ลดความเหลื่อมล้ำ ลดอย่างไร ใครทำ


 

เหล่านี้คือประเด็นที่เราจะร่วมกันเสวนา

ด้วยกระบวนการ World Café ใน GotoKnow Forum 

วันที่ 25 พฤษภาคม นี้

 


1.      เข้าถึงความรู้ (Access to Knowledge)

2.      พัฒนาศักยภาพบุคคล (Capacity Building)

3.      พัฒนาเนื้อหาความรู้ (Content Development)

4.      พัฒนาสื่อ (Media Development)

5.      อิสระที่จะเข้าถึงและเผยแพร่ความรู้ (Freedom of Expression)

6.      จารึกความรู้ (Memory of the World)

 


 

 

1.      เข้าถึงความรู้ (Access to Knowledge)

ทำอย่างไรก็ได้ให้ความรู้เป็นเรื่อง "หยิบง่าย ใกล้ตัว"

 

-          ทำหนังสือ เป็นแหล่งรวบรวมความรู้                ง่ายในการหาความรู้

-          สร้างห้องสมุด เป็นศูนย์รวมข้อมูลความรู้           ง่ายในการค้นคว้า

-          นำข้อมูลความรู้เผยแพร่ผ่านสื่อ                      ง่ายในการกระจายความรู้ เข้าสู่คนหมู่มาก

-          ให้อิสระที่จะเลือกหาความรู้ อยากอ่าน อยากเห็น ได้ตามใจ        
           ง่ายในการลบข้อจำกัดการเข้าถึงความรู้

-          สร้างเครื่องมือที่จะเข้าถึงความรู้ เช่น Google อยากรู้เรื่องอะไรเพียงพิมพ์ลงไป หรือ สร้างห้องสมุดออนไลน์ อ่านหนังสือในซีกโลกต่าง ๆ ได้ง่ายจัง      ง่ายใช้ ง่ายเข้าถึง

 

ใครมีวิธีการมากกว่านี้ อย่าเก็บไว้คนเดียว ช่วยบอกเราหน่อย!

 

2.      พัฒนาศักยภาพบุคคล (Capacity Building)

ทำอย่างไรให้เมื่อมีแหล่งความรู้ "ผู้ใช้ เข้าใจได้ ใช้เป็น"

 

-          มีคอมพิวเตอร์ มีอินเตอร์เน็ต แต่ใช้ไม่เป็น         ไปอบรม ไปเรียนเสียเดี๋ยวนี้เลย

-          ผู้หญิงบางประเทศ บางศาสนาถูกจำกัดที่จะศึกษาเรียนรู้ เพราะค่านิยม และวัฒนธรรม
           เรื่องนี้เรื่องใหญ่ พูดไประวังทะเลาะกัน สิ่งสำคัญ คือต้องอยู่บนพื้นฐานของการเคารพและให้เกียรติซึ่งกันและกัน

-          สร้างค่านิยมในการรู้เท่าทันสื่อ อย่าเชื่อทุกอย่างที่ชมจากโทรทัศน์ ฟังจากวิทยุ อ่านจากอินเตอร์เน็ต ทุกขั้นตอนล้วนผ่านการกระบวนการคิดจากคนหลายคน หลายกลุ่ม อาจถูกกรองมาแล้วจากหลากหลายค่านิยม ความเชื่อ และวัฒนธรรม

-          เด็กกับคอมพิวเตอร์ เรื่องจำเป็นที่ต้องสร้างกันตั้งแต่เด็ก เพราะคอมพิวเตอร์กลายเป็นเครื่องมือสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ไปแล้ว

-          คอมพิวเตอร์กับผู้พิการ อักษรเบลล์ / นักพากษ์ในกรอบเล็กในหน้าจอโทรทัศน์ เกิดขึ้นจากคำถามที่ว่าทำอย่างไรให้ผู้พิการทางสายตาเข้าถึงความรู้ได้ อ่านหนังสือได้ ใช้คอมพิวเตอร์ได้ ผู้พิการทางหูเข้าถึงความรู้ได้ เป็นต้น

 

ใครมีวิธีการมากกว่านี้ อย่าเก็บไว้คนเดียว ช่วยบอกเราหน่อย!

 

3.      พัฒนาเนื้อหาความรู้ (Content Development)

ทำอย่างไรให้เนื้อหาความรู้ "เป็นประโยชน์ ครอบคลุม"

 

-          จัดระบบภาษาใหม่ในโลก ภาษาทางด้านคอมพิวเตอร์ที่ไม่เคยมีในสมัยพระนเรศวร

-          เขียนบล็อกเผยแพร่เรื่องสุขภาพ

 

ใครมีวิธีการมากกว่านี้ อย่าเก็บไว้คนเดียว ช่วยบอกเราหน่อย!

 

4.      พัฒนาสื่อ (Media Development)

ทำอย่างไรให้ "ความรู้ถึงทุกบ้าน"

 

-          สร้างสื่อสาธารณะ ทุกคนสามารถใช้สื่อเผยแพร่ความรู้ได้ เช่น วิทยุชุมชน โทรทัศน์ชุมชน อินเตอร์เน็ตชุมชน เป็นต้น

-          สร้างสื่อการเรียนการสอน ครูสอนง่าย เด็กเข้าใจ

-          สร้างศูนย์ข้อมูลความรู้ออนไลน์ เช่น Wikipedia

 

ใครมีวิธีการมากกว่านี้ อย่าเก็บไว้คนเดียว ช่วยบอกเราหน่อย!

 

5.      อิสระที่จะเข้าถึงและเผยแพร่ความรู้ (Freedom of Expression)

ทำอย่างไรให้ "ทุกคน เข้าถึงได้ ไม่เอาเปรียบ"

 

-          บัญญัติกฎหมายสื่อ ให้ทุกคนได้รับความเท่าเทียมในการเข้าถึงความรู้

-          อิสระของสื่อสารมวลชนในการเผยแพร่ความรู้

-          บทบาทของสื่อในสถานการณ์ความขัดแย้งและเสร็จสิ้นความขัดแย้ง

           (สำคัญที่ สื่อจะเป็น "กระจก" หรือ "ตะเกียง")

 

ใครมีวิธีการมากกว่านี้ อย่าเก็บไว้คนเดียว ช่วยบอกเราหน่อย!

 

6.      จารึกความรู้ (Memory of the World)

ทำอย่างไรให้ "เก็บประวัติศาสตร์โลกไว้ ใช้ประโยชน์"

 

-          "เก็บหนังสือเก่าไว้ อย่าเห็นว่าไร้ค่า วันหนึ่งอาจมีราคา หาค่ามิได้"

-          สร้างมรดกโลก เช่น เมืองมรดกโลก อันควรค่าแก่การศึกษาประวัติศาสตร์

-          นำเทคโนโลยี ช่วยในการเก็บข้อมูลความรู้ เช่น เก็บหนังสือเก่ารูปแบบอิเลกทรอนิกส์

 

ใครมีวิธีการมากกว่านี้ อย่าเก็บไว้คนเดียว ช่วยบอกเราหน่อย!

 

ไม่เพียงแต่ใน GotoKnow Forum เท่านั้น

เราอยากให้เรื่องเหล่านี้ ที่แสนจะใกล้ตัว

อยู่ในจิตใต้สำนึกของทุกท่านตลอดเวลา (ถ้าเป็นไปได้) และตลอดไป (ถ้าท่านอยู่ถึง)

หมายเลขบันทึก: 258792เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2009 16:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (32)

สวัสดีค่ะ

  • โรงเรียนพี่คิมมีโครงการจะจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ
  • เรื่องการสร้างบล็อกให้กับครูในตำบล ผู้ปกครองและนักเรียนค่ะ
  • วันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๒
  • แล้วจะมาเล่านะคะว่า..เป็นอย่างไร

สวัสดีค่ะ

***จะสร้างห้องสมุดประจำศูนย์ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านภายในศูนย์ รวบรวมข้อมูลหนังสือน่าอ่านประเภทต่างๆให้ได้เป็นจำนวนที่เพียงพอและง่ายแก่การค้นคว้าค่ะ

-ครูต้อยจะแข่งขันความสามารถทางวิชาการผ่านบล็อกค่ะ

-การนำเสนอผลงานนักเรียน ผ่านบล็อกโดยนักเรียน

-ค้นหาขวัญใจนักเรียนจิตสาธารณะ ผ่านบล็อก เอาขึ้นบล็อก

   พวกเราช่วยกันโหวต ให้รางวัล กระตุ้นให้เด็กสร้างกรรมดีค่ะ

ให้แต่ละสายงานอาชีพ/ ความชอบ /ความถนัดในบ้านหลังนี้จัดทำวิจัยงานประเภทต่างๆ ร่วมกัน โดยให้ผู้เชี่ยวชาญในนี้เป็นที่ปรึกษา

มาชม

อ่านดีมีสาระนะครับ คุณJarinya

มีข้อที่ควรแก้ไขคือ.."เก็บประศาสตร์โลกไว้ ...

"ลดความเหลื่อมล้ำ ลดอย่างไร" คิด เขียน ใครๆ ก็ทำได้

ความจริงต่างหาก ไม่ใช่ว่าใครก็ทำได้

บันทึกนี้ควรจะได้พูดคุยกันมากมาย ไม่ใช่ผ่านแล้วผ่านเลย

ตั้งตารอคอย แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันค่ะครูคิม

คุณกิติยา เตชะวรรณวุฒิ ***จะสร้างห้องสมุดประจำศูนย์ของกลุ่มสาระการเรียนรู้ จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านภายในศูนย์ รวบรวมข้อมูลหนังสือน่าอ่านประเภทต่างๆให้ได้เป็นจำนวนที่เพียงพอและง่ายแก่ การค้นคว้าค่ะ

ถ้าลองนำ 6 ประเด็นข้างต้นมาจับ สิ่งที่คุณกิติยา เตชะวรรณวุฒิ กำลังจำทำถือเป็นการสร้างโอกาสในการเข้าถึงความรู้และ ให้อิสระในการหาความรู้ เป็นกำลังใจให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย และชื่นชมน้ำใจในการทำดีค่ะ

-ครูต้อยจะแข่งขันความสามารถทางวิชาการผ่านบล็อกค่ะ

-การนำเสนอผลงานนักเรียน ผ่านบล็อกโดยนักเรียน

-ค้นหาขวัญใจนักเรียนจิตสาธารณะ ผ่านบล็อก เอาขึ้นบล็อก

พวกเราช่วยกันโหวต ให้รางวัล กระตุ้นให้เด็กสร้างกรรมดีค่ะ ให้แต่ละสายงานอาชีพ/ ความชอบ /ความถนัดในบ้านหลังนี้จัดทำวิจัยงานประเภทต่างๆ ร่วมกัน โดยให้ผู้เชี่ยวชาญในนี้เป็นที่ปรึกษา

 

เตรียมพร้อมโหวตอยู่แล้วค่ะ ว่าแต่กำหนดการการแข่งขันประเภทต่างจะเริ่มขึ้นเมื่อไหร่นั้น อย่าลืมมากระจายข่าวกันนะคะ

 

ขอบคุณค่ะอาจารย์อุทัย หนูแก้ไขแล้วค่ะ

เห็นหน้าอาจารย์ทีไรอย่าฟังเพลงแหล่ทุกครั้งเลยค่ะ

"ลดความเหลื่อมล้ำ ลดอย่างไร" คิด เขียน ใครๆ ก็ทำได้ ความจริงต่างหาก ไม่ใช่ว่าใครก็ทำได้ บันทึกนี้ควรจะได้พูดคุยกันมากมาย ไม่ใช่ผ่านแล้วผ่านเลย

 

เห็นด้วยค่ะที่คุณบวรบอกว่า ควรจะได้พูดคุยกันมากมาย ไม่ใช่ผ่านแล้วผ่านเลย ดังคำโปรยสุดท้ายที่เขียนไว้

ไม่เพียงแต่ใน GotoKnow Forum เท่านั้น

เราอยากให้เรื่องเหล่านี้ ที่แสนจะใกล้ตัว

อยู่ในจิตใต้สำนึกของทุกท่านตลอดเวลา (ถ้าเป็นไปได้) และตลอดไป (ถ้าท่านอยู่ถึง)

 

 


 


ในเรื่องนี้ขอเสนอมุมมองที่แตกต่างแต่ไม่แตกแยก

จากที่เคยคุ้นคว้าหาข้อมูลในอินเทอร์เนทแล้วพบว่า ในอินเทอร์เนทนั้นมีความรู้อย่างมากมาย แต่ต้องแยกประเด็นว่า ความรู้นั้นอยู่ในรูปแบบไฟล์และเอกสารภาษาอังกฤษ คนไทยเลยเข้าไปได้ไม่ถึง คนเข้าถึงจึงมีน้อย

ถ้าเราลองค้นหาข้อมูลต่างๆ เปรียบเทียบกันระหว่างไทยและอังกฤษ จะเห็นได้อย่างชัดเจน

ประเด็นนี้มีวิธีการแก้หลัก ๆ สองทาง คือ

หนึ่ง อย่างเช่นที่ G2K ทำอยู่ก็คือ พัฒนา ค้นหา จูงใจ ผู้รู้ ปราชญ์ต่าง ๆ เข้ามาคิด เข้ามาเขียนงานเป็นภาษาไทย นี้อย่างหนึ่ง

สอง คนแต่ละคนจะต้องพัฒนาศักยภาพของตนเองให้เข้าถึงแหล่งความรู้ที่มีอยู่อย่างมากมายซึ่งอยู่ในรูปแบบอักษร "ภาษาอังกฤษ"

หรือใครจะกล้าลงทุน แปลเอกสารภาษาอังกฤษทั้งหมดที่อยู่ในอินเทอร์เนทออกมาเป็นภาษาไทยให้คนไทยได้อ่าน

แต่ถ้ามีผู้กล้าลงทุน เจ้าของเขาก็ไม่ให้ เพราะคนโดยทั่วไป "ขี้หวง" หวงในเรื่องที่ตอนตายก็เอาไปไม่ได้

อาทิเช่น เราจะหาเอกสารตำราเรื่องต้นไม้ ใบหญ้าสักอย่างหนึ่ง

ของฟรีก็มี แต่ไม่ลึก ถ้าอยากจะได้ลึก ๆ ต้องเสียเงินไปซื้อ

หนังสือเอย นิตยสารเอย ที่ผู้เขียน บางครั้งก้ไม่ได้ตั้งใจว่าจะเขียนขาย แต่คนที่ทำหนังสือขายก็ไปติดต่อ เพราะเห็นช่องทางของรายได้

คนเขียนดี ๆ ก็เลยถูกค่ายหนังสือเซ็นสัญญาซื้อตัวไปหมด

คนที่เริ่มจะเขียนดี ก็เริ่มมองเห็นช่องทางในการทำรายได้

ดังนั้นเราควรจะพัฒนาคนเขียนดี ๆ ให้เขียนฟรี อย่างที่ G2K ได้ทำแล้วให้มีมากขึ้น และมากขึ้น

ในประเด็นแรกขอเพิ่มเติมแค่นี้ก่อน ถ้าหากใครมีใจอาวรณ์ในประเด็นใด ก็เสนอเพิ่มเติมเข้ามาได้ จักดีจริง...

ชอบที่บันทึกนี้เป็นบันทึกที่สร้างสรรค์ความคิด

ช่วยให้คิดได้หลายหลายจากข้อคอมเม้นท์

ที่มีประโยชน์ของทุกท่านล้วนทำให้เกิดปัญญา และมีสติ

ขอเพียงเรามีจิตมุ่งความสำเร็จเพื่อกลุ่มเป้าหมายของแต่ละคน

พี่เป็นครูเป้าหมายของพี่คือทำอย่างไรเด็กของพี่จึงจะมีโอกาส

เมื่อได้ทดลองให้เด็กได้รู้จักบล็อกและทดลองค้นคว้า

ทดลองนำเสนอความคิด

แม้เด็กน้อยยังทำได้ไม่เต็มร้อย

แต่พี่เชื่อว่าหากครูไม่จูงมือเด็กน้อยมาให้รู้จักบันไดขึ้นบ้าน

และประตูเข้าบ้านใหม่

ไฉนเลยเด็กน้อยจะรู้จัก

และเกิดความอยากรู้อยากลองซึ่งเป็นธรรมชาติของเด็กน้อยอยู่แล้ว

ปัญหาต่อไปคือ

ทำอย่างไรเด็กน้อยจึงจะมีความสม่ำเสมอในการเรียนรู้

พร้อมๆไปกับการเรียนรู้ คุณธรรม จริยธรรม ใฝ่รู้ใฝ่เรียน

และฝึกคิดอย่างมีวิจารณญาณ  สิ่งเหล่านี้ ต้องหาเวทีให้

กิจกรรมที่ครูได้ร่วมกันกำหนดให้...

และมีความคาดหวังตามที่ตั้งไว้ 

เมื่อลงมือทำ ได้ผลอย่างไร นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ต้องบันทึกข้อมูลเพื่อผลของการพัฒนา

อย่างน้อยเราก็ไม่ต้องหางบประมาณให้สิ้นเปลืองซ้ำซ้อน เ

รายังมีบ้านหลังนี้ ที่มีผู้ใจบุญ มีเมตตา ควรช่วยดูแล และช่วยกันหลอมเด็กน้อยให้รู้จัก ได้สัมผัสสังคมดี มีคุณธรรม

และท้ายสุดเป็นสังคมที่ทุกคนที่เข่ามีต่างมีเจตนารมย์ที่ดี ต่อการสร้างสรรค์ความดีงาม จึงขอชื่นชม ทุกท่าน ทุกอาชีพที่อยู๋ในบ้านgotoknow นี้

ขอบคุณค่ะ

เรียน คุณสุญฺญตา

จริง ๆ แล้วการทำเรื่อง Digital divide / knowledge divide ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำหรับทีมงานค่ะ

อย่างที่คุณสุญญตากล่าว ข้อมูลเพื่อศึกษาเรียนรู้ในเรื่องนี้ส่วนใหญ่ เป็นเอกสารภาษาอังกฤษ ซึ่งต้องใช้ทักษะและความพยายามในการแปล ตีความ และทำความเข้าใจค่อนข้างสูง อีกทั้งต้องบวกกับพื้นฐานความรู้ของแต่ละคนที่ครอบคลุมไปถึง เพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ควรจะเป็นมากที่สุด เราจึงพยายามรับความคิดเห็น และความเข้าใจในเรื่องนี้ จากหลากหลายที่มา ดังที่กำลังกระทำอยู่

หวังว่า ทุกท่านจะให้โอกาส และเปิดรับ ความคิดเห็น + ความเข้าใจต่าง ๆ เพียงแค่พยายามทำความเข้าใจก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้วค่ะ

 

เรียน krutoi

"...พี่เป็นครูเป้าหมายของพี่คือทำอย่างไรเด็กของพี่จึงจะมีโอกาส เมื่อได้ทดลองให้เด็กได้รู้จักบล็อกและทดลองค้นคว้า ทดลองนำเสนอความคิด แม้เด็กน้อยยังทำได้ไม่เต็มร้อย แต่พี่เชื่อว่าหากครูไม่จูงมือเด็กน้อยมาให้รู้จักบันไดขึ้นบ้าน และประตูเข้าบ้านใหม่ ไฉนเลยเด็กน้อยจะรู้จัก และเกิดความอยากรู้อยากลองซึ่งเป็นธรรมชาติของเด็กน้อยอยู่แล้ว ปัญหาต่อไปคือ ทำอย่างไรเด็กน้อยจึงจะมีความสม่ำเสมอในการเรียนรู้ พร้อมๆไปกับการเรียนรู้ คุณธรรม จริยธรรม ใฝ่รู้ใฝ่เรียน และฝึกคิดอย่างมีวิจารณญาณ สิ่งเหล่านี้ ต้องหาเวทีให้ กิจกรรมที่ครูได้ร่วมกันกำหนดให้... และมีความคาดหวังตามที่ตั้งไว้..."

ชื่นชมค่ะ "I admire you that you are"

 

  • มายิ้มๆค่ะ
  • เยี่ยมค่ะ ที่ทำให้พี่ต้องหยิบdictionary เล่มโตที่ซื้อจากร้านหนังสือเก่าในเมืองลำปางมาเปิดดูความหมายง่ายๆของคำว่า "admire"
  • อย่างนี้ผู้สูงอายุชอบนะคะ ที่ทำให้ผู้สูงอายุได้เปิดโลกทัศน์ และนำไปใช้เวลาเมื่อเด็กน้อยนำเสนองานต่อหน้าเพื่อนๆจบว่า""I admire you that you are"
  • Thank you หลายเด้อ.
  • ปราถนาสิ่งใดเสี่ยงทายเอาเองนะคะ

ยินดีค่ะ krutoi และขอบคุณสำหรับคำอวยพรค่ะ

แวะมาอ่านบันทึกนี้อีกครั้ง ด้วยความเชื่อมั่น และศรัทธาต่อ GotoKnow เปี่ยมด้วยความหวังที่จะเห็นช่องว่างของความเหลื่อมล้ำถูกย่นย่อเข้ามาด้วยมือของผู้คนในยุคนี้ แม้ว่าผมจะมีพลังไม่มาก แต่จะขอทุ่มสุดชีวิต เพื่อผู้คนในยุคต่อไป ขอบพระคุณมากครับ

เป็นแรงใจใ้ห้ค่ะคุณ บวร

ยามท้อ ก็เข้ามาหา G2K เชื่อแน่จะได้พบกับชุมชนเล็ก ๆ ที่พร้อมเป็นกำลังใจให้กันและกันเสมอ

ยามไม่ท้อ ก็เข้ามาบอกเล่า เรื่องราวความเป็นไป เชื่อแน่เหมือนกันว่า จะมีผู้ร่วมดีใจ ร่วมยินดี ซึ่งกันและกันอยู่ที่นี่เสมอค่ะ

นมัสการครับ ท่าน สุญฺญตา ...

ชอบประเด็นคิดของท่าน ... ทำให้คิดต่อว่า "ภาษา" อาจจะมีผลการเรียนรู้เช่นกัน

กราบขอบพระคุณท่าน สุญฺญตา อีกครั้งครับ

สวัสดีค่ะ คุณJarinya

ตั้งแต่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากเวปโกทูโน

ดิฉันได้บอกกล่าวเพื่อนๆและบุคคลรอบข้างมาหลายคนแล้วว่า

เวปโกทูโนมีแต่สาระ มีประโยชน์ อ่านแล้วทำให้สบายใจ

มีความสุข เพราะได้เรียนรู้ในสิ่งที่เราๆ ท่านๆยังไม่รู้

ขอบคุณเวปโกทูโน ผู้ดูแลบล็อกเกอร์ทุกท่าน และองค์กรต่างๆที่ให้การสนับสนุน

พวกเราชาวบล็อกเกอร์โกทูโนทุกคน

สวัสดีค่ะ คุณภัทรานิษฐ์ เจริญธรรม

ยินดีและดีใจมากค่ะ

ขอขอบคุณแทนทีมงานทุกคน เชื่อว่าถ้าทุกคนได้อ่านความคิดเห็นนี้ คงมีกำลังใจทำงานขึ้นเป็นกองค่ะ

(วันเกิดเราไม่ห่างกันเลย เกตเกิดห่างจากคุณภัทรานิษฐ์ สองวัน แต่พ.ศ. ขออุบไว้ก่อนค่ะ

อีกอย่าง ปัตตานี คือเมืองที่เกตรักค่ะ)

ใครมีวิธีการมากกว่านี้ อย่าเก็บไว้คนเดียว ช่วยบอกเราหน่อย

สำหรับพี่นะคะ

1.จดบันทึกให้เป็นหมวดหมู่ เอาแต่หัวข้อก็ได้..เด็กรุ่นใหม่คงเก็บเป็นโฟลเดอร์ ไฟล์ ทัมบ์ไดรฟ์ แผ่น...

แต่พี่ยังมีที่เก็บเป็นสมุดเป็นเล่ม ๆ ค่ะ

เรื่องหนึ่งก็เล่มหนึ่ง ตั้งเรียงเป็นแถว ๆ ดู ๆ แล้วมีความสุขไปอีกแบบ ลองดูสิคะ

ช้าหน่อยแต่ระหว่างเขียนมือ ความคิดหลั่งไหลดีค่ะ

2.จดเป็นโน้ตบนเศษกระดาษอะไรก็ได้ กระดาษแข็งกล่องของแผงหมากฝรั่งเขียนได้ลื่นไหลที่สุด (เอายี่ห้อมั้ยคะ..)

จดเป็นภาพ ไดอะแกรม รูปวาดสไตล์เราเอง เราจำแม่น..และเช่นกัน เรามีความสุข เหมือน ๆ ทำงานแบบไม่ได้ทำงาน อิ อิ

พี่ใช้แบบนี้กับการเขียนกลอน วาดรูปของโรคของเซลล์ที่เราต้องค้นคว้าเพิ่มเติม บ่อยค่ะ

แล้วค่อยมาเปิดตำรา อินเทอร์เน็ต ฯลฯ ตรวจสอบ ค้นหา ค้นคว้า

3.ถาม

ถามผู้รู้ ค่ะ

ใคร ๆ ก็เป็นครูเราได้ทั้งนั้น แม้กระทั่งลูกเรา คนขายผัก คนขายปลา
การปลูกต้นไม้ น้าและลุงคนงานในโรงพยาบาลเชี่ยวชาญมาก ถามทีไหนไม่ผิดหวัง

4.ฟัง

ฟังจากรายการวิทยุ ทีวี (ไม่ค่อยมีเวลาดู) ประสบการณ์วิทยากรเวลามาบรรยายวิชาการ สุดยอดเช่นกัน

เอ ทบทวนอีกครั้ง

สุ จิ ปุ ลิ นั่นเอง

ยาวไปหน่อยแล้ว..วิธีของพี่ ;P

 

 

ขอเพิ่มหนึ่งข้อค่ะ

5.อ่าน

อ่าน และทำความเข้าใจ ไม่เข้าใจ วกกลับไปวนเวียนข้างบน คือ ถาม ค่ะ

ขออีกข้อนะคะ

6.เล่า

เล่าออกมาเป็นเรื่อง เป็นความรู้ให้คนอื่นได้รับไปจากเราอีกทอดหนึ่ง

วิธีนี้ ดี เพราะเมื่อได้คำถามกลับมาจากผู้ที่ฟังเราเล่า เราต้องมา ทำการบ้านอีกรอบ อีกรอบ และอีก...

ขอบคุณค่ะ

G2K เรากำลังจะมีโครงการ Blog to Book โดยรวบรวมบันทึกประเด็นเดียวกันจากบล็อก มารวมเล่มตีพิมพ์เป็นหนังสือให้ฟรี กฎ กติกา จะแจ้งในทรายในเร็ววันนี้

คุณภูสุภา น่าจะเป็นหนึ่งที่ได้รับบริการจากเรานะคะ

*คุณภูสุภา น่าจะเป็นหนึ่งที่ได้รับบริการจากเรานะคะ *

ขอขอบคุณค่ะ

ส่วนใหญ่เรื่องที่พี่เขียนเป็นเรื่องเล่า เรื่องจริง จากประสบการณ์ตรงค่ะ

จะตรงกับวัตถุประสงค์หรือเปล่า ไม่ทราบน่ะค่ะ จึงให้ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของทีมงาน ค่ะ ;P

เห็นชื่อ Jarinya ... ก็เลยขอทักทาย

เพราะชื่อ เกือบเหมือนกัน.

..

..

สวัสดีครับ

ผม jarin

..

..

อยากรู้ อยากเรียน เรื่องอะไร ติดต่อวิทยาลัยชุมชนที่อยู่ในจังหวัดของท่าน วิทยาลัยชุมชนสามารถเปิดหลักสูตรที่ชุมชนใคร่เรียนใคร่รู้ได้ทุกวิชาครับ

No one can imprison the brain of man

That was never intended in God's plan;

You may persecute, starve, even debase

That will not kill truth nor virtue efface.

ตั้งหัวข้อดีนะคับ

แต่เจยังไม่เขียนก่อนดีก่า

แฮๆๆๆ

เข้ามาชม

แต่ดีมากเลย

นำมาฝากเช่นเดียวกันค่ะ

"if you have come to help me you are wasting your time.

But if you have come because your liberation is bound up with mine,

then let us work together."

Message from Aborigine

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท