10.ได้เวลาเเลกเปลี่ยนเรียนรู้


CoP แนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายและครอบครัวแบบองค์รวม

บ่ายวันที่ 30 เม.ย.52 เรานัดหมายสมาชิก CoP แนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายและครอบครัวแบบองค์รวมมาคุยกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามเคย ปีนี้เราได้งบประมาณจากสำนักงานจัดการองค์ความรู้คณะเเพทย์มา 2000 บาท บรรยากาศในการทำ KM ในวันนี้ถึงเเม้คนจะน้อยเเต่คิดว่าสิ่งที่เราได้จากการพูดคุยไม่น้อยเลยทีเดียว

บรรยากาศขณะพูดคุย พี่เเก้วซึ่งเป็นที่ปรึกษาและสมาชิก พี่เกศ ผู้ดำเนินการกลุ่ม( facilitator ) ท่านอาจารย์ศรีเวียง

และฉันเป็นผู้บันทึกเเละประมวลความรู้

พี่เขียว หัวหน้าหอผู้ป่วย 3ง หนึ่งในสมาชิกเเละที่ปรึกษา ครูศิริพร( ครูโครงการ child life program)

เราได้รับข้อเสนอเเนะที่ดีจากพี่เเก้ว.เเละจะตามไปดูงานต่อ

ขุมทรัพย์ ความรู้ (knowledge Assets)

CoP แนวทางปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายและครอบครัวแบบองค์รวม

  

ประเด็นหลัก/หลักการสำคัญ

(Crittical issues )

เรื่องเล่า/ตัวอย่างประสบการณ์

Story telling/ experience sharing)

แหล่งข้อมูล /บุคคล

(Sourse /person)

  1. ใส่ท่อช่วยหายใจ ดี หรือไม่ดีในผู้ป่วยระยะสุดท้าย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

2.       การบริหารจัดการเตียง Admit ล่าช้า

เริ่มต้นทักทายและแนะนำกล่าวถึงการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้และครั้งที่ผ่านมาเปิดประเด็นวันนี้ด้วยหัวข้อ ใส่ ท่อช่วยหายใจ ดี หรือไม่ดีในผู้ป่วยระยะสุดท้าย

 

การใส่ท่อช่วยหายใจจะมีประสบการณ์ในคนไข้ผู้ใหญ่มากกว่ากรณีที่อยู่ในระยะสุดท้ายไม่ตอบสนองต่อยาเคมีบำบัด ส่วนมากคนไข้และครอบครัวจะไม่ให้ใส่แล้วทีมก็จะเตรียมคนไข้เพื่อกลับบ้านโดย ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัว และประสานไปที่โรงพยาบาลชุมชนหรือ PCU โดยเขียนใบ refer ให้คนไข้ โดยในคนไข้มะเร็งผู้ใหญ่ เขาจะมีสมุดบันทึกประจำตัวซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นตัวเชื่อมต่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน พยาบาลจะช่วยแพทย์ในการจดบันทึกกิจกรรมการรักษา สมุดเล่มนี้ทำให้เกิดการดูแลที่ต่อเนื่อง

 

คนไข้เด็กเราจะไม่ค่อยไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่น ส่วนใหญ่ไปแล้วก็จะขอส่งตัวมาแต่ถ้าเขามีความจำเป็นต้องไปที่อื่น เราต้องแนะนำเขา

 

พบปัญหาในการมารับการรักษาที่ OPD แล้วมีความล่าช้าในการ Admit ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่มีปัญหาเรื่องปวดที่ แล้วต้องการ Admit ด่วน ได้เข้าไปช่วยในการบริหารจัดการให้ผู้ป่วยขึ้นตึกเร็วขึ้น จึงมองว่าตรงนี้การหมุนเวียนจัดการเตียงคนไข้กลับบ้านยังล่าช้า

 

คุณเกศนี

(Facilitator)

 

 

 

 

 

คุณอุบล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                 ครูศิริพร

 

 

 

 

คุณเกศนี

 

 

 

 

 

 

 

ประเด็นหลัก/หลักการสำคัญ

(Crittical issues )

เรื่องเล่า/ตัวอย่างประสบการณ์

Story telling/ experience sharing)

แหล่งข้อมูล /บุคคล

(Sourse /person)

 

หมอเคยเห็นเขาทำวิจัยในเรื่องการบริหารจัดการเตียงที่ไม่

เพียงพอเราต้องค้นหาปัญหาก่อนว่าทำไมเตียงไม่ว่างซักที

คนไข้คิดเงินกลับบ้านช้าเพราะอะไร หมอสั่งกลับบ้านแต่เช้า ทำไมคนไข้ยังไม่ได้กลับ เราต้องไปคนหาต้นตอของปัญหาเลยแล้ววิธีการแก้ปัญหาอาจจะทำวิธีนี้

  1. ทำเป็นห้อง waiting room
  2. นั่งรอแล้วมีพยาบาลช่วยบริหารจัดการเรื่องยา เรื่องการคิดเงิน 

ต้นเหตุที่พบเท่าที่เจอคือแพทย์ order กลับบ้านช้า

และเขียนใบนัด ในยาเคมีบำบัดช้าไม่เรียบร้อย

คิดเงินยังเป็นคนไข้ไปคิดเอง บางทีลืมนั่นลืมนี่คนไข้ต้องเดินกลับไปมาหลายรอบ

 

ที่หอผู้ป่วย 5จ เราทำแบบี้แล้วคือ มีคนคิดเงินให้เรียบร้อยคนไข้นั่งรอเฉยๆ มีห้องรอกลับบ้านตอนนี้ของบประมาณได้แล้วหนึ่งแสนบาทเพื่อปรับปรุงเป็นห้อง waiting room แต่ก่อนที่จะได้งบประมาณมาเราวิเคราะห์ตลอด ความล่าช้าในการขึ้นมา Admit คืออะไร

-          ผู้ป่วยนัดแล้วไม่มากี่เปอร์เซ็นต์

-          วิเคราะห์จนได้ว่าควรจะนัดมากี่คน/วัน

-          กลับบ้านก็ให้เป็น one stop service

-       วิธีจัดการอีกอย่างคือเวรเช้าหัวหน้าจะมาถามในการ conference เลยว่าวันนี้มี  case ที่มานอนรอเฉยๆ อยู่โรงพยาบาลโดยไม่จำเป็นกี่คน

พยาบาลทุกคนจะตอบได้ ซึ่งเราก็จะเป็นผู้ช่วยหมออีกแรงในการบริหารจัดการเตียงแล้วก็ขึ้นกระดานไว้เลยว่ามี case นัดมากี่คน บ่าย 3 โมงจะโทรแจ้งคนไข้ที่บ้านกรณีไม่มีเตียง

 

รศ. ศรีเวียง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

คุณสุธีรา

 

 

 

 

 

คุณอุบล

 

ประเด็นหลัก/หลักการสำคัญ

(Crittical issues )

เรื่องเล่า/ตัวอย่างประสบการณ์

Story telling/ experience sharing)

แหล่งข้อมูล /บุคคล

(Sourse /person)

 

เราต้องเน้นเชิงรุกเห็นด้วยกับพี่แก้วค่ะ ทุกวันนี้เรายังต้องรอหมอ แล้วก็ตาม activity ของหมอบางทีทำให้ work load เห็นด้วยกับการทำ one stop service

จะขอไปศึกษาดูงานที่หอผู้ป่วย 5 จ ของพี่แก้ว

 

วันนี้เราได้ประเด็น 2 ประเด็นในส่วนของการใส่ท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยระยะสุดท้าย ใส่ดีหรือไม่ใส่ เราจะมาต่อกันคราวหน้า ส่วนประเด็นการบริหารจัดการเตียงถือว่าวันนี้ได้ประโยชน์อย่างมากคิดว่าจะได้ไปพัฒนาต่อและขอดูงานที่หอผู้ป่วย 5จ ซึ่งพี่แก้วยินดีตลอดเวลา

 

คุณสุดารัตน์
หมายเลขบันทึก: 259219เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2009 15:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (20)

มาร่วมเชียร์ห่างๆค่ะ

แต่เห็นอาหารว่างแล้วก็ยิ้มออกมาไม่เครียดแล้ววงสนทนานี้ อิอิ

สวัสดีค่ะคุณ สุธีรา

***ติดตามมาให้กำลังใจทีมงานทุกคนนะคะ

ขอบคุณพี่ครูต้อยค่ะที่มาเชียร์

ขอบคุณพี่ครูกิติยาค่ะที่มาช่วยเป็นกำลังใจอีกเเรง

สวัสดีค่ะ พี่สุธีรา

เห็นส้มกับฝรั่ง น้ำตาไหลเลยค่ะ

อิอิ น้ำลายไหลเลยค่ะ

ยังไม่ได้กินข้าวเลย โห

สู้ ๆ ค่ะ

  • ใส่ใจในทุกขั้นตอน  ไม่แปลกใจเลยนะคะว่าทำไมพยาบาลจึงใส่ชุดสีขาว เหมือนแม่ชีเลยค่ะ  มีความเป็นแม่พระ ให้ความสำคัญกับชีวิตคนไข้
  • ผลจากการแลกเปลี่ยน เล่าเรื่อง ทบทวนและวิเคราะห์จะทำให้พัฒนาคุณภาพจากตัวเราสู่องค์กร ดีจริง ๆ ค่ะ

มาทานด้วยกันมั๊ยคะน้องกอก้าน

อร่อยมากมะม่วง น้ำลายไหลใช่ม๊า

สวัสดีค่ะพี่ศิลาขอบคุณนะคะที่มาเป็นกำลังใจ อุ๊ย! ชมเกินไปเเล้วค่ะ

เเต่ก็ขอรับเอาแล้วกันนะคะ

สวัสดีครับคุณ กุ้งนาง "บันทึกและประมวลความรู้" เยี่ยมจริงครับ นำมาขยายให้เรียนรู้กัน ขอบคุณครับ

น้องกุ้ง พี่ได้งบพัฒนาจาก สปสช เกือบ 4 แสนค่ะ

สำหรับสมุดประจำตัวผู้ป่วย เราใช้ในการจดบันทึกการให้ยาเคมีบำบัด ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น การแพ้ยา ประวัติการผ่าตัด และอื่นๆค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณสุธีรา

เข้ามาเยี่ยม เข้ามาทักทายค่ะ

How are you?

โชคดี มีสุขค่ะ

สวัสดีค่ะลุงวอญ่า หายไปนานนึกว่าจะไม่มาเยี่ยมแล้ว ขอบคุณที่แวะมา

ขอบคุณค่ะพี่เเก้วสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

สวัสดีค่ะครูภัทรโชคดีมีสุข เช่นเดียวกันค่ะ

ผมไปเห็นรูปแบบการบริการแบบ day care ของ Hospis Malaysia มาเลเซีย สำหรับ palliative care

  • นอกจากจะเป็นเรื่องกิจกรรมสำหรับคนไข้ที่ทำร่วมกันแล้ว
  • ยังมีบริการเปลี่ยนสายยาง ให้ยา..น่าจะรวมเคมีบำบัดบางตัวด้่่วย แต่ไม่ใช่เรื่องหลัก
  • ถ้าจะประยุกต์มาใช้ในสถานการณ์ เตียงไม่ว่าง ของบ้านเรา น่าจะช่วยลดความจำเป็นต้องใช้เตียงในบางคนได้นะครับ
  • Thanks so much
  • Because we work as a team
  • You always did very well done! ค่ะ
  • น้องกุ้งอย่าลืมส่งข้อมูลให้น้องทราย update ..ของ KM คณะนะคะ เพราะเราจะเข้าประกวด Show and Share ด้วยค่ะ เพราะเขาจะดู movement ของบลอคเราด้วยค่ะ
  • ด้วยรัก

ตามมาดูก่อนนะครับ ขยันกันจังเลย

อาจารย์หมอเต็ม น่าสนใจมากค่ะอยากให้ที่ขอนเเก่นมีห้องตรวจเเยกเฉพาะสำหรับ case palliative จะดีมากค่ะและมีพยาบาลคอยดูแล 1-2 คน กุ้งจะสมัครเป็นคนแรกเลยค่ะ แต่ตอนนี้ยังเป็นความฝันอยู่ค่ะ คิดเองค่ะถ้าเป็นไปได้จะดีมากๆ

น่าจะใช้ลดปัญหาเตียงไม่ว่างได้ เดี๋ยวจะลองเสนอไปที่ทีมนะคะ

พี่เกศขอบคุณนะคะกุ้ง link ข้อมูล blog นี้ไปให้ทรายแล้วนะคะ โทรแจ้งทรายและทรายบอกว่าได้รับแล้วค่ะ

ขอบคุณอาจารย์ขจิตค่ะ สงสัยจะยังขยันน้อยกว่าอาจารย์ขจิตอยู่ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท