เก็บตกจากบาหลี


ASEAN Pain ที่บาหลี

เก็บตกจากบาหลี

 

                มีโอกาสไปบาหลีรอบนี้เป็นรอบที่สามแล้ว ครั้งแรกไปเที่ยวกับทีมครอบครัวพี่สมปอง ส่วนรอบที่สองไปดำน้ำลึกกับกลุ่มดำน้ำที่สนิทกัน สำหรับรอบนี้หมอต้อยที่โรงพยาบาลภูมิพลเป็นคนชวนไปและหมอประดิษฐ์ช่วยจัดการให้เสร็จเรียบร้อยโดยไปเข้าร่วมประชุม 3rd Congress Association of Southeast Asian Pain Societies and Neuropathic Pain Special Interest Group เรียกสั้นๆว่า ASEAP & NeuPSIG  ระหว่างวันที่ 17-21 เมษายน 2552 พักที่ Grand Bali Hotel ซึ่งเป็นที่จัดประชุมด้วย เขาบอกว่าเป็นโรงแรมระดับ 4 ดาว แต่ขอจัดให้แค่ 2 ดาวครึ่ง เพราะห้องพักเก่ามาก มีกลิ่นอับในห้อง ระบบแอร์ และ ไฟฟ้าก็มีปัญหาต้องแก้ไขหลายรอบ ดีที่ลิฟท์ยังใช้งานได้ดี แต่สภาพบรรยากาศโดยรอบก็พอใช้ได้ เป็นโรงแรมติดทะเล มองจากห้องจะเห็นมหาสมุทรอินเดียและเห็นภูเขาไฟ Agung เป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว ชายหาดเป็นทรายสีน้ำตาลปนดำเพราะเป็นดินจากภูเขาไฟ หาดทรายขาวบ้านเราไม่ว่าจะเป็นที่ภูเก็ตหรือสมุยสวยกว่ามาก บริเวณใกล้โรงแรมแห่งนี้มีสนามกอล์ฟขนาด 9 หลุม แต่มารอบนี้ไม่ได้คิดจะมาตีกอล์ฟ มาศึกษาเรียนรู้และอัพเดทข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง Pain มากกว่า

 

 

                ออกเดินทางจากสนามบินสุวรรณภูมิวันที่ 17 เมษายน 2552 โดยการบินไทย ถึงสนามบิน Denpasar ช่วงบ่ายๆ จากนั้นนั่งรถโค้ชไปรับประทานอาหารว่างและชมบรรยากาศบนยอดเขาที่เรียกว่า Garuda Wisnu Kencana ( GWK ) cultural park อยู่แถบ Nusa Dua บริเวณนี้มีภัตราคารชื่อ Jendela Bali มองเห็นเมืองบาหลี และสุดสายตาไกลออกไปจะเป็นมหาสมุทรอินเดีย หลังจากรับประทานอาหารว่างกันเสร็จแล้ว ก็เดินดูบรรยากาศโดยรอบเก็บภาพจนหนำใจจึงเดินต่อไปยัง GWK cultural park ซึ่งบริเวณนี้มีรูปแกะสลักพระวิษณุ ที่ทำจากทองแดงผสมทองสัมฤทธิ์หนักมากกว่า 400 ตัน องค์พระวิษณุเป็นลำตัวครึ่งท่อนบนที่ไม่มีแขน แขนและมือทั้งสองข้างจะไปวางอีกทีหนึ่งซึ่งอยู่ใกล้กันแต่ยังสร้างไม่เสร็จ หลังองค์พระวิษณุจะมีรูปแกะสลักนกการูด้า ซึ่งเป็นพาหนะของพระวิษณุ ได้ถ่ายรูปกันพอสมควรแล้วจึงเดินทางเข้าที่พัก

 

                            ค่ำคืนนี้มีพิธีเปิดของการประชุม จัดที่ห้องประชุม Agung ในโรงแรม Grand Bali ในการนี้ Dr. Husni A. Tanra ( วิสัญญีแพทย์ ชาวอินโดนีเซีย ) เป็นประธานในการจัดประชุมคราวนี้ได้กล่าวเปิดงาน สำหรับ Dr. Idrus A. Paturusi ( หมอออร์โธฯ ชาวอินโด ) เป็นประธาน Indonesian Pain Societies พิธีเปิดเรียบง่ายสั้นๆ มีการแสดงพื้นเมืองเล็กน้อยโดยแพทย์และแพทย์ประจำบ้านชาวอินโด จากนั้นก็แยกย้ายกันไปรับประทานอาหารค่ำกันที่จัดโดยงานประชุมคราวนี้ แต่พวกเราออกไปทานกันริมชายหาด Jimbaran ซึ่งจัดโต๊ะอาหารบนหเดทรายกันเลย เสริฟอาหารทะเลมากันคนละถาดประกอบด้วยกุ้ง หอย ปู และปลาทะเลเผาครบชุด มีข้าวใส่กระติ๊บต่างหากพร้อมด้วยผักบุ้งลวก ได้น้ำจิ้มทะเลจากประเทศไทยมาเสริม ทำให้เพิ่มรสชาดอาหารมากขึ้นทีเดียว ชายหาดบริเวณนี้ใกล้สนามบินนานาชาติ Ngurah Rai เลยได้ฟังเสียงเครื่องบิน ผสมเสียงคลื่นเคล้าเสียงดนตรีจากวงเคลื่อนที่จำนวน 5 คน บวกกับเสียงพูดคุยทำให้ได้บรรยากาศไปอีกแบบ

                

มาประชุมคราวนี้ประทับใจวิทยากร 4 ท่านด้วยกันคือ

1.    David M. Simpson ( USA ) บรรยายเรื่อง Neuropathic pain & HIV- treatment option และ Botulinum toxin for pain จากการที่มีผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ที่มีชีวิตรอดมากขึ้น พบว่าผู้ป่วยหนึ่งในสามมีอาการปวดและชาจาก peripheral neuropathy ซึ่งเป็นผลจากการใช้ยาต้านไวรัส ( antiretroviral agents ) เช่น didanosine ( ddl ) , zalcitabine ( ddC ) และ stavudine ( d4T ) รวมถึงยากลุ่ม protease inhibitors โดยสันนิษฐานว่ายาเหล่านี้ก่อให้เกิด nucleoside-related toxic neuropathy จาก mitochondrial toxicity แนวทางการรักษาให้รักษาตามอาการ Dr. Simpson ได้บรรยายถึงการทำ clinical trials ในการรักษา neuropathic pain ของผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยใช้ยากลุ่ม pregabalin และ high concentration capsaicin patch (แผ่นแปะผิวหนังชนิด capsaicin ยังไม่มีจำหน่ายในบ้านเรา) ผลการรักษาโดยรวมดีกว่ายาหลอก ( placebo )  สำหรับ botulinum toxin มีแนวโน้มนำมาใช้ใน neuropathic pain มากขึ้น แต่ประสิทธิภาพในการรักษายังไม่ชัดเจนนัก

2.    Ralf Baron ( Germany ) บรรยาย 2 เรื่องคือ antidepressants VS anticonvulsants และ What is chronic low back pain neuropathic ? Dr. Baron บรรยายถึงกลุ่มยาที่ใช้รักษา neuropathic pain จำแนกเป็นยากิน 5 กลุ่มคือ antidepressants ( reuptake blocks ) , anticonvulsants with Na-blocking action , anticonvulsants with Ca-modulating action , tramadol , และ opioids ส่วนกลุ่มยาทาเฉพาะที่ได้แก่ capsaicin และ ยาชา ผู้ป่วยchronic low back pain การแยกกลุ่มที่มี nociceptive pain หรือ neuropathic pain เด่นอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้มุ่งประเด็นการรักษาไปในด้านเด่นได้ง่ายขึ้น จากการทำ cohort study ผู้ป่วย chronic low back pain 8000 ราย โดยใช้ PainDetect Questionnaire ในการคัดกรองผู้ป่วยที่มี neuropathic pain เด่นชัด พบมีความชุกถึง 37 % ซึ่งผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักมีอาการซึมเศร้า หวาดกลัว วิตกกังวล และมีปัญหาการนอนหลับร่วมด้วย ดังนั้นการรักษาต้องแก้ปัญหาเหล่านี้ร่วมกันไปด้วย

3.    Yeo Aow Nam ( Singapore ) บรรยายเรื่อง  Acute pain management เป็นคนเอเซียที่บรรยายเรื่อง pain mechanism ผสมผสานกับ clinical application ได้ดีมาก

4.    Anthony Dickinson ( UK ) บรรยายเรื่อง Mechanism of chronic pain และ Decending inhibitory and excitatory mechanism in pain. Dr. Dickinson สามารถบรรยายเรื่อง pain mechanism ที่ยุ่งยากซับซ้อนให้ดูเข้าใจได้ง่ายๆ ถือว่าเป็นวิทยากรชั้นนำประดับวงการ pain มาช้านานและขาดไม่ได้ ระยะหลังมีการศึกษา pain pathway ที่ควบคุมจากสมองลงมายังไขสันหลังที่เรียกว่า descending facilitations/inhibitions ซึ่งบริเวณชุมสายอยู่ที่ amygdale และ hypothalamus รับส่งทั้งระบบความเจ็บปวด อารมณ์ และระบบประสาทอัตโนมัติ การศึกษาในสัตว์ทดลองที่เกี่ยวกับ neuropathic pain และ cancer pain ความเจ็บปวดเกิดจากการกระตุ้นบริเวณ brain stem ผ่าน descending facilitations ไปจ่อที่ 5HT3 receptors ที่ไขสันหลัง การลดการทำงานของเส้นทางนี้ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยา หรือการปรับพฤติกรรมโดยการทำสมาธิ วิปัสสนา การฝึกมองโลกในแง่ดี หรือคิดบวก น่าจะผ่านเส้นทางนี้

 

การบรรยายโดยวิทยากรท่านอื่นๆไม่มีอะไรประทับใจเป็นพิเศษ มีวิทยากรจากประเทศไทยไปบรรยาย 2 ท่านคือ หมอประดิษฐ์และอาจารย์พงภารดี

อากาศที่บาหลีร้อนชื้นเหมือนเมืองไทย มีโอกาสไปเที่ยววัดที่บาหลีจำชื่อไม่ได้แล้วที่มีลิงกระจายอยู่ทั่วไป และแล้วก็โดนลิงฉกแว่นตาหายลงไปจากหน้าผา โชคดีที่มีแว่นสำรองติดมาด้วยไม่งั้นเหมือนคนกึ่งตาบอดไปเลย นอกจากนี้ไปเดินเล่นที่ Kuta beach ในเมืองได้ผ้าม่านทำจากผ้าฝ้ายขนาด 1.2 x 2.0 เมตรจำนวน 4 ผืนเพราะต่อราคาได้ผืนละ 5 US$ จากราคา 12 US$ ก็ถูกกว่าบ้านเราอยู่แล้ว ไปลองบาหลีสปามาแล้วยังไงก็สู้ไทยสปาไม่ได้เลย

  

วันสุดท้ายก่อนกลับ ( 21 เมษายน 2552 ) ไปดูระบำบารองต่อด้วย shopping ที่ Ubud เวลากระชั้นมากแค่ 45 นาที เท่านั้น เลยไม่ได้อะไรติดมือกลับมา ได้เวลาไปสนามบินแล้ว โอกาสหน้าฟ้าใหม่คงได้มาอีกเพราะเดินทางไม่ไกลจากเมืองไทยเท่าไรนัก รอบหน้าอาจจะเป็นทัวร์กอล์ฟ

 

         

 

โดยหมอจันทร์

 

คำสำคัญ (Tags): #pain#บาหลี
หมายเลขบันทึก: 264141เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2009 08:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 00:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • แวะมาเยี่ยมครับอาจารย์
  • มาเรียนรู้ครับ (แบบไม่ค่อยเข้าใจ อิอิ...)
  • เผื่อวันหน้าอาจจะมีประโยชน์ ถ้ามีโอกาสศึกษาสายงานนี้บ้าง ...เหมือนอย่างที่เคยฝัน-และฝันอยู่ครับ
  • ยังไม่เคยไท่บาหลี
  • เลยครับ
  • อยากเห็นภาพ
  • สงสัยต้องหาเรื่องไป
  • ฮ่าๆๆ
  • ขอบคุณมากครับ

น้องอำนวยคะ

ศัพท์เทคนิคทางแพทย์คงเข้าใจยากสักหน่อย ดูรูปพักสายตาดีกว่า

อ.ขจิตคะ

ขอบคุณที่แวะเข้ามาค่ะ ฝากรูปที่บาหลีไว้ดูเล่นค่ะ

   

              ภูเขาไฟอากุง ถ่ายจากโรงแรม Grand Bali

 สาวบาหลี    พระวิษณุ

      

ระบำบารอง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท