ยูยินดี
นาย นายธรรมศักดิ์ ช่วยวัฒนะ

ตาราง Lab สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่๔-๖ ตามแบบ ELC


นักเรียนไม่เกิดปมด้อยเรื่องความต่างของอุปกรณ์แต่กลับเพิ่มความภาคภูมิในความสามารถของผุ้ปกครองนักเรียน

การแจ้งตารางการดำเนินกิจกรรมล่วงหน้า ทำให้สะดวกแก่การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ ในขั้น Preparing ในตารางไดกำหนดกลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดเพื่อแสดงถึงความภาคภูมิที่อุปกรณ์ที่แต่ละกลุ่มของเขาเองมีคุณภาพหรือสอดคล้องกับจุดประสงค์การทดลองมากที่สุด ดังตัวอย่างแยกตามระดับชั้น ของโรงเรียนอนุบาลรัตนบุรี อำเภอรัตนบุรี  จังหวัดสุรินทร์ โดยได้ปรับปรุงกิจกรรมบางรายการให้สอดคล้องตามหลักสูตรที่เตรียมได้ในท้องถิ่นจังหวัดสุรินทร์ วัสดุอุปกรณ์บางรายการอาจจะแตกต่างไปบ้างตามพื้นที่และช่วงเวลา

ชั้นป.๔

หน่วยการเรียน บทที่ สาระ ปฏิบัติการที่ ชื่อปฏิบัติการ วัสดุอุปกรณ์ที่เตรียม วันที่นำวัสดุและอุปกรณ์มา คะแนน LAB คะแนนทดสอบ TEST กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุด หมายเหตุ
1 0 พืชใกล้ตัวเรา                
  1 โครงสร้างพืช 1 หน้าที่ของรากและลำต้น  หมึกแดง ต้นกระสัง ขวด แว่นขยาย   10 10    
      2 รากเก็บสะสมอาหารหรือไม่ มันแกว แครอท ขิง เผือก มีด ทิงเจอร์ไอโอดีน หลอดหยด บีกเกอร์   10 10    
      3 ใบสร้างอาหารได้จริงหรือไม่ ใบไม้ด่าง ใบชบาด่าง หลอดทดลอง ตะเกียงอัลกอฮอลล์ พร้อมที่กั้นลม หลอดหยด เอททิลอัลกอออล์ 95%    10 10    
      4 น้ำคายน้ำได้หรือไม่ ไม้พุ่มแบบมีกิ่ง 2 กิ่งขึ้นไป ถุงพลาสติก 2 ถุง เชือกหรือหนังยาง   10 10    
      5 หัวหอมคือส่วนใดของพืช หัวหอม สารละลายเบเนดิกซ์  หลอดทดลอง บีกเกอร์ มีด   10 10    
      6 ดอกไม้มีส่วนประกอบอะไรบ้าง ดอกไม้ ชนิดแตกต่างกัน 3-5 ดอก แว่นขยาย   10 10    
      7 นักสำรวจพืชท้องถิ่นกินได้ พืชในท้องถิ่น แว่นขยาย   10 10    
  2 พืชเจริญเติต 8 ถั่วเขียวเจริญเติบโตได้หรือไม่ เพาะถั่วเขียวในภาชนะ น้ำ ปุ๋ยยูเรีย ไม้บรรทัด    10 10    
  3 พืชสร้างอาหาร 9 แสงจำเป็นต่อการสังเคราะห์ด้วยแสง ต้นไม้พุ่ม สารละลายไอโอดีน เอททิลอัลกอฮอลล์ 95% เทปกาวสีดำ หลอดทดลอง ตะเกียงอัลกอฮอลล์พร้อมที่กั้นลม หลอดหยด จานแก้ว   10 10    
  4 วัฏจักรชีวิตพืชดอก 10 แผนภาพวงจรชีวิตพืช แผนภาพวงจรชีวิตพืชตระกูลถั่ว   10 10    
  5 การตอบสนองของพืช 11 ไมยราบทำหลอกว่าไม่มีใบ ต้นไมยราบ    10 10    

ชั้นป.๕

คลิก.............

ชั้นป.๖

คลิก.............

รายละเอียดตัวอย่างที่สามารถนำไปสร้างตารางกำหนดการปกิบัติการที่มีความเหมาะสมในระยะเวลา ๓๐-๔๐ นาที ควรแจ้งตารางที่นักเรียนกำหนดล่วงหน้าอย่างน้อย ๑ สัปดาห์ เนื่องจากนักเรียนระดับประถมศึกษาจะไม่กล้าบอกหรือแจ้งผู้ปกครองนักเรียนทราบ และมมักจะบอกผู้ปกครองก่อนวันที่เตรียม บางครั้งอาจจะแจ้งในวันที่จะต้องเตรียมวัสดุอุปกรณ์มาด้วยว้ำ ผู้ปกครองมักจะสะท้องกลับมาว่า การบ้านวิทยาศาสตร์จะเป็นการบ้านที่แตกต่าง ยุ่งยาก นักเรียนบางคนไม่ได้อุปกรณ์ตามที่กำหนดก็อาจจะป่วยหรือขาดเรียนในที่สุด กระบวนการ ELC มีทางออกแก่ผู้ปกครองนักเรียน ในเบื้องต้นผู้ปกครองจะได้รับตารางเช่นเดียวกับนักเรียน และตกลงร่วมกันในการกำหนด ว่าส่วนใดที่ครูเตรียม และส่วนใดที่นักเรียนและผู้ปกครองเป็นผู้เตรียม

      ความราบรื่นจากการเตรียมจากการแจ้งล่วงหน้าแก้ปัญหาได้มากกว่าร้อยละ ๔๐ เมื่อเทียบกับกาบการตรวจเช็คของร้อยละนักเรียนที่เตรียมอุปกรณ์ บางรายการปฏิบัติการผู้ปกครองนักเรียนที่เคยมีประสบการณ์ในการทดลองซึ่งครูก็พร้อมที่จะปรับรูปแบบปกิบัติการหรือวัสดุอุปกรณ์ที่ต่างจากกลุ่มอื่น  โดยที่นักเรียนไม่เกิดปมด้อยเรื่องความต่างของอุปกรณ์แต่กลับเพิ่มความภาคภูมิในความสามารถของผุ้ปกครองนักเรียน

     ความยากง่ายของปฏิบัติการจึงทำให้ปฏิบัติการแบบ ELC ของระดับประถมศึกษาเกิดความเป็นได้และง่ายขึ้น ความตื่นเต้นและเฝ้ารอของบางปฏิบัติการจึงบังเกิดกับนักเรียนอย่างมีความหวังและความหมาย ที่พร้อมจะ นำเสนอความภาคภูมิใจ ว่า "หนูก็ทำได้"

     วิทยาศาสตร์ไม่ใช่มายากล ผู้ควบคุมก็ไม่ใช่พ่อมด เป็นสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ สมมุติฐานของนักเรียนที่ใจจดใจจ่อกับคำตอบที่จะเกิดขึ้น ทั้ง ๆ ที่รู้ในตำราแล้วว่าจะเป็นอย่างไร แต่วัสดุอุปกรณ์ที่เตรียมด้วยตนเองจะเป็นดังว่าได้หรือไม่

    "สมมุติฐานทุกสมมุติฐานจึงมีพลัง  แห่งความหวัง"

รายละเอียดตัวอย่างที่นำไปใช้ได้จริง คลิก.............

หมายเลขบันทึก: 281211เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2009 13:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท