ตอนที่ 5 หัวเรื่อง วัฏจักรชีวิต (Life Cycle)


มีงานเขียนหลายฉบับได้พยายามศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของเส้นการบริโภคที่สัมพันธ์กับรายได้ตลอดชีวิตของคน
                 ช่วงนี้อากาศที่ Logan, Utah เริ่มจะหนาว ไม่เพียงแต่จะหนาวกาย แต่ยังหนาวไปถึงใจ คิดถึงบ้าน คนที่บ้าน และสิ่งต่างๆ ที่เรารู้สึกว่าเป็นบ้านของเรา พยายามทำใจว่าอีกไม่นานก็ได้กลับไปแล้ว เส้นทางของชีวิตที่เลือกเอง ก็เข้าใจได้ว่าชิวิตก็ต้องมีสุขและทุกข์คละเคล้ากันไปทุกคน  

                ถึงแม้จะเริ่มหัวเรื่องด้วยชื่อที่ดูน่ากลัว เหมือนเป็นวงเวียนชีวิต ขึ้นลง มีเรื่องบุญกรรมเข้ามาเกี่ยว แต่จริงๆ แล้วไม่ได้มีวัตถุประสงค์อย่างนั้นเลยค่ะ ประเด็นของวัฏจักรชีวิต ในความหมายนี้เป็นเรื่องทางเศรษฐศาสตร์ที่ไม่ยากเกินเข้าใจค่ะ ประเด็นที่จะเล่าคือ  มีงานเขียนหลายฉบับได้พยายามศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของเส้นการบริโภคที่สัมพันธ์กับรายได้ตลอดชีวิตของคน ในช่วงชีวิตที่เรายังไม่มีรายได้แต่เรามีการบริโภค แต่เมื่อมีรายได้แล้วจะมีช่วงที่การบริโภคของเราน้อยกว่ารายได้

 

                ในทฤษฏีการบริโภคได้พยายามหาว่าจุดไหนที่เรามีการบริโภคมากที่สุด โดยมีงานเขียนหลายฉบับได้ผลสนับสนุนตรงกันว่า ในช่วงอายุที่คนเรามีการใช้จ่ายในการบริโภคมากที่สุดคือ อายุ 45 (อิงข้อมูลจากประชาการสหรัฐอเมริกา หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา จนถึงปี 2002)  เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับช่วงอายุ 30 พบว่ามีอัตราการใช้จ่ายหรือขนาดในการบริโภคเป็นสัดส่วน 1.1 ต่อ 1 เท่า ของอายุ 45 ต่ออายุ 30

 

                นอกจากนี้ปัจจัยด้านการศึกษายังมีความสัมพันธ์กับปริมาณการบริโภค โดยยิ่งการศึกษาสูงมากจะมีผลให้การใช้จ่ายในการบริโภคมากขึ้นตามไปด้วย รวมถึงพบว่าอัตราส่วนเฉลี่ยของการบริโภคต่อรายได้ เท่ากับ 0.7 ซึ่งหมายความได้ว่า อีก 0.3 ส่วนของรายได้เป็นเงินที่เหลือเก็บออมหรือใช้จ่ายในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการบริโภค............อ้างอิงจากข้อมูลประชากรของสหรัฐอเมริกาเช่นกันค่ะ

                 หากมองย้อนดูบ้านเราแล้วก็คงจะไม่ต่างกันมาก เพราะช่วงชีวิตที่มีการงานมั่นคงและมีรายได้สูงก็น่าจะเป็นช่วง 40-50 ปี แต่จะมีค่าใช้จ่ายในการบริโภคสูงตามไปด้วยหรือเปล่าก็มีความเป็นไปได้ค่ะ แต่เมื่ออายุ 50-70 ปีไปแล้วการใช้จ่ายในการบริโภคมักจะลดลงอย่างแน่นอน อันนี้ฝากไปคิดกันดูค่ะ ว่าจริงหรือเปล่า รวมทั้งสัดส่วนเงินอีก 0.3 เราเอาไปใช้ทำอะไรบ้างแล้วเหลือออมกันเป็นสัดส่วนเท่าไหร่..........................................
คำสำคัญ (Tags): #life cycle
หมายเลขบันทึก: 127268เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2007 06:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 16:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • ตามมาขอบคุณ
  • จะพยายามใช้ให้น้อยตอนช่วงนั้น
  • ว่าแต่ว่า เอ จะได้ใช้หรือ
  • กลัวคนใกล้ๆๆช่วยใช้
  • ขอให้มีความสุขกับการเรียนและชีวิตในต่างแดนนะครับ
  • ขอบคุณครับ
  • สัดส่วนในการบริโภคย่อมส่งผลต่อสัดส่วนในการออมแน่นอน
  • ถ้ารู้จักประมาณในการบริโภคย่อมมีเงินเหลือเพื่อออม
  • และที่สำคัญ
    ต้อง รายได้ - เงินออม = รายจ่าย  คือต้องตัดเป็นเงินออมก่อนจึงค่อยใช้จ่ายในการบริโภค จึงจะมีเงินออมครับ
    แต่ถ้า รายได้ - รายจ่าย = เงินออม  คือใช่จ่ายเสียก่อนเมื่อเหลือแล้วค่อยออม หมดหวังครับ ใช้จ่ายหมดไม่เหลือให้ออมซักที

อ.เออ

มานิ่มๆ แบบเหงาๆ เลยนะ...

อยากที่บอก สุข ทุกข์ อยู่ที่ใจ ใช่ที่ใคร

ช่วงวัยทำงานของฉันตอนนี้เป็นช่วง... สร้างฐานะ และความมั่นคง

ใช้สอยแต่ที่จำเป็น และเก็บออม...สอดคล้องกับงานวิจัยที่อาจารย์ว่า

P คนช่วยใช้นี้เป็นปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้นะคะอาจารย์...อิอิ

เรียน คุณครูทนันP 

ขอแลกเปลี่ยนด้วยคนนะคะ...

รายได้ - เงินออม = รายจ่าย 

หลักการง่ายๆ ของการสร้างความมั่นคง

หนูเคยพยายามหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ เงินออมถูกกันไว้ แต่นำมาใช้ภายหลัง...ล่าสุด จึงตัดสินใจออมด้วยโปรแกรมสะสมทรัพย์ ที่มีการหักบัญชีทันที ก่อนจะได้ใช้กันเลย...หนูว่าน่าจะใช้ได้นะคะ...ใจเรา กิเลส เราบังคับยาก ถึงแม้จะเป็นตัวเรา...ก็คงต้องอาศัยเครื่องมือช่วยกันบ้างคะ

ขอบคุณคะ

---^.^---

  • P เห็นด้วยครับ สำหรับมนุษย์เงินเดือน(อย่างผม) หัก ณ ที่จ่ายเลย
  • ปัจจุบันผมก็ทำเช่นนั้น แต่เป็นเงินตายครับ คือเงิน ชพค. (ช่วยเหลือเพื่อนครู-เมื่อตายถึงจะได้) แต่ก็ถือว่าออมนะ สำหรับลูกเมีย
  • อีกก้อนก็เงินรางวัลทวีสินของ ธกส. ถูกรางวัลบ้างครับ แต่เป็นรางวัลที่ 6 เลข 3 ตัว เกือบทุกเดือน ๆ ละ 200 บาท ฝากเข้าบัญชี ไม่ถอนครับ
  • ช้าไปนะครับสำหรับคนที่มีอายุปาเข้าไปแล้ว 55 ปี แต่อย่างน้อยก็เป็นแบบอย่างให้ลูกครับ

หากใช้เงินซื้อที่ดินไว้อีกแปลงหนึ่งนอกเหนือจากบ้านพักอาศัย ถือว่าออมได้เปล่าครับอาจารย์

  • ขอบคุณ อ. P ค่ะ สำหรับคำอวยพร
  • ขอบคุณ P ที่ช่วยเสริมให้ค่ะ
  • ขอบใจ P ที่ติดตามนะจ๊ะ และช่วยเข้ามาสร้างสีสรรค์ให้ด้วย
  • ตอบคุณอนันตา ทรัพย์สินก็ถือว่าออมได้เหมือนกันค่ะ ถึงแม้สภาพคล่องจะน้อยกว่าเงินสดแต่อาจจะได้ผลตอบแทนคุ้มค่ากว่าค่ะ เพราะฉะนั้นจะออมด้วยวิธีไหนต่างก็ดีทั้งนั้นค่ะ

 

  • เพื่อนสองสาวคู่นี้น่ารักจัง
  • กำลังว่าจะออมไปขอ.....
  • ผลเป็นอย่างไร จะมาบอก
  • อิอิอิๆๆ

อ.ขจิต P

ขอบคุณที่ชื่นชมมิตรภาพของเรานะคะ เรายังมีเยอะแยะแบ่งปันได้ไม่มีหมดคะ...อาจารย์จะรับสักชุดไหมคะ ^.^

ไม่รู้อาจารย์จะออมไปขออะไร แต่ก็ สู้ สู้ นะคะ

หวังว่าจะเป็นข่าวดีแบบสุดๆ ... รอฟังผลนะคะ

...อ.เออ มาช่วยลุ้นอาจารย์ขจิตกันหน่อยเร็ว...

โดยทั่วไปจะเกษียณตอนอายุ 55

รายได้ที่เข้ามาก็จะลดลงเนื่องจากไม่ได้ทำงาน

ก็คงจะเป็นจริงที่ช่วงอายุ 50-70 จะมีการใช้จ่ายในการบริโภคลดน้อยลง

 

"อัตราส่วนเฉลี่ยของการบริโภคต่อรายได้ เท่ากับ 0.7 ซึ่งหมายความได้ว่า อีก 0.3 ส่วนของรายได้เป็นเงินที่เหลือเก็บออมหรือใช้จ่ายในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการบริโภค............อ้างอิงจากข้อมูลประชากรของสหรัฐอเมริกาเช่นกันค่ะ"

0.7 นี้รวมถึงรายจ่ายที่ต้องเก็บไว้ใช้ในช่วงอายุ 55-...หรือเปล่า

ถ้าไม่ใช่ ตัวเลข 0.3+ดอกเบี้ยที่ได้จากการออมหรือลทุน นี้ จะเป็นจำนวนเงินที่ไว้ใช้ยามแก่หรือเปล่าครับ

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท