ไข้หวัดหมูกับ primary care


จะทำอย่างไร เมื่อไข้หวัดหมูสายพันธุ์เม็กซิกัน เดินทางเข้ามาสู่เบื้องลึกจิตใจของคนไข้

  "ไข้หวัดหมู" หรือที่มีเปลี่ยนชื่อให้ใหม่ว่า ไข้หวัดใหญ่ 2009 H1N1  ที่กำลังระบาดในหลายๆประเทศ ที่ดูเหมือนว่าห่างไกลจากบ้านเรา  และยิ่งห่างไกลเข้าไปอีกกสำหรับชาวปฐมภูมิเช่นผม

   แต่ เจ้าไข้หวัดหมู  มันได้เดินทางมาถึง PCU ที่ผมทำงานแล้วครับ

   "ป้า  วันนี้มีอาการยังไงครับ"

   "ป้า  ก็มีไข้  ไอ  น้ำมูก....................ฯลฯ"

   ผมนิ่งฟัง  แต่อาจจะไม่ได้ฟังอย่างลึกซึ้ง (deep listening)  ตรวจร่างกายตามขั้นตอน  ดูโหงวเฮ้ง หน้าตาคุณป้า สดใสเกินกว่าที่จะเป็นโรคร้ายแรง  มือก็เริ่มเขียนใบสั่งยา สั่ง paracetamol,bromhexineและ actifed โดยอัตโนมัติ

    แต่   คุณป้าก็มีความธรรมดาที่ไม่ธรรมดาแอบแฝงอยู่

    ก่อนจะอำลา  คุณป้าได้ส่งสัญญาณบางอย่าง (hand-on-the-doorknob syndrome) ซึ่งบ่งบอกว่ายังมีบางสิ่งที่ยังค้างคาอยู่ภายในจิตใจ

    "ที่บ้านมีไก่ตาย  ป้ากลัวเป็นไข้หวัดหมู"

    อ้าว  เฮ้ย  ไม่ได้ดูโทรทัศน์ 3-4 วัน  ผมตกข่าวไปซะแล้ว 

    ถ้าคุณเจอเหตุการณ์อย่างนี้  จะทำอย่างไร  เมื่อไข้หวัดหมูสายพันธุ์เม็กซิกัน  ที่ไม่ใช่มันฝรั่งทอด มันเดินทางเข้ามาสู่เบื้องลึกจิตใจของคนไข้  สร้างความวิตกกังวลจนถึงขั้นหวาดกลัว

   แล้วหมอครอบครัวอย่างผมมองเรื่องนี้อย่างไร

   1.ผมเองก็ต้องไปหาข้อมูลเพิ่มเติม  แต่ผมเองก็ยังโชคดีที่ยังมีกัลยาณมิตรที่ดีช่วยกันเรียนรู้ (Team learning) เพราะวันพุธที่ผ่านมามีพี่โป่ง นพ.นิทิกร  สอนชา  มาเล่าเรื่องไข้หวัดหมูให้ฟัง (Knowledge sharing) ในกิจกรรมวิชาการประจำสัปดาห์

   2. การจะเข้าถึงเบื้องลึกที่เป็นไปของคนไข้  สามารถทำได้หลายรูปแบบ 

       รูปแบบแรกที่หมอครอบครัวใช้กันบ่อยๆ คือ Patient-centered approach

       โดยพยายามหาถึง Idea , Feeeeling , Function  และ Expectation

        Idea คือ  ผู้ป่วยมีความคิด  ความเชื่ออย่างไรกับอาการหรือโรคที่เกิดขึ้น

        Feeeeeeling คือ ผู้ป่วยรู้สึกอย่างไรกับเรื่องที่เกิดขึ้น  กลัว วิตกกังวล  หรือสับสน

        Function คือ การเจ็บป่วยในครั้งนี้ส่งผลกระทบอย่างไรต่อคนไข้  ทั้งทางด้านการทำงาน ชีวิตประจำวัน  รวมทั้งถ้าเกิดเจ็บป่วยร้ายแรง จะส่งผลอย่างไร  ทั้งต่อตัวคนไข้  ครอบครัว

        Expectation คือ ผู้ป่วยต้องการหรือคาดหวังอย่างไร  ต้องการความมั่นใจหรือคำอธิบายหรือไม่

        หรือจะอาจใช้ Satir Model  ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของการให้คำปรึกษาเพื่อค้นหาสิ่งที่อยู่เบื้องลึก 

       3.เมื่อเห็นถึงเบื้องลึกเบื้องหลังที่ซ่อนอยู่  ก็มาเลือกว่าจะจัดการที่ระดับใด 

       ที่ระดับความรู้สึก (Feeling )  ต้องอาศัยการรับฟังอย่างลึกซึ้ง  ให้ผู้ป่วยได้พูดโดยไม่มีการขัดจังหวะหรือให้เกิดน้อยที่สุด  พยายามจับถึงความรู้สึก  รวมทั้งความต้องการบางอย่างที่แอบแฝงอยู่  และใช้การสะท้อนกลับ  เพื่อสร้างความไม้วางใจ  ปลอดภัยที่จะพูด  ให้ผู้ป่วยเข้าสู่พื้นที่ปลอดภัย(safety zone)  และเกิดการยอมรับในตนเองถึงอารมณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น

       ที่ระดับความเชื่อ-ความคิด (Idea, Thought, Perception, Believe) ในระดับนี้ก็คือการให้ความรู้ที่ถูกต้องนั่นเอง  แต่ต้องอาศัยจังหวะที่เหมาะสม  ต้องดูว่าผู้ป่วยพร้อมที่จะเรียนรู้หรือรับฟังหรือยัง เปลี่ยนจากสภาวะปกป้องเข้าสู่สภาวะการเรียนรู้  ซึ่งจะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อภาวะทางอารมณืต่างๆได้คลี่คลายลงไปได้ 

 "ไม่มีใคนใส่ใจหรอกว่า  คุณรู้มากแค่ไหน  จนกว่าจะรู้ว่าคุณแคร์เขามากแค่ไหน"             

                                                                                                  John C. Maxwell

       ที่ระดับความต้องการ-ปรารถนา(Expectation, Yearning)  คนเราทุกคนมีความต้องการลึกๆภายในที่เหมือนกัน  แต่มีวิถีที่แตกต่างกัน  ทำให้วิธีในการเข้าถึงความปรารถนาที่อยู่ลึกๆแตกต่างกันไปด้วย  การที่ทำให้ผู้ป่วยตระหนักถึงความปรารถนาที่อยู่ข้างในลึกๆจริง  แล้วชี้ให้เห็นทางเลือกในการเข้าถึงจุดนั้น  จะทำให้สิ่งที่ค้างคาอยู่ในจิตใจคลี่คลาย  ไม่เพ็งหรือสนใจอยู่เพียงจุดเดียวหรือหนทางเดียว

      แต่การแก้ที่ระดับต่างๆนั้นต้องผสมผสานกัน  ว่าง่ายๆคือต้องเนียน

     4. การให้ความรู้เฉพาะบุคคลอาจจะไม่เพียงพอ  ควรมีการให้ความรู้รายกลุ่มไว้ด้วย  ที่ผมคิดไว้ก็คือการบอกเล่าเรื่องราวและแบ่งปันความรู้แก่ผู้ป่วยก่อนที่จะเริ่มตรวจในแต่ละวัน

     5. เราสามารถแปรเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส  แปรเปลี่ยนความตื่นกลัวไข้หวัดหมูมาสู่การเรียนรู้ในการดูแลตนเองเบื้องต้น  รวมทั้งการล้างมือ และการใส่หน้าการป้องกันการแพร่เชื้อ เพื่อสร้างวัฒนธรรมสุขภาพแบบพึ่งพาตนเองมากขึ้น

       

หมายเลขบันทึก: 258613เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2009 19:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 08:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท