ลองตรวจสอบความแข็งแรงของ"รหัสผ่าน"กันดูไหม


ได้เห็นการแนะนำเว็บไซต์เพื่อทดสอบความเข้มแข็งของ "รหัสผ่าน" หรือที่เราเรียกกันทับศัพท์จนติดปากไปแล้วว่า พาสเวิร์ด นั้น คิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับพวกเราทุกคน ลองทดสอบของตัวเองดูแล้ว พบว่าคะแนนพอใช้เท่านั้นเองค่ะ ดูจากเกณฑ์ที่เขาตั้งไว้ให้ดูว่าเขาคิดจากอะไรบ้างแล้ว เห็นว่าสมเหตุสมผลดี เสริมกับสิ่งที่ คุณ ต้นกล้าได้เคยเขียนบันทึก ความสำคัญของรหัสผ่านและรหัสสุ่ม เอาไว้ด้วย คิดว่าเทคนิคที่คุณต้นกล้าและ คุณแนทแนะนำไว้ นั้นใช้ได้ผลดีนะคะ นั่นคือพิมพ์ประโยคภาษาไทยนี่แหละแต่ใช้แป้นภาษาอังกฤษ เอามาเป็นรหัสผ่าน แต่ทีนี้ถ้าเราคนไทยใช้วิธีเอาชื่อตัวเองที่เป็นภาษาไทยแบบนี้บ่อยๆ คนไทยกันเองนี่แหละค่ะที่จะเดาได้ เพราะฉะนั้นน่าจะใช้วิธีเดียวกันนี่แหละแต่แทนที่จะเป็นชื่อตัวเรา อาจจะเป็นวลีภาษาไทยอื่นๆที่ถูกใจเรา หรือชื่อเพลงที่เราชอบอะไรแบบนั้น ก็คงจะดีกว่านะคะ ลองดูแล้วพบว่า

คำว่า "ต้นกล้า" - 9hod]hk ซึ่งมีแค่ 7 ตัวอักษร (ธรรมดาเขามักจะให้อย่างน้อย 8) ยังได้คะแนนตั้ง 76% แน่ะ

ส่วน "อโณทัย" - vFImyp ได้ 68% ในขณะที่ "โภคาธิกรณ์" - F48kTbdiIN ได้ 100% เลย...หึ....หึ..

ถ้าเป็นชื่อเพลง "ความฝันอันสูงสุด" - 8;k,/yovyol^'l6f ได้ตั้ง 90% แน่ะค่ะ 

ดูแล้วเทคนิคนี้น่าจะเอาไปประยุกต์ใช้ในการตั้งรหัสผ่านกันนะคะ 

หมายเลขบันทึก: 225016เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2008 23:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

พี่โอ๋ อโณ มีของให้เล่นเสมอเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับคุณ โอ๋

วันนี้โดนน๊อค ด้วยโปรแกรม SPSSมาก็ต้องมุมานะกับเจ้าให้มากขึ้น

อ่านระหัสของอาจารย์ โอ๋แล้วยังไม่เข้าใจ ขอความอนุเคราะห์ ให้ความกระจ่างด้วย

นักศึกษารุนกระผม ระหัสอักษรย่อ สง สยสยครับ(ผุ้สูงวัยสอนยากสอนเย็นครับ)

ระหัสผ่านของผม vorya9451กรุณาแนะนำ (สวสยสย)ด้วยครับ

ดว้วยความขอบคุณครับ

ดีใจที่ครูต้อยจะได้ใช้ประโยชน์นะคะ รหัสผ่านครูต้อยได้คะแนนดีไหมคะ (ยิ่งคะแนนสูงก็คือคนอื่นหาทาง "เดา"รหัสเราได้ยากเท่านั้นน่ะค่ะ)

บังหีมคะ ไม่มีปัญหาค่ะ แต่บังหีมไม่ควรบอกรหัสใครง่ายๆนะคะ พอดีเลยอย่างนี้ก็ได้เวลาเปลี่ยนรหัสพอดีค่ะ วิธีก็คือทีนี้เราไม่ต้องมานั่งคิดว่าเราจะใช้ตัวอักษรอะไรบ้าง (ในภาษาอังกฤษ) มาใช้เป็นรหัสผ่าน แต่เราใช้แป้นภาษาไทยแทนเลยไงคะ โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนภาษา อย่างเช่น ถ้าเราพิมพ์คำว่า บังหีม โดยที่เราใช้แป้นตัวอักษรอังกฤษ ก็จะได้ออกมาเป็น [y'su, (บังหีมลองดูตัวอักษรบนแป้นพิมพ์ดูนะคะ น่าจะเข้าใจ) เราก็จะจำง่ายด้วยค่ะ  

เทคนิคน้องภู นะคะ ไม่สงวนลิขสิทธิ์

ใช้เสียงโน้ตของดนตรี..

อิ อิ ต้องอธิบายหลังไมค์ค่ะ

คุณหมอเล็กคะ ฟังแล้วน่าสนใจจังค่ะ เทคนิคน้องภูนี่ นึกๆไปแล้วก็ทำให้คิดได้ว่า มีอะไรอีกหลายๆอย่างที่เป็นความสนใจหรืองานอดิเรกของเราที่สามารถเอามาดัดแปลงใช้เป็นรหัสผ่านแบบที่ประสิทธิภาพดีและจำได้ง่ายๆสำหรับเราแต่ละคนนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท