บนเส้นทางนายหนังตะลุง..หนังสถิตย์ ปรีชาศิลป์


นายหนังตะลุง

บนเส้นทางนายหนังตะลุง  

 นอกจากเป็นผู้นำในด้านการจัดการศึกษาแล้ว ได้ร่วมกับชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านและผู้ปกครองนักเรียน ดำเนินโครงการส่งเสริมศิลปหัตถกรรมและวัฒนธรรมชุมชนจนประสบผลสำเร็จ นักเรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ นำองค์ความรู้เหล่านั้นมาสร้างชิ้นงานทางศิลปหัตถกรรมได้
     พัฒนาสังคม ชุมชนให้มีความรัก หวงแหนต่อทรัพยากรและภูมิปัญญาของชุมชน โดยได้มีการร่วมวางแผน ร่วมปกิบัติรวบรวมจัดทำข้อมูลสารสนเทศทางด้านภูมิปัญญาของชุมชน พัฒนาองค์ความรู้ในชุมชน และดำเนินการให้มีการอนุรักษ์ สืบสาน ถ่ายทอดภูมิปัญญาชุมชน โดยสามารถดำรงตนเป็นแบบอย่างของลูกศิษย์ และชุมชนได้อย่างกลมกลืนในท่ามกลางของกระแสของการพัฒนาทุนนิยมโลก ในยุคข้อมูลข่าวสารและความเจริญทางด้านเทคโนโลยี
      ทางด้านศิลปวัฒนธรรม ในฐานะที่เป้นนายหนังตะลุงได้เป็นแบบอย่างในการสืบสานวรรณกรรมท้องถิ่น ผ่านการแสดงหนังตะลุง เป็นที่ชื่นชมของผู้ชมและเจ้าภาพ โดยนำเสนอศิลปการแสดงหนังตะลุง ในรูปแบบใหม่ที่นำปัญหาข้อถกเถียงในวิถีชีวิตประจำวัน มาใช้ในการหาทางออกที่ดีในการดำรงชีวิตโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น ศีล 5 พรหมวิหาร 4 สังคหวัตถุ 4 ฯลฯ มาเป็นแสงสว่างส่องทางไปสู่ความเป็นคนมีคุณค่าในสังคม
     ในด้านการสืบสานศิลปการแสดงหนังตะลุง นอกจากจะได้ฝึกสอนให้สำหรับผู้สนใจ มาเป็นศิษย์บนโรงหนังตะลุงแล้ว ยังได้สร้างกระบวนการถ่ายทอดศิลปการแสดงหนังตะลุงผ่านระบบกระบวนการเรียนการสอนของโรงเรียนชุมชนวัดหมนด้วย โดยได้จัดให้มีแหล่งเรียนรู้ และบทเรียนมีเอกสาร-ตำรา เทป ซีดี วีซีดี ใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอน เพื่อสร้างความสนใจให้กับนักเรียน โดยกระบวนการเรียนการสอนมี 6 ขั้นตอน ดังนี้ คือ
     1. สอนภาษาไทย - ภาษาใต้
     2. สอนรูปหนัง - การทำหนังตะลุง การพากษ์รูป
     3. สอนทฤษฎีศิลปินพื้นบ้านกับการสืบสานทางวัฒนธรรมผ่านกิจกรรม
     - ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีหนังตะลุง ระบำวัวชน ฯลฯ
          - พิธีกรรมก่อนการแสดงหนังตะลุง - การไหว้ครู
          - พิธีกรรมบนโรงหนังตะลุง - การแข่งขันประชันโรง
     - คำพูด คำคม มุขปาฐะ และการเจรจา
    4. สอนกลอน
    5. สอนการแสดงหนังตะลุงเป็นรายฉาก
    6. สอนการแสดงหนังตะลุงแบบหลายฉาก (ทั้งเรื่อง)

รางวัลที่เคยได้รับ
     พ.ศ.2537 ได้รับรางวัลรองชนะเลิศการแข่งขันประชันหนังตะลุง 15 โรง ณ ริมเขื่อนปากพนัง และได้ค่าแสดงเพิ่มขึ้นเป็น 50,000 บาท/คืน
     พ.ศ.2540 ได้รางวัลถ้วยชนะเลิศการแข่งขันประชันโรงในเทศกาลเดือนสิบ นครศรีธรรมราช (ทุ่งท่าลาด)เป็นครั้งแรก
     พ.ศ.2541 ได้รางวัลถ้วยชนะเลิศการแข่งขันประชันโรงในเทศกาลเดือนสิบ นครศรีธรรมราช (ทุ่งท่าลาด)เป็นปีที่ 2
     พ.ศ.2542 ได้รางวัลถ้วยชนะเลิศการแข่งขันประชันโรงในเทศกาลเดือนสิบ นครศรีธรรมราช (ทุ่งท่าลาด)เป็นปีที่ 3
   พ.ศ.2544 หนังปรีชา สงวนศิลป์ ป่วยหนัก ได้ขอให้ช่วยรักษาศิลปการแสดงตามแบบฉบับของท่านไว้ให้ดี จึงขอกับอาจารย์ว่าจะใช้ฉายา "ปรีชาศิลป์" ท่านอาจารย์อนุญาตจึงได้ใช้ชื่อการแสดงว่า "หนังสถิตย์ ปรีชาศิลป์" ตั้งแต่นั้นมา จนกระทั่งเดือนพฤศจิกายน 2544 อาจารย์ปรีชา สงวนศิลป์ ได้ถึงแก่กรรมลง
     พ.ศ.2545-ปัจจุบัน ได้รับค่าแสดงคืนละ 10,000-15,000/คืน
 

หมายเลขบันทึก: 232788เขียนเมื่อ 31 ธันวาคม 2008 13:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ

* มาแสดงความยินดีและเป็นกำลังใจกับนายหนังค่ะ

สวัสดีครับท่านนายหนัง

"เลือดตะลุง ต้องคงอยู่คู่บ้านเรา"

เคยได้พูดคุยกันกับ ท่านบุญธรรม เทิดเกียรติ์ชาติ ทีบ้านพี่ เล็ก ลำสินธ์ ถึงโครงการศิลปการแสดงทุกแขนง ว่าจะรวบรวมไว้ไร น่าสนใจมาก จากวันนั้นก็ไม่ได้รับทราบความคืบหน้า

เป็นโอกาสดีที่ ท่านนายหนังเปิดพื้นที่นี้ขึนมาจะได้ร่วม ลปรรกันต่อไปครับ

ขอขอบคุณท่านทั้งหลายที่ให้กำลังใจ

  • เป็นทั้งศิลปะและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สมควรอนุรักษ์ไว้อย่างยิ่งค่ะ
  • ขอให้ท่านมีความสุขกับการทำงานสืบสานวัฒนธรรมอันทรงค่านี้ไว้ และได้รับผลบุญกุศลจากการทำความดีเพื่อแผ่นดินนี้ค่ะ
  • สวัสดีปีใหม่จีน สุขกาย สุขใจค่ะ

 

ขอขอบคุณในคำอวยพรและให้กำลังใจผู้ทำงานวํฒนธรรม (งานคนแก่ๆหรือเปล่าไม่รู้)แต่ชอบที่จะทำ อ่านองค์ความรู้ที่เผยแพร่มาก็สามารถนำไปใช้ได้กับงานของผม

หนังสถิตย์ ปรีชาศิลป์

ชอยกลอนของนายหนังจังหู ขอนำไปขับได้มั้ยครับ คงมีออกมาบ่อยๆ

หากมีกลอนยักษ์ กลอนฤาษี กลอนสี่มาฝากด้วยจะติดตามประจำ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท