เทคนิคการเขียน Discussion ในวิทยานิพนธ์


เริ่มจากการสร้างโครง Conceptual framework (skeleton) แล้วกก็เดินเรื่องเข้าหาเนื้อหา สุดท้ายก็เป็นการแต่งหน้า (ผิวหนัง)

  วันนี้ตอนเที่ยง ผมได้คุยกับคุณเม้ง ทาง MSN เรื่องการเขียนDiscussion ในวิทยานิพนธ์ ที่อาจจะเป็นประโยชน์ กับนักศึกษาและบุคคลทั่วไป จึงขอนำบทสนทนา มาแสดงไว้ ณ ที่นี้ โดยผมเริ่มคุยกันดังนี้ 

Sawaeng says (12:29 PM):คุณจะทำอะไรวันนี้ 

 P

Meng (Busy) says (12:29 PM):ลุยงานต่อครับ 

Sawaeng says (12:29 PM):งานไหน วิทยานิพนธ์หนากี่หน้าแล้ว บางคนว่าเป็นรีมเลย  

 Meng (Busy) says (12:30 PM):ร้อยกว่าคับ ต้องตัดออกอีกครับ ยาวมากเสียเวลาคนอ่านครับ 

 Meng (Busy) says (12:30 PM):แต่ผมมีภาพเยอะครับ 

Sawaeng says (12:30 PM):ภาพแสดงความหมายได้มากดีแล้วครับ  

Sawaeng says (12:34 PM):เน้น discussion มากๆ จะเพิ่มคุณค่าของ thesis 

 Meng (Busy) says (12:34 PM):มากๆ เลยครับ 

Sawaeng says (12:36 PM):บางคนไม่ให้ความสำคัญเรื่อง Discussion น่าเสียดาย 

Sawaeng says (12:38 PM):ผมเป็นกรรมการสอบเมื่อไหร่ ผมจะเน้นตรงนี้ ทำให้คนไม่ค่อยชอบ อาจเหนื่อยเกินไปที่ต้องมาคิดวิจารณ์ สู้เสนอผล สรุปปิดประเด็นง่ายกว่า 

 Sawaeng says (12:40 PM):และคนมักแยกการวิจารณ์กับการสรุปไม่ออก  

Meng (Busy) says (12:39 PM):มีอะไรแนะนำเทคนิคในการเขียน Discussion ไหมครับ 

Sawaeng says (12:40 PM):เอาง่ายๆเลยนะให้คุณลืมงานชั่วคราวแล้วไปคิดว่าคนที่พบกระดูกไดโนเสาร์ชิ้นแรก เขาน่าจะคิดถึงอะไรแค่ก้อนหิน หรือ เป็นฟอสซิล นั่นคือขั้นแรก 

Meng (Busy) says (12:44 PM):ครับผม เพราะต้นไม้ ก็เป็นหินได้เช่นกัน 

Sawaeng says (12:44 PM):ขั้นที่ ๒ ถ้าเป็นฟอสสิล ควรจะเป็นสัตว์หรือพืช หรือสัตว์อะไรแสดงว่าขั้นแรก เราต้องวิจารณ์เพื่อหาเหตุสนับสนุนข้อมูลของเราก่อน ใช่ไหมและขั้นที่ ๒ คือการหาที่อยู่ของข้อมูลของเราว่าข้อมูลที่เราได้มันเป็นส่วนไหนของระบบใหญ่ 

Sawaeng says (12:47 PM):ตอนนี้เราต้องวิ่งกลับไปเชื่อมกับ งานที่มีคนทำอยู่แล้วดึง literature เข้ามา 

Sawaeng says (12:48 PM):นี่เป็นการวิจารณ์เชิงวิเคราะห์ 

 Meng (Busy) says (12:48 PM):ครับผม 

Sawaeng says (12:48 PM):ต่อไปก็วิจารณ์เชิงสังเคราะห์เริ่มจากการหาความสัมพันธ์ของข้อมูล ทั้งของเราเอง ของคนอื่น (ที่เราไม่มีหรือไม่ครบ) หรือมีก็ไม่แน่ใจเรียกว่าเตรียมการประกอบร่าง 

Sawaeng says (12:51 PM):ให้นึกตามความคิดของคนที่ค้นพบกระดูกไดโนเสาร์ไว้ตลอดนะครับ 

 Meng (Busy) says (12:51 PM):ครับ 

Sawaeng says (12:52 PM):แล้วก็วิจารณ์เพื่อสร้าง "วิทยานิพนธ์" 

Sawaeng says (12:54 PM):เริ่มจากการสร้างโครง Conceptual framework (skeleton)แล้วกก็เดินเรื่องเข้าหาเนื้อหา (กล้ามเนื้อไดโนเสาร์)สุดท้ายก็เป็นการแต่งหน้า (ผิวหนัง)ก็จะเป็น "วิทยานิพนธ์-ที่แปลว่าการสร้างความรู้" 

 Meng (Busy) says (12:57 PM):ดีมากๆ เลยครับ เห็นภาพชัดครับ 

Sawaeng says (12:57 PM):นี่คือกรอบการเดินทางของการวิจารณ์ที่อาจแยกส่วนในบางขั้นตอน เป็นความรู้ย่อยๆ ก่อนมาประกอบร่างก็ได้ 

Sawaeng says (12:58 PM):ถ้าเขียนอย่างนี้ จะไม่มีคำว่าเขียนไม่ออก มีแต่จะยาวเกินไป 

Sawaeng says (12:59 PM):แกนของการวิจารณ์ต้องว่าไปตามวัตถุประสงค์ อย่าวิ่งตามข้อมูล 

 Meng (Busy) says (1:00 PM):ครับ ดีมากๆ เลยครับ 

Sawaeng says (1:00 PM):แต่ตอนแรกเราต้องวิจารณ์เพื่อทำความสะอาดข้อมูลก่อน ตรงนี้ทีคนเข้าใจผิดมากคิดว่าแค่การทำความสะอาดข้อมูลก็เป็นวิทยานิพนธ์ ผมว่าไม่ใช่แน่นอน 

Sawaeng says (1:02 PM):กลับไปเรื่องไดโนเสาร์ วิทยานิพนธ์ เทียบไปก็คือ รูปปั้นไดโนเสาร์ 

Sawaeng says (1:02 PM):ข้อมูลที่ได้ คือ ฟอสซิลกระดูกที่พบ และทำความสะอาดแล้ว 

Sawaeng says (1:03 PM):การตรวจเอกสารจึงสำคัญที่ทำให้เรามีความรู้พอในหลายขั้นตอนตั้งแต่แยกฟอสซิลออกจากหินทั่วไป (ตามหลักการทาง statistic) 

Sawaeng says (1:06 PM):จนรู้ว่าข้อมูลที่เราได้ มันคืออะไร มันบอกอะไรบ้าง (เช่น เป็นไดโนเสาร์ชนิดไหน)จนในขั้นตอนการประกอบร่าง เราจะต้องใช้หลักวิชาอื่นๆมากมายเข้ามาประกอบกัน 

Sawaeng says (1:07 PM):นี่เป็นการวิจารณ์ทั้งหมด 

 Meng (Busy) says (1:08 PM):ดีมากเลยครับ ผมจะต้องกลับไปดูแนวทางนี้ ด้วยครับ เพื่อจะลองประยุกต์ใช้ดูครับ 

Sawaeng says (1:08 PM):แต่บางครั้งเราอาจมีข้อมูล หรือเวลาไม่พอ เราอาจสร้างไดโนเสาร์ได้แค่ท่อนหัว บางสถาบันก็ถือว่า "ผ่าน" 

Sawaeng says (1:09 PM):แต่ก็มีบางแห่งแค่เอากระดูกที่ยังไม่ทำความสะอาดมาแสดงก็ถือว่าผ่านแล้ว หลายมาตรฐานมาก 

Sawaeng says (1:11 PM):แต่ใจผมคิดว่า ในระดับปริญญาเอกนั้น ควรต้องปั้นไดโนเสาร์ให้ครบตัว ถ้าได้กระดูกมาไม่มาก ก็ต้อง Review มากๆ มันก็มีแนวทางปั้นได้เองแหละ 

 Meng (Busy) says (1:11 PM):ครับ ดีมากครับ 

Sawaeng says (1:12 PM):แต่ถ้ายังอยู่ในระดับนึกภาพไดโนเสาร์ที่ค้นพบไม่ออก ไม่น่าจะให้ผ่าน นี่ใจผมนะ ที่อาจารย์คนอื่นเขามองว่าผมมาตรฐานสูงไป 

 Meng (Busy) says (1:13 PM):จริงๆ ก็ควรอย่างนั้นนะครับ 

Sawaeng says (1:13 PM):พอได้แนวไหมครับ ผมพล่ามมาซะนาน 

 Meng (Busy) says (1:14 PM):ดีครับ มีตัวอย่างเป็นแนวทางที่ดีครับ  

แล้วเราก็แยกกันไปทำงานต่อครับ ลองดูนะครับ ว่าใครเห็นด้วยไม่เห็นด้วยอย่างไร  ขอบคุณครับ 
หมายเลขบันทึก: 123123เขียนเมื่อ 29 สิงหาคม 2007 16:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

ขออภัยครับ กดผิด  อยากเสริมว่า discussion เป็นส่วนที่แสดงว่า เรา review literatures มาดีขนาดไหน เพราะ ต้องเอามา วิเคราะห์ สังเคราะห์ กับผลการศึกษาของเรา เหมือน ไม่เหมือนอย่างไร ต้องมีคำอธิบาย ..

 Discussion ต้องไม่ใช่แค่การบอกผลเหมือนกับ result 

เขียนยากนะครับ กว่าจะเค้นออกมาได้แต่ละประโยค  

ดร. แสวง รวยสูงเนิน...

อ่านมาแล้วนึกสนุก ขอร่วมแจ่มด้วย...

อาตมาจะค้านว่า มิใช่กระดูกไดโนเสาร...

ประการแรกก็ไปเอา รูปปั้นใดโนเสาร์มาทุบก่อน... ทุบแล้วก็แยกชิ้นส่วนออกมา เพื่อหาเศษฟอสซิส รวมทั้งปูนและส่วนประกอบอื่นๆ ออกมาเป็นส่วนๆ....

ส่วนประกอบอื่นๆที่สร้างขึ้นมาเป็นรูปปั้น คือ ปูน ทราย หิน... เป็นต้น จะวิเคราะห์ดูว่าใช้ส่วนผสมอย่างไร และถ้าเป็นไปได้ ก็สืบให้ถึงที่มาของส่วนประกอบเหล่านี้อีกด้วย....

ในส่วนฟอสซิสที่ได้มาจากรูปปั้น ก็จะนำฟอสซิสชนิดอื่นมาเทียบเคียง แล้วก็จัดประเภทฟอสซิสเหล่านั้นอีกครั้ง....

แล้วสรุปว่า รูปปั้นได้โนเสาร์ที่อ้างว่าทำมาจากกระดูกไดโนเสาร์นั้นเป็นอย่างไร...

  • ถ้ามีฟอสซิสของกระดูกไดโนเสาร์เกิน 95% ขึ้นไปก็ยืนยันว่า น่าจะเป็นของจริง
  • ถ้ามีเกิน 50% ก็ยืนยันว่า เป็นเพียงของเลียนแบบ
  • แต่ถ้าต่ำกว่า 50% ลงมา ก็ยืนยันว่า เป็นเพียงของปลอม

ในประเด็นว่าเลียนแบบหรือปลอมได้คล้ายของจริงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับจำนวนฟอสซิสและส่วนประกอบอื่นๆ รวมทั้งฝีมือที่นำมาปั้นเป็นรูป.... ประมาณนี้

เจริญพร  

ผมก็กำลังทำสาระนิพนธ์ก็น้อง ๆ วิทยานิพนธ์กำลังวิเคราะห์ไดโนเสาร์อยู่เหมือนกันครับ
  • บางโรงเรียนก็ผลักภาระด้านมาตรฐานไปให้การดู impact factor ของ jounral ที่นักเรียนส่งไป.
  • จุดประสงค์ เทียบได้กับอะไรใน model ไดโนเสาร์ครับ? 

กราบสวัสดีค่ะ อาจารย์

อ่านแล้วได้ความรู้มาก ได้แนวทาง

ถึงแม้ว่าตอนนี้หนูจะอยู่แค่การ review ก็ตาม

มีสาระ และมีประโยชน์สำหรับหนูและท่านๆอื่นๆ มาก

ขอบพระคุณนะคะ สำหรับสาระดีดีนี้

(หนูชอบแปลงนา ด้านบนของ blog อาจารย์มากๆ เลย ดูสวย สบายตา ในสภาพบ้านนา ชอบมากเลยค่ะ)

ขอบคุณครับสำหรับความคิดเห็น
P
เภสัชกร ธนกร ศิริสมุทร
เมื่อ พ. 29 ส.ค. 2550 @ 16:29
ที่จริงการเขียนมันเป็นทักษะครับ ที่ผมเสนอมาเป็นหลักการ
ขึ้นอยู่ว่าใครจะนำไปปรับอย่างไร
  • ประเด็นสำคัญอยู่ที่การ review ครับ
  • ถ้ามาก มักไม่มีปัญหา
  • นักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ค่อย review
  • แต่ชอบตำข้าวสารกรอกหม้อ
  • ขอให้อ้างเอกสารก็ไปหามาอ้างสักทีหนึ่ง อย่างเสียไม่ได้
  •  แบบนี้คิดไม่ออกแน่นอน

ลองคิดดูนะครับ

  • ทำไมอาจารย์ (ที่ดี) จึงคิดออกมากกว่านักศึกษาบางคน
  • สาเหตุหลักมาจากฐานข้อมูลในสมอง และระบบคิด

นี่คือที่มาของความจำเป็นที่ต้อง review

และยังมีนักศึกษาจำนวนหนึ่ง ไม่รู้แม้ว่าควรจะ review อะไร

 อันนี้หนักครับ

คือยังไม่ทราบว่าตัวเองไม่รู้อะไร

แต่ก็มัอีกจำนวนหนึ่งรวบรวมเอกสารมากองให้อาจารย์อ่านโดยไม่ review

แบบนี้ดูดีแต่ก็ไม่ได้เรื่องเช่นเดียวกัน คือ

เขียนไม่ออกเหมือนกัน

 

ลองคิดใหม่ ทำใหม่ อย่างที่ว่านะครับ

น่าจะได้ผลดีกว่าเดิม

P
BM.chaiwut
เมื่อ พ. 29 ส.ค. 2550 @ 16:53
กราบนมัสการพระคุณเจ้า
ท่านมามองหักมุมทำให้ผมพลิกตำราไมทันเลยครับ
แล้วมาตอบกันกลางดึกนี่แหละครับ
ผมเห็นด้วยครับว่า ถ้ามีกระดูกน้อยจะปลอมมาก
แต่ทีผมสู้อยู่ตอนนี้ ได้กระดูกเชิงกราน กับกะโหลกหัวเขาก็ทำกันแล้ว ไม่รู้มันตัวเดียวกันหรือเปล่า อีกด้วย
เห็นแล้วก็ไม่สบายใจ แต่ก็ทำอะไรไม่ได้มาก ได้แต่บอกว่ามันอาจจะเป็นไดโนเสาร์สองตัวกองรวมกันอยูก็ได้
วันหลังขอแบบนี้อีกนะครับ หักมุมได้สะใจมากครับ
P
นาย สนิท - เกตุแก้ว
เมื่อ พ. 29 ส.ค. 2550 @ 18:52
P
Kawao
เมื่อ พ. 29 ส.ค. 2550 @ 20:00
ด้วยความยินดีครับที่เรื่องนี้เป็นประโยชน์ วันหลังจะต่อยอดอีกครับ

P

เรื่องนี้ บังเอิญท่านมหาชัยวุธมาช่วยตอบแบบตั้งกระทู้ไวแล้วครับ

ก็เป็นการนำรูปปั้นปูนปลาสเตอร์รูปไดโนเสาร์ไปขาย ใครขายได้ก็จบ ขายไม่ได้ก็เจ๊ง

โดยคนที่ซื้อมีสิทธิ์ตอบว่า เชื่อ หรือไม่เชื่อเท่านั้น

ไม่มีโอกาสเห็นกระดูกไดโนเสาร์หรอก

บางทีหนักกว่านั้น คนซื้อเชื่อว่าไดโนเสาร์กับมังกรเป็นสัตว์ตระกูลเดียวกัน คือมีแต่ในนิยาย

อันนี้คนค้นพบก็เจ็บตัวแน่นอน เพราะเขาจะว่าเอาของปลอมไปขาย หัวเราะเป็น โจ๊กกันทั้งเมือง จนกว่าจะรู้ความจริงนั่นแหละ จึงจะสำนึก ที่บางทีก็สายไปเหมือนกัน ครับ

บางคนก็ดูว่า เอาไปขายห้างมีชื่อต่างประเทศได้หรือเปล่า.
ถ้าขายไม่ได้ฉันก็ไม่เชื่อ ต่อให้มันน่าเชื่อแค่ไหนก็ตาม ลอล. :-)

ตอนผมเริ่มเขียนบทความวิชาการแรกๆ นั้น อาจารย์นั่ง edit งานกับผม แล้วก็ค่อยๆ บอกให้แก้ตรงนั้นตรงนี้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันไปเรื่อยๆ เป็นกิจกรรมที่ใช้เวลานาน แต่ได้ประโยชน์มากครับ

อาจารย์จะเน้นเสมอว่าในการจบบทความวิชาการนั้น ต้องตอบให้ได้ว่า ผู้อ่านจะได้อะไร ให้นึกว่าเมื่อผู้อ่านจบแล้วจะมีคำถามประมาณว่า so what?!! ถ้าตอบไม่ได้ ก็ไม่มีประโยชน์ที่จะเขียน

ผมมองว่า discussion ก็น่าจะประมาณนี้นะครับ 

ขอบคุณครับ 

P
คุณแว้บ
เมื่อ พฤ. 30 ส.ค. 2550 @ 23:21
นั่นก็อีกมุมมองหนึ่งครับ
อาจารฐญืเน้นการสังเคราะห แต่ผมว่าต้องทำ ๓ ขั้นครับ
  1. ทำความสะอาดข้อมูล อะไรจริง ไม่จริง ด้วยเหตุใด จะเรียกว่า ภาคนรก ก็ได้ เพราะยากทุกั้นตอน
  2. สาระสำคัญของข้อมูลที่จริงๆ จะเรียกว่า ภาคสวรรค์ก็ได้
  3. การนำข้อมูลมาสร้างความหมาย แบบกลับสู่โลกมนุษย์นะครับ

ขอบคุณครับที่มาเสริมแนวคิดครับ

สวัสดีครับ อาจารย์ ดร.แสวง

ถ้าเราreview literatures มาดีแล้ว discussion ในบทสรุปควรได้องค์ความรู้ใหม่ใช่ไหมครับ แล้วถ้าเป็นองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วละครับ เราจะหาอะไรครับ ตอบคำถามของวัตถุประสงค์หรือครับ ขอความรู้ด้วยครับ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

การ review คือการค้นหาความรู้เก่า

เราต้องมาสรุปว่าเราได้อะไรมาบ้าง

ถ้าเขาสรุปในส่วนของเขา ก็ไม่เกี่ยวกับเรา เพราะ เราต้องสรุปในส่วนที่ตรงกับกับวัตถุประสงค์ของเรา

ว่ามีอะไร

อะไรคือช่องว่าง ที่เราจะเติมให้ดีกว่าเดิม

ถ้าไม่มีช่องว่างก็ก้าวเลยไปหาช่องที่ว่าง แล้วก็กำหนดวัตถุประสงค์ลงไปตรงนั้น

แต่ยังไม่ใช่งานเรา และไม่ใช่วิทยานิพนธ์นะครับ

แค่วิเคราะห์ปัญหาหาเส้นทางการทำงานเท่านั้นเอง

ขอบคุณแล้วในส่วนของการสรุปผลและอภิปายผลแตกต่างกันอย่างไรครับ

ขอบคุณแล้วในส่วนของการสรุปผลและอภิปายผลแตกต่างกันอย่างไรครับ

ที่จริงต้องอภิปรายผลก่อนการสรุปผลครับ

ผมไม่ทราบว่าใครชอบเขียนแบบนี้ กลับทางแปลกดี

ไม่ว่าที่ไหน ทุกงาน ก็ต้องอภิปรายก่อนสรุป

ไม่ใช่สรุปเสร็จแล้ว จนคนเก็บกระเป๋ากลับบ้านแล้วจึงเปิดอภิปราย แปลกเกินเหตุ ไม่มีใครเขาทำ

แต่ที่เขาสื่อ

น่าจะหมายถึง การสรุปผลข้อมูล วิจารณ์ผล และ สรุปที่ได้รับทั้งหมดมากกว่า

ทั้งหมดนี้ อยู่ในข้อสนทนาข้างบนครับ

คือ ๑. การสรุปผลข้อมูล (เท่ากับ ได้กระดูกอะไรมา)

๒. วิจารณ์ผล (เท่ากับ วิเคราะห์ สังเคราะห์ผลที่ได้)

และ ๓. สรุปที่ได้รับทั้งหมด (คิดว่าเป็นไดโนเสาร์พันธุ์ไหน หน้าตาเป็นอย่างไร) มากกว่า

ลองดูนะ อ่านข้างบนให้ชัด จะเข้าใจเองครับ

 

ขอบคุณมากครับอาจารย์ได้แนวทางในการเขียนชัดขึ้นเลยครับ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท