โครงการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ


โครงการสอนวิชาชีวิตกับสิ่งแวดล้อมแบบมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

ขอนำเสนอโครงการสอนแบบมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในรายวิชาชีวิตกับสิ่งแวดล้อม สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี อาจจะเป็นโครงการสอนที่ต้องปรับปรุงแก้ไขต่อไป หากท่านสมาชิกมีข้อเสนอแนะหรือแนวทางการแก้ไขปรับปรุงอย่างไร ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพิ่มเติมให้ด้วยครับ ขอขอบคุณล่วงหน้าสำหรับข้อเสนอแนะที่จะส่งมา

  

 

คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ 

โครงการสอน (Course Syllabus)

 

รหัสวิชา 2500104       ชื่อวิชา ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม   หน่วยกิต  3(3-0) 

 

 

1. ชื่อ-สกุล ผู้สอน  นายประถม บุญทน ห้องทำงาน 3105 

   หมายเลขโทรศัพท์ 045-643600 ต่อ 116 มือถือ 081-5930688 

   อีเมล์ [email protected] 

2. ห้องเรียน 1207               ภาคการศึกษา 2 ปีการศึกษา 2551 

   วัน-เวลาเรียน วันศุกร์ เวลา 08.30-11.00 น. 

3. หมวดวิชา การศึกษาทั่วไป    กลุ่มวิชา

   วิชาที่ต้องเรียนมาก่อน : .........ไม่มี.......................................

4. คำอธิบายรายวิชา :

            ศึกษาความหมาย ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ความสัมพันธ์เชิงระบบระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม การพัฒนาและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น การดำเนินกิจกรรมโดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การมีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมและพลังงาน การส่งเสริม บำรุงรักษาและคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ หลักการพัฒนาแบบยั่งยืน

          ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายการจัดการศึกษา

          วิชาชีวิตกับสิ่งแวดล้อมมุ่งให้นักศึกษาเข้ามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ ภาวะมลพิษสิ่งแวดล้อม การป้องกันและแก้ไข การจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อความยั่งยืน เพื่อให้นักศึกษานำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเป็นผู้นำทางความคิด นำชุมชนไปสู่ความยั่งยืนบนแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ต่อไป

          ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายหลักสูตรการศึกษา

 

5. จุดประสงค์การเรียนรู้ :

          ด้านความรู้ ความเข้าใจ และความคิด

            1. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญของสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหามลพิษต่างๆ และการใช้สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรอย่างยั่งยืน

2. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตกับสิ่งแวดล้อม

3. เพื่อให้มีความรู้ในเรื่องการจัดการสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติเพื่อความยั่งยืน

ด้านทักษะกระบวนการ

            4. เพื่อให้มีส่วนร่วมและมีทักษะในการอนุรักษ์ตลอดจนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ด้านเจตคติ หรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์

            5. เพื่อให้มีจิตสำนึกของความรับผิดชอบในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

6. เนื้อหา

1.สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ

            1.1 สิ่งแวดล้อม

            1.2 ทรัพยากรธรรมชาติ

            1.3 ความหลากหลายทางชีวภาพ

2.ความสัมพันธ์เชิงระบบระหว่างชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
2.1 กำเนิดและวิวัฒนาการของโลกและสิ่งมีชีวิต
2.2 ระบบนิเวศและความสัมพันธ์เชิงระบบระหว่างชีวิตกับสิ่งแวดล้อมเนื้อหา
2.3 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต

3. ปัญหามลพิษของผลกระทบสิ่งแวดล้อม
3.1 มลพิษสิ่งแวดล้อม
3.2 ชนิดของมลพิษที่สำคัญ
3.3 การวิเคราะห์ปัญหาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ประเทศ ภูมิภาค และโลก
3.4 การวิเคราะห์(ประเมิน)ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

4. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการใช้ที่ยั่งยืน
4.1 แนวความคิดในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.2 แนวทางในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
4.3 หลักการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั่วไป
4.4 หลักการจัดการทรัพยากรธรรมชาติแต่ละประเภท
4.5 การวางแผนพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
4.6 การดำเนินงานเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.7 การพัฒนาสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน

7. การเรียนการสอน

สัปดาห์ที่

เนื้อหา

กิจกรรม

ภาระงาน/ชิ้นงาน

1

1.สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพ

1.1 สิ่งแวดล้อม

- อภิปรายกลุ่ม

- ค้นคว้าเอกสาร

- นำเสนอรายงานสรุป

-การนำเสนอรายงานและอภิปรายกลุ่ม

-เอกสารรายงาน

2

1.2 ทรัพยากรธรรมชาติ

1.3 ความหลากหลายทางชีวภาพ

- วิจารณ์ภาพยนตร์เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเรื่อง สะบายดีหลวงพระบาง

- ชมวีดิทัศน์เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ(ชีวิตสัตว์ป่าและใต้ทะเล)

-เอกสารสรุปการวิจารณ์

3

2.ความสัมพันธ์เชิงระบบระหว่างชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
2.1 กำเนิดและวิวัฒนาการของโลกและสิ่งมีชีวิต

-ชมวีดิทัศน์กำเนิดโลก

-ชมคลิปวีดิโอกำเนิดทวีป(Encata2007)

-อภิปรายกลุ่ม

-รายงานสรุปการอภิปรายกลุ่ม

4

2.2 ระบบนิเวศและความสัมพันธ์เชิงระบบระหว่างชีวิตกับสิ่งแวดล้อมเนื้อหา

-ค้นคว้าจากเอกสาร

-ค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต

-อภิปรายกลุ่ม

-รายงานสรุปการค้นคว้า

-การอภิปรายกลุ่ม

5

2.2 ระบบนิเวศและความสัมพันธ์เชิงระบบระหว่างชีวิตกับสิ่งแวดล้อมเนื้อหา(ต่อ)

-ค้นคว้าจากเอกสาร

-ค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต

-อภิปรายกลุ่ม

-รายงานสรุปการค้นคว้า

-การอภิปรายกลุ่ม

6

2.2 ระบบนิเวศและความสัมพันธ์เชิงระบบระหว่างชีวิตกับสิ่งแวดล้อมเนื้อหา(ต่อ)

-ชมวีดิทัศน์ชีวิตสัตว์โลก(เกี่ยวกับการถ่ายทอดพลังงานในระบบนิเวศ)

-อภิปรายกลุ่ม

-รายงานสรุปการอภิปรายกลุ่ม

 

7

2.3 ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต

-บรรยายรวม

-ถาม-ตอบข้อสงสัย

-ฟังการบรรยาย

-ซักถามข้อสงสัย

8

สอบกลางภาค

-จัดสอบข้อเขียน

-ข้อสอบข้อเขียน

9

3. ปัญหามลพิษของผลกระทบสิ่งแวดล้อม
3.1 มลพิษสิ่งแวดล้อม

3.2 ชนิดของมลพิษที่สำคัญ

-ชมภาพยนตร์เรื่องความจริงช็อกโลก(An Inconvenient Truth)

-เอกสารสรุปประเด็นปัญหาสภาวะแวดล้อม

สัปดาห์ที่

เนื้อหา

กิจกรรม

ภาระงาน/ชิ้นงาน

10

3.3 การวิเคราะห์ปัญหาสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น ประเทศ ภูมิภาค และโลก

-ชมวีดิทัศน์ข่าวเกี่ยวกับภัยธรรมชาติ สึนามิ พายุไต้ฝุ่น พายุทอร์นาโด น้ำท่วม ภูเขาไประเบิด ไฟไหม้ป่า ฝนแล้ง

-สรุปประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม

11

3.4 การวิเคราะห์(ประเมิน)ผลกระทบสิ่งแวดล้อม

-ค้นคว้าเอกสาร

-เอกสารรายงานสรุปการค้นคว้า

12

4. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการใช้ที่ยั่งยืน
4.1 แนวความคิดในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.2 แนวทางในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

-ค้นคว้าเอกสาร

-สำรวจชุมชนตัวอย่างการใช้ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเพื่อการดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและความยั่งยืน

-จัดทำรายงานการดำเนินการของชุมชนตัวอย่าง

-นำเสนอรายงานการศึกษาชุมชน

-เอกสารรายงาน

-การนำเสนอรายงานกลุ่ม

13

4.3 หลักการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั่วไป
4.4 หลักการจัดการทรัพยากรธรรมชาติแต่ละประเภท

-บรรยายทางวิชาการจากวิทยากรภายนอก(จากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด)

-จัดนิทรรศการเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติของจังหวัด

-บันทึกสรุปการบรรยายทางวิชาการและการชมนิทรรศการ

14

4.5 การวางแผนพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

-ศึกษาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10

-จัดทำรายงานในส่วนเกี่ยวกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในแผน 10

-เอกสารรายงาน

15

4.6 การดำเนินงานเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.7 การพัฒนาสิ่งแวดล้อมแบบยั่งยืน

-จัดอภิปรายทางวิชาการจากวิทยากรภายนอกจากหน่วยอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในจังหวัด

-เชิญวิทยากรที่มีผลงานทางการอนุรักษ์ร่วมบรรยาย

-บันทึกสรุปการบรรยายทางวิชาการ

16

สอบปลายภาค

-จัดสอบปลายภาคตามตารางรวม

-ข้อสอบข้อเขียน

 

 

 

 

8. สื่อการสอน :

            1. ตำราเรียน/หนังสือประกอบการเรียน

            2. power point presentation

3. วีดีโดภาพยนตร์เรื่อง สะบายดีหลวงพระบาง , An Inconvenient Truth , Blood Diamond 

            3. เอกสารบทความ แผ่นพับ หนังสือพิมพ์ วารสารทางวิชาการ

            4. สื่ออินเทอร์เน็ต และสื่ออิเลคทรอนิกส์อื่นๆ การใช้สื่อเทคโนโลยีด้วยตนเองของนักศึกษา

 

9. การวัดผลและประเมินผล : อิงกลุ่ม / อิงเกณฑ์

          1.  การวัดผล แบ่งเป็น

     คะแนนระหว่างภาค   60 คะแนน แบ่งเป็น

            1) ชิ้นงาน

            2) การทดสอบย่อย

            3) การทดสอบระหว่างภาค

            4) การร่วมกิจกรรม

    คะแนนสอบปลายภาค 40 คะแนน

            2.  การประเมินผล

 ใช้การประเมินแบบอิงกลุ่ม ใช้คะแนน T

                        -  เชิงปริมาณ

                   ระดับปริญญาตรี

                   ระดับคะแนน เป็นดังนี้

   A    B+     B     C+     C     D+     D     E โดยพิจารณาจากค่าคะแนน T ของกลุ่ม

หมายเหตุ :  1.  นักศึกษาที่ทุจริต หรือร่วมทุจริตในการสอบ               เกรด  E

                  2.  นักศึกษาขาดส่งงาน หรือขาดสอบ                         เกรด  I

                  3.  นักศึกษายกเลิกรายวิชาเรียน                                  เกรด W

-  เชิงคุณภาพ

                 ได้แก่  ประเมินสภาพผู้เรียน ด้านการพัฒนาการเรียนรู้ (ผลงานร่วมระหว่างผู้สอนและผู้เรียน)

10. เงื่อนไขและข้อพึงปฏิบัติของผู้เรียน

            1. การเข้าชั้นเรียนทุกครั้งต้องแต่งกายให้ถูกระเบียบมหาวิทยาลัย

            2. มีการเสนอความเห็นเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใน web blog อย่างน้อย 1 ความเห็นที่ http://learners.in.th/blog/humanbeingandevironment/216252

            3. หากนักศึกษามีคำถามข้อสงสัยเกี่ยวกับการเรียนหรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมสามารถส่งคำถามมาทางเมล์ที่ [email protected]

11. หนังสือ และ เอกสารค้นคว้าเพิ่มเติม :

1. กนก จันทร์ทอง (2539) สิ่งแวดล้อมศึกษา:ความรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม ปัตตานี คณะศึกศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์.

2. ประชา อินทร์แก้ว. (2542) ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: เติร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชัน.

3. มูลนิธิโลกสีเขียว (2548) สถานการณ์สิ่งแวดล้อมไทย 2547-2548 กรุงเทพฯ : อัมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิง.

4. ยุพดี เสตพรรณ(2544) ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม กรุงเทพฯ : พิศิษฐิการพิมพ์.

5. ราตรี ภารา(2538) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรุงเทพฯ : อักษราพิพัฒน์.

6. วิสูตร พึ่งชื่น (2540) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรุงเทพฯ: พัฒนาวิชาการ.

7. ศศินา ภารา (2550) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรุงเทพฯ : เอ็กซเปอร์เน็ท.

8. สนธิ วรรณแสง และคณะ .(2543) การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม.

9. สวัสดิ์ โนนสูง.(2543). ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

10. สุเทพ ธีรศาสตร์.(2540). ISO 14000 : มาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น).

11. WWW.TEI.OR.TH   

12. WWW.THAIENVI.ORG       

13. http://www.tistr.or.th/sakaerat/index.php

                        ฯลฯ

 

หมายเหตุ ปี 2553 ได้ปรับปรุงใหม่เป็น มคอ.3 แล้วครับ ดูได้ที่
http://learners.in.th/blog/2500104/374546

หมายเลขบันทึก: 220517เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2008 14:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีค่ะ ท่านประถม

ตาม อ.ขจิต ไปแล้วตอบด้วยนะ อย่าตามไปเฉย ๆ มาทักทายค่ะ

ขอบคุณค่ะที่แวะไปเยี่ยม เก่งมากค่ะ

จากมัธยมค่ะ

ตามป้าป้อม เอ้ยครูพี่ป้อมมา อิอิๆๆ ถ้ามีโอกาสนำนักศึกษาในเรื่องสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นด้วย จะน่าสนใจนะครับ ดูแล้วจะมีความสุขในการเรียนมากกว่าการเรียนในห้องเรียนอย่างเดียว นักศึกษาจะได้เรียนจากของจริงครับ มาสวัสดีปีใหม่ครับอาจารย์ คนใกล้ตัวสบายดีไหม...

ตรัง - นายเดชา นิลวิเชิยรหัวอุทยานเห่ชาติหาดเจ้าไหม จ. ตรัง กลาวว่าขณะนักทอ่งเที่ยวที่มาเที่ยวทะเลตรัง บางคนลักลอบเก็บปะการัง เปลือกหอย เเละกัลปังหา

อยากฝากบอกว่าอยากให้ช่วยกันดูเเลเพาะผลที่ได้รับไม่คุ้มค่าต่อการสุเสียต่อระบบนิเวศของไทย

เหตุการเกิด

หัวข้อข่าว

เหตุการณ์ภัยแล้งลำเค็ญ นายวิเศษ ตาปา ผุ้ใหญ่บ้านขมิ้น หมู่ 8 ต.ผาเสวย อ.สมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ ร้องเรียนให้นายรักษ์ ลี้ทรงศักดิ์ นายอำเภอสมเด็จ เร่งนำน้ำดืมไปแจกจ่ายชาวบ้านกว่า 200 ครอบครัว เพราะขาดแคลนน้ำอย่างหนัก นอกจากความแห้งแล้งแล้วน้ำประปาในหมู่บ้านก็เป นสนิม ชาวบ้านต้องเข้าคิวตักน้ำที่บ่อน้ำวับบริเวณฝายแมวที่ซำรุดไปดืม โดยวัวควายก็ลงไปกินที่เดียวกัน แม้ทางอำเภอจะประกาศเป็นพื้นที่ภัยแล้ง แต่ยังไม่เคยได้รับความช่วยเหลือ ล่าสุดนายรักษ์รับที่จะนำน้ำดืมไปช่วยเหลือเป็นการเร่งด่วนแล้ว

เมือ วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ.2552

ผลสรุปว่า ชาวบ้านขมิน หมู่ 8 ต.ผาเสวย อ.สมเด็จ จ.กาฬสินธุ์ จำนวนกว่า 200ครอบครัว ขาดแคลนน้ำดืมน้ำใช้ นายวิเศษ ตาปา ผุ้ใหญ่บ้านขมิ้น จึงได้มีหนังสือแจ้งไปถึงนายรักษ์ ลี้ทรงศักดิ์ นายอำเภอสมเด็จ ให้เร่งนำน้ำดืมไปแจกจ่ายให้กับชาวบ้านเป็นการด่วน

แนวทางในการป้องกัน

จัดการฝึกอบรมให้ความรู้กับชาวบ้านให้ช่วยกันอนุรักษ์แหล่งน้ำธรรมชาติ ไม่ทำให้แหลงน้ำในชุมชนเน่าเสีย คืนชีวิตให้กับธรรมชาต รรรงไม่ตัดไม้ทำลายป่า จัดกิจกรรมปลูกป่าทดแทนส่วนที่เสียไป

นายนเรศ ใจตาง

โปรแกรม รัฐประศาสนศาตร์

รหัส 5122352142

น.สจิตรวี สมคะเณย์(สัตวบาบ)รหัส5123206115

เมื่อวันที่ 17 มี.ค.ที่ผ่านมา คณะคณะผู้ใหญ่บ้านและผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน บ้านโนนอุดม-โนนสมบูรณ์ หมู่ 2 ต.ภูสิงห์ อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์บ้านเกิดของฉันเองซึ่งทางชุมชนของเราจะ ร่วมกับชาวบ้านและคณะนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทำกิจกรรมการบวชบ่าในทุกๆปี บริเวณภูสิงห์ บ้านโนนอุดม-โนนสมบูรณ์ นักศึกษาและประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมกว่า 100 คน

การจัดกิจกรรมครั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการทรัพยากรร่วมกันอย่างยั่งยืนในพื้นที่ป่าระหว่างชุมชนเพื่อต้านภาวะโลกร้อน นอกจากนี้ยังเป็นการปลุกจิตสำนึกให้แก่เยาวชนในท้องถิ่นในการอนุรักษ์ป่าและทรัพยากรธรรมชาติที่มีความหลากหลายและอุดมสมบูรณ์

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาพื้นที่ป่าโดยเฉพาะบริเวณบ้านโนนอุดมถูกบุกรุกเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง ดังนั้นชุมชนจึงต่างวิตกว่าหากปล่อยให้สถานการณ์การบุกรุกดำเนินต่อโดยไม่มีการจัดการแล้ว ในอนาคตพื้นที่ป่าอาจได้รับผลกระทบ ชุมชนในพื้นที่ก็จะได้รับผลกระทบโดยตรง ดังนั้นกิจกรรมบวชป่าครั้งนี้จึงจัดขึ้นเพื่อสร้างความตระหนักแก่ชุมชนในการหันหน้ามาอนุรักษ์ทรัพยากรต่างๆร่วมกัน ที่สำคัญปัจจุบันกระแสโลกร้อนเป็นเรื่องที่หลายภาคส่วนให้ความสำคัญและแก้ปัญหา ดังนั้นการบวชป่าครั้งนี้จึงนับเป็นกิจกรรมอย่างหนึ่งที่ช่วยลดภาวะโลกร้อนด้วย ในการจัดการดูแลรักษาทรัพยากร ดังนั้นชุมชนจำเป็นต้องใช้จารีตประเพณีเข้ามาจัดการ

การบวชป่าที่เกิดขึ้นนี้นอกจากสร้างความตระหนักแก่ชุมชนในพื้นที่ในการอนุรักษ์ทรัพยากรแล้วยังเป็นการสร้างความตื่นตัวแก่ชุมชนภายนอก รวมทั้งเยาวชนเองก็จะได้เรียนรู้วัฒนธรรม ความเชื่อต่างๆ ในการจัดการทรัพยากรด้วย การบวชป่าครั้งนี้จึงสอดคล้องกับกระแสโลกเพราะเป็นการรักษาความหลากหลายทางชีวภาพ

นาย นิก แก้วพวง รหัส 5112252130 วิยาการคอมพิวเตอร์ ปี2

แนวความคิดในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีแนวความคิดหลักในการดำเนินงาน ดังนี้คือ

๑. มุ่งหวังให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ประกอบกันอยู่ในระบบธรรมชาติ มีศักยภาพที่สามารถให้ผลิตผลได้อย่างยั่งยืนถาวร และมั่นคง คือ มุ่งหวังให้เกิดความเพิ่มพูนภายในระบบที่จะนำมาใช้ได้ โดยไม่มีผลกระทบกระเทือน ต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ

๒. ต้องมีการจัดองค์ประกอบภายในระบบ ธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศให้มี ชนิดปริมาณ และสัดส่วนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแต่ละชนิดเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน ตามธรรมชาติ เพื่อให้อยู่ในภาวะสมดุลของ

ธรรมชาติ

๓. ต้องยึดหลักการของอนุรักษ์วิทยาเป็นพื้นฐาน โดยจะต้องมีการรักษา สงวน ปรับปรุงซ่อมแซม และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติในทุกสภาพทั้งในสภาพที่ดีตามธรรมชาติ ในสภาพที่ กำลังมีการใช้และในสภาพที่ทรุดโทรมร่อยหรอ

๔. กำหนดแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนในการควบคุมและกำจัดของเสียมิให้เกิดขึ้นภายในระบบธรรมชาติ รวมไปถึงการนำของเสียนั้น ๆ กลับมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างต่อเนื่อง

๕. ต้องกำหนดแนวทางในการจัดการเพื่อให้คุณภาพชีวิตของมนุษย์ดีขึ้น โดยพิจารณาถึงความเหมาะสมในแต่ละสถานที่และแต่ละสถานการณ์

จากแนวคิดดังกล่าว เนื่องจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น มีหลายชนิดและแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติและเอกลักษณ์ที่เฉพาะตัว ดังนั้น เพื่อให้การจัดการสามารถบรรลุเป้าหมายของแนวคิด จึงควรกำหนดหลักการจัดการหรือ แนวทางการจัดการให้สอดคล้องกับชนิดคุณสมบัติ และเอกลักษณ์เฉพาะอย่างของ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ ดังนี้

ทรัพยากรที่ใช้แล้วหมดไป

เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วจะหมดไป ไม่สามารถเกิดขึ้นมาทดแทนได้ หรือถ้าจะเกิดขึ้นมาทดแทนได้ก็ต้องใช้เวลานานมาก และมักเป็นทรัพยากรที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ ซึ่งได้แก่ น้ำมัน ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ และสินแร่

การจัดการทรัพยากรประเภทนี้ จะต้องเน้นการประหยัดและพยายามไม่ให้เกิดการสูญเสีย ต้องใช้ตามความจำเป็นหรือถ้าสามารถใช้วัสดุอื่นแทนได้ก็ควรนำมาใช้แทน รวมทั้งต้องนำส่วนที่เสียแล้วกลับมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่าต่อไป

ทรัพยากรหมุนเวียน หรือทรัพยากรที่ใช้ไม่หมดสิ้น

เป็น ทรัพยากรที่มีอยู่ในธรรมชาติอย่างมากมาย อาทิเช่น แสงอาทิตย์อากาศ และน้ำในวัฏจักร ทรัพยากรประเภทนี้มี

ความจำเป็นต่อร่างกายมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอย่างอื่นถ้าขาดแคลนหรือมีสิ่งเจือปนทั้งที่เป็นพิษและไม่เป็นพิษ ก็จะมีผลต่อการเจริญเติบโตและศักยภาพในการผลิตของทรัพยากรธรรมชาติ นั้น

การจัดการจะต้องควบคุมการกระทำที่จะมีผลเสียหรือเกิดสิ่งเจือปนต่อทรัพยากรธรรมชาติ ต้องควบคุมและป้องกันมิให้เกิดปัญหามลพิษจากขบวนการผลิตทั้งการเกษตร อุตสาหกรรม ที่จะมีผลต่อทรัพยากรประเภทนี้ รวมทั้งการให้การศึกษาแก่ประชาชน ทั้งผลดี-ผลเสียของการปนเปื้อน วิธีการควบคุมและป้องกัน รวมทั้งต้องมีกฎหมายควบคุมการกระทำที่จะมีผลต่อ

ทรัพยากรธรรมชาติประเภทนี้ด้วย

ทรัพยากรทดแทนได้

เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่ใช้แล้วสามารถฟื้นคืนสภาพได้ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งได้แก่ ป่าไม้ มนุษย์สัตว์ป่า พืช ดิน และน้ำ ทรัพยากรประเภทนี้มักจะมีมากและจำเป็นอย่างยิ่งต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ มนุษย์ต้องการใช้ทรัพยากรนี้ตลอด

เวลาเพื่อปัจจัยสี่ การเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จาก ทรัพยากรธรรมชาติชนิดนี้ หรือการนำมาใช้ประโยชน์ควรนำมาใช้เฉพาะส่วนที่เพิ่มพูนเท่านั้น หรืออีกนัยหนึ่งแนวคิดนี้ถือว่าฐานของทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่เปรียบเสมือนต้นทุนที่

จะได้รับผลกำไรหรือดอกเบี้ยรายปี โดยส่วนกำไรหรือดอกเบี้ยนี้ก็คือ ส่วนที่เราสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้นั่นเอง

การจัดการจะต้องจัดให้ระบบธรรมชาติมีองค์ประกอบภายในที่มีชนิด และปริมาณที่ได้สัดส่วนกัน การใช้ต้องใช้เฉพาะส่วนที่เพิ่มพูนและต้องควบคุมและป้องกันให้สต๊อกหรือฐานของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น ๆ มีศักยภาพ หรือความสามารถในการให้ผลิตผล หรือส่วนเพิ่มพูนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งในการใช้หรือการผลิตของทรัพยากรธรรมชาตินั้น

จะต้องใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมและยึดหลักทางการอนุรักษ์วิทยาด้วย

นาย นิก แก้วพวง

รหัส 5112252130

วิยาการคอมพิวเตอร์ ปี 2

แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติกับสิ่งแวดล้อม

มนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกันอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้เพราะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นสิ่งที่เอื้ออำนวยประโยชน์ให้มนุษย์ได้รับปัจจัยสี่ ซึ่งได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ยารักษาโรค และที่อยู่อาศัย แต่ขณะเดียวกันการกระทำของมนุษย์เองได้ส่งผลกระทบต่อสภาพของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเนื่องจากความจำกัดของทรัพยากรธรรมชาติรวมทั้งการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนประชากร ได้มีผลทำให้เกิด การแก่งแย่งในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น มนุษย์ยังได้ใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างฟุ่มเฟือยและไม่มีแผนการจัดการโดยมุ่งหวังผลกำไรสูงสุด

แต่เพียงอย่างเดียว จึงมีผลทำให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมและการขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติรวมทั้งก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม หรือการแพร่กระจายของภาวะมลพิษจากขบวนการใช้ทรัพยากรธรรมชาตินั้น ๆ ด้วยประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนาได้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อการเร่งรัดการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยขาดความระมัดระวังและคำนึงถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่เพียงพอมาโดยตลอด จึงมีผลทำให้ปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและการแพร่กระจายของปัญหามลพิษ ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นและมีผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชน จนเห็นได้อย่าง

นาย ภูชิต หล้าวัน

โปรแกรมวิชา วิทยาการคอมพิวเตอร์ ปี2

รหัส 5112252113

สวัสดีค่ะ อาจารย์ประถม

วิชานี้น่าสนในและเป็นประโยชน์ทีเดียวค่ะ...คิดว่าน่าจะมีส่วนที่จะช่วยสร้างจิตสำนึกที่ดีการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อการใช้ที่ยั่งยืน

ขอพระคุณที่ให้เกียรติไปทักทายครูใจดีค่ะ

มีความสุขในการทำงานมากๆ นะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ประถม

- แวะมาส่งรอยยิ้ม ความระลึกถึงและเป็นกำลังใจให้อาจารย์คนเก่งค่ะ

- วันนี้ไปลอยกระทงที่ไหนคะ  อย่าลืมใช้กระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาตินะตะ  ช่วยกันลดโลกร้อนค่ะ

- ระลึกถึงค่ะ

 

  • ออกแบบพิถีพิถันดีจังเลยนะครับอาจารย์ครับ ทั้งเนื้อหาและกิจกรรมการศึกษาเรียนรู้
  • ใช้สื่อและแหล่งประสบการณ์เพื่อสร้างประสบการณ์ให้นักศึกษาได้น่าสนุกนะครับ  ให้ความรอบรู้และได้ประสบการณ์กว้างขวาง
  • เอาเรื่องที่เชื่อมโยงสิ่งแวดล้อมและระบบธรรมชาติในฐานะการนิเวศวิทยาของมนุษย์ ที่มีอิทธิพลต่อความสร้างสรรค์ทางศิลปะและมิติสุนทรียภาพของมนุษย์มาฝากอาจารย์ด้วยครับ ๔๕.แสง-เงาและไรแดด : วิถีคิดและความสร้างสรรค์ทางศิลปวิทยาที่เก่าแก่และก้าวหน้าที่สุดแนวหนึ่ง
  • เพื่อเห็นแง่มุมในการนำเอาประสบการณ์ต่อสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ไปสู่การสร้างความซาบซึ้งและได้แรงบันดาลใจต่อการแสดงออกทางศิลปะต่างๆ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท