เที่ยวตรังอย่างยั่งยืน : สวรรค์แห่งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชายเลนชุมชนบ้านในทอน และสืบสานศิลปะพื้นบ้านมโนราห์ จังหวัดตรัง


สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ผลักดันการวิจัยท้องถิ่น เน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่นักท่องเที่ยวทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ พร้อมสนับสนุนโครงการศึกษาวิจัยฟื้นฟูป่าชายเลนชุมชนบ้านในทอน และโครงการสืบสานศิลปะพื้นบ้านมโนราห์ ตำบลโคกสะบ้า จังหวัดตรัง ของมหาวิทยาลัยทักษิณ เพื่อยกระดับชุมชนให้พึ่งตนเอง สามารถนำภูมิปัญญาเผยแพร่ต่อนักท่องเที่ยว และสร้างระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว

เที่ยวตรังอย่างยั่งยืน : สวรรค์แห่งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ฟื้นฟูป่าชายเลนชุมชนบ้านในทอน และสืบสานศิลปะพื้นบ้านมโนราห์  จังหวัดตรัง

 

 

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ผลักดันการวิจัยท้องถิ่น เน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่นักท่องเที่ยวทั้งภายในและภายนอกพื้นที่ พร้อมสนับสนุนโครงการศึกษาวิจัยฟื้นฟูป่าชายเลนชุมชนบ้านในทอน  และโครงการสืบสานศิลปะพื้นบ้านมโนราห์ ตำบลโคกสะบ้า จังหวัดตรัง  ของมหาวิทยาลัยทักษิณ  เพื่อยกระดับชุมชนให้พึ่งตนเอง สามารถนำภูมิปัญญาเผยแพร่ต่อนักท่องเที่ยว และสร้างระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว

 ผู้ช่วยศาสตราจารย์จรินทร์  เทพสงเคราะห์ อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ในฐานะหัวหน้าโครงการศึกษาวิจัยฟื้นฟูป่าชายเลนชุมชนบ้านในทอน  และโครงการสืบสานศิลปะพื้นบ้านมโนราห์ ตำบลโคกสะบ้า จังหวัดตรัง  พร้อมทีมวิจัย   นำคณะผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภาคใต้ 5 จังหวัด (นครศรีธรรมราช  สุราษฏร์ธานี สงขลา พัทลุง ตรัง)  และผู้อำนวยการสำนักงานการท่องเที่ยวกีฬาและนันทนาการ จังหวัดสงขลา  จำนวน 40 คน  ร่วมโปรแกรมการท่องเที่ยวปฐมฤกษ์    เมื่อวันที่ 25-26 เมษายน 2552      

 

โปรแกรมการท่องเที่ยวดังกล่าวใช้เวลา 2 วัน 1 คืน วันแรกเริ่มต้นด้วยชมการสาธิตและเลือกซื้อผ้าทอนาหมื่นศรี  ที่อำเภอนาโยง  แวะชมป่าสาคูแบบยั่งยืนบ้านเกาะหยี   ชมกลุ่มร้อยลูกปัดและทำเครื่องดนตรีมโนราห์ ก่อนจะเลือกซื้อสินค้า OTOP ที่ชุมชนบ้านโคกสะบ้า  เรียนรู้ศิลปะพื้นบ้านมโนราห์ตำบลโคกสะบ้า ชมการแสดงมโนราห์โรงกลาง และชมการฝึกมโนราห์ตามโรงฝึกของชุมชน  จากนั้นรับประทานอาหารเย็นแบบพื้นบ้านร่วมกับสมาชิกในชุมชนโคกสะบ้า 

 

 วันที่สอง  เดินทางสู่บ้านในทอน หมู่ที่ 11 ต.สุโสะ อ.ปะเหลียน จ.ตรัง  ฟังบรรยายสรุปการฟื้นฟูผืนป่าชายเลน ดูเตาเผาถ่าน การติดตายาง  ล่องเรือศึกษาระบบนิเวศวิทยาป่าชายเลนและร่วมทำกิจกรรมกับชาวบ้านเช่นการหาหอยปากแดง  การดำหาลอเนาะ (ปลิงทะเลชนิดหนึ่งนำมาประกอบอาหารพื้นบ้านของชาวบ้านในชุมชนบ้านในทอน)   รับประทานอาหารกลางวันในเรือตามแบบฉบับชุมชนบ้านในทอน 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จรินทร์  กล่าวว่า  ได้เลือกพื้นที่จังหวัดตรังเป็นพื้นที่เป้าหมายในการศึกษาวิจัย  เนื่องจากจังหวัดตรังเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามันที่มีมรดกการท่องเที่ยวมากมาย ทั้งเกาะแก่งที่สวยงาม แนวปะการังตลอดชายฝั่ง ชายหาด ป่าชายเลน ภูเขาที่ปกคลุมด้วยป่าไม้เขียวครึ้ม เถื่อนถ้ำและน้ำตก ยังไม่รวมความงดงามของวัฒนธรรมประเพณีที่คงเอกลักษณ์ปักษ์ใต้มาช้านาน  และใช้ผลลัพธ์จากงานวิจัยท้องถิ่นภายในจังหวัดตรัง 2 โครงการ ได้แก่ โครงการแนวทางการฟื้นฟูป่าชายเลนอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านในทอน หมู่ 11 ตำบลสุโสะ อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง และโครงการสืบสานศิลปะพื้นบ้านมโนราห์ตำบลโคกสะบ้า อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง เป็นโครงการนำร่อง 

การพัฒนาโครงการวิจัยท้องถิ่นทั้ง 2 โครงการนี้จะก่อให้เกิดความเข้าใจในแนวทางการพัฒนาจากการสร้างความรู้โดยชุมชน และเมื่อนำความรู้ในชุมชนมาเผยแพร่ในรูปแบบการท่องเที่ยวด้วยแล้ว จะทำให้กลุ่มตลาดเป้าหมายสำคัญซึ่งได้แก่นักการศึกษาเกิดแนวคิดใหม่ในการพัฒนาท้องถิ่นตนเองบนฐานความรู้ของท้องถิ่นที่มีอยู่แล้ว <p class="MsoNormal" style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: center;">                </p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt">รองศาสตราจารย์ ดร.ประมาณ  เทพสงเคราะห์  ในฐานะผู้ร่วมวิจัยและผู้ประสานงานโครงการฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า เป้าหมายหลักในการให้ชุมชนสามารถนำข้อมูลและฐานความรู้ที่มีอยู่มาใช้ในการวางโปรแกรมการท่องเที่ยวอย่างเป็นรูปธรรม และสามารถบริหารจัดการ วางแผนจัดทำเส้นทางการท่องเที่ยวภายในชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพตามศักยภาพที่มีอยู่เพื่อนำองค์ความรู้มาพัฒนาแบบองค์กรรวมของการท่องเที่ยวทั้งภาคธุรกิจและชุมชนท้องถิ่น ตามแนวคิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน   </p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt">                สำหรับการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ของพื้นที่จังหวัดตรัง เพื่อการตัดสินใจในการท่องเที่ยวชุมชนตามเส้นทางท่องเที่ยวและโปรแกรมการท่องเที่ยวที่สร้างขึ้น จะใช้วิธีการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ตามแหล่งชุมชนและภาคธุรกิจท่องเที่ยว และหน่วยงานราชการต่างๆ เพื่อให้เกิดการผลักดันจากบุคลากรในท้องถิ่นตนเองจะก่อให้เกิดประโยชน์คือสร้างระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ของจังหวัดตรังให้กับชุมชนและบุคลากรในท้องถิ่นได้นำไปใช้พัฒนาชุมชนได้ และชุมชนร่วมกับนักวิจัย   ธุรกิจนำเที่ยว   จัดทำแผนงานเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ของชุมชน เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแหล่งทรัพยากรการท่องเที่ยวของชุมชน   สร้างรายได้และผลประโยชน์ให้เกิดขึ้นในท้องถิ่น สร้างความท้าทายในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สร้างผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ สังคม  สิ่งแวดล้อม และถือเป็นแผนการตลาดเชิงรุก ในการเป็นสวรรค์แห่งการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในอนาคตของจังหวัดตรัง.</p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt">                ผู้สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ รองศาสตราจารย์ ดร.ประมาณ  เทพสงเคราะห์  รองอธิการดีมหาวิทยาลัยทักษิณ   โทรศัพท์   074-317600  หรือ 074-442660  หรือ 081-2773933 </p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt"></p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt"> </p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt"></p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt; TEXT-ALIGN: center" align="center">
****</p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt">  </p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt">  </p> <p class="MsoNormal" style="MARGIN: 0cm 0cm 0pt">  </p>

คำสำคัญ (Tags): #onblog#online#pr#sar#tsu
หมายเลขบันทึก: 291386เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2009 21:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดี พื่นง แวะมาเยี่ยมมาชมมาเชียร์ กิจกรรม ม.ทักษิณ บ้านเรา

ตามพี่บังมาจองแถวหน้าดูโนราห์ค่ะ

มาชมมาเชียร์อย่างแรงกับกิจกรรมนี้

เป็นกำลังใจให้ก่อนณ ตอนนี้นะคะ :)

โฮมสเตย์ เอเกาะมุก

สวัสดีครับ พี่นงผม เอ เกาะมุก ครับติดตามผลงานของพี่มาตลอดเลยครับมีกิจกรรมต่อชุมชนมาตลอดเลยนะครับ เป็นกำลังใจไห้ตลอดครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท