BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

อริยะ อารยะ


อริยะ อารยะ

สองศัพท์นี้มีใช้ทั่วไปในคำไทย... โดบ อริยะ เป็นคำบาลี ส่วน อารยะ เป็นคำสันสกฤต.... ความแตกต่างกันในการใช้ตามหลักภาษาไทย ผู้เขียนสังเกตว่า อริยะ มักจะใช้เฉพาะที่เกี่ยวกับพระศาสนา เช่น พระอริยเจ้า อริยธรรม .... ส่วน อารยะ มักจะใช้ในความหมายอื่นนอกขอบเขตพระศาสนา เช่น อารยธรรม อารยชน ... ประมาณนี้

ตามคัมภีร์อภิธานบอกว่า คำนี้มีใช้อยู่ี ๓ ความหมาย กล่าวคือ

  • พระอริยบุคลมีพระโสดาบันเป็นต้น
  • อัคคะ คือ ประเสริฐ เจริญ ล้ำเลิศ
  • ผู้เกิดในตระกูลอริยะ ได้แก่ พราหมณ์ กษัตริย์ และแพทย์

......

เมื่อเพ่งตามรูปศัพท์ ก็มีผู้วิเคราะห์ไว้หลายนัย เช่น

อริโต วิย กิเลสโต อิโตติ อริโย ผู้ใดไปแล้วจากกิเลสเพียงดังข้าศึก ดังนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า อริยะ (ผู้ไปแล้วจากกิเลสเพียงดังข้าศึก)

ตามนัยนี้ แยกศัพท์ได้ว่า อริ + ยะ  = อริยะ ...

อริ แปลว่า ข้าศึก (เปรียบเทียบว่าเหมือนกับกิเลส)

ยะ มาจาก ิ รากศัพท์ (แปลง อิ เป็น ยะ) แปลว่า ไป

อธิบายได้ว่า ประเทศเมื่อข้าศึกรุกรานทำให้ไม่สามารถเป็นอยู่ได้อย่างอิสระฉันใด จิตใจเมื่อถูกกิเลสครอบงำก็ย่อมเศร้าหมองฉันนั้น... 

...........

ตามนัยพระพุทธศาสนา ได้แบ่งคนออกเป็น ๒ จำพวก กล่าวคือ อริยสาวก หมายถึงผู้บรรลุธรรม ตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป (ซึ่งสูงกว่านั้นก็ได้แก่ สกทาคา อนาคามี และพระอรหันต์)... และ ปุถุชน คือ คนทั่วไป ที่ยังไม่ได้บรรลุธรรมเบื้องต้น....

อริยะ เมื่อเป็นศัพท์นามทั่วไป ก็แปลว่า ประเสริฐ เจริญ หรือล้ำเลิศ เป็นต้น... ประเด็นนี้ชัดเจนไม่จำเป็นต้องขยายความ

ส่วนตามศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ได้แบ่งกลุ่มคนออกเป็น ๔ วรรณะ กล่าวคือ กษัตริย์ พราหมณ์ แพทย์ และศูตร... โดยสามวรรณะแรกนั้นสามารถศึกษาคัมภีร์และเข้าร่วมพิธีกรรมอื่นๆ ได้ จึงเรียกกันว่า อริยะ .... ส่วน ศูตร ไม่มีสิทธิอย่างเช่นสามวรรณะแรก... จึงอาจกล่าวได้ว่า สามวรรณะแรกเท่านั้นที่จัดเป็นผู้ประเสริฐ ส่วนวรรณะสุดท้ายไม่จัดเป็นผู้ประเสริฐ... ประมาณนี้

 

คำสำคัญ (Tags): #อริยะ#อาริยะ
หมายเลขบันทึก: 133067เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2007 20:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กราบเรียนท่านมหา

แล้วคำว่า อารี กับ อริ มาจากราก ที่เหมือนกันไหมครับ

บางคนเขียนชื่อตัวเองว่า อารีย์ น่าจะแปลว่าอะไรครับ

ขอบพระคุณครับที่ให้ความกระจ่างครับ

P

ดร. แสวง รวยสูงเนิน

อารี ? น่าจะมิใช่คำบาลี-สันสกฤต เพราะไม่เคยเจอ หรือ อารีย์ ? ก็น่าจะมิใช่เช่นเดียวกัน....

หยิบคัมภีร์อภิธานมาูดู เจอคำว่า อาลี แปลว่า ผู้ประดับ หมายถึง ผู้หญิง (ที่เป็นเพื่อนคอยช่วยประดับให้ผู้หญิงที่เป็นเพื่อน) .....

ตามหลักการแปลงพยัญชนะ... ล.ลิง แปลงเป็น ร.เรือ ได้ในบางครั้ง ดังนั้น ศัพท์ว่า อารี อาจมาจาก อาลี ก็ได้ ....

เพิ่งรู้จริงๆ คำนี้ ถ้าอาจารย์ไม่ถามก็คงจะไม่รู้ (แต่ตามคัมภีร์ที่เคยแปลมา รู้สึกว่าจะไม่เคยเจอคำนี้)

อาลี ศัพท์นี้ มาจาก อาละ รากศัพท์ แปลว่า ประดับ

ส่วนรากศัพท์ว่า อระ นั้น มีหลายนัย เช่น แปลว่า ไป,ถึง ...ตัวอย่างก็ ซี่ล้อรถ เรียกว่า อระ หมายถึง เป็นเครื่องนำไปให้ถึงจุดหมาย... ประมาณนั้น

ส่วน อริ ที่แปลว่า ข้าศึก มีมาจากนัยอื่น มิใช่นัยนี้ (ค่อยเปิดคัมภีร์อีก)

คำไทยมากมายที่ออกมาจากวัด แต่ผู้อวดรู้ว่า มิใช่มาจากวัด ... และนัยตรงข้าม คำไทยบางคำมิได้เกิดจากวัด แต่ผู้อวดรู้ก็พยายามลากเข้ามาไว้ในวัด... ประมาณนี้ 

เจริญพร 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท