บริบทของการศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และสังคมไทยในปัจจุบัน


HRD

การศึกษาเป็นสิ่งที่เกิดควบคู่กับการเรียนรู้เสมอ(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2541. หน้า 3 อ้างอิงจาก สุมนอมรวิวัฒน์)ทั้งนี้ความสำคัญของการเรียนรู้จะทำให้มนุษย์สามารถเรียนรู้ได้และเป็นผู้ที่รับการฝึกอบรมให้พัฒนาขึ้นได้อย่างต่อเนื่องมนุษย์สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อมีชีวิตรอดส่วนหนึ่งและเรียนรู้ได้โดยกระบวนการศึกษาอบรมอีกส่วนหนึ่งการเรียนรู้เพื่อมีชีวิตรอดเกิดขึ้นโดยแรงกระตุ้นของสิ่งแวดล้อมและแรงเร้าภายในร่างกายจิตใจ เช่น รับประทานเมื่อหิว หลบหลีกเมื่อหวาดกลัวแม้กระนั้นการเรียนรู้จากสัญชาตญาณก็ยังไม่เพียงพอที่จะมีชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม

      กระบวนการศึกษาอบรมเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากการสั่งสอนฝึกฝนอบรมบ่มนิสัยด้วยวิธีการอย่างหลากหลายต่อเนื่องยาวนานตลอดชีวิตดังนั้นมนุษย์ทุกคนจึงไม่ใช่แต่คอยรับการสั่งสอนฝึกฝนอบรมจากผู้อื่นแต่จะต้องเรียนรู้เพื่อหาวิธี เรียนค้นหาสร้างสรรค์ความรู้ด้วยตนเองอีกด้วย

      ในแต่ละช่วงชีวิตเมื่อปฏิสนธิและเกิดมาเป็นทารกแล้วเติบโตขึ้นมาเป็นเด็กเล็กบุคคลยังคงเรียนรู้จากพ่อแม่ ครูและสิ่งแวดล้อมกระบวนการเรียนรู้ของทารกและของเด็กมีลักษณะเป็นการอบรมเลี้ยงดูที่พ่อแม่ผู้ดูแลเด็กจะเตรียมความพร้อมความสมบูรณ์ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์สังคม สติปัญญาแก่เด็กจนเขามีความพร้อมที่จะเผชิญโลกกว้างในช่วงอายุที่เจริญวัยต่อไป

      เมื่อเด็กเติบโตขึ้น การเรียนรู้เริ่มมีลักษณะซับซ้อนหลากหลายครอบครัว โรงเรียนและสิ่งแวดล้อมในชุมชนมีบทบาทสำคัญในการจัดกระบวนการเรียนรู้ นอกจากนั้นสังคมชุมชนที่เขาอาศัยอยู่ เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เขาต้องเผชิญความทุกข์และความสุขที่เกิดขึ้นในชีวิต สื่อต่าง ๆทั้งที่เป็นสื่อเสียง เนื้อหาสาระที่ต้องเรียนรู้ได้เพิ่มขึ้นวิธีการแก้ปัญหาวิธีสืบค้นรวบรวมจัดประเด็นความรู้มีมากขึ้นและการคาดหวังผลจากการเรียนรู้ก็ยิ่งสะสมซับซ้อนทวีคูณ

      เยาชนคนหนุ่มสาวเปรียบเหมือนต้นไม้ที่หยั่งรากยาวลึกประสบการณ์ที่เขาได้รับการอบรมเลี้ยงดูและการศึกษาอบรมตลอดมาเริ่มปรากฏผลชัดเจนขึ้น ทั้งที่เป็นคุณลักษณะและพฤติกรรมอันเป็นโทษอิทธิพลของเพื่อน กลุ่มเพื่อน สื่อและสิ่งแวดล้อมมีมากขึ้น ซึ่งหากพ่อแม่ ครูและผู้ใหญ่ในสังคมมิได้เพิ่มกระบวนการเรียนรู้แก่เขาหรือมิได้เอาใจใส่ดูแลเขาอย่างเพียงพอคนหนุ่มสาวก็จะเรียนรู้ไปตามยถากรรม ชีวิตมีแต่ความเสี่ยงบุญมีก็ดีได้ ทำบาปไว้ก็เสียคน

      วิถีชีวิตของผู้ใหญ่ คนที่เป็นพ่อแม่ คนที่ประกอบอาชีพทำมาหากินคนที่ต้องก่อร่างสร้างครอบครัวและรับผิดชอบในหน้าที่ที่เพิ่มพูนผู้ใหญ่ก็ต้องเรียนรู้เพื่อสร้างคุณภาพทั้งในด้านความรู้และความสามารถเขาต้องเรียนรู้ทักษะชีวิต การปรับตัววิธีการเผชิญสถานการณ์และแก้ปัญหาคุณธรรมความดีงามที่เหนี่ยวรั้งอารมณ์ชั่วแล่นให้มีสติสัมปชัญญะการรับรู้ข่าวสาร ทันคน ทันงาน ทันโลกรวมถึงทักษะที่เป็นเครื่องมือสืบค้นแสวงหาความรู้หากเขาได้รับการศึกษาอบรมมาดีไม่ว่าจะเป็นการศึกษาในระบบการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยเขาก็จะดำเนินชีวิตได้อย่างมั่นคง เป็นผู้สร้าง เป็นผู้นำเสมือนต้นไม้ใหญ่ที่ผลิตออกผลเป็นที่พึ่งและเป็นร่มเงาของคนและสัตว์ทั้งปวง

      ช่วงปัจฉิมวัยของชีวิตนั้นมนุษย์ก็ยังต้องเรียนรู้ประสบการณ์ยาวนานที่ผ่านพบทั้งทุกข์สุขร้อนหนาวและความรับผิดชอบที่หนักหนาเกินกว่าจะปัดทิ้งได้นั้นอาจกองสุมบนบ่าที่อ่อนล้า การเรียนรู้เพื่อการดำเนินชีวิตทางสายกลางรู้จักเลือก รู้วิธีเผชิญสถานการณ์ ตัดสินใจและพึ่งตนเองได้จึงยังจำเป็น เรียนรู้ทุกวันฝึกฝนตนเองทุกวันจนกว่าจะหมดลมหายใจ มนุษย์จึงต้องเรียนรู้ตลอดชีวิต

      สำหรับการศึกษาในระบบ นอกระบบ หรือตามอัธยาศัยยังจำเป็นต้องมีครูอยู่เพราะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการศึกษาตามเจตนารมณ์ของพ.ร.บ.การศึกษา2542ดังนั้นจึงต้องมีการอบรมครูอย่างต่อเนื่องเพราะศาสตร์แห่งการสอนได้พัฒนาขึ้นอย่างมากมายเกิดความรู้ใหม่ทางการสอนหลายรูปแบบ แนวทฤษฎีที่มุ่งพัฒนามนุษย์ปลุกเร้าความคิดของมนุษย์สร้างสรรค์ความเก่ง ความดี ความงามให้แก่มนุษย์ มีวิธีแก้ไขพฤติกรรมที่ก้าวร้าว เบี่ยงเบนมีวิธีเสริมศักยภาพของคนให้คิดเร็ว คิดถูก ทำเร็ว ทำถูกจนบัดนี้เราต้องเรียนวิธีการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

      คุณสมบัติของคนมีการศึกษาในยุคนี้ได้เปลี่ยนไปแล้วเพียงแค่สมรรถภาพพื้นฐานที่จะทำให้มีชีวิตอยู่ได้ในสังคมปัจจุบันก็มีอยู่มากและล้วนมีความจำเป็นเพื่อจะได้ ก้าวมั่น ทันโลก

-    การอ่านออกเขียนได้ คิดเลขได้(literacy) ไม่เพียงพอเสียแล้ว นักเรียนจำเป็นต้องมีสมรรถภาพทางวิทยาศาสตร์ (Scientificliteracy) เพื่อจะได้มีเหตุผล แสวงหาความจริงรู้จักพิสูจน์ไม่งมงาย

-         นักเรียนต้องมีศักยภาพของความเป็นพลเมือง(Citizen literacy)

-         นักเรียนต้องรู้ภาษาของตนและภาษาอื่นเพื่อรู้รากเหง้าของตนและโบยบินสู่สากล

สาระของความเป็นมนุษย์

-         อยู่ที่สมองที่คิดรอบ คิดลึก คิดแตกฉาน

-         อยู่ที่พฤติกรรมที่สมองสั่งการได้เหมาะสม

-         อยู่ที่จิตสามารถสั่งการสมองให้คิดดี คิดชอบ

-         อยู่ที่ความสามารถเผชิญปัญหา ผจญ ผสมผสานและเผด็จได้ด้วยวิธีการที่ถูกและดี

-         อยู่ที่สามารถสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ ธรรมชาติ และเทคโนโลยีได้โดยไม่ตกเป็นทาสของมัน

       ดังนั้นครูที่ไม่ได้เปลี่ยนวิธีการสอนการที่ครูเก็บเด็กไว้ในห้องสี่เหลี่ยมวันละอย่างน้อย 5 ชั่วโมงสัปดาห์ละอย่างน้อย 30 ชั่วโมง ปีละอย่างน้อย 200 วัน เป็นเวลา 6 ปีขยายเป็น 9 ปี และจะเป็น 12 ปี การสอนตามเนื้อหา หนังสือและหลักสูตรซึ่งไม่มีหลักสูตรใดจะยืนยงคงกะพันไม่ล้าสมัยไม่มีหนังสือเล่มใดจะครองคลุมเรื่องที่ต้องเรียนได้หมดและไม่มีครูคนใดบอกเด็กได้ทุกเรื่อง ทุกเวลา ทุกคน

      ด้วยเหตุนี้ครูจึงอยู่เฉยไม่ได้แล้ว ถ้าครูไม่ปรับปรุงคุณภาพการสอนซึ่งเด็กใน 10 ปีข้างหน้าจะมีคุณภาพเหมือนเราและล้าหลังยิ่งกว่าเราเราผู้ซึ่งตะเกียกตะกายไขว่คว้า ทะยานอยากเราผู้ซึ่งยอมสยบต่ออำนาจกดขี่ ไม่กล้าสู้ซึ่งหน้า แต่นินทาลับหลังเราผู้ซึ่งผลักอนาคตของบ้านเมืองให้อยู่ในกำมือของผู้อื่นเราผู้ซึ่งฝากชีวิตของตนเองไว้กับโชคชะตา ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องแสวงหาแนวคิด/ทฤษฎีใหม่ของการเรียนรู้เพื่อให้เกิดแนวคิดพื้นฐานของกระบวนการเรียนการสอนดังนี้

1.      แก่นแท้ของการเรียนการสอน คือการเรียนรู้ของผู้เรียน

2.      การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ทุกแห่งทุกเวลาต่อเนื่องยาวนานตลอดชีวิต

3.      ศรัทธาเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดของการเรียนรู้

4.      ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีจากการสัมผัสและสัมพันธ์

5.      สาระที่สมดุลเกิดขึ้นจากการเรียนรู้ คือ ความรู้ ความคิดความสามารถ และความดี

      สิ่งที่เราจะพัฒนาการศึกษาได้เราต้องพัฒนาที่กลจักรสำคัญในการขับเคลื่อนการศึกษาก็คือพัฒนาที่ครูให้ดีก่อนแล้วผลจึงจะเกิดขึ้นกับเด็กซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญของราชอาณาจักรไทยที่ส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ดังนั้นเราต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในทุก ๆ ด้านโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องพัฒนาครูให้ก้าวเข้าสู่วิชาชีพชั้นสูงเพื่อเป้าหมายทางการศึกษาสำฤทธิ์ผลนั่นเอง

      เนื่องจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (วารสารดำรงราชานุภาพ. ฉบับที่ 22ปีที่ 7: หน้า 24 อ้างอิงจาก อำนาจ วัดจินดา)หรือ HRD มีนักวิชาการทั้งจากประเทศไทยและต่างประเทศจำนวนมากได้ให้คำนิยามไว้ซึ่งสามารถสรุปได้ว่า HRD คือ การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆขององค์การทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อเพิ่มพูนความรู้(Knowledge) ทักษะ (Skill) และปรับทัศนคติ (Attitude) ของบุคลากรเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

      ซึ่งการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หรือ HRDมีที่มาเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1969ในการประชุมประจำปีของสมาพันธ์การฝึกอบรมและพัฒนาแห่งอเมริกา(American Society for Training andDevelopment) หรือใช้คำย่อว่า ASTD มีสมาชิกท่านหนึ่งซึ่งเป็นนักวิชาการด้านทรัพยากรมนุษย์ได้กล่าวถึงแนวคิดของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development) เป็นคนแรก คือ Leonard Nadler และในปี ค.ศ. 1970 เขาและภรรยาZeace ได้ให้คำนิยามของ HRD อย่างเป็นทางการ จากนั้น HRD ก็ได้รับความสนใจและมีการศึกษากันอย่างแพร่หลายและนำมาใช้เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการนำองค์การไปสู่ความสำเร็จ

       สำหรับองค์ประกอบที่สำคัญของHRD จากหนังสือ Principle of Human Resource Development ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1989และครั้งที่สอง ในปี 2002ได้นำเสนอหลักการในการพิจารณาองค์ประกอบของ HRD ไว้ 2มิติประกอบกัน คือ มิติทางด้านจุดเน้น (Focus) กล่าวคือกลุ่มที่ต้องดำเนินการหรือได้รับการดำเนินการโดยในขอบเขตที่กว้างขวางจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มคนจำนวนมากหรือตัวองค์การเป็นมิติด้านองค์การส่วนในขอบเขตที่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคลคนใดคนหนึ่งในองค์การเป็นมิติด้านบุคคล อีกมิติหนึ่ง คือ ผลลัพธ์ (Results) ผลที่เกิดขึ้นเป็นประโยชน์ในระยะเวลาอันสั้นคือ ต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องถ้าดำเนินการแล้วได้ประโยชน์ในระยะยาวคือค่อนข้างยั่งยืนถือเป็นผลลัพธ์ระยะยาว องค์ประกอบของ HRD มี 4 ด้านดังต่อไปนี้

1.   การพัฒนารายบุคคล (Individual Development) เป็นงานที่มุ่งเน้นในส่วนบุคคลและเกิดผลลัพธ์ในระยะสั้น ซึ่งหมายถึงการพัฒนาความรู้ ทักษะและปรับพฤติกรรมการทำงานของบุคคลแต่ละบุคคลในองค์การเพื่อให้สามารถทำงานปัจจุบันที่ตนรับผิดชอบได้ซึ่งส่วนนี้เราคุ้นเคยกันในชื่อว่า การฝึกอบรม (Training) แต่การฝึกอบรมนั้นจะมีคุณค่าหรือได้ประโยชน์มากน้อยเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับการดำเนินการในส่วนงานที่รับผิดชอบทั้งโดยตรงและหน่วยงานสนับสนุนในอดีตมักเข้าใจว่าหน่วยงานที่ต้องดูแลเรื่องการฝึกอบรม คือฝ่ายบุคคลและหน่วยงานหลัก (Line) เป็นหน่วยงานสนับสนุนแต่ปัจจุบันแนวคิดกลับกันโดยสิ้นเชิงองค์การยุคใหม่ผู้บริหารที่เป็นหน่วยงานหลักต้องดูแลรับผิดชอบการพัฒนาความสามารถของลูกน้องมากยิ่งขึ้นโดยมีฝ่ายบุคคลเป็นผู้สนับสนุนอำนวยความสะดวกให้

2.   การพัฒนาอาชีพ (Career Development) เป็นงานที่มุ่งเน้นส่วนบุคคลและเกิดผลลัพธ์ในระยะยาวซึ่งหมายถึง การวิเคราะห์ความจำเป็นรายบุคคลในเรื่องความสนใจ ค่านิยมความสามารถ เพื่อที่จะนำไปวางแผนพัฒนาให้มีความรู้ ทักษะเพื่องานในอนาคต ส่วนนี้มักเรียกว่า การพัฒนาบุคคล(Development) ซึ่งเป็นกิจกรรมในระยะยาวตั้งแต่การวางสายงานอาชีพ(Career Path) กำหนดว่าใครจะสามารถโยกย้ายหมุนเวียนไปที่ใดได้บ้าง หรือจะเติบโตในองค์การเป็นผู้บริหารที่ใดโดยต้องมีการจัดทำแผนการพัฒนารองรับการเจริญเติบโต หรือโอนย้ายสับเปลี่ยนตำแหน่ง ทั้งนี้หน่วยงานที่รับผิดชอบ คือฝ่ายบุคคลจะต้องดำเนินการโดยอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานหลักเป็นสำคัญ

3.   การบริหารผลการปฏิบัติงาน(Performance Management) เป็นงานที่มุ่งเน้นภาพรวมทั้งองค์การและเกิดผลในระยะสั้น ซึ่งหมายถึง การมุ่งปรับปรุงผลงานขององค์การโดยมีเป้าหมายเพื่อประกันหรือรับรองว่าบุคลากรจะต้องมีความรู้ ทักษะแรงจูงใจ และสภาพแวดล้อมที่ดีในการสนับสนุนให้บุคลากรสร้างผลงานได้อย่างเกิดผลสัมฤทธิ์ โดยมีการวิเคราะห์ความสามารถ (Competency) และการสร้างระบบการวัดผลงาน(Measurement) พร้อมทั้งการปรับปรุงผลการปฏิบัติร่วมกันระหว่างผู้บังคับบัญชาและลูกน้อง โดยในทางปฏิบัติองค์การต่าง ๆจะใช้ระบบ Key Performance Indicators(KPI) ของหน่วยงานและองค์การแต่ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น การที่บุคลากรจะทำงานให้สำเร็จตามKPI จำเป็นต้องมีศักยภาพโดยแสดงออกในรูปของพฤติกรรมในการทำงานซึ่งคือการวิเคราะห์หา Competencyของบุคลากรนั่นเอง

4.   การพัฒนาองค์การ(Organization Development)เป็นงานที่มุ่งเน้นภาพรวมองค์การและเกิดผลในระยะยาวหมายถึง การแก้ไขปัญหาขององค์การซึ่งถือเป็นกิจกรรมที่สำคัญยิ่งเพราะพิจารณาที่ตัวโครงสร้างหลักพร้อมทั้งต้องมีการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาองค์การที่แท้จริงเพื่อนำไปสู่การออกแบบเครื่องมือการพัฒนาต่อไปโดยกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่นการปรับปรุงหรือการวางระบบโครงสร้างองค์การ วัฒนธรรมองค์การที่สำคัญคือการกำหนดกลยุทธ์องค์การ (Strategy) เพื่อกำหนดเป้าหมายไปข้างหน้า(Vision) และสรรหากลยุทธ์ที่ทำให้ถึงเป้าหมายและกิจกรรมย่อยอื่น ๆ คือ การปรับปรุงกระบวนการบริหารงานทำงาน เช่นลดขั้นตอน การเพิ่มผลผลิต เป็นต้น

      ดังนั้น การเรียนรู้และเข้าใจ HRDซึ่งเป็นศาสตร์ที่เกิดขึ้นในช่วงประมาณ 4ทศวรรษ มานี้ เป็นสาขาวิชาที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากเป็นศาสตร์ที่มุ่งเน้นทั้งภาคทฤษฎีและสามารถนำไปใช้ในโลกของการปฏิบัติได้จริงเมื่อเราศึกษาเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างเพียงพอจะสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาความสามารถในการแข่งขันขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพกล่าวคือ ทั้งในระดับบุคคล และภาพรวมองค์การเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้อย่างถูกต้องยั่งยืนขององค์การต่อไป

      จากองค์ประกอบทั้ง 4 ด้านของ HRDพบว่า องค์ประกอบทั้ง 4ไม่สามารถดำเนินการไปพร้อม ๆ กันในช่วงระยะเวลาเดียวกันได้นักพัฒนาบุคลากรจำเป็นจะต้องวางแผนทั้งระยะยาวและระยะสั้นว่าจะเน้นการพัฒนาในเรื่องใดก่อนตามลำดับความสำคัญโดยกำหนดขึ้นมาเป็นกลยุทธ์เพื่อช่วยให้แผนงานด้านการพัฒนาบุคลากรที่ถูกเลือกขึ้นมาประสบความสำเร็จ(วารสารดำรงราชานุภาพ. ฉบับที่ 22 ปีที่ 7: หน้า 53อ้างอิงจาก อาภรณ์ ภู่วิทยพันธุ์)

      การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้การกำหนดกลยุทธ์ด้านHRD เป็นไปอย่างถูกต้องและตรงตามความต้องการของผู้บริหารระดับสูงสุดผู้บริหารของหน่วยงาน           ต่าง ๆ และพนักงาน 

      จะเห็นได้ว่าการศึกษาของไทยมีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคมโดยตรงซึ่งสอดคล้องกับเส้นทางการจัดสรรงบประมาณการศึกษาของประเทศไทยโดยผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเขตพื้นที่การศึกษาซึ่งตรงกับประเด็นของคำถาม คือ จากบริบทของการศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (เป็นการมองมนุษย์ในฐานะทรัพยากร คือ เป็นทุนเป็นปัจจัย ในการที่จะนำมาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม(เป็นการเรียนรู้ระยะสั้น) และ เป็นการพัฒนามนุษย์โดยมองคนในฐานะเป็นมนุษย์มีความหมายว่ามนุษย์มีความเป็นมนุษย์ของเขาเอง ชีวิตมนุษย์นั้นมีจุดมุ่งหมายจุดมุ่งหมายของชีวิตคือ ความสุข อิสรภาพ ความดีงามของชีวิตซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะตัว(เป็นการเรียนรู้ระยะยาว))และสังคมไทยในปัจจุบันเพราะจุดมุ่งหมายและค่านิยมของHRD คือการพัฒนาที่ยั่งยืน ยึดมั่นการพัฒนาที่เน้นคนเป็นศูนย์กลางแบบองค์รวมบนพื้นฐานของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และพันธกิจ คือการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างรอบด้าน มีดุลยภาพสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมคุณธรรมภูมิปัญญาการเรียนรู้และพัฒนาสภาพแวดล้อมทางสังคมเพื่อให้เป็นฐานของการพัฒนาคนและสังคมแล้วในที่สุดผลลัพ

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษากับhrd
หมายเลขบันทึก: 145524เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2007 17:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 พฤษภาคม 2018 00:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท