การจัดการเรียนรู้


เรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ ให้กับนักเรียนในช่วงวัยรุ่น เราควรทำอย่างไรบ้าง
หมายเลขบันทึก: 148316เขียนเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2007 08:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 19:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)
วารุณี วิจารณ์ปรีชา

การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนในช่วงวัยรุ่น  ต้องจัดกระบวนจัดการเรียนรู้โดยใช้แรงกระตุ้นให้กับเด็กเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้   ค้นคว้า  หาคำตอบ  และคิดวิเคราะห์เอง  สร้างสรรค์ตามจินตนาการ   ครูควร สร้างสิ่งเร้าและการตอบสนอง ให้กับเด็กเกิดการเรียนรู้ ที่มีผลต่อความพึงพอใจ สร้างบรรยายกาศที่อบอุ่น พราะช่วงเด็กวัยนี้เป็นวัยที่ต้องการคำปรึกษาจากเพื่อน เราควรจะส่งเสริมให้กับเด็กได้คิดในทางที่ถูกและที่ควร โดยให้คำแนะนำและคำปรึกษา

ควรจัดให้มีการเรียนรู้ที่หลากหลายในเรื่องที่วัยรุ่นสนใจ จัดให้การบริหารห้องเรียนด้วยการแนะนำมากกว่าการสอนหรือบอกความรู้ควรให้วัยรุ่นได้ใช้ความคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์ และนำมาใช้ได้จริง จะเป็นการพัฒนาความคิดที่เป็นระบบ แบบแผน ซึ่งเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ก็จะเป็นผ้ที่คิดหาเหตุผลและวิธีแก้ปัญหาได้ดี วางแผนในการดำเนินชีวิตได้อย่างรอบคอบ    อีกทั้งควรจะมีการอบรมเรื่องวัฒนธรรมความเป็นไทย  เนื่องจากยุคนี้เป็นยุคแฟชั่น สมัยนิยมและยังมีดาราที่แต่งกายไม่สุภาพมาเป็นต้นแบบที่ไม่ดีจึงทำให้วัยรุ่นหลงลืมวัฒนธรรมอันดีงามของไทย จึงเกิดพฤติกรรมเลียนแบบดารา และอื่น ๆ อีก เช่น การติดเกมส์ ก่อให้เกิดปัญหาความก้าวร้าว และ อาชญากรรม ขึ้นในสังคม  เนื่องจากการสั่งสอนอบรมของครูเพียงฝ่ายเดียวคงไม่พอ ด้านผู้ปกครองควรให้ความเอาใจใส่ มีเวลาให้กับลูกด้วยให้คำแนะนำ หรือส่งเสริมหากสิ่งที่เขาสนใจเป็นสิ่งที่ดีต่อตนเองและสังคม  เป็นต้น

วีรานุช วิจารณ์ปรีชา

การจัดการเรียนรู้ ควรจัดสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้  การดำเนินการสอนอย่างมีระบบ การจัดกิจกรรมให้นักเรียน ประสบความสำเร็จ สร้างวินัยในชั้นเรียน การใช้กระบวนการกลุ่ม และใช้เทคนิค การคิดแบบต่าง ๆ ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง เด็กนักเรียนช่วงนี้จะให้ความสำคัญกับเพื่อนมากกว่าครอบครัว  จะมีอารมณ์และความรู้สึก ความก้าวร้าว  วัยรุ่นจะมีลักษณะสำคัญ 4 ด้าน  เกี่ยวกับการแสวงหาเอกลักษณ์ส่วนบุคคล,กับครอบครัว,กับกลุ่มเพื่อน,ด้านพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่น 

ส่วนหนึ่งของการจัดการชั้นเรียนให้มีประสิทธิภาพคือครู เพราะครูควรจะเป็นผู้ขับเคลื่อนกิจกรรม ต่างๆ หรือเปรียบเสมือนเป็นผู้กำกับ และเมื่อเกิดปัญหาครูก็สามารถแก้ไขสถานการณ์ ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับบรรยาการความต้องการเรียนรู้ของตัวผู้เรียน

วันรุ่นกับการเรียนรู้  วัยรุ่นชอบการทดลองและการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ  การให้การศึกษากับวัยรู้จึงมีความจำเป็นและมีความสำคัญที่ครูผู้สอนต้องหาสิ่งใหม่ๆ  เช่นข่าวสาร ข้อมูล  รวมถึงมีความชัดเจนและถูกต้อง  การให้ความรู้กับวัยรุ่นนั้น  ครูผู้สอนควรมีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลาเพื่อนำมาถ่ายทอดให้แก่ผู้เรียน  อีกทั้งต้องมีความเข้าใจในวัยของวัยรุ่นด้วย

วัยรุ่นยากเข้าใจ เพราะเป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลง

 ต้องทดลองหลายๆ วิธี  การเรียนการสอนอาจช้าๆมาก  แต่ลองให้เขาได้ทดลองทำเองน่าจะได้เรียนรู้มากกกว่าการพูดๆๆๆๆ บรรยายๆๆๆ ปล่อยให้เขาทำเองเรียนรู้เอง เราจะไปจุ้นจ้านมาก พูดมาก มันก็เหมือนน้ำรดหัวตอ เขาจะฟังเมืออยากฟัง อยากเรียนรู้เมืออยากเรียนรู้ นอกนั้นเมินซะเถอะ ขั้นนำการสอนอาจต้องใช้เวลา 10-15 นาที สอนไปอาจโดยเหทิศทางเสียเวลาอีำก 10 นาที เฮ้อ ก็ต้องพยายามให้เขาได้เรียนรู้

ด.ญ อาภาศิริ พรมจันทร์ เลขที่ 17 ด.ญ จิรัชยา อยู่รอย เลขที่ 20 ม.2/4

กลอนดอกสร้อย

ความเอ๋ยความรัก พึงประจักษ์รักแท้กว่าสิ่งใหน

แม้รักแท้ต้องพ่ายแพ้ความห่างไกล จำตัดใจจากไปทั้งน้ำตา

โบราณว่าความห่างไกลใจเหิน รักจืดจางจากไปไม่โหยหา

คนชิดใกล้สนิทแนบทุกเวลา ย่อมดีกว่ารักคนไกลช้ำใจเอย

ดอกเอ๋ยดอกไม้ ให้เอาไว้แทนใจคนรักหนอ

ยามจากไปได้แต่ดูดอกไม้รอ เฝ้าคอยขอเธอนั้นรีบกลับมา

อันคนรักจากไปแล้วใจเศร้า นั้งหงอยเหงาเศร้าจิตคิดห่วงหา

ยามเธอจากใจฉันถึงอยากลา ภาวนาเธอกลับมาอยู่เรื่อยเอย

ลูกเอ๋ยลูกศิษย์ จากคำคิด คำกลอน ส่งก่อนหนา

จึงเร่งส่ง รีบพิมพ์ มินำพา ลืมตรวจตรา ว่ามัน อยู่บล็อกใด

ครูซึ้งใจ ในความ รับผิดชอบ จึงเร่งตอบ ขอบใจ ไม่เฉไฉ

หากหนูรีบ แก้ไข ไปบล็อกใหม่ ครูจักได้ ให้คะแนน แม่หนูเอย

^ ^ "

ครูวนิดา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท