ไม่ไร้สาระ ตอนที่ 3 หัวเรื่อง มาเล่นเกมส์กัน.....


Game Theory--Nash Equlibrium

     ช่วงวันหยุดยาว 4 วันผ่านมา 2 วันแล้วก็ยังไม่ได้คืบหน้าในเรื่องของการเรียนเลย พยายามหยิบเปเปอร์มาอ่านแต่ไม่รู้ทำไมไม่ค่อยจะมีสมาธิเลย มีปาร์ตี้ทุกวันตามประสาเด็กไทย ที่ดูแปลกๆ ในสายตาของคนทั่วไป (แถวนี้) ทำไมกินข้าวคนเดียวไม่ได้หรือไง....อ้าวก็มีเพื่อนๆ พี่ๆ เอาไว้ทำไมล่ะเนอะ กินข้าวคนเดียวเหงาจะตาย ไม่ชอบเลย จริงไหมค่ะ...นอกจากจะกินข้าวกันแล้วกิจกรรมต่อมาก็คือร้องคาราโอเกะๆ แหมระดับอาจารย์มหาลัยแล้วนะ เห็นไมค์ไม่ได้ตามประสาของประสบการณ์ที่ผ่านมาโชกโชน ในระดับภาควิชา ฯ เข้ามาทำงานใหม่ๆ วันแรกเลี้ยงต้อนรับก็ต้องร้องเพลงซะแล้ว ใครจะทนฟังได้หรือเปล่าไม่รู้ แต่งานไหนงานนั้น ร้องไปหมด ล่าสุดงานเลี้ยงส่งอาจารย์เฟรช ก็อุตส่าทำลืมไปแล้ว พอโดนโทรตามออกไป (อันเนื่องมาจาก Karaoke City มันอยู่หลังบ้านเรานั่นเอง) ตอนค่ำๆ ก็ไหงไม่ยอมกลับสักทีหว่าอยู่จนร้านปิดเลยนะนั่น กลายเป็นน้องเฟรชต้องมาส่งพี่อีกต่างหาก (ขอบใจอีกทีน๊า) พูดเรื่องร้องเพลงก็สนุกสนานตามประสาเพราะดนตรีก็คือสิ่งจรรโลงใจ....

     วันนี้ไม่ได้ตื่นมาตอนกลางดึกแล้ว เย้ๆ แต่นอนไม่หลับต่างหาก ตีสองได้แล้ว หนักกว่าเดิมหรือเปล่าเนี่ย.....ก็เข้าเรื่องไม่ไร้สาระกันสักหน่อย หัวข้อก็คือมาเล่นเกมส์กัน...ดีกว่าค่ะ ไม่เข้าเรื่องอดีตยุคเศรษฐกิจฝืดเคืองแล้วมันเครียด

      หัวข้อนี้ก็ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่แต่อย่างใด นักศึกษาเศรษฐศาสตร์ทุกคนต้องรู้จักกันดี ใครจบไปไม่รู้จักทฤษฏีเกมส์นี่ก็แปลกแล้ว ตอนนี้ตัวเองก็เรียนวิชานี้โดยเฉพาะในวิชา Microeconomics 3 เพราะเป็นเรื่องสำคัญอย่างมากในเศรษฐศาสตร์จุลภาค ทั้งวิชาเรียนแต่เกมส์ในประเด็นต่างๆ เอาล่ะค่ะเรามาเริ่มต้นทำความรู้จักกับ Game Theory

      แต่ก่อนอื่นต้องพาไปดูหนังกันสักเรื่องก่อนค่ะ A Beautiful Mind ถ้าใครเคยดูจะรู้จัก John Nash นักคณิตศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ที่ป่วยด้วยโรคจิตประเภทหนึ่ง  และต่อสู้กับโรคร้ายนั้นมาจนกระทั่งได้รับรางวัลโนเบลในที่สุด ซึ่ง Nash นี่เองก็เป็นที่มาของ Game Theory ที่โด่งดังในปัจจุบัน ให้เข้าใจกันง่ายๆก็คือเกมส์ในทางเศรษฐศาสตร์จะเกิดดุลยภาพอยู่เสมอโดยเราจะเรียกว่า Nash Equlibrium ค่ะ

      เริ่มต้นเกมส์......เกมส์ที่เป็นต้นแบบของการเรียนก็คือ Prisoner Dilemma ค่ะ อ่านแล้วลองคิดตามกันนะค่ะว่าจะทำยังไงกันดี สมมติมีนักโทษ 2 คนที่ตำรวจสงสัยว่ากระทำความผิดร่วมกันถูกจับได้ ทั้งสองถูกแยกห้องเพื่อสอบสวน เพื่อไม่ให้ปรึกษากันได้ โดยตำรวจมีเงื่อนไขการลงโทษดังนี้

     - ถ้าต่างคนต่างสารภาพว่าทำความผิดทั้งหมด ก็จะติดคุกคนละ 5 ปี

     - ถ้าคนหนึ่งสารภาพจะกันไว้เป็นพยาน โดยติดคุก 1 ปี และอีกคนที่ไม่สารภาพจะติดคุก 10 ปีเพราะมีพยานและหลักฐานการเอาผิด

     - ถ้าทั้งสองคนปฏิเสธ ตำรวจก็ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะเอาความผิดขั้นร้ายแรงได้ ก็จะได้รับโทษเพียงคนละ 2 ปี

มาลองคิดกันดูว่าถ้าเราเป็นหนึ่งในนักโทษจะเลือกแบบไหนดี สารภาพ หรือไม่สารภาพ

 

    ทางเลือกของเกมส์

       เลือกสารภาพ - อาจจะติดคุก 1 ปีถ้าอีกคนปฏิเสธ หรือ ติดคุก 5 ปีถ้าทั้งสองสารภาพ

       เลือกปฏิเสธ - อาจจะติดคุก 2 ปีถ้าอีกคนปฏิเสธ หรือ ติดคุก 10 ปี ถ้าอีกคนสารภาพ

ถ้าเขียนแบบนี้ก็คงจะพอเดาได้ใช่ไหมค่ะว่าวิธีการไหนดีกว่า ....

 

   ผลของเกมส์....ก่อนอื่นก็ต้องเดาใจว่าอีกฝ่ายจะเลือกอะไร ถ้าอีกฝ่ายเลือกสารภาพ------> เราก็ต้องเลือกสารภาพ เพราะจะได้ติดคุก 5 ปีจาก 10 ปี

แต่ถ้าอีกฝ่ายเลือกปฏิเสธล่ะ ------> เราก็จะเลือกสารภาพอยู่ดี เพราะยังไงเราก็จะติดคุกเพียงปีเดียว

ถ้าอย่างนั้นผลสรุปก็คือ....ต่างคนต่างติดคุกกันไปคนละ 5 ปี....อ้าวทำไมล่ะ ทั้งๆที่ปฏิเสธทั่งคู่จะติดแค่ 2 ปี นี่ก็เป็นเหตุผลของเกมส์เพราะผู้เล่นในเกมส์ซึ่งก็เปรียบเสมือนคู่แข่งทางเศรษฐกิจต่างก็ไม่รู้ว่าอีกฝ่ายจะตอบโต้กลยุทธ์ของเราด้วยวิธีการใด ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดก็หาจาก ผลประโยชน์ที่มากที่สุดที่จะได้รับจากแต่ละทางเลือก ซึ่งบางทีก็อาจจะไม่ใช่หนทางที่จะได้ผลประโยชน์สูงสุดอย่างที่เราคาดคิด

   ดุลยภาพของ Nash ในที่นี้ก็คือ ทั้งคู่เลือกสารภาพนั่นเอง เป็นผลสรุปของเกมส์ แล้วเกมส์มันเกี่ยวอะไรกับเศรษฐศาสตร์ ถ้ามองลึกๆแล้วผลประโยชน์ของทฤษฏีที่เหมือนจะไม่ยากนี้ ได้เกิดการพัฒนาและประยุกต์ใช้ได้อย่างซับซ้อนกับระบบเศรษฐกิจ การอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นในระบบ เช่น การเกิดการผูกขาด การรวมกลุ่มเพื่อสร้างผลประโยชน์ ที่เราจะเห็นได้ในสงครามการค้าทั่วไป อาทิสงครามน้ำดำ เบียร์ หรือกลุ่มน้ำมัน นั่นเองค่ะ

        ลืมไปอีกอย่าง Game: Battle of Sex ก็เป็นอีกต้นแบบของเกมส์ ที่วิเคราะห์พฤติกรรมของคู่รัก....อันแน่เริ่มสนใจแล้วสิค่ะ แต่มันมาเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ ในแง่ของดุลยภาพของ Nash ที่ไม่ได้เกิดแค่ดุลยภาพเดียวในระบบ ถ้าท่านผู้อ่านสนใจก็ต้องติดตามกันนะค่ะ ความรักไม่ใช่เกมส์ แต่ความรักทำให้เกิดเกมส์ได้ .....

   วันนี้ก็จะจบด้วยข้อคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องความรักกันดีกว่า ตามแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ อะไรก็ตามที่มีจำกัด ทำให้เกิดความขาดแคลน และเมื่อขาดแคลนก็ต้องมาดูกันต่อว่าจะเอามาใช้อย่างไรให้ได้ประโยชน์มากที่สุด เพราะฉะนั้นอะไรที่เกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกก็เป็นปัญหาทางเศรษฐศาสตร์ ในการเลือกก็ต้องมีวิธีคิดทีละขั้นตอนทั้งในระยะสั้นระยะยาว คุณต้องการความสุขในความรักแบบไหน มีคนกล่าวไว้ว่าถ้าต้องการความสุขระยะยาว ก็ต้องศึกษาที่จิตใจและคุณงามความดีของคู่รัก เพราะให้ผลตอบแทนอย่างสมำเสมอและสูงสุดตามหลักเศรษฐศาสตร์ ถ้าคุณเลือกคนแบบระยะสั้นถึงแม้ช่วงแรกคุณจะมีความสุขมาก แต่เมื่อต่อไปในอนาคตผลตอบแทนที่ได้อาจจะลดน้อยถอยลง และเมื่อรวมผลประโยชน์ทั้งหมด ในระยะเวลาชั่วชีวิตของคุณ ผลตอบแทนมันไม่เท่ากันจริงๆ อันนี้ก็สุดแต่จะคิดกัน........ก็เพียงแค่อธิบายตามหลักเศรษฐศาสตร์ง่ายๆเท่านั้นเองค่ะ

คำสำคัญ (Tags): #game theory
หมายเลขบันทึก: 124731เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2007 20:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 20:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับ

P

 เพื่อนน้องพิมพ์

 ตามมาให้กำลังใจครับ - - -และให้กำลังใจในการเขียนบันทึกเล่าเรื่องสนุกๆต่างแดน /เรื่องเรียนด้วยครับ

"คุณต้องการความสุขในความรักแบบไหน มีคนกล่าวไว้ว่าถ้าต้องการความสุขระยะยาว ก็ต้องศึกษาที่จิตใจและคุณงามความดีของคู่รัก เพราะให้ผลตอบแทนอย่างสมำเสมอและสูงสุดตามหลักเศรษฐศาสตร์ ถ้าคุณเลือกคนแบบระยะสั้นถึงแม้ช่วงแรกคุณจะมีความสุขมาก แต่เมื่อต่อไปในอนาคตผลตอบแทนที่ได้อาจจะลดน้อยถอยลง และเมื่อรวมผลประโยชน์ทั้งหมด ในระยะเวลาชั่วชีวิตของคุณ ผลตอบแทนมันไม่เท่ากันจริงๆ อันนี้ก็สุดแต่จะคิดกัน........"

ชอบมากครับ

 

ขอบคุณค่ะ ดีใจมากเลยที่มีคนมาอ่าน ถึงแม้จะเขียนไม่ค่อยจะได้เรื่อง ก็ตาม ส่วนแนวคิดทางเศรษฐศาสตร์เกี่ยวกับความรักนั่น คิดว่าทุกคนคงเผชิญกันอยู่แล้วอยู่ที่ว่าแต่ละคนมีเหตุผลในการเลือกอย่างไร เพียงแค่อยากจะเอามาอธิบายในเชิงเศรษฐศาสตร์บ้างก็เท่านั้น :)

 

"....................................................................................."

 ตู่

  • แวะมาอ่านเล่นเอาตาลายเลยครับ
  • งงๆ ... ครับ เพราะผมไม่มีความรู้เรื่องเศรษฐศาสตร์เลยครับ
  • เป็นอันว่าแวะมาอ่านทักทายก็แล้วกันครับอาจารย์
  • ยินดีที่รู้จักครับ

ขอบคุณครับ

ขอบคุณค่ะ สงสัยว่าจะเขียนมั่วไปหน่อย ทำให้อ่านแล้วตาลายจะปรับปรุงให้อ่านง่ายๆ และเนื้อหาไม่ยุ่งเหยิงมากเกินไปค่ะ ......  :)

เศรษฐศาสตร์...

ศิลปะแห่งการเลือก

คิด ตัดสินใจ ด้วยเหตุ ผล และความพึงพอใจ

ความรัก...

ศิลปะแห่งการเลือก

คิด ตัดสินใจ ด้วยเหตุผล และความพึงพอใจ

---เอาหลักเศรษฐศาสตร์ไปใช้กับหัวใจบ้างก็ดีนะคะ---

---^.^---

ขอบคุณอ้ายเอกที่มาให้กำลังใจเพื่อนน้องพิมพ์

ขอบคุณเพื่อนน้องพิมพ์ที่เล่าเรื่องที่เกือบลืมไป...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท