เงินฌาปนกิจ


สวัสดิการชุมชนก้าวไกลไปทั่วทุกหัวระแหง

จุดประเมินความเสี่ยงที่กลุ่มต่างๆน่าจะพอทำได้ง่ายๆคือ  ดูสมดุลของเงินไหลเข้ากับเงินไหลออกของสมาชิกแต่ละบุคคล หรือแต่ละกิจกรรม (แทนการดูแต่ยอดเงินรวมของกองทุนที่หลายๆกลุ่มหลงเข้าใจเอาว่า เป็นผลงานที่ดี)  ถ้าเงินเข้ามาจากสมาชิกคนหนึ่งน้อยกว่าเงินที่กลุ่มต้องจ่ายให้เขา   กลุ่มควรจะตั้งคำถามว่าจะเอาเงินของใครมาจ่ายให้เขา

กิจกรรมหนึ่งที่ภาควิชาการเป็นห่วงเรื่องความเสี่ยง  คือ  เงินบำนาญ

อีกกิจกรรมหนึ่งที่เราเป็นห่วง คือ  เงินฌาปนกิจ

แม้แต่กลุ่มที่เก่งมากกลุ่มหนึ่ง   ก็ยังให้ออมแค่ 210 บาทต่อปี  แต่เมื่อเสียชีวิตจะได้รับถึง 30,000 บาท  คิดง่ายๆว่า  สมาชิกคนนี้ออมถึง 100 ปี  ก็ยังได้แค่ 21,000 บาท  คำถามคือ  กลุ่มจะเอาเงินอีก 9,000 บาทมาจากใคร   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง..ทุกคนต้องตายทั้งสิ้น

กลับมาที่กรุงเทพฯ  เราลองเอาวิธีจ่ายเงินประกันชีวิตของธนาคารมาดู    ธนาคารชื่อดังแห่งหนึ่ง ให้ออมปีละ 16,700 บาท  ออม 10 ปี รวม 167,000 บาท   ถ้าเสียชีวิตปีที่ 10  ได้รับเงิน 160,000 บาท    ประมาณการคร่่าวๆจะเห็นว่า  ธนาคารได้รับเงินเข้าจากสมาชิกคนนี้ พอๆกับที่จ่ายเงินออกคืนเขา  มีแต่คนตายเร็ว ที่พอจะได้กำไร  แต่ธนาคารยังพอถัวกำไรจากเงินฝากของคนตายช้าได้

การจ่ายเงินฌาปนกิจของกลุ่มสัจจะฯวัดป่ายาง จังหวัดนครศรีธรรมราช  เป็นตัวอย่างวิธีจ่ายเงินฌาปนกิจที่น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีได้

กล่าวคือ  หากมีผู้เสียชีวิต   สมาชิกคนอื่นๆจะจ่ายสมทบค่าทำศพให้คนละ 10 บาท  ในกรณีนี้  เงินค่าฌาปนกิจที่รวบรวมได้ ก็จะถูกจ่ายออกในปริมาณเท่ากัน   ไม่มีความเสี่ยงอย่างแน่นอน    เงินค่าฌาปนกิจจะได้มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับจำนวนสมาชิก  หรือ  หากกลุ่มต้องการให้ได้เงินมากขึ้น ก็อาจเก็บเงินสมทบมากกว่า 10 บาท ก็ได้   การคำนวณตรงไปตรงมา  ไม่ยุ่งยากในการวางแผนเพื่อสมดุลเรื่องเงินรับจ่าย

กลุ่มวัดป่ายางมีความชาญฉลาดที่ตั้งกองเงินฌาปนกิจไว้ที่ระดับเครือข่ายซึ่งประกอบด้วยหลายกลุ่ม  หมายความว่า มีสมาชิกในเครือข่ายรวมหลายคน  และผู้เสียชีวิตก็ได้เงินฌาปนกิจเป็นชิ้นเป็นอัน

ข้อดีอีกประการคือ  การเก็บเงินฌาปนกิจแบบนี้  เป็นการ "ช่วยเหลือกัน" ตรงไปตรงมา

อยากให้พี่เลี้ยง หน่วยสนับสนุน ช่วยกันแนะนำเรื่องนี้ด้วยค่ะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 244734เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2009 20:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีคะ อาจารย์ปัทมาวดี

กองทุนณาปนกิจ ที่หมู่บ้าน เก็บศพละ 10 บาท และมีการแบ่งสัดส่วนเงินสำหรับผู้ทำหน้าที่เก็บ  จัดสรรเป็นเงินกองกลางในการทำกิจกรรมของกลุ่ม  และจ่ายให้กับสมาชิกที่เสียชีวิต เงินเข้าก็จะมากกว่าเงินออกในคราวเดียวกันคะ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องมีการหารือและลงความเห็นร่วมกันของสมาชิก

ในหมู่บ้านมีกลุ่มณาปนกิจหลายระดับมากคะ หากมีคนตายศพหนึ่ง ต้องจ่ายไม่ต่ำกว่า 60 บาทเลยทีเดียว...

มาเก็บเกี่ยวมุมมองและเล่าเรื่องแลกเปลี่ยนคะ

ขอบคุณมากคะ

---^.^---

ไพรัช สุรวงษ์ไพบูลย์

อาจารย์ครับคือที่หมู่บ้านของผมเค้าเก็บเงินศพละ 50 บาทเฉลี่ยเดือนละ 2 ศพส่งมาประมาณ 9 ปีพอคนที่ส่งเสียชีวิตเขาก็ให้รอเงินช่วยเหลือเกือบ 3 เดือนผู้ตายๆวันที่ 19 พย.59แต่ให้รอเงิน 20 มค.60 แต่เท่าไหร่ยังไม่รู้แต่เห็นมีงานนึงหมู่บ้านเดียวกันตายงานยังไม่ทันเลิกก็นำเงินมาให้แล้วอย่างนี้ควรทำอย่างไรดีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท