take home: ข้อเสนอการนำมาตรการทางกฎหมายของไทยที่มีอยู่มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพ คปสอ.


นศ.กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาแล้ว บางคนเป็นหัวสถานีอนามัย เป็นสาธารณสุขอำเภอก็มี มีหลายคนที่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับ คปสอ.

     ภาคเรียน summer นี้ มี นศ. 36 คนมาขอลงเรียนวิชากฎหมายสาธารณสุขและนิติเวชศาสตร์ (Public Health Law and Forensic Medicine) โดยครึ่งหลังที่เป็นนิติเวชศาสตร์ ได้อาจารย์หมอวีระชัย สมัย จากคณะแพทย์ มอ.มาช่วยสอนด้วย 

     พรุ่งนี้ก็จะครบกำหนดที่ นศ.จะต้องส่ง take home ที่เป็นส่วนของครึ่งแรก ซึ่งได้ให้โจทย์ไปตั้งแต่คาบแรกดังนี้

    • ขอให้ นศ.จัดทำข้อเสนอด้วยการใช้มาตรการทางกฎหมาย ที่จะเพิ่มประสิทธิภาพให้เต็มที่ (ดีกว่าในปัจจุบัน) ของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.) ในการขับเคลื่อนงานเพื่อพัฒนาการสาธารณสุขในระดับอำเภอ โดยประมวลความรู้จากกฎหมายด้านสาธารณสุขและที่เกี่ยวข้องทั้งหมด (ทั้ง 6 กลุ่มกฎหมาย) ทั้งนี้ให้เลือกเอาเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาข้อเสนอดังกล่าว  (20 คะแนน) และกฎหมายทั้ง 6 กลุ่มคือ
      • กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบสุขภาพโดยรวม
      • กฎหมายเกี่ยวกับบุคลากร 
      • กฎหมายเกี่ยวกับสถานบริการสาธารณสุข
      • กฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ 
      • กฎหมายเกี่ยวกับการป้องกัน และควบคุมโรค
      • และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสุขภาพของประชาชน
    • ความยาวของข้อเสนอประมาณ 3-4 หน้ากระดาษคำตอบ กำหนดส่งวันที่ 9 พฤษภาคม 2552 
    • กติกาเขียนด้วยลายมือ ด้วยความคิดที่ตกผลึกได้จากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง กรณีที่ นศ.จะปรึกษาหารือผู้รู้ หรือจะร่วมกันอภิปราย หรือจะค้นคว้าจากเอกสาร บทความ หรือวรรณกรรมใด ๆ (ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก) ก็ให้อ้างอิงมาให้ถูกต้องด้วย และต้องไม่ซ้ำกัน เพราะเหตุลอกกัน
    • แหล่งข้อมูลที่ได้รวบรวมไว้แล้วเพื่อประกอบการเรียนการสอนดาวน์โหลดได้ที่ http://www.esnips.com/web/PHL-FM-1

     อยากอ่านมาก ๆ ว่า นศ.จะตอบกันมาอย่างไรบ้าง เพราะ นศ.กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีประสบการณ์ในการทำงานมาแล้ว บางคนเป็นหัวสถานีอนามัย เป็นสาธารณสุขอำเภอก็มี มีหลายคนที่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับ คปสอ. ได้คำตอบมาอย่างไร จะได้นำมาสรุปไว้อีกทีในภายหลัง เพื่อจะได้เป็นประโยชน์บ้างในอนาคตของการพัฒนาระบบสุขภาพ


 

หมายเลขบันทึก: 260051เขียนเมื่อ 9 พฤษภาคม 2009 00:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

"ร่วมกันอภิปราย หรือจะค้นคว้าจากเอกสาร บทความ หรือวรรณกรรมใด ๆ (ซึ่งเป็นเรื่องที่ดีมาก) ก็ให้อ้างอิงมาให้ถูกต้องด้วย และต้องไม่ซ้ำกัน เพราะเหตุลอกกัน "

สวัสดีครับอาจารย์ จะได้รู้จริง ทำจริง ไม่อิงกลุ่ม แล้วความรู้ความเข้าใจจะติดตัวไปตลอดจริงครับอาจารย์

สวัสดีครับบังหีม

  • ก็ใช้วิธีสอนให้หาปลานะครับ ไม่ได้สอนว่าให้ทำเบ็ดนะครับ เผื่อเขาอาจจะมีอะไรดี ๆ ที่ไปหาความรู้มาได้ว่านอกจากเบ็ดแล้วยังมีเครื่องมืออื่นที่เหมาะกับการหาปลามากกว่าเบ็ดก็เป็นได้ครับ แหล่งความรู้มีเยอะเลย เพียงทำหน้าที่ช่วยเหลือให้เขาได้เรียนรู้นะครับ 
  • ว่าแต่บังหีมล๊ะ นอนดึกหรือว่าอยู่เวรล๊ะครับคืนนี้

อยู่เวรครับ คืนนี้มีประชุมกลุ่มเกษตรประจำเดือน แล้วมาคุยเตรียมงานประชี้แจงทำความเข้าพาชาวบ้านไปดูงานการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่ควนรู เพราะ เสาร์ อาทิตย์ผมไม่อยู่ จึงมอบหมายงานครับ

เรียนท่านอาจารย์ชายขอบ กฏหมาย บางครั้งโดนกฏหมู่บีบบังคับ ไม่ได้ยึดชาติเป็นหลักครับ

บังหีมครับ

  • เมื่อคืนเตรียมงานสอน กศบป.ไม่ได้เข้ามาดู
  • ผมก็อยากไปเห็นกับตาสักทีที่ควนรู ว่าง ๆ ชวนมั่งจะตามไปดูด้วยคน

สวัสดีครับอาจารย์

  • จริง ๆ แล้วไม่มีอะไรมาบีบบังคับกฎหมายได้ 
  • เพียงแต่ว่าตามสุภาษิตกฎหมาย "ความเคารพต่อกฎหมายเป็นปัจจัยสำคัญแห่งกฎหมาย"
  • เมื่อไม่เคารพก็หมดกันพอดี
  • ตามมาก่อกวน
  • ดีใจที่สอนโดยให้นักศึกษาหาปลาเอง
  • มากกว่าการสอนโดยให้ปลา
  • ดีใจจะได้พบน้องบ่าว อิอิๆๆ

สวัสดีครับ อ.ขจิต

  • ผมหลงทาง ไม่ได้มตอบ คห.นี้ครับ
  • กราบงาม ๆ ขออภัยด้วยนะครับ
  • ครับ ผมไม่ยอมให้ปลาครับ เพราะไม่ทราบว่าเขาชอบปลาอะไร หรือ่วนไหนของปลา เขาหาเอาองดีกว่าครับ บอกเพียงจะต้องหาอย่างไร และอะไรที่เหมาะกับปลาชนิดไหนก็ให้ไปเรีบยจากปราชญ์(ผู้ปฏิบัติกับตัวเอง)เอาครับ เขารู้กว่าเราเป็นไหน ๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท