ยูยินดี
นาย นายธรรมศักดิ์ ช่วยวัฒนะ

เหตุใดครูวิทยาศาสตร์จึงไม่ค่อยสอนทำปฏิบัติการวิทยาศาสตร์(Lab)


ด้วยเหตุผลต่าง ๆ นาที่ว่ากัน สรุปด้วยเหตุผลสั้น ๆ ว่า ทำให้สิ้นเปลืองเปล่า ๆ เสียเวลา ยุ่งยาก อันตราย

มีเหตุผลหลายประการที่จะตอบสนองต่อความไม่ขยันของครูด้วยเหตุผลที่พอฟังได้

 ๑.วัสดุอุปกรณ์วิทยาศาสตร์อยู่ในสภาพแก่เกินวัย

  ๒.ในเวลา ๕๐ - ๖๐ นาที ยังไงก็ทำ Lab ไม่ทัน ครูไหนทำได้บ้าง

  ๓.Process Approach  ยังไงก็สู่ Dill Approach ไม่ได้อยู่ดี เพราะแบบทดสอบปัจจุบันยังไม่สอดคล้องกัน แค่เด็กติว 2-3 ชั่วโมงก็มีผลสัมฤทธิ์สูงกว่า...แล้ว (จึงไม่แปลกที่ผล o-net จึงต่ำกว่าร้อยละ ๕๐)

  ๔.อ้างว่าเด็กนักเรียนไม่ชอบ อันตราย ไม่อยากเตรียม ยุ่งยาก วุ่นวาย โทษ ผู้บริหาร นักเรียน อื่น ๆ ยกเว้นตนเอง

  ๕.อ้างว่า บาง direction lab บางอย่างก็ทำจริงไม่ได้

   ๖.ทดลองมาแล้ว วุ่นวายจริง ๆ แค่วันเดียวหลอดทดลองแตกหมดตู้เลย

   ๗.วัสดุอุปกรณ์มีไว้โชว์ เดี๋ยวพอประเมินวิทยฐานะจะไม่มีให้โชว์ กรรมการจะไม่เชื่อ

ด้วยเหตุผลต่าง ๆ นาที่ว่ากัน สรุปด้วยเหตุผลสั้น ๆ ว่า ทำให้สิ้นเปลืองเปล่า ๆ เสียเวลา ยุ่งยาก อันตราย

   การเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการสืบเสาะ(Inquiry)ที่เน้นให้นักเรียนทำปฏิบัติการเพื่อช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นนามปธรรมไปหารูปธรรม ไม่ประสบความสำเร็จมากนักเนื่องจาก  ครูวิทยาศาสตร์ส่วนมากไม่ทำปฏิบัติการสอนแบบสืบเสาะ(ธรรมศักดิ์ ช่วยวัฒนะ.2546:บทคัดย่อ)

  ไพฑูรย์  สุขศรีงาม(2531ข:66) แบ่งการสืบเสาะออกเป็น 3 ประเภท คือ

    1.การสืบเสาะแบบสำเร็จรูป(Structured Inquri) เป็นการสืบเสาะที่ครูเป็นผู้กำหนดปัญหาแก่นักเรียน  บอกแนวทางในการใช้วัสดุอุปกรณ์ตามขั้นตอนการทดลองและการจัดกระทำข้อมูล นักเรียนเป็นผู้แปลความหลายข้อมูลและลงข้อสรุปด้วยตนเอง

   2.การสืบเสาะแบบแนะนำ (Guided Inquiry) เป็นการสืบเสาะโดยครูเป็นผุ้กำหนดปัญหาให้ แต่ไม่ได้กำหนดกิจกรรมหรือวิธีการทดลอง นักเรียนเป็นผู้ค้นหาวิธีดังกล่าวด้วยตนเองโดยอาศัยการแนะนำจากครู นักเรียนแต่ละคนหรือแต่ละกลุ่มอาจมีวิธีการทดลองที่แตกต่างกัน

  3.การสืบเสาะแบบเปิดกว้าง(Open Inquiry) ในการสืบเสาะแบบนี้นักเรียนจะเป็นผู้สืบเสาะปัญหา วิธีการแก้ปัญหา การจัดกระทำข้อมูล การแปลความหมายและการลงข้อสรุปด้วยตนเอง จึงเป็นการสืบเสาะที่สูงที่สุด นักเรียนจะมีกระบวนการเรียนที่คล้ายคลึงกับการศึกษาของนักวิทยาศาสตร์มาก

   ในกระบวนการสืบเสาะทั้งสามประเภทมีจุดมุ่งหมายที่จะพัฒนานักเรียนด้านวิทยาศาสตร์ที่เน้นกระบวนการปฏิบัติการ สำรวจ ทดลอง และอื่น ๆ ทำให้เกิดทักษะปฏิบัติการ(Manual Skill) และทักษะการคิด (Think Skill)

   แต่ละรูปแบบของการสืบเสาะก็มีข้อจำกัด ซึ่งจำเป็นต้องใช้กับศักยภาพของนักเรียนในแต่ละระดับ ในกิจกรรมที่เสริมทักษะกระบวนการคิดอาจจจะอยู่ในรูปแบบที่ไม่เน้นปฏิบัติการ เช่น การใช้กระบวนการสืบเสาะแบบ Oral Inquiry เป็นต้น

    ด้วยความยุ่งยากซับซ้อนจึงบังเกิดเหตุผลนานาประการที่จะไม่สอนการทำปฏิบัติการแก่นักเรียน

หมายเลขบันทึก: 296198เขียนเมื่อ 10 กันยายน 2009 14:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

รู้สึกดีขึ้นที่รัฐบาลให้ความสำคัญแก่การพัฒนานักวิทยาศาสตร์ไทย เป็นการเริ่มต้นที่ถูกทาง การขยายชั้นห้องเรียนพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์เปรียบได้กับว่า เพิ่มโอกาสให้นักเรียนคุ้นเคยกับนักวิทยาศาสตร์ ก่อนที่จะก้าวไปเป็นนักวิทยาศาสตร์ เราต้องใช้กลยุทธทุกอย่าง ดังที่ฟุตบอลไทยพรีเมียลีก ที่เติบโตท่ามกลางข้อจำกับหลายประการ เขายังฝ่าฟันได้ระดับหนึ่งอย่างน่าทึ่ง ต่างจากระครไทยที่แต่ก่อนไม่เคยโฆษณา  ปัจจุบันขึ้นปานดอกเห็ด สื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่วยวน ทางวิทยาศาสตร์ขาดหาย นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ ถูกครอบงำ ...

กระบวนการที่เชื่อประจักษ์หลักฐาน เป็นสำคัญ ทำให้ชีวิตประจำวันของใครบางคนที่ได้เจอเหตุการเช่นนี้คงจะรับได้ยากยิ่ง ... ดังตัวอย่างญาติผู้ตาย ได้ข้อสรุปจากหลักฐาน ว่า "ผู้ตาย ตายจากการฆ่าตัวตาย" เมื่อพยานบุคคล พยานวัตถุ สภาพแวดล้อมไปทางข้อสันนิฐาน เข้าทาง จึงทำให้ญาติได้แต่ระทม...

  คนที่เข้าใจกระบวนการการสืบสวนสอบสวน ตลอดจนข้อกฏหมายอย่างเหนือชั้น สามารถที่จะบงการฆ่าใครก็ได้ในประเทศไทย...

   ครูวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ สอนกล่องปริศนา และมีรู ๔ ด้าน รูดังกล่าว ใช้เพียงไม้เล็ก ๆ หยังรู้  ครูให้เวลานักเรียนสันนิฐานว่าข้างในเป็นอะไร โดยที่ไม่แกะกล่องออกดู จึงใช้เวลา ๑ สัปดาห์ เด็กตอบได้อย่างน่าทึ่ง ทั้ง ๆ ที่ตาไม่สารถมองเห็น บางอย่างก็อย่าด้วยตา(ประจักษ์) ...

   วิทยาศาสตร์สอนด้วยปัญญา

   ทักษะและความชำนาญส่อให้เห็นปัญญา ระยะเวลาที่เด็กศึกษากล่องปริศนา อาจใช้เวลา แค่ ๑๕ นาที

   เราอ่อนแอทางด้านทักษะวิทยาศาสตร์

 แล้วจะให้ครู หรือตำรวจที่อ่อนแอทักษะวิทยาศาสตร์ส่งผลกรรมมาสู่เราอย่างนั้นหรือ...

  

เราส่วนใหญ่ก็คาดหวังคนเก่ง ดี (ดีแบบคุณธรรม) ไม่ใช่ดีแต่พวกพ้อง ทำไมต้องนิยามคำว่าดี

   เมื่อเชื่อกระบวนการดีแล้ว ก็ไม่ต้องไปนิยามคำว่าดีให้เจาะจงอีก...

   ธรรมชาติวิทยาศาสตร์เป็นกระบวนการให้ได้มาซึ่งกระบวนการ(process)... และให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ (Body of Knowledge) สิ่งสองสิ่งสัมพันธ์และประสานกันอย่างไร

การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในสถานศึกษามีเป้าหมายสำคัญดังนี้

 
  1. เพื่อให้เข้าใจหลักการ ทฤษฎีที่เป็นพื้นฐานในวิทยาศาสตร์
  2. เพื่อให้เข้าใจขอบเขต ธรรมชาติ และข้อจำกัดของวิทยาศาสตร์
  3. เพื่อให้มีทักษะสำคัญในการศึกษาค้นคว้า และคิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
  4. เพื่อพัฒนากระบวนการคิดและจินตนาการ ความสามารถในการแก้ปัญหาและการจัดการ ทักษะในการสื่อสาร และความสามารถในการตัดสินใจ
  5. เพื่อให้ตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มวลมนุษย์ และสภาพแวดล้อมในเชิงที่มีอิทธิพลและผลกระทบซึ่งกันและกัน
  6. เพื่อนำความรู้ความเข้าใจในเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและการดำรงชีวิต
  7. เพื่อให้เป็นคนมีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค

คุณภาพของผู้เรียนวิทยาศาสตร์ที่จบหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 12 ชั้นปี

1. เข้าใจเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต ความหลากหลายทางชีวภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

2. เข้าใจสมบัติของสารและการเปลี่ยนแปลงของสาร แรงและการเคลื่อนที่ พลังงาน

3. เข้าใจโครงสร้างและส่วนประกอบของโลก ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ ดาราศาสตร์และอวกาศ

4. ใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหาในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง ศึกษาค้นคว้า สืบค้นขอมูลจากแหล่งเรียนรู้หลากหลาย และจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และสื่อสารความรู้ในรูปแบบต่าง ๆ ให้ผู้อื่นรับรู้

5. เชื่อมโยงความรู้ความคิดกับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นำไปใช้ในการดำรงชีวิต และศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ทำโครงงานวิทยาศาสตร์ หรือสร้างชิ้นงาน

6. มีเจตคติทางวิทยาศาสตร์ หรือจิตวิทยาศาสตร์ ดังนี้

ความสนใจใฝ่รู้

ความมุ่งมั่น อดทน รอบคอบ

ความซื่อสัตย์ ประหยัด

การร่วมแสดงความคิดเห็น และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

ความมีเหตุผล

การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์

7. มีเจตคติ คุณธรรม ค่านิยมที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

มีความพอใจ ความซาบซึ้ง ความสุขในการสืบเสาะหาความรู้และรักที่จะเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต

ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ใช้ในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ

ตระหนักว่าการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีผลต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม

แสดงความชื่นชม ยกย่องและเคารพในสิทธิของผลงานที่ผู้อื่นและตนเองคิดค้นขึ้น

แสดงความซาบซึ้ง ในความงามและตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและในท้องถิ่น

ตระหนักและยอมรับความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้และการทำงานต่าง ๆ

enquiry [N] การไต่สวน, See also: การสืบสวนหาข้อเท็จจริง, Syn. analysis, investigation, probe ที่มาคลิกที่คำศัพท์

  • เหตุผลนานัปการ..แต่ถ้าเด็กได้เรียนรู้จากการทดลองด้วยตัวเอง รับรองจะเป็นการเรียนการสอนที่เด็กๆมีความสุข และตั้งใจเรียนเป็นพิเศษครับ โรงเรียนผมเองอุปกรณ์ สารเคมี ก็ไม่ค่อยพร้อมครับ โดยเฉพาะพวก ม.ปลาย
  • ขอบคุณสาระดีๆครับ

ขอบคุณครูธนิตย์ ขอส่งแรงใจให้คนขยัน เผื่อจะได้ห้องเรียนปฏิบัติการพิเศษ ของม.ปลาย ครูและนักเรียนก็จะได้เรียนอย่างมีความสุข

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท