กองทุนสุขภาพตำบล : เมื่อต้องสัมมนา


ต้องใช้ข้อมูลจาก สถานการณ์ ข้อเท็จจริง กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง การปฏิบัติที่เป็นอยู่สภาพปัญหาที่มีอยู่จริง จากนั้นค่อยมาเลือกต้นเหตุของปัญหาที่เรา integrate แล้ว

    

   เมื่อจะจัดการ การสัมมนาเรื่องกองทุนสุขภาพตำบล ก้ามปู และ เพื่อนๆ ได้คุยกันว่าเราจะ สัมมนากันอย่างไรดีมีประเด็นไหนที่น่าสนใจ นำมาสัมมนาจนสรุปกันได้ว่าจะสัมมนาในหัวข้อ การบริหารจัดการกองทุนอย่างมีประสิทธิภาพโดยช่วงแรกเราจะปูพื้นในเรื่องของกองทุนสุขภาพตำบล บอกถึงที่มา ของกองทุนสุขภาพ ระเบียบกองทุนสุขภาพ  หลังจากนั้นเราจะ เริ่มสัมมนากันในหัวข้อ การบริหารจัดการกองทุนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร  โดยมีผู้ดำเนินการ1คนและผู้ร่วมการสัมมนา3คนคนที่หนึ่งพูดถึงการบริหารกองทุนอย่างมีประสิทธิภาพ  คนที่ 2 และ 3 พูดในฐานะของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ว่ามีส่วนร่วมอย่างไร ให้การดำเนินงานกองทุนสุขภาพมีประสิทธิภาพ  และโยนประเด็นให้เวทีช่วยกันเสนอแนวคิด  และ วิธีการ

 

      แต่เมื่อทบทวนเนื้อหา ก้ามปูรู้สึกแปลกๆ คิดและตัดสินใจอยู่นานว่าจะปรึกษา อาจารย์ อนุชาดีไหมซึ่งปกติก้ามปูจะไม่ค่อยรบกวนเนื่องจากอาจารย์งานยุ่งมากๆแต่ด้วยความอยากทราบแนวคิด และเกิดความไม่มั่นใจ ประจวบกับก้ามปูทบทวนเรื่องการทำงานวันก่อนเคยเขียนไว้ว่า หากเราไม่เคยทำอะไรหรือไม่แน่ใจอะไรให้ปรึกษาผู้รู้ (ประมาณพยายามหาเหตุผลเข้าทางตัวเอง) จึงเรียนถามอาจารย์ ผ่าน เมล์ ปรากฏว่าอาจารย์ ตอบกลับมาว่า

 

    "การสัมมนาทำไปเพื่อการร่วมกันใช้ความรู้ที่มี ค้นหาทางออกเพื่อแก้ปัญหา หรือเพื่อการพัฒนา

กติกาคือ      ทุกคนที่เข้าสัมมนาคืนคนที่รู้เรื่องประเด็นนั้นเกือบจะเท่าๆกันไม่ใช่การเข้าไปฟังเอาความรูู้นั่นคือการสัมมนาที่ถูกต้อง   การสัมมนาจึงจะได้ทางออกที่เป็นเรื่องใหม่ยังไม่มีใครคิดและมีความเป็นไปได้ในการปฏิบัติให้เป็นความจริง

การจะได้ประเด็นสัมมนาทีมนำจะต้องวิเคราะห์กันก่อนในเบื้องต้น  ว่าจะเอาออะไรเป็น Output ในการจัด เช่น "กองทุนสุขภาพตำบล นำไปสู่การคืนสุขภาพแก่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของได้อย่างไร"

    

  ฉะนั้นสิ่งที่ที่ต้องทำคือการค้นหาประเด็นการสัมนนาที่คมชัดและชี้เฉพาะ ไม่กว้างใหญ่ไพศาลเกินไปหากประเด็นการสัมมนากว้างใหญ่ไพศาลมันจะยาก อย่านึกเอา เอาปัญหาที่มีอยู่จริง ๆ  จะน่าสนใจ เช่น "ทุกข์ และทางพ้นทุกข์ของกองทุนสุขภาพตำบล" สิ่งเหล่านี้จะป็นประเด็นสัมมนาที่จะนำไปสู่ความจริงในการแก้ปัญหาได้

 

     (ส่วนนี้เป็นนคำดุนิดหน่อย) พอให้คิดอะไร สิ่งแรกที่คิดคือ นึกเอา อย่างนี้ไม่ได้เด็ดขาด  ต้องวิเคราะห์เอา  ต้องใช้ข้อมูลจาก สถานการณ์จริง ข้อเท็จจริง  กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง การปฏิบัติที่เป็นอยู่สภาพปัญหาที่มีอยู่จริง จากนั้นค่อยมาเลือกต้นเหตุของปัญหาที่เรา integrate แล้ว หรือ ใช้ root cause analysis เราต้องใช้หลักการวิเคราะห์หลายๆตัว"

 

    และนี่คือสไตล์การสอนของ . อนุชา ที่เราไม่เคยได้คำตอบว่าถูกหรือผิด แต่จะให้แนวคิดแล้วเอาไปคิด ต่อกันเองนะคะ

 

     ก้ามปูได้เรียนรู้ว่าหากเรามัวแต่เกรงใจ เราอาจจะพลาดขอ้มูลดีๆ  แต่ก้ามปูก็ยังคิดอยู่ดีละคะ ว่าเรานะได้แต่อาจารย์นะคงเสียเวลาคิดว่าคงต้องช่วยตัวเองที่ให้มากที่สุดก่อนแล้วค่อยขอความช่วยเหลือ

     และกลับไปวิเคราะห์เนื้อหา และ ปรึกษาหา root cause analysis ที่เราจะสัมมนากันอีกครั้ง อย่านึกเอา อะไรๆ ก็ชอบนึกเอา  ขอบคุณอาจารย์อนุชามากคะ 

 

หมายเลขบันทึก: 186690เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2008 13:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดี ปู

/รู้ตามที่อาจารย์ บอก

/แต่ ปู สุดยอด ที่คิดออกตามที่อาจารย์แหลง

/แฮะๆๆ อาจารย์บอกว่าให้เราช่วยกัน "ยอ" ให้เป็น โหมบ้านเราไม่ค่อยยอเพื่อน

สวัสดีคะ

อาจารย์ . นายประจักษ์ นำดอกไม้สวยๆ มามอบให้เสมอนะคะ

. บังหีม  อาจารย์ สอนมามากแล้ว นึกไม่ออกเลย เดียวหมดกำลังใจ สอนคนอื่นอีกคะ  ค่อยพบกันนะคะ บังหีม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท