ทำไมชาวบ้านจึงไม่สนใจการเลี้ยงสัตว์


บทบาทของสัตว์ต่างๆ มีกิจกรรมที่ทดแทนเกือบหมด และแหล่งอาหารสัตว์ที่เคยมีก็ลดน้อยลง จนแทบหาไม่ได้ จากการขยายพื้นที่ปลูกพืชทั้ง ฤดูฝน ฤดูแล้ง
 

ในอดีต การเลี้ยงสัตว์ชนิดต่างๆ เช่น วัว ควาย หมู ม้า ไก่ และเป็ด หรือแม้กระทั่งสุนัข ที่เป็นกิจกรรมที่ทำกันแทบทุกครัวเรือน ทั้งด้วยเหตุผลเชิงความพร้อมทางด้านพื้นที่ อาหาร และแรงงาน และยังเลี้ยงด้วยความจำเป็น ในครัวเรือน กล่าวคือ

 
  • วัว เลี้ยงตามหัวนา ในป่า
    • ไว้ลากเกวียน บรรทุกของที่ไม่หนักมาก บางพื้นที่ไว้ใช้ไถนา
    • ถ้าเลี้ยงแบบวัวฝูง ใช้เป็นระบบการสะสมทุน และเงินออม
    • ที่มีผลพลอยได้คือ เนื้อเป็นอาหาร และหนังไว้ทำเชือกหนัง ทำกลอง
  • ควาย เลี้ยงไว้ไถนา ลากล้อ (เกวียนขนาดใหญ่ แกนล้อเป็นเหล็ก)
    • ตามหัวนา ริมน้ำ
    • หนังไว้ทำเชือกหนัง
    • คนทั่วไปไม่นิยมบริโภคเนื้อควาย แม้ในปัจจุบันก็ยังขายเป็นเนื้อวัว
  • หมู เลี้ยงไว้ขายเป็นเงินออม หรือใช้ในงานพิธีกรรมต่างๆ ที่ต้องมีการ ถวายหัวหมู
    • ไว้กินรำข้าวที่ตำ หรือ สีข้าว กินเศษอาหาร
    • บางชุมชนในอดีต หมูที่เลี้ยงปล่อยจะคอยทำความสะอาดสิ่งขับถ่ายของมนุษย์
  • ม้า เลี้ยงไว้ขี่ เมื่อต้องเดินทางไกล
  • ไก่ ไว้เป็นอาหารสำรองในครัวเรือน
    • กินเศษข้าว เศษอาหาร แมลง ไส้เดือน และสัตว์ในชั้นผิวดิน
  • เป็ด ไว้กินไข่ ถ้าเป็นตัวผู้จะเป็นอาหารเมื่อโตเต็มที่
    • จะกินอาหารในพื้นที่น้ำท่วมขัง หรือตามแหล่งน้ำ
  • สุนัข ไว้ล่าสัตว์ เฝ้าบ้าน และเป็นเพื่อน
    • โดยให้กินเศษอาหารเป็นหลัก และสุนัขยังช่วยกำจัดสิ่งขับถ่ายของคนรอบพื้นที่ชุมชน
 ดังนั้น จะเห็นได้ว่า บทบาทของสัตว์ต่างๆ ที่กล่าวมามีกิจกรรมที่ทดแทนเกือบหมด และแหล่งอาหารสัตว์ที่เคยมีก็ลดน้อยลง จนแทบหาไม่ได้ จากการขยายพื้นที่ปลูกพืชทั้ง ฤดูฝน ฤดูแล้ง 

ดังนั้นในปัจจุบัน

 
  • วัว ควาย แทนด้วย รถบรรทุก รถไถ
  • ม้า แทนด้วยรถจักรยาน และมอเตอรไซค์
  • หมู ไก่ ไม่มีอาหารในชุมชน ใครจะเลี้ยงต้องลงทุนมาก
  • เป็ด ไม่ค่อยมีแหล่งน้ำ แม้จะมีก็มักเน้นการเลี้ยงปลา
  • แม้แต่ปุ๋ยอินทรีย์ที่เป็นผลพลอยได้ ก็ถูกทดแทนด้วยปุ๋ยเคมี
  • เงินออม ก็เป็นการลงทุนทางการศึกษาให้ลูก
  • เงินหมุนเวียนก็มาจากการปลูกพืช หรือจากรับจ้าง ที่ทำให้ไม่มีแรงงานเหลือมาดูแลสัตว์ หรือการหาอาหาร หรือเตรียมอาหารให้สัตว์
 

จึงเห็นได้ว่า อุปสรรคที่ชาวบ้านเลี้ยงสัตว์ได้ยากก็มี

 
    1. ขาดแรงงานดูแล ทั้งตัวหลัก และตัวสำรอง
    2. ขาดแหล่งอาหารในท้องถิ่น ต้องพึ่งพาภายนอก
    3. ขาดพื้นที่เลี้ยง ต้องใช้แรงงานมากในกาดูแล และหาอาหาร
    4. ขาดพื้นที่ทำคอกในหมู่บ้านสมัยใหม่ ที่เป็นบ้านชั้นเดียว และหนาแน่น
    5. ปัญหาสาธารณสุขในครัวเรือนชุมชน กลิ่น ของเสีย และน้ำเสีย
 นอกจากการแข่งขันเชิงทางเลือกและแรงงานเลี้ยงแล้ว การปลูกพืชใช้เวลาดูแลน้อย หยุดได้ พักได้ และได้ผลเร็วกว่า 

ในที่สุด เมื่อแม้มีปัจจัยสนับสนุนครบถ้วน ก็จะยังขาด

 
  1. ทุนตั้งต้น
  2. ความรู้ในการดูแล และจัดการด้านต่างๆ
  3. พันธุ์ที่เหมาะสม
 

ปัจจัยเหล่านี้ ทำให้การเลี้ยงสัตว์ต่างๆลดลง

  ดังนั้น การส่งเสริมจึงอาจต้องทำการปรับปรุงด้านต่างๆแบบครบวงจร  รวมทั้งเชิงแผนและนโยบาย อย่างเข้าใจขีดจำกัด จึงจะสามารถพัฒนาอย่างยั่งยืนได้อย่างแท้จริง 
หมายเลขบันทึก: 116363เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2007 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 มิถุนายน 2012 20:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
แพะ นอกจากให้นม และกินเนื้อได้ ยังประโยชน์อย่างอื่นหรือเปล่าครับ? นมแพะน่าจะเยอะกว่านมหมู?

มิติทางวัฒนธรรม

  • สัตว์จำพวกวัวควายยังใช้เป็นมูนมรดกอีกด้วยครับ
  • ทุกวันนี้ชาวบ้านทำเกษตรผสมผสานในไร้นากันมาก จะปล่อยวัวควายแบบเดิม ๆก็ทำได้ยาก
  • ต้องมีแปลหญ้าไว้เลี้ยงด้วย งานนี้หญ้าจะมาแทนข้าว ชาวบ้านก็คิดหนักพอดูครับ

ชอบบทความนี้ค่ะ   เคยคิดตั้งคำถามเหมือนกันแต่ไม่ได้คำตอบที่รอบด้านอย่างอาจารย์  ... เพราะเวลาคิดส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯไงคะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท