วิธีสร้างสุขให้กับพนักงานและองค์การ


การมองเป้าหมายขององค์การ อย่าเล็งเพียงเฉพาะเป้าหมายของแผนกหรือหน่วยงานเท่านั้น

เรื่องของการทำงาน

เป็นเรื่องที่ต้องใช้ความสามารถและสมาธิพอสมควร

หากบรรยากาศในการทำงานราบรื่น

ก็ย่อมที่จะส่งผลต่อสภาพจิตใจของบุคลากรได้ดีขึ้น

ซึ่งบางครั้งการทำงานหรือการมอบหมายงาน

หรือการจัดการในองค์การ อาจจะเกิดปัญหาขึ้นบ้าง

ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติในการทำงานกับคนเป็นจำนวนมากๆ

แต่ก็ไม่ใช่จะไม่มีวิธีในการทำงานเพื่อเพิ่มความสุขทั้งคนและองค์การครับ

มีแนวทางการสร้างความสุขแก่พนักงานและองค์การดังนี้

 

  1. ทัศนคติในการทำงาน (Attitude for work)

ทุกคนต้องเกิดทัศนคติที่ดีต่อการทำงานไม่ว่าจะในระดับไหนก็ตาม

การทำงานที่ดีด้วยความราบรื่น คือ

การมองส่วนดี และมองความสามารถของเพื่อนร่วมงาน

อย่าพยายามเชื่อมโยงนำความไม่ชอบส่วนตัวมาตัดสินใจ

เพราะคนที่จะไม่มีความสุขคือเราเองครับ

เราเป็นคนปรุงแต่งความสุขในการทำงานเอง

เพื่อให้ความมีความสุขเอง ก็ต้องรู้จักการมองในส่วนดีๆ ของกันและกัน

บางครั้งก็อาจจะมีครับที่เราไม่ชอบเขาคนนั้นเสียเลย

แต่ขอให้คิดว่า เรารับฟังความรู้ เรื่องวิชาการของเขา

เอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตัวเอง จะสบายใจขึ้นมากครับ

 

  1. ช่องว่างระหว่างพนักงานและผู้บริหาร (Gap between worker and Executive) การบริหารงานให้ได้ประสิทธิภาพสูง

ในปัจจุบัน ผู้บริหารต้องมีการปรับตัว

จะนั่งในห้องแอร์เพียงอย่างเดียวเหมือนสมัยก่อนไม่ได้เสียแล้ว

จำเป็นที่ผู้บริหารต้องลงมาลุย หรือลงมาปฏิบัติหน้างานด้วยเหมือนกัน

ไม่ถึงกับต้องบังคับให้ทำหน้างาน

แต่ในที่นี้ คือการเยี่ยมเยียนพนักงาน

และไต่ถามความเป็นอยู่และการทำงานพอสมควร

แสดงการเอาใจใส่ต่อหน้างาน และช่วยแก้ไขบ้าง

ไม่ใช่ว่ากระจายงานแล้วทิ้งขว้าง ไม่ดูแลใส่ใจ

เพราะตอนนี้สภาพจิตใจของลูกจ้างและนายจ้างเอง

ก็เริ่มบอบบางลง ควรใส่ใจกันให้มากขึ้น

เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจต่อกัน

อีกทั้งเป็นการสร้างความรักความผูกพันธ์

ไม่ใช่ต่อองค์การเท่านั้นครับ และรักและเข้าใจในตัวของผู้บริหารเองด้วย

หมดสมัยแล้วกับผู้บริหารที่มาดขรึม ดุดัน ดูน่าเกรงขาม

แต่เทรนด์ผู้บริหารสมัยนี้ ต้องเป็นกันเอง ไม่แปลกแยกแตกต่าง

สามารถร่วมก๊วนกันได้ รู้จักผ่อนคลายเมื่อหมดสิ้นเวลางาน

คือมีความเสมอภาคต่อกันนั่นเอง

ซึ่งทั้งนี้ก็ต้องขึ้นกับความเคารพและนอบน้อม

ของพนักงานเป็นการส่วนตัวด้วย

พยายามลดขั้นตอนแบบทางการออกไป

ใช้การพบปะพูดคุยแบบการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

เพราะการที่ผู้บริหารทุมเทใจแก่พนักงานเกินร้อย

ความมั่นคงก็จะสูงขึ้นและเป็นการลดความกดดันภายในองค์การด้วย

 

  1. การมอบหมายอำนาจ (Empowerment)

เป็นเรื่องที่ใครๆ ก็พูดกันได้ครับ

แต่เวลาปฏิบัติจริงยากเหมือนกัน

โดยเฉพาะผู้ที่มีอำนาจสั่งการแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

สิ่งสำคัญในการเริ่มต้นคือ การมองเป้าหมายขององค์การ

อย่างเล็งเพียงเฉพาะเป้าหมายของแผนกหรือหน่วยงานเท่านั้น

แต่ให้เป็นเป้าหมายรวมขององค์การครับ

โดยการให้เป้าหมาย พร้อมกำหนดวันเสร็จสิ้น

จากนั้นรอดูกระบวนการในการทำงาน

อย่าแนะนำช่วยเหลือ ตราบใดที่พนักงานยังไม่ได้ถาม

ผู้บริหารเพียงมองอยู่ห่างๆ

เพื่อให้พนักงานสามารถตัดสินใจได้อย่างเต็มที่

เวลาเจอสถานการณ์เฉพาะหน้า

จะได้คิดหาทางในการผ่านพ้นอุปสรรคนั้นไป

ซึ่งผลดีของการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า คือ

การใช้ไหวพริบ

เกิดการพัฒนากระบวนการความคิด

และรู้จักการตัดสินใจอย่างชัดเจน

การโยนงานหรือโยนความรับผิดชอบก็จะน้อยลง

เพราะหน้างานนั้นตัดสินใจเอง

ซึ่งการทำงานที่แท้จริงต้องมีข้อผิดพลาดตลอดเวลาครับ

และข้อผิดพลาดนั้น จะเป็นบทเรียนสำคัญ

เพื่อให้บุคลากรเกิดการพัฒนาต่อไป

หากคอยจับผิดหรือกลัวการผิดพลาด

อย่าหวังเลยครับว่าองค์การจะเกิดการพัฒนาดีขึ้น

เพราะไม่มีเรื่องใหม่ๆ ท้าทายการตัดสินใจ

ผู้บริหารอย่ากังวลว่ากระบวนการทำงานไม่ถูกใจ

ให้มองที่เป้าหมายหรือเส้นชัยเป็นหลัก

ว่าเขาสามารถบรรลุได้ตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่

และตรงตามที่องค์การตั้งวิสัยทัศน์ไว้เพียงใด

แล้วผู้บริหารอาจจะได้รับวิธีการใหม่ๆ

ที่ทำได้ดีกว่าที่ตัวเองคิดไว้ในใจก็เป็นได้

เรียกว่า

เป็นการศึกษาหาความรู้จากพนักงานของเราเอง

ไม่ต้องไปหาที่อื่นให้เสียเวลา

 

ประเด็นทั้ง 3 ข้อ เป็นเรื่องที่ไม่ยากและไม่ง่าย แต่ก็ไม่เกินความสามารถ

หากองค์การใดเข้าใจเรื่องพื้นฐานนี้ได้แจ่มแจ้งแล้ว

ไม่ใช่เรื่องยากที่องค์การและพนักงานจะมีความสุขอย่างยั่งยืน

 

หมายเลขบันทึก: 248077เขียนเมื่อ 13 มีนาคม 2009 01:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2012 14:55 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • เรียน คุณพัฒนะ
  • การบริหารนี่ ต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ จริงๆ นะคะ
  • ขอบคุณที่ให้ข้อคิดดีๆ ค่ะ

สวัสดีคะ

การบริหาร "คน" ให้ทำงานตามเป้าหมายและมีความสุข

ยากเสียกว่าการทำ "งาน" ให้ได้ดังใจเสียอีก...หรือเปล่า?

อาจเป็นเพราะยังไม่รู้จักการบริหารจัดการอย่างแท้จริงกระมัง คงต้องแวะมาแบ่งปันความรู้จากบล็อกนี้บ่อยๆ กระมัง

ขอบคุณมากคะ

---^.^---

ขอบคุณครับ

การบริหารคนไม่ยากเกินความสามารถหรอกครับ

เป็นเรื่องง่ายมากด้วย

แค่เพียงคิดว่าหากเราเป็นเขา

เราต้องการอะไร

เขาก็เหมือนเราครับ

มีความต้องการที่ไม่ได้แตกต่างกันเลย

หากเรื่องง่ายเช่นนี้ตีโจทย์แตก

ไม่ใช่เรื่องยากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท