เรียนรู้จากการเยี่ยมบ้านตระกูล “พานิช” ที่ประสพผลสำเร็จในชีวิต


สิ่งที่ผมประทับใจกับการเยี่ยมบ้านของ วิเชียร พานิช ที่สำคัญก็คือ การสอนลูกให้ทำมาหากินเป็นเองเสียก่อน ก่อนที่จะสนับสนุนภายหลัง

 ระหว่างวันที่ ๑๙- ๒๒ มกราคมที่ผ่านมา ผมได้เดินทางไปจัดประชุมรับฟังความเห็นเกี่ยวกับการใช้น้ำ ๓ ประเภท ในเขตภาคใต้ ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี 

การจัดประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมรอบสองเพื่อรับฟังความเห็นในร่างกฎกระทรวง หรือ กฎหมายลูกของ พรบ. ทรัพยากรน้ำแห่งชาติ อีกต่อหนึ่ง ที่นำความเห็นต่างๆของประชาชนและผู้ใช้น้ำทั่วประเทศมาประมวลเป็นร่างกฎกระทรวงดังกล่าว 

และการรับฟังความเห็นครั้งสุดท้าย จะจัดที่เชียงใหม่ ในวันที่ ๒๘ มกราคม ที่จะถึงนี้ 

การเดินทางในครั้งที่สองนี้ อาศัยการปรับจากประสบการณ์ครั้งก่อนที่รีบเร่งในการเดินทางไปและกลับภายในสองวัน และประชุมหนึ่งวันเป็นสามวัน แต่ครั้งนี้เราใช้เวลา ทั้งหมด ๔ วัน จึงทำให้มีเวลาแวะเยี่ยมเพื่อนที่ไม่ได้พบกันมานาน ๒ ท่านด้วยกัน

 ที่อุทยานแห่งชาติสามร้อยยอด และที่จังหวัดชุมพร  

ที่จริงผมได้เดินทางผ่านไปมาในเส้นนี้หลายครั้งทุกปี แต่แทบไม่เคยแวะเยี่ยมใครเลย ด้วยระยะทางที่ยาวไกล มีเวลาน้อยต้องขับรถแบบรีบๆ ที่ความเร็วไม่เคยต่ำกว่า ๑๐๐ กม ต่อ ชั่วโมง ขนาดนั้นการเดินทางก็หมดวันพอดี

แต่คราวนี้ผมได้พยายามขยายเวลาการเดินทาง จึงสามารถแวะเยี่ยมเพื่อนได้ถึงสองคน 

ที่สามร้อยยอดได้พบเพื่อน ธวัชชัยที่เป็นหัวหน้าอุทยานแห่งชาติสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  

ที่ต่อสู้ชีวิตในระบบราชการมาแบบโชกโชนกว่า ๓๐ ปี กับชีวิตปกป้องป่าไม้อย่างเอาจริงเอาจัง จับคนทำผิด ลักลอบตัดไม้มาแบบไม่เลือกหน้า เกือบเอาชีวิตไม่รอดมาไม่รู้ต่อกี่ครั้งกี่หน กับชีวิตแบบโดดเดี่ยวในป่า

ธวัชชัย ได้ต่อสู้ดิ้นรนจนรอดมาเกือบทุกรูปแบบ ที่เป็นข้าราชการตัวอย่างแห่งการทำงาน ที่ทุ่มเทเสียสละให้กับสังคม และทรัพยากรป่าไม้ที่เหลือน้อยเต็มที 

ที่เมืองชุมพร ได้มีโอกาสไปนอนที่บ้านเพื่อนที่จบเกษตรมาด้วยกัน

เป็นคนที่ปฏิเสธการทำงานกับ ราชการเพราะมองไม่ค่อยเห็นความจริงใจของระบบราชการ แต่หันมาเอาดีกับการประกอบอาชีพส่วนตัวที่

  • ทำได้จริงๆ
  • มีชีวิตจริงๆ
  • มีความสำเร็จที่เป็นจริง
  • จับต้องสัมผัสได้จริง
  • มีคุณค่ามากกว่า
  • สามารถให้เวลากับครอบครัว พ่อแม่ ปู่ย่า ตาทวดได้อย่างจริงจังมากกว่าที่จะทำงานแบบเร่ร่อนไปแบบมนุษย์เงินเดือน  

เพื่อนคนที่กล่าวถึงนี้คือ วิเชียร พานิชน้องชายคนที่ ๔ (ที่เหลือ)ของท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ พานิช และเป็นหลานแท้ๆของท่านพุทธทาส 

Dsc00670

คุณพ่อของวิเชียร เป็นญาติร่วมปู่ย่าเดียวกันกับท่านพุทธทาส และเป็นตระกูลที่ถือประเพณีของลูกชายดูแลพ่อแม่ มาตลอดสาย ตั้งแต่รุ่นทวด รุ่นปู่เป็นต้นมา วิเชียรจึงได้ทำหน้าที่แทนลูกชายทุกคน เหมือนกับพ่อของวิเชียร (นายดำริ พานิช) ที่ได้ดูแลพ่อของตนเองนายเสี้ยง พานิช (ปู่ของวิเชียร) 

Dsc00786

การดูแลต้นตระกูลแบบนี้ จึงเป็น

  • การต่อยอดชีวิตเดิมของตระกูล
  • ดูแลสมบัติของตระกูลต่อกันมายาวนานหลายร้อยปี
  • พัฒนาวิถีชีวิตอยู่กับทรัพยากรที่มี อย่างเป็นจริง และจับต้องได้ 
  • ในขณะเดียวกันก็เป็นการถ่ายทอดวิธีคิด ความรู้ ความเข้าใจในการดำรงชีวิต จากคนรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่งได้เป็นอย่างดี 

สิ่งที่ผมประทับใจกับการเยี่ยมบ้านของวิเชียร พานิช ที่สำคัญก็คือ  

การสอนลูกให้ทำมาหากินเป็นเองเสียก่อน ก่อนที่จะสนับสนุนภายหลัง 

กรณีตัวอย่างของการพัฒนาชีวิตครอบครัวของนายดำริ พานิช (พ่อของนายวิเชียร) ที่เริ่มครอบครัวด้วยการเย็บใบจากขาย ทำขนมขาย เก็บหอมรอมริบได้วันละสิบสตางค์ ยี่สิบสตางค์ (จากหนังสือที่ระลึกในงานฌาปนกิจศพ นายดำริ พานิช ๗ พฤศจิกายน ๒๕๔๗)

ทั้งๆที่ตระกูลนี้สืบสายมาจากเจ้าเมืองเก่า มีศักดินา (ที่ทำกิน)มากพอสมควร แต่ก็ยังให้ลูกหลานเริ่มชีวิตแบบ ช่วยตัวเองไปก่อน ก่อนที่ตระกูลจะยื่นมือเข้ามาช่วย

ทำให้ลูกหลาน

  • อยู่กับความเรียบง่าย
  • เข้าใจและรู้จักคุณค่าของทรัพย์สิน และชีวิต 

ด้วยความที่วิเชียรรู้ว่าผมชอบชมของเก่า วิเชียรได้นำของเก่าของตระกูลที่แสดงถึงความเป็นจ้าวเมือง คหบดี นักอ่าน นักเขียน นักกฎหมาย และหมอแผนโบราณ

ที่เป็นลักษณะสายเลือดของตระกูล พานิชมาตั้งแต่ก่อนยุคสงครามโลก 

มีหนังสือโบราณที่เขียน และเก็บสะสมไว้โดยบรรพบุรุษในตระกูลนี้ ที่สะท้อนและแสดงถึงการเป็นนักคิด นักอ่าน นักเขียน นักพัฒนาและความเป็นเชื้อสายและตระกูลเจ้าเมืองมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา 

 นอกจากเอกสารทางราชการในระดับสูงในอดีต หลักฐานการทำธุรกิจ เมื่อ เกือบร้อยปีมาแล้ว ที่วิเชียรเก็บใส่ซองรักษาไว้เป็นอย่างดี แล้ว ยังมี หนังสือเก่าๆ เกือบร้อยปี ต่างๆ มากมาย

และนอกจากนี้ ยังมี หอก ดาบ และตราประจำตำแหน่งเจ้าเมืองที่เป็นสัญลักษณ์ของจ้าวนายในอดีต  

นอกจากนี้ วิเชียรยังพาผมไปเยี่ยมชมพื้นที่ทำกินของตระกูล ที่เป็น ศักดินามีทั้งนา สวน และที่ติดทะเลที่กำลังงอกไปเรื่อยๆ จากการทับถมของตะกอนปากน้ำชุมพร 

สิ่งที่ผมประทับใจอีกประการหนึ่งก็คือการผสมผสานวิถีชีวิต ของใช้ใหม่เก่าเข้าด้วยกันอย่างกลมกลืน ทั้งที่อยู่อาศัย ของใช้ในบ้าน กิจกรรม และกิจการที่ทำอยู่ 

ในปัจจุบัน วิเชียรและภรรยา (กัลยา) เป็นผู้รับดูแลพ่อแม่ และกิจการต่างๆของครอบครัว และของตระกูล

ยังคงทำนา ทำสวนยาง สวนมะพร้าว สวนปาล์ม ปลูกต้นไม้ใช้สอย ค้าขายตั้งแต่หนังสือพิมพ์ ของชำ ปุ๋ย อาหารสัตว์ และของใช้สารพัดชนิด ต่อเชื่อมกับวิถีชีวิตเดิมของบรรพบุรุษ ได้อย่างกลมกลืน ทำการเกษตรเพื่อการยังชีพ เลี้ยงเป็ดไว้กินไข่ วางตัวแบบเรียบง่าย เป็นศูนย์กลางของตระกูล ได้เป็นอย่างดี 

Dsc00833

ผมได้เรียนรู้และได้ความรู้มากมายจากการไปเยี่ยมเยือนเพื่อนทั้งสองคน ที่ประสพผลสำเร็จ คนละมุมกัน

มีวิถีที่แตกต่างกันเกือบจะสิ้นเชิง

แต่จุดร่วมเดียวกันคือชีวิตที่มีคุณค่า ต่อตัวเอง ตระกูล และสังคม 

ผมขอแสดงความชื่นชมเพื่อนทั้งสองท่านมา ณ ที่นี้ครับ 

คราวหน้าจะหาโอกาสไปเยี่ยมเพื่อนอีกหลายๆคน ที่ผ่านการตกผลึกทางความรู้และชีวิต

คงได้อีกหลายบทเรียนครับ   

หมายเลขบันทึก: 160857เขียนเมื่อ 23 มกราคม 2008 08:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)
  • ขอบคุณอาจารย์มากครับ
  • ที่นำมาให้อ่าน
  • เห็นการเดินทางของชีวิต
  • ที่มาจากการอบรมของสถาบันครอบครัว
  • แต่ทำไมอาจารย์เดินทางเก่งจัง
  • พอๆๆกับพ่อครูบาสุทธินันท์เลยฮ่าๆๆ

อาจารย์ขจิตครับ

ท่านพุทธทาสสอนว่า ชีวิตคือการเดินทางครับ

๕๕๕๕๕

สนใจตอน ๒ ไหมครับ แบบเจาะลึก ไม่เคยรายงานที่ไหนมาก่อน

บทเรียนนี้ ไม่ธรรมดาครับ

ขอบพระคุณครับที่นำเกร็ดชีวิตสองแบบแต่รสชาดเดียวคือกลมกล่อม ชิมแล้วยากจะลืมจริงๆครับ

ขอคารวะสักพันจอกครับ

 

สวัสดีครับท่านอาจารย์ ดร.แสวง

  • บทเรียนวิชาชีวิต 2 บทนี้  มีผลการวัดผลประเมินผลออกมาชัดเจนแบบไร้ข้อกังขาว่า "ทรงคุณค่ายิ่ง" 
  • สมควรแก่การเผยแพร่เพื่อเป็นแบบอย่างแก่มวลชนในวงกว้างอย่างยิ่งครับ
  • ดีกว่าความรู้ในตำราที่ต้องจำและกาลงในกระดาษคำตอบเป็นไหนๆ
  • สวัสดีครับ

สมกับที่ขอ และรออ่าน

จะเขียน ก็รีบเขียน อย่าให้ขอ จนต้องรอชาติหน้า

อาจารย์ เขียนถึงตระà¸à¸¥à¸¹à¸œà¸¡à¹„ด้ดีจริงๆ ทำให้ผมรู้คำสอนของบรรพบุรุษที่à¹à¸—้จริง

บังเอิญตัวหนังสืออ่านไม่ได้ครับ กรุณาพิมพ์ใหม่ได้ไหมครับ ด้วยความเคารพครับ

พลฯ ทรงศักดิ์ พานิช

ขอบคุณอาจารมากครับที่มีข้อมูลของ ตระกูล พานิช มาให้ ผมยังไม่เคยรู้ ประวัติ ของ ตระกูล มากขนาดนี้ ไม่รู้จะไปค้นหาจากที่ใหน


พลฯ ทรงศักดิ์ พานิช

ผมเป็นลูกหลานใน ตระกูลนี้ครับแต่อยู่ที่  จังหวัด พัทลุง ยังไม่เคยทราบมาก่อน ว่าทีมีญาติอยู่ที่จังหวัดอื่นอีกครับ


แล้วรู้จักท่านธรรมทาส และท่านพระอาจารย์พุทธทาสไหม ไปตามอ่านดู ประวัติเพียบ อิอิอิอิ

พลฯ ทรงศักดิ์ พานิช

ขอบคุณ อ. อีกครั้งครับที่แนะนำ หาก อ. มีประวัติเพิ่มเติมรบกวนด้วยน่ะครับ จะถือเป็นพระคุณอย่างสูงครับ

อ่านแล้วรู้สึกดีจัง รู้สึกมีพลังในการเดินทางต่อไปข้างหน้า...กับเรื่องราวของอาจารย์ในการเดินทางไปเยี่ยมเยียนเพื่อนผู้มีความเพียรและความดีในการหล่อเลี้ยงชีวิตครับ

ร.ต.ชาติชาย พานิช ผมก็เป็นคนหนึ่งที่อยู่ในกระกูลนี้ครับ แต่ผมอยู่ต่างจังหวัด อยู่เชียงใหม่ครับ 

นุชเป็นหลาน ปู่ วิจารณ์ พานิช ได้มีโอกาสเจอท่านที่งาน (แห่งหนึ่ง ) ในฐานะ พีอาร์ของงาน ถ้าไม่ใช่งานนั้นคงไม่มีโอกาสเจอและได้พูดคุย


ขอบคุณค่ะ ที่ทำให้รู้ว่า ไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนก็ตาม แต่ความคิดและสิ่งที่ยึดมั่นคงไว้ในสายเลือดของตระกูล ไม่เคยเปลี่ยนแปลง ....เรายึดถือและปฎิบัติมา...

กำลังตามหาญาติๆ พุดตานเป็นลูกเตี่ยถาวร พานิช เกิดที่ สงขลา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท