จิตอาสาเพื่อผู้ป่วยที่....พุทธชินราช


จิตอาสาเพื่อผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมีเฉพาะในโรงพยาบาล แต่หากทำให้ในชุมชนมีอาสาสมัครที่เป็นผู้รู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยมาก ๆ จะเป็นตัวช่วยสำคัญในระบบการดูแลสุขภาพของคนไทย

...มาออกกำลังกายด้วยกันเถอะ  นั่งก็ได้ไม่ต้องยืนหรอก...ทำเท่าที่ทำได้นะ...อย่าฝืน น้ำเสียงชักชวนห่วงใยของหญิงสูงวัยที่พูดกับผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่มานั่งรออยู่หน้าห้องตรวจภายในศูนย์สุขภาพเมือง พิษณุโลก รพ.พุทธชินราช  ชักชวนให้ยกแขน ขยับขา ด้วยท่วงท่าลีลาตามจังหวะและเสียงเพลงที่ไม่ต้องใช้ดนตรีประกอบเพราะออกจากปากของเหล่าบรรดาอาสาสมัครจิตอาสาเพื่อดูแลผู้สูงอายุในโรงพยาบาลพุทธชินราช พร้อมกับเสียงเพลง สวัสดี สวัสดี วันนี้เรามาพบกัน เธอกับฉัน พบกัน สวัสดี...... เริ่มต้นขึ้น ผู้นำการออกกำลังกายยืดเหยียดวัยเลยเกษียณอายุ 4-5 คน ก็ออกท่าทาง ให้ทำตาม  สร้างสีสัน บรรยากาศที่ช่วยทำให้ใบหน้าอมทุกข์ของผู้ป่วยและญาติที่มารอรับการรักษานั้นคลายลง เมื่อความสนใจมาจับอยู่ที่กิจกรรมของคนวัยเดียวกัน อารมณ์ร่วมจึงเกิดขึ้น   หลายคนขยับเข้ามาร่วมวง  

 

                  การออกกำลังกายยืดเหยียด คือหนึ่งในหลายกิจกรรมที่อาสาสมัครชมรมจิตอาสา ศูนย์สุขภาพเมือง พิษณุโลก คิด ริเริ่มกันเองว่าควรจัดกิจกรรมอะไร วันไหนบ้าง มีทั้งไทเก๊ก ลีลาศ  โยคะ รำวง และอื่น ๆ  ใช้เวลาปฏิบัติการประมาณ 1 ชั่วโมงเศษในช่วงสายของทุกวัน จันทร์-ศุกร์ โดยมีเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลทำหน้าที่พี่เลี้ยงคอยอำนวยความสะดวกด้านสถานที่และกลุ่มผู้มาใช้บริการเท่านั้น

                 กิจกรรมเริ่มตอนสาย ๆ ประมาณ  9.30 น. เมื่อผู้มาใช้บริการผ่านขั้นตอนการตรวจอาการเบื้องต้น   ระหว่างรอพบแพทย์หรือรอรับยา  กลุ่มไม่ใหญ่เพราะคนไข้บางคนขัดเขินไม่กล้าเข้าร่วม แต่คนไข้บางรายที่มาโรงพยาบาลบ่อยจะรู้ว่าแต่ละวันมีกิจกรรมอะไร บางคนจะมานั่งรอ เพื่อออกกำลังกาย  บางคนหมอไม่ได้นัดแต่มาเพื่อออกกำลังกายโดยเฉพาะ  ส่วนเจ้าหน้าที่เป็นเพียงพี่เลี้ยง คอยอำนวยความสะดวกและดูแลว่าคนไข้ที่เข้าไปต้องไม่เป็นอันตราย  สิริพรรณ  ธีระกาญจน์ เจ้าหน้าที่กลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว รพ.พุทธชินราช  กล่าว                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                     <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                สิริพรรณ บอกต่อว่า ผู้สูงอายุที่มาทำอย่างนี้ล้วนเป็นคนมีความรู้ ประสบการณ์ และอยากมาช่วยด้วยใจจริง       มีความตั้งใจจะช่วยเหลือสังคม โดยไม่หวังผลตอบแทน คุณลุง คุณป้า คุณตา คุณยาย อาสาสมัครเหล่านี้ยังคงสนุกและมีความสุขกับการได้ร่วมกันคิด ร่วมกันสรรสร้างกิจกรรมเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ  การเป็นอาสาสมัครเป็นได้ทั้งผู้ให้และผู้รับ เพราะนอกจากจะได้ทำงานช่วยเหลือสังคมแล้วยังได้เพื่อน ได้ความรู้ใหม่ ๆ เป็นการฝึกทั้งกายและใจให้มีความเสียสละ รู้จักให้และแบ่งปัน เป็นน้ำใจที่ไม่หวังอะไรตอบแทน  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">และ…น้ำใจนี่เองคือผลตอบแทนที่มีค่ายิ่งที่ทำให้พวกเขาหัวใจฟูทุกครั้งที่ผู้เข้ามาร่วมกิจกรรมเอ่ยชม ท่าง่ายดี ไม่ยาก ไม่ต้องออกแรงมาก หายเมื่อยเลย หลังไม่ตึงแล้ว….. เหล่านี้เป็นต้น </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal"> </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                การออกกำลังกายใครทำใครได้  คุณยายลุกนั่งได้ก็ลองขยับแข้งขายืดเหยียดตามไปก็ได้  ลองทำดู ทำด้วยกัน ไม่ต้องฝืนนะ ทำเท่าที่ทำได้   พร้อมกับเสียงนับ 123456789….เอ้าเปลี่ยนท่าป้าแสงเดือน  เพชรกระจ่าง แม่บ้านคนเก่งวัย 63 ปี  อาสาสมัครจิตอาสาฯ ผู้นำการออกกำลังกายยืดเหยียดในวันนี้ บอกกับคุณยายวัยกว่า 70 ปีที่ตอนแรกไม่กล้า ยังขัดเขินเพราะสถานที่คือ หน้าห้องตรวจในโรงพยาบาล  แต่สุดท้ายก็ออกมาร่วมวง  เสร็จแล้วก็ทักทายสนิทสนมคุยกันได้สารพัดเรื่อง ป้าแสงเดือนบอกว่าความภูมิใจของผู้ฝึกสอนหรือคนนำออกกำลังกายคือเวลาที่ทำแล้วผู้ป่วยบางคนบอกว่าชอบเพลง ชอบท่า ทำแล้วหายเมื่อยหายปวด  แต่การจะดึงผู้ป่วยหน้าใหม่เข้ามาร่วมทำกิจกรรมก็ต้องอาศัยเทคนิคหลายอย่างซึ่งวิทยากรหรือผู้นำกิจกรรมแต่ละคนก็จะมีวิธีการแตกต่างกันไป  </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">วันนี้ป้าแสงเดือนไม่ได้มาคนเดียวแต่มาพร้อมกับเพื่อนจิตอาสาอีกหลายคนทำกันเป็นกลุ่มมาด้วยกันไปด้วยกัน ช่วยกันพูด ช่วยกันร้องจนหน้าห้องตรวจคึกคัก คนไข้บางคนเมื่อหมอตรวจแล้วเสร็จแล้วก็ยังแวะมาร่วมวงก่อนรับยากลับบ้านเมื่อใกล้เที่ยง</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                ป้าจี๊ด อดีตพยาบาลวัย 70 ปีที่ร่วมทำกิจกรรมกับโรงพยาบาลต่อเนื่องมายาวนานก่อนจะมีคำว่า จิตอาสาในโรงพยาบาล เสียอีก ป้าจี๊ดบอกว่าการมาทำอย่างนี้ทำให้ตัวเองได้ออกกำลังกายและมีความสุขที่ยังสามารถช่วยคนอื่นได้ บ่อยครั้งติดตามโรงพยาบาลไปออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่และเห็นสภาพผู้สูงอายุที่แย่กว่าเรามากทั้งร่างกายและจิตใจก็ได้ช่วยแนะนำตรงนี้</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                เช่นเดียวกับ ป้าสมบัติ  ก้อนดี อายุ 51 ปี เจ้าของร้านขายของชำที่อยู่ไม่ไกลจากโรงพยาบาล ป้าสมบัติอยากใช้เวลาว่าทำประโยชน์เพื่อคนอื่นบ้าง เมื่อรู้ว่ามีใบสมัครหาจิตอาสาไปที่ชมรมผู้สูงอายุจึงไม่รีรอที่จะสมัคร  โดยคุณสมบัติสำคัญคือ ต้องมีเวลาให้และมีสุขภาพแข็งแรงพอที่จะนำคนอื่นได้  ตอนสาย ๆ ป้าก็มาที่โรงพยาบาล มาทำให้ผู้สูงอายุหรือคนไข้ที่มาโรงพยาบาลได้ยิ้ม ได้หัวเราะ ทำให้เขาสบายใจขึ้น เหมือนเวลาที่ตัวเองมาหาหมอก็มานั่งรอเมื่อไหร่หมอจะเรียก เสร็จแล้วตอนเที่ยงก็กลับบ้าน  รู้สึกภูมิใจดี</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                ยายเชิง เกตุนิล อายุ 70 ปี บอกว่าเป็นภูมิแพ้ต้องมาพบหมอบ่อย ๆ ด้วยอาการจุก ๆ เสียด ๆ ในท้อง  เวลานั่งรอพบหมอก็เป็นไปด้วยความไม่สบายใจ คิดมาก พอมีกิจกรรมอย่างนี้ทำให้หายเบื่อ รู้สึกว่าเวลาของเรามีค่า สบายใจมากขึ้น สนุกดี และสังเกตว่าอาการดีขึ้นด้วย ทั้งหมอและพยาบาลที่นี่ก็พูดจาดีและไม่ต้องรอนาน</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                สำหรับที่นี่…กิจกรรมจิตอาสาไม่ได้จำกัดเฉพาะผู้สูงอายุ แต่ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่สามารถมาทำได้ทั้งนั้น ถนัดอะไร ทำอย่างนั้น ในช่วงปิดเทอมจึงเห็นกลุ่มเยาวชน นักเรียนมัธยมมาทำกิจกรรมผ่อนคลายให้กับผู้ป่วยเช่น การเล่นดนตรีให้ฟัง  มาช่วยวัดน้ำหนัก ความดัน ส่วนสูง หรือบางคนก็ไปช่วยแยกขนาดสำลี ผ้าก๊อส เป็นต้น </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">นพ.นิพัธ  กิตติมานนท์ หัวหน้ากลุ่มงานเวชศาสตร์ครอบครัว รพ.พุทธชินราช กล่าวว่า กิจกรรมที่เห็นในโรงพยาบาลเป็นเพียงส่วนหนึ่ง แต่อีกส่วนที่สำคัญไม่แพ้กันคือ จิตอาสาในชุมชน ซึ่งเป็นอาสาสมัครในชุมชนที่ทำหน้าที่คอยดูแลผู้ป่วยโดยเฉพาะโรคเรื้อรังในชุมชนของตน โดย รพ.พุทธชินราชได้จัดการอบรมให้ โดยมีจุดเริ่มมาจากตอนไปตรวจที่อนามัยแล้วพบว่ามีคนไข้เบาหวาน เป็นอัมพฤต อัมพาตเยอะ เมื่อถามความต้องการก็พบว่ามีความต้องการที่จะให้ญาติของเขามาอบรมเพื่อจะได้กลับไปดูแลที่บ้านได้  รพ.พุทธชินราช จึงจัดอบรมการดูแลผู้ป่วยให้กับญาติโดยรุ่นแรกเปิดรับสมัคร 4 ตำบล ตำบลละ 10 คน มาพูดคุยเรื่องอัมพาต เรื่องโรค เรื่องปัญหาทางจิตของผู้ป่วย ญาติ/คนดูแล  มาเรียนรู้โรคและความรู้สึกทางใจด้วยกัน ทั้งทฤษฏีและปฏิบัติ พาไปดูของจริงที่วอร์ดว่าพยาบาลเขาดูแลคนไข้อย่างไร เพื่อให้เขาทำได้จริง  ปรากฏว่าได้ผลดีมากทุกด้านทั้งตัวคนผู้ป่วย และญาติ โดยเมื่อญาติ/คนดูแลเข้าใจโรค รู้วีธีดูแลที่ถูกต้อง ผู้ป่วยก็ได้รับการดูแลที่ดีขึ้น  ขณะเดียวกันตัวคนดูแลก็ไม่รู้สึกโดดเดี่ยวจากการได้พบได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับญาติของผู้ป่วยคนอื่น ๆ  ก็มีความสุขขึ้นไม่ต้องรู้สึก จำใจในการดูแลผู้ป่วย  </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">ต่อมาจึงมีเสียงเรียกร้องให้โรงพยาบาลจัดอบรมให้อีก เลยเกิดการขยายผลไปในตำบลอื่นและเกิดการรวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนของอาสาสมัครในชุมชน  ซึ่งคนที่สมัครเข้ามานั้น เกินครึ่งที่ญาติไม่ได้ป่วย  ทำให้ได้เห็นว่าเรื่องของ น้ำใจ และ จิตอาสา นั้นมีอยู่ในสังคมไทย และรอโอกาสที่จะได้แสดงศักยภาพออกมา โรงพยาบาลเปลี่ยนเป็นการให้เขารวมตัวกันเป็นชมรมจิตอาสาของตำบล มีประธาน มีกรรมการ มีสมาชิก แล้ว รพ.ก็เชิญสมาชิกของแต่ละตำบลมาอบรม เป็นการให้ชุมชนดูแลจัดการชุมชนเอง </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">โดยตกลงกันว่าจิตอาสาในชุมชนในตำบลทำภารกิจ 3 อย่าง คือ  1) การดูแลผู้สูงอายุที่ขาดคนดูแล และผู้ป่วยที่เป็นอัมพฤต อัมพาตในชุมชน  2)  การค้นหา  รักษาและสืบทอด องค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น  เป็นคลังปัญญาท้องถิ่น   3) เรื่องกายอุปกรณ์  โดยหวังให้กรรมการช่วยกันผลักดันท้องถิ่นให้สามารถสร้างศูนย์ฟื้นฟูขึ้นในชุมชน เพื่อให้คนไข้ที่ต้องทำกายภาพบำบัดไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางและเวลาเพื่อเข้าไปรับบริการจากโรงพยาบาล แต่สามารถทำกายภาพบำบัดได้ที่บ้านที่ชุมชนของตัวเองเช่นที่อนามัย  อีกทั้งกายอุปกรณ์เหล่านี้ก็สามารถทำขึ้นเองได้ในท้องถิ่น โดยไม่จำเป็นต้องเป็นอุปกรณ์การแพทย์ราคาแพง  </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">นพ.นิพัธ กล่าวว่า การมีจิตอาสาไม่ได้แปลว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้เหนื่อยน้อยลงแต่บรรยากาศมันดีขึ้น  เพราะว่าคนส่วนใหญ่อยู่ในบรรยากาศที่ดีมีความสุข    ที่นี่ ….อาสา….ไม่เคยหายไปเลย มีกิจกรรมทำกันอย่างต่อเนื่อง มีทั้งผู้หญิงและผู้ชาย  มีผลตอบรับที่ดีมาก เพราะเป็นน้ำใจที่กลับคืนมาเป็นเหมือนเชื้อเพลิงที่ให้ต่อยอดได้เรื่อย ๆ  เมื่อมาทำกิจกรรมในโรงพยาบาลพวกเขาคือทีมเดียวกับบุคลากรทั้งโรงพยาบาล   </p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">สิ่งสำคัญคือการชี้ให้เห็นว่าสิ่งที่ทำเป็นประโยชน์ต่อสังคมหรือคนในชุมชนเอง  ซึ่งไม่รู้ว่าวันหนึ่งจะเป็นตัวเขาหรือเปล่า แต่หากชุมชนคนในชุมชนถูกสร้างให้มีน้ำใจ ในการให้อย่างนี้อยู่ เมื่อใดก็ตามเป็นตัวเขาเขาก็จะได้รับการช่วยเหลือจากคนในสังคม และกำลังใจสำคัญก็มาจากความสำเร็จในการทำงานและจาก น้ำใจที่เขาได้รับตอบแทน    สิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นนี้ต้องขอบคุณผู้บริหารโรงพยาบาลทั้งอดีตและปัจจุบันที่มองการณ์ไกลและสนับสนุนให้ เกิดขึ้นและขับเคลื่อนต่อไป</p>  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">จากการดูงานจิตอาสาศูนย์สุขภาพเมือง พิษณุโลก รพ.พุทธชินราช ทีมงานสื่อสารสาธารณะ แผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ ได้เห็นความพยายามในการสร้างระบบให้คนที่เข้ามารับการรักษาได้รับการดูแลที่ดีขึ้น ได้รับการดูแลโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่เข้าใจมากขึ้น   ทำให้เห็น ประตูโอกาสที่เปิดให้ทุกคนแสดงน้ำใจเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพให้กับผู้ป่วยไม่ว่าจะเป็นการทำในโรงพยาบาลหรือแม้แต่ในชุมชนของคุณเองก็ตาม โดยมีเชื้อเพลิง น้ำใจ เป็นตัวกระตุ้น</p>  ผลตอบแทนสูงสุดของ อาสาสมัครจิตอาสาในโรงพยาบาล คือ รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และคำชื่นชม ที่ผู้ใช้บริการมีให้แก่จิตอาสา มีความหมายและมีค่ายิ่งสำหรับจิตอาสาทุกคน และนี่คืออีกหนึ่งตัวอย่างดี ๆ ของงานจิตอาสาเพื่อผู้ป่วย./// <p> </p>

หมายเลขบันทึก: 112037เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2007 18:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 11:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
ขอบคุณที่ นำเรื่องดี  ๆ ของคนทำงานดี ๆ มาเผยแพร่ครับ ขอให้ความตั้งใจดี กับกิจกรรมดี  ๆ  ก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ นะครับ

ขอบคุณค่ะ  คุณศศิธรเล่าเรื่องได้น่ารักจัง  จะติดตามอ่านนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท