พรรณไม้ในพุทธประวัติ - 9 ราชายตนะ


พรรณไม้ที่มีเหตุการณ์สัมพัน์กับพุทธประวัติ

ต้น ราชายตนะ หรือต้นเกดหรือ ครินี หรือ ไรนี ตามการเรียกของฮินดู เป็นต้นไม้ที่พระพุทธองค์ประทับนั่งในสัปดาห์ที่ 4 ของการตรัสรู้

ในขณะนั้นมีพ่อค้ากองเกวียน 2 คนชื่อตปุสสะ และภัลลิกะ เดินทางผ่านมา

เมื่อได้เห็นพระพุทธองค์ก็เกิดความเลื่อมใส จึงได้นำข้าวสัตตุก้อน และสัตตุผงถวาย (พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์ของพระธรรมปิฎก ป.อ.ปยุตตฺโต กล่าวว่าคือข้าวตู หากเสถียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต ให้ความหมายว่า บาลีเรียกสัตตุผงว่า มันถะ ข้าวตากที่ตำละเอียด สัตตุก้อนเรียก มธุบิณฑิกะ คือข้าวตากที่ผสมน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นก้อน)

พ่อค้าสองคนนี้เดินทางด้วยเกวียนมาหลายร้อยเล่ม (ปฐมสมโพธิบอก 500 เล่ม)จากอุกกลชนบท เมื่อได้ถวายข้าวสัตตุและฟังธรรมจากพระพุทธองค์ ก็เลื่อมใส ประกาศตนเป็นอุบาสกคู่แรก และได้ทูลขอของที่ระลึกจากพระองค์ ซึ่งพระองค์ก็ประทานพระเกศาให้

ชาวพม่าเชื่อว่า พ่อค้าทั้งสองเดินทางมาจากอินเดีย มาขึ้นท่าเรือที่เมืองย่างกุ้ง แล้วอธิษฐานเสี่ยงทิศที่จะนำพระเกศาธาตุไปประดิษฐาน จากนั้น จึงนำพระเกศาธาตุมาบรรจุไว้ในเจดีย์ชเวดากอง ดังตำนานพระเจดีย์ร่างกุ้งที่กล่าวว่า

พระพุทธเจ้าทรงพระมหากรุณาธิคุณขนานนามให้วานิชทั้ง 2 ด้วย คือผู้เป็นพี่ขนานนามจาก ตะเปา เป็น ตะปุสสะ ผู้เป็นน้องขนานนามจาก ตะป้อ เป็น ภัลลิกะ ได้ชื่อว่าเป็นอุบาสกคู่แรกของโลกตั้งแต่กาลนับบัดนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มพูน และเสริมสร้างบุญญบารมีแก่วาณิชทั้ง 2 พี่น้อง ด้านการบำเพ็ญกุศลทานที่ได้นำพระกระยาหาร วัสดุสิ่งของมาถวาย ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระพุทธองค์ จึงทรงยกพระหัตถ์เบื้องขวา ทรงลูบพระเกศา ก็ได้พระเกศาธาตุลงมาจำนวน 8 องค์ (8เส้น) ทรงมอบให้แก่ 2 พี่น้องชาวมอญทันที

ราชบัณฑิตท่านก็ว่าในพระไตรปิฎก กล่าวถึงพ่อค้าทั้งสองแค่ถวายข้าวสัตตุเพียงเท่านั้น ส่วนเรื่องที่ตามมา ไม่มีกล่าวถึง

................................................................

อ้างอิงเรื่อง และรูป

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตตฺโต) พจนานุกรมพุทธศาสตร์ฉบับประมวลศัพท์ โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ พระนคร

เหม เวชกร สมุดภาพพระพุทธประวัติ ธรรมสภา 35/270 จรัลสนิทวงศ์ 62 บางพลัด บางกอกน้อย กรุงเทพ

เสถียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต สิ่งแรกในพระพุทธศาสนา เกษมอนันต์พริ้นติ้ง 02-809-7452-4

ศาสตรจารย์ พเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ ไม้พุทธประวัติ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด้จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชวังดุสิต กรุงเทพ

ดร.สุชาติ หงษา ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา สำนักพิมพ์ ณศยาม 117-119 ถ.เฟื่องนคร พระนคร กรุงเทพ 10200

หมายเลขบันทึก: 297349เขียนเมื่อ 14 กันยายน 2009 08:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 ตุลาคม 2013 10:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
  • นี่ถ้าไม่มาตามอ่าน.เรื่องของคุณณัฐรดา ก็คงไม่ทราบว่า เกด.เป็นไม้ ๑ใน๒๕ ชนิด เกี่ยวข้องกับศาสนาพุทธ
  • เป็นไม้ประจำจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถ้าผมจำไม่ผิด
  • ผมเคยเห็น ชาวเรือแถบนครสวรรค์ ใช้ไม้เกด เหลาเป็นสลัก แทนตะปู
  • ธุค่ะ..

เพิ่งจะเคยรู้เรื่องนี้จากบันทึกนี้นี่ล่ะค่ะ ^^  ขอบคุณนะคะ

สวัสดีค่ะ แวะมาทักทายยามเช้าค่ะ

และมาศึกษาพันธ์ไม้พุทธประวัติค่ะ

ดอกเกดเหมือนกับดอกพิกุลเลยนะค่ะ

มีกลิ่นหอมหรือเปล่าค่ะ

แต่ลักษณะมันแปลกดีค่ะ

ขอบคุณนะค่ะ

คุณสามสักค่ะ

ดิฉันไม่เคยเห้นต้นจริงของเกดเลยล่ะค่ะ ขอบคุณที่ให้ข้อมูลเพิ่มเติมค่ะ

สวัสดีค่ะน้องเนปาลี ยังชื่นใจแทนน้องต่อ ที่ได้เป็นวิทยากรสอนพับกระดาษ ตามที่น้องเล่าอยู่เลยค่ะ

เอ ไม่ทราบเหมือนกันค่ะคุณตุ๊กตา ไม่เคยเห็นดอกจริง ต้นจริงน่ะค่ะ

ขอบคุณนะคะที่แวะมาคุยกัน

สวัสดีครับคุณณัฐรดา

นอกจากคุณณัฐณดาจะมีความเอื้อเผื่อเรื่องความรู้แล้ว ยังมีกระแสของความเป็นกัลยาณมิตรสูงมากครับ

ขออนุญาตเรียก"พี่สาว"จะได้หรือเปล่าครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ

ตามมาอ่านต่อค่ะ...

ต้น “ราชายตนะ” หรือต้นเกด หรือ “ครินี” หรือ “ไรนี” สวยจังนะคะ

ขอบคุณค่ะ

(^___^)

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท