อนงค์ศิริ
รองศาสตราจารย์ อนงค์ศิริ วิชาลัย

ผลงานวิชาการ มาตรฐานของใคร ?


มาตรฐานคุณภาพอยู่ที่ไหน และเป็นมาตรฐานของใคร

เมื่อครั้งที่ทำวิทยานิพนธ์  ระดับมหาบัณฑิตหรือดุษฎีบัณฑิต  เราต่างบอบช้ำจากการให้คำปรึกษาของ

อาจารย์ที่ปรึกษาตามๆ กัน  มีที่ปรึกษา  3 คน  พูดไปคนละทิศละทาง ปรับให้ถูกใจอาจารย์ท่านหนึ่ง อีก

ท่านหนึ่งก็ไม่พอใจ

แม้แต่อาจารย์คนเดิมคนเดียวนั้น  ปรับเป็นครั้งที่เท่าไหร่ก็ไม่ถูกใจ  เพราะท่านจำไม่ได้ว่าท่านนั่นแหละที่

แนะนำไว้  ขนาดเก็บลายมือต้นฉบับนำไปให้ดู  ก็ยังข้างๆคูๆ (อิ อิ)

แทบกล่าวได้ว่า มหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิตที่เครียดสุดๆ มิใช่อื่นใด  เครียดเพราะ...

ไม่ได้ทำผลงานด้วยตนเองหรอก  ความคิด ความเป็นตัวตน  มันหายไปไหนไม่อาจรู้  รู้แต่เพียงว่า

ต้องปรับตามใจอาจารย์  ไม่เช่นนั้นคุณไม่มีวันเรียนจบ   นี่คือ  เรื่องจริงของวงวิชาการ

และวิธีการดังกล่าวนี้ได้สืบทอดต่อๆ กัน  ครั้นได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการประเมินผลงาน

วิชาการอาจารย์สาม  การประเมินก็ยังคงเป็นไปตามความคิดเห็นของผู้ประเมิน  เชื่อมั้ยล่ะคะ

บางคนยังเข้าใจว่ากำลังประเมินวิทยานิพนธ์ (ฮา ๆ) เพราะไปเสนอแนะ ไปแก้ไข ผลงานของเขาหมดจน

ลืมไปว่า  คำแนะนำนั้นไม่สอดคล้องกับสภาพจริงในห้องเรียน ลองพิจารณาดูเถิด  ติติงตั้งแต่กิตติกรรม

ประกาศ  ควรเขียนอย่างนั้นไม่ควรอย่างนี้  ขอให้เขาเป็นตัวตนของเขา

เขียนจากใจที่อยากเขียนสักแผ่นจะได้ไหม

เขาจะขอบคุณใครคุณหนูคุณแมวอะไร ที่ไหน อย่างไร ให้เป็นเรื่องของเจ้าของผลงานเถิด 

ท่านอย่าไปยุ่งอะไรกะเขาเลย  กรรมการควรพิจารณาผลงานตาม

หลักวิชาการที่สำคัญที่เป็นมาตรฐานจะดีกว่า  ในการอ้างอิงและบรรณานุกรมก็เช่นกัน  ผิดหรือที่เขาเขียน

คำว่า "หน้า" แทนเครื่องหมาย :  ตามหลักการจะเขียนแนวใดก็ได้แต่..ขอให้ใช้แนวนั้นตลอดเล่ม 

แต่จะเป็นรูปแบบของสถาบันใด ควรเป็นอิสระ ไม่ควรไปยุ่งกะเขาเพราะเขาไม่ทราบว่ากรรมการที่ตรวจงาน

จบสถาบันใดจะได้ใช้แนวของสถาบันนั้นๆ ให้ถูกใจ

ผู้เขียนเห็นคุณครูที่หอบผลงานวิชาการที่ได้รับการปรับปรุงมาปรึกษา  รู้สึกสงสารจับใจเพราะเขาเครียด

มาก  กรรมการเล่นให้แก้ไขในเรื่องไม่เป็นเรื่อง เช่น  เขาไปทดลองกับเด็กอีกกลุ่มหนึ่ง  5 คน ถือว่า

ทดลองในกลุ่มย่อยแล้ว  แต่ท่านกรรมการไม่ยอมระบุให้ไปทดลองกับกลุ่มย่อยมาใหม่  สงสัยว่าทดลอง 

กับเด็ก  5  คนยังไม่นับเป็นกลุ่มย่อย   ดังนั้น คำว่า "เอกสิทธิ์"  ของกรรมการ บางครั้งต้องทบทวน  เพราะ

ท่านมีมาตรฐานแตกต่างกันมาก  บางครั้งควรมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น หรือเสนอแนะเชิงวิชาการบ้าง

อย่างน้อยเป็นการสะกิดเตือนใจ  มิใช่กรรมการทั้งหมดทั้งมวลยอมกรรมการเพียง  1  คนที่ใช้ความคิดเห็น

ของตนตัดสิน ด้วยถือว่า ให้เกียรติกันนั้นไม่ควร เพราะความกลัว ความเกรงใจทำให้เสื่อม

อีกประการหนึ่ง  ผู้เขียนก็ไม่เห็นด้วยกับหน่วยงานบางหน่วยงานที่แก้ไขเกณฑ์  แก้ไขวิธีการประเมิน

เปลี่ยนแปลงบ่อยจนตามแทบไม่ทัน   ก็เข้าใจว่าท่านทำเพื่อขวัญและกำลังใจของบุคลากรขององค์กร 

แต่มันเป็นการลดมาตรฐานวิชาการหรือไม่  น่าจะพิจารณา เพราะแม้แต่คุณครูด้วยกันยังบ่นและตัดพ้อว่า

ทำไมเขาได้ยากเย็นแสนเข็ญ ต้องใช้ความรู้ ความสามารถสุดๆ  ในรุ่นก่อน หรือรุ่นแรกๆ

บางคนสอนยังไม่เป็นเรื่องเป็นราวแต่ผ่านการประเมินไปได้อย่างไร   เป็นต้น

ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาทุกฝ่ายน่าจะทบทวนมาตรฐานคุณภาพการศึกษา  และ

ร่วมสังฆายนากันเสียที  เหมือนกับคำกล่าวว่า "ปริญญาเต็มบ้านเต็มเมือง แต่คุณภาพการศึกษาต่ำกว่า

เกณฑ์ "  พอๆกับคำกล่าวว่า "อาจารย์สามเต็มโรงเรียน  แต่...เด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้  เกือบครึ่ง

ค่อน" ตัวของอาจารย์สามบางท่านก็ใช่ย่อย เขาถามว่า ได้อาจารย์สามมาอย่างไร   บรรณานุกรมยังเขียน

ไม่เป็น หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานไม่ได้   เขียนคำนำยังต้องคัดลอกของคนอื่น  แล้วจะให้คุณภาพ

การศึกษาของประเทศไทย สู่ ISO ระดับสากลได้อย่างไร เป็นต้น

สิ่งเหล่านี้  ผู้เขียนเชื่อว่าเกิดจากจิตสำนึกของทุกท่านที่มีส่วนเกี่ยวข้องมากกว่า 

ว่าเรามีส่วนช่วยกันสร้างสรรค์หรือทำลายคุณภาพกันแน่

มาตรฐานคุณภาพอยู่ที่ไหน  และเป็นมาตรฐานของใคร

วันนี้...ขอพูดความจริงสักวัน  เกลียด โกรธ อย่างไรไม่คำนึง 

คำสำคัญ (Tags): #มาตรฐานคุณภาพ
หมายเลขบันทึก: 224764เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2008 21:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 21:42 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีครับ

ท่าทางจะเป็นอย่างนั้นแหละครับ...

เคยเห็นงานวิชาการบางชิ้น ต้องแก้ไข

แต่ความเห็นของผู้ตรวจเน้นเรื่องคำผิด คำถูก ฉีกคำ ไม่ได้ดูเรื่องจุดประสงค์ สมมุติฐาน ผลสรุป ที่เขียนไปคนละทิศคนละทาง ;)

เรียน คุณธวัชชัย

ขอขอบคุณค่ะที่เข้ามาแวะเยี่ยม

บ้านเมืองจะไปไม่รอดแล้ว เห็นทีผู้รู้ต้องช่วยกันสะกิด

ด้วยเชื่อว่า อันเสาหินแปดศอกตอกเป็นหลัก ใครมาผลักบ่อยเข้าเสา

ยังไหวนะคะ

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณค่ะ ที่แวะไปเยี่ยม

ครูตาลก็เคยเจอปัญหานี

สุดบรรยายเลยค่ะ

และขณะนี้ก็กำลังจะเจออีกแล้วค่ะ

เพราะกำลังทำ คศ.3

คนนั้นว่าอย่างนี้ คนนี้ว่าอย่างนั้น

บ้างก็ว่าต้องทำวิจัย 5 บท บ้างก็ว่า ต้องเขียนแค่ รายงานการใช้นวัตกรรม

ครูตาลก็เลย งง งง จะไปรอดหรือเปล่าก็ไม่รู้

คนประเมิน กับ คนช่วยแก้ ก็คนละคน ไม่รู้จะแก้ที่ถูกให้เป็นผิด หรือเปล่านะเนี่ย...

อิ.....อิ......

ตอบ คุณรัชดาวัลย์(ครูตาล)

มีคนพูดขำ ๆ ไว้ว่า ก่อนทำผลงานวิชาการให้ Pretest โดยถ่ายรูปเก็บไว้

หลังจากทำผลงานแล้ว ให้ Posttest ถ่ายรูปอีกครั้งหนึ่ง ฮา

แล้วจะรู้ว่าแก่ลงเพียงไร เอาใจช่วยให้ได้เฮ

และประสบความสำเร็จนะคะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ตอนนี้ มีคำว่า เยียวยา กับผลงานวิชาการ อาจารย์ คิดว่าไงค่ะ

สวัสดีครับ  ท่านอาจารย์

     ที่เขียนมาตรง และ จริง กับสภาพของคนส่งผลงานหลายๆคน ที่แอบมาบ่นๆ ให้ฟัง

     ก็คงต้องทำใจครับ   แนะนำมาอย่างไร ก็แก้ไปตามนั้น ยึดอาจารย์เป็นสำคัญ

    บางครั้ง แนะนำมาผิดๆ  ก็ต้องแก้ตามไปแบบผิดๆ แหละครับ

    (ที่ต้องการ คือ น่าจะยึดคนทำผลงานเป็นสำคัญบ้างครับ  ไม่ใช่หมายความว่า คนทำเก่งและผลงานดีมากจนถึงกับแนะนำแก้ไขไม่ได้  แต่ควรจะแนะนำตามบริบทและตามความคิดของคนทำครับ )

                ขอบคุณครับ

   

ตอบ ครูใหม่ บ้านน้ำจุน

แบ่งใจออก 2 ห้อง ห้องที่หนึ่ง เป็นการดี ที่ได้เรียนรู้ว่าผิดเพราะอะไร

มีครูอาจรย์หรือที่ปรึกษาให้คำแนะนำชี้แนะ ในกรณีนี้น่าจะเป็นคุณครูคนเก่ง

นักพัฒนาการเรียนการสอน ทำงานเพื่อเด็ก ขยันคิดค้นคว้า อุทิศตนเพื่อการสอน

มาตลอดชีวิต ผลงานของเขา เด็กได้ฝึกปฏิบัติ ครูลักษณะนี้ ต่อยอด เยียวยาอีกนิด

เขาจะเป็นครูคนเก่งทั้งภาคปฏิบัติและหลักการ ทฤษฎี นิเทศคนอื่นต่อๆไปได้ ให้กำลังใจ

หัวใจอีกห้อง ไม่ส่งเสริมคนที่ไปจ้างเขาทำ โดยที่ตัวเองไม่รู้เรื่อง เด็กไม่ได้สัมผัส

เงินเป็นใหญ่ โดยมีนักวิชามารที่เงินซื้อได้ร่วมมือ ขณะนี้มีเยอะมาก แต่ไม่มีใครพูด

เพราะเมื่องไทย อันตรายรัฐบาลยังเอาตัวไม่รอด ฮา คนกลุ่มนี้ไม่ควรเยียวยา ควรมีวิธี

การประเมินให้ได้ว่าทำจริงหรือไม่ คุณภาพการศึกษาไทยจะยกระดับอีกเยอะ (ว้าย ! )เผลอ อิ

ตอบ คุณหนุมน้อยหน้าตาดีครับ

ที่มีปัญหาส่วนมาก แก้ไขแนะนำตามหลักวิชาการ

แต่ในความเป็นจริงครูนำไปใช้ก่อนแล้ว

เช่น การทดลองหาประสิทธิภาพของนวัตกรรม

ถ้าทำตามทฤษฎี ไม่ทันบ้าง นักเรียนมีน้อยเกินบ้าง

ประมาณว่า มันไม่สอดคล้องกับสภาพจริง

น่าจะให้ครูลุย แบบผู้เฒ่าผู้แก่ ค้นพบภูมิปัญญาชาวบ้าน นะคะ

ไม่มีสูตร ไม่มีทฤษฎี แต่ค้นพบคำตอบเองจากประสบการณ์สั่งสม

ชอบครับ ชอบใจมุมสะท้อนของอาจารย์ยิ่งนัก ...

ผมเองก็ตั้งคำถามในใจเหมือนกันว่า "ตกลง เขามีมาตรฐานกันอย่างไรกันแน่" ถึงได้ไม่เหมือนกันอย่างนั้น

กรรมการต่างมีอัตตาที่สูงส่ง จบคนละสถาบัน วัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อก็ต่างกัน ... ดันทะลึ่งมาเป็นกรรมการชุดเดียวกัน

ก่อนการตัดสินใจใด ๆ ของกรรมการชุดนี้ ควรจะพูดคุยกันให้เข้าใจในหลักการกันก่อน จะเลือกทางใดก็ทางหนึ่ง

ผู้เสนอผลงานฯ เขาจะได้เข้าใจตรงกันทุกคน รู้ว่า ทำอย่างไรถูก ทำอย่างไรยังไม่ถูก

มาตรฐานมันจะได้เกิดเหมือน ๆ กัน

ดีก็ดีกันทั้งอำเภอ ทั้งจังหวัด

แย่มันก็จะได้แย่ไปทั้งอำเภอ ทั้งจังหวัด (ฮา)

แย่ทั้งจังหวัดใช่ว่าจะไม่มีข้อดีครับ ข้อดี คือ จังหวัดนั้นก็ต้องปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงหลักการตัดสินกันขนาดใหญ่ แล้วลองใหม่ในปีถัดไป

ผมเองก็เบื่อหน่ายไม่น้อยกับข่าวการขอผลงานวิชาการ ด้วยการทุจริต คัดลอก คดโกง ของคนที่ชื่อว่า เป็น "ครู" แล้วก็จับไม่ได้ไล่ไม่ทัน

ดังนั้น จากบันทึกของอาจารย์ พอจะสรุปได้ว่า กรรมการตรวจผลงานอะไรเนี่ย เป็น 1 ปัจจัยที่มีผลต่อระบบการประเมิน เช่นกัน

เศร้าให้ได้ทั้งประเทศครับ

คนไม่ดีมีทุกวงการ ให้มันได้อย่างนี้สิ อาจารย์ว่าไหม :)

ปริญญาเต็มบ้านเต็มเมือง แต่คุณภาพการศึกษาต่ำกว่า

เกณฑ์ "  พอๆกับคำกล่าวว่า "อาจารย์สามเต็มโรงเรียน  แต่...เด็กอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้  เกือบครึ่งค่อน"

ตัวของอาจารย์สามบางท่านก็ใช่ย่อย เขาถามว่า ได้อาจารย์สามมาอย่างไร   บรรณานุกรมยังเขียนไม่เป็น หาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานไม่ได้   เขียนคำนำยังต้องคัดลอกของคนอื่น  แล้วจะให้คุณภาพ

การศึกษาของประเทศไทย สู่ ISO ระดับสากลได้อย่างไร 

  • ดิฉันรู้สึกชื่นใจกับข้อความที่คัดลอกมาเป็นอย่างมากค่ะ
  • เพราะอาจารย์ 3 หรือ คศ.3 ได้รับเงินวิทยฐานะเท่ากับ ผศ.ในมหาวิทยาลัยนะคะ  แต่คุณภาพ..ไม่กล้าพูดถึงค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท