SWIT
สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อการเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ .

ผู้อพยพในประเทศไทย : ทหารจีนคณะชาติ


ดูเหมือนสังคมไทยจะรู้จัก ได้ยิน "ผู้อพยพ" ในช่วงเวลาของ สงครามอินโดจีน แต่การอพยพข้ามพรมแดนรัฐไทย มีมานานแล้ว ตั้งแต่โบราณ

แต่ถ้านับย้อนไปไม่ไกลนัก อาจพอไล่เรียงได้ว่า

ก่อน ๒๕๑๗

๑.ผู้อพยพจีน หลักจากจีนคอมมิวนิสต์ได้รับชัยชนะ ในปี ๒๔๙๖ ทหารจีนคณะชาิต กองพลที่ ๙๓ และ ๑๙๓ ในรัฐบาลเจียงไคเชค พร้อมด้วยประชาชนพลเรือนในมณฑลยูนนาน ดไ้หลบหนีเข้ามาอยู่ในพม่า ด้านที่ติดต่อกับภาคเหนือของประเทศไทย

ต่อมาองค์กรสหประชาชาติได้อพยพจีนคณะชาติที่ตกค้างในพม่ากลับไต้หวัน ๒ ครั้ง (พ.ศ.๒๔๘๗, ๒๕๐๔) รวม ๑๑,๕๐๐ คน

หลังกจากนั้น ทหารจีนคณะชาติและประชาชนชาวยูนนานบางส่วนได้อพยพหลบหนีเข้าสู่ประเทศไทย ซึ่งทางราชการไทยจัดหใ้ออาศัยอยู่ใน หมู่บ้านต่างๆ ๖ แห่งด้วยกัน ภายใต้การดำเนินการของกระทรวงมหาดไทย คือ ต.บ้านยาง, ต.บ้านใหม่ หนองบัว อ.ฝาง, ต.บ้านถ้ำ อ.แม่สาย (ในเวลานั้น) จ.เชียงใหม่,  ต.บ้านหลัยไคร้, บ้านห้วยไร่, ป่ากล้วย อ.แม่จัน จ.เชียงราย ทหารจีนคณะชาติกลุ่มนี้มีสภาพเป็นผู้อพยพธรรมดา มิได้ถือาวุธ

ขณะที่ทหารจีนคณะชาติอีกส่วนหนึ่งซึ่งสังกัดกองทัพที่ ๓ และ ๕ ได้หลบหนี้เข้าอาศัยบริเวณชายแดนไทย-พม่า บริเวณจ.เชียงใหม่ และเชียงราย โดยกระจายกันอยู่ในหลายพื้นที่บนภูเขา แต่ที่อยู่ค่อนข้างแน่นหนาคือ บริเวณถ้ำงอบ จ.เชียงใหม่ และดอยแม่สลอง จ.เีชียงราย ทหารจีนคณะชาติกลุ่มนี้ยังคงมีอาวุธสงครามติดตัวมาด้วย

ต่อมาในช่วงปี ๒๕๑๐-๒๕๑๓ รัฐบาลไทยได้เจรจาทางการฑูตกับรัฐบาลไต้หวัน เพื่อให้เข้ามารับผิดชอบ แต่ทหารจีนคณะชาติมิยินยอมให้ทหารไต้หวันควบคุม แลไม่ยอมกลับไต้หวัน เพราะความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมของเกาะไต้หวันแตกต่างกับภูมิลำเนาเดิมของ พวกเขาเหล่านั้นมาก ประกอบกับรัฐบาลไต้หวันก็ไม่เต็มใจที่จะรับภาระยุ่งยาก

รัฐบาลไทยจึงต้องให้ทหารจีนคณะชาติ อยู่อาศัยในพื้นที่ที่ทางราชการจัดไว้ให้ (1)

ครม.จึงได้มีมติ เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๕ ให้ทหารจีนคณะชาติและครอบครัวกองทัพที่ ๓ และ ๕ ได้อาศัยอยู่ในประเทศไทยในฐานะ "ผู้อพยพ" (displace person) และวางโครงการที่จะให้บุคคลเหล่านี้มีสภาพเป็นราษฎรธรรมดา โดยใ้ห้ปฏิบัติเป็นขั้นๆ ไป (2)

ในปี ค.ศ.๑๙๘๐ มีคนกลุ่มนี้ประมาณ ๒๑,๕๕๐ คน

ต่อมารัฐไทยได้อนุญาตให้คนกลุ่มได้รับการศึกษาในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาในโรงเรียนไทย, สามารถทำงานได้ตามกม.การทำงานของคนต่างด้าว ๒๕๒๑ และให้มีสัญชาติไทย โดยการแปลงสัญชาติ (3)

(1) อุท้ััย บุญยชาติ, "ปัญหาผู้ลี้ภัยในประเทศไทย", รัฎฐาภิรักษ์, ๒๒, (กค. ๒๕๒๓) : ๕๒-๕๓.
(2) "กองพล 93 รัฐอิสระบนแผ่นดินไทย", สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ (กพ.๒๕๒๕) : ๒๑-๒๒.
(3) Vitit Muntarbhron, "Law and National Policy concerning Displaced Person and Illegal Immigrants in Thailand", paper presented at the UNHCR and CU, Joint Seminar on the Legal Aspects of Asylum Seekers in Thailand, Bangkok, 6-7 October, 1983

หมายเลขบันทึก: 258183เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2009 15:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:28 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

หามติครม. เรื่องนี้มาหน่อยดิ คิดว่าจะช่วยไกด์ในเรื่องการพัฒนาสถานะบุคคลของผู้หนีภัยความตายได้นะ

อื้อ..ได้สิ

ได้เลยนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท