กร เพราะว่าทุนมนุษย์เป็นทุนที่ยิ่งพัฒนา ยิ่งสร้างคุณค่าและมูลค่าให้แก่องค์กร

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน เห็นความสำคัญของการพัฒนาทุนมนุษย์ว่าเป็นปัจจัยหลักสำคัญที่จะผลักดันให้วิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์ขององค์กรบรรลุตามเป้าหมาย จึงได้มี “การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลตามแนวทาง HR Scorecard” ขึ้น ระหว่างวันที่ ๑๐-๑๑ กันยายน ๒๕๕๒ ณ ห้องประชุมทิวลิป โรงแรมซิตี้ปาร์ค อ.เมืองน่าน มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งระดับผู้บริหาร ผู้รับผิดชอบงาน และผู้ปฏิบัติงานด้านการบริหารงานบุคคลและการพัฒนาบุคลากร ในสสจ. สสอ. รพ. และสอ. เข้าร่วมประชุม จำนวน ๑๔๐ คน โดยได้รับความกรุณาจาก ดร.วัลยาภรณ์ ทังสุภูติ กลุ่มงานพัฒนาบุคลากร สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ ที่พัฒนางานด้าน HR ของจังหวัดแพร่จนได้รับรางวัลองค์กรดีเด่นด้านการพัฒนาบุคลากรชอง กพ.เมื่อปี ๒๕๕๑ มาเป็นวิทยากรหลัก

กระบวนการใน ๒ วันนี้ เป็นการปูแนวคิดเรื่องการพัฒนาคน และการนำเอา HR Scorecard มาเป็นเครื่องมือในการประเมินผลสำเร็จด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล รูปแบบการประชุมจึงเป็นการร่วมกันช่วยกันจัดทำแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคล

และช่วงสุดท้ายวิทยากรได้ให้ความรู้เรื่อง “การประเมินผลการปฏิบัติราชการ” เป็นของแถม เพื่อให้รู้ เข้าใจ และเตรียมตัวสำหรับการรองรับการประเมินผลในปี ๒๕๕๓

หลังจากได้แผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลแล้ว หลังจากการพัฒนาระบบกลไกขับเคลื่อนแผนกลยุทธ์การบริหารทรัพยากรบุคคลให้เป็นรูปธรรมจึงเป็นส่วนสำคัญยิ่ง

.................................................................................................................

 

HR Scorecard คืออะไร

HR Scorecard เป็นเครื่องมือสำหรับใช้ประเมินผลสำเร็จด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลขององค์กร เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและเพิ่มขีดสมรรถนะกำลังคนขององค์กรให้มีความเข้มแข็งและสอดรับกับภารกิจขององค์กร

 

มาตรฐานความสำเร็จของระบบบริหารทรัพยากรบุคคล (Standard for Success)

หมายถึง ผลการบริหารราชการด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลซึ่งเป็นเป้าหมายสุดท้ายที่ส่วนราชการต้องบรรลุ มีทั้งหมด 5 มิติ ดังนี้

          มิติที่ 1 ความสอดคล้องเชิงยุทธศาสตร์  

มิติที่ 2 ประสิทธิภาพของกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล (HR Operational Efficiency)

มิติที่ 3 ประสิทธิผลของการบริหารทรัพยากรบุคคล (HRM Program Effectiveness)

มิติที่ 4 ความพร้อมรับผิดด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล  

มิติที่ 5 คุณภาพชีวิตและความสมดุลระหว่างชีวิตกับการทำงาน  

มิติในการประเมินสมรรถนะในการบริหารทรัพยากรบุคคลทั้ง 5 มิติ เป็นเครื่องมือที่จะช่วยทำให้ส่วนราชการใช้ในการประเมินตนเองว่ามีนโยบาย แผนงาน โครงการ มาตรการดำเนินงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลสอดคล้องกับมิติในการประเมินดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลหรือไม่ มากน้อยเพียงใด หากยังไม่มีการดำเนินการตามมิติการประเมินดังกล่าว หรือมีในระดับน้อยแล้ว ส่วนราชการจะต้องมีการพัฒนาระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับมิติการประเมินดังกล่าว และเป็นการยกระดับประสิทธิภาพและคุณภาพในการปฏิบัติงานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลได้ตามหลักเกณฑ์และกรอบมาตรฐานความสำเร็จทั้ง 5 มิติ

 

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(กพ.). HR Scorecard. [Serial Online] 31 สิงหาคม 2552.  Available from : URL: http://www.ocsc.go.th/ocsccms/frontweb/view.jsp?categoryID=CAT0000102

 

...............................................................................................................

หมายเลขบันทึก: 297698เขียนเมื่อ 15 กันยายน 2009 08:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณข้อมูลดี ๆ ที่สรุปสาระไว้ให้อ่านได้อย่างประหยัดเวลาค่ะ

และถือโอกาสขอบคุณเนื่องจากคุณ Poo ส่งเมลเรื่องของ ท่านติช นัท ฮันห์ของคุณพ่อน้องซอมพอสรุป...ไปให้คนไม่มีรากด้วยค่ะ

ชอบมาก ๆ ค่ะ

(^___^)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท