SWIT
สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อการเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ .

SWIT


Username
statelesswatch-swit
สมาชิกเลขที่
70445
เป็นสมาชิกเมื่อ
เข้าระบบเมื่อ
-
(ไม่มีตั้งแต่ พ.ศ. 2564)
ประวัติย่อ

สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ 

Stateless Watch for Research and Development Institute of Thailand (SWIT)

 

 

เป็นองค์กรพัฒนาเอกชนที่มุ่งสร้างและพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับสถานะบุคคลและสิทธิ ที่เกิดจากการรวมตัวของบุคลากรในสหวิชาชีพ เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงและพัฒนาสถานะบุคคลและสิทธิคนไร้รัฐ/ไร้สัญชาติ 

จากจุดเริ่มต้นของเพื่อน 3 คนก่อตั้งเป็นโครงการเล็กๆ ในนาม โครงการเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ (Stateless Watch) เมื่อปลายปี 2549 พัฒนามาสู่การก่อตั้ง สถาบันวิจัยและพัฒนาเพื่อเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ หรือ Stateless Watch for Research and Development Institute of Thailand-SWIT ในเดือนกุมภาพันธ์ 2552 ภายใต้การสนับสนุนทางวิชาการจาก รศ.ดร.พันธ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร ด้วยความเชื่อมั่นว่าการผลักดันการแก้ไขปัญหาความไร้รัฐไร้สัญชาติในรัฐไทยนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการวิจัยและพัฒนา (R&D&M) องค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนต้องมีการบังคับใช้และพัฒนากฎหมายเพื่อคุ้มครองและเยียวยาสิทธิของคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ยุติธรรมและเคารพต่อหลักนิติรัฐ

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสร้างและพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับสถานะบุคคลและสิทธิ และการบังคับใช้และพัฒนากฎหมายเพื่อคุ้มครองและเยียวยาสิทธิของคนไร้รัฐ ไร้สัญชาติ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยุติธรรมและเคารพต่อหลักนิติรัฐ

2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้คนไร้รัฐไร้สัญชาติสามารถเข้าถึงสิทธิและความยุติธรรม

3. เพื่อสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายผ่านการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้แก่คนไร้รัฐไร้สัญชาติ ภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้อง

4. เพื่อรณรงค์และผลักดันให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนากฎหมาย และนโยบายด้านสถานะบุคคลและสิทธิที่มีประสิทธิภาพ ยุติธรรมและเคารพต่อหลักนิติรัฐ

5. เพื่อพัฒนาและส่งเสริมความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายองค์กรด้านสถานะบุคคลและสิทธิผ่านองค์ความรู้

6.เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจอันดีของภาคส่วนต่างๆ เช่นหน่วยงานราชการ ภาคประชาชน ภาคองค์กรพัฒนาเอกชน ฯลฯ ต่อคนไร้รัฐไร้สัญชาติ

กิจกรรม

1. งานสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ในประเด็นสถานะบุคคลและสิทธิ ( Research and Development on Legal Personality of Stateless and Nationalityless Person and their Basic Rights) ผ่านงานวิจัย เวทีวิชาการ อาทิ งานวิจัยกระบวนการยุติธรรมในค่าย (2549: โดยการสนับสนุนของ UNHCR) งานวิจัยเพื่อพัฒนาข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพให้แก่คนไร้รัฐ/ไร้สัญชาติ (2550-2551, สนับสนุนโดยสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย) งานพัฒนาองค์ความรู้อย่างต่อเนื่อง อาทิ หลักประกันสุขภาพทางเลือกของคนไร้รัฐ/ไร้สัญชาติ, การพัฒนาฐานข้อมูลคนไร้รัฐ/ไร้สัญชาติในประเทศไทย, ข้อแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหาคนไร้รัฐ/ไร้สัญชาติโดยกฎหมายภายในของประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน, การจดทะเบียนการเกิด, การรับฟังพยานหลักฐาน ฯลฯ ), งานพัฒนาการถ่ายทอดองค์ความรู้ เช่น การจัดทำคู่มือ ได้แก่ คู่มือการจดทะเบียนการเกิด

2. งานสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย (Advocacy and Legal Aid) สนับสนุนการให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายกับเครือข่าย ผ่านการทำหนังสือความเห็นทางกฎหมายกฎหมาย (Legal Opinion) เพื่อสร้างความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  และงานผลักดันให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายและนโยบาย (Law & Policy Reform) งานเยี่ยมเชิงกัลยาณมิตร (Friendly Visit)

3. ศูนย์ข้อมูลเฝ้าระวังสภาวะไร้รัฐ (Stateless Watch Information Center) เป็นงานรวบรวมองค์ความรู้ในประเด็นสถานะบุคคลและสิทธิ และงานสื่อสารกับสาธารณะเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับสังคมไทยและการผลักดันเชิงสังคม (Social Move) เช่น งานผลิตหนังสือเล่ม จดหมายข่าวอิเลคทรอนิก(Stateless Watch Review) ฯลฯ

4. งานสร้างและถักทอเครือข่ายคนทำงานด้านสถานะบุคคลและสิทธิ(Strengthening networks Project) เช่น สนับสนุนการให้ความรู้ทางกฎหมายผ่านกิจกรรมอบรมหรือการลงพื้นที่, การจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่ายด้านสถานะบุคคลและสิทธิ

บุคคลากร

1. รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนจิตรา สายสุนทร                           ที่ปรึกษา

   อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

2. วีระวัฒน์ ตันปิชาติ                                                         ที่ปรึกษา

    อดีตเจ้าหน้าที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

3. รศ.สมชาย ปรีชาศิลปะกุล                                               ที่ปรึกษา

    อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    อธิการบดี มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

4. ดรุณี  ไพศาลพาณิชย์กุล                      ผู้อำนวยการและนักวิชาการด้านกฎหมาย

5. ปิ่นแก้ว อุ่นแก้ว                                  ผู้จัดการและเจ้าหน้าที่สื่อสารสาธารณะ

6. กิติวรญา รัตนมณี                                นักวิชาการด้านกฎหมาย

 

437/37  ซ.จรัลสนิทวงศ์ 35 (วัดมะลิ) ถ.จรัลสนิทวงศ์ แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย  กรุงเทพฯ 10700

437/37 Soi Jaransanitvong 35(Wadmali) Jaransanitvong Rd. Bangkhunsri Bangkoknoi Bangkok 10700
Tel./Fax. (66) 2 864-9009 l
www.statelesswatch.org 

ติดตามความเคลื่อนไหวและกิจกรรมที่ผ่านมาของ SWIT ได้ที่
 http://statelesswatch.wordpress.com/

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท