ผลงานทางวิชาการที่เข้าใจผิด


ความเข้าใจผิดเรื่องผลงานทางวิชาการ

       ตั้งแต่ สำนักงาน ก.ค.ศ.ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการที่จะให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยเฉพาะสายงานการสอน(ครู) สิ่งที่เป็นคำถามมากที่สุด ก็คือ ครูไม่ต้องมีหรือเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดประสบการณ์(แผนการสอน) แล้วใช่ไหม เพราะมีข้อความตอนหนึ่งในครูมือการประเมินผลงานที่เกิดจาการปฏิบัติหน้าที่(ด้านที่ ๓) ในหัวข้ประเภทของผลงานทางวิชาการ ซึ่งแบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ ๑)ผลงาน งานแต่ง เรียบเรียง งานแปล หนังสือ หรือเขียนบทความทางวิชาการ ฯ ๒) ผลงานวิจัย ฯ ๓) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น เช่น ๓.๑) การประเมินงานหรือการประเมินโครงการฯ ๓.๒) สื่อ นวัตกรรมทางการศึกษา ฯ ๓.๓) เอกสารการประกอบการปฏิบัติหน้าที่ ฯ สำหรับแผนการจัดการเรียนรู้ให้ใช้เป็นเอกสารประกอบการประเมินคุณภาพปฏิบัติงานเท่านั้น(ด้านที่ ๒) มิให้นำมาใช้เสนอเป็นผลงานทางวิชาการ (คัดลอกมาจากคู่มือที่ สำนักงาน ก.ค.ศ.แจกให้กับหน่วยงานต่าง ๆ )

          สายงานการสอน แผนการจัดการเรียนรู้จึงถือว่าไม่ใช่ผลงานทางวิชาการ แต่แผนการจัดการเรียนรู้มีไว้สำหรับการประเมินด้านที่ ๑(วินัย คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ)  และ ด้านที่ ๒ คุณภาพการปฏิบัติงาน(สมรรถนะหลักและสมรรถนะประจำสายงาน)

   ดังนั้นแผนการจัดการเรียนรู้/แผนการจัดประสบการณ์ต้องมี ถ้าไม่มีก็ไม่ผ่านการประเมินด้านที่ ๑ และด้านที่ ๒ และผลงานทางวิชาการที่เป็นด้านที่ ๓ นั้นมาจากไหนถ้าถาม ผลงานทางวิชาการ ก็มาแผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดประสบการณ์ เพราะผลงานทางวิชาการก็คือ ผลของการใช้สื่อ นวัตกรรมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครู การที่ครูจะทำรายงานที่เป็นผลงานทางวิชาการได้ ครูต้องใช้สื่อ นวัตกรรมประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเสียก่อน จนประสบผลสำเร็จ ถามว่า แล้วสื่อ นวัตกรรมมาจากไหน ก็ต้องมาจากแผนฯ ต้องปรากฏในแผนฯ ตรงหัวข้อ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ ถ้าไม่ปรากฏในแผนฯ แสดงว่า ครูจัดทำรายงานผลงานทางวิชาการอันเป็นเท็จ มีผลต้องถูกลงโทษทางวินัย ถึงขั้นไล่ออกจากทางราชการแทนที่จะได้เลื่อนวิทยฐานะ

    แต่ถ้าถามว่า จะส่งแผน ฯ ประกอบรายงานผลงานทางวิชาการหรือไม่ ถ้าหากสื่อ นวัตกรรมเป็นประเภท เทคนิค วิธีการ หรือกระบวนการเรียนการสอน ประเภทนี้ต้องแนบไปในภาคผนวกของการรายงาน ไม่เช่นนั้นผู้ตรวจผลงานทางวิชาการจะมองไม่เห็น หรือมองไม่ออก แต่ถ้าหากสื่อ นวัตกรรม เป็นประเภทวัสดุ อุปกรณ์ เช่น กระดาษชุดต่าง ๆ ที่สามารถจับแตะต้อง มองเห็นได้ ลักษณะเช่นนี้ไม่จำเป็นต้องส่งแผนฯ เพราะผู้รายงานสามารถแนบสื่อ นวัตกรรมไว้ภาคผนวกประกอบการรายงานได้อย่างชัดเจน(เป็นรูปธรรม) ถ้าเปรียบเทียบการทำวิทยานิพนธ์ ขณะส่งวิทยานิพนธ์เพื่อจบ ส่งอะไรบ้าง ก็จะส่งเฉพาะเล่มวิทยานิพนธ์อย่างเดียว พร้อมด้วยภาคผนวกคือ สื่อ นวัตกรรม และอื่น ๆ อีกเท่าที่จำเป็น เช่น แบบประเมินสื่อ นวัตกรรม เป็นต้น

     ดังนั้นครูอย่าเข้าใจผิดว่าไม่ต้องทำแผนการจัดการเรียนรู้ แผนการจัดประสบการณ์นะครับ ถ้าไม่มีหมดสิทธิ์ผ่านการประเมินตั้งแต่ด้านที่ ๑ และ ด้านที่ ๒ ก่อนที่จะส่งด้านที่ ๓ คือผลงานทางวิชาการ

หมายเลขบันทึก: 158576เขียนเมื่อ 10 มกราคม 2008 20:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ตอนนี้กำลังสับสนกันมากเรื่องส่งแผนแนบท้ายรายงานหรือไม่ อยากขอความกรุณาอธิบายให้ชัดอีกสักครั้ง เช่น ถ้าส่งสื่อที่เป็น CAI บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ต้องแนบหรือไม่ แบบฝึกคณิตศาสตร์ แบบฝึกภาษาไทย ต้องแนบหรือไม่ เพราะงง การแนบแผนไปในท้ายผนวก ทำให้เล่มหนาใหญ่โตเทอะทะ มากมายจริงๆ

กราบขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้

เรียน ครูกำลังสับสน

การแนบแผนฯหรือไม่แนบแผนฯนั้น ขึ้นอยู่กับสื่อ/นวัตกรรมที่นำมาแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียน ถ้าสื่อ/นวัตกรรมเป็นประเภทเทคนิค หรือวิธีการ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนในการจัดกิจกรรม สื่อ/นวัตกรรมประเภทนี้ต้องแนบแผนฯ ไว้ในภาคผนวกเล่มรายงานผลงานทางวิชาการ แต่สำหรับสื่อ/นวัตกรรมประเภทวัสดุ อุปกรณ์ เอกสาร ตามที่ท่านนำเสนอเป็นตัวอย่างข้างต้น สื่อ/นวัตกรรมประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องแนบแผนฯ แต่ต้องแนบสื่อ/นวัตกรรมไว้ในภาคผนวกในเล่มรายงานผลงานทางวิชาการ

กราบขอบพระคุณ ท่านมากๆครับ ที่ได้ให้ความกระจ่าง ในเรื่องของการส่งแผน ไม่ส่งแผน ฟังหลายคน ไปหลายที่ ยี่งสับสน วิทยากรผู้รู้ พูดไม่ค่อยตรงกัน ขอบพระคุณมากครับ

มีประโยชน์มากที่ได้ข้อคิด

ติดตามผลงานของท่านมาตลอด ชื่นชมในความสามารถ ยินดีด้วยนะคะสำหรับวิทยฐานะที่ได้รับสมควรจริงๆ ดิฉันอยู่อนุบาลสระบุรีค่ะ

เป็นศึกษานิเทศก์"ในดวงใจ" ท่านหนึ่งที่ข้าพเจ้านำแนวทางของท่ามาพัฒนาผู้เรียนแล้วประสบผลสำเร็จ อย่าเพิ่งกลับสระบุรีนะคะ (ครูอยุธยาจะทำเชี่ยวชาญเชิงประจักษ์)

ทัศนีย์ ดีเลิศ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท