พยาบาลไปเรียนหมอ (2)


สิ่งที่ยากที่สุดคือทำให้ระบบเห็ฯว่าเรื่องนี้มีคุณค่าน่าลอง

คุณหมอพงศ์พิชญ์ โทรมาคุยเรื่องแนวคิดที่จะส่งพยาบาลไปเรียนหมอ เพราะผมส่งหลักสูตร ของม นเรศวรตามที่คุณหมอ พิเชฐ บัญญัติท่านมา post ไว้ในกระทู้ที่ผมเขียนไว้ก่อนหน้านี้ ผมเลยลองถามไปที่แพทยสภาก็ทราบว่า สารพัดหลักสูตรที่รับคนจบปริญญาตรีมาเรียนแพทย์ โดยเรียน 5 ปี นั้นตอนนี้เหลือที่ ม นเรศวรที่เดียวแล้ว

แต่ประเด็นสำคัญที่คุณหมอพงศ์พิชญ์บอกผมก็๕ือ คุณหมอ อยากเห็นการส่งพยาบาลไปเรียนหมอ เป็นนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ที่คนไปเรียนสามารถลาเรียนได้โดยมีต้นสังกัด แบบเดียวกับการส่งแพทย์ไปเรียน แพทย์เฉพาะทาง ระหว่างเรียนก็มีฐานะเป็นข้าราชการ หรือพนักงานของรัฐ ได้รับเงินเดือน กลับมาแล้วก็มีการบรรจุเป็นเรื่องเป็นราวให้ทำหน้าที่ใหม่ ซึ่งในกรณ๊นี้ก็ไม่ใช่ว่าไปทำงานที่ รพ ใหญ่ แต่กลับมาทำงานที่ สอ ที่ตัวเองเคยทำงานอยู่ก่อนนั่นแหละ ทั้งนี้โดยจะมีการทำสัญญากับ ชุมชน (คงหมายถึง อบต) ว่าจะช่วยกันดูแล สนับสนุน และควบคุมกำกับ เพื่อให้แน่ใจว่าคนที่ไปเรียนกลับมาจะตั้งหน้าตั้งตาทำงานเพื่อท้ิองถิ่นที่ส่งตัวเองไปเรียน ไม่ใช่คิดแต่จะไปทำงานที่อื่น ถ้าได้เงินเดือนสูงกว่า

ผมตอบคูณหมอไปว่า ผมคิดว่าไม่ง่ายที่จะทำแบบนั้น เพราะจะต้องผ่านคำถามหลายคำถาม แต่สิ่งที่ยากที่สุดคือการทำให้ระบบเห็นว่าเรื่องนี้มีคุณค่าน่าลอง

เพราะถ้าคิดแบบธรรมดาก็จะบอกว่า ข้าราชการทุกคนมีสิทธิลาเรียนอยู่แล้ว แต่ราชการไม่มีหน้าท่ต้องไปสัญญาว่าจะเลื่อนฐานะอะไรให้

ในอีกด้านหนึ่งอาจมีคนบอกว่า ในเมื่อเป็นพยาบาลจะไปเรียนต่อก็น่าจะอนุญาตเฉพาะสาขาที่จะกลับมาทำหน้าที่ให้ดีขึ้น และการไปเรียนหมอ ไม่ถือเป็นการ "เรียนต่อ" ในความหมายที่มีการอนุญาต


คงมีอีกหลายมุมมอง แต่ส่วนใหญ่คงเกิดจากความสงสัย หรือไม่แน่ใจว่า การทำเช่นนี้ดีหรือไม่

ที่เป็นเช่นนั้นเพราะเป็นการทำภายใต้ "ระบบ" แบบเดิม

ผมเสนอว่า ถ้าท้องถิ่นอยากลอง ด้วยการเป็นเจ้าของเรื่อง ขอส่งพยาบาลที่ได้รับการประเมินและคัดเลือกอย่างดี ไปเรียนหมอเพื่อกลับมาเป็นหมอในสถานีอนามัยของท้องถิ่น

แบบนี้อาจจะง่ายกว่า เพราะเป็นโครงการที่ท้องถิ่นเป็นเจ้าของ คนที่จะส่งมาก็ต้องเปลี่ยนสถานะไปเป็นคนของท้องถิ่นไม่ใช่คนของ กท สธ อีกต่อไป

ก็ไม่รู้ว่าแบบไหนจะง่ายกว่ากัน

อยากรู้จังเลยครับว่าท่านอื่นคิดยังไง ทั้งเรื่องว่าจำเป็นต้องเป็นหมอหรือเปล่าในระดับตำบล กับ เรื่องทำไงให้มีหมออยู่ ทำงานในท้องถิ่นนานๆ ไม่ว่าจะเป็นในระดับตำบลหรือระดับอำเภอ

หมายเลขบันทึก: 181607เขียนเมื่อ 10 พฤษภาคม 2008 17:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

พยาบาลในปัจจุบันก็ขาดแคลน แต่ด้วยพื้นฐานคนที่เรียนพยาบาลจะเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบเป็นที่หนึ่ง ตรงต่อเวลาเป็นนิสัย

นิสัยดีดี หลายอย่างของพยาบาล และถ้าคนที่เป็นพยาบาลที่เก่ง ผ่านการคัดเลือก สามารถไปเรียนหมอได้ ก็น่าจะเป็นโอกาสทางการศึกษา

ถ้าองค์กรใด ได้หมอที่มีนิสัยพยาบาล ชาตินี้  ท่านสบายได้แน่นอน

เห็นด้วยเลยคะที่มีแนวคิดจะส่งพยาบาล ไปเรียนหมอๆๆๆ  เพราะเป็นอาชีพที่ทำงานใกล้เคียงกันอยู่แล้ว  โดยวิชาชีพ  การเสียสละ  การให้ความช่วยเหลือ อยู่ในสายเลือด ในจิตวิญณาน   และคงต่อยอดการเรียนรู้ได้ว่องไว   ประเทศไทยจะได้มีหมอมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ไม่ต้องนั่งคอยหมมาตรวจ รักษากันครั้งละ ครึ่งวัน เสียเวลาจริงๆๆคะ  จบมาแล้วทำงานที่รพ.ที่ตนสังกัด   เท่ากับเวลาที่ขอไปเรียนเป็นอย่างน้อย  จะค้มค่ามาก  จริงไหมคะ

เห็นด้วยอย่างยิ่งเลยค่ะ

  • มาสนับสนุนแนวคิดครับผม
  • ผมเองเป็นหมออนามัย ก็มุ่งหวังอยากไปเรียนหมอ---เพื่อมารับใช้บ้านเกิดเช่นเดียวกันครับ ...แต่ตอนนี้โอกาสยังไม่อำนวย อิอิ
  • นอกจากสายงานพยาบาลแล้ว ผมว่าหมออนามัย (เจ้าพนักงานสาธารณสุขชุมชน, นักวิชาการสาธารณสุข) ที่มีความสามารถและรักงานสุขภาพชุมชน --ซึ่งได้รับการปลูกฝังเรื่องนี้มาอย่างเข้าใจ และมีความสามารถในการทำงานในชุมชนได้อย่างลึกซึ้ง-น่าจะเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่น่าจะนำไปพิจารณาครับ..
  • ขอบคุณนะครับ ...ผมว่ากระทรวงสาธารณสุขควรคิดนอกกรอบได้แล้ว.... ถึงวันนั้นท่านจะไม่ต้องมาพูดกันว่าขาดแคลนแพทย์อย่างเช่นทุกวันนี้ ผมว่า นอกจากคนเก่งแล้ว ที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ "คนดี ก็มีความเหมาะสมที่จะเป็นแพทย์ที่ดีของชุมชน" ได้
  • ขอบพระคุณอีกครั้งนะครับ
นพ พงศ์พิชญ์ วงศ์มณี

ทำงานเป็นหมอระดับอำเภอเกือบ 30ปี เดือนเมยทุกปีก็มีหมอลาไปเรียนต่อแล้วจะไม่กลับมาอยู่ระดับอำเภอ แพทย์จบใหม่ก็มาทดแทนแต่ไม่พอ เพราะวิธีคิดแบบเดิม ติดวิธีคิด กลัวจบไปไม่ได้standardเหมือนเมืองนอก แต่ไม่ยอมรับความจริงว่าชาวบ้านอยากมีหมอเพียงพอที่สามารถมาดูแลเขาแบบมาตราฐานไทยๆ คือหมอที่เป็นหมอครอบครัวสามารถเข้ากับชุมชนได้ดีมีชีวิตอยู่ในชนบทได้อย่างไม่มีข้อแม้ มากนักเหมือนหมอในระบบที่ผลิตจากน,รชั้นมัธยม6ถูกหล่อหลอมให้เหมาะสำหรับอยู่เฉพาะในเมือง

ใหญ่โรงพยาบาลใหญ่แทบจะหาหมอที่อยากอยู่ชนบทนานๆเหมือนงมเข็มในมหาสมุทร

แต่มีหลายอาชีพโดยเฉพาะพยาบาลที่สามารถไปเรียนหมอและกลับมาอยู่ที่เดิมอย่างเต็มใจ และอาจเป็นจุดพลิกผลันในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ของไทยในสถานะการณ์ปัจจุบัน ต้องกล้าคิดต่างจากแนวเดิมแต่มีเป้าหลักสามารถแก้ไขขาดแคลนหมอได้ เหมือนช่วงหนึ่งที่จีนเคยใช้หมอเท้าเปล่าแก้ปัญหาชนบท เหมือนผมเชื่อมั่นจะต้องทำให้สถานีอนามัยซึ่งเป็นฐานที่สำคัญที่อยู่ใกล้ชิดปชชมากที่สุดเป็นรพ ตำบลที่

อาศัยพยาบาลและทีมสุขภาพร่วมกันผ่าทางตันของระบบสธที่วนเวียนอยู่แต่ยอดขาดการเหลียวแลระดับตำบลแก้ปัญหาสธไม่ได้ แค่6ปีที่มุ่งมั่นก็สามารถทำให้ปชชรับบริการใกล้บ้านใกล้ใจ 8.5หมื่นครั้งเป็น3.3แสนครั้ง พบปชชระดับชนบทมีความสุขมากๆเพราะกล้าคิดกล้าทำผ่าทางตันออกมา ถ้าผู้บริหารระดับสูง ระดับนโยบาย มหาวิทยาลัย

แพทย์ศาสตร์เปลี่ยนมุมมองใหม่และหาโอกาสลงจากหอคอยงาช้างมาสัมผัสชนบทแค่

1สัปดาห์ และได้มาคุยกับแพทย์ พยาบาล และปชชในชนบทก็จะเห็นวีธีแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับสภาพปัจจุบัน

อยากให้มีคนคิดนอกกรอบแบบนี้เยอะ ๆ ประเทศคงเจริญไปนานแล้วค่ะ

นับถือในความคิดมาก

แต่มีคนยึดติดและกลัวบางอย่างอยู่โดยเฉพาะพวกนี้ก็จะอยู่แต่ในเมืองใหญ่ๆ

เขามองไม่เห็นปัญหาชาวบ้าน ๆ ได้แต่บ่นว่าไม่พอ ๆ ๆ แล้วก็ไม่รู้จักแก้

เป็นถึงแพทย์เก่งแต่รักษา(หรือเปล่า)ไม่เก่งการบริหารเลย

ไปลงพื้นที่กับชาวบ้านบอกให้ชาวบ้านทำอย่างนั้น ๆ ไทยคำอังกฤษคำ เขาจะเข้าใจไหม

เศร้าใจจริง ๆ

ไม่ได้ว่าแพทย์ที่ตั้งกระทู้นะ ว่าคนบริหารระดับกระทรวงน่ะ

ผมเห็นด้วยอย่างยิ่ง ไม่ทราบพื้นฐานการเรียนพยาบาล กับแพทย์เหมือนกันไหมครับ ถ้าเหมือนมันก็คือการเริ่มต้นจากตำราและจุด

เดียวกัน ก็ให้พยาบาลที่เรียนดีมีความสามารถ มีความรับผิดชอบดี ไปต่อยอดการเรียนเป็นแพทย์เลย ผมว่าพวกพยาบาลอยู่กับ

มวลชน ใกล้ชิดกับคนไข้มากกว่าหมอด้วยซ้ำ จิตใจในด้านบริการชุมชนก็พร้อมอยู่แล้ว ก็เป็นนิมิตหมายดีนะ แพทย์ก็ขาดแคลน

เราจะได้คุณหมอและคุณพยาบาลในตัวเลย 2in1 ประเสริฐยิ่งถ้าสิ่งนี้เกิดขึ้นจริง โชคดีหล่ะพี่น้องชาวไทย

ไม่เห็นต้องใช้ชื่อหลักสูตรให้เป็นหมอเลยค่ะ เพราะชาวบ้านเขาก็เรียกกันอย่างนั้นอยู่แล้ว แต่ควรเป็นหลักสูตรใหม่ของพยาบาลจะดีกว่า เพราะหมอเรียนกว้างขวางมาก และรายละเอียดบางอย่างก็ไม่เหมาะกับบริบทของหน่วยบริการปฐมภูมิจะเป็นการเสียเวลามากไปหรือเปล่าก็ไม่รู้นะคะ แต่ถ้าทำแบบเอาเทคโนโลยีเข้าช่วย ให้พยาบาลและหมอสื่อถึงกันได้ง่ายขึ้นน่าจะดีกว่าเยอะ แต่ก็ชอบนะคะ ที่จะให้มีหลักสูตรที่ดีๆอย่างนี้ค่ะ

สวัสดีครับหมอ เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ ทุกระดับของบุคคลากร ต้องหนุนเสริมให้เรียนรู้เพื่อนำวิชาการมาบริหารงานสังคมชุมชนครับ

พนักงานเปล อายุ 57 ไปเรียนป.โทสาธารณสุขชุมชน มรภสงขลาครับ

ตัวอย่างของจริงว่าไม่มีใครแก่เกินเรียน (ในระบบ) แต่ที่แน่ๆ เรียนจากประสบการณ์ทำงานคงมีมากกว่า

คือเพิ่งแอดน่ะค่ะ ตอนนี้กำลังอยู่ปี 1 พยาบาลแม่ฟ้าหลวงค่ะ คือเห็นด้วยกับการสนับสนุนเช่นนี้ แล้วก็กำลังคิดอยากเรียนเป็นหมอต่อค่ะ คือที่ๆอยู่เป็นชนบทน่ะค่ะ จ.เชียงราย อยากเป็นหมอแล้วกลับมาทำงานแถวบ้านน่ะค่ะ พอมาได้อ่านถึงมีกำลังใจขึ้นค่ะ แต่ไม่ทราบว่าตอนนี้ ที่ ม.นเรศวร จะมีหลักสูตรนี้อยู่ไหมคะ เพราะเห็นโพสมานานหลายปีแลวน่ะค่ะ ขอบคุณนะคะที่มีหลักสูตรนี้ออกมา แต่ยังไม่ทรายรายละเอียดเท่าไหร่ค่ะ แต่จะค้นสืบข่าวต่อไปเรื่อยๆนะคะ ขอบคุณมากๆเลยค่ะ

เรื่องต้องการหมอเพิ่ม เป็นประเด็นมาโดยตลอด ทุกวันนี้ก็ยังคิดกันแค่ ผลิตด้วยการรับใหม่จากคนในพื้นที่ครับ เรื่องเรียนแบบต่อยอด อย่างที่หลายคนอยากเห็น ยังห่างไกล

ส่วนเรื่องที่ว่าเราต้องการหมอเพิ่มไหม ถ้าอยากให้ชาวบ้านได้รับบริการดีขึ้น ยังเป็นเรื่องที่มีคนพยายามสร้างตัวอย่าง ว่า ถ้ามีหมอที่สนใจเรื่อง ปฐมภูมิ หรือ การดูแลชาวบ้านเชิงรุก แล้วมีทีม จนท สธ โดยเฉพาะพยาบาลเป็นเครือข่ายช่วยกันดูแล เราอาจไม่ต้องไปเน้นให้มีกมอมากๆ แต่เน้นให้มีหมอที่มีหัวใจเวชปฏิบัติครอบครัว/ปฐมภูมิ มากๆจะดีกว่า

รูปธรรมที่ทำได้เลย คือ การใช้กติกา ระบบหลักประกันสุขภาพปัจจุบัน ทำให้ รพช กับ รพสต ทำงานใกล้ชิดขึ้น จนเกิดระบบบริการปฐมภูมิที่มีคุณภาพ เพราะร่วมกันดูแลชาวบ้าน เรียกว่า CUP-based Primary care model เป็นภาษาฝรั่ง เพราะ สปสช เป็นคนประดิษฐ์คำว่า CUP ฟมายถึงหน่วยรับเงินไปสร้างระบบปฐมภุมิ

คุณหมอนิทัศน์ รายวา ตอนนี้เป็นรองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กำลังทำในแนวคิดเดียวกัน แต่ไม่ยึด CUP เน้นแค่ว่า ให้มีเครือข่าย หมอกับ จนทสธ(ที่มีการพัฒนาศักยภาพใหม่) เรียกว่า นักสุขภาพครอบครัว เป็นนโยบายสำคัญที่น่าจะมาช่วยกันทำ ระหว่างเรื่อง ผลิตหมอยังเป็นนโยบายที่คิดแบบเดิมๆครับ

ตอนนี้เป็นพยาบาลถ้าต้องการสอบต่อเรียนแพทย์    ต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ

เห็นด้วยอย่างยิ่งที่พยาบาลจะเรียนต่อแพทย์  ปัจจุบันแพทย์ขาดแคลนมาก ค่ารักษาก็แพง เคยมีเพื่อนต่างชาติบอกว่าไทยค่ารักษาพยาบาลแพง เราเลยต้องอธิบายว่าเป็นเพราะแพทย์ขาดแคลน การเรียนในไทยปิดกั้นการเรียนต่อแพทย์มากเกินไป ควรจะให้โอกาสคนที่อยากเรียนได้ลองเข้าไปเรียนดูโดยมีเกณฑ์การประเมินผล ถ้าใครผ่านเกณฑ์ก็สามารถปฎิบัติวิชาชีพแพทย์ได้  อย่างในประเทศฟิลิปปินส์ พยาบาลไทยที่อยากเรียนวิชาชีพแพทย์ต้องบินข้ามฟ้าข้ามทะเลไปเรียนไกลเอาเงินไปให้ต่างแดน แทนที่ไทยสามารถเปิดสอนได้แต่ไม่เห็นความสำคัญ พยาบาลจะแคร์ความรู้สึกคนไข้ และบุคคลิกอ่อนโยนมากกว่าแพทย์บางคนที่มีอีโก้สูงเสียอีก หมอบางคนที่จบใหม่ยังฉีดยา IM ไม่เป็นเลย มีแต่ความรู้ 

เห็นด้วยอย่างยิ่งครับที่จะส่งพยาบาลไปเรียนต่อแพทย์เพราะพยาบาลส่วนมากมีหัวใจที่จะช่วยดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมอยู่แล้วครับน่าจะสนับสนุนให้ได้มีการไเรียนต่อแพทย์เพื่อจะได้กลับมาดูแลตามรพ.สต.ที่ตนได้รับการดูแลโดยน่าที่จะมีการเปิดรับสมัครพยาบาลวิชาชีพที่มีใจรักและพร้อมที่จะไปเรียนต่อในหน่วยงานของอบต.ทุกๆพื้นที่นะครับและพอมีใครไปสมัครเรียนแล้วก็มีการสอบคัดเลือกแล้วส่งไปเรียนพร้อมกับกลับมารับใช้ประชาชนในหน่วยงานพื้นที่ที่ตนสมัครไปครับ

ทำอย่างไรได้บ้างคับอยากเรียนแพทย์ต่อจริงๆครับเพราะอยากที่จะพร้อมกลับมาดูแลคนในชุมชนของตนเองในหมู่บ้านของตนเองได้มากขึ้นครับหรือไม่ก็น่าจะให้สิทธิ์ผู้ที่จบพยาบาลเวชปฏิบัติมาแล้วหรือเรียกว่าหลักสูตรNP โดยให้มีหน้าที่และบทบาทในการรักษาโรคได้มากขึ้นนะครับถึงไม่ใช่แพทย์ก็น่าที่จะให้สิทธิืได้ช่วยเหลือเทียบเท่าแพทย์คนหนึงก็ยังดีครับเพื่อจะได้มีหน้าที่ในการดูแลประชาชนในพื้นที่ที่ตนรับผิดชอบในหน่วยงานรพ.สตแห่งนั้นได้มากขึ้นนะครับเช่นดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้แทนแพทย์บางส่วนเลยล่ะครับเช่นสามารถจ่ายยารักษาผู้ป่วยDM HT ได้มากขึ้นครับจะได้ช่วยเหลือประชาชนที่อยู่ห่างไกลโดยไม่ต้องส่งพวกเขาเหล่านั้นไปรับการรักษาต่อที่รพ.ที่อยู่ไกลมากๆครับดังนั้นถึงจะไม่มีการเปิดรับสมัครส่งพยาบาลไปเรียนต่อแพทย์แต่ทางแพทย์สภาและสภากาพยาบาลควรให้กรอบในการรักษาผู้ป่วยทั้งฉุกเฉิน-ทั่วไป และโรคเรื้อรังกับพยาบาลเวชปฏิบัติได้มีการใช้ยาได้มากขึ้นนะครับไม่ใช่ปิดกรอบต้องจ่ายยาเฉพาะแพทย์ทั่วไปได้เท่านั้นนะครับจะได้ช่วยเหลือผู้ป่วยได้มากขึ้นโดยบางครั้งถ้ามัวแต่รอแพทย์ทั่วไปคงจะช่วยได้ยากครับเช่นผู้ป่วยมาถึงรพ.สตด้วยภาวะความดันสูงเช่นBP = 170/100mmHgก็ควรที่จะให้พยาบาลเวชรักษาได้เลยไม่ใช่ต้องให้โทรรายงานแพทย์ทั่วไปในรพ.ใกล้เขตรับผิดชอบก่อนแล้วค่อยให้จ่ายยาความดันครับเพราะมีแพทย์ทั่วไปบางคนยังไม่เห็นด้วยอย่างไรก็ต้องโทรแจ้งครับ ผมจึงเห็นว่าควรให้สิทธิ์ NP ในการตัดสินใจรักษาช่วยแพทย์GP ได้เลยนะครับและควรให้กรอบในการจ่ายยารักษาโรคได้มากขึ้นด้วยนะครับแค่นี้ก็น่าจะช่วยแก้ปัญหาในด้านการดูแลผู้ป่วยในชุมชนของตนได้มากขึ้นแล้วล่ะครับ

กลับมาอ่านอีกครั้ง ยังไม่มีการดำเนินการให้แนวคิดนี้เป็นเรื่องจริง

เป็นพยาบาลก็ดีแล้วล่ะค่ะ ชีวิตมีความสุข

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท