ขั้นตอนทำนาไม่ไถ


นาไม่ไถ

เหยียบครั้งที่ 1

 P01

เหยียบครั้งที่ 2 ,3

 P02

หว่าน

 P03

ดูแลรักษา

P04

คำสำคัญ (Tags): #ทำนาไม่ไถ
หมายเลขบันทึก: 218342เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2008 14:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 14:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สว้สดีครับคุณ อนันต์

ขอความกระจ่างของการทำนาไม่ไถ และผลผลิตที่ได้ด้วยครับ

  • สวัสดีครับ
  • "สูงสุดคืนสู่สามัญ"  ผมชอบประโยคนี้
  • มันน่าจะเหมาะกับไทยและโลกเราในปัจจุบันครับ
  • คืนชีวิตกลับสู่ธรรมชาติเถอะครับ

ตอบคุณ บังหีม

สรุปโดยย่อการทำนาไม่ไถ

1. เหยียบฟางโดยใช้รถ ลูกหมาพวงล้อยาง(ดังรูป)ถ้าไม่มีรถลูกหมาสามารถประยุกต์ใช้วัวพวงล้อยางลากเหยียบแทนก็ได้ 1-3 ครั้ง ระยะห่างของแต่ละครั้ง ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ควรสูบน้ำใส่ในครั้งที่ 2 และ 3 หาก ดินเป็นตม (ดังรูปที่ 2) ก็ไม่ต้องเหยียบในครั้งที่ 3 สามารถเตรียม เมล็ดพันธ์หว่านได้เลย

2. กรณีในการทำนาไม่ไถ ควรปรับที่นาในเสมอ เรียบทั่วไปทั่งนา หากต้องการให้ฟางย่อยสลายได้เร็วระยะระหว่างรอเหยียบด้วยรถในรอบที่ 2 สามารถฉีด หรือปล่อยน้ำหมักชีวภาพเพื่อย่อยสลาย ลดการเกิดก๊าชไข่เน่า

3. หว่านเมล็ดฟันธ์เหมือน ๆ กับการทำนาแบบไถ แบบน้ำตมทั่วไป แต่ ไม่ต้องปล่อยน้ำตมลงแม่น้ำ ลำคลอง ลดปัญหาน้ำเสีย เพราะการหว่านในแปลงไม่ไถไม่ต้องปล่อยน้ำออกก็ได้ (รูปที่ 3)

4. การดูแลรักษาก็ง่ายเพราะโดยธรรมชาติแล้วเมล็ดพันธ์จะเจริญงอกงามดีในพื้นที่ ที่อุดมสมบูรณ์ และต้นข้าวจะไม่มีโรค มากด้วย การใส่ปุ๋ยเป็นไปได้ควรใช้น้ำหมักชีวภาพ ฉีด หรือปล่อยทางช่องน้ำ เวลาสูบน้ำเข้านา หรือใช้ปุ๋ยชีวภาพ (เพื่อน ช่วย เพือน) ของชุมชนอโศก จะดีมาก

5. ระยะแรก ๆ ที่ทำอาจได้ผลผลิตไม่ดีนักหากพื้นที่นา ผ่านการเผ่าฟางข้าวมาก่อน ผ่านการฉีดยาฆ่าหญ้า หรือ ใช้ปุ๋ยเคมีอย่างมากมาก่อน เพราะแม่ธรณีป่วย เราต้องช่วยฟื้นชีวิต สุขภาพ แม่ธรณีก่อน ระยะต่อ ๆ ไป เมื่อแม่ธรณี สุขภาพดีแล้ว แล้วคุณจะรู้ว่า ให้ได้มากกว่ารับมีจริง

สุดท้ายผลตอบแทน

1. คุ้มที่สุด คือสุขภาพ สิ่งแวดล้อม แผ่นดินเกิดที่ไม่โดยทำร้าย ทำลาย

2. รายได้จะมาเรื่อย ๆ โดยที่คุณลดรายจ่ายลงเรื่อย ๆ

3. ดั่งพระแส พระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ ทั้งเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ในน้ำมีปลาในนามีข้าว ชาวนาหลายคนทำนาเพื่อขาย ไม่กินข้าวที่ตนเองทำ เพราะรู้ว่าข้าวที่ทำไม่ปลอดภัย เราจะอยู่เพื่ออะไร เงิน แต่ซื้อยาพิษที่คนอื่นทำมาขายหรือ ไม่ว่าจะเป็นข้าว ผัก ผลไม้ อื่น ๆ ซึ่งจะสังเกตุได้ว่าปัจจุบันโรคมะเร็งมาก เหลือเกิน

4. เสียอย่างเดียว คือ ไม่ต้องซื้อปุ๋ยเคมี หญ้าฆ่าหญ้า ไม่ใช้สารเคมี

5. ถ้าจะเปรียบเทียบให้ชัดก็คือ การทำนาน้ำตมต้องไถนา ไร่ละ 350-400 บาท แต่ถ้าเหยียบคิดเฉลี่ยไร่ละ 30 บาท ปุ๋ยก็น้อยลงเนื่องจากปุ๋ยจากฟางจะสะสมให้คุณไปเรื่อย ๆ เหมือนในอดีตสมัย พ่อ ปู่ ทวด เราทำกัน

6. น้ำหมักคุณสามารถทำเองได้ ใบไม้ใบหญ้า เศษผักผลไม้ และที่สำคัญที่สุดฟางนั้นแหละปุ๋ยล้วน ๆ

ปัญหาสามารถเกิดขึ้นได้เสมอเนื่องจาก สภาพที่นา สภาพภูมิอากาศ สภาพปัจจัยเกี่ยวข้องอย่างอื่น เราต้องแก้ปัญหาโดยใช้หลักธรรมะ และหลักวิทยาศาสตร์ ที่สามารถ คิดได้โดยการใช้เหตุผล

อนันต์ ศิรินุพงศ์

สวัสดีครับคุณอนันต์

 ขอบคุณที่ให้ความกระจ่างครับ เข้าใจขั้นตอนแล้วครับ

 คุ้มที่สุด คือสุขภาพ สิ่งแวดล้อม แผ่นดินเกิด

ที่ไม่โดนทำร้าย ทำลายคือกำไรมหาศาลแล้วครับ

ขอแลกเปลี่ยนครับ

เคยทดลองเลี้ยงในนาข้าว ปลาที่ปล่อย ปลาสวาย ปลานิล ปลาตะเพียน

นาข้าวพอคุ้มทุน ปลาขาดทุน ได้ไรทุนชีวิต

ห็นด้วยอย่างยิ่งที่ต้องคืนชีวิตให้แผ่นดิน เราทำร้ายดินมามากพอแล้ว

///ดินดินดิน โถดินต้องสิ้นชีวิต พวดเรานั้นเคยทำผิดราดสารพิษลงสู่พื้นดิน/////

ฝน จิรภัทร จันทร์ปาน

ครูอนันต์ใส่รูปครูลงไปบ้างตะ

ครูทำไม่ใคร่เป็นนิ

ขอบคุณมาก น่ะครับ
ทำบุญ ลักษณะนี้เป็นบุญทางปัญญา ทำอะไรก็จะมีวิธีหรือทางออกเสมอ ถ้าบวกเรื่องการทำบุญแบบให้อภัยด้วยจะดีมาก ยินดีด้วยครับ ผมถือว่าท่านเป็นครูผมคนหนึ่ง เป็นกำลังใจสู้ต่อไปครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท