การจัดการทุนมนุษย์..กับการเรียนปริญญาเอกที่สวนสุนันทา


 19 สิงหาคม 2550
มีต่อ
Employees Engagement For Sustainable Growth                 วันนี้อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด ได้กรุณาให้ความรู้เรื่อง Employees Engagement ท่านอาจารย์ให้พวกเราแสดงความคิดเห็นว่า “When talking about Employees Engagement, what does it mean? ซึ่งมีหลากหลายความคิดเห็น อาทิ ดูแล-ใส่ใจพนักงาน, สร้างความสามัคคี, ความผูกพันกับพนักงาน เป็นต้น ท่านอาจารย์เสนอแนะว่า Engagement คือ การผูกใจพนักงานที่ดีให้อยู่ในองค์กร และแนะว่าปัจจุบันนี้ Human Resources ต้องลงมาที่ Line Manager องค์กรต้องสร้างให้เกิดวัฒนธรรมองค์กร เช่น ร้าน Starbucks พนักงานจำชื่อลูกค้าได้ หรือเมื่อลูกค้าสั่งกาแฟแล้วไม่ถูกปากก็จะทำให้ใหม่ตามที่ลูกค้าต้องการทันทีไม่ต้องพูดหลายครั้ง โดยพนักงานทุกคนในองค์กรต้องทำจนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งเป็นชื่อเสียงของร้าน และอีกตัวอย่างหนึ่งคือโรงแรม Oriental Hotel ลูกค้าจะโทรมาผิดคิดว่าเป็นร้าน Oriental Princess แทนที่พนักงานจะบอกว่าไม่ใช่หรือโทรผิดแล้ววางสาย แต่พนักงานบอกเบอร์โทรของ Oriental Princess ให้กับลูกค้ารายนั้นด้วย นี่เป็นตัวอย่างของบริษัทที่ประสบความสำเร็จจากการที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ที่ทำให้ลูกค้าเกิดความไว้วางใจ ซึ่งการสร้าง Relationship กับลูกค้าในลักษณะนี้จะช่วยให้ธุรกิจยั่งยืนและสกัดคู่แข่งขันได้ ฉะนั้นการสร้าง Trust เป็นเสมือนการสร้าง Good Governance โดย Trust  =  C2                                                                                                                          Rคือ 1) Creditability : การมี Competency คือต้องเก่งในงาน มี Leadership (ตรงเวลา, รักษาคำพูด, พูดจาฟังดูดี) ยืนหยัดบนความถูกต้องไม่ใช่ถูกใจ 2) Care : ดูแลใส่ใจ  3) Risk : ความเสี่ยง เช่น จ่ายเงินเดือนดีแต่กลัวถูกไล่ออก                ฉะนั้นเมื่อพนักงานมีความผูกพันแล้วจะมี Royalty ซึ่งทำให้ 1) Stay : มีความปรารถนาที่จะอยู่กับองค์กร 2) Say : พูดถึงองค์กรในแง่ดีตลอดเวลา 3) Strive : พยายามอย่างที่สุดในการทำงาน ทำมากกว่า R&R (Role and Responsibility)                  Engagement Model จะประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1) Think : พนักงานต้องมั่นใจว่า Mission/Vision ขององค์กรนี้ถูกต้อง 2) Feel : พนักงานรู้สึกภูมิใจและผูกพันต่อองค์กร 3) Act : คนเชื่อมั่นในสิ่งต่างๆ ในองค์กร ดังนั้นจึงทำงานทุ่มเทให้องค์กร ดังนั้น กลยุทธ์ (Strategy) จะทำให้องค์กรแตกต่างจากคู่แข่งขัน ซึ่งพนักงานที่ทำกลยุทธ์ก็จะได้รับโบนัสพิเศษมากกว่าคนที่ทำงาน routine                 Types of Performers 1) Rising Star : High Potential, High Work Performance  2) Work Horse : High Potential, Low Work Performance ต้องรักษาเขาไว้ เป็นคนที่ไม่ต้องการโตในองค์กรและไม่มีปัญหาในองค์กรเพราะไม่ยุ่งกับใครแต่ต้องการทำงานให้ เป็นคนที่มีประโยชน์ต่อองค์กรมีความรู้มาก 3) Deadwood : Low Potential, Low Work Performance เป็นคนที่ไม่รับเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่รับสิ่งที่เปลี่ยนแปลง เป็นคนที่อยู่มานานในองค์กรลูกค้าจำได้ ฉะนั้นควรให้โอกาสเขาในการพัฒนาโดยบอกให้เขาทราบให้ระยะเวลา 6 เดือน ถ้าครบกำหนดแล้วไม่มีการพัฒนาก็ไม่ควรให้อยู่ในองค์กรอีก 4) Problem Child : High Potential, Low Work Performance องค์กรต้องรู้ปัญหาที่แท้จริงแล้วแก้ไขปัญหานั้น อาจจะทำโดยการปรับทัศนคติ หรือ Motivate หรือ Input ด้านเครื่องมือ ความรู้ต่างๆ ให้กับเขา วันหน้าเขาจะขึ้นไปเป็น rising star ได้                The Seven Factors of Engagement 1) Culture and Purpose 2) Leadership                      3) Relationships 4) Quality of Life 5) Job Tasks 6) Opportunity และ 7) Total Compensation โดยองค์กรควรเลือกทำเรื่องที่จะทำได้ก่อนปีละ 1-2 เรื่องก็เพียงพอ                ท่านอาจารย์เสนอว่า feedback เป็นทักษะที่ต้องฝึกคือต้องใจกว้าง ถ้าเป็นแง่ลบ ให้ใช้ I message แต่ถ้าเป็นแง่บวก ให้ใช้ You message โดยท่านอาจารย์ได้พูดถึงการวิเคราะห์ Individual Style ของคนไว้ 4 ประเภทคือ 1) Compliance : ประเภทยึดมั่นในหลักการเป็นคนละเอียด พูดในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่แหกกฎ 2) Dominant : ประเภทเน้นเนื้อหา ชอบสั่งการไม่อ้อมค้อม 3) Steadiness : ประเภทไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง สนใจคนอื่นเป็นผู้ฟังที่ดี และ 4) Influence : ประเภทไม่ลงรายละเอียดชอบมองภาพกว้างๆ  ต้องการให้คนมีความสุข ซึ่งการเรียนกับท่านอาจารย์ในวันนี้ทำให้ทราบเรื่อง Engagement ได้อย่างลึกซื้ง
นายปลื้มใจ สินอากร
Human Capital Managementบรรยายโดย อาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด (7 กรกฎาคม 50)เรื่อง Employees Engagement for Sustainable Growth อาจารย์ได้แนะนำตัวเอง และบรรยาย          Seven Factors of Engagement ซึ่งประกอบด้วย 1.     Culture and Purpose : Sense of purpose organizational values2.     Leadership : Credibility, Trust3.     Relationships : Coworkers, Managers, customers4.     Quality of life : Physical environment, work/life circumstance5.     Job tasks : Impact, Challenge / Interest, Status / pride6.     Opportunity : Growth, Development, Advancement7.     Total Compensation : Fair, Meaningful, Competitiveได้มีการบรรยายเกี่ยวกับเรื่อง Leadership ในส่วนของ Credibility และ Trust ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในการบริหาร, ภาวะผู้นำ และมีการเล่นเกมส์

เรียน อ.ดร.จีระ

การบรรยายโดย อ. พจนารถ ซีบังเกิด วันที่ 7 กรกฎาคม 2550

               เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงผ่าน ไปอย่างรวดเร็วด้วยการบรรยายที่ได้บทเรียนโดยตรงจากการทำกิจกรรมถึง 3 กิจกรรม  บรรยากาศการเรียนดีมาก Concentrate but not serious              อ.พจนารถ อธิบายและยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมมาก ทำให้เข้าใจเมื่อเข้าใจก็เกิด การเรียนรู้ การจดจำ และประมวลเป็นองค์ความรู้ได้ในที่สุด                           การเรียนวันนี้ทำให้คิดว่าการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในเรื่องทุนมนุษย์เป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถ ซึ่งไม่เคยมีความคิดเช่นนี้มาก่อน  มีความเข้าใจในเรื่องการผูกใจพนักงานที่ดีให้อยู่ในองค์กร โดยมี People strategy ที่จะทำอย่างไรก็ได้ให้พนักงานอยากทำงาน       

             สิ่งสำคัญคือเรื่องของ Trust  ซึ่งจะต้องมีในองค์กร แต่เนื่องจากลักษณะ และพฤติกรรมของคนแตกต่างกัน การ Feed back กับพนักงานอย่างไรไม่ให้เกิดผลทางด้านลบ หรือถ้าจะเกิดก็ให้เกิดน้อยที่สุด และสุดท้าย อ.พจนารถ อธิบายได้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับปัจจัย 7 อย่างที่จะผูกใจพนักงานที่ดีให้อยู่ในองค์กร

                                                                   อรพินท์ มณีรัตน์

 
ปัจจัย 7 อย่างที่จะผูกใจพนักงานที่ดีให้อยู่ในองค์กร ได้แก่ Total compensation ,Culture and Purpose ,Leadership ,Relationships ,Opportunity ,Job Tasks and Quality of Life
การบ้านครั้งที่ 4 / นาย พนม ปีย์เจริญเรียนเสาร์ที่ 7 ก.ค. 2550โดย อาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด  President of Human Capital Club ( Thailand )

บรรยายเรื่อง   Employees  Engagement for Sustainable Growth

  การได้เรียนกับ อาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด   ทำให้ได้แนวคิดที่ดีในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทั้งในระดับองค์กร ขนาดเล็ก ขนาดกลาง ขนาดใหญ่ และองค์กรในระดับประเทศ  การพัฒนาคนให้ทันสมัยสอดคล้องกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาเป็นเรื่องจำเป็นของทุกองค์กร เพราะคนเป็นสินทรัพย์ (Asset) ที่มีคุณค่าที่สุดขององค์กร  เพราะฉะนั้นผู้นำขององค์กรต่างๆจึงต้องให้ความสำคัญที่จะต้องพัฒนาคนในองค์กรให้เป็นสินทรัพย์ที่มีคุณภาพ

ดังนั้นสิ่งที่เราต้องเรียนรู้  2  เรื่องที่สำคัญ คือ

  

   1. Leadership และ

   2. Employee Management

 

   จากนั้นอาจารย์ได้ให้นักศึกษาให้ความหมายของคำว่า   Engagement ” ว่านักศึกษามีความเข้าใจหรือให้ความหมายกับคำนี้ว่าอย่างไร?  

   ซึ่งก็ได้ความหมายว่า เราจะผูกใจพนักงานของเราอย่างไรให้เขาอยู่ ( หมายถึง พนักงานดี มีคุณภาพ )   โดยผลักดันให้เขาได้แสดงศักยภาพทั้ง 3 ด้านของเขาออกมา เพื่อสร้างคุณประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่องค์กร

   1. Stay    = พนักงานทำงานและอยู่กับองค์กรด้วยความรู้สึกที่ดีมีความจงรักภักดีต่อองค์กร   2. Say     = พนักงานภาคภูมิใจในองค์กร เมื่อพนักงานรักและภูมิใจในองค์กรก็จะพูดถึงองค์กรแต่ในสิ่งที่ดี ด้วยความภาคภูมิใจ

   3. Strive  = พนักงานทุ่มเทกำลังใจ กำลังกาย กำลังสมอง ให้กับองค์กรอย่างเต็มความสามารถ เต็มที่และเต็มใจ

 

   ซึ่งอาจารย์ได้ยกตัวอย่างที่น่าสนใจของกาแฟ สตาร์บัคส์ , พนักงานรับโทรศัพท์ของโรงแรมโอเรียลเต็ลและอื่นๆ ให้เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจนว่า

   ถ้าเราสร้าง Competencies ให้กับพนักงานจนกลายเป็นวัฒนธรรมขององค์กรที่ดีแล้ว  ภาพลักษณ์ที่ดีทั้งหลายจะช่วยทำให้ธุรกิจมีความยั่งยืนยาวนาน

   จากนั้นได้กล่าวถึง Trust = C ยกกำลัง 2 ส่วน R อันหมายถึง  

    1.  Creditability ที่เขามี

    2.  Care   = ความรู้สึกที่ดีที่เขามีต่อเรา เป็นการแสดงให้เห็นว่าเขายังมีเครดิตเราอยู่

    3.  Risk    = ทำให้ความเสี่ยงลดลงเพื่อให้ได้เครดิตที่ดี

   เพราะฉะนั้นการสร้าง Trust ก็เท่ากับเป็นการสร้าง Good governance  ซึ่งก็คือการสร้าง Brand

 

  

Engagement Model

 เป็นการกล่าวถึงความเกี่ยวพันกันของวงกลม 3 วง คือ

  

    1. Think = Cognitive Commitment (Think)     Occurs when employees agree with organizational    Directions and values and decide to support them ( buy - in )

  พนักงานมีความเชื่อในทิศทางขององค์กร ว่าองค์กรนี้มีคุณค่า เป็นองค์กรที่มีอนาคต น่าทำงาน น่าอยู่ด้วย เพราะเมื่ออยู่ด้วยแล้วรู้สึกได้ว่าทำงานมีความสุข

  

   2. Feel  =  Affective ( Feel )

    Employee feel a sense of belonging , pride and attachment

เป็นความรู้สึกเหมือนหนึ่งพนักงานมีความเป็นเจ้าขององค์กร มีความรัก มีความภูมิใจในองค์กร ตั้งแต่เมื่อทำงานอยู่ และรู้สึกอย่างนี้แม้จะเกษียนออกไปนานแล้วก็ตาม

 

   3. Act  =  Behavioral (Act)    Employee willingness   to act in way that are consistent with their belief  and feeling   Stay – Say – Strive

   พนักงานมีความรู้สึก เชื่อมั่นในองค์กร จึงมีความมุ่งมั่นในการทำงาน จนมีผลให้พนักงานแสดงออกทั้ง 3 ด้าน คือ Stay, Say, และ Strive

 

    อาจารย์ได้พูดถึง  Jack Welch ที่ได้กล่าวถึงคนในองค์กรว่ามีด้วยกันอยู่ 4 ประเภท

    1. Rising Star

   เป็นคนเก่ง มีความสามารถ , สามารถพัฒนาให้เติบโตได้ เป็นที่ชื่นชอบขององค์กรทั้งหลาย ในขณะเดียวกัน ก็เป็นที่จับจ้องหมายปองของคู่แข่งด้วย เพราะคู่แข่งก็อยากได้

   2. Work Horse

   มี Performance ในการทำงานสูงแต่พัฒนาให้เติบโตไม่ได้ คนกลุ่มนี้ต้องดูแลรักษาไว้ให้ดี เช่น ต้องจ่ายค่าตอบแทนให้สอดคล้องกับตลาดจ่าย มิฉะนั้นเขาจะไม่อยู่กับเรา

   3. Dead wood

   เป็นบุคคลหรือกลุ่มคนที่มีประสิทธิภาพงานต่ำ และไม่สามารถพัฒนาหรือยากจะพัฒนาได้เพราะดูแย่ไปทุกเรื่อง

 

     4. Problem Child    จะมีลักษณะ Performance ต่ำ แต่มี Potential สูง   เข้าลักษณะเก่งและสามารถแต่ไม่ทำงาน  ต้องศึกษาเขาว่าอะไรทำให้เขาไม่ยอมทำงานให้ดีทั้งที่มีความสามารถสูง  ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเขาเก่งจริง แต่ยังใหม่อยู่เพราะเพิ่งเข้ามาทำงาน   หรือมีอะไรที่เขาเข้าใจผิด จนไม่ยอมทำงาน   เมื่อพบเจอปัญหาต้องรีบแก้ไข เพื่อให้เขาทำงาน

   แต่สิ่งที่ระมัดระวังอย่างยิ่งคือ   ต้องพยายามปรับปรุงแก้ไขพัฒนาคนเหล่านี้  ให้ดีที่สุดเท่าที่ความสามารถพึงจะมี เพราะถ้าหากปล่อยเขาไปแล้ว เขาไปอยู่ในองค์กรอื่นโดยเฉพาะคู่แข่งของเราแล้วเขากลายเป็นคนประเภทที่ 1 หรือ 2 ในองค์กรคู่แข่ง เราจะ

 

   อาจารย์ได้กล่าวถึงลักษณะของคน 4 ประเภท ซึ่งเป็น Individual Style

   1.   C  = Compliance   พวกนี้เป็นพวกที่อยู่ในกฎเกณฑ์ ทำตามระเบียบ เน้นความละเอียดถูกต้อง

 

   2.   D  = Dominant     พวกนี้ไม่ชอบอ้อมค้อม เอาเนื้อๆ เน้นๆ ตรงไปตรงมา และดูไม่ค่อยจะเกรงใจใครชอบสั่งการมากกว่าการฟังอะไรยาวๆ

 

   3.   S  = Steadiness    พวกนี้มีความซื่อสัตย์เป็นหลัก เป็นผู้ฟังที่ดี ไม่ค่อยพูดอะไรมาก กลัวคนอื่นจะเสียใจ คนแถบเอเชียมักจะอยู่ในกลุ่ม

 

   4.   I  = Influence      พวกนี้คิดถึงและ care ความรู้สึกของผู้อื่นไม่อยากให้คนอื่นเสียใจ

   มนุษย์เรา  ในหนึ่งคนอาจเป็นได้ทั้ง 3 อย่างแต่ไม่สามารถเป็นได้ทั้ง 4 อย่าง  นอกจากได้เรียนรู้สิ่งต่างๆเหล่านี้แล้ว  อาจารย์ยังได้ให้นักศึกษา ทำกิจกรรมด้วยการเล่นเกมเพื่อการเรียนรู้ทำให้พวกเราได้ลดอายุไปมากโขอยู่   และยังเป็นการเรียนรู้ด้วยความสนุกสนาน   นอกจากนั้น อาจารย์ยังได้เปิดโอกาสให้เราได้ซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างกว้างขวางอีกด้วย

    ต้องขอขอบพระคุณ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่สรรหาวิทยากรคุณภาพมาให้ความรู้พวกเรา

 

นายพนม ปีย์เจริญ /

 Mr. Panom Peecharoen /

11.07.2007
 
 
 
   

 

  
 
         
นางสาวนพมาศ ช่วยนุกูล
เรียน  อาจารย์จีระ  เรื่อง  ขอส่งการบ้านครั้งที่ 4  PHD 8202 การจัดการทุนมนุษย์  รภ.สวนสุนันทา / (นพมาศ  ช่วยนุกูล) ได้อะไรจากการเรียน “ Employees Engagement for Sustainable Growth”  เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2550 (Ref : อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด) ?         1. การจ้างงานไม่ว่าในองค์กรใด ทั้งภาครัฐและเอกชน แม้จะมีกฎเกณฑ์ดีเลิศเหมาะสมเพียงใดก็ตาม แต่ในสภาพความเป็นจริงในยุคของการแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ องค์กรคงไม่สามารถที่จะค้นหาคนที่ตรงตาม spec ที่วางไว้ได้ 100%  หรืออาจกล่าวได้ว่าองค์กรไม่สามารถเลือกได้ทุกอย่าง แต่องค์กรสามารถบริหารจัดการได้ โดยใช้ Engagement Model ( Think  Feel  Act) เพื่อสร้างให้คนเข้าใจในองค์กร (ทิศทาง เป้าหมาย คุณค่า ) และเกิดความรู้สึกยอมรับว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร ซึ่งจะส่งผลต่อพฤติกรรมที่เราสามารถสังเกตได้ จะเห็นได้ว่า Think  Feel  Act เป็นสิ่งที่คนให้กับองค์กร ในขณะเดียวกันองค์กรก็ต้องให้อะไรกับคนด้วยเช่นกัน บางท่านอาจเรียกว่า ค่าตอบแทนที่เหมาะสม (โดยพิจารณากำหนดจากเกณฑ์ขององค์กร + Type of Performance ) อันเนื่องจากคนต้องอาศัยองค์กรและองค์กรต้องอาศัยคน  กล่าวคือกลุ่มคนที่เป็น work horse : จ่ายค่าตอบแทนเท่าราคาตลาด  กลุ่มคน rising star : ต้องดูแลและให้ค่าตอบแทนสูงกว่าราคาตลาดเพราะคู่แข่งก็ต้องการคนกลุ่มนี้   กลุ่มคน  problem child : ก็ต้องดูสาเหตุค้นหาให้เจอว่าเขามีปัญหาอย่างไรเพื่อพัฒนาเขาได้ถูกจุด   และกลุ่ม dead wood : ก็ต้องบอกข้อเท็จจริงว่าเขาต้องพัฒนาตัวเองอย่างไร    อย่างไรก็ตามดิฉันเห็นว่า ในองค์กรภาครัฐอาจไม่สามารถจ่ายค่าตอบแทนแบบสูง/ ต่ำกว่าราคาตลาดได้  เนื่องจากมีบัญชีเงินเดือนกำหนด แต่อาจมีช่องทางสร้างความแตกต่างได้บ้าง เช่นการพิจารณาความดีความชอบ (ให้ได้ ครึ่งขั้น 1 ขั้น หรือ 2 ขั้น) แต่ก็ยังมีข้อจำกัดในเชิงปริมาณอยู่ดี  และส่งผลให้ไม่สามารถให้ผลตอบแทนแก่คนดี คนเก่ง ได้ทั้งหมด  ซึ่งระบบตอบแทนที่ไม่สะท้อนความจริงนี้ทำให้เกิดภาวะสมองไหลออกจากวงราชการ  โดยภาครัฐองก็พยายามปรับเปลี่ยนและหามาตรการต่าง ๆ เข้ามาเสริม อาทิ การจัดสรเงินรางวัล หรือการเลื่อนระดับตำแหน่งโดยมีกลุ่ม fast track เพิ่มเข้ามา  จนปัจจุบัน ที่ ครม. ที่เห็นชอบในหลักการให้มีการยกเลิกระบบซี ทั้งนี้ก็เพื่อต้องการให้การจ่ายค่าตอบแทนเกิดความสอดคล้องกับความจริงให้มากที่สุด        2. ดิฉัน เห็นว่าการดำเนินการในข้อ 1 ที่กล่าวข้างต้น  ทำให้เกิด stay  say strive  คือคนเกิดความพึงพอใจที่จะอยู่กับองค์กร พร้อมที่จะทำงาน ต่อสู้ ผ่าฟัน เพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย  และเมื่อคนยังอยู่กับองค์กรก็แปลว่า knowledge ก็ยังอยู่กับองค์กร ด้วยเช่นกัน        3. เมื่อเกิด Trust ในองค์กร ก็จะก่อให้เกิดการสื่อสาร เกิดพฤติกรรมองค์กรที่พึงปรารถนา ส่งผลต่อ Productivity และ Quality ขององค์กร และจะเกิดการเชื่อมโยงให้เกิด Trust ภายนอกองค์กร คือในระดับลูกค้าขององค์กรที่จะได้รับบริการที่พึงพอใจ ตามลำดับ          โดยสรุป ดิฉันเห็นว่า การ Engagement จริง ๆ ก็คือการสร้าง Trust เพื่อมุ่งหวังให้เกิด Quality ในองค์กร  เพื่อให้ คน/ องค์กร บรรลุเป้าหมายบนความสมดุลแห่งความพึงพอใจร่วมกันระหว่างคนและองค์กร   
นายสิทธิชัย ธรรมเสน่ห์

เรียน ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์             (Homework4)

          จากการศึกษาเรื่อง Employees Engagement for Sustainable Growth โดยท่านอาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด เมื่อวันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม 2550 สรุปได้ดังนี้

          Personal กับ HR มีความหมายแตกต่างกัน,การสร้าง Good Governance อาทิเช่นโรงแรมโอเรียลเต็ล เน้นให้พนักงานยึดคติที่ว่า "เมื่อลูกค้าเข้าไปในโรงแรมโอเรียลเต็ล จะไม่พบกับความผิดหวังออกมา" การสร้าง Relationship จะช่วยให้ธุรกิจยั่งยืน ดังนั้น HR ในทุกวันนี้ จะต้องให้ความสำคัญที่ Line Manager ซึ่งต้องตระหนักเสมอว่าพนักงานแต่ละคนมีความเก่งอยู่ในตัวเอง ต้องหาวิธีให้เขาแสดงความเก่งออกมาให้ได้ (บางคนความเก่งหลบใน) นั่นคือ Employees Engagement การสร้างความรักความผูกพัน การผูกใจพนักงานที่ดีให้อยู่ในองค์กรจากสมการ C2/ R,C2 ได้แก่

  1. Creditability = Leadership ต้องมีความสามารถ,มีความซื่อสัตย์(อาทิ ตรงเวลา,รักษาคำพูด)
  2. Care = การดูแลเอาใจใส่  

ส่วน R = Risk = ความเสี่ยง,ถ้า Risk ต่ำจะทำให้ Trust สูง   ในทางตรงกันข้ามถ้า Risk สูง จะทำให้ Trust ต่ำ ซึ่งการมี Trust เป็นคุณสมบัติที่ทุกอาชีพพึงมี

  • Engagement (ความผูกพัน) ได้แก่
  1. STAY การดำรงอยู่ในองค์กร
  2. SAY การพูดถึงองค์กรในแง่ดี
  3. STRIVE การทำงานให้องค์กรอย่างดีที่สุด
  • Engagement  Model (โครงสร้างความผูกพัน) ประกอบด้วย
  1. Think มั่นใจในองค์กร
  2. Feel สำนึกรักองค์กร
  3. Act ทำทุกอย่างเพื่อองค์กร

          ...ดังนั้นเมื่อพนักงานคนใดแสดงออกถึงความผูกพันตาม Engagement  Model แล้ว ผู้บริหารองค์กรควรจะพิจารณาในด้านการสร้างขวัญกำลังใจ เช่น การให้โบนัสหรืออื่นๆ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งกลยุทธ์ในการรักษาคนที่ดีไว้ในองค์กร เพราะกลยุทธ์คือสิ่งที่ทำให้องค์กรมีความแตกต่างจากคู่แข่งขัน และโดดเด่นเหนือคู่แข่งขันได้

  • Types of Performers จำแนกคนในองค์กรเพื่อพิจารณาศักยภาพ Potential กับ Performance อาจจำแนกได้ 4 ประเภทคือ
  1. Rising Star มีความพร้อมในทุกด้าน องค์กรควรธำรงไว้ ระวังถูกซื้อตัว
  2. Work House มีความรู้ทุกเรื่อง แต่ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ มักทำแต่งานประจำ เป็นกลุ่มคนที่อยู่มานาน องค์กรควรเสริม เรื่องขวัญกำลังใจ
  3. Deadwood ไม่ค่อยมีความรู้และไม่มีความคิดสร้างสรรค์ องค์กรควรให้โอกาส ให้เข้าพัฒนาตนเอง และให้วิธีการกระตุ้นความคิดและความสามารถเขา
  4. Problem Child เป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์ เป็นคนเก่ง แต่อาจขาดประสบการณ์ องค์กรควรสนับสนุน โดยการเสริมสร้างประสบการณ์ และเขามีโอกาสที่จะเป็น RS ได้ในอนาคต
  • The Seven Factors of Engagement (ปัจจัย 7 ประการในการสร้างความผูกพัน)
  1. Culture and Purpose มีวัฒนธรรมและเป้าหมายอย่างเดียวกัน
  2. Leadership มีผู้นำที่ดีน่าเชื่อถือ ศรัทธา
  3. Relationships ความสัมพันธ์อันดีระหว่างหัวหน้าเพื่อนร่วมงานและลูกค้า
  4. Quality of Life การมีคุณภาพชีวิตที่ดี
  5. Job Tasks มีงานที่ตรงกับความต้องการ
  6. Opportunity มีโอกาสก้าวหน้าและพัฒนางาน
  7. Total Compensation มีค่าตอบแทนที่คุ้มค่า
  • Factors that Affect Performance (ปัจจัยที่ทำให้ประสบผลสำเร็จ)
  1. ABILITY ความรอบรู้ ความชำนาญและความมีประสบการณ์
  2. DRIVE ความมุ่งมั่นให้ถึงจุดหมาย
  • การวิเคราะห์ Individual Style (ลักษณะเฉพาะของคน) 4 ประเภท
  1. C = Compliance ยึดมั่นในหลักการ ใส่ใจทุกเรื่อง
  2. D = Dominant มองภาพกว้าง เน้นผลของงาน ตัดสินใจเร็ว
  3. S = Steadiness ยึดติดอดีต ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง มีความซื่อสัตย์
  4. I = Influence สนใจคนรอบข้าง มองโลกแง่บวก
  • จากการศึกษาในวันนี้ จะเป็นประโยชน์ในการประยุกต์ใช้กับการทำงานด้านการบริหารคน การสร้างความผูกพันให้เกิดกับองค์กร และการวิเคราะห์คน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร

                                                      ขอบคุณครับ

                                                 สิทธิชัย  ธรรมเสน่ห์

การผูกใจพนักงานที่มีให้อยู่ด้วยกันอย่างยาวนาน 

กับอาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิดวันที่ 7 กรกฎาคม 2550            ประเภทของคนในแต่ละองค์กรมีทั้งคนในองค์กรปรารถนาจะให้อยู่ร่วมงาน  แต่ไม่ปรารถนาจะให้อยู่ร่วมงานในองค์กร  เป็นคนเหลือเลือก  แต่ก็ไม่สามารถเอาออกได้            การพัฒนาคนในองค์กรจึงควรใช้เวลาส่วนมากที่จะพัฒนาคนที่ปรารถนาให้ทำงานในองค์กรมากกว่าจะพัฒนาคนที่เป็นปัญหาขององค์กร  โดยหวังว่าน้ำดีจะล้างน้ำเสียได้ แต่ก็ไม่ได้ทิ้งคนเป็นปัญหาขององค์กรแต่เลือกในสิ่งที่เป็นจุดแข็งของเขามาใช้            การพัฒนาทีมงานในองค์กร  ที่สำคัญต้องสร้างคุณค่านิยมองค์กร  มีเป้าหมายร่วมกัน ฝึกค่านิยม  ความดี  ความมีคุณธรรม  จริยธรรม  ความใฝ่ดี  เป็นฐานให้แข็งแรง  เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันสภาวะแวดล้อมภายนอก            การพัฒนาทรัพยากรขององค์กรต้องเข้าใจประเภทของคนแล้วพัฒนาให้ตรงกับพฤติกรรม  พฤติกรรมเปลี่ยนได้ถ้ามีการเรียนรู้            คนบางคนทำงานได้ดี  เมื่อมีความชัดเจน มีที่มาที่ไป  มีคำอธิบายให้ชัดว่าทำแล้วจะได้อะไร            คนบางคนมีอิสรภาพทางความคิด  มองโลกในแง่บวก ไม่ต้องการรายละเอียด  มั่นใจตนเองจึงทำได้ทำสำเร็จ            คนบางคนแน้นที่ผลลัพธ์ไม่ต้องพูดมากเน้นเนื้อ ๆ             คนบางคนเป็นคนละเอียด  มีกฎมีระเบียบ  มีทฤษฎี มีงานวิจัยรองรับ            การจะรักษาคนเก่ง คนดี ให้ทำเก่งทำดีต่อไปในองค์กร  รักษาเขาไว้  องค์กรต้องสร้างใจเขาก่อน ใจมาปัญญาเกิด  สร้างความรู้สึกดี ๆ ให้อยากทำ  ต้องสร้างคุณค่า ค่านิยมในองค์กร แล้วให้มีการกระทำจริงว่าผลการกระทำนั้น ส่งผลดีต่อองค์กรต่อผู้ปฏิบัติอย่างไรแล้วต้องการประเมินผลความสำเร็จของงานอย่างเป็นเชิงวิทยาศาสตร์  (ไม่ใช้ความรู้สึก) การให้โบนัส  การมีรางวัล การชมเชย การเลื่อนก้าวไปสู่ตำแหน่งงานที่สูงขึ้น ต้องมีมาตรฐานที่ทุกคนต้องเข้าสู่ระบบนี้  เหมือนกัน            ผู้บริหารองค์กร  หัวหน้างานในองค์กร  สมาชิกในองค์กร ต้องสร้าง Trust ให้มาก เพื่อการทำงานร่วมกันเป็นทีมมีความไว้วางใจกัน  การฝึกอบรมเพื่อการพัฒนางาน  การให้คำแนะนำ  จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องดำเนินการ  อย่างมีแผน  มีการจัดสรรเวลา จัดสรรงบประมาณไว้ ให้เกิดการดำเนินงาน  องค์กรจะอยู่รอดหรือไม่ขึ้นอยู่ที่การเรียนรู้ของคนในองค์กร  มากกว่าผลผลิตหรือกำไรขององค์กร             แต่ในการทำงานขององค์กร  โดยเฉพาะในหน่วยงานราชการจะพบปัญหาเรื่องคนที่มักจะอยู่ในประเภทพูดมากทำน้อย  ปัญหามาก่อน  ทำไม่ได้อะไรเสียเวลา  อยู่เฉย ๆ จะดีกว่า แบบนี้อยู่มาก วิธีการ  คือ เราจะต้องแก้ที่ตัวก่อน เราจะต้องสร้างค่านิยมความเป็นคนมีคุณภาพที่ตัวเราก่อน  สร้างทีมงานของเราก่อน  สำคัญที่สุดคือ  ตัวเรา ทุกคนให้ความสำคัญกับตัวเราว่า องค์กรจะรอดอยู่ที่ตัวเรา  จากเล็กก็กลายเป็นใหญ่ได้            เราบังคับตัวเราได้ดีกว่าที่จะบังคับคนอื่น พฤติกรรมคนเปลี่ยนได้เมื่อเห็นบ่อย ๆ ทำบ่อย ๆ             การพัฒนาทีมงานต้องมีเทคนิค  สร้างทีมงานที่เรียนรู้จากกิจกรรม จากเกมส์ที่ทำ  เพราะผู้ใหญ่จะเกิดการเรียนรู้ได้ดีเมื่อได้ลงมือปฏิบัติ  เพราะมีประสบการณ์ในตัวตนของทุกคน  สำคัญที่ผู้ทำหน้าที่พัฒนาทีมงานต้องทำหน้าที่เป็น Facilitator เชื่อมประสานคนในทีมงานให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน  สร้างค่านิยมองค์กรร่วมกัน                                                       อุษา  เทียนทอง           
ครั้งที่ ๔          ถึงแม้ครั้งนี้จะไม่มี assignment ก็ตาม แต่หัวข้อการเรียนการสอนและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด เมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๐ ในหัวข้อ         “ Employees Engagement for Sustainable Growth” นั้น ก็ควรค่าที่นักศึกษาอาจจะหยิบยกขึ้นมาสนทนาต่อเนื่องและแสดงความคิดเห็นได้ ซึ่งผมขอ highlight บางประเด็นที่เห็นว่าเป็นเรื่องของทัศนคติและหลักคิดที่แยบคายเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยไม่อ้างอิง sheet ที่แจกทั้งหมด ดังนี้          สำหรับผมแล้ว ต้องบอกว่าชอบมากและรู้สึกถูกใจวิทยากร ช่วงพักยังไปคุยกับอาจารย์และบอกกับอาจารย์ว่าอยากเรียนกับอาจารย์ทุกวัน ซึ่งหมายถึงอยากคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่หลากหลายกับคนที่รู้จริงและมีพรหมวิหารธรรม ผมมองว่าอาจารย์เป็นคนที่มีทัศนคติเชิงบวก (positive thinking) มองอะไรที่เป็นโอกาสมากกว่าเป็นปัญหา อาจารย์มีบุคลิก decisive และ independent มีลักษณะของผู้ชนะ ไม่ใช่ผู้แพ้  เนื่องจากเคยมีผู้กล่าวว่า ผู้ชนะเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ ผู้แพ้เป็นส่วนหนึ่งของปัญหา ผู้ชนะเสนอสิ่งใหม่ให้ทุกครา  ผู้แพ้ชอบสรรหาคำแก้ตัว วิธีการเรียนการสอนของอาจารย์ที่ดูเหมือนว่าเป็นวิธีการที่เคยใช้กับเด็ก ๆ ในการสัมมนาเพื่อการมีส่วนร่วมจึงสามารถสร้าง engagement เกิดขึ้นในหมู่ผู้เรียนได้เป็นอย่างดี และนั่นคือสิ่งที่ผมเห็นว่าเป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมที่สุดในการเรียนการสอนเรื่องและการอธิบายนิยามของคำว่า “engagement” เพราะอาจารย์สามารถทำให้พวกเราอยู่กับอาจารย์ตลอดการเรียน (stay) สะท้อนให้เห็นถึงความพอใจในการเรียน (say) และปรารถนาที่จะมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนแม้จะเกินเวลาเรียนไปแล้วก็ตาม (strive) ซึ่งทั้ง stay, say และ strive นี้ก็คือคำตอบโดยสรุปของคำถามที่ว่า What does “engagement” mean ?           อีกสิ่งหนึ่งที่ผมเองได้แสดงความสนใจเป็นพิเศษ (รวมทั้งพี่น้องผองเพื่อนในห้องอีกหลายคน) คือ เรื่อง Trust ที่อาจารย์บอกว่าเป็นเรื่องสำคัญ การสร้าง trust ก็คือการสร้าง good governance หากองค์กรใดไม่มี trust ระหว่างกัน ก็จะสร้างระบบจับผิดหรือระบบตรวจสอบขึ้นมา ทำให้ลูกน้องอึดอัด และจะไม่ค่อยมี initiative ผมว่าเป็นมุมมองที่classicมาก เราถึงบางอ้อเลยว่าด้วยเหตุนี้เองเราจึงพบความล่าช้าในการดำเนินงานในหลายโอกาสในหลายองค์กรเพราะผู้ใต้บังคับบัญชาไม่กล้าทำอะไร เพราะกลัวเปลืองตัว ต้องรอคำสั่งก่อน ไม่งั้นเดี๋ยวนายหาว่าล้ำหน้าและโดนเล่นงาน ปลอดภัยไว้ก่อนไม่เดือดร้อน ทั้ง ๆ ที่จะเกิดสิ่งที่ดีกว่าหากลงมือทำ

          อย่างไรก็ตาม Trust สามารถสร้างได้ ซึ่งอาจารย์ได้ให้สูตรว่า Trust = C2 / R          (ต้องการสื่อว่า C กำลังสอง หารด้วย R)

          C ตัวแรก คือ Creditability ซึ่งการที่จะมีเครดิตได้นั้นต้องมีองค์ประกอบ เช่น มี competency (มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และ attribute ทั้งหมดของคน ๆ นั้น) มี leadership มี positive attitude มี principle ที่ดีและแม่นยำ          C ตัวที่สอง คือ Care ซึ่งหมายถึงการดูแลเอาใจใส่ มีพรหมวิหารธรรม การนึกถึงผู้อื่น การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ถึงแม้บางครั้งจะดูกระโชกโฮกฮาก แต่หากเขารู้ว่า care ก็ OK          R คือ Risk หมายถึงความเสี่ยงในเรื่องต่าง ๆ ที่จะต้องหลีกเลี่ยง เพราะจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียและมีผลกระทบต่อ trust           จากสูตรข้างบน จะเห็นว่า ถ้าเราสามารถสร้าง credit และ care มาก ๆ โดยมี risk น้อย ๆ หรือไม่มีเลย ก็จะทำให้ trust มีมาก          Trust เป็นพื้นฐานของทุกสิ่งทุกอย่างที่จำเป็นสำหรับการเริ่มต้นและความต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินการเรื่องต่าง ๆ นั้น เราจะต้องเรียนรู้บคคลแต่ละประเภทด้วยว่ามี style แบบไหน และต้องมี skill ที่จะสื่อสารกับบุคคลแต่ละประเภทได้อย่างมีสัมฤทธิผล                    นอกจากเรื่องที่ผม highlight ข้างต้นแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ผมคิดว่าจะเป็นเหตุผลสนับสนุนแนวคิดของผมข้างต้นในย่อหน้าที่ ๒ ที่มีต่ออาจารย์ ก็คือ อาจารย์ตอบคำถามที่มีผู้ถามเกี่ยวกับการทำงานของอาจารย์หรือขององค์กรที่อาจารย์สังกัดว่าการทำงานของอาจารย์ หาเงินแต่ไม่หากำไร มุ่งสอนและพัฒนาคน ไม่ได้มุ่งทำธุรกิจ เพราะถ้ามุ่งธุรกิจแล้ว ความมุ่งมั่นหรือปณิธานของอาจารย์จะถูก distort ด้วยความเตารพครับ อาจมีผู้แย้งว่ารู้ได้ไงว่าในทางเป็นจริงเป็นเช่นนั้นหรือไม่ ผมมองข้ามตรงนั้น แต่จับที่วลีข้างต้นที่เป็นคำตอบซึ่งในทัศนะของผมเห็นว่าเป็นการสะท้อนและเจริญรอยตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือไม่โลภอย่างมาก ทุกคนจำเป็นต้องหาเลี้ยงชีพและจุนเจือให้ตนเองหรือองค์กรอยู่ได้ แต่ก็ใช่ว่าจะต้องเบียดเบียนผู้อื่น ทำให้ผมนึกถึงการทำธุรกิจของผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง(ขอสงวนนาม)ที่ผมรักและเคารพนับถือที่มีแนวคิดคล้าย ๆ กันอย่างนี้ คือ สินค้าชิ้นเดียวกันที่คนหนึ่งอาจจะคิดว่าหากขาย ๒๐๐ บาท ก็ยังสามารถขายได้ แต่ผู้ใหญ่ท่านนั้นกลับขาย ๑๕๐ บาท ภายใต้แนวคิดว่าขาย ๑๕๐ บาทเราก็ยังอยู่ได้ อีก ๕๐ บาท เขาจะได้เหลือไว้ทำอย่างอื่นที่เขาจำเป็น           ครับ ผมกำลังจะบอกว่าสิ่งที่ผมพูดถึงนี้ก็คืออีกหนึ่ง engagement ของจริงในภาคปฏิบัติที่อยู่บนพื้นฐานของจิตใจมากกว่าการคิดในเชิงทฤษฎี ซึ่งผมเชื่อว่าหากเราลงมือทำด้วยความมุ่งมั่นบนพื้นฐานของความรู้รักสามัคคี เสียสละ อดทน พรั่งพร้อมด้วยพรหมวิหารธรรมแล้ว ก็จะทำให้โลกใบนี้รวมทั้งประเทศไทยของเรานี้มีสันติสุขสถาพรสืบไป

           ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นสิ่งที่ผมได้รับจากการเรียนรู้กับอาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด ซึ่งนอกจากจะได้แนวคิดเชิงทฤษฎีแล้ว ยังทำให้เกิดประกายความคิดที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้ด้วย ต้องขอขอบคุณอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ สำหรับการคัดสรรวิทยากรที่มีคุณค่ายิ่งมาให้พวกเราได้เรียนรู้และต่อยอดอีกครั้งหนึ่ง ขอบคุณมากครับ                        

รักษ์เกชา แฉ่ฉาย                                   

 

นางเครือวัลย์ สมณะ
การจัดการทุนมนุษย์ (Human Capital Management)หัวข้อ “Employee Engagement for Sustainable Growth”โดยอาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด  เมื่อวันที่ 7  กรกฎาคม  2550                 อาจารย์ได้บรรยายถึงการจะรักษาทรัพยากรมนุษย์ไว้กับองค์กร เริ่มต้นด้วยเรื่องการพัฒนาองค์กร (Organization Development OD.) ความสำคัญมากที่สุดขึ้นอยู่กับผู้บริหารระดับสูง เช่น ผู้จัดการหรือผู้อำนวยการ (CEO) กับความมีมนุษยสัมพันธ์และความเป็นผู้นำ (Leadership) ที่ดีสามารถบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร ให้มีเอกภาพมีความพร้อมในการร่วมมือกันสร้างความเชื่อถือ TRUST ให้แก่องค์กร                                                TRUST =       C  แรก  คือ Creditability                                                C ที่สอง  คือ Care และ                                                R  คือ  ความเสี่ยงบุคคลจะเป็นที่ยอมรับและมีความเชื่อถือ (Creditability) ของเพื่อนร่วมงานได้นั้น  ก็ด้วยการทำงาน  ต้องเก่งในสายงานและรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง ต้องมีสภาวะความเป็นผู้นำ Leadership มีทัศนคติที่ดี  ต้องรักษาคำพูด พูดอย่างถ่องแท้มีหลักการ  และถูกต้องตามหลักวิชาการ  จึงจะสามารถทำให้คนไว้วางใจได้ เป็นคนมีสติและมีดุลยพินิจที่ดี ก่อนจะลงมือทำอะไร ควรต้องพิจารณาให้ถ่องแท้ถูกหลักการ  จึงจะเกิดความเชื่อถือ Trust ของผู้นำEngagement  หมายถึง ความผูกพัน  ความสัมพันธ์ที่ดีของพนักงานที่มีต่อองค์กรจากจิตสำนึกที่แท้จริงด้วยความรักและผูกพันที่จะ  STAY – SAY – STRIVSTAY  :   การตัดสินใจของพนักงาน   ที่จะปักหลักยึดมั่นอยากทำงานอยู่กับองค์กรอย่างยั่งยืนตลอดไปSAY     :  ด้วยความยินดีเชิดชูองค์กร ที่ตนสังกัดอย่างภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรอย่างมั่นใจ                ว่า   เป็นสถานที่ทำงานที่ดีที่สุดของชีวิต    กล้าประกาศและกล้าเชื้อเชิญให้คนภายนอกมาร่วม                                  ทำงานอย่างมั่นใจSRIV    :  มุ่งมั่นทำงานให้องค์กร  ด้วยความเต็มใจและสมัครใจพร้อมที่จะต่อสู้สนับสนุน  เป็นตัวแทน    (Representative)  ที่ดีขององค์กรดังโครงสร้างความผูกพัน  (Engagement Model)  ทรัพยากร   มนุษย์เป็นต้นทุนอันล้ำค่าการที่พนักงานเป็นทรัพยากรที่ดี รู้จัก “Think” การรับรู้ เข้าใจ ซาบซึ้งถึงกระบวนการทำงานที่ได้รับมอบหมาย ก็จะได้รับการสนับสนุนและให้ความร่วมมือร่วมใจกันทำงานก้าวไปข้างหน้า ในทิศทางเดียวกัน ไม่เสียเวลาในการทำความเข้าใจ ให้มีความรู้สึก (Feel) ที่ดีว่าได้มีส่วนร่วมในกระบวนการคิด รับรู้ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการดำเนินงานในแต่ละสายงาน  (Affective) การทำงานจะเกิดความรู้สึกเสมือนหนึ่งองค์กรนั้นเป็นของตนเอง (Sense of  belonging) จะเกิดความภูมิใจที่ได้ร่วมกันทำงาน เกิดความผูกพัน ที่จะเข้ามาปฏิบัติงานอย่างกระตือรือร้นด้วยเจตนาที่ดี (Wellingness) ต่อองค์กร “Engagement” จนเกิดการตอบสนอง มีพฤติกรรมการทำงานที่ดี ไม่เป็นภาระและไม่ทำลายสภาพแวดล้อมหรือบรรยากาศในสถานที่ทำงาน เกิดความยึดมั่นอย่างเหนียวแน่นต่อองค์กร ทำให้รู้สึกมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในการทำงาน พร้อมที่ Stay – Say – Striv  องค์กรที่มีทรัพยากรมนุษย์  มีสมรรถนะในการปฏิบัติงาน   เพื่อจะนำองค์กรดำเนินงานไปสู่ความสำเร็จ และบรรลุผลตามจุดมุ่งหมายนั้น มีลักษณะแบ่งได้เป็น 4 กลุ่ม คือ 1.       Rising Star  2.       Work Horse 3.       Deadwood4.       Problem Childเป็นองค์กรในอุดมคติ  ที่สามารถมีทรัพยากรมนุษย์ประเภท  Rising Star  และ  Work Horse  ที่มีจิตสำนึกเสมือนหนึ่งว่าหน่วยงานเป็นของตนเอง  ถือได้ว่าเป็นความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่                The Seven Factors of Engagement  ปัจจัยหลัก 7 ประการ ที่จะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างทุนมนุษย์1.       Total Compensation ค่าตอบแทนจะต้องยุติกรรม สมเหตุสมผล  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญและมีความหมายต่อความสำเร็จขององค์กร 2.       Culture and Purpose วัฒนธรรม  โครงสร้าง   คุณค่า  และความมั่นคงขององค์กร3.       Leadership   ภาวะผู้นำมาสู่ความเชื่อถือ (Trust) ขององค์กรโดยเฉพาะชาวเอเชีย  และประเทศไทย การดำเนินธุรกิจยังยึดมั่นในตัวบุคคลที่เป็นผู้นำขององค์กรเป็นส่วนใหญ่4.       Opportunity   การสร้างโอกาส  การสนับสนุน  ส่งเสริมในความเจริญเติบโตก้าวหน้าในหน้าที่การงานที่ตนสังกัดและรับผิดชอบ  มีอนาคตที่ดี5.       Relationships   ความสัมพันธ์ มิตรไมตรีต่อผู้ร่วมงาน การบริหารจัดการ ผู้จัดการและลูกค้าเป็นปัจจัยสำคัญต่อองค์กร6.       Job Task  ภารกิจ  อำนาจ  หน้าที่ในงานที่รับผิดชอบ มีความเสี่ยง ตื่นเต้น น่าสนใจเพียงใด สถานภาพ  ความภาคภูมิใจมีเพียงใด7.       Quality of Life คุณภาพชีวิตที่ดี  กายภาพของสถานที่ทำงาน สภาพฐานะความมั่นคง สถานะและสิ่งแวดล้อมในสถานที่ทำงาน                ความรู้ที่ได้รับเพิ่มเติมหลายประเด็นในวันนี้  ทำให้เห็นภาพรวม  และเมื่อประมวลกับประสบการณ์เดิม   ก่อให้ เกิดประโยชน์อย่างมาก  ในการนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์กรที่รับผิดชอบได้อย่างมั่นใจ                                                              โดย  :   นางเครือวัลย์  สมณะ                                                                 วันที่  12  กรกฎาคม  2550
ชัยธนัตถ์กร ภวิศพิริยะกฤติ

นายชัยธนัตถ์กร  ภวิศพิริยะกฤติ  ส่งงานครั้งที่ 4

 

                ภายหลังจากได้เรียนกับอาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด ในเรื่องของ Employees  Engagement for Sustainable Growth  เมื่อวันเสาร์ ที่ 7  กรกฎาคม 2550 ตลอดระยะเวลาได้มีการนำเสนอและทำให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในอันที่จำนำเอาความรู้ไปสำนึกใช้ในหน่วยงาน

                การสมานฉันท์ร่วมกันทำงานเพื่อความเจริญเติบโตขององค์การอย่างยั่งยืนนั้น ก็คงไม่พ้นเรื่องคน ระบบสร้างได้ อุปกรณ์เครื่องมือสร้างได้ สิ่งอำนวยความสะดวกสร้างได้แต่คนต้องใช้เวลาสร้างและกล่อมเกลาอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอตลอดเวลา ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงาน จึงต้องหันหน้ามาร่วมมือกันซึ่งในบางครั้งปัญหาก็เป็นเรื่องของผู้บริหาร  และในบางครั้งก็เป็นเรื่องของผู้ปฏิบัติงาน แต่ที่เคยเห็นมาในภาพรวมบางครั้งผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ   ก็พูดอย่างเดียวแต่ไม่ทำหรือบางครั้งทำไม่ชอบไม่ควร และไม่เหมาะสม ยังคงไม่รู้สึกตัวว่าได้ทำงานคุ้มค่าเงินที่เขาจ้างหรือไม่ ถ้าเป็นบริษัทเอกชนก็ไม่ต้องถามก็ต้องไปหางานใหม่ ถ้าเป็นงานราชการก็คงต้องหน้าทนทำเป็นทองไม่รู้ร้อนอยู่ไปวัน ๆ  และแสวงหาแต่โอกาสและผลประโยชน์ของตัวเองเท่านั้น ระบบราชการจึงดูเป็นผีเสื้อสมุทรและมีตุ่มหนองแผลเป็น และพาราไซท์มากมาย แต่คนในระบบก็ไม่รู้สึกสำนึกในบุญคุณนายจ้างตัวจริง(ประชาชน) จึงเป็นที่มาของกพร. และการนำเอาระบบธุรกิจมาใช้ในระบบราชการเป็นต้นว่าการออกนอกระบบ(ราชการ) เช่นบริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด บริษัท ทศท.จำกัด ฯลฯ เป็นต้น

                ผมเองมองเห็นภาพของความสมานฉันท์ร่วมกันทำงานเพื่อความเติบโตขององค์การอย่างยั่งยืน ก็เป็นนวัตกรรมการจัดการทรัพยากรมนุษย์รูปแบบหนึ่งซึ่งเห็นได้ว่า แนวทฤษฎีที่เป็นนั้นจะมีตัวแปรที่คงที่จึงทำให้ผลสามารถมองเห็นได้จริงซึ่งองค์ประกอบ 1. ภาวะผู้นำต้องเข็มแข็งและชัดเจน 2. สัมพันธ์ภาพระหว่างกันต้องเป็นไปทางบวก 3. คุณภาพและสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีคุณภาพ 4. รู้งาน รู้หน้าที่ รู้ภารกิจที่ชัดเจน 5. สายงาน โอกาส และความก้าวหน้าของงานต้องเป็นไปอย่างเหมาะสม 6. รวมพลังสามัคคี และแสดงศักยภาพเป็นหนึ่งเดียว 7. วัฒนธรรมองค์การและเป้าหมายในองค์ประกอบเหล่านี้จะเป็นการสมานฉันท์สามัคคีกันทำงาน และสร้างความเจริญเติบโตขององค์กรอย่างเป็นรูปธรรม อย่างยั่งยืน  ซึ่งพนักงานหรือผู้บริหารคงต้องเปลี่ยนกระบวนการคิดที่สำคัญคือ JD. พันธกิจแห่งงานในหน้าที่และตำแหน่งที่ตนพึงต้องรู้ พึงต้องมีและพึงสำนึกว่าต้องทำ  เพื่อการขยายความให้เห็นภาพ ก็คือ R&R ซึ่งก็หมายถึง  Role  บทบาทหน้าที่ต้องรู้ว่าตัวเองเป็นหัวหรือก้อยมีภาระงานตาม Role อย่างไร แค่ไหน เพียงไร รวมถึง Responsibility ใน Role ที่เป็นอยู่คือ หัวหรือก้อยนั่นเอง บางครั้งจึงเป็นเหตุแห่งความไม่สมานฉันท์ในองค์กร เพราะคนเรา ไม่รู้ตัวว่ามีบทบาทอย่างไร จะรับผิดชอบในงานหน้าที่เพียงไร  หรือบางคนเคยเป็นใหญ่ในอดีตแต่ปัจจุบันไม่ใช่ แต่ก็ยังคงติดยึดใน Role เก่า ๆ สิ่งเหล่านี้คือปัญหา หัวหน้าบางคน ลูกคนบางคน เป็นอย่างที่ท่านอาจารย์สมชายพูด รู้ไปหมด เก่งไปหมด แต่มันไม่รู้ สิ่งที่มันต้องรู้  และ   ทำไปทุกเรื่องมากมาย แต่มันดันไม่รู้ว่าสิ่งทีมันต้องทำ  ปัญหา Employees  Engagement  จึงยังคงมีอยู่ในระบบนั่นเอง ทำให้องค์กรมี Turn – Over สูง มีความขัดแย้งสูง มีความริษยาสูง มีบัตรสนเท่ห์มากมาย มีข่าวลือ มีแบ่งก๊ก แบ่งพวกมากมาย มีความอยาก (ใหญ่) ไม่รอเวลา มีผลผลิตตกต่ำ มีแต่การจับผิด มีแต่การจ้องเลื่อยขาเก้าอี้ ผลสุดท้ายแห่งปัญหาก็คือ ความด้อยประสิทธิภาพ และประสิทธิผล ของทั้งองค์กรและคนที่อยู่กับองค์กรทั้งหมดโดยไม่อาจปฏิเสธความรับผิดชอบได้เลย ทั้งหัวหน้าและลูกน้องที่ช่วยกันทำลายองค์กรของตัวเอง อย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ (ที่จริงรู้ แต่ก็คงทำอยู่) วันนี้ระบบราชการจึงต้องหันกลับไปหาศาสตร์เก่า ๆ เล่ากันมา 30 - 40 ปี แล้ว ก็คือ Organization Development นั่นเอง ซึ่งมีรายละเอียดมากมายที่จะนำมาซึ่งการสนับสนุนดาวรุ่ง พุ่งแรง ให้มี FastTract ดาวดับก็ต้อง Terminate ถ้า Trainning & Develop แล้วไม่พัฒนา เด็กมีปัญหาก็ต้องปรับพฤติกรรมสร้างแรงจูงใจทั้งรูปแบบตัวเงิน และไม่เป็นตัวเงิน เพื่อหยุดปัญหาให้กลับมาเป็น The rising sun พวกม้าหนุ่มก็ต้องทุ่มทรัพยากรให้มีแรงบุกลุยตามที่อยาก และฉายทางวิ่ง ให้เป็นด่าวรุ่งพรุ่งนี้  ส่วนพวก Deadwood  ซึ่งหลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นเฉพาะคนเก่า ๆ คนแก่ ๆ ที่ไม่สมอารมณ์หมาย ไม่ก้าวหน้าเงิน ไม่จูงใจ ระบบงานเป็นปัญหา นายเป็นปัญหา และเพื่อนร่วมงานก็เป็นปัญหา ในความจริงแห่งยุคสมัย Deadwood มีทั้งเด็ก ๆ ทำงาน ปีสองปี พวกรุ่นกลาง ทำงาน3-5 ปี พอพวกนี้มองระบบ มองสิ่งแวดล้อมในองค์กรแต่ทางลบจึงไม่มีความสุขในการทำงานทำไปวัน ๆ ทำไปแบบไร้ชีวิต และจิตวิญญาณ คนพวกนี้ต้อง Terminate เท่านั้น เพราะสมองสั่งการแต่ทางลบ ลบ ลบ และโคตรลบ มองทุกอย่างเป็นปัญหา มองทุกอย่างเป็นทางตัน มองทุกอย่างเป็น The End Of  The World  พวกนี้มีมากในระบบราชการเพราะราชการรับคนเข้าระบบง่าย เอาออก ยาก ยาก ยาก (โคตรยาก)  ซึ่งหาสำนึกบ้างเกิด (องค์กร) ไม่ได้เลย พระพุทธเจ้าจึงเรียกคนพวกนี้ว่า บัวใต้น้ำ และรากเน่า   ไม่ต้องถามเลยว่าจะโผล่พ้นน้ำหรือไม่

                Employees  Engagement จึงไม่ได้อยู่ที่หัวหน้าหรือลูกน้อง เพราะ Leaders  และ Followers คงต้องหันหน้าหันมาหากัน (ไม่ใช่เผชิญหน้ามาฆ่ากัน)  หาฉันทานุมัติ ในการสร้างระบบ สร้างงาน สร้างคน สร้างกำลังใจ สร้างโอกาส และแชร์ผลประโยชน์ให้สอดคล้องกันในบทบาท และหน้าที่ของแต่ละองค์ประกอบ วันนี้ HRM ได้มองถึง Competency ก้าวสู่  Talents เพื่อสร้างความมีเปรียบในการแข่งขันวันนี้ Synergy/ Aliances /Networking จึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจละเลย  การคิดดี  การทำดี การมีความรัก รัก รัก และภักดี จึงเป็น Keyword ในการสร้างสมานฉันท์ร่วมกันทำงานเพื่อสร้างองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน คนเราถ้ามีความรู้สึก ที่ดี ๆ อะไรผิดนิด ก็ไม่ว่ากัน อะไรผิดมากก็ร่วมกันหาทางออก (ไม่ใช่ร่วมกันทำผิด/โกง)

                ผู้นำจึงต้องสร้างภาพให้ดูดี (ต้องมีดีให้ดู) สร้างความเก่ง (มีของจริงให้ลอง) สร้างบทให้นำ(ไม่ต้องหรูแต่ดูดีได้) สร้างธรรมให้เกิด (ความเป็นธรรม ความชอบธรรม ความมั่นคงตรงอยู่บนธรรม) และวันนั้นก็จะมีซึ่ง ความเชื่อมั่น ความเชื่อถือ” “ความภักดี ไม่ว่าจะเป็นบทของผู้ตามก็กลับสมการทอนอำนาจลง ก็จะเป็นบทของผู้ตามที่สมควร จะมีได้ใน Employees  Engagement For Sustainable Growth  ได้แน่นอน ผมเชื่อว่าถ้าคนในองค์กรไม่ละวาง ไม่ละเลย  ไม่รู้ ไม่เห็น ไม่ร่วมมือ ไม่แสดงศักยภาพ ไม่สน ไม่ภักดี ไม่มีใจรักในองค์กร ฯลฯ เอาออกไปทิ้งให้หมด ลบคำว่า ไม่ ออกให้หมด Engagement ก็ไม่ไกลดังฝัน คนนั่นแหละทำได้ ทั้งสร้างสรรค์และทำลาย ซึ่งก็บังคับไม่ได้ ว่าใครจะใฝ่ทำลาย หรือใฝ่สร้างสรรค์  คงอยู่ที่ จิตสำนึกรักบ้านเกิด (องค์การ)
สรุปการบรรยายครั้งที่ 4 โดย อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด ในหัวข้อ “Employees Engagement for Sustainable Growth  ประเด็นแรก What does Engagement  mean? หมายถึง รักษาหรือการผูกใจให้พนักงานที่เก่ง ดี และมีความสุข ให้อยู่กับองค์กร    ตราบนานเท่านาน(เกษียณ) เพื่อร่วมกันสร้างคุณประโยชน์และความเจริญให้กับองค์กร โดยพนักงานที่มีความภักดีต่อองค์กรจะแสดงออกใน 3  ด้านคือ 1. Stay พนักงานต้องการที่จะอยู่กับองค์กรตลอดไป    2.Say  พนักงานกล่าวถึงองค์กรแต่ในแง่ดี ๆ  3 Strive พนักงานอุทิศตนในการทำงานให้กับองค์กร  คนในองค์กรแบ่งเป็น 4 ประเภทเทียบได้กับบัว 4 เหล่าที่พระพุทธเจ้าได้เคยกล่าวไว้ คือ 1.งานและความประพฤติแย่ 2. งานดีแต่ความประพฤติแย่ 3. งานแย่แต่ความประพฤติดี 4.งานและความประพฤติดี พนักงานคนหนึ่ง ๆ อาจจะมีสองลักษณะในคน ๆ เดียวได้ ต่อไปกล่าวถึงEngagement Model ประกอบด้วยวงกลม 3 วงที่ทับซ้อนกันอยู่ 1. Think คือพนักงานที่เห็นด้วยตามแนวทางขององค์กร ไม่ขัดแย้งโจมตี  2.Feel คือพนักงานที่มีความรู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรหรือเป็นเจ้าขององค์กรเขาจะรักษาผลประโยช์ขององค์อะไรที่เป็นความเสียหายต่อองค์กรเขาจะไม่ทำอย่างเด็ดขาด 3.Act คือพนักงานที่มีความมุ่งมั่นอุทิศตนในการทำงาน ถ้าใช้เกณฑ์ Potential และ Work แบ่งพนักงานได้ 4 ประเภท 1. มีศักยภาพและสมรรถนะต่ำเรียกว่าDead Wood  ประเภท 2. มีศักยภาพสูงสมรรถนะต่ำ เรียกว่าProblem Child ประเภท 3. มีสมรรถนะสูงแต่ศักยภาพต่ำ เรียกว่าWork Horse และ ประเภท4. มีศักยภาพและสมรรถนะสูงเรียกว่า Rising Starคนทั้งสี่ประเภทองค์กรมีหน้าที่ดูแลด้วยวิธีที่เหมาะสมแตกต่างกัน   การพัฒนาคนเหล่านี้สามารถเปลี่ยนสถานะภาพของเขาได้เช่นจากประเภท 3 ไปเป็นประเภท 4 ได้ และถ้าองค์กรดูแลเขาไม่ดีเขาอาจจะถูกดึงตัวไปที่อื่นได้ นอกจากนี้อาจารย์ได้อธิบายข้อสงสัยของสมาชิกในเรื่อง Trust คือความไว้เนื้อเชื่อใจ มีสมการ Trust = C1xC2/R โดย C1 คือ Creditability = ความน่าเชื่อถือ C2 คือ Care ห่วงใยความรู้สึกของผู้อื่นและ R คือ ความเสี่ยงในการคบหา Trust ขึ้นอยู่กับ 3 ค่านี้ ถ้าC1 C2 มีค่ามาก ๆ Trust จะสูงแต่ถ้า R สูง ๆ Trust จะมีค่าต่ำ Trust มี Sensitive มาก เมื่อมีแล้วต้องรักษาไว้ให้ดี การที่จะสูญเสียมันไปนั้นง่ายมาก  

Human Capital Management Homework#4 โดยนายปรีติ ปิติอลงกรณ์ เสนอ อ.พจนารถ ซีบังเกิด และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมย์

สิ่งทีได้จากการเรียนในครั้งนี้คือ ความน่าฉงนใจในเรื่อง Trend ของหลักของการบริหารเรื่อง TRUST และ Relation เนื่องจากที่จริงแล้ว TRUST(Csquare/R) และ Relation มีมาตลอดในการดำเนินกิจการในสมัยก่อนโดยเฉพาะคนจีน คือ ในสมัยก่อนกิจการมักสร้างความไว้วางใจในลูกค้าโดยให้เครดิต ทำให้ลูกค้าไว้วางใจในกิจการโดยความซื่อตรง ไว้วางใจได้ ค้าขายในลักษณะความสัมพันธ์แบบคนกันเอง (กากี่นั้ง) แต่พอผ่านมาระยะหนึ่งลูกหลานก็บอกว่าต้องปรับระบบการบริการแบบผฝรั่งจึงจะเติบโตแอยู่รอดได้บางกิจการก็เติบโตแต่บางกิจการกลับไปไม่รอด พอมาตอนนี้เหตุใดจึงคืนกลับสู่สามัญคือพูดกันเรื่อง TRUST และ Relation ว่าเป็นแก่นของการบริหารทั้งคนและองค์กรทั้งหมดอีกแล้ว

อีกสิ่งหนึ่งที่เมื่อได้ระลึกถึงเมื่อไรทำให้รู้สึกว่ามันคือกรอบของการแก้ปัญหาได้หลายอย่าง คือการกำหนดกรอบของสิ่งที่ควบคุมได้ให้เล็กกว่าสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ ทำให้เราตัดบางสิ่งบางอย่างที่ควบคุมไม่ได้ออกจากการควบคุมของเรา (สบายใจขึ้นเยอะ) ส่วนเรื่อง R&R หรือ Role and Responsibility ที่อาจารย์แนะนำให้เข้ามาใช้แทน JD (Job Description) ก็เหมือนได้เห็นทางสว่างเรื่อง HR ขึ้นมาทันทีครับ

สุดท้าย ได้รู้ว่า Employee Engagement (Think=>Feel=>Act) คือการหาวิธีการทำให้คนที่มีความสามารถ(Star, Work Horse)อยู่ทำงานกับเราด้วยใจ ซึ่งนี่คือสุดยอด HR เลยครับ สรุปว่าการเรียนในครั้งนี้ผมได้รับความรู้และเคล็ดวิชาที่ประเมินค่ามิได้จากจอมยุทธ์อย่างแท้จริงครับ

ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ครับ

นางสาวกฤษณา ปลั่งเจริญศรี
การฟังการบรรยาย เมื่อวันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม 2550 กับอาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด นักศึกษา นางสาวกฤษณา ปลั่งเจริญศรีดนัย เทียนพุฒ ได้ให้หลักการ Engagement หมายถึง ความผูกพันขององค์กรกับพนักงาน การดูแลระหว่างที่เขาอยู่กับองค์กร อันได้แก่ 
  1. การหาคนเข้ามาอยู่ในองค์กร
    • Manpower Planning
    • Recruitment
    • Selection
    • Testing
    • Staffing
 
  1. การพัฒนาคนในองค์กร
    • Education
    • Training
    • Development
    • Performance Appraisal
 
  1. การรักษาคนเหล่านั้นให้อยู่กับองค์กรนานๆ
 ความผูกพันระหว่างองค์กรกับพนักงาน ของท่านอาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด ตามหลักการของ Engagement Model 
  1. การคิด (Think) มีความคิดร่วม,ตกลงร่วมกับองค์กรในทุกๆด้านที่องค์กรตัดสินใจ
 
  1. Feel การมีความผูกพันธ์ มีใจรักองค์กร ทั้งที่ยังทำงานอยู่ และถึงแม้จะจากไปแล้วก็ยังรัก
 
  1. Act การแสดงออกในทุกๆด้าน ทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ ต้องการ Stay,Say,Strive
 Factor ของท่านอาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด ไดให้ไว้  
  1. Culture and Purpose วัฒนธรรม และเหตุผล
    • ทำเพื่อตนเอง,เพื่อครอบครัว,เพื่อลูก อนาคตของครอบครัวเจริญก้าวหน้า
    • มีค่านิยมองค์กร มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เจริญเติบโตเร็ว น่าที่จะอยู่ทำงานด้วย
  
  1. Leadership
·         องค์กรมีชื่อเสียงดี เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก หรือทั่วเอเชีย·         องค์กรมีการดำเนินกิจการเป็นที่เชื่อถือ ในทุกๆด้าน เช่น ด้านการเงิน 
  1. Relationships
·         การทำงานร่วมกันเป็นทีมของบุคลากรในองค์การ·         การมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับ  บัญชา·         สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ต่อสินค้าขององค์กร บุคคลากรในองค์กร 
  1. Duality of Life
·         สภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพ ในการทำงาน มีอุปกรณ์ในการทำงานครบ สะดวกในการใช้ แสงสว่าง ห้องพัก ห้องอาหาร สถานที่ออกกำลังกาย เป็นต้น·         สภาพแวดล้อมในการทำงาน มีการส่งเสียงดัง ควรมีอุปกรณ์ช่วยลดความดังของเสียง,ฝุ่น,กลิ่น ควรมีอุปกรณ์ป้องกัน 
  1. Job Tasks
·         ผลกระทบจากการทำงาน เข้าลักษณะทำดีไม่ได้ดี ไม่มีใครเห็น·         ความท้าทายของงาน เปิดโอกาสให้แสดงความสามารถ ในด้านต่างๆ·         ศักดิ์ศรีและสถานะตาม การทำงานมีความมั่นคง เป็นที่เชื่อถือ ยอมรับของผู้ร่วมงาน 
  1. Opportunity
·         โอกาสในการเจริญเติบโต ในตำแหน่งงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำ·         การพัฒนาความรู้ความสามารถในงานที่ทำ มีโอกาสออกไปศึกษาดูงาน สัมมนาหาความรู้ใหม่ๆ เพิ่มพูนความสามารถของตนเอง เพื่อจะได้นำมาพัฒนา ปรับปรุงงานของตนเอง·         โอกาสในการเลื่อนตำแหน่งในหน้าที่ บุคคลากรทุกคนคาดหวัง และต้องการ ตำแหน่ง,เกียรติยศ,ชื่อเสียง,การยอมรับนับถือ จากผู้ร่วมงาน 
  1. Total compensation
·         การให้ความยุติธรรมกับบุคลากร ในการทำงาน ทำดีต้องได้ดี เปิดโอกาสให้แสดงความสามารถ และให้การยอมรับข้อเสนอแนะที่บุคลากรเสนอ·         ยอมรับผิดชอบในการที่บุคลากรได้กระทำ ซึ่งอันได้แก่ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ต้องดูแลเอาใจใส่ ให้การดูแลรักษา·         เปิดโอกาสให้บุคคลากร ได้แข่งขัน ในหน้าที่การงานอย่างเต็มความสามารถ ทั้ง 7 Factor มีผลกระทบต่อสัมพันธภาพระหว่าง องค์กรกับบุคคลากรในหลายด้าน ดังนี้ 1.       ความสามารถของบุคคลากร รวมทั้งการพัฒนาความรู้ ความสามารถของตน ให้สอดคล้องกับองค์ที่เปลี่ยนแปลงไป2.       การประเมินผลการปฏิบัติงาน ประเมินจากความสามารถพิเศษ ความรวดเร็วในการทำงาน, ทำงานถูกต้องแม่นยำ เมื่อบุคลากรปฏิบัติงาน องค์กรจะทำการประเมินผลการปฏิบัติงาน ซึ่งส่งผลให้องค์การแบ่งบุคลากรเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.      Problem Child เป็นกลุ่มบุคลากรที่มีศักยภาพสูง แต่ความสามารถในการทำงานต่ำ สร้างปัญหาในการทำงาน 2.      Rising Star เป็นกลุ่มบุคลากรที่มีศักยภาพ และความสามารถสูง ซึ่งเป็นกลุ่มที่องค์กรต้องรักษา และพัฒนาให้ทำงานในองค์กรตลอดไป  3.      Work Horse เป็นกลุ่มบุคลากรที่มีศักยภาพต่ำ แต่มีความสามารถสูง ซึ่งเป็นบุคลากรส่วนใหญ่ขององค์กรที่ทำงานประจำ (Back Office Operation) หากบุคลากรในกลุ่มนี้ได้รับการจูงใจ หรือโอกาส จะก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่สูงขึ้น และก้าวเข้าสู่ Rising Star ในองค์กรใหม่ได้ 4. Deadwood เป็นกลุ่มบุคคลากร ที่มีทั้งศักยภาพ และความสามารถต่ำ ทั้งนี้องค์กรต้องให้โอกาสบุคลากรในกลุ่มนี้ ได้ปรับปรุงการปฏิบัติงานตลอดจนแนวความคิด ทรรศนะนคติ ที่มีต่อการทำงาน เพื่อให้พัฒนาการทำงานได้ดีขึ้น 

จะเห็นได้ว่าการบรรยายของอาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด ในเรื่อง Employees Engagement for Sustainable growth ได้ให้ความรู้แก่ผู้เรียนเป็นอย่างมาก และขอขอบพระคุณที่ได้ให้ความรู้ ซึ่งผู้เรียนได้นำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริง ได้เป็นอย่างดี และกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ ที่ได้สละเวลาอันมีค่ายิ่ง ในการบรรยายให้กับ คณะนักศึกษาปริญญาเอก สาขานวัตกรรมภาครัฐและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา

                       นางสาวกฤษณา ปลั่งเจริญศรี

นักศึกษาหลักสูตรการจัดการดุษฎีบัณฑิต

สาขานวัตกรรมการจัดการ                      มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา 
   
หรรษา คล้ายจันทร์พงษ์

Employees Engagement For Sustainable Growth                 วันที่ 7 ก.ค. 2550  อาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิด ได้กรุณาให้ความรู้เรื่อง Employees Engagement ท่านอาจารย์ได้บรรยาย ดูแลใส่ใจพนักงาน, สร้างความสามัคคี, ความผูกพันกับพนักงาน การสร้างความเป็นบึกแผ่น เ ท่านอาจารย์เสนอแนะว่า Engagement คือ การผูกใจพนักงานที่ดีให้อยู่ในองค์กรการเอาใจใส่ในเรื่องบางเรื่องของพนักงานโรงแรมคือโรงแรม Oriental Hotel ลูกค้าจะโทรมาผิดคิดว่าเป็นร้าน Oriental Princess ซึ่งขายเครื่องสำอางค์ แทนที่พนักงานจะบอกว่าไม่ใช่หรือโทรผิดแล้ววางหูโทรศัพท์กลับบอกเบอร์โทรของ Oriental Princess ให้กับลูกค้ารายซึ่งเป็นตัวอย่างของบริษัทที่ประสบความสำเร็จจากการที่มีวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ที่ทำให้ลูกค้าเกิดความรู้สึกที่ดีแล้วอยากใช้บริการของโรงแรม ซึ่งเป็นการสร้าง Relationship กับลูกค้าในลักษณะนี้จะช่วยให้ธุรกิจยั่งยืนและสกัดคู่แข่งขันได้ ฉะนั้นการสร้าง Trust เป็นเสมือนการสร้าง Good Governance โดย Trust  =  C2 / R

Rคือ 1) Creditability : การมี  คือต้องเก่งในงาน มี Leadership (ตรงเวลา, รักษาคำพูด, พูดจาฟังดูดี) ยืนหยัดบนความถูกต้องไม่ใช่ถูกใจ 2) Care : ดูแลใส่ใจ บัญชีออมใจสามารถถอนได้   3) Risk : ความเสี่ยง คบกับเราแล้วความเสี่ยงต่ำ  ความเสี่ยงในอาชีพ            ดังนั้นเมื่อพนักงานมีความผูกพันแล้วจะมี Royalty ซึ่งทำให้ 1) Stay : มีความปรารถนาที่จะอยู่กับองค์กร 2) Say : พูดถึงองค์กรในแง่ดีตลอดเวลา 3) Strive : พยายามอย่างที่สุดในการทำงาน ทำมากกว่า R&R (Role and Responsibility)                  Engagement Model จะประกอบด้วย 3 ส่วนคือ 1) Think : พนักงานต้องมั่นใจว่า Mission/Vision ขององค์กรนี้ถูกต้อง 2) Feel : พนักงานรู้สึกภูมิใจและผูกพันต่อองค์กร 3) Act : คนเชื่อมั่นในสิ่งต่างๆ ในองค์กร ดังนั้นจึงทำงานทุ่มเทให้องค์กร ดังนั้น กลยุทธ์ (Strategy) จะทำให้องค์กรแตกต่างจากคู่แข่งขัน ซึ่งพนักงานที่ทำกลยุทธ์ก็จะได้รับโบนัสพิเศษมากกว่าคนที่ทำงาน routine                 Types of Performers 1  Rising Star   - High Potential, High Work Performance  2  Work Horse -  High Potential, Low Work Performance ต้องรักษาเขาไว้ เป็นคนที่ไม่ต้องการโตในองค์กรและไม่มีปัญหาในองค์กรเพราะไม่ยุ่งกับใครแต่ต้องการทำงานให้ เป็นคนที่มีประโยชน์ต่อองค์กรมีความรู้มาก 3  Deadwood - Low Potential, Low Work Performance เป็นคนที่ไม่รับเทคโนโลยีใหม่ๆ ไม่รับสิ่งที่เปลี่ยนแปลง เป็นคนที่อยู่มานานในองค์กรลูกค้าจำได้ ฉะนั้นควรให้โอกาสเขาในการพัฒนาโดยบอกให้เขาทราบให้ระยะเวลา 6 เดือน ถ้าครบกำหนดแล้วไม่มีการพัฒนาก็ไม่ควรให้อยู่ในองค์กรอีก 4 Problem Child - High Potential, Low Work Performance องค์กรต้องรู้ปัญหาที่แท้จริงแล้วแก้ไขปัญหานั้น อาจจะทำโดยการปรับทัศนคติ หรือ Motivate หรือ Input ด้านเครื่องมือ ความรู้ต่างๆ ให้กับเขา วันหน้าเขาจะขึ้นไปเป็น rising star ได้                The Seven Factors of Engagement 1   Culture and Purpose   2 Leadership                      3 Relationships 4 Quality of Life 5 Job Tasks 6) Opportunity และ 7 Total Compensation โดยองค์กรควรเลือกทำเรื่องที่จะทำได้ก่อนปีละ 1-2 เรื่องก็เพียงพอ          ซึ่งการเรียนกับท่านอาจารย์ในวันนี้ทำให้ข้าพเจ้าทราบเรื่อง Engagement เป็นอย่าดี รู้สึกว่าได้รับความรู้ในสิ่งที่เรายังไม่รู้มีอีกมาก ทั้งนี้นับว่าเป็นประโยชน์กับข้าพเจ้าเป็นอย่างมากและขอขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูง  
นางสาวกฤษณา ปลั่งเจริญศรี
การฟังการบรรยาย เมื่อวันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม 2550 กับอาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด นักศึกษา นางสาวกฤษณา ปลั่งเจริญศรีดนัย เทียนพุฒ ได้ให้หลักการ Engagement หมายถึง ความผูกพันขององค์กรกับพนักงาน การดูแลระหว่างที่เขาอยู่กับองค์กร อันได้แก่ 
  1. การหาคนเข้ามาอยู่ในองค์กร
    • Manpower Planning
    • Recruitment
    • Selection
    • Testing
    • Staffing
 
  1. การพัฒนาคนในองค์กร
    • Education
    • Training
    • Development
    • Performance Appraisal
 
  1. การรักษาคนเหล่านั้นให้อยู่กับองค์กรนานๆ
 ความผูกพันระหว่างองค์กรกับพนักงาน ของท่านอาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด ตามหลักการของ Engagement Model 
  1. การคิด (Think) มีความคิดร่วม,ตกลงร่วมกับองค์กรในทุกๆด้านที่องค์กรตัดสินใจ
 
  1. Feel การมีความผูกพันธ์ มีใจรักองค์กร ทั้งที่ยังทำงานอยู่ และถึงแม้จะจากไปแล้วก็ยังรัก
 
  1. Act การแสดงออกในทุกๆด้าน ทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ ต้องการ Stay,Say,Strive
 Factor ของท่านอาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด ไดให้ไว้  
  1. Culture and Purpose วัฒนธรรม และเหตุผล
    • ทำเพื่อตนเอง,เพื่อครอบครัว,เพื่อลูก อนาคตของครอบครัวเจริญก้าวหน้า
    • มีค่านิยมองค์กร มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เจริญเติบโตเร็ว น่าที่จะอยู่ทำงานด้วย
  
  1. Leadership
·         องค์กรมีชื่อเสียงดี เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก หรือทั่วเอเชีย·         องค์กรมีการดำเนินกิจการเป็นที่เชื่อถือ ในทุกๆด้าน เช่น ด้านการเงิน 
  1. Relationships
·         การทำงานร่วมกันเป็นทีมของบุคลากรในองค์การ·         การมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับ  บัญชา·         สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ต่อสินค้าขององค์กร บุคคลากรในองค์กร 
  1. Duality of Life
·         สภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพ ในการทำงาน มีอุปกรณ์ในการทำงานครบ สะดวกในการใช้ แสงสว่าง ห้องพัก ห้องอาหาร สถานที่ออกกำลังกาย เป็นต้น·         สภาพแวดล้อมในการทำงาน มีการส่งเสียงดัง ควรมีอุปกรณ์ช่วยลดความดังของเสียง,ฝุ่น,กลิ่น ควรมีอุปกรณ์ป้องกัน 
  1. Job Tasks
·         ผลกระทบจากการทำงาน เข้าลักษณะทำดีไม่ได้ดี ไม่มีใครเห็น·         ความท้าทายของงาน เปิดโอกาสให้แสดงความสามารถ ในด้านต่างๆ·         ศักดิ์ศรีและสถานะตาม การทำงานมีความมั่นคง เป็นที่เชื่อถือ ยอมรับของผู้ร่วมงาน 
  1. Opportunity
·         โอกาสในการเจริญเติบโต ในตำแหน่งงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำ·         การพัฒนาความรู้ความสามารถในงานที่ทำ มีโอกาสออกไปศึกษาดูงาน สัมมนาหาความรู้ใหม่ๆ เพิ่มพูนความสามารถของตนเอง เพื่อจะได้นำมาพัฒนา ปรับปรุงงานของตนเอง·         โอกาสในการเลื่อนตำแหน่งในหน้าที่ บุคคลากรทุกคนคาดหวัง และต้องการ ตำแหน่ง,เกียรติยศ,ชื่อเสียง,การยอมรับนับถือ จากผู้ร่วมงาน 
  1. Total compensation
·         การให้ความยุติธรรมกับบุคลากร ในการทำงาน ทำดีต้องได้ดี เปิดโอกาสให้แสดงความสามารถ และให้การยอมรับข้อเสนอแนะที่บุคลากรเสนอ·         ยอมรับผิดชอบในการที่บุคลากรได้กระทำ ซึ่งอันได้แก่ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ต้องดูแลเอาใจใส่ ให้การดูแลรักษา·         เปิดโอกาสให้บุคคลากร ได้แข่งขัน ในหน้าที่การงานอย่างเต็มความสามารถ ทั้ง 7 Factor มีผลกระทบต่อสัมพันธภาพระหว่าง องค์กรกับบุคคลากรในหลายด้าน ดังนี้ 1.       ความสามารถของบุคคลากร รวมทั้งการพัฒนาความรู้ ความสามารถของตน ให้สอดคล้องกับองค์ที่เปลี่ยนแปลงไป2.       การประเมินผลการปฏิบัติงาน ประเมินจากความสามารถพิเศษ ความรวดเร็วในการทำงาน, ทำงานถูกต้องแม่นยำ เมื่อบุคลากรปฏิบัติงาน องค์กรจะทำการประเมินผลการปฏิบัติงาน ซึ่งส่งผลให้องค์การแบ่งบุคลากรเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.      Problem Child เป็นกลุ่มบุคลากรที่มีศักยภาพสูง แต่ความสามารถในการทำงานต่ำ สร้างปัญหาในการทำงาน 2.      Rising Star เป็นกลุ่มบุคลากรที่มีศักยภาพ และความสามารถสูง ซึ่งเป็นกลุ่มที่องค์กรต้องรักษา และพัฒนาให้ทำงานในองค์กรตลอดไป  3.      Work Horse เป็นกลุ่มบุคลากรที่มีศักยภาพต่ำ แต่มีความสามารถสูง ซึ่งเป็นบุคลากรส่วนใหญ่ขององค์กรที่ทำงานประจำ (Back Office Operation) หากบุคลากรในกลุ่มนี้ได้รับการจูงใจ หรือโอกาส จะก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่สูงขึ้น และก้าวเข้าสู่ Rising Star ในองค์กรใหม่ได้ 4. Deadwood เป็นกลุ่มบุคคลากร ที่มีทั้งศักยภาพ และความสามารถต่ำ ทั้งนี้องค์กรต้องให้โอกาสบุคลากรในกลุ่มนี้ ได้ปรับปรุงการปฏิบัติงานตลอดจนแนวความคิด ทรรศนะนคติ ที่มีต่อการทำงาน เพื่อให้พัฒนาการทำงานได้ดีขึ้น จะเห็นได้ว่าการบรรยายของอาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด ในเรื่อง Employees Engagement for Sustainable growth ได้ให้ความรู้แก่ผู้เรียนเป็นอย่างมาก และขอขอบพระคุณที่ได้ให้ความรู้ ซึ่งผู้เรียนได้นำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริง ได้เป็นอย่างดี และกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ ที่ได้สละเวลาอันมีค่ายิ่ง ในการบรรยายให้กับ คณะนักศึกษาปริญญาเอก สาขานวัตกรรมภาครัฐและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา  นางสาว กฤษณา ปลั่งเจริญศรีนักศึกษาหลักสูตรการจัดการดุษฎีบัณฑิตสาขานวัตกรรมการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา  

ครั้งที่ 4 บรรยายโดยอาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด จากการที่ฟังบรรยายในครั้งนี้ทำให้ได้รับรู้มุมมองในการบริหารที่กว้างมากขึ้นในการผูกใจพนักงานให้อยู่กับองค์กร เป็นงานที่ท้าทายของผู้บริหารในการที่จะทำให้พนักงานที่มีอยู่เกิดความผูกพันโดยให้มีความรู้สึกว่าองค์กรเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต Engagement Modelคือ โครงสร้างความผูกพันประกอบด้วย

-ความมั่นใจในองค์กร ผู้บริหารต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับพนักงานโดยการสร้างบรรยากาศการทำงานให้มีความน่าเชื่อถือ สร้างเครดิตที่ดีกับองค์กรมีการสื่อสารประชาสัมพันธ์ให้บุคคลภายนอกได้รู้จักจุดแข็ง รู้จักสัญลักษณ์แห่งความเป็นสถาบันขององค์กรเราเพราะทุกอย่างที่จะเกิดตามมาหลังจากความมั่นใจที่มีให้กับองค์กรคือการระดมสรรพกำลังในการทุ่มเทเพื่อสถาบันที่ตนเองทุกอย่างเริ่มต้นที่ความมั่นใจกับองค์กร

-สำนึกที่ดี มีความหมายที่กว้างและมีความสำคัญอย่างมากสำหรับองค์กรถึงแม้องค์กรจะมีคนเก่งมาก ฉลาดมากแต่หากขาดจิตสำนึกรักองค์กรแล้วองค์กรนั้นจะไม่สามารถอยู่ได้นาน ต้องเริ่มที่การปลูกฝังทัศนคติที่ดีตั้งแต่เริ่มเข้าทำงานและองค์กรต้องมีส่วนในการพัฒนาจิตสำนึกที่ดี มีความภักดีต่อองค์กร

-ทำทุกอย่างเพื่อองค์กร เริ่มจากความเชื่อมั่นและจิตสำนึกที่ดีเป็นองค์ประกอบให้บุคลากรคิดผลิตผลงาน สินค้าและบริการโดยคิดว่าตนเองเป็นเจ้าของผลงานเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรและเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ

อาจารย์ได้ให้หลักในการคิดในเชิงมุมมองหลายด้านที่เป็นประโยชน์อย่างมากเช่นมีทั้งปัจจัยที่ควบคุมได้และปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้การทำงานบริหารงานต้องเตรียมทางออกไว้มากกว่าหนึ่งทางนั่นคือ กลยุทธการบริหารคือสิ่งที่ทำให้องค์กรแตกต่างจากคู่แข่งขัน ต้องขอบขอบคุณอาจารย์พจนารถที่ท่านได้ถ่ายทอดความรู้เชื่อมโยงหลากมิติให้ง่ายได้ในความเข้าใจเป็นอย่างดี

                                      

 

นางสาวกฤษณา ปลั่งเจริญศรี
การฟังการบรรยาย เมื่อวันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม 2550 กับอาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด นักศึกษา นางสาวกฤษณา ปลั่งเจริญศรีดนัย เทียนพุฒ ได้ให้หลักการ Engagement หมายถึง ความผูกพันขององค์กรกับพนักงาน การดูแลระหว่างที่เขาอยู่กับองค์กร อันได้แก่ 1. การหาคนเข้ามาอยู่ในองค์กร
    • Manpower Planning
    • Recruitment
    • Selection
    • Testing
    • Staffing
 

2. การพัฒนาคนในองค์กร

    • Education
    • Training
    • Development
    • Performance Appraisal
 3. การรักษาคนเหล่านั้นให้อยู่กับองค์กรนานๆ ความผูกพันระหว่างองค์กรกับพนักงาน ของท่านอาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด ตามหลักการของ Engagement Model 1. การคิด (Think) มีความคิดร่วม,ตกลงร่วมกับองค์กรในทุกๆด้านที่องค์กรตัดสินใจ 2. Feel การมีความผูกพันธ์ มีใจรักองค์กร ทั้งที่ยังทำงานอยู่ และถึงแม้จะจากไปแล้วก็ยังรัก 3. Act การแสดงออกในทุกๆด้าน ทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ ต้องการ Stay,Say,Strive Factor ของท่านอาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด ไดให้ไว้  1. Culture and Purpose วัฒนธรรม และเหตุผล
    • ทำเพื่อตนเอง,เพื่อครอบครัว,เพื่อลูก อนาคตของครอบครัวเจริญก้าวหน้า
    • มีค่านิยมองค์กร มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เจริญเติบโตเร็ว น่าที่จะอยู่ทำงานด้วย
  2. Leadership·         องค์กรมีชื่อเสียงดี เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก หรือทั่วเอเชีย·         องค์กรมีการดำเนินกิจการเป็นที่เชื่อถือ ในทุกๆด้าน เช่น ด้านการเงิน 3. Relationships·         การทำงานร่วมกันเป็นทีมของบุคลากรในองค์การ·         การมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้บังคับบัญชากับผู้ใต้บังคับ  บัญชา·         สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ต่อสินค้าขององค์กร บุคคลากรในองค์กร 4. Duality of Life·         สภาพแวดล้อมทางด้านกายภาพ ในการทำงาน มีอุปกรณ์ในการทำงานครบ สะดวกในการใช้ แสงสว่าง ห้องพัก ห้องอาหาร สถานที่ออกกำลังกาย เป็นต้น·         สภาพแวดล้อมในการทำงาน มีการส่งเสียงดัง ควรมีอุปกรณ์ช่วยลดความดังของเสียง,ฝุ่น,กลิ่น ควรมีอุปกรณ์ป้องกัน 5. Job Tasks·         ผลกระทบจากการทำงาน เข้าลักษณะทำดีไม่ได้ดี ไม่มีใครเห็น·         ความท้าทายของงาน เปิดโอกาสให้แสดงความสามารถ ในด้านต่างๆ·         ศักดิ์ศรีและสถานะตาม การทำงานมีความมั่นคง เป็นที่เชื่อถือ ยอมรับของผู้ร่วมงาน 6. Opportunity·         โอกาสในการเจริญเติบโต ในตำแหน่งงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำ·         การพัฒนาความรู้ความสามารถในงานที่ทำ มีโอกาสออกไปศึกษาดูงาน สัมมนาหาความรู้ใหม่ๆ เพิ่มพูนความสามารถของตนเอง เพื่อจะได้นำมาพัฒนา ปรับปรุงงานของตนเอง·         โอกาสในการเลื่อนตำแหน่งในหน้าที่ บุคคลากรทุกคนคาดหวัง และต้องการ ตำแหน่ง,เกียรติยศ,ชื่อเสียง,การยอมรับนับถือ จากผู้ร่วมงาน 7. Total compensation·         การให้ความยุติธรรมกับบุคลากร ในการทำงาน ทำดีต้องได้ดี เปิดโอกาสให้แสดงความสามารถ และให้การยอมรับข้อเสนอแนะที่บุคลากรเสนอ·         ยอมรับผิดชอบในการที่บุคลากรได้กระทำ ซึ่งอันได้แก่ อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ต้องดูแลเอาใจใส่ ให้การดูแลรักษา·         เปิดโอกาสให้บุคคลากร ได้แข่งขัน ในหน้าที่การงานอย่างเต็มความสามารถ 

ทั้ง 7 Factor มีผลกระทบต่อสัมพันธภาพระหว่าง องค์กรกับบุคคลากรในหลายด้าน ดังนี้

1. ความสามารถของบุคคลากร รวมทั้งการพัฒนาความรู้ ความสามารถของตน ให้สอดคล้องกับองค์ที่เปลี่ยนแปลงไป      2. การประเมินผลการปฏิบัติงาน ประเมินจากความสามารถพิเศษ ความรวดเร็วในการทำงาน, ทำงานถูกต้องแม่นยำ เมื่อบุคลากรปฏิบัติงาน องค์กรจะทำการประเมินผลการปฏิบัติงาน ซึ่งส่งผลให้องค์การแบ่งบุคลากรเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1. Problem Child เป็นกลุ่มบุคลากรที่มีศักยภาพสูง แต่ความสามารถในการทำงานต่ำ สร้างปัญหาในการทำงาน 2. Rising Star เป็นกลุ่มบุคลากรที่มีศักยภาพ และความสามารถสูง ซึ่งเป็นกลุ่มที่องค์กรต้องรักษา และพัฒนาให้ทำงานในองค์กรตลอดไป  3. Work Horse เป็นกลุ่มบุคลากรที่มีศักยภาพต่ำ แต่มีความสามารถสูง ซึ่งเป็นบุคลากรส่วนใหญ่ขององค์กรที่ทำงานประจำ (Back Office Operation) หากบุคลากรในกลุ่มนี้ได้รับการจูงใจ หรือโอกาส จะก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่สูงขึ้น และก้าวเข้าสู่ Rising Star ในองค์กรใหม่ได้ 4. Deadwood เป็นกลุ่มบุคคลากร ที่มีทั้งศักยภาพ และความสามารถต่ำ ทั้งนี้องค์กรต้องให้โอกาสบุคลากรในกลุ่มนี้ ได้ปรับปรุงการปฏิบัติงานตลอดจนแนวความคิด ทรรศนะนคติ ที่มีต่อการทำงาน เพื่อให้พัฒนาการทำงานได้ดีขึ้น จะเห็นได้ว่าการบรรยายของอาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด ในเรื่อง Employees Engagement for Sustainable growth ได้ให้ความรู้แก่ผู้เรียนเป็นอย่างมาก และขอขอบพระคุณที่ได้ให้ความรู้ ซึ่งผู้เรียนได้นำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริง ได้เป็นอย่างดี และกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ ที่ได้สละเวลาอันมีค่ายิ่ง ในการบรรยายให้กับ คณะนักศึกษาปริญญาเอก สาขานวัตกรรมภาครัฐและท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา  นางสาว กฤษณา ปลั่งเจริญศรีนักศึกษาหลักสูตรการจัดการดุษฎีบัณฑิตสาขานวัตกรรมการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา  

Surachet  Suchaiya (Mobile: 089 205 3098, [email protected])

HomeWork# 4 Human Capital (7-Jul-07)

Employee Engagement for Sustainable Growth.

Aj.Potchanart  Seebungkerd

 

ความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันนี้

                        ก่อนเริ่มเรียนได้ทราบว่า อ.พจนารถ  ซีบังเกิด อยู่ที่ APM Group และเป็นประธาน Human Capital Club (Thailand) หรือ HCC

อ.พจนารถ เริ่มต้นที่ Competency  Competency ไม่ใช่ความสามารถเพียงอย่างเดียว แต่ Competency หมายถึง knowledge, skill, Attribute โดยยกตัวอย่าง case Study ของ star bug  ร้านกาแฟที่ดังที่สุดในยุคนี้  มีผู้คนมากมาย นิยมชมชอบ ติดอกติดใจ ใน Brand ของ Star Bug  ถึงขนาดยอมจ่ายเงินก่อนซื้อ Star Bug Card   ทำให้มองเห็นว่าลูกค้ามีความภูมิใจที่ได้ใช้สินค้าและบริการที่ร้านกาแฟ ภายใต้ Brand นี้เป็นอย่างมาก  

                        เราจะเห็นได้ว่า สินค้าที่ Star Bug จำหน่าย เช่น กาแฟ, คุ๊กกี้,เค๊ก เหล่านี้ ที่จริงแล้วไม่ได้อร่อยกว่าที่อื่น แต่ ที่ Star Bug ได้มี Organization culture ที่ปลูกฝั่งให้พนักงาน นิยมเข้าใจลูกค้า พนักงานสามารถจดจำได้ ทั้งในเรื่องรสชาติที่ลูกค้าแต่ละคนต้องการ ชื่อของลูกค้า ความมีน้ำใจที่มีให้ ทำให้ Star Bug มีความโดดเด่นกว่าคู่แข่ง สามารถครองใจลูกค้าที่ทั่วโลก.

                        อ.พจนารถ ได้ยกประโยคที่มีความหมายขึ้นมา 2 ประโยค คือ At the end of the day.    At the end of  your life.      ไม่ว่าเราจะทำกิจการงานสิ่งใด เรื่องจากทุกเรื่องในแต่ละวัน และ ในชีวิตประจำวันของเราล้วนเกี่ยวข้องกับคนทั้งสิ้น  ทำให้ผมได้ทราบว่า Relationship เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด   เนื่องจาก Relationship ช่วยลดเวลาในการตัดสินใจซื้อของลูกค้าที่มีต่อเราได้มาก.

 

แนะนำให้รู้จัก Trust

Trust               = (C^2)/R;

Trust มีในทุกคน แม้ไม่มีอาชีพ ไม่มีเงิน ไม่มีฐานะ

C^2                 = Creditability x Care;

Creditability    = รักษาคำพูด;

                        = มีความรู้ความสามารถ;

                        = มีคนรักนับถือ;

Care                = ห่วงใย;

                        = ห่วงหาอาทร;

Risk                 = ความเสี่ยง;

                        เรื่องเกี่ยวกับความเสี่ยงนั้น หากทำอะไรแล้วมีความเสี่ยงต่ำ ผู้คนอยากคบหาด้วย การที่ทำอะไรแล้วมีความเสี่ยงมากจะทำให้ Credit ลดลง หรือไม่ได้รับความน่าเชื่อถือ.

 Trust  เกิดได้ตั้งแต่แรกเห็น บางครั้ง Trust ได้มาด้วยภาษากาย Trust ได้มาด้วย Credit ความห่วงหาอาทร, ห่วงใย, Trust เกิดได้กับผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำ.

 

แนะนำให้รู้จัก Employee Engagement

                        เมื่อ Staff Engagement แล้ว   เขาจะพูดถึงองค์กรในแง่ดีตลอดเวลา แม้องค์กรจะไม่ได้ Perfect ทุกอย่างแต่น่าอยู่  พวกเขาจะทำมากกว่า Role and Responsibility  เกิด Thinking ในทางที่ดีบริษัทฯ มีโอกาสโต. เขาจะมี Stay, Say, Strive,  มี Feel รู้สึกว่าเป็นทีมของที่นี่, เชื่อถือผู้บริหารที่นี่  Act เมื่อ Thinking และ Feel แล้วจะแสดงออกทางพฤติกรรม (Behavior)

 



Type of  Performanace ในองค์กรมีคน 4 ประเภทดังต่อไปนี้

Rising Star  : คนกลุ่มนี้มี Performance สูง และมี Potential สูง เราชอบ / คู่แข่งก็ชอบ.

Work Horse : คนกลุ่มนี้มี Performance สูง แต่ไม่มี Potential ในองค์กร  พวกเขาชอบทำงานใน Role and Responsibility หรือ ใน Job Description ได้ดีมาก   พวกเราไม่ชอบเป็นหัวหน้า. ไม่ชอบโตในองค์กร  อยากมีเวลาส่วนตัวมากกว่าความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน.  คนกลุ่มนี้ต้องจ่ายเงินเดือนให้ Align กับตลาด ถ้าอยู่นานควรมี Incentive ดึงใจเอาไว้.

Deadwood : คนกลุ่มนี้ Low Performance และ Low Potential  เขาจะไม่สามารถรับรู้ศาสตร์ หรือ วิทยาการใหม่ ถ้าเราไม่มีระบบจัดการที่ดี คนกลุ่มนี้จะเพิ่มจำนวนมากในองค์กร  อย่าเขาไว้ในองค์กรเนื่องจากสงสารเขา  เพราะเขาอาจเป็น Rising Star ใน Business อื่น.

Problem Child : คนกลุ่มนี้ Low Performance แต่กลับมี High Potential  ตัวอย่างของคนกลุ่มนี้ เช่น เด็กเส้น, เด็กฝาก, หรือ พวกลองงานใหม่.

 

แนะนำให้รู้จัก COC และ COI



COC                Circle of concern

COI                 Circle of Influent

                        อ.พจนารถ  ยกตัวอย่าง การที่เราจะแก้ปัญหาระบบทั้วประเทศชาติไม่ได้ แต่เราแก้ไขที่ตัวเราเองได้ COI เป็นอะไรที่เริ่มจากตัวของเราก่อน แม้จะไม่มีทางใหญ่กว่า COC ได้แต่จะขยายไปเรื่อยๆ

 

ระบบFeedBack  คล้ายกับการปวารถนาตัวกันที่พระภิกษุสงฆ์ถือปฎิบัติกัน.

                        โดยมากมนุษย์ไม่ค่อยชอบใช้ ระบบ Feedback เท่าไหร่นัก การจะ Feedback ผู้อื่นอย่าให้เขารู้สึกว่าเขาถูกด่า  อย่าเจาะจงตัวเกินไปให้ใช้ iMessage   เช่น คุณเป็นคนเก่งเป็นหน้าเป็นตาของบริษัทฯ  อย่าทำอย่างนี้เลย  เรารู้สึกไม่ดีอยากให้ช่วยปรับปรุง

 

บุคคลิกของคน : คนทุกคนจะมีส่วนเหมือนประเภทดังต่อไปนี้ ตามแต่ละคนจะไปมากบ้างน้อยบางคละเคล้ากันไป.

ประเภท D (Dominance)

-          คิดเร็ว, มี Six Saint, เป็นพวกมี Visionary

-          ดูภาพกว้าง, ชอบอะไรที่ไม่เยื้อยาว, เนื้อๆเน้นๆ

ประเภท S (Sturdiness)

-          มีเหตุผล

-          นักฟังที่ดี , ไม่มี Feedback

-          Care ความรู้สึกคนอื่น

ประเภท C (Compliance)

-          ยึดหลักการ

-          ละเอียดถูกต้อง

ประเภท I (Influents)

-          มองโลกในแง่ดี

-          ทำงานดี เป็นพวก Horse work

 

Activity 1 (รู้จักคนใกล้ตัวเรา)

                        อ.พจนารถ  ให้เลือกส้มคนละผล โดยให้เราทำความรู้จักกับส้มเสมือนเป็นเพื่อนของเรา  แล้วใส่ถุงคืนเจ้าหน้าที่  หลัง Coffee Break   อ.พจนารถ  ให้พวกเรามาเลือกส้มผลที่เราได้ทำความรู้จักผลเดิมคืน   จากนั้น อ.พจนารถ  สรุป case study ที่ให้พวกเราทำกิจกรรมว่า ส้มแต่ละผลที่พวกเราเลือกเสมือนพนักงานของเรา หรือ ลูกค้าของเราที่เราต้องเอาใจใส่กับเขา 


Activity 2 (Positioning ในองค์กร)

                        อ.พจนารถ  แจกผ้าขาดผมและให้พวกเราในห้องแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม แล้วแต่ละกลุ่มเลือกไพ่มาเสียบไว้ที่ผ้าคาดผม จากนั้นให้ปฎิสัมพันธ์กันในกลุ่มโดยห้ามบอกว่าใครมีไพ่อะไรอยู่แล้วให้จัดแถวโดยหัวแถวเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย.   อ.พจนารถ สรุปให้พวกเราว่าในองค์กร เราจะสามารถเรียนรู้และทราบลำดับชั้นต่างๆได้เอง โดยไม่ต้องมีใครบอก. ก็เหมือนกับที่พวกเราสามารถทราบไพ่ที่เสียบไว้ที่ผ้าคาดผมของแต่ละคนได้เองจากกับที่สังเกตพฤติกรรมและ Feedback ที่คนเราข้างมีให้เรา.

นายปลื้มใจ สินอากร
การเรียนวันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม 2550 หัวข้อ กรณีศึกษาเรื่องการวางแผนกำลังคน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในเครือซีเมนต์ไทย โดยอาจารย์บวรนันท์  ทองกัลยา ประวัติย่อบริษัทปูนซีเมนต์ไทย เป็นบริษัทมหาชนก่อตั้งมาตั้งแต่ ปี 1913 มีอายุกว่า 90 ปี มีบริษัทย่อยในเครือกว่า 200 บริษัท ก่อนเกิดวิกฤตในปี 2540 เมื่อเกิดวิกฤตทางการเงินในปี 2540 บริษัทก็ได้ตัดธุรกิจที่ไม่ชำนาญออกไป เช่น บริษัท IEC ทำธุรกิจเครื่องมือสื่อสาร, บริษัทกระจกอาชาฮี, บริษัทผลิตหลอดจอโทรทัศน์โรงงานถลุงเหล็กปัจจุบันบริษัทมียอดขายประมาณ 250,000 ล้านบาท รายได้หลักมาจากปิโตรเคมี 50% จากซีเมนต์ 20% นอกจากนั้นเป็นรายได้จากการผลิตกระดาษ และอื่นๆ ขณะที่มีคนงานอยู่ประมาณ 23,617 คน อนาคตจะมีคนเพิ่มเป็นประมาณ 30,000 คนบริษัทมีโครงการที่จะขยายการลงทุนไปยังประเทศจีน, พม่า, ลาว, เขมร และเวียดนามเพิ่มมากขึ้น หลักการทำงานอุดมการณ์ในการดำเนินธุรกิจ บริษัทเน้นคุณภาพ และความเป็นธรรม โดยมีหลักการดังนี้-          ตั้งมั่นในความเป็นธรรม-          มุ่งมั่นในความเป็นเลิศ-          เชื่อมั่นในคุณค่าของคน-          ถือมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคมเชื่อมั่นในคุณค่าของคน-          คนเป็นสินทรัพย์ที่มีค่ามากที่สุด-          บริษัทในเครือฯ ให้ความสำคัญกับการบริหารคน- สรรหาพนักงานที่มีคุณภาพ- พัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่อง- ดูแลให้พนักงานเติบโตก้าวหน้าในเครือฯ            นโยบายการบริหารบุคคลของเครือฯ ให้ความเป็นธรรมแก่พนักงานทุกคน-          สรรหาพนักงานที่มีคุณภาพ (Selection)-          พัฒนาพนักงานอย่างต่อเนื่องให้มีทักษะ และคุณธรรม (Continuous Development)-          ดูแลรักษา และสนับสนุนให้พนักงานเติบโต ก้าวหน้าในเครือ (Enable to grow) 
การพัฒนาคนให้คนเป็นคนเก่ง และเป็นคนดี
            เก่งงาน              ทำงานได้สำเร็จ            เก่งคน               ทำงานเป็นทีม            เก่งคิด               ริเริ่มสร้างสรรค์ ปรับปรุงงาน            เก่งเรียน             เรียนรู้งานใหม่ได้ดี             คนที่เป็นคนประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่ความรู้ คู่คุณธรรม
  1. ต้องเป็นคนมีน้ำใจ      
  2. ใฝ่หาความรู้
  3. มีความวิริยะอุตสาหะ  
  4. มีความเป็นธรรมและซื่อสัตย์
  5. เห็นแก่ส่วนร่วม   
  6.  รู้หน้าที่ในงานและครอบครัว
  7. มีทัศนคติที่ดี      
  8. มีวินัยและมีสัมมาคารวะ
  9. มีเหตุผล  
  10. รักษาชื่อเสียงทั้งของตัวเองและของบริษัท
             นโยบายการพัฒนาพนักงานของเครือฯ-          ถือเป็นการลงทุนในระยะยาว เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ-          พัฒนาพนักงานทุกวิชาชีพ ทุกระดับ และทุกคน-          พัฒนาอย่างเพียงพอต่อเนื่อง และสอดคล้องกับ Competency ของพนักงาน-          ส่งเสริมให้พนักงานเรียนรู้ด้วยตนเอง เป้าหมายในการพัฒนาพนักงานขั้นที่ 1 ทำงานได้ขั้นที่ 2 ทำงานดีขั้นที่ 3 ทำงานเก่งขั้นที่ 4 สอนลูกน้อยได้ขั้นที่ 5 ทำงานแทนผู้บังคับบัญชาได้ขั้นที่ 6 เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น บทบาทของ HRD (HRD Roles)-          ผู้บริหาร / ผู้นำ (Managers / Leaders)-          ผู้สอน / วิทยากร (Learning Agents / Instructors)-          ผู้ออกแบบหลักสูตร (Instructional Designers)-          ผู้จัดระบบการปฏิบัติงาน (Performance Engineer)-          ที่ปรึกษา (HRD Consultants) การปฏิบัติงาน HRD (HRD Practices)-          การวิเคราะห์ความจำเป็นในการพัฒนา-          งานออกแบบ พัฒนา และประเมินผลหลักสูตรต่างๆ-          งานถ่ายทอดความรู้เพื่อพัฒนาความสามารถของพัฒนางาน-          การประยุกต์การเรียนการสอนให้สอดคล้องกับงานที่ทำ-          การประเมินผลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียน Competency Based DevelopmentCompetency คือ คุณลักษณะทั้งในด้านทักษะ ความรู้ และพฤติกรรมของบุคคล ซึ่งจำเป็นต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งงานหนึ่งๆ ให้ประสบความสำเร็จ Linkage of Strategy to Competencyความเชื่อมโยงระหว่าง Competency กับกลยุทธ์ขององค์กรถูกถ่ายทอดโดยการกำหนดงาน และหน้าที่ที่บุคลากรจะพึงปฏิบัติเพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างที่ควรจะเป็น ดังนั้นบุคลากรจึงจำเป็นที่จะต้องมีคุณลักษณะ และความสามารถที่ตรงกับงานที่จะต้องปฏิบัติ การวิเคราะห์ความจำเป็น-          องค์กร-          หน้าที่งาน-          พนักงาน-          ลูกค้า ผลการวิเคราะห์ความจำเป็น-          Training Road Map (TRM)-          Competency Development Program (CDP) Competency Base Developmentความหมาย คือ การพัฒนาพนักงานตามคุณลักษณะทั้งในด้านทักษะ ความรู้ และพฤติกรรมของพนักงาน ซึ่งจำเป็นต่อการปฏิบัติงานในตำแหน่งงานหนึ่งๆ ให้ประสบความสำเร็จ Training Road Map (TRM)ความหมาย คือ แนวทางในการพัฒนา และฝึกอบรมพนักงานตั้งแต่เริ่มเข้าทำงานเติบโตเป็นผู้บังคับบัญชา เปรียบเทียบการพัฒนาบุคคลากรตาม TRM และ CDP
Training Road Map (TRM) Competency Development Program (CDP)
- พัฒนาตามอายุงาน - พัฒนาตามศักยภาพ
- ไม่มีการประเมินรายบุคคล - ประเมินรายบุคคล
- แผนพัฒนาเหมือนกัน - การพัฒนารายบุคคล
- พัฒนาด้าน TQC Functional - การพัฒนาขึ้นกับผลการประเมินรายบุคคล
General Management  

 

องค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)เป็นรูปแบบองค์กรที่สนับสนุนให้ทุกคนเพิ่มขีดความสามารถอย่างต่อเนื่องในการสร้างสรรค์ เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ต้องการเฉพาะอย่างยิ่งเรียนรู้ได้เร็วกว่าคู่แข่งขันพื้นฐานในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้จากหนังสือ The Fith Discipline Field book : Strategies and Tools for Building a Learning Organization by Peter Sengeการเรียนรู้ (Learning) กับการเก็บข้อมูล (Take Information)การเรียนรู้ไม่ได้หมายถึงการได้อ่านหนังสือแต่หมายรวมไปถึงการได้ทดลอง หรือฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความเข้าใจ และนำสิ่งที่ได้เรียนรู้นั้นมาพัฒนาขีดความสามารถของเราให้สูงขึ้น Development Method-          Training-          Master Degree Scholarship-          Domestic and Oversea Visit-          Job Rotation-          Coaching, Counseling-           Being Instructor-          Productivity Improvement Participation-          Other Learning Process หลักสูตรที่จัดฝึกอบรม
ระดับบริหาร ความรู้ทางธุรกิจ ความรู้ในงาน บริหารทั่วไป พัฒนาภาวะผู้นำ/การเจรจาต่อรองการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ
ระดับบังคับบัญชา การบริหารคุณภาพ   การสื่อข้อความ/เทคนิคการนำเสนองาน หลักการบังคับบัญชา/การพัฒนาทีมงาน
ระดับปฏิบัติการ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อม   ภาษาอังกฤษ/การพัฒนาทีมงาน
             HRD Key Success Factor-          ผู้บริหารระดับสูงต้องส่งเสริมสนับสนุน-          ผู้บังคับบัญชาต้องเอาใจใส่ดูแลคัดเลือกและสอนงาน-          ตัวพนักงานเอง ต้องกระตือรือร้นที่จะพัฒนาตนเอง และเข้าใจวัตถุประสงค์ของการพัฒนา นำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์-          วิทยากรต้องมีความรู้ ความเข้าใจ และใช้รูปแบบที่เหมาะสม-          หน่วยงาน (ศูนย์ฝึกอบรม) ต้องพัฒนาหลักสูตรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่องข้อมูลจากเอกสาร Strategic HRD ของ SCG (Siam Cement Group) โดย K. Manoon Sunkunakorn Jan, 20, 2007Pleumjai Sinarkorn. July, 19, 2007
การเรียนครั้งที่ 5 ของHuman Capitalเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม 2550 โดย อาจารย์ บวรนันท์ ทองกัลยาในเรื่อง Strategic HRD of SCC  เริ่มจากวิวัฒนาการของเครือซิเมนต์ไทยโดยแบ่งเป็น 4 generation เริ่มตั้งแต่ปี 1913-1970 : ก่อตั้ง& เติบโตในธุรกิจวัสดุก่อสร้าง                   1970-1980 : ขยายโดยซื้อกิจการจากธุรกิจอื่น ๆเช่น                                กระดาษ /บรรจุภัณฑ์ /เซรามิค                   1980-1990 : ขยายโดยร่วมลงทุนกับบริษัทต่างชาติ                                ปิโตรเคมี ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและยานยนต์         ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ     1998 : ปรับโครงสร้างธุรกิจเน้น 6 ธุรกิจหลัก   2004 : Innovation & Oversea Expansionในเรื่องการสร้าง Engagement ของ SCC ดังนี้1. Org. Direction ที่ชัดเจน2.  Leadership Role Model3.  Empowerment4. Reward Recognize5. Career Opportunity6. Quality of Work life SCC เชื่อมั่นในคุณค่าของคน และเป็นสินทรัพย์ที่มีค่ามากที่สุด> เริ่มตั้งแต่การสรรหาพนักงานที่มีคุณภาพ> พัฒนาพนักงานที่ชัดเจนอย่างต่อเนื่องตาม   ศักยภาพเป็นรายบุคคลให้เชื่อมโยงกับกลยุทธ์> ดูแลพนักงานให้เจริญก้าวหน้า การย้ายหน้าที่ภายในโดยทั่วไปจะส่งผลทางด้านลบเสมอแต่สำหรับ SCC กลับเป็นเรื่องปกติที่พนักงานยอมรับและเปิดใจเพื่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ตลอดระยะเวลาการบรรยายมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหลากหลาย ทำให้บรรยากาศในการเรียนรู้เป็นกันเองและต่อยอดความคิดกันเป็นระยะ ๆ ที่สำคัญ SCC ถือว่าเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีขีดความสามารถสูงเรียนรู้ได้เร็วกว่าคู่แข่งขัน                                                อรพินท์ มณีรัตน์

Dear Prof. Chira,

Our 5th week on Human Capital Class had an opportunity to meet k. Sirilak Meksang. Her topic was focus on "Competence, Training & Learning".

There are two parts of her sessions. Today was the first part. She described on the linkage of HR and Marketers. Marketing person must understand and has the knowledge on HR aspect. It will be a value added to the organization to have the marketers who have the "HR skills & characteristic".

The systematic thinking also is another issue, she went over of how important to understand how to think in the system by using the 5W 2 H.  She introduced us to Schultz who described and pointed out the most important aspect on the human capital.  She had couples of case study to support Schultz's Theory.

From Schultz Theory, we can see the linkage to the skill, ability, knowledge and experiences. 

These 4 factors are essentials and can be part of the Key Indicator Performance. These 4 main aspects have the strong lead to become "High Performance Workforce" to the organization.

She went furthermore on the part of the core compotencies which part of the culture & value.

The Human Capital is basically relevant to the 4 factors. The contributions to Human Capital is how the organization focus on competencies, training and learning.

Her experiences and knowledges on Human Capital are most valuable to class. Personally looking forward to her 2nd part on this topic.

Thank you & with best regards,

Sarah (NaPombhejara) Allapach

SSRU/DM

21 July, 2007

 

  

 

 

นางสาวญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา

 
การบ้านครั้งที่ 5 จากการบรรยายพิเศษของ ท่านอาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ วันที่ 21 กรกฎาคม 2550 ในเรื่อง HUMAN CAPITAL COMPETENCY, TRAINING & LEARNING

ในวันนี้ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึงเรื่องของการทำวิจัยที่ดี ต้องมีที่มาจาก Quality paper และต้องสามารถ Reference ได้ด้วย นั่นคือการสร้างวินัยที่ต้องมีทั้งในสมองและจิตใจ (Know yourself about your role and responsibility)  รากฐานที่ดีจึงมักจะเกิดจากกระบวนการวิจัย องค์ความรู้ด้าน HUMAN CAPITAL  ข้าพเจ้าเคยมีประสบการณ์จากการอ่านบความจากการตีพิมพ์ของงานวิจัย  กล่าวว่า อีก 5 ปีข้างหน้า HR ของประเทศไทยจะประสบกับภาวะวิกฤตอย่างหนัก เนื่องจากในส่วนของ HRM คนไทยนิยมนำ Tool หรือเครื่องมือในการบริหารจัดการจากต่างประเทศมาใช้ ในขณะที่เครื่องมือบางอย่างไม่สามารถใช้กับองค์กรไทยเนื่องจากวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่างกัน ทำให้ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูง และปล่อยให้พนักงานเกิดช่องว่างจากการทำงานที่ไม่มีความสุข รวมทั้ง การปล่อยให้บทบาทหน้าที่สำคัญตกอยู่กับที่ปรึกษา รวมทั้ง บริษัทข้ามชาติซึ่งเข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยมักจะมีการจ้าง HR ต่างประเทศที่มีความสามารถในการวางแผนพัฒนาองค์กรสู่เวทีระดับโลก การจัดการความรู้ด้านการบริหารบุคคลจากบริษัทในเครือซึ่งในหลายประเทศ ทำให้สามารถนำแนวทางการจัดการของประเทศที่ประสบความสำเร็จมาปรับปรุงใช้ได้ ในขณะที่ HR คนไทยเป็นเพียงแค่ผู้ช่วยประสานการทำงานระหว่างผู้บริหารกับพนักงานคนไทย  ไทยยังไม่ปรับตัวให้เท่าทันกับกระแสโลกที่เปลี่ยนไปทุกวัน ซึ่งเป็นผลให้อนาคตบุคลากรคนไทยจะว่างงานมากขึ้น เนื่องจากอนาคตอันใกล้ ผู้บริหารองค์กรไทยจะให้ความสำคัญกับ HR ต่างชาติเพราะมีคุณภาพการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากกว่า HR ไทยHR ในวันนี้ต้องรู้จักลูกค้า ซึ่งหมายถึงลูกค้าภายใน ว่าเขาเหล่านั้นมีความต้องการอะไร และคิดในมุมของ  Outside – in มีบทความต่างประเทศกล่าวว่า “ Why we hate HR” ต้องเปลี่ยนให้เป็น “ Why we should love HR” และกลายมาเป็น We love HR ในที่สุด  เราต้องสร้างทุนในแง่ของความคิด และต้องคิดให้นอกกรอบ ละในปัจจุบันพบว่า สังคมแห่งการเรียนรู้ต้องเริ่มจากการวางพื้นฐานทางการศึกษาให้ดีก่อนKey performance indicator…. KPI นั้นเปรียบเสมือนเป็น High performance value ในที่สุดก็ต้องลงสู่การปฏิบัติจริงให้ได้ ก็คือ Just do it !!!! ต้องมีกระบวนการคิด การสร้าง และทำให้เกิดขึ้นได้ เพื่อเกิดเป็น High impact Performance จะต้อง Base on competency เครื่องมือต่างๆทางด้าน HR ส่วนมากมาจากประเทศทางตะวันตก และส่วนมากเป็นภาครัฐ ในกองทัพบก กองทัพเรือ ของสหรัฐอเมริกา แต่พอมาถึงบริบทของประเทศไทย กลับกลายเป็นนำเอาของภาคเอกชนมาปรับใช้ ปัญหาของ Key performance indicator…. KPI อยู่ที่ คนกำหนด KPI รู้เรื่องจริงหรือไม่ และคนรับเอาแนวทางมาปฏิบัติ เข้าใจเพียงใด สำหรับการประเมินผลนั้น ส่วนใหญ่ 99% ผู้บังคับบัญชาไม่ได้ประเมินผลจาก KPI แต่ประเมินผลจาก การใช้ความรู้สึกมาเป็นเกณฑ์ให้คะแนน นั่นคือ BIAS ประเทศญี่ปุ่นนั้น เคยมีบทเรียนจากสงครามโลกครั้งที่สองเกิด ความทุกข์ทรมาน เป็นความเจ็บปวด สูญเสียอย่างมหาศาล ทำให้ญี่ปุ่นในวันนั้นหลังสงครามโลกครั้งที่สองต้อง เริ่มสร้างคน เพราะมีบทเรียน จนทำให้ประเทศญี่ปุ่นมีการพัฒนาตราบเท่าถึงทุกวันนี้ คนญี่ปุ่นเรียนรู้ที่จะ แลกเปลี่ยนเรียนรู้และพูดกันถึงเรื่องของปัญหา เลิกระบบ LIFETIME EMPLOYMENT ใช้การจ้างงานแบบ CONTRACT มากขึ้น มีระบบการให้รางวัลจูงใจคน คือ DEMING AWARD ซึ่ง USA มีรางวัล MALCOM BALDRIDGH AWARD เป็นต้นท่านอาจารย์แนะนำหนังสือดีๆมีคุณภาพ ให้นักศึกษาไปค้นคว้าหลายเล่มอาทิ ของนาโนกะ ที่เขียนเรื่อง KNOWLEDGE MANAGEMENT ที่ทำให้การทำงานของคนญี่ปุ่น สามารถนำเอาศักยภาพแห่งภูมิรู้ที่มาจากภายในตัวของคนออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้คือ TRANSIT KNOELEDGE ตลอดจน EXPLICIT KNOELEDGE หนังสือเล่มที่สองคือ THE FIFTH DECIPLINE  เล่มที่สามคือ  PERSONAL MYSTERY ของปีเตอร์ เซ็งกี้ ที่พูดถึง การคิดอย่างเป็นระบบ SEVEN HABITS ของ STEPHEN COVEYอย่างไรก็ตาม CORE COMPETENCY นั้นจะต้องประกอบด้วย CULTURE และ VALUE แต่อย่างไรก็ต้อง LOOK INTO YOUR CULTURE ก่อน  คนในประเทศเรายัง ฝังใจกับการพัฒนาตนจากการเข้ารับการอบรม  CLASSROOM TRAINING แต่เพียงเท่านั้นอยู่ ซึ่งมันไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องและจะนำพาไปให้เกิดประสิทธิภาพ แต่หากต้องเป็นการหาความรู้จากแหล่งความรู้ที่หลากหลายจากภายนอกบ้าง เช่นจากการมี SOCIALIZATION หรือการพบปะแลกเปลี่ยนกันอย่าง INFORMAL บ้าง เพื่อให้เกิดเป็นสังคมแห่งเศรษฐศาสตร์การเรียนรู้  เรื่องของ  CULTURE HR ควรศึกษาวัฒนธรรมของคนในแต่ละประเทศเนื่องจากโลกการค้าในปัจจุบัน HR ไม่สามารถจำกัดอยู่เพียงในประเทศ ซึ่งอนาคตเมื่อบริษัทไทยขยายการลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นอาจจะใช้ HR ไทยดูแลพนักงานในต่างประเทศ โดยผ่านเครือข่ายอินเทอร์เนต
       
       การจัดการความรู้ของ HR ไม่มีการเรียนลัดแม้จะมีเครื่องมือการจัดการบุคคลที่เก่งขนาดไหน แต่ก็ยากที่จะไปสู่ความสำเร็จ.....
 สุดท้ายอาจารย์ให้ความคิดเห็นว่า ผู้นำ นั้นเป็นผู้ที่ทำให้ลูกน้องเด่น และผู้นำก็ไม่ได้มีความหมายเช่นผู้จัดการ เพราะผู้นำมีภาวะผู้นำและเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก ในเรื่องภาวะผู้นำ / ผู้บริหารต้องมีความศรัทธาและมุ่งมั่นในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ให้เกิดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาตนเองและธุรกิจขององค์กร โดยผู้นำ/ผู้บริหารจะต้องพัฒนามนุษย์โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้ พร้อมทั้งกลยุทธ์ในการสร้างความเป็นเลิศให้องค์กรจากแรงจูงใจ การให้กำลังใจ การเปิดใจยอมรับความคิดเห็น และปัญหาต่างๆ พร้อมให้คำแนะนำและคำปรึกษา จะช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน ปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งก็คือการทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและประสบความสำเร็จ คือ ความจงรักภักดีและมีวินัยของคนในองค์กรพยายามทำงานทุกอย่าง อย่างมีคุณภาพ (QUALITY) นางสาวญาณัญฎา  ศิรภัทร์ธาดา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา [email protected]“A LEADING QUALITY UNIVERSITY FOR ALL”  
นางทรงศรี ด่านพัฒนาภูมิ

 ส่งการบ้านครั้งที่ 5 เรียนกับ อาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ วันที่ 21 กรกฎาคม 2550

จากการที่ได้เข้าเรียนในวันนี้ทำให้ดิฉันเกิดความตระหนักว่าในองค์กรใดก็ตามต้องประกอบด้วยทุนมนุษย์ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากที่สุดในองค์กร เราต้องพยายามนำเอาความสามารถและศักยภาพ (Ability) ที่เขามีอยู่ออกมาให้ได้อย่างเต็มที่ และเต็มใจ ด้วยการกระตุ้นและจูงใจ (Motivation) ด้านต่าง ๆ ทั้งด้านกายภาพ และทางด้านจิตใจ ทั้งนี้ทั้งนั้นองค์กรต้องมีศักยภาพที่จะสามารถรองรับและเอื้อต่อการพัฒนา โดยมีการจัดโครงสร้าง(Structure) องค์กรที่เหมาะสม จัดหาทรัพยากร (Resource) ที่เพียงพอ มีการจัดการและวัดประสิทธิภาพการทำงาน (Performance Management) การสื่อสาร (Communication) ที่สะดวกเหมาะสม วัฒนธรรม (Culture) องค์กรที่เอื้อแก่การพัฒนา ผู้นำองค์กรที่มีภาวะผู้นำ (Leadership) ซึ่งสำคัญมากและการสนับสนุนด้านอบรม การเรียนรู้และพัฒนา (Support) การจัดเตรียมองค์กรในสิ่งตางๆ เหล่านี้ช่วยให้กลยุทธ์ด้านทรัพยากรมนุษย์และการจัดการ เป็นไปได้ด้วยดี การปฏิบัติการ กลยุทธ์ และสภาวะแวดล้อมก็ต้องเอื้อแก่การพัฒนาเช่นกัน (Case Study ระดับ Macro )กลยุทธ์ที่ใช้ในการทำ HR. Performance  ได้แก่            (1)  Corporate Vision              (2)  Corporate Strategy            (3)  Corporate Valuesนอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงความเป็นผู้นำหรือภาวะผู้นำที่ดีของผู้บริหาร ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติต่างๆ ได้แก่1.) Pathfinder vision และกำหนดทิศทางขององค์กร2.) Aligning โดยให้คนทุกคนมองไปทิศทางเดียวกัน ถ้าทุกคนร่วมใจกัน มุ่งมั่นไปในทิศทางเดียวกัน จะทำให้องค์กรมีพลัง3.) Empower  ต้องมีการกระจายอำนาจให้ลูกน้องทำงาน และมีความรับผิดชอบ4.) Role Model หรือผู้บริหารต้องเป็นตัวอย่างที่ดีเป็นที่ยอมรับของผู้ร่วมงานอาจารย์ได้อ้างถึง Jack Welch ได้เขียนหนังสือให้ข้อคิดถึงการบริหารคน HR ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะตัว ซึ่งมีทฤษฎี 4 E, There are 4 E in Mr. Welch theory1. Energy พลัง ผู้บริหารต้องมีพลัง2. Energize ถ่ายทอด Communication3. Edge ต้องมีผลงานเหนือผู้อื่น4. Executed ประสบความสำเร็จสมาชิกในห้องได้มีการโต้เถียงกันว่า Jack Welch ไม่ได้พูดถึงเรื่องจริยธรรม (Ethics) แต่ที่จริงแล้วคนอเมริกาเขามีจริยธรรมอยู่ตั้งแต่เด็ก และมีตลอดเวลาอยู่แล้วเป็นส่วนใหญ่ในองค์กรจำเป็นต้องสร้างภาวะผู้นำ (Leadership) ทุกระดับต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล Pathfinder และมีแนวคิดอุดมการณ์ไปในทิศทางเดียวกัน ผู้นำจะเป็นที่ยอมรับเมื่อมีอัธยาศัย พฤติกรรมที่ดี ปฏิบัติตัวและกระทำแต่ความดีงามเป็นนิจสินในทุกกาละเป็นตัวอย่างที่ดีในทุก ๆ ด้าน                เรื่องการสื่อสาร (Communication) ภายในองค์กรมีความสำคัญยิ่ง หากการสื่อสารแต่ละขั้นตอนไม่ถูกต้อง ไม่ถูกคน ไม่ถูกเวลา จะนำความเสียหายให้แก่องค์กรอย่างคาดไม่ถึง การได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องตามข้อเท็จจริง  จึงมีความสำคัญมาก “Information is Power” คนที่มีข้อมูลข่าวสารมากทันต่อเหตุการณ์จะเป็นผู้สามารถตัดสินใจได้ถูกต้องและเกิดประโยชน์ต่อองค์กรสูงสุด
การบ้านครั้งที่  5เรียนวันเสาร์ที่  21  กรกฎาคม  2550  กับท่านอาจารย์  ศิริลักษณ์  เมฆสังข์SM  Learning  Centerนักศึกษาชื่อ  นาย  กฤษฎา  สังขมณี หัวข้อที่ศึกษาตลอด  3  ชั่วโมง  (9.00 – 12.00  น.)  คือ  Human  Capital  :  Competence , Training  &  Learning น่าสนใจอย่างยิ่งในด้านการจัดการทุนมนุษย์  (Human  Capital  Management)   เนื้อหาที่ศึกษามีดังนี้Schultz  กล่าวว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในการประสบความสำเร็จในระบบเศรษฐกิจสมัยใหม่ก็คือการเพิ่มความสำคัญในด้านของทุนมนุษย์  สำหรับประเทศไทยเริ่มให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์ ตั้งแต่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่  8    เนื่องจากคนเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดในประเทศ  ในทุกองค์กร  และคนในองค์กรก็มีบทบาทที่แตกต่างกัน  แบ่งกว้างๆได้เป็นระดับ  Leader  และ  Follower  ทั้ง  2  กลุ่มต่างมีส่วนขับเคลื่อนให้องค์กรประสบความสำเร็จได้  ถ้าคนเหล่านั้นมีสมรรถนะ  (Competencies)  อันหมายถึงมีความรอบรู้  (Knowledge)  เป็นอย่างดีในภาระงานที่ได้รับมอบหมาย  มีทักษะความชำนาญ  (Skills)  มีความสามารถ  (Ability)  และมีประสบการณ์(Experience)  นอกจากนี้ยังอาจรวมถึงความทุ่มเทเสียสละ  (Attributes)  ความคิดสร้างสรรค์  (Creativity)  ความซื่อสัตย์  (Integrity)  ความจงรักภักดี  (Loyalty)  และอื่นๆ  ทั้งนี้องค์กรจะต้องให้ความสนใจอย่างแท้จริง  ต้องลงทุนในด้านการให้การศึกษา  การจัดการอบรม  การพัฒนาความรอบรู้สมัยใหม่  ทั้งในงานตามภาระหน้าที่  ทั้งในแง่การมีภาวะผู้นำ  รวมถึงสภาวการณ์ทางสภาพแวดล้อมของสังคม  อาจเปรียบเทียบได้ว่าเดิมการตลาดและการบริหารเชิงกลยุทธ์ คือการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการ  พยายามทำให้ลูกค้าพอใจ  แต่การบริหารสมัยใหม่ต้องตระหนักว่าต้องมีการดูแล  เอาใจใส่  ให้พนักงานมีความสามารถ  สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กรได้อย่างยั่งยืนทั้งในปัจจุบันและอนาคตอีกด้วย  การบริหารจัดการสมัยใหม่จึงต้องเปลี่ยนจุดเน้นในด้านกายภาพหรือรูปลักษณ์ภายนอก  และการลงทุนทางการเงิน  มาเน้นที่การลงทุนในตัวพนักงาน  ดังนั้นฝ่ายงานด้านทรัพยากรมนุษย์จึงต้องทำ  MARKETING  กับเพื่อนพนักงานภายในองค์กร  ต้องทำการสำรวจ  ตระหนักถึงความสำคัญ  และความต้องการของเขา  และพยายามสนับสนุนให้เขาสามารถทำงานได้อย่างมีสมรรถภาพสูง  ซึ่งก็คือฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ต้องรู้ให้ได้ว่าต้องทำอะไรบ้าง  ทำสิ่งเหล่านั้นเมื่อใดบ้าง  มีฝ่ายงานหรือพนักงานคนใด  ระดับใด  มาเกี่ยวข้องบ้าง  และต้องการให้เกิดผลสำเร็จอย่างไรด้วย   อาจารย์ศิริลักษณ์  ยังเปิดประเด็นต่อไปอีกว่าการให้หน่วยงานหรือองค์กรใดๆมาทำการให้การศึกษา  การจัดอบรม  ให้พนักงานนั้นจะเป็นการช้าไปหรือไม่  เพราะการบริหารจัดการระบบการศึกษาไทย  และการบริหารราชการไทย  ยังมีจุดอ่อนในตัวเองหลายประเด็น  คนไทยเมื่อเป็นผลิตผลของสังคมที่ขาด  SYNCHRONIZE  ก็จะทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างล่าช้า  ดังเห็นได้จากการกำหนดให้มีตัวชี้วัด  (KEY  PERFORMANCE INDEX : KPI )  นั้นหน่วยงานหลายแห่งทั้งเอกชน และราชการจะมีข้อโต้แย้งในหลายประเด็น  เริ่มตั้งแต่ผู้กำหนดไม่ได้ทำ  บางครั้งไม่รู้เสียด้วยซ้ำว่าทำอะไร  การสื่อสารหลายระดับทำให้ผู้ปฏิบัติจริงกับผู้กำหนดตัวชี้วัดเข้าใจไม่ตรงกัน  ผู้ปฏิบัติงานก็ทำงานประจำจนแทบไม่มีเวลาสำหรับครอบครัวอยู่แล้ว  ยังต้องทำตามกิจกรรมที่มีการชี้วัดอีก  แม้กระทั่งข้อถกเถียงยังมีอีกว่า  งาน  ROUTINE  งานของพนักงานที่ทำเป็นกะ  หรือเป็น  CONTRACT  จะชี้วัดได้ดีหรือไม่เพียงใด  ประเด็นที่ทุกคนเห็นตรงกันและให้ความเป็นห่วงก็คือ  ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน  การประเมินที่  SUBJECTIVE  จะบั่นทอนความรู้สึก  ความมุ่งมั่น  ความทุ่มเทตั้งใจทำงานของพนักงานเป็นอันมากมีการกล่าวถึงประเทศญี่ปุ่น  ที่มีการพัฒนาขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์เป็นอย่างมาก  เนื่องจากแรงกดดันจากภายนอก  ทั้งการพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่  2  การมีภัยพิบัติตามธรรมชาติเกิดขึ้นอยู่เนืองๆ  จึงมีการสนใจใฝ่เรียนรู้  มีการถ่ายทอดความรู้  มีการดึงเอา  TRANSIT  KNOWLEDGE  ออกมาถ่ายทอดต่อกัน  มีการจ้างงานแบบที่เรียกว่า  LIFETIME  EMPLOYMENT  แต่ในปัจจุบันแนวคิดนี้ก็เปลี่ยนแปลงไปเป็น  CONTRACT  คำกล่าวของท่านพระธรรมปิฎก  ปยุตโต  ที่ว่า  “LOOK  INTO  YOUR  CULTURE  BEFORE” ซึ่งแปลได้ว่า  ก่อนทำสิ่งใดๆ  ต้องพิจารณา  เจริญสติ  ถึงสิ่งที่ตนเป็น  ตนมี  ให้ถ่องแท้เสียก่อน  สามารถนำมาปรับใช้ได้ในทุกสังคม  ทุกองค์กร  การลงทุนในทรัพยากรมนุษย์บางด้าน  เช่นการสร้างผู้นำ  ไม่สามารถทำได้ในช่วงเวลาสั้นๆ  และไม่น่าจะทำได้ในชั้นเรียน  หากแต่ต้องมีการฝึกฝน  ต้องปฏิบัติ  ต้องแก้ปัญหาอย่างผู้นำในหลากหลายสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม  ทั้งนี้ต้องมีสิ่งที่สะท้อนผลการฝึกอย่างเป็นรูปธรรม  เพื่อการปรับปรุงให้ดีขึ้นอีก  สำหรับการเรียนรู้นั้นสามารถทำได้ตลอดเวลา  ไม่มีข้อจำกัด  ไม่จำเป็นต้องเรียนรู้เฉพาะภายในห้องเรียนเท่านั้น  ดังทฤษฎี  4 L’s  ของ  ศ.ดร.จีระ  ที่กล่าวถึง  LEARNING  METHODOLOGY , LEARNING  ENVIRONMENT  , LEARNING  OPPORTUNITY  , LEARNING  COMMUNITY  ซ้ำในบางครั้งการเรียนรู้ยังเป็นการลงทุนที่วัดเป็นตัวเงินที่ต่ำมาก  ในขณะที่ทำให้คนมีองค์ความรู้ที่แตกฉานขึ้นมากความสามารถขั้นพื้นฐานของพนักงานในการทำงานประกอบด้วย1.                  ABILITY  คือมีสภาพทางร่างกายที่เหมาะสมกับงาน  มีความรู้  ความชำนาญงาน  และมีความรอบรู้อย่างกว้างๆในลักษณะงาน  อันนำไปสู่การทำงานในตำแหน่งนั้นๆได้2.                  WILLINGNESS  คือมีความเต็มใจในการทำงาน  ผ่านระบบการจูงใจ  การปฏิบัติงานด้วยความรู้สึกผูกพัน  ซึ่งจะมีผลดีต่อผลงานที่ออกมาจริง          THE  COMPETENCE  CHAIN  ประกอบด้วย1.      COMPETENCE  PLANNING2.      EXTERNAL  COMPETENCE  ACQUISITION3.      COMPETENCE  DEVELOPMENT4.  COMPETENCE  UTILIZATIONอธิบายได้ว่า  เป็นการเริ่มจากการวางแผนที่กำหนดความสามารถขององค์กรในการเข้าถึงปัจจัยภายนอกอันได้แก่  การมีระบบการสรรหาพนักงานใหม่ที่ดี  การใช้บริการจากกิจการที่ปรึกษา  การร่วมมือกับองค์กรภาคสังคม  ในขณะเดียวกันก็ต้องพัฒนาพนักงานขององค์กรให้ปรับตัวเพื่อสอดรับกับปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้นั้น  ซึ่งการพัฒนาความสามารถพนักงานทำได้ทั้งที่เป็นทางการ  และทำอย่างไม่เป็นทางการ  ในที่สุดก็จะส่งผลให้เกิดกรอบโครงสร้างและกระบวนการที่จะนำคนมาใช้ประโยชน์ เพื่อให้องค์กรผ่านพ้นอุปสรรคต่างๆไปได้  ทำคนให้มีความสามารถเฉพาะด้านที่เหมาะสม  ทำให้คนมีส่วนร่วมในการเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร  และสร้างให้คนเกิดการจูงใจในการทำงานและมีระบบการเสริมแรงหรือให้ความดีความชอบที่เหมาะสมต่อไป       IMPORTANCE  OF  HUMAN  CAPITAL  :  PERSPECTIVES  FROM  THOUGH  LEADERS  ประกอบด้วย  การทำให้พนักงานมีความสามารถเชิงกลยุทธ์ (STRATEGIC  COMPETENCE)  มีภาวะผู้นำ  (LEADERSHIP)  มีวัฒนธรรมเฉพาะขององค์กร  (ORGANIZATION  CULTURE)  รับรู้อย่างมีสติ  (STRATEGIC  AWARENESS)  มีความปรองดองต่อกัน ได้รับแรงจูงใจ และรางวัลในการทำงานที่เหมาะสม  (ALIGNMENT/MOTIVATION/REWARDS)  รับรู้ผลตอบรับในงานเพื่อใช้ในการปรับปรุงต่อไป  (FEED  BACK)  มีการแบ่งปันความรู้ให้แก่กันในทุกระดับ (KNOWLEDGE SHARING) ร่วมกันทำงานเป็นทีม  (TEAMWORK)  และมีบรรยากาศที่ดีในการทำงาน  (POSITIVE  WORKING  ENVIRONMENT)กล่าวโดยสรุปว่าองค์กรใดที่ทำสิ่งเหล่านี้ให้พนักงานได้  ทั้งสร้างความสามารถให้กับพนักงาน  ให้การศึกษาอบรม  สร้างให้เกิดการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง  จะส่งผลให้เป็นองค์กรที่มีความสามารถในการปรับตัว  และแข่งขันได้ในยุคปัจจุบัน เนื่องจากในสัปดาห์ที่ผ่านมาผมไม่ได้ส่งการบ้านทาง  BLOG  ผมจึงขอเสนอแนวความคิด  9 ย ของผม (เลข  9  เป็นเลขดีสำหรับประชาชนคนไทย)  เมื่อเปรียบเทียบกับทฤษฎี  8 K’s ของท่าน ศ.ดร.จีระ  และทฤษฎี  8 H’s ของคุณหญิงทิพาวดี  เมฆสวรรค์  ดังนี้ครับ    
 ศ.ดร. จีระ  8 K’ s   คุณหญิง  ทิพาวดี  8 H’s   กฤษฎา  9
1. Human Capital = ทุนมนุษย์ มาจากการอบรมเลี้ยงดู  การศึกษา  สุขภาพทั้งกายและจิต  ทำให้มนุษย์สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ตนเอง  สังคม  ประเทศชาติมีความสำคัญที่สุด  เน้นที่การพัฒนาคน  รู้ข้ามศาสตร์  มากกว่าเน้นที่การควบคุม 1. Home    อบอุ่น  กตัญญู  เอื้อเฟื้อ  มีเครือข่าย 1. ถิ่นฐานย่านเดิม  คนทุกคนต้องมีรากเหง้าที่มา  และได้รับการการอบรมเลี้ยงดูจากครอบครัว  เครือญาติ  พื้นเพของตน
2. Talented Capital = Knowledge + Skill+ Mindset  ทุนทางความรู้  ทักษะ  ทัศนคติ  เป็นผลจากต้นทุนมนุษย์ที่มีมาก่อน (Human Capital) คือ อบอุ่น  รักการเรียน สุขภาพดี  ร่วมมือ  ใจกว้าง  ประชาธิปไตย  มีผลต่อความสำเร็จ  ความก้าวหน้าของประเทศ  ความได้เปรียบในการแข่งขันเกิดจากทรัพยากรมนุษย์   ทำให้เกิด  INNOVATION มันสมองมนุษย์มาจาก Human + Intellectual + Talent 2. Hand = มืออาชีพ ไม่มีทางลัด  เขื่อนจะพังเริ่มจากรอยร้าวเล็กๆ  ใช้ได้ตั้งแต่เด็กอาชีวะถึงผู้บริหาร  Ph.D. 2.  ยอดเยี่ยม  ทั้งความรู้  ความชำนาญ  มีทัศนคติที่ดี  จนทำให้เกิดนวัตกรรมหรือองค์ความรู้ใหม่ๆ  คล้าย เจมส์  บอนด์
3. Intellectual Capital = ปัญญา                                         คิด  วิเคราะห์  สร้างมูลค่าเพิ่ม                                                   การไหลบ่าของความรู้                                                               ความรู้เป็นองค์ประกอบของชีวิต4 L’s    Learning Methodology  (แลกเปลี่ยนความเห็น,workshop, Assignment, ใช้ IT  Multimedia)Learning  Environment มี Coach ,Facilitator ,Mentorนำไปสู่ CreativityLearning  Opportunity  หาโอกาสเจอผู้รู้Learning  Community  ห้องเรียน  ,E-mail , โทรศัพท์ 3. Head   = Brain =Knowledge อย่าลืมสติ  วิเคราะห์แล้วเกิดปัญญา  “You are what you think”Mind Set  = ทัศนคติ   ควรสื่อสาร 2 ทาง  ช่วยกันคิด  ช่วยกันแก้ปัญหา  ความรู้จะสร้างความชำนาญการไหลบ่าของความรู้                                                               (Skill) แล้วจะทำให้มีความสามารถ (Abilities)  เรียนรู้ตลอดเวลาทั้งกว้างและลึก  เรียน  อบรม คุย  อ่าน  3.  ปัญญา  คือ  ต้องรู้ก่อนปัญหา  รู้เท่าทันปัญหา  รู้ทางแก้ปัญหา  รู้วิธีป้องกันปัญหา
4.Digital Capital  อย่าลุ่มหลง  หลงจนเสียสุขภาพ อินเดีย  = Business Process Outsourcing ( B.P.O.) 4.Health  สุขภาพทั้งกาย (อาหาร  ออกกำลังกาย  อากาศ)และจิต (มีสติ)  มารยาทไทยไอจาม  ,เด็กไทยอ่อนหวาน  4.  ยาฮู   E-mail ของผมคือ[email protected]
5. Ethical Capital  =  จริยธรรม 5. Heart =  จิตใจที่ดี  พอเพียง” = พอเหมาะพอควร  มีเหตุผล  มีภูมิคุ้มกัน  มีทัศนคติเชิงบวก  สุนทรียภาพทางวัฒนธรรม  อ่อนโยน  สุภาพ  พรหมวิหาร 4 = เมตตา  กรุณา  มุทิตา  อุเบกขาใส่ใจกัน  เสียสละ  กล้านำ  กล้าตัดสินใจ  กล้าเสี่ยง  กล้ารับผิด  รักในการงาน    5. จริธรรม
6. Happiness Capital  = ความสุขมนุษย์มีทุนความรู้ (Talent) +  ทุนปัญญา (Intellectual) + ทุนทางจริยธรรม (Ethical) 6. Happiness    H.P.I. = Happy Planet Index  ไม่เบียดบังใครๆ และตนเอง  พอเพียง  เมตตา  เอื้อเฟื้อ  ยิ้ม  ทัศนคติเชิงบวก  รักงาน  ครอบครัว  สังคม  ประเทศ 6. ยิ้มแย้มแจ่มใส มีมิตรภาพ  มีความจริงใจ เกิดความสุข  เกิดความรู้  และเกิดภูมิปัญญา
7. Social Capital  ทุนทางสังคม  เน้นที่การมีเครือข่ายLinkage  ,Connection  ,Networking 7. Harmony = ปรองดอง  สมานฉันท์  กลมเกลียว  ใฝ่สันติ  ไม่ร้าวฉานสัปปุริสธรรม 7 = เหตุ  ผล  ตน  ประมาณ  กาล  ชุมชน  บุคคล 7.  ยึดโยง เกาะเกี่ยวกันเป็นเป็นเครือข่าย
8. Sustainable Capital  = ยั่งยืน                                         โลกเปลี่ยนเร็วมาก ต้องพัฒนายั่งยืนอย่าตามกระแสโลกจนสูญเสียตัวตน  8. Heritage = Culture  เชื่อมโยง OTOP  ,Globalization  ,    1 KING  ไม่แบ่งผิว  ศาสนา 8. ยั่งยืน  มีความเป็นตัวของตัวเอง  ตามวัฒนธรรมการเป็นคนไทย  มีความเชื่อมั่นและศรัทธาใน  3  สถาบันหลัก
- - 9. อย่ายอม  เสียอิสรภาพทางความคิด  ทางการปกครอง  ทางเศรษฐกิจ  และความเป็นมนุษย์  (SOVERIEGN CAPITAL) 
นางสาวนพมาศ ช่วยนุกูล
เรียน  ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์  <นพมาศ ช่วยนุกูล  PHD 8202 การจัดการทุนมนุษย์      รภ สวนสุนันทา> ได้อะไรจากการเรียนวันนี้ ( 21 กค.2550 /อาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ : Human Capital ) จากแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544) ที่มุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของคนนั้น   แต่ก่อนที่จะมีความสำเร็จเกิดขึ้น มีคำถามว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ ปัจเจกบุคคล ครอบครัว องค์กร ชุมชน และภาครัฐ ได้ทำอะไรและทำอย่างไร?  ซึ่งผู้เขียนขอนำเสนอถึงเรื่องการพัฒนาคนตามลำดับของเวลาในแต่ละช่วง ดังนี้1. วัยก่อนทำงาน    ผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับคนในวัยนี้ในระดับมหภาค ได้แก่ ภาครัฐ (นโยบายสุขภาพแห่งชาติ : กระทรวงสาธารณสุข  , นโยบายทางสังคม : กระทรวงทางสังคม และวัฒนธรรม ,   นโยบายการศึกษาแห่งชาติ : กระทรวงศึกษาธิการ) ซึ่งหน่วยงานภาครัฐดังกล่าวมีหน้าที่ที่จะต้องทำและดูแลเพื่อให้ กาย-ใจ-ปัญญา  มีศักยภาพและมีความเหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย ซึ่งกระบวนการของกระทรวงทั้ง 3 นี้จะต้องมีสัดส่วนพอเหมาะให้เกิดความสมดุลระหว่าง กาย-ใจ-ปัญญา  ของคนก่อนวัยทำงาน ความสมดุลดังกล่าวจะเป็นสิ่งสำคัญที่เชื่อมโยงให้เกิดคุณภาพของคนในขณะที่ผู้เกี่ยวข้องกับคนวัยก่อนทำงานในระดับจุลภาค ได้แก่ สถาบันครอบครัว โรงเรียน และชุมชน หากหน่วยที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ของตนได้อย่างสอดคล้องกับระดับมหภาคข้างต้นก็จะทำให้คนในวัยนี้ ได้รับการดูแล การปฏิบัติ ทางกาย-ใจ ที่ดี เกิดความเข้มแข็งทางใจและมีร่างกายที่แข็งแรง จากครอบครัวที่อบอุ่น อยู่ในชุมชนที่มีภูมิคุ้มกันทางวัฒนธรรม และมีทัศนคติที่ดีในการดำรงชีวิตในสังคม  เมื่อเข้าสู่ภาคการศึกษาได้รับการปฏิบัติจากโรงเรียนในลักษณะการเพิ่มปัญญาการออกแบบที่ดีในระดับมหภาคบวกกับความเข้มแช็ง การมีคุณภาพของหน่วยสังคมในระดับจุลภาค ส่งผลให้คนในวัยก่อนทำงานมีคุณภาพเพื่อเคลื่อนเข้าสู่การมีชีวิตในช่วงต่อไปได้อย่างสมเหตุสมผลแต่สิ่งที่ปรากฏให้เห็นในขณะนี้คือ การออกแบบ การเชื่อมโยง และการนำไปปฏิบัติไม่ได้อยู่บนทิศทางเดียวกัน ต่างหน่วยต่างก็กระทำในสิ่งที่ตนต้องทำ อาทิ การเข้าถึงบริการขั้นพื้นฐานของรัฐ ของคนในเมืองและคนในชนบทยังมีความแตกต่างกัน ทั้งด้านสาธารณสุข การศึกษา และการบริการ  ประเด็นความไม่เท่าเทียมเป็นปัจจัยหนึ่งทำให้คนมีคุณภาพที่แตกต่างกัน  นอกจากนั้นแล้ว การไม่มีคุณภาพของหน่วยสังคมก็เป็นปัจจัยที่ 2 ที่ส่งผลให้คนมีคุณภาพแตกต่างกันดังนั้น การทำให้คนวัยก่อนทำงานมีคุณภาพ ภาครัฐต้องกระจายความเท่าเทียมในด้านบริการขั้นพื้นฐานในแต่ละด้าน ในทุกพื้นที่ ขณะเดียวกันก็ต้องสร้างความแข็งแรง คุณภาพ ให้หน่วยสังคมในฐานะเครือข่ายและพันธมิตร เพื่อให้หน่วยสังคมเหล่านั้นรับนโยบายไปสู่การปฏิบัติได้อย่างมีคุณภาพและเป็นไปในทิศทางที่ไม่ขัดแย้งกัน  ส่วนความรู้ที่ได้รับจากครอบครัว ชุมชน สังคม โรงเรียน ถือเป็นการเรียนรู้ทั้งในและนอกระบบ ความรู้ที่เกิดขึ้นจึงเป็นคุณค่าของคน และคนก็พร้อมที่จะนำความรู้ไปใช้เมื่อเข้าสู่วัยทำงาน พฤติกรรมตรงนี้ถือว่าเป็นความรับผิดชอบต่อตนเอง และต่อหน้าที่ ในฐานะที่เป็นหน่วยหนึ่งของสังคม2. วัยทำงาน   ผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในระดับมหภาคได้แก่ ภาครัฐ (นโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจ  ด้านแรงงาน : อาชีพ ค่าแรง สภาพแวดล้อมการทำงาน ความมั่นคงของแรงงาน, นโยบายสาธารณสุข  นโยบายทางสังคม : สิทธิมนุษยชน ความสมดุลในชีวิตและการทำงาน) ซึ่งที่ผ่านมารัฐได้ให้ความสำคัญต่อการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ การมุ่งเพิ่มรายได้ โดยอยู่บนการปฏิบัติในการมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างฟุ่มเฟือยและการใช้แรงงานราคาถูกในขณะที่หน่วยที่เกี่ยวข้องในระดับจุลภาค ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน และองค์กร กล่าวคือ คนได้ใช้ความรู้ความสามารถที่เล่าเรียนมามาทำงานในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลจากนโยบายข้างต้นที่เน้นการเจริญเติบโตส่งผลให้ระดับองค์กรให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลผลิต เน้นการสร้างกำไร โดยเน้นการใช้ต้นทุนต่ำสุด  แนวคิดดังกล่าวใช้ได้ผลในระยะหนึ่ง แต่เมื่อทรัพยากรธรรมชาติหมดสิ้น และค่าแรงก็ไม่ได้มีราคาถูกเช่นเดิมได้อีกต่อไป  บวกกับกระแสโลกาภิวัตน์ ที่ใครซื้อสินค้าจากที่ใดก็ได้บนโลกนี้ที่มีราคาต่ำสุด ในขณะที่ผู้ผลิตขายสินค้าให้ใครก็ได้ในโลกนี้ที่ให้ราคาสูงสุด เราจึงเริ่มได้ยินคำว่า ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยลดลง และอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น หน่วยงานทั้งระดับมหภาคและจุลภาค จะคิดและปฏิบัติแบบเดิม ๆ ไม่ได้อีกต่อไป กล่าวคือมหภาคจะต้องเน้นการพัฒนาคุณภาพคน อาทิ นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมต้องให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลิตภาพเชิงคุณค่า  (เน้นเรื่องนวัตกรรมและการสร้างสรรค์มากกว่าการคิดลด Cost เพียงอย่างเดียว) การสร้างเครือข่ายและพันธมิตร  การแลกเปลี่ยนรียนรู้ระหว่างผู้เก่ง(หัวแถว)และผู้ตาม(ปลายแถว) ในอุตสาหกรรมเดียวกันเพื่อให้เกิดความตระหนักและช่วยเหลือซึ่งกันและกันมากกว่าการรอความช่วยเหลือจากภาครัฐเพียงอย่างเดียว  ซึ่งแนวคิดนี้จะต้องลงมือทำและทำอย่างต่อเนื่อง การทำให้คนซึ่งเป็นเจ้าของกิจการตระหนักตรงนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ต้องทำ  นอกจากนั้น ยังต้องให้ความสำคัญกับการสร้างให้เกิดความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเป็นกระแสโลกตัวใหม่ที่มีการเรียกร้องจากทุกภาคส่วนให้ผู้ผลิตและผู้ให้บริการต้องแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ทำให้การเรียกร้องเรื่องมาตรฐานผลิตภัณฑ์ มาตรฐานระบบ เคลื่อนสู่มาตรฐานสากลว่าด้วยการรับผิดชอบต่อสังคม (ISO 26000 : Social Responsibility)  ซึ่งภาครัฐต้องเตรียมความพร้อมที่จะเกิดขึ้นด้วย หน่วยงานในระดับจุลภาค เนื่องจากองค์กรต้องพึ่งคนและคนก็ต้องพึ่งองค์กร เช่นกัน ดังนั้นองค์กร ต้องมีหน้าที่ในการพัฒนาคน เพื่อให้คนมีความรู้ความสามารถและมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานให้บรรลุผลโดยกระทำผ่านการTraining & Learning  พฤติกรรมที่คนแสดงออกเป็นการบ่งบอกถึงความรับผิดชอบต่อหน้าที่ องค์กรและสังคม  ส่งผลให้องค์กรมีประสิทธิภาพ และเชื่อมโยงสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในภาพรวมบนขอบเขตของความรับผิดชอบต่อสังคม3. วัยหลังการทำงาน   ผู้ที่เกี่ยวข้องในระดับมหภาคได้แก่ ภาครัฐ (กระทรวงสาธารณสุข ในด้านการดูแลสุขภาพ,  กระทรวงทางสังคน ในเรื่องความมั่นคงในชีวิต) ซึ่งที่ผ่านมาโดยเฉพาะในสังคมไทยเห็นว่าเป็นหน้าที่ของครอบครัวที่จะดูแลคนวัยหลังการทำงาน  ส่วนหน่วยงานระดับจุลภาคที่เกี่ยวข้องได้แก่ ครอบครัวและองค์กร ซึ่งในภาครัฐเรามักคุ้นเคยกับการตอบแทนในเรื่องบำเหน็จบำนาญ   อย่างไรก็ตาม  ภาครัฐและเอกชนควรเปิดมิติความคิดใหม่และสร้างโอกาสเพื่อให้คนในวัยนี้ที่ยังมีศักยภาพและมีความรู้ความสามารถติดตัวอยู่เป็นทุนได้สร้างความภาคภูมิใจและสร้างคุณค่าให้คนเองอย่างต่อเนื่อง อาทิ ภาครัฐควรเปิดโอกาส เช่น ให้เขาได้ใช้ความรู้ไปเผยแพร่สู่คนภายนอก เช่นในด้านการเผยแพร่ ศิลป วัฒนธรรม หรือความเชี่ยวชาญที่เขามีเป็นพิเศษ เพื่อสร้างประโยชน์ให้สังคม   ส่วนในองค์กรเอกชนควรเปิดโอกาสและกระจายงานให้คนในวัยนี้ อาทิ การเชิญเป็นวิทยากรซึ่งเป็นการสร้างวัฒนธรรมความรู้สึกที่ดีให้คนที่ยังทำงานอยู่ในองค์กรได้ตระหนักและไว้วางใจว่าองค์กรมีความรับผิดชอบแม้กระทั่งต่อบุคลากรที่พ้นจากวัยทำงานไปแล้ว ก็จะเกิดแรงจูงใจและเกิดความจงรักภักดีต่อองค์กรอย่างแน่นแฟ้นได้อีกระดับหนึ่ง   ดังนั้น หากหน่วยงานเหล่านี้ เปิดโอกาสตามที่กล่าวข้างต้นก็ถือได้ว่าเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งทำให้คนในวัยนี้มีคุณค่าต่อองค์กรและสังคมอย่างต่อเนื่องสำหรับการวัดผลการดำเนินการในระดับมหภาคและระดับจุลภาคเป็นเรื่องสำคัญ กล่าวคือ วัยก่อนทำงานตัวบ่งชี้ที่สำคัญคือคุณภาพของคน ซึ่งเราอาจใช้แนวทางเสียงสะท้อนขององค์กรที่รับคนเหล่านั้นไปทำงาน  ดูจากอัตราการว่างงานของผู้จบการศึกษาใหม่ ๆ  การสะท้อนตรงนี้หลายฝ่ายได้พยายามปรับปรุงโดยการที่ภาครัฐและเอกชนร่วมมือกันร่างหลักสูตรการศึกษา เป็นต้น   ส่วนวัยทำงานเราอาจให้ความสำคัญกับการวัดและประเมินผลการปฏิบัติงาน การวัดความพึงพอใจของลูกค้าที่มีต่อองค์กรและบริการ  หรือในมิติสังคมอาจวัดที่การลดลงของความยากจน หรือการลดหนี้สินในภาคประชาชน    สำหรับวัยหลังการทำงาน อาจวัดที่อายุขัยเฉลี่ยของประชากร  การลดลงของอาญชากรรม เป็นต้น อย่างไรก็ตาม  นอกจากที่กล่าวมาสิ่งสำคัญที่สุดน่าจะเป็นการสร้างความตระหนัก ให้บุคคล องค์กร รู้จักหน้าที่- และความรับผิดชอบ (เรื่องสิทธิและหน้าที่ เป็นจุดอ่อนของคนไทยที่มักไม่เข้าใจว่าสิทธิมาพร้อมกับหน้าที่) ทั้งต่อตนเอง องค์กร และสังคม  เพราะเมื่อเกิดความตระหนัก เกิดความรับผิดชอบ ประกอบกับความรู้ความสามารถได้ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จะทำให้ทุกคน องค์กร มีเหตุมีผลที่จะตัดสินใจ ดำเนินธุรกิจอยู่ในขอบเขตพอเหมาะกับความสามารถของตนเอง ซึ่งนำมาสู่ความเข้มแข็ง มั่นคง ยั่งยืน ก่อนจบขอนำเรียนเอกสารที่ได้รับความกรุณามาจากอาจารย์พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา ที่ได้นำมาเผยแพร่ให้กับที่ประชุมที่กระทรวงอุตสาหกรรม  เพื่อให้ทุกท่านที่มีโอกาสเข้ามาอ่านตรงนี้ได้นำไปใช้ประโยชน์ต่อตามโอกาสอันควร  เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมย์ของอาจารย์ฯ การรวบรวม พระราชดำรัสพระราชทานในโอกาสต่าง ๆ เกี่ยวกับการทำงาน หลักคิดก่อนที่จะเริ่มทำงานใด ๆ ให้คิดถึงสิ่งต่อไปนี้1) ทำอะไร            2) ทำอย่างไร   3) ทำเพื่อใคร       4) ทำแล้วได้อะไร 6 หลักการในการทำงาน1)  คิด Macro ทำ Micro               2) คิดเป็นขั้นเป็นตอน   3) ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่าย       4) ทำอะไรให้นึกถึงภูมิสังคมของที่นั้น ๆ  5) การสื่อความ การประสานงาน และการบูรณาการ (Communication, Coordination, Integration)     6) ทำอะไรต้องมีผู้รับผิดชอบ หรือระบบบริหารจัดการเพื่อรับผิดชอบงาน รู้-รัก-สามัคคีรู้  คือ  จะทำอะไรต้องไปศึกษาให้รู้จริงรัก  คือ  ทำอะไรต้องสร้างฉันทะกับสิ่งนั้น ๆ สามัคคี  คือ  ทำอะไรก็ให้ทำเป็นทีม ร่วมมือร่วมใจกันทำให้มีประสิทธิภาพ (ที่มา : อาจารย์พารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา , การประชุมหารือเกี่ยวกับการผลักดันและบูรณาการแผนงาน Productivity ของหน่วยงานต่าง ๆ ในกระทรวงอุตสาหกรรม , 11 กรกฎาคม 2550 เวลา 12.00-14.00 น. ณ ห้องประชุมชุณหะวัณ)                                                           
***   เช้าวันเสาร์ที่ 21 ก.ค. 50  ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้สละเวลามาพบพวกเราตั้งแต่เช้าเพื่อพูดคุย  แบ่งปันความรู้ ประสบการณ์  และจุดประกายความคิด  ก่อนที่พวกเราจะเข้าเรียนกับวิทยากรที่ได้ระบุไว้คืออาจารย์ ศิริลักษณ์  เมฆสังข์   การสร้างบรรยากาศด้วยการ   นั่งล้อมวงกันนอกห้องเรียน มีการปรึกษาพูดคุย ซักถาม เสนอข้อคิดเห็น กับอาจารย์             แบบกันเองๆ ทำให้เกิดการรับรู้แบบ Happy Learning  ดิฉันต้องขอขอบพระคุณอาจารย์ที่กรุณาให้ความรู้และความห่วงใยต่อพวกเราเป็นอย่างดีเยี่ยม ***  อาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์  ได้มาช่วยเติมองค์ความรู้ในหัวข้อ Competence, Training & Learning และให้พวกเราได้ share idea กับอาจารย์ *** เราได้มีการคุยกันในประเด็นความคาดหวังและความต้องการของกลุ่มคนส่วนหนึ่งได้แก่บัณฑิตใหม่ที่เพิ่งจบจากมหาวิทยาลัย  ผู้ที่ตกงานเพราะเลือกงาน ตลอดจนผู้ที่เปลี่ยนงานบ่อยๆ ว่าเขามักจะคาดหวังกับตำแหน่งหน้าที่การงาน Position ที่มากกว่าประสบการณ์ที่มีอยู่, คาดหวังกับการได้รับค่าตอบแทนสูงๆ High Salary และการได้รับการยอมรับนับถือ Respect โดยการมองข้ามความสำคัญของการหาประสบการณ์ Experience ของสิ่งเหล่านี้ คือ Knowledge, Skills, Ability, Attributes, Creativity  เป็นต้น  จากประเด็นนี้สื่อให้เห็นว่าระบบการศึกษาของประเทศไทยยังไม่สามารถส่งเสริมให้ผู้เรียนสู่กระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ หรือ Systematic Thinking ซึ่งสอดคล้องกับแนวความคิดที่ รศ.ดร.สมชาย  ภคภาสน์วิวัฒน์  ท่านเป็นผู้สนับสนุนและส่งเสริมให้ใช้วิธีการเรียนการสอนด้วยระบบคิด Mind Set แบบ Organic เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการคิด มองอะไรอย่างเป็น Logic และสามารถนำไปสร้างมูลค่าเพิ่ม Value Added ให้กับตนเอง สังคม และประเทศชาติได้  *** สืบเนื่องจากปัญหาดังกล่าวข้างต้น จึงส่งผลให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างล่าช้า  การปฏิรูปการศึกษา นับเป็นความพยายามที่เกิดขึ้นมาแล้วหลายรัฐบาล  รวมทั้งภาคเอกชนก็ได้พยายามส่งเสริมรัฐบาลในเรื่องดังกล่าว ดังเช่น การจัดประชุมสัมมนาระดับชาติเรื่อง ยุทธศาสตร์การศึกษาไทยในยุคโลกาภิวัตน์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 ของธนาคารกสิกรไทยเพื่อกระตุ้นให้รัฐบาลมีความกล้าหาญพอที่จะแก้ปัญหาการศึกษาของชาติโดยการผ่าตัดหน่วยงานการศึกษา (ธนาคารกสิกรไทย 2539:24) , การสนับสนุนของมูลนิธิไทยคมและมูลนิธิศึกษาพัฒนาในการเปิดโรงเรียนต้นแบบของ e - School เมื่อปี พ.ศ. 2545 อย่างโรงเรียนดรุณสิกขาลัย  โดยใช้ทฤษฎี Constuctionism ให้นักเรียนได้เรียนรู้แบบคิดเองทำเอง   นักเรียนได้เรียนเรื่อง Management ตั้งแต่วัยเด็ก และยังพัฒนา IQ=Intelligent Quotient, EQ=Emotional Quotient, AQ=Adversity Quotient, TQ=Technology Quotient และ MQ=Morality Quotient ให้แก่นักเรียน (จีระ หงส์ลดารมภ์ และพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา 2549:224) แต่ก็ดูเหมือนความพยายามต่างๆ ดังกล่าวยังส่งผลไม่เพียงพอที่จะสามารถผลักดันให้เกิดความเปลี่ยนแปลงต่อประเทศอย่างชัดเจน  การเปลี่ยนแปลงรัฐบาลก็เป็นอีกสาเหตุของการขาดความต่อเนื่องของนโยบาย  ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่ากระบวนการปฏิรูปการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน ยังเป็นเพียงเครื่องมือในการสร้างภาพของรัฐบาลแต่ละสมัย   การแก้ไขยังเป็นไปในลักษณะเปลือกนอกแต่มิได้มองไปถึงแก่นของปัญหาให้ชัดเจน เพื่อจะได้วางแนวทางการปรับปรุงพัฒนาได้อย่างตรงประเด็น และทำอย่างจริงจังต่อเนื่อง Continuous Improvement  เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและคุณภาพอย่างมั่นคงยั่งยืน  *** ข้อมูลสนับสนุนในเรื่องดังกล่าวอีกประการหนึ่งคือกระบวนการที่ไม่ดีย่อมส่งผลกระทบถึงผลผลิตที่ออกมา กล่าวคือ ถ้า Process ดี Output ก็จะดีเช่นกัน  ดังนั้นผลผลิตทางด้านการศึกษาของประเทศได้แก่ผู้เรียนที่มาจากกระบวนการเรียนการสอนที่ไม่มีคุณภาพเพียงพอ  ย่อมส่งผลกระทบต่อองค์กรและประเทศชาติ  เช่น ถ้าบุคคลเหล่านั้นต้องไปเป็นผู้นำขององค์กรหรือประเทศ  ก็จะเป็นผู้นำประเภท Machiavellian คือเอาเป้าหมายเป็นหลัก วิธีการไม่สนใจ ทำอย่างไรก็ได้ให้ตนเองไปถึงเป้าหมาย  ถ้าคนเหล่านี้ไปเป็นผู้แทนชาวบ้านก็จะใช้วิธีการทุกวิธีเพื่อให้ได้ตำแหน่งและอำนาจโดยไม่คำนึงถึงคุณธรรมจริยธรรม Ethics เช่นเดียวกันผลผลิตที่เป็นชาวบ้านธรรมดาก็สามารถใช้เงินซื้อเขาเหล่านี้ได้เช่นกันเนื่องจากเขาไม่ได้คิดแบบ Systematic Thinking จึงไม่สามารถมองผลกระทบที่จะตามมาทั้งในภาพ Macro และ Micro ได้  จึงส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ สังคม  การเมือง วัฒนธรรม การศึกษา และสิ่งแวดล้อม  ของประเทศมาโดยตลอด เพียงแต่ขึ้นอยู่กับว่าลูกคลื่นหรือปัญหาที่ซัดมานั้นจะเป็นคลื่นลูกใหญ่ หรือคลื่นลูกเล็ก หรือบางทีดูเหมือนคลื่นนั้นดูสงบ แต่ในความเป็นจริงกำลังรอเวลาที่จะกลายเป็นคลื่นยักษ์  หากเรายังไม่ตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการทุนมนุษย์ Human Capital Management  ต่อให้ผลการประเมินการปฏิบัติงานขององค์กรหรือหน่วยงานโดยตัวชี้วัด KPI (Key Performance Indicator) จะมีค่าตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ก็มิได้หมายความถึงความสำเร็จที่แท้จริงและความมั่นคงในอนาคต *** ขอขอบพระคุณอาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ ที่ได้สละเวลามาให้ความรู้ที่มีคุณค่าและเต็มไปด้วย Customer Value Thinking *** ศุภรา  เจริญภูมิ  SUPPARA  CHAROENPOOM ***
การบ้านครั้งที่ 5 / นายพนม ปีย์เจริญเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม 2550บรรยายโดย อาจารย์ ศิริลักษณ์ เมฆสังข์DBA Candidate  Graduate school of business

Curtin University of Technology

 

Human Capital

Competence, Training & Learning

   การได้เรียนเรื่อง Human Capital กับอาจารย์ ศิริลักษณ์ ในวันนี้มีความรู้สึกว่า นี่เป็นการเรียนในรูปแบบของการเรียนรู้ในอนาคต เพราะเป็นการเรียนรู้ในเชิงวิเคราะห์ที่มีการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้นำการสอนกับผู้เรียนทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน

     เป็นการเปิดกว้างทางความคิด ทั้งที่เห็นด้วยและความคิดที่แตกต่าง ซึ่งมิใช่เป็นการทะเลาะกันระหว่างผู้นำสอนและผู้พยายามเรียนรู้ด้วยการต่อยอดทางปัญญาของผู้เรียน

   ซึ่งเป็นการขยายขอบเขตของ EQ ให้กว้างออกไปอันจะนำไปสู่การสร้างความแหลมคมของ IQ  ที่สูงขึ้น อันเป็นความชาญฉลาดของผู้นำการสอนมืออาชีพ

   อาจารย์ ศิริลักษณ์ มีความชาญฉลาดในการนำการสอนที่จะทำให้ทุกคนในห้องมีส่วนร่วม ในการเสนอแนะ,เสริมเพิ่มเติม ในสิ่งที่อาจารย์บรรยายผสมผสานไปกับการให้อาจารย์มีโอกาสเสนอแนะ,ต่อยอด,แต่งเติมความคิดบางประการที่นักศึกษายังเข้าใจคลาดเคลื่อน ให้มีความแหลมคมและถูกต้องมากยิ่งขึ้น

    อาจารย์ได้ยกตัวอย่างถึงเด็กๆในประเทศญี่ปุ่นที่จะถูกหล่อหลอมตั้งแต่เยาว์วัยด้วยการ

    - สอนให้รู้จักคิด คือคิดอะไรที่เป็นระบบ

    - สร้างให้เด็กมีวินัยตั้งแต่เยาว์วัย วินัยที่ว่านี้ก็คือการใช้สมอง และวินัยในการพัฒนาจิตใจ

    ดังนั้น เมื่อเด็กของประเทศของเขาเติบโตเป็นผู้ใหญ่ขึ้นมาจึงเป็นทรัพยากรที่มีคุณภาพ มีพัฒนาการที่ดี ด้วยเพราะได้รับการปลูกฝังอย่างมีคุณภาพมาตั้งแต่เยาว์วัย

     ในประเทศนิวซีแลนด์ ก็เช่นเดียวกัน เด็กๆในประเทศของเขาเป็นเด็กที่ถูกปลูกฝังให้ช่วยกันดูแลสังคมและชุมชนของเขา โดยที่ในวันหยุดแทนที่เด็กๆจะไปมั่วสุมทำอะไรที่ไร้ประโยชน์ เด็กๆของเขาจะไปร่วมกับชมรมต่างๆซึ่งเป็นชมรมในการบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อให้ชุมชนและสังคมของเขาดูดีขึ้น เป็นระเบียบเรียบร้อยน่าดู น่าอยู่อาศัย

    สิ่งที่เขาได้ก็คือเยาวชนที่มีคุณภาพ ที่รู้จักการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและสังคมไปพร้อมๆกับการมีทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพของประเทศเขา ต่างกับเด็กๆของประเทศไทยเราโดยสิ้นเชิงเพราะเด็กๆของเรามีลักษณะ ลัทธิเอาอย่างแต่เอาของเขามาไม่หมด คือเอาแต่เปลือกที่อยู่ภายนอกของเขามา ไม่ได้เอาแก่นแท้ของเขามา เราจึงเข้าไม่ถึงวิธีคิดที่แท้จริงของเขา

     เหมือนกับการที่คนไทยใช้โทรศัพท์มือถือในปัจจุบัน ไทยเราใช้มันเพื่อความสะดวกสบาย... ความโก้เก๋...ความหรูหรา โดยยึดเอาโทรศัพท์มือถือ เป็นเครื่องสำอางทางสังคมอีกชิ้นหนึ่งของผู้ที่ถือมันอยู่ในมือ

    จะมีสักกี่คนเอง...ที่รู้ว่ารากฐานที่แท้จริงของผู้ที่คิดโทรศัพท์มือถือ เขาคิดมันขึ้นมาก็เพื่อจะเอาชนะธรรมชาติและภูมิประเทศที่เป็นอุปสรรคในการติดต่อสื่อสารซึ่งกันละกัน จึงทำให้เขาเข้าใจรากฐานแก่นแท้ในการใช้โทรศัพท์มือถืออย่างแท้จริง

     ในขณะที่เราใช้มันเพื่อความสุขสบายและความสนุกสนานโก้หรู.. ฯลฯ จนกลายเป็นเหยื่อของผู้ผลิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในที่สุด

     เมื่อเด็กไทยคุ้นเคยอยู่กับความสุขสบายโดยไม่ต้องเผชิญกับธรรมชาติและอุปสรรคที่โหดร้าย   กอร์ปกับการหล่อหลอมที่ผิดๆจากผู้ใหญ่ เด็กๆที่เติบโตขึ้นมาและเดินเข้าสู่ตลาดแรงงาน จึงอยากได้อะไรที่

     - เป็นสูตรสำเร็จ

      - ค่าตอบแทนสูงๆ

     - งานสบายๆ

     - และงานทีไม่ต้องใช้ความคิดมาก เพราะขี้เกียจคิด

     เพราะฉะนั้นการพัฒนาคน เพื่อทำให้ทรัพยากรบุคคลเป็นสินทรัพย์หรือทุนขององค์กรในบ้านเราซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เอาเลยจริงๆ เพราะเรามีต้นทุนในการหล่อหลอมคนให้มีคุณภาพตั้งแต่ในขั้น   ปฐมภูมิ และทุติยภูมิมีต่ำมาก

      ดังนั้นบทบาทของ HR ในปัจจุบันและอนาคตจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อองค์กรและการพัฒนาประเทศ เพราะถ้าคนไม่มีคุณภาพ สังคมและประเทศก็ไม่มีคุณภาพ ฉะนั้นงานของ HR ก็คือต้องทำให้เขาได้รับรู้บทบาทหน้าที่ที่แท้จริงของเขา ว่าเขามีหน้าที่ต้องทำและรับผิดชอบอะไร

    

HR จึงต้องมีลักษณะเป็น HR Marketing

  

  คือต้องรู้จักลูกค้า ว่าลูกค้าต้องการอะไร อยากได้อะไรเราจะตอบสนองความต้องการของเขาได้อย่างไร เราจะรู้ความต้องการของเขา ก็ต้องเข้าไปสำรวจ...เข้าไปพูดคุย ทำความเข้าใจกับเขา ว่าสิ่งที่เราทำให้นั้น มีประโยชน์อะไรกับเขาบ้าง

ฉะนั้นสิ่งที่เราควรทำในโลกยุคปัจจุบันคือ คิดนอกกรอบ ( Think out of the box )

โดยที่อาจารย์ได้กล่าวถึง วินัย 2 ใน 5 ประการของ Peter Senge ที่ทำให้เกิด

    Learning Organization อันได้แก่

1. Personal Mastery

2. Mental Model

3. Share Vision

4. Team Learning

5. System Thinking

    โดยเฉพาะการ share vision ไม่จำกัดว่าจะต้องเกิดจากผู้บริหารหรือพนักงานระดับสูง

share vision เกิดขึ้นได้กับพนักงานทุกระดับ เพราะพนักงานระดับล่างก็มีแง่คิดมุมมองที่ผู้บริหาร

สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เช่นกัน

    

    ในส่วนของ Team Learning หรือการเรียนรู้เป็นกลุ่ม ก็มีความจำเป็นในการสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ในองค์กร เพราะจะสามารถพัฒนาแตกแขนงได้ จะเป็นส่วนช่วยผลักดันให้มีการเปิดใจ วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างเปิดอก เป็นการสร้างวัฒนธรรมใหม่ที่จะทำให้สังคมไทยเราใจกว้างมากยิ่งขึ้น เพราะเรื่องแบบนี้คนไทยยังอ่อนแอมากเกินไปที่จะยอมให้ใครมาวิพากษ์วิจารณ์กันและกัน     แนวคิดของ

Senge ถ้าเราเอามาสร้างเป็นวินัยและวัฒนธรรมในการเรียนรู้ขององค์กร ก็จะเป็นการสร้างกลยุทธ์ ที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ทั้งในระดับประเทศและในระดับโลก

     อย่างไรก็ตาม การจะเปลี่ยนแปลงหรือสร้างวัฒนธรรมและความเชื่อใหม่นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้เวลาและความสามารถพอสมควร

     และในบางสถานการณ์ก็อาจช้าเกินไป อันจะมีผลทำให้เสียโอกาสในการแข่งขัน ดังนั้น การเปลี่ยนแปลงแบบเดิมๆที่มองจุดเริ่มต้นไปที่คน โดยพยายามจะปรับเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อ แต่ผลที่ได้รับก็คือมีการเปลี่ยนแปลงที่ช้ามาก บางองค์กรจึงต้องหันมาใช้การ Re Engineering หรือทำการปรับโครงสร้างใหม่แทน

     เมื่อมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ และ ด้วยโครงสร้างใหม่นี่เองก็จะทำให้คนในองค์กร หรือลูกค้าที่มาใช้บริการค่อยๆปรับเปลี่ยนทัศนคติและความเชื่อถือไปได้เอง ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ  ธนาคารกสิกรไทย  เมื่อครั้งที่มีการ Re Engineering องค์กรใหม่  ทำให้พนักงานและลูกค้าผู้ใช้บริการของธนาคาร ต้องยืนเข้าแถวเพื่อใช้บริการกับธนาคารกสิกรไทยเป็นแห่งแรก ด้วยเพราะการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ขององค์กร  แทนที่จะเริ่มเปลี่ยนแปลงที่คน

       อย่างไรก็ตามโลกแห่งการแข่งขันไม่หยุดอยู่กับที่ มาถึงวันนี้ด้วยภาวะ การแข่งขันของสถาบันการเงินที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นตามลำดับ ธนาคารกสิกรไทยเอง ก็เริ่มมาใช้วิธีการผสมผสานกันระหว่าง วิธีการของการปรับโครงสร้างใหม่ที่ดูทันสมัย กับการให้บริการแบบถึงลูกถึงคนในแบบเดิมๆ ผสมผสานเข้าด้วยกันอีกครั้ง ซึ่งผมว่าก็ดูดีและอบอุ่นในแบบไทยๆดีทีเดียว.

      และจากการอ่านบทความและเรื่องราวต่างๆใน “Go to know” ก็ได้เข้าไปพบกับเรื่องบางเรื่องที่คล้ายกับประสบการณ์ที่ผมเคยได้พบเจอตอนยังเป็นเด็กสมัยที่ยังอาศัยอยู่ในบ้านสวน

    คือมีสมาชิกในบล็อกท่านหนึ่งเล่าถึงเรื่องที่ ได้ทดลองปลูกขยายพันธุ์ต้นกล้วยด้วยการเอาส่วนที่เป็นด้านบนของต้นกล้วยฝังดินและเอาด้านโคนต้นที่มีรากงอกบ้างแล้วหงายขึ้นด้านบน แล้วใช้ดินกลบ เหมือนการปลูกต้นไม้และให้น้ำตามปกติ

    จากนั้นก็ปล่อยให้เจ้าหน่อกล้วย พยายามต่อสู้ดิ้นรนที่จะเอาชีวิตรอด ผลก็คือหน่อกล้วยพยายามแทงยอดขึ้นมาจนได้ โดยแทงหน่อยอดจากบริเวณโคนของต้นกล้วย ข้อดีก็คือไม่ได้แทงหน่อออกมาแค่ยอดเดียว แต่แทงออกมามากกว่าหนึ่งยอด เพียงแต่ใช้เวลาแทงหน่อนานกว่าการงอกปกติอีกหนึ่งเท่าตัว

     ในสมัยเมื่อผมยังเด็ก ผมเคยเห็นหน่อกล้วยที่งอกในลักษณะเช่นนี้ โดยมีคนเอาหน่อกล้วยมากองทิ้งไว้ในบ่อที่ทิ้งใบไม้และเศษหญ้า โดยที่มีบางหน่อถูกทิ้งไว้ในลักษณะเอาด้านยอดทิ่มไว้ก้นบ่อ เข้าใจว่าคงกะจะให้มันตายและเน่าเป็นปุ๋ยหมัก

   แต่ปรากฏว่ามันพยายามแทงหน่อจากด้านโคนต้นใกล้ๆบริเวณรากออกมา ผมยืนมองมันเห็นว่าแปลกดี แต่ก็ไม่ได้คิดอะไรมาก จนได้มาเห็นเรื่องที่มีคนโพสไว้ใน Go to know แห่งนี้ ประจวบกับเรื่องราวที่ได้เรียนในวันนี้นั้น สามารถนำมาเปรียบเทียบกับการดิ้นรนเพื่อการอยู่รอดของต้นกล้วยได้พอดี ผมพยายามกลับไปค้นหาอีกหลายครั้งเพราะผู้เขียนได้ โพสรูปไว้ด้วย แต่ก็ต้องขออภัยที่หาบล็อกของท่านผู้นั้นไม่เจอจริงๆ

   และจากการได้เห็นภาพนี่เอง ทำให้ผมนึกถึงภาพที่เห็นในวันนั้นออก และกลับมาย้อนคิดถึงมันว่ามันสมเป็นยอดนักสู้โดยแท้

       เลยทำให้นึกถึงผู้คนในหลายประเทศ ที่ต้องพยายามต่อสู้ดิ้นรนกับอุปสรรคที่มีอยู่รอบด้านกับธรรมชาติเลวร้ายที่รายล้อมอยู่รอบด้าน ทำให้ต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อเอาชนะมันให้ได้ ผลก็คือหลายๆประเทศเหล่านั้น มีคนที่มีคุณภาพ ที่สามารถคิดเอาชนะธรรมชาติที่เลวร้ายได้ จนเขาได้รับชัยชนะ และเป็นต้นแบบในการสร้างผลิตภัณฑ์ และผลิตผลที่นำมาส่งออกไปยังประเทศต่างๆ

     ผลพวงเหล่านี้มาจากความพยายามดิ้นรน ต่อสู้เรียนรู้เพื่อความอยู่รอด ปลอดภัย ในขณะที่ประเทศที่อยู่อย่างสุขสบายไม่ต้องดิ้นรน หรือไม่พยายามดิ้นรนต่อสู้กับอุปสรรคใดๆ เพราะไม่มีหรือมีก็มีไม่มาก คนเหล่านั้นจึงคุ้นเคยกับการอยู่แบบเดิมๆ คิดแบบเดิมๆ ทำแบบเดิมๆ จึงเปรียบเหมือนกับหน่อกล้วย ที่ปลูกด้วยการเอายอดขึ้นตามปกติ ผลที่ได้คือหน่อกล้วยที่ขึ้นเป็นต้นกล้วยหนึ่งต้น เหมือนเดิมๆที่เคยเป็น

    

     มนุษย์เราถ้าไม่มีสถานการณ์บังคับ อุปสรรคไม่ใกล้ตัว ก็จะไม่พยายามปรับตัวให้อยู่รอด

    ขอให้ดูต้นกล้วยเป็นตัวอย่าง
เมื่อทำในสิ่งที่ต่างออกไปด้วยการเอารากขึ้นฟ้า เอายอดทิ่มลงดิน สถานการณ์ทำให้มันต้องพยายามดิ้นรนเพื่อให้มันมีชีวิตรอดให้ได้ และด้วยต่างเซลล์ต่างก็พยายามที่จะแทงหน่อออกมาเพื่อความอยู่รอด มันจึงมีหน่อแทงขึ้นมามากกว่าหนึ่งหน่อ!! อย่างน้อยก็ต้องมีเผ่าพันธุ์ของมันสักหน่อหนึ่งละที่จะต้องรอด และทำให้มันขยายเผ่าพันธุ์ของมันต่อไปได้

     นับประสาอะไรกับมนุษย์เราที่มีความรู้ความสามารถมีความคิด มีทางเลือก มีความสามารถโยกย้าย เดินทางได้ มีเครื่องมือเครื่องไม้และอุปกรณ์ต่างๆ มีสมองที่สามารถพลิกแพลง เปลี่ยนแปลงดิ้นรนต่อสู้ได้อย่างชาญฉลาดได้ดีกว่าต้นกล้วยมากมายหลายเท่า

         ทำไมเราจะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้สร้างผลผลิต ให้ดีเลิศ ให้มีคุณภาพ ให้คุ้มค่า ได้ดีกว่าต้นกล้วยไม่ได้  ถ้าทำไม่ได้ก็อายต้นกล้วยละครับ !!

นายพนม ปีย์เจริญ

Mr.Panom Peecharoen

24.7.2007

    

    

นายสิทธิชัย ธรรมเสน่ห์

เรียน ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์

                                                            (Homework5)

          จากการเรียนเรื่อง Human  Competence , Training & Learning โดยท่านอาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ เมื่อวันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม 2550 สรุปและประยุกต์บทเรียนได้ดังนี้

          แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั้งแต่ฉบับที่ 8 ต้องการสร้างให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ เช่นเดียวกันประเทศญี่ปุ่นที่สอนให้เด็กได้มีการศึกษาจากธรรมชาติ และฝึกวินัยตั้งแต่เด็ก รู้ว่าบทบาทตัวเองคืออะไร นับว่าเป็นสิ่งที่ดีซึ่ง HR.ต้องเป็น Marketing นั่นคือต้องรู้จักลูกค้า ต้องรู้ว่าเขาต้องการอะไร แล้วเราต้องตอบสนองให้ได้

          HR.ต้องรู้จักสร้างมูลค่าเพิ่ม, ใฝ่รู้, คิดนอกกรอบ (กบนอกกะลา) ถ้าคนเราไม่สร้างทุนต่อความคิด, ต่อความกดดัน, ต่อการแทรกแซง ก็จะไม่สามารถอยู่ในองค์กรได้ ดังนั้น HR. ต้องรู้จักรับฟังทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องเชิงบวก/เชิงลบ ความมีมุมมองใหม่ และสร้างทุนให้กับตนเอง

          ถ้าเราวางพื้นฐานในสังคมไม่ดี แล้วเราจะไปพัฒนาสังคมในรู้แบบต่างๆได้อย่างไร? การวางพื้นฐานในสังคมที่ดี คือการสอนเด็กให้รู้จักคิด รู้จักวางแผนชีวิต รู้จักคิดอย่างเป็นระบบ System thinking

          Schultz บิดาของทุนมนุษย์ กล่าวไว้ว่า "ความสำเร็จที่สำคัญที่สุด คือ การเพิ่มขึ้นของทุนมนุษย์"

          KPI เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จ การสร้าง KPI เปรียบเสมือนการสร้างนวัตกรรม (Innovation) และการนำ Competence มาประเมินถือเป็นการสร้าง KPI ตัวหนึ่ง และสิ่งที่ควรตระหนักนั่นคือ การตั้ง KPI ควรคิดให้รอบคอบ มิฉะนั้นจะทำให้มีผลกระทบกับองค์กรในเชิงลบได้เช่นกัน

          Nonaka อาจารย์ท่านหนึ่งของญี่ปุ่น สอนให้เห็นภาพว่า คนญี่ปุ่นรู้จักดึงความรู้ที่มีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่นการนั่งคุยกันเพื่อถกปัญหา และแก้ไขจะไม่ยึดติดกับความคิดของตนเอง หรือสิ่งที่ทำ/เจอเป็นประจำ

          การทำงานต้องดูวัฒนธรรมองค์กรและสังคมก่อน ซึ่งทั้งนี้ต้องรู้จักตนเองก่อน และพึงตระหนักไว้เสมอว่า"การศึกษาเป็นพื้นฐานของการเติบโตในทุกเรื่อง"  Socialization ของคนไทย คือการสนุกสนานไปวัน ๆ , ฝังใจกับการเรียนในห้องเรียนมากกว่าที่จะคิดพัฒนาการเรียนรู้จากโลกภายนอก

          พระพุทธทาสภิกขุ ได้กล่าวว่า"ธรรมใด ๆ ก็ไร้ค่า ถ้าไม่ทำ" เป็นสิ่งเตือนสติคนไทย เหมือนกับการอบรมจริยธรรมซึ่งต้องมีอยู่ในทุก ๆ อาชีพ และเกิดขึ้นกับคนทั่วทุกอาชีพ แต่เมื่ออบรมแล้ว ต้องมาปฏิบัติให้เกิดจริงเป็นรูปธรรมในเชิงบวก

          ผู้บริหารที่ดีต้องมีวิสัยทัศน์ ต้องรู้จักเอาลักษณะของงานเอกชนมาประยุกต์มองไปข้างหน้า พูดถึงอนาคต ไม่ควรพูดถึงอดีตในเชิงลบ จะเป็นการบั่นทอนตนเองอีกทั้งควรใช้ประสบการณ์มาเสริมสร้างการเรียนรู้  ผู้ตามจะเป็นกระจกเงาให้กับเราได้ดีที่สุด

          Human Capital ประกอบด้วย

 • Experience ประสบการณ์   • Skills ทักษะ

 • Knowledge ความรู้             • Ability ความสามารถ

          Contributions to Human Capital ได้แก่

Competence ความสามารถ

Training การฝึกอบรม

Learning การเรียนรู้

          โดยสรุป Human Capital ต้องอาศัยประสบการณ์ ทักษะ ความรู้ ความสามารถ ซึ่งต้องมีการฝึกฝน สะสมมาตั่งแต่เด็ก รู้จักนำเอาประสบการณ์รอบตัวมาประยุกต์ใช้ และพัฒนาการตนเอง ให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด และต้องอยู่ในกรอบของการมี คุณธรรม จริยธรรม แล้วจึงนำมาซึ่งความสุข ความสำเร็จ และเป็นการสะสมทุนที่เรียกว่า "ทุนมนุษย์"

                                                     

                                                     - ขอบคุณครับ -

                                                  สิทธิชัย   ธรรมเสน่ห์

นางสาวชารวี บุตรบำรุง

                                           

การบ้านครั้งที่ 5 / นางสาวชารวี  บุตรบำรุง บรรยายโดย..อ.ศิริลักษณ์  เมฆสังข์   เรียนวันที่ 21/7/2550        วันนี้ท่านอาจารย์ได้บรรยายเรื่อง Human Capital Competence,Training & Learning เริ่มจาก Macro ไปสู่ Micro โดย.. Schultz,1981 กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่ทำให้มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐศาสตร์ ความสำเร็จอยู่ที่การมี Stock ทุนมนุษย์: Human Capital ที่เพิ่มขึ้นประกอบด้วย
  • Skills การมีทักษะความชำนาญ
  • Knowledge การมีความรู้และเรียนรู้เสมอ
  • Ability การมีความสามารถ
  • Experience การมีความชำนาญ
รวมทั้งมี Concept ใหม่ๆ จากเดิม Production - centered economic unit เปลี่ยนมาเป็น Learning – centered economic unit        นอกจากนี้ทุนมนุษย์ : Human Capital ยังต้องมอง ขีดความสามารถ : Competence , Training และ Learning ทำอย่างไรให้คนเรียนรู้ และเรียนรู้ตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง เพราะ ถ้าคนเรียนรู้ จะไม่มีค่าใช้จ่าย ไม่ต้องใช้เงิน เพื่อให้เกิด HPW : High Performance Workplace       สำหรับประเทศไทยได้มีการจัดทำ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจากอดีตสู่ปัจจุบัน แผนที่ 1 แผนที่ 10 มีการวางกรอบแนวคิดในการบริหารจัดการ พัฒนาประเทศ แต่ที่เห็นได้ชัด คือ แผนพัฒนาฯฉบับที่ 8 ที่เน้นสังคมแห่งการเรียนรู้ พร้อมทั้งต้องก้าวทัน โลกาภิวัตน์ และ ทำอย่างไรเพื่อให้คนเรียนรู้ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ฉะนั้น ควรสร้างวินัยตั้งแต่เด็ก เพื่อให้มีวินัยในตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อเติบโตจะได้เป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรมจริยธรรม ให้การดำเนินชีวิต นำพาประเทศไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน       ดังนั้น ทุนมนุษย์ ถือเป็นเรื่องสำคัญ ปัจจุบัน HR ต้องเป็นแนว Marketing คือ ต้องฟังลูกค้า ต้องมองแบบ inside out side in คือ ต้องสำรวจว่า สิ่งที่เราจะทำ ทำให้เขาได้ประโยชน์ จาก why we hate HR. มาเป็น we love HR. รวมทั้งช่วยสอนในเรื่องการวางแผน Think แบบ Systematic Thinking ดังที่ Peter sange กล่าวว่า ต้องมีกระบวนการ รู้ว่า ทำอะไร อย่างไร เมื่อไร กับใคร โดยมองโจทย์จาก output แล้วมองย้อนศรขึ้นไป เป็น input ต้องมีความคิด มีการทำงานเป็นทีม มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ และต้องมี KPI : key performance indicator ที่ทำให้เกิดการสร้างคุณค่าที่เพิ่มขึ้นให้แก่องค์กร ถ้าทางธุรกิจ จะเกิด hight impact สูงต่อผลประกอบการ แต่ภาครัฐบาล ต้องเกิด hight impact สูงต่อคน ซึ่งผลสำเร็จคือ การที่ประชาชนเรียกร้องหา อยากใช้บริการ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ต้องมี ขีดความสามารถ : Competence จากทีม พฤติกรรม และวัฒนธรรม ในประเทศตะวันตก เช่น สหรัฐอเมริกา เริ่มต้นที่รัฐ คือนำมาใช้กับหน่วยทหาร แต่ประเทศไทยเรา นำมาเริ่มที่ภาคเอกชน ทั้งนี้ ศักยภาพของผู้ประเมินก็ถือเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าระบบดี เครื่องมือดี แต่ใช้การประเมินจากความรู้สึก การมี KPI ก็เปล่าประโยชน์ นอกจากนี้ยังต้องมีการแชร์กัน โดยเฉพาะ ปัญหาที่เกิดขึ้น เพื่อหาทางปรับปรุงแก้ไข แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ผู้บริหารระดับสูง ควรต้องลด Ego ลง ต้องมีการระดมความคิด และควรมีกระจกสะท้อน และที่สำคัญควรคิดแบบ Think out of the box คิดแบบกบนอกกะลา อย่าให้เกิดคำถามที่ว่า คนเข้าทำงานเพราะองค์กร แต่จากไป..เพราะหัวหน้าจริงหรือ 

 

การบรรยายในวันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม 2550 ของ อาจารย์ ศิริลักษณ์ เมฆสังข์                             KPI การบริหารทุนมนุษย์         ปัจจุบันเรื่องของคนเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเริ่มตั้งแต่ Macro แล้วต้องเริ่มด้วยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งตอนนี้เรามีอยู่ 10 ฉบับ แต่ที่เห็นชัด           คือ แผน8 ตั้งแต่แผน 8 มาจะมีการระบุลงไปในแผนว่า ต้องการสร้างประเทศไทย     ให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ เมื่อพูดถึงสังคมกับการเรียนรู้ สิ่งที่ตามมาแต่ในแผน    และก็ไม่ได้ระบุละเอียดขนาดนั้นคือ สิ่งที่เป็นผลกระทบต่อสังคมบ้านเรา คือ Globalization [ยุคโลกาภิวัตน์]มีคนให้คำจำกัดความของโลกาภิวัตน์เยอะมาก                               แต่จริง ๆแล้วโลกาภิวัตน์ คือ อะไรที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไร้พรมแดน            ฉะนั้นแผน 8 และแผน 9 จะทำให้เราต้องกลับมาคิดว่า เราต้องทำยังไงให้ไทย  เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ส่วนที่ประเทศอื่น ๆประชาชนของเขาจะถูกสอนว่า                 ถ้าแต่ละคนมีวินัยในตนเอง รู้ว่าตนเองต้องทำยังไง [Did You Know Yourself]                       รับรองเลยว่าคุณไม่ต้องมี HR มาคอยบอกระเบียบแน่นอน แต่คงขัดแย้งกับ                 การบริหารในเมืองไทย เพราะคนไทยจะถูกสอนให้คอยทำตาม เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาอาจารย์ได้เดินทางไปสัมมนาเกี่ยวกับระบบ HR มีท่านหนึ่งซึ่งท่านเป็น Marketing ท่านอยากให้ HR ในยุคนี้เป็น HR Marketing เพราะต้องคอยสำรวจตลาดว่าลูกค้าต้องการอะไร แล้วนำมาปรับใช้กับพนักงานในบริษัท  แต่ในการสัมนานั้นสิ่งที่วิทยากรพูดว่า Why we hate HR? และก็มีท่านหนึ่งไม่เห็นด้วยกับการบรรยายที่ว่า HR ต้องเป็น HR Marketing เพราะจะทำให้คนที่มีอาชีพ HR สับสน หลังจากที่วิทยากรลงจากเวทีแล้วก็ยังมีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่าไม่ควรนำวิทยากรท่านนี้มาเลย เพราะวิทยากรท่านนี้ท่านเป็น Marketing คนที่เป็น Marketing กับ HR                    จะมีมุมมองที่ต่างกัน  ความคิดที่แตกต่างต่าง  คนที่เป็น Marketing จะมีความคิดบรรเจิดนอกกรอบ [Think out of the box] ส่วนคนที่เป็น HR จะมีมุมมองความคิดปกติ หลังจากการสัมมนาวันนั้น จึงมีความคิดขึ้นมาว่า ถ้าคนไม่สร้างทุนเรื่องความคิดต่อการเสียดสีต่อการวิพากษ์วิจารณ์ต่ออะไรหลาย ๆสิ่งแล้ว เราจะช่วยกันพัฒนาคนในประเทศได้ยังไง คนเราต้องคิดแบบ Marketing คือ คิดให้ได้เงิน แล้วมองแบบ HR คือมองในทางที่ดี เราอยู่ตรงนี้เราคือ HR เราต้องรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ได้ ไม่ว่าจะเป็นเชิงบวกหรือลบ      ฉะนั้นคนที่เป็น HR ต้องมีภูมิที่ดีสามารถทนรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ให้ได้ เราต้องเปลี่ยนมุมมองของคนใหม่ สร้างภูมิให้กับตัวเองต้องเปลี่ยนความคิดของคนอื่นใหม่จาก Why we hate HR? เป็น How we love HR? ให้ได้…….         ในเมื่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมองในมุมนี้ แต่หน่วยงานย่อยยังบริหารให้เป็นไปตามนี้ไม่ได้แล้วเราจะพัฒนาประเทศชาติได้ยังไง ในการเรียนการสอนปัจจุบัน ส่วนใหญ่นักเรียน นักศึกษาที่จบออกไป ต้องการได้สูตรสำเร็จ      ในการทำงาน คือ ต้องการตำแหน่งสูงในการทำงาน เช่น ถ้าเป็น Sale ก็ต้องเป็น Executive โดยที่เขาไม่รู้ว่าในสมัยก่อนกว่าจะเลื่อนจาก Sale มาเป็น Executive ต้องใช้ความสามารถขนาดไหน นี่ล่ะคือสูตรความสำเร็จที่เด็กรุ่นใหม่ต้องการ จึงอยากฝากมหาวิทยาลัยที่กำลังมีเด็กที่จะจบการศึกษาว่าต้องช่วยสอนให้พวกเขารู้จักการวางแผน เรื่องของ System Thinking ซึ่งส่วนมากคนบ้านเราจะขาดส่วนนี้ คือ ความคิดที่เป็นระบบ ถ้าคิดเป็นระบบคุณจะตอบคำถาม How To? ได้ว่าคุณจะต้องทำอะไร ยังไง คุณถึงจะได้อะไร คือต้องมองไปที่จุดมุ่งหมายสูงสุดแล้วมองย้อนศรลงมาว่าจะเริ่มตรงไหน จบตรงไหน End Result คืออะไรมันเป็นกระบวนการที่สร้างให้คนเพิ่มพูนทักษะการเรียนรู้         ทุนมนุษย์ค่อนข้างที่จะเป็นนามธรรม ฉะนั้นการทำธุรกิจเราต้องทำ Stock ของทุนมนุษย์ เพื่อเพิ่มพูนทุนมนุษย์ โดยเราต้องสร้างทักษะของทุนมนุษย์ที่มีอยู่ให้เพิ่มขึ้น เพื่อการพัฒนาประเทศที่มั่นคงต่อไปหลังจากที่ได้ฟังการบรรยายแล้วจึงมีความคิดว่าปัจจุบันมนุษย์ในประเทศไทยพัฒนาตนเองได้ช้ากว่าประเทศอื่น เพราะการไม่มีวินัยในตนเองนั่นเอง ทำทุกอย่างได้ก็ต่อเมื่อมีคนมาคอยกำกับให้คอยทำตาม แต่เมื่อไม่มีคนคอยกำกับจึงไม่สามารถปฏิบัติให้อยู่ได้อย่างมีสมรรถภาพ และส่วนใหญ่จะไม่มีคนไหนที่สามารถตอบคำถาม How to? End Result ได้เลย ซึ่งตรงกับทฤษฏีเรื่อง Human Capital ว่าด้วยกลยุทธ์ต่าง ๆทางการตลาดที่จะทำให้ประชาชนในประเทศได้พัฒนาทักษะตนเองเพื่อเป็นพลเมืองที่ดี มีคุณภาพ สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย  ดังทฤษฏีต่อไป         ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างมากที่เสียสละเวลามาบรรยายเพื่อให้เราได้รู้ถึงหลักการในการพัฒนาตนเองและพัฒนาบุคลากรในองค์กร ขอบคุณค่ะสำหรับการบรรยายดีดี                                                          กฤษณา ปลั่งเจริญศรีHuman Capitalกลยุทธ์ทางการตลาด-        กลุ่มลูกค้า ซึ่งสามารถปลูกฝัง ค่านิยมสินค้าของบริษัทเป็นสำคัญก่อน          บริษัทต้องมีความสามารถปลูกฝังบริษัทต่อลูกค้าปัจจุบันและอนาคต            บริษัทต้องมี [Competences ความรู้ ประสบการณ์]ทุกวันนี้เศรษฐกิจเจริญเติบโตขึ้น เราต้องพัฒนามนุษย์ให้ใช้ความรู้ ความสามารถของมนุษย์ให้มากขึ้น-        ในอดีต การตลาด และการจัดการมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์       ที่มีคุณค่าสำหรับลูกค้า -        ทรัพยากรมนุษย์ ต้องพัฒนาความสามารถซึ่งจะมีผลในการเจริญเติบโต            ขององค์กรในอนาคต-        การจัดการธุรกิจในปัจจุบันจะเห็นว่า การลงทุนครึ่งหนึ่งเป็นของการเงิน         ส่วนการลงทุนอีกครึ่งเป็นเรื่องของทรัพยากรมนุษย์-        Capital-Highly Important การมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีทักษะความรู้ความสามารถสูงเป็นข้อได้เปรียบสำคัญ New Conceptสมัยก่อน การผลิต ลงทุนเท่าไหร่ จุดวัดอยู่ที่การผลิตปัจจุบัน การเรียนรู้ เป็นจุดวัดความสำเร็จ What is Human capital?อะไรคือทรัพยากรมนุษย์1.   ความสามารถ2.   การฝึกอบรม3.   การเรียนรู้     Employee’Basic Capability to Perform การเรียนรู้ของพนักงานที่จะนำไปปฏิบัติ   
Ability [ความสามารถ]  Willingness  [ความเต็มใจ]
สุขภาพดี ความสามารถเฉพาะตน มึความคิดที่ดี แรงจูงใจในการทำงาน,สภาพแวดล้อมในที่ทำงาน
รักองค์กร,รักงาน เห็นความสำคัญต่อพนักงาน สวัสดิการ,ค่าตอบแทน,ส่งเสริมการเรียนรู้ในต่างประเทศ
- Adtitude [พรสวรรค์] พร้อมที่จะเรียนรู้ต้องมี มีการยอมรับที่ดีจากเจ้านาย
1. IQ - Commitment ทุ่มเททุกอย่างให้กับองค์กร
2. EQ - Influence the actual performance of work
3. RQ การควบคุมการทำงานให้มีคุณภาพ
4. MQ - Efficiency ความสามารถในการทำงานที่ใช้เวลา,
ถ้ามีความสามารถทั้งหมดที่ว่าจะสามารถทำงาน                พลังงานหรือเงินน้อยแต่มีประสิทธิภาพมาก
ที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จ  
                    ความสามารถที่ทำมากหรือน้อย    ถ้าทำมากก็ได้มาก ทำน้อยได้น้อย The Competence Chain-        การวางแผน คือ การนำความรู้ความสามารถจากภายนอกมาพัฒนาใช้กับเรา-        การวางแผนในการพัฒนามนุษย์ต้องดูว่าจะรับจากภายนอกหรือ     ให้ความรู้ภายในองค์กร โดยวัดจากองค์กรของตนเองสามารถแบ่งได้ 2 ทาง คือ1.    การว่าจ้างบุคคลภายนอกองค์กรมาแบบเป็นทางการ เช่น การทำวิจัย2.    การว่าจ้างบุคคลภายนอกองค์กรมาแบบไม่เป็นทางการ        การใช้ความรู้ความสามารถ1.    การควบคุมพนักงาน โดยใช้ขั้นตอนความรู้ ความสามารถที่ผ่านมา                                       ถ้าพัฒนาความรู้ความสามารถแล้วจะต้องมีการโยกย้ายพนักงาน                                              ที่มีความสามารถตรงตามความต้องการของหน่วยงานนั้น ๆ2.    การแบ่งแยกหน้าที่ที่ถูกต้องในการทำงานภายในองค์กรให้ถูกตำแหน่งหน้าที่                    ตามระดับความสามารถ3.    ผู้ชำนาญพิเศษ เปรียบเทียบกับงาน4.    ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน5.    ดูแลการทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับงาน เพื่อให้อยู่กับองค์กรนาน ๆ High Performance Workplace [HPW]การสร้างประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้นEX: การส่งพนักงานในองค์กรไปทำงานหรือฝึกงานในต่างประเทศ ให้ค่าตอบแทนที่สูงขึ้น ทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร1.   กลยุทธ์ในการวางแผน เน้นการเพิ่มความสามารถให้กับพนักงานในองค์กร2.   ผู้นำต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถเพื่อจะนำไปสู่ผลงานที่ดี3.   วัฒนธรรมองค์กร ช่วยเหลือเกื้อกูล4.   การรับรู้สิ่งต่าง ๆที่เกิดขึ้นในองค์กร5.   มีแรงจูงใจ มีรางวัลตอบแทนให้กับพนักงาน6.   มีการประเมินผลพนักงานเป็นระยะ ๆ7.   มีการให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานร่วมกัน8.   มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี,ปลอดภัย
การบรรยายในวันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม 2550 ของ อาจารย์ ศิริลักษณ์ เมฆสังข์เรียบเรียงโดยนางสาวกฤษณา ปลั่งเจริญศรี                                               KPI การบริหารทุนมนุษย์         ปัจจุบันเรื่องของคนเป็นเรื่องสำคัญ ถ้าเริ่มตั้งแต่ Macro แล้วต้องเริ่มด้วยแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งตอนนี้เรามีอยู่ 10 ฉบับ แต่ที่เห็นชัด คือ แผน 8 ตั้งแต่แผน 8 มาจะมีการระบุลงไปในแผนว่า ต้องการสร้างประเทศไทยให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้  เมื่อพูดถึงสังคมกับการเรียนรู้ สิ่งที่ตามมาแต่ในแผนและก็ไม่ได้ระบุละเอียดมากนักคือ สิ่งที่เป็นผลกระทบต่อสังคมบ้านเรา คือ Globalization [ยุคโลกาภิวัตน์]มีคนให้คำจำกัดความของโลกาภิวัตน์เยอะมาก แต่จริง ๆแล้วโลกาภิวัตน์ คือ อะไรที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไร้พรมแดน ฉะนั้นแผน 8 และแผน 9 จะทำให้เราต้องกลับมาคิดว่า เราต้องทำยังไงให้ประเทศไทย เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ ส่วนที่ประเทศอื่น ๆประชาชนของเขาจะถูกสอนว่า  ถ้าแต่ละคนมีวินัยในตนเอง รู้ว่าตนเองต้องทำยังไง [Did You Know Yourself] รับรองเลยว่าคุณไม่ต้องมี HR มาคอยบอกระเบียบอย่างแน่นอน แต่คงขัดแย้งกับ  การบริหารในเมืองไทย เพราะคนไทยจะถูกสอนให้คอยทำตาม เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาอาจารย์ได้เดินทางไปสัมมนาเกี่ยวกับระบบ HR มีท่านหนึ่งซึ่งท่านเป็น Marketing ท่านอยากให้ HR ในยุคนี้เป็น HR Marketing เพราะต้องคอยสำรวจตลาดว่าลูกค้าต้องการอะไร แล้วนำมาปรับใช้กับพนักงานในบริษัท  แต่ในการสัมนานั้นสิ่งที่วิทยากรพูดว่า Why we hate HR? และก็มีท่านหนึ่งไม่เห็นด้วยกับการบรรยายที่ว่า HR ต้องเป็น HR Marketing เพราะจะทำให้คนที่มีอาชีพ HR สับสน หลังจากที่วิทยากรลงจากเวทีแล้วก็ยังมีการวิพากษ์วิจารณ์กันว่าไม่ควรนำวิทยากรท่านนี้มาเลย เพราะวิทยากรท่านนี้ท่านเป็น Marketing คนที่เป็น Marketing กับ HR                    จะมีมุมมองที่ต่างกัน  ความคิดที่แตกต่างต่าง  คนที่เป็น Marketing  จะมีความคิดบรรเจิดนอกกรอบ [Think out of the box] ส่วนคนที่เป็น HR จะมีมุมมองความคิดปกติ หลังจากการสัมมนาวันนั้น จึงมีความคิดขึ้นมาว่า ถ้าคนไม่สร้างทุนเรื่องความคิดต่อการเสียดสีต่อการวิพากษ์วิจารณ์ต่ออะไรหลาย ๆสิ่งแล้ว เราจะช่วยกันพัฒนาคนในประเทศได้ยังไง คนเราต้องคิดแบบ Marketing คือ คิดให้ได้เงิน แล้วมองแบบ HR คือมองในทางที่ดี เราอยู่ตรงนี้เราคือ HR เราต้องรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ได้ ไม่ว่าจะเป็นเชิงบวกหรือลบ ฉะนั้นคนที่เป็น HR ต้องมีภูมิที่ดีสามารถทนรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ให้ได้ เราต้องเปลี่ยนมุมมองของคนใหม่ สร้างภูมิให้กับตัวเองต้องเปลี่ยนความคิดของคนอื่นใหม่จาก Why we hate HR? ให้เป็น How we love HR? ให้ได้…….         ในเมื่อแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติมองในมุมนี้ แต่หน่วยงานย่อยยังบริหารให้เป็นไปตามนี้ไม่ได้แล้วเราจะพัฒนาประเทศชาติได้ยังไง ในการเรียนการสอนปัจจุบัน ส่วนใหญ่นักเรียน นักศึกษาที่จบออกไป ต้องการได้สูตรสำเร็จ ในการทำงาน คือ ต้องการตำแหน่งสูงในการทำงาน เช่น ถ้าเป็น Sale ก็ต้องเป็น Executive โดยที่เขาไม่รู้ว่าในสมัยก่อนกว่าที่จะเลื่อนจาก Sale มาเป็น Executive ต้องใช้ความสามารถขนาดไหน นี่ล่ะคือสูตรความสำเร็จที่เด็กรุ่นใหม่ต้องการ จึงอยากฝากมหาวิทยาลัยที่กำลังมีเด็กที่จะจบการศึกษาว่าต้องช่วยสอนให้พวกเขารู้จักการวางแผน เรื่องของ System Thinking ซึ่งส่วนมากคนบ้านเราจะขาดส่วนนี้  คือ การมีความคิดที่เป็นระบบ ถ้าคิดเป็นระบบคุณจะตอบคำถาม How To? ได้ว่าต้องทำอะไร ยังไง ถึงจะได้อะไร คือต้องมองไปที่จุดมุ่งหมายสูงสุดแล้วมองย้อนศรลงมาว่าจะเริ่มตรงไหน จบตรงไหน End Result คืออะไร มันเป็นกระบวนการที่สร้างให้คนเพิ่มพูนทักษะการเรียนรู้         ทุนมนุษย์ค่อนข้างที่จะเป็นนามธรรม ฉะนั้นการทำธุรกิจเราต้องทำ Stock ของทุนมนุษย์ เพื่อเพิ่มพูนทุนมนุษย์ โดยเราต้องสร้างทักษะของทุนมนุษย์ที่มีอยู่ให้เพิ่มขึ้น เพื่อการพัฒนาประเทศที่มั่นคงต่อไป Kissana: หลังจากที่ได้ฟังการบรรยายแล้วจึงมีความคิดว่าปัจจุบันมนุษย์ในประเทศไทยพัฒนาตนเองได้ช้ากว่าประเทศอื่น เพราะการไม่มีวินัยในตนเองนั่นเอง ทำทุกอย่างได้ก็ต่อเมื่อมีคนมาคอยกำกับให้คอยทำตาม แต่เมื่อไม่มีคนคอยกำกับจึงไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างมีสมรรถภาพ และส่วนใหญ่จะไม่มีคนไหนที่สามารถตอบคำถาม How to? และ End Result ได้เลย ซึ่งตรงกับทฤษฏีเรื่อง Human Capital ว่าด้วยกลยุทธ์ต่าง ๆ ทางการตลาดที่จะทำให้ประชาชนในประเทศได้พัฒนาทักษะตนเองเพื่อเป็นพลเมืองที่ดี มีคุณภาพ สำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทย  ดังทฤษฏีต่อไป         ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างมากที่เสียสละเวลามาบรรยายเพื่อให้เราได้รู้ถึงหลักการในการพัฒนาตนเองและพัฒนาบุคลากรในองค์กร ขอบคุณค่ะ (กฤษณา ปลั่งเจริญศรี) Human Capitalกลยุทธ์ทางการตลาด-                    กลุ่มลูกค้า ซึ่งสามารถปลูกฝัง ค่านิยมสินค้าของบริษัทเป็นสำคัญก่อน          -                    บริษัทต้องมีความสามารถปลูกฝังบริษัทต่อลูกค้าปัจจุบันและอนาคต            -                    บริษัทต้องมี [Competences ความรู้ ประสบการณ์]          ทุกวันนี้เศรษฐกิจเจริญเติบโตขึ้น เราต้องพัฒนามนุษย์ให้ใช้ความรู้ ความสามารถ          ของมนุษย์ให้มากขึ้น-                    ในอดีต การตลาด และการจัดการมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่มีคุณค่าสำหรับลูกค้า -                    ทรัพยากรมนุษย์ ต้องพัฒนาความสามารถซึ่งจะมีผลในการเจริญเติบโต           ขององค์กรในอนาคต-                    การจัดการธุรกิจในปัจจุบันจะเห็นว่า การลงทุนครึ่งหนึ่งเป็นของการเงิน                   ส่วนการลงทุนอีกครึ่งเป็นเรื่องของทรัพยากรมนุษย์-                    Capital-Highly Important การมีทรัพยากรมนุษย์ที่มีทักษะความรู้          ความสามารถสูงเป็นข้อได้เปรียบสำคัญ  New Conceptอดีต การผลิต ลงทุนเท่าไหร่ จุดวัดอยู่ที่การผลิตปัจจุบัน การเรียนรู้ เป็นจุดวัดความสำเร็จ What is Human capital?อะไรคือทรัพยากรมนุษย์1.                 ความสามารถ2.                 การฝึกอบรม3.                 การเรียนรู้  Employee’Basic Capability to Performการเรียนรู้ของพนักงานที่จะนำไปปฏิบัติ 
Ability [ความสามารถ]  Willingness  [ความเต็มใจ]

สุขภาพดี ความคิดดี มีความสามารถเฉพาะตน

แรงจูงใจในการทำงาน,สภาพแวดล้อมในที่ทำงาน
รักองค์กร,รักงาน เห็นความสำคัญต่อพนักงาน สวัสดิการ,ค่าตอบแทน,ส่งเสริมการเรียนรู้ในต่างประเทศ
- Adtitude [พรสวรรค์] พร้อมที่จะเรียนรู้ต้องมี มีการยอมรับที่ดีจากเจ้านาย
1. IQ - Commitment ทุ่มเททุกอย่างให้กับองค์กร
2. EQ - Influence the actual performance of work
3. RQ การควบคุมการทำงานให้มีคุณภาพ
4. MQ - Efficiency ความสามารถในการทำงานที่ใช้เวลา,
ถ้ามีความสามารถทั้งหมดที่ว่าจะสามารถทำงาน                พลังงานหรือเงินน้อยแต่มีประสิทธิภาพมาก
ที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จ  
   

                  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                      ความสามารถที่ทำมากหรือน้อย    ถ้าทำมากก็ได้มาก ทำน้อยได้น้อย The Competence Chain-                    การวางแผน คือ การนำความรู้ความสามารถจากภายนอกมาพัฒนาใช้กับเรา-                    การวางแผนในการพัฒนามนุษย์ต้องดูว่าจะรับจากภายนอกหรือ การให้ความรู้ภายในองค์กร โดยวัดจากองค์กรของตนเองสามารถแบ่งได้ 2 ทาง คือ1.                 การว่าจ้างบุคคลภายนอกองค์กรมาแบบเป็นทางการ เช่น การทำวิจัย2.                 การว่าจ้างบุคคลภายนอกองค์กรมาแบบไม่เป็นทางการ การใช้ความรู้ความสามารถ1.                 การควบคุมพนักงาน โดยใช้ขั้นตอนความรู้ ความสามารถที่ผ่านมา                                       ถ้าพัฒนาความรู้ความสามารถแล้วจะต้องมีการโยกย้ายพนักงาน ที่มีความสามารถให้ตรงตามความต้องการของหน่วยงานนั้น คือ การแบ่งแยกหน้าที่ที่ถูกต้องในการทำงานภายในองค์กรให้ถูกตำแหน่งตามระดับความสามารถ2.                 ผู้ชำนาญพิเศษ เปรียบเทียบกับงาน3.                 ความร่วมมือในการปฏิบัติงาน4.                 ดูแลการทำงานของพนักงานให้เหมาะสมกับงาน เพื่อให้อยู่กับองค์กรนาน ๆ  High Performance Workplace [HPW]การสร้างประสิทธิภาพในการทำงานให้สูงขึ้นEX: การส่งพนักงานในองค์กรไปทำงานหรือฝึกงานในต่างประเทศ ให้ค่าตอบแทนที่สูงขึ้น ทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร1.                 กลยุทธ์ในการวางแผน เน้นการเพิ่มความสามารถให้กับพนักงานในองค์กร2.                 ผู้นำต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถเพื่อจะนำไปสู่ผลงานที่ดี3.                 วัฒนธรรมองค์กร ช่วยเหลือเกื้อกูล4.                 การรับรู้สิ่งต่าง ๆที่เกิดขึ้นในองค์กร5.                 มีแรงจูงใจ มีรางวัลตอบแทนให้กับพนักงาน6.                 มีการประเมินผลพนักงานเป็นระยะ ๆ7.                 มีการให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานร่วมกัน8.                 มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี,ปลอดภัย
หรรษา คล้ายจันทร์พงษ์
สรุป คำบรรยายของ  อ.ศิริลักษณ์  เมฆสังข์   วันที่ 21 ก.ค. 2550 ท่านได้บรรยายเรื่อง ทุนมนุษย์ (Human ResourcesCompetence , Training  &  Learning)แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งท่านมองทั้งในด้าน Macro และ Microแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 เรื่องระบุว่าต้องการสร้างให้ประเทศไทยเป็นสังคมการเรียนรู้เราจะต้องทราบโลกาภิวัฒน์ คือ  อะไรที่ไปอย่างรวดเร็วไร้พรมแดนสิ่งต่างๆ เหล่านี้โยงไปสู่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 10 ทำอย่างไรจะให้คนรู้จักไขว่คว้าที่จะเรียนรู้คุณจะต้องรู้ว่าจะทำอะไร            HR ต้องเป็น Marketing   HR ในองค์กรเป็น HR ระดับ Micro เป็นการออกระเบียบปฏิบัติการพัฒนาคนต้องรู้จักลูกค้า HR ให้มองลูกค้าที่ทำงานด้วยว่าเขาอยากได้อะไรฉะนั้น HR ต้องที่ต้นแบบ  Marketing ต้องออกไปสำรวจพูดคุยในสิ่งที่เขา จะได้รับประโยชน์คนจะต้องสร้างทุนในแง่ของความคิด คน HR จะต้องรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ในเชิงบวกหรือเชิงลบ Mr.Schulty เป็นผู้คิดในเรื่อง Human Capital เขาได้กล่าวว่า  ความสำเร็จนี่สำคัญที่สุดในโลกปัจจุบันทีนี้ไม่ต้องสงสัยเลยว่านั้นแสดงการเพิ่มขึ้นๆ ของสต๊อกทุนมนุษย์ สต๊อกของคนจะประกอบไปด้วย 1. ทักษะ( skill)2. ความรู้ ( knowless)3. ความรู้ความสามารถ(Ability)4. ประสบการณ์( Expelance)            สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะทำให้เราได้ KPI  , Balance Scorecard  และสิ่งที่ทดสอบนี้ใช้ได้กับประเทศไทยได้หรือไม่KPI จะใช้ได้ดีในระดับหมู่บริหารถ้าเป็นพนักงานอาจจะเป็นงานประจำที่ทำอยู่ ส่วนในธุรกิจนั้นส่วนใหญ่ก็พยายามให้ลด Cost การลด Cost ก็ถือว่าเป็น KPIสิ่งที่จะคำนึงถึงในเรื่องของKPI คือ1. คนนำตั้ง KPI เข้าใจจริงๆ หรือไม่ คนที่เรานำไปใช้ นำไปในลักษณะที่บางสิ่งมาก็เอาไปใช้ 2. คนนำรับ รับตามคำสั่งผู้บังคับบัญชาหรือไม่3. การประมวลผลความสามารถของผู้ประเมินถือว่าเป็นปัจจัยนำสำคัญ เช่น พนักงาน บางคน บอกว่าผู้บังคับบัญชามักเกินจากความรู้สึกปัจจุบันนี้มนุษย์จะมี EQ  IQ  ยังไม่พอต้องมีDQ ธรรมสติ  ในส่วนผู้บริหารนั้นจะต้องมีวิสัยทัศน์คือจะต้องสามารถที่จะ เรียนรู้      วิธีคิดของผู้บริหารและการเป็นผู้นำที่ดีไม่สามารถผึกอบรมในห้องเรียนได้ผู้นำที่ดีต้องฝึกต้องปฏิบัติและต้องมีผู้อื่นเป็นกระจกสะท้อนว่าคุณจะต้องปรับปรุงอะไรความสามารถความเจริญจะเป็นหลักที่จะทำให้องค์กรมีอนาคตได้และการบริหารธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในอดีตนั้นมาจากการมีจุดรวมที่เด่นกว่าทั้งทางด้านกายภายและทุนทางการเงินซึ่งจะนำไปสู่ทุนมนุษย์            เนื้อหาของทุนมนุษย์จะประกอบไปด้วย1. ความสามารถหรือขีดความสามารถ(Competence) คือ คุณลักษณะที่อยู่ภายในบุคคลที่นำไปสู่หรือเป็นสาเหตุให้ผลงานดีมีประสิทธิภาพ ขีดความสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท      1) ขีดความสามารถขององค์กร    2) ขีดความสามารถของทรัพยากรมนุษย์ 2. การฝึกอบรม(Training) หมายถึง การพัฒนาบุคลากรขององค์กรให้ได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้นทั้งทางด้านสารสนเทศที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานได้อย่างเป็นผลสำเร็จเป็นอย่างดี โดยจะต้องผ่านกระบวนการ โปรแกรมการฝึกอบรมที่จัดให้เป็นรูปแบบมีมาตรฐานและมีการประเมินผลเป็นที่ยอมรับโดยจะต้องได้รับความนิยมในทุกจุดขององค์กรและในแต่ละสาขาวิชาชีพ3. การเรียนรู้(Learning)เป็นการเปลี่ยนแปลงในความคิด ภูมิปัญญา (ความรู้ ความเข้าใจ การหยั่งรู้) ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตจากการฝึกหัดหรือประสบการณ์ของแต่ละบุคคล การพัฒนาความสามารถโดยการฝึกอบรมการปรับปรุงความรู้ ทักษะและนิสัยที่มีอยู่และการสร้างจิตสำนึกดังนั้น การเรียนรู้จึงเป็นการได้มาซึ่งความจริง หลักการ แนวคิด นิสัย ทัศนคติ ความสนใจ ค่านิยม และทักษะ            ส่วนประกอบที่สำคัญในการขับเคลื่อนทุนมนุษย์ในองค์กรก็คือ
  1. ความสามารถเชิงกลยุทธ์
  2. ภาวะผู้นำ
  3. วัฒนธรรมองค์กร
  4. กลยุทธ์การรับรู้
  5. พัทธมิตร สิ่งกระตุ้น รางวัล
  6. ความสามารถที่แสดงออกมา
  7. การแบ่งปันความรู้
  8. การทำงานเป็นทีม
  9. ภาวะแวดล้อมการทำงานที่ดี
สิ่งต่างๆ เหล่านี้ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะทำให้ทุนมนุษย์สามารถขับเคลื่อนองค์กรไปสู่จุดมุ่งหมายที่ประสบความสำเร็จได้
นายปลื้มใจ สินอากร
ขออนุญาตส่งงานช้า และจะส่งงานในวันศุกร์ที่ 27 กรกฎาคม 2550
นางเครือวัลย์ สมณะ
Human CapitalCompetence, Training & Learningบรรยายโดย อ.ศิริลักษณ์  เมฆแสง  (Sirilak Meksang)วันที่  21  กรกฎาคม  2550 ช่วงเช้า ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ซึ่งเป็นห่วงลูกศิษย์ได้สละเวลาประมาณหนึ่งชั่วโมง    มาพูดคุยกับนักศึกษาปริญญาเอกนอกห้องเรียนแบบกันเอง  ภายใต้บรรยากาศ Relax ไม่เครียดทำให้ได้รับความรู้และได้เรียนรู้เกี่ยวกับทุนมนุษย์อีกหลายแง่มุมจากอาจารย์  ต่อด้วยอาจารย์ศิริลักษณ์ได้บรรยายด้วยวิธีการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นซึ่งกันและกันภายใต้หัวข้อที่ตั้งไว้   Competence, Training & Learning  ทุกองค์กรต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ทั้ง 3 หัวข้อเพราะจะเป็นเครื่องมือในการผลักดัน และขับเคลื่อนกลยุทธ์ขององค์กร ให้บรรลุความสำเร็จสู่       เป้าหมายที่ได้กำหนดไว้  ความสามารถของมนุษย์ฝึกฝนได้ดังโบราณกล่าวไว้ว่า ฝนทั่งให้เป็นเข็ม มนุษย์เกิดมานอกจากได้รับ ยีนส์ Genes” เด่นจากพันธุกรรมในโครโมโซม (Chromosomes)ของบรรพบุรุษแล้วการฝึกอบรม การเรียนรู้ สภาพแวดล้อมของสังคมก็มีอิทธิพลสำคัญต่อพฤติกรรมของมนุษย์  การสร้าง ทุนมนุษย์เสมือนหนึ่งเป็นการปลูกพืชเพื่อหวังผล  อาจารย์ศิริลักษณ์ได้ยกตัวอย่างทฤษฎีต่างๆ ของต่างประเทศ และจากประสบการณ์ในชีวิตจริงของท่านอีกมากมาย ล้วนแต่มีสาระที่เกิดประโยชน์และนำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวันและในองค์กร โลกในยุคโลกาภิวัฒน์  (Globalization) ในความหมายของ ดร.สมชาย  ภคภาสภิวัฒน์  หมายถึง   .....การแผ่ไปทุกจุดของโลก การแผ่ที่จับต้องได้ คือ แผ่ทางเศรษฐกิจ การค้า การเงิน และ      จับต้องไม่ได้ คือ การแผ่ทางสิทธิมนุษยชน การเมืองประชาธิปไตย วัฒนธรรม..... สภาพแวดล้อมของโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วสืบเนื่องจากมนุษย์มีจินตนาการอย่างไม่มีที่สิ้นสุด จนสามารถนำจินตนาการมาพัฒนาผ่าน Electronic จนเป็นระบบการสื่อสาร นำข้อมูลข่าวสารเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริงๆ สามารถสื่อผ่านระบบ Electronic และ คลื่นที่แผ่ไปทั่วทุกจุดของโลกได้อย่างรวดเร็วชั่วพริบตา  มนุษย์สามารถเข้าถึงและรับทราบข้อมูลข่าวสารได้ทั่วถึงกันหมด ด้วยระบบสารสนเทศและการสื่อสาร (Information Communication and Technology ; ICT)  จึงทำให้  การดำรงชีวิตและคุณภาพชีวิตของคนในปัจจุบันได้รับผลกระทบทั้งในสิ่งที่ดีและไม่ดี  โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจจะเห็นได้ชัดเจนว่าการแข่งขันทุกระดับในตลาดโลกสูงมาก  เพื่อความอยู่รอดของคนในองค์กรทุกคน และทุกองค์กร  จำเป็นต้องพัฒนาและปรับตัวให้เท่าทันเข้ากับสังคมโลกและ ต้องให้เหนือคู่แข่ง   ทุนมนุษย์  Human Capital  จึงเป็นปัจจัยหลักอันสำคัญ  มีทฤษฎีมากมายจากหลากหลายสำนัก  นักวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศที่อ้างถึง  ซึ่งได้จากการวิเคราะห์และวิจัยมาแล้ว  ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องดีๆ ทั้งสิ้น  ทำให้ผู้ศึกษานำความรู้ที่ได้มาเป็นพื้นฐานต่อยอดได้อย่างมั่นใจ สิ่งสำคัญนอกเหนือสิ่งอื่นใด ดัง ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์  ได้กล่าวถึง เรียนเพื่อนำไปสร้างโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต นักศึกษาปริญญาเอกกลุ่มนี้ นับว่าโชคดีที่มีคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ มากด้วยประสบการณ์หลายด้าน ได้รวบรวมและสรรหาทฤษฎีและหลักวิชาการที่ดีสอดคล้องกับหัวข้อการศึกษามาบรรยาย หน้าที่ของนักศึกษาต้องรู้จักนำความรู้และความเข้าใจที่ได้รับไปต่อยอด ต้องรู้จักนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงขององค์กร (Reality)  ในภาคปฏิบัติให้เกิดผลประโยชน์ต่อตนเอง ต่อองค์กร ต่อสังคมและประเทศชาติโดยรวม เรื่องทรัพยากรมนุษย์ของคนรุ่นใหม่วัยทำงานส่วนใหญ่ยังขาด Employee’s Basic Capability to work ไม่มี Ability ข้อสำคัญขาด Willingness  อนาคตแรงงานที่มีศักยภาพของชาติจึงเป็นปัญหาที่น่าเป็นห่วงจำเป็นต้องเร่งแก้ไขเท่าที่ได้สัมผัสกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนดูเหมือนจะประสบปัญหาคล้ายคลึงกันว่า เด็กรุ่นใหม่ ไม่สามารถนำพลังงานของตนและองค์ความรู้ที่      เล่าเรียนมาใช้ให้เต็มศักยภาพ เพื่อสร้างสรรค์งานที่มีหน้าที่รับผิดชอบ และงานใหม่โดยเฉพาะนวัตกรรมใหม่  ขาดทักษะ ขาดทัศนคติที่ดีต่อส่วนรวม  ประเพณี  จริยธรรม และวัฒนธรรมไทย  ความเอื้ออาทรขาดหายไป  รับวัฒนธรรมต่างชาติ วัตถุนิยม ความเห็นแก่ตัวมาแทนที่  ระบบการศึกษาของประเทศไทยน่าจะเป็นปัญหา ซึ่งได้ปฏิรูปมานาน แต่ยังไม่ปรากฏผลชัดเจน  ความจริงภูมิปัญญาเด็กไทยไม่ได้ด้อยกว่าชาติอื่น  เด็กนักเรียนระดับมัธยมไปแข่งขัน ชีววิทยาโอลิมปิกระหว่างประเทศ  เมื่อวันที่  15-22  กรกฎาคม  2550  ได้รับชัยชนะ 2 เหรียญทอง และ 2 เหรียญเงิน จาก 49 ประเทศ และ เคมีโอลิมปิก 1 เหรียญทอง 3 เหรียญเงิน ย่อมพิสูจน์ได้ว่าหากการบริหารจัดการระบบการศึกษาของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพมากกว่านี้ โดยเฉพาะเด็กที่ด้อยโอกาสแต่ไม่ด้อยปัญญา  น่าจะสามารถเป็นทุนมนุษย์ (Human Capital)  ที่มีคุณค่าและมีศักยภาพขับเคลื่อนประเทศในทุกๆด้าน แข่งขันกับประเทศต่างๆ ได้ในเวทีโลกอย่างแน่นอน นางเครือวัลย์  สมณะ26  กรกฎาคม  2550
การบ้าน ครั้งที่ 5
หัวข้อบรรยาย HUMAN CAPITAL : COMPETENCE, TRAINING & LEARNING
ผู้บรรยาย อาจารย์ศิริลักษณ์  เมฆสังข์
วันที่บรรยาย  วันเสาร์ที่ 21  กรกฎาคม  2550
โดย นางสาวศิริพร  ศุภกุล
ส่งวันที่ พฤ, 26 ก.ค. 2550
แนวคิดที่ใช้ประกอบ Dr. Peter Senge
           จากการที่ฟังบรรยายของท่านอาจารย์ศิริลักษณ์  เมฆสังข์  เรื่อง ทุนมนุษย์ (Human Resources : Competence, Training & Learning)   แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ซึ่งท่านมองทั้งในด้าน Macro และ Micro  แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8  โลกาภิวัฒน์ คือ  การย่อโลกให้อยู่ภายในกำมือ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ไร้พรมแดน    เพื่อประยุกต์ใช้กับสังคมการเรียนรู้ของประเทศไทยอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด  ทำอย่างไรเพื่อให้คนเรียนรู้ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง          ทำให้ดิฉันเกิดความคิดในการที่จะลองมองย้อนสลับระหว่างการไปข้างหน้า และย้อนกลับหลัง  ด้วยเหตุและผล  หากพิจารณาความพร้อมของ Human  Capital  ที่ถูกสร้างมาด้วยความสมบูรณ์แบบ  อยู่ในกรอบแนวคิดแนวใหม่ภายในองค์กรที่สามารถแชร์ความคิดกระตุ้นเชื้อไฟแรงใฝ่รู้ที่อยู่ภายใต้ศักยภาพของบุคคล High standard, Stretch targets, willing to learn, Open-mindness, Flexibility and Innovation  เป็นจุดเริ่มที่องค์กรอุ่นใจที่จะได้ทีมที่ดูดี มีหนทางไปสู่ความสำเร็จได้  แต่มากกว่านั้นการที่จะได้บุคลากรที่มีความสามารถมาเป็นสมบัติขององค์กร  ก็ต้องมีแบบจำลองความคิด (Mental model)  ภายในกรอบความคิดขององค์กร การปรับกระบวนทัศน์ใหม่ หรือเป็นการออกแบบระบบประเมินความสามารถของบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ  สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างต่อเนื่อง  ประกอบกับด้านการสื่อสาร (Communication)  ระหว่างผู้บังคับบัญชา  เพื่อนร่วมงาน  หัวหน้างาน  การสื่อสารที่ฉับไว และเข้าใจ มีวิสัยทัศน์ไปในทางเดียวกันเป็นกำลังที่จะดันให้องค์กรมีความพร้อมที่จะก้าวไปในทิศทางที่ถูกต้องสำคัญมาก (Information is Power)  เพราะฉะนั้นในองค์กรจึงต้องมีการพัฒนา (Shared Vision)  ให้สอดคล้องกับการรับข่าวสาร          การทีมนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นสังคม  และในแต่ละกลุ่มของสังคมที่เป็นอยู่ก็จะมีความหลากหลายของทัศนคติ และแนวความคิด  แต่เมื่อต้องมาร่วมเป็นทีมงานเดียวกัน  ทุกคนต้องได้ทำความรู้จักที่จะเป็น Team Learning  สมาชิกในทิมต้องได้เรียนรู้ร่วมกัน  มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล  โดยเน้นที่จะมีเครือข่าย  Lingage, Connection, networking  ความคิดและประสบการณ์อย่างต่อเนื่อง  แต่ในการที่เราจะประสบความสำเร็จได้นั้นบางครั้งเราก็อาจได้จากประสบการณ์ความล้มเหลวมาก่อน  เป็นบทเรียนไม่ให้เราเดินทางผิดก็ได้  การได้ทำงานเป็นทีมจะเป็นการพิสูจน์ประสิทธิภาพของคนกับงานที่ทำ  HR  จะเป็นทางช่วยประสานทำให้เกิดความสามัคคีทางปัญญา พัฒนาความรู้  เกิดแตกแขนงทางความคิด  (Tacit knowledge, Explicit knowledge and Embedded knowledge)            ภายในองค์กรการคิดอย่างมีระบบ System  thinking  สามารถมองแบบองค์รวม  (Holistic)   เน้นที่บุคลากรเป็นสำคัญ   โดยในสายงานจะมีการบังคับบัญชาลดหลั่นกันตามหน้าที่รับผิดชอบ  แต่ในบางหน่วยงานก็ยังคงยึดติดไม่สามารถแยกความคิดออกจากระบบตัวใครตัวมัน  พวกใครพวกมัน  ไม่ได้มองเป้าหมายที่วาดไว้อย่างงดงามสวยหรู  จึงอาจนำวิธีประสานมีการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาคนทุกด้านเพื่อให้ทุกคนมองภาพรวมได้  เพราะในหน่วยงานบุคลากรทุกหน่วยต้องมีความสัมพันธ์  จะดูได้จากผลเพราะหากมีการเปลี่ยนปลงใดๆ ทุกฝ่ายจะได้รับการเปลี่ยนแปลงกระทบกันหมด  จึงเป็นสิ่งที่องค์กรต้องตระหนักในการที่จะปรับให้บุคคลากรมีความจงรักภักดีคิดถึงส่วนรวม ให้เป็นรูปธรรมให้เห็นชัดเจน  โดยเอาใจใส่ดูแล ฟังความคิดเห็นความต้องการที่สมเหตุสมผลของเขา  พยายามสนับสนุนให้เขามีอิสระโดยวางแนวการทำงานให้เห็นความสามารถสมรรถนะในการทำงานของเขา และขจัดปัญหา, การทำงานล่าช้า  โดยการมีการจัดการอบรมเพื่อเป็นแนวทางเสริมให้เป็นระยะ  เพื่อเป็นการพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว           การทำงานด้านบวก (Positive working)  เป็นแนวทางในการพัฒนาบุคลากร เพื่อนำองค์องค์กรไปสู่ความสำเร็จนั้นเราอาจใช้กลยุทธ์ต่างๆ ได้หลายวิธี อาจเป็นการปรับประบวนทัศน์ใหม่ (Paradigm shift)  แต่แนวทางที่ดีที่สุดนั้นก็ต้องขึ้นอยู่กับความจริงใจที่ให้กันและกันตามหลักการที่ทุกคนตั้งใจทำ หากผิดพลาดมีการแก้ไข  มีการอบรมให้ความรู้ชำนาญเพิ่มเติมในสายงาน โดย
  • Skills การมีทักษะความชำนาญ
  • Knowledge การมีความรู้และเรียนรู้เสมอ
  • Ability การมีความสามารถ
  • Experience การมีความชำนาญ
 มีการสนุบสนุนให้โอกาส  การตามงานที่ทำเป็นการประเมินความสามารถ และศักยภาพของตนเอง   และมีการประเมินจากภายนอกเพื่อที่จะได้รับรู้ถึงสมรรถนะในการทำงานของแต่ละคน  มีการชมเชย  ให้รางวัล  ปรับตำแหน่ง  หากบุคลากรทำงานอย่างมีคุณภาพ  (Quality) และมีการฝึกบุคลากรใหม่ขึ้นมาเพื่อรองรับการเติบโตขององค์กร  จะเป็นการเดินคู่ไปของบุคลากรและองค์กรอย่างมีความสุข และประสบความสำเร็จอย่างสูงสุด  ซึ่งมองได้ทั้งในด้าน (Macro) และ (Micro) ทั้งในภาพรวมขององค์กรธุรกิจและของประเทศชาติ        
นายสรณิต พุ่มพฤกษ์

           การบ้านครั้งที่5 /จากการบรรยายโดยอาจารย์ ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ วันที่ 21กค.2550

            เรื่องHUMAN COMPETENCE TRAINING LEARNING จากการฟังบรรยายของท่านอาจารย์ในวันนี้ทำให้เกิดแนวคิดทางด้านการทำความเข้าใจกับสิ่งที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จนั่นเป็นผลมาจากการเพิ่มความสำคัญด้านทุนมนุษย์ซึ่งคนเท่านั้นที่จะทำให้โลกของการพัฒนาเกิดขึ้นได้และก็คนอีกเช่นกันที่จะทำลายทุกอย่างลงได้ เพราะฉนั้นจะต่างกันที่ระบบวิธีคิด วิธีคิดจะเป็นตัวชี้วัดว่าสังคมจะเป็นเช่นไรวิธีคิดในระดับมหภาคจะทำให้มองอนาคตได้ว่าประเทศชาติจะพัฒนาไปในทิศทางใด และพัฒนาไปได้ไกลเท่าไร

           การสร้างแผนที่ของการบริหารทุนมนุษย์ควรเริ่มที่ระบบของการศึกษาเพราะการศึกษาสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเยาวชนและชาติบ้านเมือง ความสามารถและศักยภาพในการพัฒนาและดำรงคงอยู่ขององค์กรในชาติตัวชี้วัดความอยู่รอดตัวสำคัญคือระบบการศึกษา จะเห็นได้จากการพัฒนาประเทศของชาติที่เคยประสบภาวะสงครามเช่นญี่ปุ่นซึ่งอยู่ในฐานะของผู้แพ้สงครามแต่สามารถฟื้นตัวและกลับเป็นประเทศชั้นนำด้านเศรษกิจได้นั้นถ้าเราพิจารณาให้ดีนั้นต้องรู้จักการนำแบบอย่างทางด้านการปลูกฝังวิธีการหล่อหลอมเยาวชนว่าเขาสอนให้เยาวชนเด็กรู้จักคิด  เรียนรู้จากธรรมชาติ  สร้างวินัย  และปลูกฝังความรักชาติเป็นที่ตั้ง ประเทศเวียดนามซึ่งอดีตเคยตามหลังประเทศไทยปัจจุบันกลายเป็นคู่แข่งที่สำคัญและมีแนวโน้มในการพัฒนาอย่างสูง นั่นเป็นเพราะเขาให้ความสำคัญกับระบบการศึกษา สนับสนุนเด็กเก่งให้ได้รับทุนในระดับสูงสุดและให้ได้รับการพัฒนาเฉพาะตัว อย่างกว้างขวางแถมยังสอนเยาวชนให้รู้จักคำว่า คิดเพื่อชาติ ทำเพื่อชาติ ตรงนี้เป็นสัญลักษณ์ของความั่นคงและภักดีเป็นที่ตั้ง

         หากสังคมไทยหันมาให้ความสำคัญกับระบบการศึกษาอย่างจริงจังในอนาคตประเทศไทยจะมีแต่เด็กเก่งที่เปี่ยมด้วยความคิดในการพัฒนา รู้จักเลือกรับเอาวัฒนธรรมด้านดีของสากลมาปรับใช้ให้เข้ากับวัฒนธรรมไทยและมีคุณธรรม

          ระบบการศึกษาในประเทศไทยควรที่จะเริ่มต้นที่การส่งเสริมสวัสดิภาพของครูผู้ทำหน้าที่สอนเยาวชนของชาติให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีเกียรติและมีศักดิ์ศรีเหมือนกับอาชีพที่สังคมยกย่องในปัจจุบันเช่น แพทย์ วิศวกร อัยการ ผู้พิพากษาและได้รับอัตราค่าตอบแทนและสวัสดิการทัดเทียมกัน ก็จะมีบุคลากรที่มีความสามารถในระดับสูงเข้าสู่วงการศึกษาทำให้ได้ครูที่มีคุณภาพเพื่อสร้างเด็กที่มีคุณภาพให้เยาวชนไทย เก่งคิด เก่งทำ  เก่งพํฒนา และมีคุณธรรมก็จะเป็นผลส่งให้ภาพของประเทศไทยเต็มไปด้วยบุคลากรคุณภาพโดยภาพรวมโดยเริ่มที่การปรับระบบคิดและวิธีการให้ได้มาซึ่งต้นแบบนั่นคือครูนั่นเอง

           ทั้งนี้ผู้นำประเทศต้องหันมาให้ความสนใจกับระบบการศึกษาอย่างแท้จริง งบประมาณด้านการศึกษาต้องสะท้อนกับความเป็นจริงประเทศถึงจะพํฒนาทรัยากรมนุษย์ได้ถูกทาง

                                      ขอบคุณครับ                          

                                  นายสรณิต พุ่มพฤกษ์

จากการบรรยายของอาจารย์ศิริลักษณ์  เมฆสังข์ เรื่อง Human Capital Competence, Training & Learning วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม 2550 ท่านอาจารย์กล่าวว่าเรื่องของ Human Capital “ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ในโลกปัจจุบัน คือการเพิ่มขึ้นของทุนมนุษย์ (Schultz, 1981) สำหรับในประเทศไทยได้มีการพูดถึง Human Capital อยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 เน้น Knowledge Base Management ในยุคโลกาภิวัตน์มอง HR เกี่ยวข้องกับ Marketing คือต้องรู้จักลูกค้า (คนที่ทำงาน) ว่าอยากได้อะไร ทำในลักษณะของการไปสำรวจพูดคุย และคิดในแง่ของ Outside In มีบทความต่างประเทศกล่าวว่า “Why we hate HR” ต้องเปลี่ยนให้เป็น “Why we love HR” ให้ได้โดยคน HR ต้องรับฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ได้ทั้งแง่บวกและแง่ลบ ต้องสร้างทุนในแง่ของความคิด ให้คิดนอกกรอบ (Think of the Box) ต้องสอนกระบวนการคิดเรื่อง 1) การวางแผน 2) การคิดเป็นระบบ คือทำอะไร อย่างไร เมื่อไหร่ ใครเข้ามามีส่วนร่วม และคำนึงถึงผลลัพธ์ และ 3) มีความรับผิดชอบ ท่านอาจารย์ได้กล่าวถึงวินัยที่ทำให้เกิด Learning Organization ของ Peter M. Senge ได้แก่ 1) Personal Mastery: ไฟแรงใฝ่รู้ควบคู่ด้วย ศักยภาพ 2) Mental Model: รับรู้ภาพลักษณ์โลกรอบตัวอย่างถูกต้อง 3) Shared Vision: มองเห็นวิสัยทัศน์ร่วมกัน 4) Team Learning: เรียนรู้เป็นทีม และ 5) System Thinking: คิดเป็นอย่างมีระบบครบวงจร นอกจากนี้แล้วแนวคิดขององค์กรแห่งการเรียนรู้ที่ข้าพเจ้าเคยอ่านตามเอกสารต่างๆ ยังมีของ Michael Marquardt กล่าวถึงการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ไว้ดังนี้ 1) Organization Transformation: การปรับเปลี่ยนองค์การ 2) Knowledge Management: การจัดการกับองค์ความรู้ 3) Technology Application: การประยุกต์ ใช้เทคโนโลยี 4) People Empowerment: การเพิ่มอำนาจ 5) Learning Dynamics: พลวัตการเรียนรู้ และแนวคิดของ David A. Gavin กล่าวได้ดังนี้ 1) Systematic Problem Solving:  การแก้ปัญหาอย่างมีระบบ 2) Experimentation with New Approaches: การทดลองใช้วิธีการใหม่ ๆ  3) Learning from their Own Experience and Past history:  การเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนและเรื่องในอดีต 4) Learning from the Experiences and Best Practices of Others: การเรียนรู้จากประสบการณ์และวิธีการที่ดีที่สุดของผู้อื่น 5) Transferring Knowledge Quickly and Efficiently: การถ่ายทอดความรู้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ                 Human Capital เกิดจาก 1) Skills 2) Knowledge 3) Ability และ 4) Experience ในเรื่องของ Key Performance Indicator (KPI) นั้นเปรียบเป็น High Performance Value ในหลายๆ บริษัทจะทำการลดต้นทุนงานต่างๆ ลง แต่งานต่างๆ ก็ไม่จำเป็นต้องทำ KPI ถ้าจะทำก็ต้องเป็น Innovation ไม่ใช่งาน Routine ในส่วนองค์กรเอกชนนั้นเหตุที่มีการกำหนด KPI นั้นก็ต้องการให้พนักงานมี Core Competency ท่านอาจารย์แนะนำว่าควรมีการกำหนด KPI แต่ก็ต้องพิจารณาในแต่ละงาน และเครื่องมือตัวนี้มาจากประเทศแถบตะวันตก ส่วนใหญ่เป็นของภาครัฐในกองทัพบก กองทัพเรือของสหรัฐฯ แต่ในประเทศไทยภาคเอกชนนำมาปรับใช้ ปัญหาของ KPI อยู่ที่คนกำหนด KPI รู้จริงหรือไม่ และเข้าใจแนวทางปฏิบัติเพียงใด สำหรับการประเมินผลนั้น หัวหน้าส่วนใหญ่ไม่ได้ประเมินผลจาก KPI แต่ประเมินผลจากความรู้สึก คือมี Bias ในการประเมิน ท่านอาจารย์แนะว่าการทำ BSC, KPI นั้นให้มองไปข้างหน้าอย่ามองอดีต ในประเทศญี่ปุ่นนั้นเคยมีบทเรียนจากสงครามโลกครั้งที่ 2 มีความเจ็บปวดสูญเสียอย่างมาก หลังสงครามสิ้นสุดทำให้คนญี่ปุ่นเริ่มสร้างคน จนทำให้ประเทศญี่ปุ่นมีการพัฒนาจนถึงวันนี้ คนญี่ปุ่นสามารถถึงเอาความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลออกมาใช้ในการปฏิบัติได้ ซึ่งการศึกษาเป็นพื้นฐานของการเติบโต และผู้บริหารในต่างประเทศจะพูดคุยกันถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ใช้การจ้างงานแบบ Contract มากขึ้น มีระบบการให้รางวัลจูงใจคนทำงาน                การ Contributions to Human Capital นั้นเกิดจาก 1) Competence 2) Training จะมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง 3) Learning ซึ่งไม่จำเป็นต้องใช้เงินเลยก็ได้ ในประเทศไทยเชื่อว่าการพัฒนาคนมาจากการเข้ารับการอบรมในห้องแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องจำเป็นต้องหาความรู้จากแหล่งภายนอกด้วยเพื่อให้เกิดสังคมแห่งเศรษฐศาสตร์การเรียนรู้
การเรียนครั้งที่ 6 ของHuman Capitalเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม 2550 โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์อาจารย์ ศิริลักษณ์  เมฆสังข์ในหัวข้อ  Competence ,Training ,Learning

วันนี้บรรยากาศก่อนการเรียนดีมากมีการคุยกับแบบโต๊ะกลม

เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของการเรียนวิชานี้

และที อาจารย์ ดร.จีระ เน้นย้ำอยู่เสมอคือการมอง

ในภาพ Macro  แล้วโยงเข้า Micro

นอกจากนี้อาจารย์ยังให้เคล็ดที่ไม่ลับในการเรียน Phd. อีกว่า

ควรยึด The Fifth discipline ซึ่งเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่าจำเป็นมากที่สุดได้แก่ -          รู้ให้จริง-          เปลี่ยนวิธีคิด และให้คิดเชิงสร้างสรรค์ -          ทำงานเป็นทีม (เล็ก /ใหญ่ ก็ได้แต่ต้องเป็นทีม)-          ทุกคนมีส่วนในการกำหนดวิสัยทัศน์

-          ให้คิดเชิงระบบ (Systemic Thinking) และ

        เป็นวิทยาศาสตร์

สำหรับ KM นั้นจะต้องมีองค์ประกอบ 3 อย่างคือ

Acquire Knowledge ด้วยวิธีอะไร

ได้แล้วShare กับใครบ้างเพื่อเพิ่มมูลค่าแล้ว

นำมาเป็น New Opportunityจากนั้นเข้าสู่การบรรยายของอาจารย์ศิริลักษณ์เริ่มด้วยผู้ที่เป็นต้นคิด ในเรื่อง Human Capital คือ Schultz กล่าวว่า “ The most important achievement of modern economic is undoubtedly the increase in stock of human capital” จะเห็นว่า HR จะต้องเป็นในลักษณะ Marketing ต้องรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร ดังนั้นการเพิ่มศักยภาพของคนจึงต้องมี Training need เพราะการจัดอบรมให้คนเข้าไปฟัง 3 วัน 5 วัน แล้วบอกว่ามีมีความสามารถเพิ่มขึ้นคงไม่ใช่คนต้องสร้างทุนทางความคิดและคิดนอกกรอบแบบ Think out of the box อย่างไรก็ตามการบริหารเรื่องคนเป็นเรื่องละเอียดอ่อนและเป็นปัญหา ของการพัฒนาเนื่องจากการไม่เข้าใจในบทบาทหน้าที่ของตน ดังนั้น R&R จึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งคงต้องโยงถึงเรื่องของวินัยของคน ทำอย่างไรให้คนมีวินัย เพราะวินัยเป็นเรื่องของจิตใจและความรู้สึกนึกคิด ซึ่งต้องได้รับการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก ซึงถ้ามองในภาพกว้างสะท้อนให้เห็นว่า ระบบการศึกษาของประเทศไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ แม้ว่าจะมีการปฏิรูปการศึกษา ก็เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะความเป็นจริงก็คือจุดเริ่มต้นที่สำคัญคือกระบวนการคัดเลือกคน ที่จะเป็นแม่พิมพ์ ซึ่งเข้ากับวลีที่นักคุณภาพทั้งหลายกล่าวว่าว่าทำให้ถูก เสียตั้งแต่แรก(Right the first time)

และถ้าโยงเข้ากับการเรียนวิชานี้ก็ต้องต่ออีกว่าเมื่อได้แม่พิมพ์ที่ดีแล้วจะดูแลกันอย่างไร ที่จะดำรงรักษาไว้ในองค์กรให้นานที่สุด

           เมื่อมีปัญหาเรื่องคนและความรับผิดชอบที่แตกต่างทำอย่างไรจะประเมินผลการปฏิบัติงานได้ จึงต้องมีการกำหนดเครื่องมือในการประเมินผลงานซึ่งก็คือตัวชี้วัด (KPI) แต่ระดับประเทศ KPI เน้นเรื่องจริงที่สร้างคุณค่า ให้กับประเทศ หรือองค์กรต่าง ๆ ให้เกิด  A High Impact  ตัวอย่างเช่น โรงพยาบาล  บริการ KPI คือคุณภาพชีวิตดีขึ้น หรือมีสุขภาพดีขึ้นโรงเรียนหรือสถานศึกษา KPI ก็คือผู้ที่สำเร็จการศึกษามีคุณค่าในการทำงาน              นั่นเป็นเพียงการเริ่มต้นที่มีเวลาจำกัดของอาจารย์เท่านั้นอย่างไรก็ตามอุปสรรคที่สำคัญอยู่ที่ "คน" สิ่งที่ประทับใจและตรงใจมากที่สุดในกรณีที่อาจารย์ยกตัวอย่างการเขียน KM ของ โนนากะ  โดยนำ Tacit Knowledge  มาใช้จริง ๆ เนื่องจากพยาบาลเป็นอาชีพพิเศษ ที่ต้องนำ Special  Explicit knowledge มา Analyze and Synthesis ประกอบกับการฝึกฝนจนเกิดทักษะ ความชำนาญและเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน แต่การเขียน KM จาก Tacit Knowledge ยังไม่ครอบคลุม เป็นที่น่าเสียดายความรู้ส่วนนี้ที่ติดตัวไปโดยไม่ได้ประโยชน์

   การบริหารทุนมนุษย์

                                วันที่ 21 กันยายน 2550 สอนโดยอาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์                ประเด็นการพัฒนาทุนมนุษย์นั้น ได้รับการบรรจุเข้าไปในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (2540 2544) ซึ่งเป็นการเริ่มพูดถึงคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา การที่เริ่มพูดเรื่องคนนั้นเพราะมีสถานการณ์ที่สะท้อนให้เป็นถึงปัญหา ความอ่อนแอทางระบบการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของคนไทย โดยเฉพาะคนในระดับฐานล่างของประเทศ เพราะหน่วยงานราชการต่างๆ ที่มีหน้าที่พัฒนาท้องถิ่น ไม่ได้มีแผนการพัฒนาคนอย่างเป็นระบบ แต่มีแผนได้จำนวนปริมาณของกลุ่มต่างๆ ในชุมชนปริมาณของผลผลิตจากกลุ่มต่างๆ ตัวชี้วัดความสำเร็จของงานขององค์กรราชการเหล่านั้นไม่ได้มีวัดค่าคนในชุมชนมีการเรียนรู้เพิ่มขึ้น ดังนั้นถึงแม้จะมีการบรรจุเรื่องการพัฒนาคน คนเป็นศูนย์กลางในแผน 8 เกือบไม่มีรูปธรรมในภาครัฐเลย แต่มีในภาคเอกชนเกิดขึ้นในช่วงแผน 8 ที่เข้ามามีบทบาทการพัฒนาคนในระดับท้องถิ่น ซึ่งข้าพเจ้าก็มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างสังคมความรู้ให้กับคนในท้องถิ่น โดยการดำเนินการเรื่องการเสริมสร้างให้เกิดประชาคมจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ ในกระบวนการสร้างประชาคมจังหวัดจึงพบว่า การพัฒนาทุนมนุษย์นั้นไม่ควรหยุดอยู่ที่การเชิญคนไปอบรม เพราะจะเห็นว่าวันนี้หน่วยงานราชการต่างๆ เชิญคนไปอบรมกันมากมาย แต่ไม่มีกิจกรรมต่อเนื่อง ไม่มีการติดตามผลว่าอบรมไปแล้ว ไปทำอะไรต่อบ้าง จึงเกิดคนมีอาชีพอบรม คือไปอบรมทุกเรื่องทุกหน่วยงานจึงไม่มีเวลาที่จะนำเรื่องที่อบรมมาพัฒนา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์จึงต้องมีเป้าหมายไปถึงคนเกิดการเรียนรู้ ซึ่งต้องเกิดจากการปฏิบัติจนเกิดการเปลี่ยนแปลง                การเรียนกับอาจารย์วันนี้ทำให้ข้าพเจ้าคิดว่า ข้าพเจ้าดำเนินการมาถูกทางแล้ว คือ พยายามพัฒนาให้คนให้เกิดความรู้ และข้าพเจ้ามีความเชื่อว่าคนทุกคนมีประสบการณ์ มีความสามารถที่แตกต่างกัน หากกระบวนการพัฒนาจะทำให้คนเหล่านั้น ได้นำประสบการณ์ ความสามารถของตนออกมาเพิ่มศักยภาพ ด้วยองค์ความรู้ใหม่ เพิ่มวิธีการจัดการใหม่ ให้เป็นนักคิดนักตั้งคำถามนักหาคำตอบ จะได้บุคคลแห่งการเรียนรู้ หากคนนั้นอยู่ในองค์กรใด ชุมชนใด ก็เป็นทุนมนุษย์ที่สำคัญ ซึ่งเราต้องช่วยกันเพราะประเทศไทยอ่อนแอทางความคิดลงเรื่อยๆ น่าเป็นห่วง                                                                                                                                                                              อุษา   เทียนทอง

Surachet  Suchaiya (Mobile: 089 205 3098, [email protected])

HomeWork# 6 Human Capital (21-Jul-07)

Human Capital.

อ.ศิริลักษณ์  เมฆสังข์

 

1.การประยุกต์ความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันนี้

แนวคิด HR Markering  

                        ผมได้แนวคิดเกี่ยวกับ HR Marketing  เนื่องจาก นโยบาย ด้านการตลาดหลายอย่างที่ทางบริษัทฯ Launch ออกมาจะประสบความสำเร็จได้หรือไม่    Staff ของเรามีส่วนสำคัญมาก เนื่องจากการการออกนโนบายด้านการตลาดในเรื่องของการบริการหลังการขาย(After Services)แบบเข้าไปแก้ไขให้ในวันทำการถัดไปหลังจากรับแจ้ง   หากเรายังไม่มีการจัดการด้านทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร  สร้างคนให้พร้อมที่จะทำงาน  กระตุ้นให้เขาทำงาน  กระตุ้นให้เขามีความกระตือรือล้นในการทำงาน มีความรู้ความสามารถเหนือกว่าคู่แข่ง และทำงานให้สำเร็จ   นโยบายการบริการหลังการขายที่วางเอาจะไม่ Success  หรือ ไม่มีคุณภาพพอที่จะแข่งขันกับ Player อื่นในตลาดได้

                        บ่อยครั้งหลายบริษัทเราออกนโยบายส่งเสริมการตลาด (Promotion) ออกมาแล้วไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจาก ไม่ได้รับความร่วมมือจากพนักงาน หรือพนักงานไม่เข้าใจ นโยบายที่ออกมา อันเนื่องมาจากการสื่อสารในองค์กร ที่ไม่ดี , สิ่งแวดล้อมในองค์กรที่ไม่เอื้ออำนวย, กฎระเบียบต่างๆที่เข้มงวด, วัฒนธรรมองค์กรที่เป็นอยู่ยังไม่มีการปรับเปลี่ยนให้ตอบรับเข้ากับการแข่งขันของตลาด  เพราะฉะนั้นในปัจจุบันนี้  Human Resource และ Marketing ควรจะต้องผสมผสานกัน ไม่สามารถแยกกันอย่างที่เคยเป็นมาก่อนหน้านี้ได้  

 

แนวคิดการเรื่องการจัดการความรู้และการประเมินผล

                        การจัดการความรู้หรือ KM (Knowledge Management)  ที่แบ่งออกมาเป็น 3 ข้อได้แก่

- Knowledge Value (ความรู้คือมูลค่าเพิ่มขององค์กร)

- Knowledge Sharing (การแบ่งบันความรู้ในองค์กร)

- Knowledge Asset (ความรู้คือทรัพยสินขององค์กร)

                        ผมได้นำการจัดการความรู้ มาประยุกต์ใช้กับองค์กร เนื่องจากบ่อยครั้งที่ ความรู้และประสบการณ์ของบริษัทฯ หล่นหายไปเนื่องจาก พนักงานลาออก, ปลดเกษียณ ฯ     บริษัทฯ ของเราดำเนินธุรกิจด้านขายและติดตั้งสินค้าด้านเทคโนโลยี  ผมริเริ่มให้มีการจดบันทึกข้อมูลด้านเทคนิคแขนงต่างๆที่ได้มาจากการทดลองสินค้าการติดตั้งงาน,  การค้นหาจาก internet  เพราะข้อมูลเหล่านี้คือมูลค่าเพิ่มของบริษัทฯ  และเป็นทรัพย์สินของบริษัทฯ  ให้จัดเก็บไว้ใน Web intranet ของบริษัทฯ  เพื่อให้พนักงานของเราสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ทกุคน   หรือมีการ Training  ต่างๆ ก็สามารถนำข้อมูลใน Web Intranet นี้มาใช้ได้  หรือ เมื่อมีการ orientation พนักงานใหม่    เขาก็สามารถเข้ามาหาข้อมูล เกี่ยวกับ Vision , Mission ขององค์กรได้    เป็นที่รับทราบข่าวสารต่างๆ และ เป็นเก็บของ  Manual ต่างๆ ทั้ง Soft skill และ Hard skill ที่ทุกคนควรรู้     อีกทั้งมีการอบรมเรื่อง Process ต่างๆของบริษัทฯ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในการทำงาน และสามารถทำงานแทนกันได้ เมื่ออีกคน ไม่อยู่  เพื่อให้เกิดการบริการลูกค้าจบลงที่จุดเดียว (One Stop Services)

                        การประเมินผลการทำงาน ที่ผมนำมาประยุกต์ใช้ เนื่องจาก เราเป็นบริษัทฯ ที่มีขนาดไม่ใหญ่มีพนักงานจำนวนไม่มาก  ไม่มีลำดับชั้นในการบริหารมากมาย  เพราะฉะนั้นการประเมินผลจะบอกแก่พนักงานตั้งแต่เริ่ม Orientation ตอนเข้ามาทำงาน ว่าเรามีการประเมิน 2 ครั้งใน 1 ปี   ก่อนที่เราจะประเมินพนักงานของเราเรื่องอะไรเราจะต้องบอกให้เขาได้ทราบและเตรียมตัวทัน  เมื่อประเมินผลแล้ว  เราจะนำผลการประเมินมาวิเคราะห์เพื่อพิจารณาความก้าวหน้า  ไม่เพียงมาปรับขึ้นเงินเดือน แต่จำนำมาปรับปรุงพัฒนาระบบงานต่างๆให้ดีขึ้น   

การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ ๕              วันที่ ๒๑ ก.ค. ๕๐ ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถกเถียงกันทางสติปัญญาตั้งแต่ก่อนเข้าเรียน เนื่องจากอาจารย์จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้มาเยี่ยมพวกเรา นอกจากความปรารถนาดีและห่วงใยที่อยากให้นักศึกษาประสบผลสำเร็จแล้ว อาจารย์ได้เสนอแนวคิดใหม่ในเรื่อง HR ว่า ในอนาคตจะต้องมองในมุมของ HR Marketing คือจะต้องตอบสนองความต้องการของตลาดหรือผู้ใช้บริการ และต้องเชื่อมโยงระหว่าง Macro กับ Micro ให้ได้ โดยการเรียนรู้ต้องรู้ให้จริง คิดเป็นระบบ ทำงานเป็นทีม มีวิสัยทัศน์ร่วม ระบบความคิดต้องเป็นวิทยาศาสตร์ เราต้องทำให้เกิดการจัดการความรู้ (Knowledge Management) โดยการแสวงหาความรู้ นำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับบุคคลอื่น รวมทั้งนำความรู้ไปสร้างโอกาสใหม่ ๆ หรือสร้างมูลค่าเพิ่ม            อย่างไรก็ตามอาจารย์ได้ให้วิธีคิดที่โดนใจผมมากคือ วิธีคิดไม่ใช่ดูแลคนเก่ง แต่ต้องดูแลคนไม่เก่ง ที่โดนใจมากก็เพราะตนเองมีแนวคิดหรือข้อสังเกตอยู่ตลอดว่าสาเหตุที่เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคมมากขึ้นทุกวันก็เพราะเราให้โอกาสแก่คนแก่คนที่ควรได้รับโอกาสน้อยมาก ส่วนใหญ่จะมุ่งให้โอกาสกับคนที่มีโอกาสมากอยู่แล้ว แย่งกันเชียร์แย่งกันประจบ คนที่สมควรได้รับการช่วยเหลือกลับไม่ได้รับการดูแล ซึ่งผมคิดว่านี่คือสาเหตุที่ทำไม ทุนทางจริยธรรม ตามแนวคิดของอาจารย์จีระจึงมีความสำคัญในการจัดการทุนมนุษย์ ดังนั้น เราต้องเปลี่ยน mindset ของผู้ที่เกี่ยวข้องให้หันมาให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างจริงจัง ไม่ใช่พูดอย่างทำอย่าง

            ต่อเนื่องจากสิ่งที่กล่าวถึงข้างต้น ได้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันต่อในห้องเรียนกับอาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ ที่มาให้ความรู้ในเรื่อง Human Capital: Competency, Training and Learning ซึ่งน่าเสียดายที่อาจารย์ไม่สามารถลงในรายละเอียดตาม hand out ที่แจกทั้งหมด แต่ที่เป็นประโยชน์มากในทัศนะของผมก็คือเกร็ดที่อาจารย์เล่าให้ฟังเกี่ยวกับประสบการณ์การเรียนและการทำงาน ที่เป็นการแทรกให้เห็นวิธีคิดของผู้นำหรือคนที่เกี่ยวข้องกับ HR ทั้งหลายทั้งภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะภาคราชการที่อาจารย์เห็นว่ายังมี mindset ที่ผิดเพี้ยนอยู่มาก ในที่สุดอาจารย์ก็ท้อและอยู่ไม่ไหว ส่วนตัวแล้วผมเสียดายที่อาจารย์ออกจากภาคราชการ เพราะจริง ๆ แล้วภาคราชการต้องการคนแบบนี้เพื่อที่จะเป็น change agent   แต่คนเดียวก็คงไม่ไหวเหมือนกัน เพราะการทำงานต้องการองค์ประกอบหลายอย่างโดยเฉพาะภาวะผู้นำ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญ จริงอยู่ที่หลายเรื่องเป็น initiative ของเจ้าหน้าที่และนำไปสู่ความสำเร็จมากมาย แต่ก็ต้องไม่ลืมว่าคนที่อนุมัติก็คือผู้นำ หากผู้นำไม่เปิดกว้างหรือคิดไม่ทันโลกที่เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่มีกลไกอะไรที่ทำให้ผู้นำไม่สามารถปฏิเสธได้แล้ว ก็ไม่แน่ว่า initiative ที่แสนประเสริฐนั้นจะได้รับการดูแลหรือพัฒนา ซึ่งเรื่องนี้ผมว่าน่าเป็นห่วง ดังนั้น ผมเห็นว่าในเรื่อง competency ที่พูดถึงกันน่าจะเน้นในเรื่องการสร้างทุนทางจริยธรรมและ mindset ให้แก่ผู้นำเป็นลำดับแรก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้าง mindset ตามแนวคิดของ Jack Welch ซึ่งเป็น CEO ของ GE ที่ว่า ผู้นำไม่ใช่ผู้ที่ต้องทำให้ตนเองเด่น แต่ต้องคิดหาวิธีว่าจะส่งเสริมหรือพัฒนาลูกน้องได้อย่างไร แต่ก็ไม่ได้โทษผู้นำทั้งหมดนะครับ ผู้ตามก็ต้องปรับตัวและเรียนรู้เช่นกัน แต่ผู้นำสำคัญกว่าเพราะเราคงเคยได้ยินคำว่า "ถ้าหัวไม่ส่าย หางไม่กระดิก"

                                                                                     รักษ์เกชา แฉ่ฉาย

Human Capital Management Homework#6. โดยนายปรีติ ปิติอลงกรณ์ เสนอ อ.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สิ่งที่ได้จากการเรียนในครั้งนี้คือ Core Competency ขององค์กรต่างๆ ส่วนใหญ่จะมาจาก ค่านิยม และวัฒนธรรมขององค์กรนั้นๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกหล่อหลอมและยั่งรากลึกอยู่ในองค์กร บางอย่างก็เป็นจุดอ่อนและอุปสรรค และก็ต้องมีบางอย่างที่เป็นจุดแข็งเช่นกัน ดังนั้นต้องพิจารณาให้ดีว่า Core Competency ขององค์กรคือสิ่งใดกันแน่ ส่วนเรื่อง Balanced Scorecard และ KPI นั้น จนถึงทุกวันนี้ก็ยัง Dabate กันอยู่ว่าเป็นสิ่งที่ต้องทำ ควรทำ ทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้ หรือ ไม่ควรทำ เพราะหลายองค์กรทั้งในประเทศและทั่วโลกที่ได้จัดทำขึ้น ก็ประสบผลสำเร็จบ้างล้มเหลวบ้าง โดยเฉพาะหน่วยงานรัฐ ที่มุ่งแต่จะทำตัวเลขให้ผ่าน KPI โดยไม่สนใจเนื้องานแท้ คือทำทุกๆ อย่างตามเกณฑ์ที่ให้มา ยกเว้นสิ่งที่ตัวเองควรทำ ในเรื่อง BSC และ KPI นี้มีข้อแนะนำว่าควรใช้เกณฑ์ชี้วัด เพื่อวัด KSF (Key Success Factor) เท่านั้น ไม่ใช่วัดทุกๆ สิ่งไปหมด โดยเฉพาะงานที่เป็น Functional ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาต้องทำให้ได้ตามเกณฑ์อยู่แล้ว ทั้งนี้ทั้งนั้นการจัดทำและปฏิบัติการด้าน BSC และ KPI ควรกระทำอย่างรอบคอบศึกษาอย่างถ้วนถี่ ไม่ใช้ลอกเขามาทั้งหมด หรือเอามาเพียงแค่กรอบแต่เนื้อในที่แท้จริงไม่เข้าใจ โดยเฉพาะฝ่ายบริหารจะมีบทบาทอย่างมากที่จะต้องสนับสนุนอย่างเต็มที่

นายปลื้มใจ สินอากร
Human Capital วันเสาร์ที่ 21 กรกฎาคม 2550 โดย อาจารย์ ศิริลักษณ์  เมฆสังข์        ท่านอาจารย์จบจากคณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านเคยเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศสที่โรงเรียนสามัญในกรุงเทพฯ ทำให้ท่านได้รับประสบการณ์ในความสนใจการเรียนหนังสือของเด็กไทย ซึ่งขาดความสนใจไม่สนใจในการเรียน ขาดความรับผิดชอบ ต่อมาท่านได้ย้ายไปทำงานกับโครงการเยาวชนสัมพันธ์ของสำนักนายกรัฐมนตรี จึงได้มีโอกาสพบนักศึกษานานาชาติ ได้มีโอกาสไปญี่ปุ่นได้เห็นการศึกษาของเด็กนักเรียนญี่ปุ่น ซึ่งเป็นเด็กที่มีวินัยเชื่อฟังครูอาจารย์สนใจการเรียนไม่เหมือนกับเด็กนักเรียนไทย        การศึกษาของเด็กนักเรียนญี่ปุ่นจะเน้นการเรียนโดยธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ ครูญี่ปุ่นจะถือธงเด็กนักเรียนก็จะเดินตามเป็นแถว การรับประทานอาหารก็เป็นอาหารกล่องง่ายๆ ญี่ปุ่นจะสอนเด็กให้คิด และเน้นเรื่องธรรมชาติ วัฒนธรรม และเทคโนโลยี        การศึกษาในบ้านเราเริ่มแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่ 8 มีการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาเป็น Knowledge Base ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยเป็นโลกาภิวัฒน์ เรามีการเตรียมตัวอะไรบ้าง HR ได้ทำอะไรบ้าง HR จะต้องใช้แนว Marketing จะต้องพิจารณาศึกษาและวิเคราะห์ว่าลูกค้าต้องการอะไร        HR ต้องมองผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงาน คือ ลูกค้าจะต้องศึกษาว่าผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงานต้องการอะไร และHR จะสนองตอบอย่างไรHR จะต้องรับฟังผู้อื่น รับฟังความต้องการ และข้อเสนอแนะจากผู้อื่น HR จะต้องสร้างมุมมองให้เป็นที่ยอมรับของผู้อื่นท่านอาจารย์ได้พักไว้ในเรื่องของ HR ในยุคโลกาภิวัฒน์ และจะมาต่อภายหลัง การวิเคราะห์การศึกษาของเด็กนักเรียนไทย และนักเรียนญี่ปุ่นในแนวของ HR Architecture ของ ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ในส่วนของ Supply side ซึ่ง Population ที่รัฐจะต้องดูแลเรื่องการศึกษา Education และ Family จะต้องร่วมกันอบรมสั่งสอนให้เด็กมีระเบียบ วินัย มีการศึกษา มีสุขภาพ Health ที่ดี มีอาหาร Nutrition ที่ดีและเพียงพอแต่ประเทศไทยทั้งรัฐบาล และครอบครัวให้การดูแลสิ่งต่างๆ กับเด็กน้อยจึงทำให้เด็กไทยขาดวินัย ขาดความรับผิดชอบ และการศึกษาที่ได้รับจึงน้อย ซึ่งผิดกับญี่ปุ่นได้มีการดูแลในเรื่องการศึกษาของเด็กเป็นอย่างมากทั้งระเบียบวินัย ความรักชาติ โดยเฉพาะครู ซึ่งเป็นบุคลากรผู้ให้การศึกษาแก่เด็กจะมีการคัดเลือก และมีเงินเพิ่มพิเศษแก่ครูผู้สอน ส่วนการอบรมของครอบครัวภายในครอบครัวจะมีการสร้างวินัยให้แก่เด็ก มีการออกกำลังกาย เล่นกีฬา ดูแลสุขภาพ เพราะฉะนั้นเด็กนักเรียนญี่ปุ่นจึงเป็นเด็กที่มีวินัย มีสุขภาพและมีความรับผิดชอบมากกว่าเด็กนักเรียนไทยโดยรวม

ถาม: ท่านมีส่วนร่วมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรของท่านอย่างไร ด้วยวิธีการใด และจะสามารถนำประสบการณ์ที่ได้รับจากการบรรยายไปปรับใช้อย่างไร?

ในฐานะผู้จัดการโครงการวิจัยการพัฒนาระบบตรวจราชการแบบบูรณาการสู่การปฏิบัติ ของสำนักผู้ตรวจ สำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และได้รับแต่งตั้งเป็นอนุกรรมการประเมินผลการตรวจราชการแบบบูรณาการ จากรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  ถือเป็นโอกาสสำคัญที่มีส่วนในการปรับระบบการตรวจราชการของประเทศไทยให้เป็นระบบและมีกลไกในการขับเคลื่อนการตรวจราชการ ในฐานะฝ่ายตรวจสอบของฝ่ายบริหาร ในการติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาล และทำให้ผู้ตรวจราชการเป็นตำแหน่งที่มีศักดิ์ศรี เป็นผู้ตรวจราชการมืออาชีพ และเป็นตำแหน่งผ่านที่จะขึ้นเป็นผู้บริหารระดับสูง มิใช่ตำแหน่งที่ไร้ศักดิ์ศรีเหมือนในอดีต และที่สำคัฐมีโอกาสเขียนแผนแม่บทการอบรมและพัฒนาบุคลากรมุ่งสมรรถนะ ซึ่งพอสรุปได้ ดังนี้

ความซับซ้อนและพลวัตรของผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในยุคลาภิวัตน์ได้ผลักดัน                             ให้มีการปฏิรูปการบริหารภาครัฐอย่างจริงจังในบรรดาประเทศต่างต่าง ๆ และส่งผลให้เกิดกระแส                   ความตื่นตัวในการปฏิรูประบบราชการไทยด้วย                การกำกับการปฏิบัติราชการและการตรวจราชการในส่วนภูมิภาคแก่ผู้ตรวจราชการ                     สำนักนายกรัฐมนตรี และผู้ตรวจราชการกระทรวงทุกกระทรวง ได้รับการแก้ไขจากผลของการปฏิรูปราชการของไทย  เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และปัจจุบันตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี                     ว่าด้วยการตรวจราชการ พ.ศ. 2548ม จากระเบียบฯดังกล่าว พบว่าขอบเขตของการตรวจราชการครอบคลุม การให้คำปรึกษา การตรวจเยี่ยม การติดตามประเมินผล และการสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง                             ดังนั้นบุคลากรในระบบตรวจราชการ ครอบคลุมผู้ตรวจราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี ระดับกระทรวง     และผู้ช่วยผู้ตรวจราชการทั้งหมด ดังนั้นบุคลากรมนระบบการตรวจราชการจำเป็นต้องได้รับการพัฒนามุ่งสมรรถนะ                        ให้มีความรู้ ทักษะ และพฤติกรรมการปฏิบัติงานทั้งด้านการบริหารเชิงบูรณาการ และเทคนิคเฉพาะด้าน      ที่เรียกว่า สมรรถนะส่วนบุคคล (Personal Competency) อันเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่มีความสำคัญสูง    ต่อการขับเคลื่อนพันธกิจการตรวจราชการแบบบูรณาการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ จึงได้กำหนดแผนแม่บท                 การอบรมและการพัฒนาบุคลากรแบบมุ่งสมรรถนะ มีสาระสำคัญ คือวิสัยทัศน์“ผู้ตรวจราชการมีสมรรถนะในการตรวจราชการบูรณาการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์”       พันธกิจ·     ชี้แจง แนะนำ หรือทำความเข้าใจกับหน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ของรัฐกับแนวทาง                          และการปฏิบัติงาน หรือการจัดทำภารกิจงานตามนโยบายของรัฐบาล และแผนต่าง ๆ     ของชาติและของหน่วยงานของรัฐ·     ตรวจติดตามว่าหน่วยงานของรัฐได้ปฏิบัติตามถูกต้องตามกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ มติของคณะรัฐมนตรี และคำสั่งของนายกรัฐมนตรี และเป็นไปตามความมุ่งหมาย วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และผลสัมฤทธิ์ตามนโยบายของรัฐบาล แผนพัฒนาเศรษฐกิจ     และสังคมแห่งชาติ แผนการบริหารราชการแผ่นดิน แผนหรือยุทธศาสตร์ใด ๆที่กำหนดเป็นยุทธศาสตร์ชาติหรือวาระแห่งชาติหรือไม่·     ติดตามความก้าวหน้า ปัญหา และอุปสรรค รวมทั้งประเมินประสิทธิภาพ ประสิทธิผล         และความคุ้มค่าในการปฏิบัติงานหรือการจัดทำภารกิจของหน่วยงานของรัฐ·     สดับตรับฟังทุกข์สุข ความคิดเห็น และความต้องการของเจ้าหน้าที่ของรัฐและประชาชน·     แสวงหาข้อเท็จจริง และสืบสวนสอบสวนเกี่ยวกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ในพื้นที่ เป้าประสงค์เป้าประสงค์ของการพัฒนาบุคลากรแบบมุ่งสมรรถนะ คือ เสริมสร้างความชำนาญการที่จำเป็น                   ต่อการขับเคลื่อนพันธกิจของการตรวจราชการบูรณาการแบบมุ่งสัมฤทธิ์อย่างสอดคล้องเชื่อมโยง              กับแผนบริหารราชการแผ่นดิน และประเด็นนโยบายของแผ่นดิน       ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรให้มีระดับความชำนาญการของสมรรถนะสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานจริงที่ตอบสนองต่อประเด็นยุทธศาสตร์การเป็นองค์กรสมรรถนะสูง แผนบริหารราชการแผ่นดิน             และยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ-สังคม ตลอดจนยุทธศาสตร์การปฏิรูประบบราชการ จำเป็นต้องขับเคลื่อนใน 3 ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่1.        การพัฒนาระบบพัฒนาบุคลกรแบบมุ่งสมรรถนะ เป็นกระบวนการที่เน้นการจัดวางระบบให้บรรลุถึงขั้นการจัดทำแผนพัฒนาส่วนบุคคล (IDP-Individual Development Plan) ซึ่งมีการกำหนดประเด็นการพัฒนาโดยเปรียบเทียบกับมาตรฐานของตำแหน่งงานทั้งที่ครองอยู่ในปัจจุบันและอนาคตตามเส้นทางความก้าวหน้า มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาพร้อมทั้งวัน/เวลาที่ข้าราชการของ                             สำนักผู้ตรวจฯ จะลงมือพัฒนาตนเองตามแผนฯ โดยหน่วยงานเจ้าภาพที่รับผิดชอบ                            ด้านการพัฒนาทรัพยากรบุคคล ต้องร่วมกันเสนอให้ผู้บริหารระดับสูงของสำนักผู้ตรวจฯ กำหนดลำดับความสำคัญของสมรรถนะให้สอดรับกับปริมาณงานที่เกิดขึ้นตามสถานการณ์แวดล้อมภายนอก โดยมีเป้าประสงค์เพื่อพัฒนาระบบประเมินสมรรถนะจนกระทั่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการบริหารและพัฒนาบุคลากรในระบบตรวจราชการตามพันธกิจของการตรวจราชการบูรณาการแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์2.        การฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรแบบมุ่งสมรรถนะเป็นกระบวนการที่มุ่งไปที่การนำผลการประเมินสมรรถนะตนเองของบุคลากรกลุ่มเป้าหมายมาใช้เป็นกรอบในการออกแบบหลักสูตรฝึกอบรม รวมทั้งกำหนดช่องทางและเนื้อหาในการพัฒนาสมรรถนะตามลำดับความสำคัญที่ผู้บริหารระดับสูงกำหนดร่วมกับหน่วยงานเจ้าภาพที่เกี่ยวข้อง โดยมีเป้าประสงค์หลักเพื่อเพิ่มระดับความชำนาญการของบุคลากรให้ตรงตามมาตรฐานของตำแหน่งงานตามผลการประเมินตนเอง    3.        การพัฒนาผู้บริหารเพื่อพัฒนาบุคลากรแบบมุ่งสมรรถนะ  เป็นกระบวนการที่เน้นการฝึกอบรมและพัฒนาเหมือนกัน แตกต่างกันที่ กลยุทธ์พัฒนาผู้บริหารเพื่อการพัฒนาบุคลากรแบบมุ่งสมรรถนะ มุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้างความรู้ ทักษะและทัศนคติที่จำเป็นสำหรับการทำให้ผู้บริหาร เป็นกลไกสำคัญหรือเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการพัฒนาบุคลากรตามผลการประเมินสมรรถนะ อันจะส่งผลให้เกิดสภาพแวดล้อม      ในการทำงานจริงที่เกื้อหนุนต่อการพัฒนาสมรรถนะ อีกทั้งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้                ระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา คือ ส่วนหนึ่งของการสร้างองค์ความรู้ (Knowledge Creation) ไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)                     โดยมีเป้าประสงค์ เพื่อเสริมสร้างความรู้ ทักษะและทัศนคติของผู้บริหารในระดับกลุ่มงานและกลุ่มตำแหน่งงานในการประเมินสมรรถนะ และกำหนดแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรในระหว่างการปฏิบัติงานจริง การดำเนินงานตามแผนแม่บทการอบรมและพัฒนาบุคลากรแบบมุ่งสมรรถนะ                การดำเนินงานตามแผนแม่บทการอบรมและพัฒนาบุคลากรแบบมุ่งสมรรถนะตามโครงการพัฒนาระบบการตรวจราชการบูรณาการสู่การปฏิบัติ มีแผนการดำเนินการ สรุปได้ ดังนี้1.       จัดการฝึกอบรมตามกลุ่มสมรรถนะและหลักสูตรต่าง ๆให้เสร็จสิ้นภายในปี พ.ศ. 25502.        ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทโดยวัดค่าความถี่ในการนำไปใช้จริง                           ทุกไตรมาสจนถึงปี พ.ศ. 2552

 

แลกเปลี่ยนประสบการณ์การผูกใจพนักงานที่ดี เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนขององค์การ ของอ. พจนาถ ซีบังเกิด

ในการบรรยายของอาจารย์ ทำให้เห็นภาพว่า ทรัพยากรมนุษย์ที่มีศักยภาพเป็นทรัพยากรทางการบริหารและเป็นผู้ใช้ทรัพยากรอื่น ๆอันจะนำความสำเร็จมาสู่องค์การ และเป็นทุนมนุษย์ที่สามารถสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันกับองค์การอื่น ๆได้ ดังนั้น การผูกใจพนักงานที่ดีมีคุณภาพให้อยู่กับองค์การจึงเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้น เทคนิคที่อาจารย์บรรยายในการผูกใจพนักงาน สรุปได้ 3 มิติ  คือ

1. มิติความต้องการที่จะอยู่กับองค์การ (Stay)

2. มิติการพูดถึงสิ่งที่ดีดีขององค์การ (Say)

3. มิติความต้องการทำงานอย่างเต็มความสามารถ (Strive)

ทั้งนี้ ต้องอาศัยองค์ประกอบสำคัญ คือ

1. การสำนึกในภารกิจ (Think)

2. ความรู้สึกที่ดีต่องาน และองค์การ (Feel)

3. การปฏิบัติในภารกิจที่รับผิดชอบในงานและองค์การอย่างเต็มความสามารถ (Act)

 

 

แลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดการทุนมนุย์

การกำหนดนโยบาย กลยุทธเป็นหน้าที่ของผู้บริหาร แต่การดำเนินงานให้นโยบายประสบความสำเร็จเป็นหน้าที่ของพนักงานทุกคน องค์การจึงจำเป็นที่ต้องมีการจัดการทุนมนุษย์ให้สามารถปฏิบัติงานตามเป้าหมายขององค์การ องค์การจึงถ่ายทอดเป้าประสงค์ ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายจากระดับองค์การไปสู่ระดับฝ่าย/สำนัก/กอง และบุคคล ซึ่งในแต่ละระดับจะมีการประเมินผลตามเป้าประสงค์ ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน (ประเมินผลตามผลงาน /ตามขีดความสามารถ)ซึ่งปัจจุบันภาครัฐพยายามดำเนินการปรับองค์การไปสู่ระบบดังกล่าว ซึ่งพอสรุป กระบวนการได้ ดังนี้

หลักการจัดทำตัวชี้วัดระดับองค์กร                  การถ่ายทอดตัวชี้วัดระดับองค์กรสู่ระดับบุคคลจะเกิดขึ้นได้นั้น องค์กรจะต้องมีการจัดทำยุทธศาสตร์ให้มีความชัดเจน ซึ่งยุทธศาสตร์ที่ชัดเจนและถูกต้องและสามารถประเมินได้จะต้องประกอบด้วย                  (1)              วิสัยทัศน์ (Vision)        กล่าวคือ องค์กรจะต้องจินตนาการเกี่ยวกับอนาคตขององค์กรให้เป็นตัวบ่งชี้ถึงทิศทางที่องค์กรต้องมุ่งเน้นไป โดยวิสัยทัศน์จะอธิบายความปรารถนาหรือความทะเยอทะยานสำหรับอนาคตขององค์กร แต่ไม่ได้ระบุถึงวิธีการที่จะนำไปสู่ความ             มุ่งหมายนั้นอย่างชัดเจน                  (2)              ประเด็นยุทธศาสตร์ (Strategic Issues) คือ ประเด็นหลักในการพัฒนา หรือประเด็นที่หน่วยงานจะต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ ซึ่งประเด็นยุทธศาสตร์มักจะมีที่มาจาก                                                             -                       แนวทางหลักในการบรรลุวิสัยทัศน์ของหน่วยงาน                                                            -                       นโยบายหรือความจำเป็นเร่งด่วนจากภายนอกที่มีผลกระทบต่อการบรรลุวิสัยทัศน์ของหน่วยงาน                                                            -                       ความคาดหวังจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (Stakeholders) ที่สำคัญ ซึ่งวิสัยทัศน์ของสำนักงานส่วนใหญ่ต้องสนองต่อสิ่งเหล่านี้อยู่แล้ว                                               

วิสัยทัศน์

                   

 

ประเด็นยุทธศาสตร์

ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 
         

 

                  (3)              เป้าประสงค์ (Goals) หมายถึงเป้าหมายต่าง ๆ ที่ต้องการบรรลุในแต่ละประเด็นยุทธศาสตร์ภายใต้กรอบการประเมินผลการพัฒนาการปฏิบัติราชการ ที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ปรับเปลี่ยนเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2546 และที่ ก.พ.ร.เห็นชอบในการประชุมครั้งที่ 10/2547 :ซึ่งแบ่งเป็น 4 มิติได้แก่ มิติด้านประสิทธิผลตามยุทธศาสตร์ มิติด้านประสิทธิภาพ           ของการปฏิบัติราชการ มิติด้านคุณภาพการให้บริการ และมิติด้านการพัฒนาองค์กร กรอบการประเมินผลการพัฒนาการปฏิบัติราชการ

ส่วนราชการแสดงความสามารถ

ในการปฏิบัติราชการ
มิติที่ 3มิติด้านประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ 
มิติที่ 4มิติด้านการพัฒนาองค์กร 
ส่วนราชการแสดงความสามารถในการเตรียมพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงขององค์กร
มิติที่ 1มิติด้านประสิทธิผลตามพันธกิจ 
ส่วนราชการแสดงผลงานที่บรรลุเป้าประสงค์และเป้าหมายตามที่ได้รับงบประมาณมาดำเนินการ
มิติที่ 2มิติด้านคุณภาพการให้บริการ 
ส่วนราชการแสดงการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการในการให้บริการที่มีคุณภาพ
              

 

                                    มิติที่ 1 มิติด้านประสิทธิภาพตามยุทธศาสตร์ (Run the Business ) มีหลักการให้ส่วนราชการแสดงผลงานที่บรรลุเป้าประสงค์และเป้าหมายตามที่ได้รับงบประมาณมาดำเนินการ เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อประชาชนและผู้รับบริการ เช่น ผลสำเร็จในการพัฒนาการปฏิบัติราชการ เป็นต้น                        มิติที่ 2 มิติด้านคุณภาพการให้บริการ (Serve the Customer) มีหลักการให้             ส่วนราชการแสดงการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการในการให้บริการที่มีคุณภาพ สร้างความ          พึงพอใจแก่ผู้รับบริการ                                    มิติที่ 3 มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ (Manage Resources) มีหลักการให้ส่วนราชการแสดงความสามารถในการปฏิบัติราชการ เช่น การลดค่าใช้จ่าย การลดระยะเวลาการให้บริการ และความคุ้มค่าของการใช้เงิน เป็นต้น                                    มิติที่ 4 มิติด้านการพัฒนาองค์กร (Capacity Building) มีหลักการให้ส่วนราชการแสดงความสามารถในการเตรียมความพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงขององค์กร เช่น การลดอัตรากำลังหรือจักสรรอัตรากำลังให้คุ้มค่า การมอบอำนาจการตัดสินใจ การอนุมัติ อนุญาต ไปยังระดับปฏิบัติ การนำระบบอีเล็กทรอนิกส์มาใช้กับงาน เป็นต้น                   (4)  แผนที่ยุทธศาสตร์ (Strategy Map) หมายถึงแผนภาพที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างเป้าประสงค์ในแต่ละมิติที่มีความเชื่อมโยงกันในลักษณะของเหตุและผล (Cause and Effect Relationship) แผนที่ยุทธศาสตร์ตามแนวคิดจะประกอบด้วย วิสัยทัศน์ ประเด็นยุทธศาสตร์ และเป้าประสงค์ ซึ่งมีความสัมพันธ์ดังต่อไปนี้                                          (5)                    ตัวชี้วัด (Key Performance Indicators : KPIs) หมายถึง เครื่องมือหรือดัชนีที่ใช้ในการวัดความก้าวหน้าของการบรรลุแต่ละเป้าประสงค์ ซึ่งจะต้องสามารถวัดผลและกำหนดเป้าหมายของความสำเร็จได้ โดยทุกเป้าประสงค์ต้องมีตัวชี้วัด                                    (6)                    เป้าหมาย (Targets) เป็นการกำหนดปริมาณ หรือจำนวนสิ่งที่ต้องการให้บรรลุผลภายในเวลาที่กำหนด                         (7)                    โครงการ (Initiatives) สิ่งต่าง ๆ หน่วยงานที่ต้องดำเนินการเพื่อให้เป้าประสงค์ต่าง ๆ บรรลุเป้าหมายของตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ คำว่า โครงการที่สำคัญในที่นี้หมายรวมถึง นโยบาย โครงการ กิจกรรม มาตรการต่าง ๆ หรือการดำเนินการใด ๆ ภายใต้บทบาทภารกิจของหน่วยงานก็ได้                  เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด เป้าหมาย และโครงการ มีความสัมพันธ์กัน ดังนี้ คือ เป้าประสงค์นั้นจะต้องมีตัวชี้วัดเป็นเครื่องมือบ่งชี้ว่า เป้าประสงค์สำเร็จหรือไม่ จะประเมินจากสิ่งใด ส่วนเป้าหมายจะเป็นเครื่องมือบอกระดับของความสำเร็จตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ ส่วนโครงการ คือ สิ่งที่จะต้องทำเพื่อให้เป้าประสงค์นั้นบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย

ผลที่ได้จากการวัดผลควรอยู่ในระดับใดจึงจะถือว่าเป้าประสงค์นั้นสำเร็จ

เป้าหมายหลักบรรลุผลหรือไม่นั้นจะวัดผลได้จากสิ่งใดบ้าง
    

เป้าประสงค์

ตัวชี้วัด เป้าหมาย โครงการ
จัดทำผังเมืองรวมที่ชัดเจน - ระดับความสำเร็จของการดำเนินงานตามแผนของผลการวิจัย- จำนวนโครงสร้างพื้นฐานใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น 5  1 - โครงการจัดวางผังเมืองกลุ่มจังหวัด - โครงการถนนยกระดับเชื่อมโยงถนนวงแหวนรอบนอกฯ
 

เป้าหมายที่ต้องการบรรลุคือสิ่งใด

ต้องทำอย่างไรบ้างให้เป้าประสงค์นี้บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย

ความสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมาย ตัวชี้วัด เป้าหมาย และโครงการ

     

 

การจัดทำตัวชี้วัดระดับสำนัก/กอง/กลุ่มงาน/ฝ่าย                  การจัดทำตัวชี้วัดระดับบุคคลเกิดขึ้นหลังจากที่องค์กรได้จัดทำวิสัยทัศน์ เป้าประสงค์ จนถึงตัวชี้วัดขององค์กรเสร็จสิ้นแล้ว ต่อไปก็ควรจัดกลุ่มงาน/สายงาน (Job Family) ภายในองค์กร และกำหนดพันธกิจของแต่ละกลุ่มงาน ที่ต้องดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์ขององค์กรและตัวชี้วัดของผู้บังคับบัญชาด้วย อันจะนำไปสู่การบรรลุประเด็นยุทธศาสตร์และวิสัยทัศน์ขององค์กรต่อไป                   การจัดทำตัวชี้วัดระดับสำนัก/กอง/กลุ่มงาน/ฝ่าย มีแนวทางดำเนินการ ดังนี้                  ขั้นตอนที่ 1 ยืนยันบทบาทหน้าที่ของสำนัก/กอง/กลุ่มงาน/ฝ่าย โดยยึดหลักความรับผิดชอบหลักของสำนัก/กอง/กลุ่มงาน/ฝ่าย ตามที่ได้ระบุไว้ในรายละเอียดการกำหนดตำแหน่ง (Job Description) เพื่อยืนยันบทบาทหน้าที่ของสำนัก/กอง/กลุ่มงาน/ฝ่าย/ให้เกิดความเข้าใจตรงกัน                  ขั้นตอนที่ 2 กำหนดเป้าประสงค์ที่สำนัก/กอง/กลุ่มงาน/ฝ่าย มีส่วนผลักดันเป้าประสงค์ขององค์กร ให้สำนัก/กอง/กลุ่มงาน/ฝ่าย พิจารณาเป้าประสงค์ต่างๆ ขององค์กรว่า สำนัก/กอง/กลุ่มงาน/ฝ่ายมีบทบาทอย่างไรต่อเป้าประสงค์เหล่านั้น และเลือกเป้าประสงค์ที่สำนัก/กอง/กลุ่มงาน/ฝ่ายมีส่วนผลักดันให้องค์กรบรรลุเป้าหมาย                  ขั้นตอนที่ 3 กำหนดเป้าประสงค์เพิ่มเติมหน้าที่ที่ พิจารณาความรับผิดชอบหลักจากขั้นตอนที่ 1 เทียบกับเป้าประสงค์ขององค์กรที่สำนัก/กอง/กลุ่มงาน/ฝ่ายมีส่วนเกี่ยวข้องจากขั้นตอนที่  2 หากเป้าประสงค์ที่สำนัก/กอง/กลุ่มงาน/ฝ่าย รับจากองค์กรยังไม่ครอบคลุมความรับผิดชอบหลักให้กำหนดเป้าประสงค์ที่ต้องการพัฒนาหรือมุ่งเน้นเพื่อให้งานตามความรับผิดชอบมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด                  ขั้นตอนที่ 4 กำหนดตัวชี้วัดในแต่ละเป้าประสงค์ การกำหนดตัวชี้วัดเพื่อให้เป้าประสงค์ขององค์กรประสบผลสำเร็จ โดยมีการกำหนดเป้าหมายของความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการประเมินผลสำเร็จตามค่าเป้าหมายที่กำหนดด้วย     การจัดทำตัวชี้วัดระดับบุคคล                  การจัดทำตัวชี้วัดระดับบุคล จะดำเนินการภายหลังจากการจัดทำตัวชี้วัดระดับสำนัก/กอง/กลุ่มงาน/ฝ่าย เสร็จสิ้นแล้ว และควรจัดกลุ่มงาน/สายงาน (Job Family) ภายใต้สำนัก/กอง/กลุ่มงาน/ฝ่าย โดยจัดบุคลากรที่อยู่ในตำแหน่งเดียวกัน ลักษณะงานคล้ายกัน ที่มีหน้าที่ใกล้เคียงกันไว้ด้วยกัน แล้วจึงทำการถ่ายทอดตัวชี้วัดสู่ระดับบุคคล 

บทบาท หน้าที่ ของบุคคลที่สนับสนุนต่อเป้าประสงค์และตัวชี้วัดของผู้บังคับบัญชา

บทบาท หน้าที่งานของบุคคล(Job Description) 
งานที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ 
เป้าประสงค์ในระดับบุคคล
ตัวชี้วัดในระดับบุคคล
          

 

แนวทางการถ่ายทอดตัวชี้วัดระดับบุคคล                    การกำหนดแนวทางการถ่ายทอดตัวชี้วัดระดับบุคคล มีการผสมผสานระหว่าง-                   การพัฒนางานตามบทบาท หน้าที่ระดับบุคคลที่สนับสนุนต่อเป้าประสงค์และตัวชี้วัดของผู้บังคับบัญชา-                   การพัฒนางานตามบทบาทหน้าที่และภารกิจในงานประจำแต่ละบุคคล-                   การให้ความสำคัญกับงานที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ                        โดยแนวทางการจัดทำตัวชี้วัดระดับบุคคล มีแนวทางดำเนินการ ดังนี้                  ขั้นตอนที่ 1 ยืนยันหน้าที่ของบุคคล เป็นการยืนยันหน้าที่ของบุคคลจากหน้าที่งานตามที่ได้ระบุไว้ในรายละเอียดการกำหนดตำแหน่ง (Job Description) เพื่อแสดงรายละเอียดหน้าที่และความรับผิดชอบหลักๆ ของแต่ละบุคคล หลังจากนั้นจึงดำเนินการจัดกลุ่มงานที่มีลักษณะเหมือนกันเข้าเป็นกลุ่มงาน/สายงาน (Job Family) และสรุปความรับผิดชอบหลักแต่ละกลุ่มงานให้ชัดเจน เพื่อให้สะดวกต่อการจัดทำเป้าประสงค์และตัวชี้วัดระดับบุคคล                  ขั้นตอนที่ 2 กำหนดเป้าประสงค์ที่บุคคลมีส่วนผลักดันเป้าประสงค์ของผู้บังคับบัญชา พิจารณาเป้าประสงค์ของผู้บังคับบัญชาที่กลุ่มงาน/สายงานนั้น ๆ มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยใช้รายละเอียดการกำหนดตำแหน่งเป็นหลักในการพิจารณาว่า ในตำแหน่งงานนั้น ๆ มีส่วนเกี่ยวข้องกับเป้าประสงค์ของผู้บังคับบัญชาอย่างไรบ้าง และกำหนดเป้าประสงค์ที่บุคคลมีส่วนผลักดันเป้าประสงค์ของผู้บังคับบัญชาให้บรรลุเป้าหมาย                  ขั้นตอนที่ 3 กำหนดเป้าประสงค์เพิ่มเติมตามหน้าที่ พิจารณาความรับผิดชอบหลังจากขั้นตอนที่ 1 เทียบกับเป้าประสงค์ของผู้บังคับบัญชาที่บุคคลมีส่วนผลักดันจากขั้นตอน ที่ 2 หากเป้าประสงค์ที่บุคคลรับจากผู้บังคับบัญชายังไม่ครอบคลุมความรับผิดชอบหลักให้กำหนดเป้าประสงค์ที่ต้องการพัฒนาหรือมุ่งเน้นเพื่อให้งานตามความรับผิดชอบมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล                  ขั้นตอนที่
การบ้านครั้งที่  6เรียนวันเสาร์ที่  4  สิงหาคม  2550  กับอาจารย์  Peter Bjorkนักศึกษาชื่อ  นาย  กฤษฎา  สังขมณี หัวข้อที่ศึกษาตลอด  3  ชั่วโมง  (9.00 – 12.00  น.)  คือ  Leadership in a changing world น่าสนใจอย่างยิ่งในด้านการจัดการทุนมนุษย์  (Human  Capital  Management)   เนื้อหาที่ศึกษามีดังนี้Center for Change Management : CCM  เริ่มก่อตั้งเมื่อ ค.ศ.  1993  ที่เมือง  Goteborg  ในสวีเดน  และมีที่ กทม. ในอีก  5  ปีต่อมา  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือองค์กร หรือธุรกิจใดๆ ในการใช้กลยุทธ์ด้านการมีภาวะผู้นำเพื่อการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพต่อองค์กร  เช่น  กลุ่มสวีเดนมอร์เตอร์ของตระกูลศรีไกรวิน   เนสท์เลท์ของคุณประยุทธ์  มหากิจศิริ   โคโค  ไทยลิฟท์  เททราแพค  และสีโจตัน  เป็นต้น   นอกจากนี้อาจารย์ยังเล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่าง  2  ประเทศที่มีต่อกันอย่างยาวนานตั้งแต่การเสด็จเยือนสวีเดนอย่างเป็นทางการของพระพุทธเจ้าหลวงกว่า  100 ปีมาแล้ว  และการเสด็จมาประเทศไทยอยู่เนืองๆของ  กษัตริย์  Carl  Gustaf  ที่  16  และพระราชินี  รวมถึงงานครองราชย์ครบ  60  ปี  ในปีที่ผ่านมาด้วย  การที่สวีเดนเป็น  Good  Welfare  State  ตัวอย่างก็คือ  Free  Education  to  Master  Degree  for  Everyone  ซึ่งความสัมพันธ์ของ  2  ราชวงศ์  และการให้ความสำคัญในระบบการศึกษา  สะท้อนถึงการให้ความสำคัญกับภาวะผู้นำอยู่ในตัวแล้ว  การให้ความสำคัญกับ  CHANGE  ที่  LEADER  ต้องตระหนักเป็นเพราะสาเหตุของสิ่งต่อไปนี้ 1.                  LAWS & REGULATIONS  เช่น การเข้าเป็นสมาชิกของ  WTO  ก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับการค้าที่ปลอดภาระภาษีระหว่างประเทศ 2.                  DEREGULTION  OF  MARKET  เช่น  การผ่อนคลายกฎ  ระเบียบ  ให้เกิดการแข่งขันเสรี  กรณีธุรกิจด้านการสื่อสาร  โทรคมนาคม  พลังงาน3.                  GLOBALIZATION  ต้องเข้าใจถึงลักษณะที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศ  ทั้งลูกค้า  ผู้ป้อนสินค้า  พนักงาน  คู่แข่งขัน  เพราะต้องเกี่ยวข้องกับผู้อยู่ในดินแดนอื่น  ซึ่งมักมีหลายๆด้านที่แตกต่างจากองค์กรของเรา ความคิดเดิม  “THINK  LOCAL  ACT  LOCAL”ต่อมา   “THINK  GLOBAL  ACT  LOCAL”ล่าสุดน่าจะเป็น  “THINK  LOCAL  ACT  GLOBAL”  ถ้าทำได้ก็น่าจะมีประสิทธิภาพที่สุด4.                  SHORTER PRODUCT LIFE CYCLE  ผู้นำต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของรสนิยมลูกค้า  รูปแบบที่ทันสมัยจากคู่แข่ง  เช่นการออกโทรศัพท์มือถือโฉมใหม่ทุก  3  เดือน  การต้อง  “MINOR  CHANGE”  รูปแบบของรถยนต์ทุก  2  ปี  เป็นต้น  LEADERSHIP  มีผู้ให้คำจำกัดความมากมาย  เช่น  ต้องมีการสื่อสารถึงเป้าหมาย  แนวทางที่ต้องการให้คนทุกระดับในองค์กรรู้  โดยมีกระบวนการซึ่งไม่ต้องเป็นทางการแต่เพียงอย่างเดียว  ต้องสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันในธุรกิจ  ต้องต้องทำให้องค์กรเปลี่ยนแปลงไปสู่การพัฒนาได้  มีอิทธิพลต่อทัศนคติ ต่อแนวทางการทำงาน และต่อความต้องการของพนักงาน  สร้างทีมงานให้มีความสามารถอย่างโดดเด่นได้ในทุกระดับ  รวมถึงการสร้างวัฒนธรรมและทำให้องค์กรมีคุณค่ากับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลาย อย่างไรก็ตามผมเชื่อว่าความเป็นผู้นำที่ดี  ไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบที่ตายตัว  หากมีความเหมือนและความแตกต่างในบางกรณี  บางเวลา  บางองค์กร บางประเทศ  บางสถานการณ์ และกับผู้ตาม  (FOLLOWER)  ต่างระดับกัน  ก็อาจต้องใช้ภาวะผู้นำที่แตกต่างกันได้ด้วย  ประเด็นสำคัญก็คือผู้นำต้องสามารถปรับปรุง  และเปลี่ยนแปลง องค์กรให้มีการยกระดับขึ้นและเกิดการได้เปรียบในการแข่งขัน  ในสังคมฐานความรู้และอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของคำว่า โลกาภิวัตน์ อาจารย์ยังให้ข้อมูลต่อไปอีกว่า  จากผลการวิจัยภาวะผู้นำในช่วง  50  ปี  มีผู้นำที่ให้ความสำคัญกับคนมากๆ (ลักษณะประชาธิปไตย  มองว่าคนมีความรับผิดชอบตัวเองอยู่แล้ว  ไม่ต้องการการบังคับข่มขู่  เรียกว่าทฤษฎี  Y  จึงต้องมีความสัมพันธ์ที่ดี  มีการเอื้อเฟื้อเกื้อกูลต่อกัน)  กับผู้นำที่ให้ความสำคัญกับผลผลิตมากๆ (ลักษณะอำนาจนิยม  มองว่าคนขี้เกียจ  เลี่ยงงาน ไม่มีความซื่อสัตย์ จึงต้องใช้การสั่งการ  การควบคุมอย่างเข้มงวด  เรียกว่าทฤษฎี  X)  ผมคิดว่าก็คือทฤษฎีของ  Fiedler's leadership theory และทฤษฎีของ  McGregor  นั่นเองถ้านำแนวความคิดของผู้นำทั้ง  2  แบบนี้มาผนวก (ยำ)  เข้าด้วยกัน  แล้วพิจารณาแบบกราฟ  2  แกน  ที่เรียกว่า  MANAGERIAL  GRID  ในทางทฤษฎีบริเวณที่จะเกิดผลดีที่สุดต่อองค์กร คือบริเวณที่เรียกว่า  TEAM  MANAGEMENT  คือให้ความสำคัญอย่างยิ่งในทั้งด้านคนไปพร้อมกับผลผลิตในเวลาเดียวกันความแตกต่างของ ผู้บริหารและผู้นำ คือ  ผู้บริหาร (Manager) จะเกี่ยวข้องกับการบริหารงานเดิม ซ้ำแล้วซ้ำอีก เป็นงานประจำ และมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างถูกต้อง (do things right) ความมีประสิทธิภาพ (efficiency) ในการใช้ทรัพยากรให้บรรลุจุดหมายขององค์การได้ดี ในขณะที่ ผู้นำ (Leader) จะมุ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงนวัตกรรม ในทิศทางที่ถูกต้อง (do the right things) ความมีประสิทธิผล (effectiveness) และความสามารถจูงใจให้ผู้ปฏิบัติเกิดแรงบันดาลใจใช้ความสามารถพิเศษได้อย่างเต็มที่ (Zalezink 1990 อ้างใน Bartol & others 1998)Bass & others (อ้างใน Bartol & others 1998) ได้จำแนกผู้นำออกเป็น 2 ลักษณะที่แตกต่างกัน คือ ผู้นำแห่งการจัดการ (transactional leader) หมายถึง ผู้นำที่จูงใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานในระดับที่คาดหวัง ผู้นำอีกลักษณะหนึ่งคือ ผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง (transformational leader) เป็นผู้จูงใจให้บุคคลปฏิบัติงานเกินกว่าความคาดหวังตามปกติ มุ่งไปที่ภารกิจงานอย่างกว้างๆ ด้วยความสนใจที่เกิดขึ้นภายในตน มุ่งการบรรลุความต้องการในระดับสูง  ปัจจัยสามประการที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลงคือ 1) ความสามารถพิเศษ (charisma) คือ ความสามารถของผู้นำที่จะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจ ความศรัทธา และความยอมรับนับถือจากผู้อื่น รู้ว่าอะไรสำคัญ รู้ว่าอะไรจะก่อให้เกิดความรู้สึกผูกพันกับภารกิจ หรือมีวิสัยทัศน์ในการที่จะก่อให้เกิดแรงบันดาลใจกับผู้อื่น ยกตัวอย่างบุคคลที่มีความสามารถดังกล่าวนี้ เช่น Martin Luther King, Mahatma Gandhi, John F. Kennedy และ Bob Hawke เป็นต้น (Bartol & others 1998) 2) การยอมรับคุณค่าแห่งปัจเจกบุคคล (individualized considerations) พยายามช่วยพัฒนาศักยภาพคนอื่น 3) การกระตุ้นทางปัญญา (intellectual stimulation) เกี่ยวกับการเสนอแนวคิดใหม่ ๆ ให้ผู้อื่น เมื่อ  25 ปีที่ผ่านมา  ข้อมูล  FARAX  ที่ทำการสำรวจจากผู้บริหารกว่า  6,000  คน  มีการพิจารณาใน  3  ด้านคือ  การให้ความสัมพันธ์กับคน  การให้ความสัมพันธ์กับโครงสร้าง  และการให้ความสำคัญกับการปรับตัวหรือการเปลี่ยนแปลง  โดยแบ่งผู้นำเป็น  8  ประเภท  คือ1.      The Visible Leader2.      The Entrepreneur Leader3.      The Transactional Leader4.      The Gardener Leader5.      The Bureaucrat Leader6.      The Nice Guy Leader7.      The Idea Squirt Leader8.      The Laissez fair LeaderFARAX  ใช้หลักการ  3  ด้านคือ  ความมีประสิทธิภาพของผู้นำ  ทัศนคติของผู้นำ  และความกดดันต่อตัวผู้นำ  ในการแบ่งผู้นำเป็น  8  แบบข้างต้น  นอกจากนี้  FARAX  ยังมีแนวคิดในการวัดผลผู้นำจาก  พฤติกรรมของผู้นำ  ความสำคัญของพฤติกรรมผู้นำ  ความสามารถของผู้นำ  ความต้องการขององค์กร  และความมีประสิทธิภาพขององค์กร  หรือกล่าวได้ว่า  มองทุกมิติทั้ง  360  องศา  คือมองในมุมของตนเอง  มองในมุมของผู้บังคับบัญชา  มองในมุมของเพื่อนร่วมงาน  และมองในมุมของผู้ใต้บังคับบัญชา  ผู้นำมีบทบาทและความสำคัญต่อองค์กรอย่างยิ่งในปัจจุบัน  ในยุคที่ทุกองค์ประกอบมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก  ผู้นำจึงต้องให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมในการทำงาน  ในการตัดสินใจ  มีความอดทนอดกลั้นต่อภาวะความกดดันจากรอบด้าน  มุ่งเน้นเป้าหมายที่ต้องการเป็นสำคัญแต่มิได้ละทิ้งความสำคัญในแง่กระบวนการปฏิบัติไปเสียทีเดียว  ต้องลงมือทำจริงมิใช่เพียงคิดหรือวางแผนแต่ประการเดียว  และยังต้องทำหน้าที่แก้ปัญหา  ขจัดอุปสรรค  ทำให้เกิดความสะดวกราบรื่น  ในระหว่างการทำงานอีกด้วย   ในระหว่างกระบวนการเปลี่ยนแปลงเพื่อการสร้างสรรค์ และพัฒนาองค์กรนั้น  ผู้นำต้องมีความมุ่งมั่น  มั่นคง  และจริงใจ  โดยดูได้จากการที่ผู้นำมีความสม่ำเสมอในการกระทำ  ลงมือทำอย่างจริงจัง  มีการติดตามความคืบหน้าอย่างใกล้ชิด  และมีใจกว้างยอมรับความคิดของผู้อื่นไปพร้อมกับทบทวนความคิดของตนเอง   เพื่อปรับใช้วิธีการที่เหมาะสมกว่า  ให้ผลที่ดีกว่า  ทั้งนี้ผู้นำต้องใจกว้าง  และต้องเตรียมพร้อมต่อเหตุการณ์ที่ทำให้ต้องคิด  ต้องเหนื่อย  ต้องทุ่มเท  ต้องแก้ปัญหา  ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ต้องทำในกรณีที่องค์กรจะบริหารในรูปแบบเดิมๆ แต่ในเวลาอันใกล้ก็จะไม่สามารถอยู่รอดได้      สำหรับคนที่นับถือศาสนาพุทธมีคำสอนในพระไตรปิฎก  กล่าวว่า สยํ  ชญฺญา กตากตํ  หมายถึง  ผู้ปกครองหรือผู้นำพึงทราบกิจที่ตนได้กระทำ  และยังมิได้กระทำ  ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ได้กับการบริหารในยุคที่โลกมีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วได้เช่นกัน ผมมีความเชื่อว่า  ไม่มีใครสอนใครได้ในเรื่องภาวะผู้นำ แต่สามารถช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ (No one can teach anybody in Leadership but we can help them to learn) ซึ่งภาวะผู้นำในด้านใดด้านหนึ่งอาจจะทำได้ดี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องทำได้ดีหมดทุกเรื่อง  ผมจึงเห็นด้วยกับการเรียนรู้การเป็นผู้นำจากวิธีการที่อาจารย์บวรนันท์  ทองกัลยา  และอาจารย์พจนารถ  ซีบังเกิดที่  พูดถึงบริษัทปูนซีเมนต์ไทย  ที่ใช้วิธีให้  SUPER  STAR  ไปอยู่ใกล้ชิดกับ  TOP  MANAGEMENT  แบบไปไหนไปด้วย  หิ้วกระเป๋าให้  จะค่อยๆซึมซับภาวะผู้นำได้เป็นอย่างดี  ทั้งนี้องค์กรและตัว  TOP  MANAGEMENT  ต้องใจกว้างที่จะให้โอกาส  เพราะหลายองค์กรผู้บริหารเองไม่อยากทำ  กลัวเด็กรุ่นหลังจะหายใจรดต้นคอ  หรือได้โอกาสมากกว่าสมัยที่ตนต้องใช้เวลาลองผิดลองถูก  องค์กรไทยหลายแห่งจึงก้าวหน้าช้ากว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นผู้นำขององค์กรไทยในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง จะต้องมีการลดทิฏฐิ ปรับเปลี่ยนมุมมอง(Vision) และทัศนคติ (Attitude) การรู้จักเปิดใจกว้าง ไม่ยึดติดอยู่กับความคิด หรือความรู้เดิมๆ ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ เป็นการเริ่มต้นสู่การเปิดรับสิ่งใหม่ด้วยใจที่ไม่อคติ (Bias) สามารถใช้ทั้งความรู้และความรู้สึกควบคู่กันไปอย่างได้สมดุล ไม่ยึดติดอยู่กับรูปแบบจนอาจลืมสาระ และวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของสิ่งนั้นๆไป เห็นความจำเป็นของระบบและของมาตรฐาน โดยที่ไม่มองข้ามความงดงามอันเนื่องมาจากความไม่เหมือนกัน (Diversity) ได้ ดังนั้นผู้นำจึงควรมี  กฎ 60  อยู่ในแนวความคิดสำหรับการบริหาร ดังนี้  1.            พยายามทำให้โครงสร้างองค์กรแบนราบ (Flat) ไม่สลับซับซ้อนไม่มีลำดับชั้นมากมาย 2.            พยายามทำให้เป็นองค์กรที่มีความยืดหยุ่น (Flexible) 3.            เป็นการบริหารงานโดยผ่านกระบวนการ (Process) อาศัยการทำงานแบบร่วมกันเป็นทีม แทนการบริหารงานแบบดั้งเดิม ที่เน้นการดำเนินงานตามสายงาน  (Function)  เป็นหลัก 4.            พยายามทำให้ระบบขององค์กรเป็นระบบที่มีชีวิต  เป็นระบบที่เปิด (Open System) ที่จำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา 5. ผู้นำต้องสร้างให้เกิดศรัทธา ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้การนำสำเร็จได้ดี เช่น องค์กรทางการศึกษาผู้นำต้องมีคุณสมบัติหรือตำแหน่งทางวิชาการที่โดดเด่น   องค์กรทางศาสนาผู้นำต้องมีความรู้อย่างปราดเปรื่องลึกซึ้ง (ปธ. 9) องค์กรทหาร  หรือ  ตำรวจ  ต้องมีชั้นยศนายพลชั้นสูงสุด  เป็นต้น6. ผู้นำจะต้องไม่เห็นแก่ตัว 7. ผู้นำจำเป็นจะต้องเสียสละ (sacrifice)8. ผู้นำต้องมีวิสัยทัศน์ 9. ผู้นำต้องมี ความซื่อสัตย์ 10. ผู้นำจะต้องมีความสามารถในการจัดความสำคัญก่อนหลัง 11.ผู้นำจะต้องมีความสามารถในการสร้างสรรค์การเปลี่ยนแปลงทางบวก 12.ผู้นำจะต้องมีความสามารถในการแก้ปัญหา13. ผู้นำจะต้องมีความสามารถในการสื่อสารที่ดี 14. ผู้นำจะต้องมีวินัย15. ผู้นำจะต้องมีมีการแบ่งผลกำไร (Profit Sharing) อย่างเป็นธรรม 16. ให้การยอมรับ ในตัวพนักงาน 17. ควรจะวางตัวให้เสมอต้นเสมอปลาย ไม่มากหรือน้อยจนเกินไปให้ความเคารพทุกคนในองค์การอย่างเท่าเทียมกันในฐานะที่เป็นมนุษย์18. ให้ความสำคัญและเปิดกว้างต่อความคิดของผู้อื่น19. ต้องโปร่งใส20. ช่วยผลักดัน และแก้ไข เพื่อให้พนักงานประสบความสำเร็จในงาน21. กระจายอำนาจแก่พนักงานให้เหมาะสมกับความรับผิดชอบ22. เป็นศูนย์กลางหรือจุดรวมของกิจกรรมภายในกลุ่ม23. เป็นผู้นำและแนะนำ 24.มีศิลปะในการชี้แนะผู้ร่วมงาน ให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความกระตือรือร้นและเต็มใจ (Schwartz, 1980:491) 25. มีอิทธิพลต่อลูกน้องแล้วยังสามารถมีอิทธิพลต่อเพื่อนผู้นำในระดับเดียวกัน   ต่อผู้บังคับบัญชาในระดับสูง รวมทั้งบุคคลภายนอกหน่วยงาน และภายในองค์การได้26. การทำงานไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย27. การสามารถหยั่งรู้ใจคนได้ 28. การคาดคะเนเหตุการณ์ล่วงหน้าได้แม่นยำ29. มีพรสวรรค์ในการชักจูงคน30. การสร้างอิทธิพลเหนือคนอื่น (Influence)31. การใฝ่หาความสำเร็จ (Achievement) 32. การริเริ่มสร้างสรรค์ และใช้นวัตกรรม (Creativity and Innovation)33. การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Continual Learning) 34. ตระหนักถึงผลกระทบจากภายนอก (External Awareness)35. ความยืดหยุ่น (Flexibility)36. มีการปรับเปลี่ยนได้ (Resilience)37. จูงใจใฝ่บริการ (Service Maturation)38. การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) 39. การบริหารความขัดแย้ง (Conflict Management) 40. ตระหนักในคุณค่าทางวัฒนธรรมขององค์กร (Cultural Awareness)41. ความรับผิดชอบ (Accountability) 42. การตัดสินใจอย่างมีเหตุผล (Decisiveness)43. ความเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurship) 44. มีเทคนิคที่เชื่อถือได้ (Technical Credibility)45. มีระบบการคิดวิเคราะห์ (Logic Thinking)46. การควบคุมอารมณ์47. บุคลิกภาพที่ดี 48. อาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ของการบังคับบัญชา49. การยึดถือค่านิยมที่ได้รับการสั่งสอนมาตั้งแต่เด็ก (Lessons from the sandbox) เช่น ความยุติธรรม รู้จักแบ่งปันกัน ไม่โกง ไม่โกหก เป็นต้น50. เล่นตามกติกา (Play by rules) ทั้งต่อหน้าและลับหลัง51. การทำตัวเป็นแบบอย่าง (Setting the example) ในด้านความกล้าหาญ อดทนต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ กล้าตัดสินใจ และรู้จักรับฟังผู้อื่น52. ผู้นำต้องรักษาคำพูดของตัวเองอย่างเคร่งครัด53. ผู้นำต้องฉลาดในการเลือกที่ปรึกษา ต้องเลือกผู้ที่มีความรู้ มีจริยธรรม 54. ผู้นำต้องไม่เป็นคนคิดพยาบาทอาฆาต เก็บกดความแค้นในใจ55. ผู้นำต้องเป็นคนโอบอ้อมอารี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่56. สร้างความสำเร็จจากความสำเร็จ (Sell - Success)57. สร้างสะพานเชื่อมระหว่างกลุ่มต่างๆ ในองค์กร58. ปรับกระบวนการบริหารให้สนับสนุนวัฒนธรรมองค์กร59. ต้องดำเนินการต่อเนื่อง60. ต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Agent)

 

Dear Prof. Chira,

On Saturday 4 August, 2007 we had an opportunity to meet Mr. Peter Bjork as our instructor.  Peter introduced himself together with background of his homeland, Sweden.

His topic is on "Leadership in a Changing World".

He briefly described the definition of "Leadership". Part of the leadership was the "Triggers of Changes". The Leadership context which inclusive of :

 - Organizational Context

 - Leaders

 - Leadership Style is Formed Out

 - Followers

- Culture and Values of the Society

Peter introduced the Leadership Styles and providing the research & study of the Farax Company. There are :

 - The Visible Leader

- The Gardener

- The Entrepreneur

- The Transactional Leader

The study on these type of leaders were support with the research of the Farax Company. The Farax has completed the research on criteria, profiles and measurement for Leader Development.

Change Management was part of the lecuture in the 2nd session of the class. He described the definitions of Change Management and how important and related to the Leadership.

It was another fruitful and interesting class. Peter taught us with example in the Europe side, comparing with the Asian culture.

Leadership & Change Management were the heart of the session. He concluded with the human reactions on change and development.

We had a chance to share on the workshop at the end of class. Peter & class shared the view on the different kind of leadership in both micro and macro.

We are looking forward to have Peter back as our instructor in the near future.

Thank you & Best regards,

Sarah (NaPombhejara) Allapach

SSRU/DM

นางสาวชารวี บุตรบำรุง
การบ้าน เรียนวันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม 2550 (ชารวี บุตรบำรุง)บรรยายโดย.. อ. Peter  Bjork  เรื่อง Leadership in a changing world      ในวันนี้ท่านอาจารย์ได้บรรยายถึง CCM : Center for Change Management ทำหน้าที่สนับสนุนภาคธุรกิจหรือองค์กร ให้สามารถมีกลยุทธ์และการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ ในการนำไปปฏิบัติงานได้จริง โดย CCM ได้ก่อตั้งใน Goteborg Sweden ปี 1993 และในประเทศไทย ปี 1998 โดยมีตัวอย่างโครงการทั้งในสวีเดนและในไทย ดังนี้          สวีเดน                                 ไทย* Ericsson                                     * SMC Swedish Motors* SAAB AutoMobile                         * Nestle’s* Swedish EU office                        * COCO* Telia                                          *  Jotun     เป็นต้น     อาจารย์กล่าวถึงประเทศสวีเดน ว่า มีประชากร 9,000,000 คน รัฐบาลสนับสนุนด้านการศึกษาฟรี ฯ รวมทั้งมีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศไทย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ท่านได้เสด็จสวีเดน และทรงสร้างวัดไทยที่นั่น เมื่อถึงเทศกาลวันสำคัญๆเช่น วันสงกรานต์ ฯ ก็จัดให้มีงานขึ้น รวมถึงปัจจุบันครั้งฉลองการครองราชย์ 60 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ก็ได้ร่วมฉลองด้วย นับเป็นความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน นอกจากนั้นอาจารย์กล่าวว่าปัจุจุบันโลกเปลี่ยนแปลงเร็ว โดยมีแรงกระตุ้นมากมาย อาทิเช่น 1.      กฎหมายและกฎระเบียบ ไม่ว่าจะเป็นการเป็น WTO หรือ EU ล้วนแต่มีผลกระทบทั้งภาครัฐและภาคเอกชน2.      การลดการผูกขาดภาครัฐ ซึ่งเป็นไปตาม WTO ให้เข้ามาแข่งขันกันมากขึ้น เช่น สิงคโปร์ ไทย ในธุรกิจการบินระหว่างนกแอร์ แอร์เอเชีย เป็นต้น3.      กระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งไทยเป็นประเทศที่มี วัฒนธรรมที่ดีงดงามควรแก่การรักษา4.      วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ที่สั้น เช่น โทรศัพท์มือถือ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟแวร์ ฯดังนั้นองค์กร จะต้องมีการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงเสมอทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับ ผู้นำ : Leadership ซึ่งในศตวรรษที่ 21 นี้ ลักษณะของผู้นำต้องบริหารจัดการแบบไม่เป็นทางการ ไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ต้องมีการปรับตัวตามสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอนและเปลี่ยนแปลงได้เสมอ ผู้นำต้องมีสิ่งสำคัญเพิ่มขึ้น เช่น  
  • มีวิสัยทัศน์ เป้าหมาย
  • การทำให้องค์กรมีข้อได้เปรียบทางการแข่งขัน
  • การทำให้องค์กรเปลี่ยนแปลงและพัฒนา
  • มีอำนาจชักจูง ปรับตามความต้องการและทัศนคติของลูกจ้าง
  • การสร้างทีมงานที่มี High performing
  • สร้างวัฒนธรรมองค์กร
ความเป็นผู้นำ หรือ Leadership-Context ประกอบด้วย
  • Followers
  • Culture and values of the society
  • Leaders
  • Organisational context
จากการวิจัยลักษณะผู้นำเมื่อ 50 ปีที่แล้ว ของ FARAX มีทฤษฎีมากมายที่เกิดขึ้น อาทิเช่น
  • ทฤษฎีที่สนใจ และมองว่ามนุษย์มีพฤติกรรมที่ดี คือ ทฤษฎี Y
  • ทฤษฎีที่สนใจแต่Output มองว่ามนุษย์มีพฤติกรรมที่ไม่ดี คือทฤษฎี X
ซึ่งทั้งสองทฤษฎีนี้เป็นของ ดักลาส  แมคเกรเกอร์ (Donglas Mc Gregor) ได้ค้นพบแนวคิด พฤติกรรมองค์การ”  และสรุปว่า กิจกรรมการบริหารจัดการล้วนมีสาเหตุรากฐานมาจากทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์ (Human Behaviors) ซึ่งเป็นไปตามกรอบทฤษฎีและทฤษฎีคือ
           ทฤษฎี X (Theory X)  คือคนประเภทเกียจคร้าน  ในการบริหารจึงควรใช้มาตรการบังคับ  มีระเบียบกฎเกณฑ์คอยกำกับ  มีการควบคุมการทำงานอย่างใกล้ชิด  และมีการลงโทษเป็นหลัก
           ทฤษฎี Y (Theory Y)  คือคนประเภทขยัน  ควรมีการกำหนดหน้าที่การงานที่เหมาะสม  ท้าทายความสามารถ  สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานเชิงบวก  และควรเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการบริหารงาน
           สรุป  Donglas Mc Gregor  เห็นว่าคนมี 2 ประเภท  และการบริหารคนทั้ง 2 ประเภท  ต้องใช้วิธีการบริหารแตกต่างกัน
     และดิฉันคิดว่าคนในโลก  คงไม่มีแค่ 2 ประเภท  แบบทฤษฎี และทฤษฎี เท่านั้น  ประเภทที่มีมากที่สุดน่าจะเป็น ทฤษฎี XY  คือ  บางครั้งขี้เกียจ  บางครั้งขยัน  แต่ขี้เกียจมากกว่าขยัน หรือจะเป็นทฤษฎี YX  คือ  บางครั้งขยัน  บางครั้งขี้เกียจ  แต่ขยันมากกว่าขี้เกียจ  นอกจากนี้ยังพบทฤษฎี คิดว่าคงมีคนประเภทใหม่  แต่จริงๆไปคนละเรื่องคนละแบบกันเลยทฤษฎี คืออะไร?ทฤษฎี Z (Theory Z)  คือ  การบริหารงานแบบญี่ปุ่น  ที่มีลักษณะเด่น 7 ประการ  ได้แก่
           1.  การจ้างงานตลอดชีพ (Lifetime Employment)  การจ้างงานลักษณะนี้  เพื่อให้พนักงานมีความผูกพันกับองค์กร  และมีความรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร  คนที่อยู่ในบริษัท (องค์กร) นานๆ อาจได้รางวัล (reward) เป็นหุ้นของบริษัทด้วย
           2.  การประเมินผลงาน (Evaluation) เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาระดับสูง  ที่จะต้องประเมินผลงานผู้ใต้บังคับบัญชา  และผลงานดังกล่าวจะเกี่ยวกับระบบการจ่ายเงินโบนัส เป็นการให้รางวัลการปฏิบัติงานตามความรับผิดชอบและความสามารถ
           3.  การเลื่อนตำแหน่งแบบช้าๆ (Slow Promotion)  มีความสัมพันธ์กับระบบการจ้างงานตลอดชีพ  และระบบอาวุโส (Seniority System) ซึ่งขึ้นอยู่กับระยะเวลาการปฏิบัติงาน และผลการปฏิบัติงาน
           4.  การทำงานที่ถนัด (Non-Specialized Career Paths) พนักงานจะทำงานตรงกับความถนัด  และความสามารถของตนเอง  ไม่นิยมการสับเปลี่ยนตำแหน่งให้พนักงานได้ทำหน้าที่ต่างๆ ไปเรื่อยๆ (ไม่เห็นด้วยกับ Re-engineering ที่พนักงานจะทำงานหลายๆอย่าง หรือสลับตำแหน่งไปเรื่อยๆ)
           5.  มีการควบคุมแบบไม่เด่นชัด (Implicit Control Mechanism) ใช้มากที่สุด  คือ  มักใช้การควบคุมที่ไม่เป็นทางการ  โดยใช้สมุดคู่มือการปฏิบัติงาน  การให้รายละเอียดหรือการอธิบายการทำงาน  จะใช้วิธีบอกกล่าวมากกว่าเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร
           6.  การร่วมตัดสินใจ (Collective Decision Making) ลักษณะของการบริหารที่มีการร่วมตัดสินใจ  ปรากฏไม่เด่นชัด  ยิ่งถ้าเป็นบริษัทข้ามชาติที่ร่วมทุนด้วยแล้ว  การทำกิจกรรมในลักษณะที่เป็นกลุ่มๆ ยังไม่ค่อยแพร่หลาย
           7.  ความผูกพันทั้งหมด (Wholistic Concern) ผู้บริหารขององค์กรจะเข้าร่วมกิจกรรมโดยรวมไม่บ่อยครั้งมากนัก  ยิ่งถ้าเป็นบริษัทข้ามชาติด้วยแล้วผู้จัดการจะเข้าร่วมกิจกรรมเป็นครั้งคราวเท่านั้น
แต่อย่างไรก็ตาม  การบริหารงานสไตล์ญี่ปุ่น (Theory Z) ก็ยังสร้างความผูกพันในองค์กรสูง  หากเปรียบเทียบกับการบริหารสไตล์อเมริกันการบริหารคงต้องประยุกต์ทฤษฎี Z ให้เข้ากับพฤติกรรมองค์กร  โดยใช้ทฤษฎี X, Y, XY  และ YX    ในการบริหารพฤติกรรมมนุษย์การบริหารยากที่สุดตรงที่ต้องบริหาร คนจากนั้นอาจารย์บรรยายถึง Managerial Grid ที่เป็น Team Management 9.9 คือ Hight Concern for people และ Hight Concern for productionและส่วนที่เป็น Low Concern for people และ Low Concern for production คือ Impoverished Managementนอกจากนี้ FARAX ยังกล่าวถึงการบริหารของผู้นำที่ต้องมีทั้งความสัมพันธ์ มีโครงสร้าง และทันต่อการเปลี่ยนแปลง โดยแบ่งผู้นำออกเป็น 8 ประเภท คือ 1.Laissez fair สบายๆ 2.Idea squirt ความคิดสร้างสรรค์ 3.Nice guy คนดี 4.Bureaucrat เป็นทางการ 5.Gardener คนสวน 6.Transational เปลี่ยนผ่าน 7.Entrepreneur เจ้าของกิจการ 8.Visible ชัดเจนโดย FARAX measurements การวัดผลจาก พฤติกรรมของผู้นำ ความสำคัญของพฤติกรรมของผู้นำ ความสามารถของผู้จัดการ ความต้องการขององค์กร ความมีประสิทธิภาพของหน่วยงาน และต้องมองแบบ 360 องศา คือ หัวหน้า ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ตัวเอง บนภาวะ Change Management ผู้นำมีบทบาทที่สำคัญ ต้องเป็นผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง คือ
  • Partnership มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน
  • Endurability มีความอดทนอดกลั้น
  • Management by objectives : MBO บริหารโดยวัตถุประสงค์
  • Acting as driving force ลงมือปฏิบัติเพื่อขับเคลื่อน
  • Conflict solving คลี่คลายข้อโต้แย้ง
เพราะ ผู้นำ คือ ตัวแทนขององค์กร และการเปลี่ยนแปลง แต่ควรต้องรับฟังความคิดเห็นของพนักงาน และไม่ควรมองข้ามความสำคัญในการชี้แจงให้พนักงานทราบ ควรสร้างช่องทางการสื่อสารที่ดี..........................................................................    

ทดลองส่งค่ะ

นายสิทธิชัย ธรรมเสน่ห์

เรียน ศ.ดร.จิระ หงส์ดารมภ์                 Homework 6

          จากการศึกษาเกี่ยวกับ Leadership in a changing world กับอาจารย์ Mr. Peter Bjork เมื่อเสาร์ที่ 3 สิงหาคม 2550 สรุปได้ดังนี้

          - CCM เป็นองค์กรที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ความช่วยเหลือองค์กร/ธุรกิจด้านการวางกลยุทธ์ และภาวะผู้นำซึ่งก่อตั้งในประเทศสวีเดนเมื่อปี 1993 และเกิดขึ้นในประเทศไทยเมื่อปี 1998

          - มีตัวอย่างโครงการหลากหลายในประเทศไทยที่ CCM ได้จัดทำอาทิ เช่น SMC สวีเดน มอเตอร์,เนสเลท์,โคโค,โจตัน เป็นต้น

  • รูปแบบของผู้นำ ตามทฤษฎีของกริด Managerial Grid เป็นการแบ่งรูปแบบผู้นำ โดยเปรียบเทียบระหว่าง "คน" กับ "งาน"
  1. ผู้นำแบบ Impoverished Managerial (1,1) เป็นผู้นำที่ไม่ทำอะไรเลย (ไม่เอาใจใส่งาน และไม่สนใจคน(ลูกน้อง))
  2. ผู้นำแบบ Country Club Management (9,1) เป็นผู้นำที่เป็นแบบชมรมสโมสร (สนใจ - เอาใจใส่ลูกน้องเป็นพิเศษ แต่ไม่สนใจงาน)
  3. ผู้นำแบบ Authority Obedience (1,9) เป็นผู้นำที่เป็นแบบเผด็จการ (ให้ความสำคัญกับงาน แต่ไม่สนใจลูกน้อง)
  4. ผู้นำแบบ Team Management (9,9) เป็นผู้นำที่เป็นที่ต้องการของทุกองค์กร (ให้ความสำคัญ และใส่ใจทั้งคน(ลูกน้อง)และงาน)
  • สิ่งที่เป็นตัวแปรทำให้โครงสร้าง(Structure)ขององค์กร กับความสัมพันธ์(Relation)ระหว่างหัวหน้ากับลูกน้อง เป็นไปในเชิงบวก/เชิงลบ นั่นคือ ความเปลี่ยนแปลง(Change)

         - รูปแบบของผู้นำ จากข้อมูลฟาแรกซ์ FARAX Profiles

  1. แบบสบายๆ
  2. แบบมีความคิดสร้างสรรค์
  3. แบบเป็นคนดี
  4. แบบเป็นทางการ
  5. แบบเป็นคนสวน
  6. แบบนักบริหารจัดการ
  7. แบบเจ้าของกิจการ
  8. แบบมีความชัดเจน
  • การวัดผลโดยใช้ข้อมูลของ FARAX สามารถวัดสิ่งต่างๆต่อไปนี้

- พฤติกรรมของผู้นำ

ความสำคัญของพฤติกรรมของผู้นำ

ความสามารถของผู้จัดการ

- ความต้องการขององค์กร

- ความมีประสิทธิภาพของหน่วยงาน

  • ความเป็นผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง (Leadership for Change)

มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน

- มีความอดทน อดกลั้น

บริหารโดยยึดวัตถุประสงค์

ลงมือปฏิบัติเพื่อขับเคลื่อน

คลี่คลายข้อโต้แย้ง

  • ภาวะ/ความมุ่งมั่นของผู้บริหารสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลง (Managerial Commitment to the Change Process)

- มีความสม่ำเสมอในคำพูด และการกระทำ

ลงมือปฏิบัติเพื่อขับเคลื่อน

ติดตามความคืบหน้าอย่างกระตือรือร้น

พร้อมและเต็มใจที่จะทนทวนความคิดของตนเอง

  • ทักษะในการดำเนินการ (Implementation Skills)

มีความคงเส้นคงวา

เลือกใช้วิธีที่เหมาะสมให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

แก้ไขผลสะท้อนที่ได้รับกลับมา และทำให้เกิดผล

- วางรูปแบบความรู้สึกร่วมกันในสภาวะทางใจ

  • ปฏิกิริยาต่อการเปลี่ยนแปลง และการปรังปรุง(Human Reactions on Change and Development)

การเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงทำให้เกิดความรู้สึกไม่มั่นคง

- มนุษย์แสวงหาสิ่งที่คาดเดาล่วงหน้าได้

- ความขัดแย้งระหว่างเหตุการณ์ที่คาดเดาได้ และคาดเดาไม่ได้

มีปฏิกิริยาที่เป็นการ หรือเชิงลบต่อการเปลี่ยนแปลงมากกว่าที่จะเน้นไปในเชิงบวก

  • สิ่งที่ควรทำเพื่อจำกัดปฏิหิริยาเชิงลบ (Actions to Limit Negative Reactions)

ชี้แจงล่วงหน้า > มีการประชุมอย่างสม่ำเสมอ

- กล้าพูดทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ

เต็มใจต้อนรับคนที่เข้ามาร่วมกระบวนการเปลี่ยนแปลง

สนับสนุนกิจกรรมภายในกลุ่ม

หลีกเลี่ยงคำสั่งจากฝ่ายบริหาร > ควรมีการพูดคุยถึงข้อคิดเห็นที่แตกต่าง

ยอมรับว่าอาจมีบางคนที่ไม่พอใจ หรืออาจมีอารมณ์อื่นๆ

- มุ่งเน้นไปที่ธุรกิจ ลูกค้า และตลาด

  • บทบาทผู้นำเมื่อปฏิบัติให้เกิดการเปลี่ยนแปลง(The Role of the Leader when Implementing Change)

ผู้นำ คือตัวแทนขององค์กร และการเปลี่ยนแปลง แต่ควรรับฟังความคิดเห็นของพนักงานด้วย

ผู้นำ อาจมองข้ามความสำคัญในการชี้แจงให้พนักงานทราบ

ผู้นำ ควรสร้างช่องทางการสื่อสารที่ดี

          ท้ายสุด >>> ผู้นำควรเอาใจเขา ใส่ใจเรา และควรสร้างความรัก ความศรัทธาให้เกิดขึ้นกับองค์กร และนั่นแหละถึงจะเรียกว่าการมี "ภาวะผู้นำ" ที่ดี

                                                         ขอบคุณครับ

                                                 สิทธิชัย   ธรรมเสน่ห์

นางเครือวัลย์ สมณะ
หัวข้อ “Leadership in a Changing World”บรรยายโดยอาจารย์  Peter Bjork จาก Center for Changing Management (CCM)เมื่อวันที่  4  สิงหาคม  2550 อาจารย์ Peter Bjork  แนะนำตนว่าได้พำนักและทำงานอยู่ในประเทศไทย 9 ปี  สอนหนังสือที่ราชมงคลและยังได้ทำหน้าที่เป็นผู้ประสานงานช่วยเหลือติดต่อกับรัฐบาลสวีเดน (Sweden) เกี่ยวกับการให้ทุนการศึกษาของประเทศสวีเดนแก่นักศึกษาไทย  ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี-ปริญญาโท นับว่าได้ทำประโยชน์ให้แก่วงการศึกษาไทย ต้องขอชื่นชมและขอขอบคุณแทนเด็กไทย นอกจากนี้ยังได้แนะประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจและการเมืองของประเทศสวีเดนให้นักศึกษารับทราบ ภาวะผู้นำ (Leadership) จำเป็นต้องมีวิสัยทัศน์ ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ต้องปรับตัวพร้อมที่จะปรับปรุงเปลี่ยนแปลง และรู้เท่าทันสภาพการณ์ของโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ (Globalization) ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) เทคโนโลยีวัสดุ (Material Science) และนาโนเทคโนโลยี (Nano Technology) ได้พัฒนาอย่างก้าวกระโดด สิ่งแรกผู้นำระดับประเทศต้องกล้าตัดสินใจ ถึงเวลาที่ประเทศไทยจำเป็นต้องยกระดับมาตรฐานการจัดการทุนมนุษย์ให้สอดคล้องและรองรับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกเพื่อประโยชน์ของประเทศไทย ต้องมีนโยบายชัดเจนเกี่ยวกับการค้าในตลาดโลกเพราะปัจจุบันเป็นศตวรรษแห่งเอเชีย ต้องดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในเชิงรุก ต้องแก้ไข ปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบกฎเกณฑ์ต่าง ๆ (Laws and Regulation) ที่ไม่เอื้ออำนวยและเป็นอุปสรรคในการติดต่อซื้อขายกับตลาดโลก ซึ่งมีการแข่งขันสูง ต้องลดขั้นตอนลงเพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน โดยได้ยกตัวอย่างธุรกิจ Low cost airline เช่น สายการบินนกแอร์ แอร์เอเชีย และโทรคมนาคม เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงในยุคสารสนเทศและการสื่อสาร (Information Communication and Technology : ICT) นี้ หากไม่มีการเตรียมตัวที่ดีพร้อมอาจเกิดเหตุการณ์ชั่วข้ามคืน ตลาดหดหายไปได้ถึง 30% จากที่เคยได้ครอบครองตลาดอยู่เดิม  ซึ่งเป็นการแข่งขันกันแบบยากที่จะคาดเดาอนาคตได้ จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการ Regulation หรือเรียกว่า Open up the competition  ดังนั้น บุคลิกและลักษณะความเป็นผู้นำในศตวรรษที่ 21 ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว วิสัยทัศน์และเป้าหมายขององค์กรเพื่อผลประโยชน์และความได้เปรียบขององค์กร  ภาวะผู้นำต้องรู้จักการสร้างศักยภาพของพนักงาน (Team Work) ในทุกระดับให้มีความเข้มแข็งและร่วมมือกันทำงานโดยสร้างและรักษาวัฒนธรรมขององค์กรที่ดีไว้ ความเป็นผู้นำจะต้องรู้จักวิธีการกระตุ้น ผลักดันให้ผู้ใต้บังคับบัญชา (Follower) มีความประพฤติและปฏิบัติตามนโยบายให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดด้วยความเต็มใจอย่างมีจิตสำนึกและมีอุดมการณ์ ผู้นำจะต้องรู้จักการเอาใจใส่ใกล้ชิดกับเพื่อนร่วมงาน เปิดโอกาสตัวเอง สามารถเข้าร่วมกิจกรรมกับลูกน้อง การปรึกษาหารือ พูดคุยกันในกลุ่มย่อย ภายใต้บรรยากาศที่อบอุ่นเป็นกันเอง แบบไม่เป็นทางการน่าจะมีอิทธิพลต่อผู้ใต้บังคับบัญชา  ได้มีโอกาสเรียนรู้ ซึมซับทัศนคติ ความรู้ ความเข้าใจ ประสบการณ์และวัฒนธรรมการทำงานภายในองค์กร ด้วยการสัมผัสโดยตรงน่าจะมีผลและมีอิทธิพลทางด้านจิตใจและกำลังใจให้แก่ลูกน้องมากกว่าการฝึกอบรมที่เป็นทางการ การให้ขวัญและกำลังใจ จะสามารถกระตุ้นให้การทำงานมีประสิทธิภาพและเพิ่มผลผลิตได้อย่างมีประสิทธิผล   อาจารย์ Peter ได้บรรยายและยกตัวอย่าง ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับบุคลิกลักษณะหรือแบบอย่างของผู้นำ (Leadership Style) มาเป็นเวลา 50 ปีแล้ว แต่ในยุโรปมีการวิจัยภายหลัง 25 ปีถัดมา ซึ่งได้สรุปผลลักษณะหรือภาวะของผู้นำแต่ละแบบ มีอิทธิพลต่อคนและผลผลิตอย่างมีความสัมพันธ์กันตามตารางของ  “Managerial Grid” การบริหารจัดการระหว่าง Concern for People กับ Concern Production จะขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ (Relation) กับโครงสร้าง (Structure) และความเปลี่ยนแปลง (Change) โดยมีเอกสารให้ไปศึกษาและทำความเข้าใจ อาจารย์ Peter ได้กล่าวถึง ทฤษฎี Y – X                                Y    =      เป็นคนดีมีความขยันหมั่นเพียร มีความรับผิดชอบสูง จะได้ผลผลิตเพิ่ม                 คนกลุ่มนี้จะเป็นที่ยอมรับนับถือของเพื่อนร่วมงานควรให้เกียรติกัน                                X    =      คนขี้เกียจต้องมีการควบคุม (Control) กำกับดูแลอย่างเคร่งครัดมากขึ้นเราสามารถเปลี่ยนบุคลิกลักษณะของคนให้บังเกิดผลได้ในบางเหตุการณ์ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้นำ (Good Leadership) จะสามารถทราบได้ว่าจะทำอย่างไร ต้องการปัจจัยอะไร จึงจะนำพาองค์ไปสู่ความสำเร็จได้                                ประเภทของผู้นำ Leadership1.       The Visible Leader2.       The Gardener3.       The Entrepreneur4.       The Transaction Leaderข้อมูลจากการทำวิจัยของ FARAX ที่อาจารย์ Peter อ้างถึง การพัฒนาความเป็นผู้นำ (FARAX Leader Development) ตามหลักการของความมีประสิทธิภาพ (FARAX Profiles Criteria) ความเปลี่ยนแปลง (Change) กับโครงสร้าง (Structure) และความสัมพันธ์ (Relation) จากข้อมูล 8 ข้อ คือ1.       Laissez fair  สบาย ๆ2.       Idea squirt   ความคิดสร้างสรรค์3.       Nice Guy     คนดี4.       Bureaucrat   เป็นทางการ5.       Gardener     คนสวน6.       Transactional  เปลี่ยนแปลง7.       Entrepreneur    เจ้าของกิจการ8.       Visible     ชัดเจนบุคลิกลักษณะของผู้นำมีความสัมพันธ์ต่อผลการปฏิบัติงานในองค์กร ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประเภทของผู้นำซึ่งมีอิทธิพลต่อผู้ใต้บังคับบัญชา (Leader and follower)สรุปผลที่ปรากฏในตารางเปรียบเทียบความมีประสิทธิภาพของ FARAX เริ่มตั้งแต่ข้อมูล การวัดผล ขั้นตอนของ FARAX และอีกหลายภาพค่อนข้างเป็นเรื่องความรู้ใหม่สำหรับดิฉัน จึงยังไม่สามารถเข้าใจได้อย่างลึกซึ้งเสมือนหนึ่งจะเป็นพฤติกรรมและวัฒนธรรมการทำงานของผู้นำยุคความเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันเรื่อง “Leadership in a changing world” ข้อมูลดังกล่าวส่วนใหญ่น่าจะเหมาะสมกับกลุ่มคนแถบยุโรปมากกว่ากลุ่มคนในแถบเอเชียซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ อย่างไรก็ตามดิฉันคงต้องศึกษาทำความเข้าใจอีกต่อไป                                                                                                                 โดย  :     เครือวัลย์  สมณะ               8  สิงหาคม  2550
นายปลื้มใจ สินอากร
วิชา Human CapitalLeadership in a Changing worldบรรยายโดย Mr. Peter Bjork วันที่ 4 สิงหาคม 2550Mr. Peter Bjork มาจาก Center for Change Management (CCM) ประเทศสวีเดน        CCM เป็นหน่วยงานที่ให้การสนับสนุนแก่องค์กรที่จัดทำกลยุทธ์ และคุณภาพการทำงาน        CCM จัดตั้งขึ้นที่เมือง Goteborg ประกาศสวีเดนในปี 1993 และในกรุงเทพฯ ประเทศไทย ในปี 1998 ถึงปัจจุบัน 9 ปี (2541)  Triggers of Changes        การกระตุ้นให้มีการเปลี่ยนแปลง-   Law & Reguration กฎหมาย และระเบียบของทางราชการ หรือของท้องถิ่นมีการเปลี่ยนแปลง ผู้นำจะต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งแวดล้อมที่เข้ามา-   Deregulations of Markets มีการเปิดเสรีทางการค้า ผู้นำจะต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง-   Globalization ผู้นำต้องรับรู้การเปลี่ยนแปลงของโลกที่ไร้พรมแดน (Without Borders) การเคลื่อนย้ายของสินค้าผู้คนเดินทางภาษาวัฒนธรรม-   Shorter product life cycle อายุการใช้งานของสินค้ามีอายุการใช้งานสั้น เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีรวดเร็ว เช่น โทรศัพท์มือถือ, รถยนต์ มีลักษณะการใช้งานดีผลิตออกใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา Leadership issues have increased in importance ผู้นำจะต้องมีความสำคัญเพิ่มมากขึ้น -         การสื่อสารให้ผู้ร่วมงานรับรู้เป้าหมาย และ Vision ขององค์กร-   Increase Companies Competitive Advantage ผู้นำจะต้องเพิ่มความสามารถในการแข่งขันที่ได้เปรียบให้แก่บริษัท-   Implementing Organization change and Development ต้องดำเนินการให้มีการเปลี่ยนแปลง และพัฒนาองค์กร-   Influencing and Transforming Employee Need and Attudes ผู้นำจะต้องจูงใจ และเปลี่ยนแปลงความต้องการของผู้ร่วมงานได้-   Creating high performing team at different levels สร้างทีมงานที่มีประสิทธิภาพที่ระดับต่างๆของพนักงาน-   Creating Corporate Values and Culture สร้างความสัมพันธ์ให้ดีมีคุณค่า และมีวัฒนธรรมในกลุ่มการทำงานนอกจากนี้ขอเพิ่มเติมว่าผู้นำที่ดีในการเปลี่ยนแปลง1.     ต้อเลือกคนดีใช้งานให้ตรงกับงานที่ถนัด2.     เปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานได้ใช้ความรู้ความสามารถ3.     บอกให้ผู้ร่วมงานให้ชัดเจนว่าเขามีหน้าที่ทำอะไร4.     ผู้นำต้องเชื่อในการลงทุนด้านการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้ร่วมงาน5.     ผู้นำที่ดีต้องเปิดใจกว้างรับฟังความเห็นของผู้ร่วมงาน6.     ผู้นำต้องรับรู้ปัญหา และอุปสรรคต่างๆที่เกิดทั้งในส่วนตัว และส่วนรวม7.     ผู้นำต้องตรวจสอบความก้าวหน้าขององค์กรเพื่อให้ผู้ร่วมงานรับทราบ8.     ผู้นำต้องให้ขวัญ และกำลังใจแก่พนักงาน
***   การบรรยายวิชาการจัดการทุนมนุษย์ Human Capital Management วันเสาร์ที่ 4 ส.ค. 50 โดย Mr.Peter Bjork เป็นบรรยากาศที่ให้ความรู้สึก Gointer มากๆ  เราได้รับทราบข้อมูลการพัฒนาและการให้ความสำคัญด้านการศึกษา ตลอดจนความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศไทยและประเทศสวีเดนซึ่งเป็นบ้านเกิดของอาจารย์ และยังได้พัฒนาภาษาอังกฤษแบบ Edutainment อีกด้วย *** อาจารย์ Peter บรรยายในหัวข้อ Leadership in a Changing World  ซึ่งทอฟเลอร์ได้ให้ความเห็น ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงของโลกจากคลื่นลูกที่หนึ่งไปสู่คลื่นลูกที่สาม ไว้ดังนี้ ในคลื่นลูกที่หนึ่ง ปัจจัยการผลิตที่สำคัญคือ แรงงาน ส่วนคลื่นลูกที่สอง ปัจจัยการผลิตคือเงินทุน แรงงาน ที่ดิน การประกอบการ ในยุคสังคมสมัยใหม่ของคลื่นลูกที่สาม ปัจจัยสำคัญที่สุดในการสร้างอำนาจให้แก่ประเทศ คือความรู้ซึ่งสามารถถ่ายทอดเชื่อมโยงกันได้ทั่วโลก  ทำให้โลกมีความเชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียวโดยอาศัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทุกคนสามารถรับทราบข้อมูลได้ด้วยคอมพิวเตอร์ ความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโลกปัจจุบันส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ถึงแม้ว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะเกิดผลในด้านการพัฒนา แต่ในขณะเดียวกันก็ได้ก่อให้เกิดปัญหาหลายประการ เช่น อัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็วของประชากรโลก การแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ การทำลายสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ความเสื่อมโทรมจากจิตสำนึก จริยธรรมและค่านิยม  *** Thomas L. Friedman ได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องนี้ไว้ในหนังสือ The World is Flat ว่าเทคโนโลยีซึ่งมีศักยภาพสูงดังกล่าวจะทำงานไม่ได้ผลสูงสุดจนกว่ามนุษย์จะนำมันมาใช้ได้อย่างเหมาะสม นั่นหมายความว่าเราต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานและการบริหารจัดการรวมทั้งการจัดรูปแบบขององค์กรด้วย เพราะงานบางอย่างอาจทำที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องในสำนักงานตัวอย่างเช่นในยุคนี้บริษัทอเมริกันนิยมส่งงานบัญชีไปทำในอินเดียเพราะระบบอินเทอร์เน็ตสามารถส่งข้อมูลจำนวนมากได้ในพริบตา  และชาวอินเดียมีความชำนาญทัดเทียมชาวอเมริกัน แต่คิดค่าจ้างแรงงานเพียงราว 20 % เท่านั้น  ดังนั้นนับวันการแข่งขันจะยิ่งเข้มข้นขึ้นไม่ว่าจะเป็นในด้านแรงงานหรือตัว Product ก็ตาม  *** Thomas L. Friedman ยังได้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมในด้านที่เกี่ยวกับประเทศด้อยพัฒนาว่าประชาชนและผู้นำจำเป็นต้องมองตัวเองให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า สังคมของตนเองมีสภาพเป็นอย่างไรและจะต้องทำอะไรจึงจะอยู่ได้ในโลกของความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วนี้ และในบรรดาสิ่งต่างๆ ที่สังคมด้อยพัฒนาจะต้องปรับเปลี่ยน อาจจัดอยู่ใน 2 หมู่หลักๆ คือนโยบายในระดับรวมและตัวบทกฎหมายในระดับปลีกย่อย  การปรับเปลี่ยนนโยบายระดับรวมมีทั้งทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจซึ่งต้องเป็นระบบประชาธิปไตยประกอบกับตลาดเสรี เนื่องจากระบบทั้งสองนี้มีความบกพร่องน้อยที่สุด  เช่นการปรับเปลี่ยนนโยบายด้านเศรษฐกิจโดยการใช้อัตราแลกเปลี่ยนที่ยืดหยุ่นได้  การขายรัฐวิสาหกิจ หรือการลดกำแพงภาษี เป็นต้น  ดังนั้นสังคมด้อยพัฒนาที่นำเอามาใช้แต่ยังไม่ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์ของมันจะต้องปรับเปลี่ยนทั้งตัวบทกฎหมายและการปฏิบัติให้ตรงตามนั้น ซึ่งมีส่วนสัมพันธ์กับเนื้อหาที่อาจารย์ Peter ได้บรรยายใน Triggers of Changes – Examples : Laws & Regulations, Deregulations of markets  ในสภาพเช่นนี้ คุณภาพของผู้นำมีความสำคัญอย่างยิ่ง สังคมไหนได้ผู้นำที่มีความเข้าใจ มีวิสัยทัศน์ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความสามารถในการบริหารและสร้างศรัทธาของประชาชน สังคมนั้นย่อมมีโอกาสยืนหยัดอยู่ในโลกยุคนี้ได้อย่างดีเยี่ยม ***  ผู้นำจึงมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงโดยผ่านกระบวนการเรียนรู้ Learning Process ซึ่งถือได้ว่าเป็นกุญแจที่จะนำไปสู่ความมั่นคงขององค์กรและประเทศชาติ  ดังนั้นกระบวนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพในการสร้าง Output ที่มีคุณภาพที่สำคัญที่สุดจะเป็นใครไม่ได้นอกจากครู *** แต่สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันจะพบว่า โดยส่วนใหญ่ผู้ที่เข้าศึกษาในสายอาชีพครูคือผู้ที่พลาดจากการเข้าศึกษาต่อในสาขาใดสาขาหนึ่ง หรือไม่มีทางเลือกแล้วจึงมาเรียนในสายอาชีพครู  ดังนั้นในสถาบันที่ผลิตครู  นักศึกษาส่วนใหญ่ก็จะเป็นนักศึกษาที่มีคุณภาพในระดับรองลงมา  เมื่อนักศึกษาเหล่านี้จบออกไปเป็นครูที่เปรียบเสมือนเป็นต้นแบบของเบ้าหลอมที่มีรูปทรงที่ไม่ได้คุณภาพ  ไม่มีความรู้ที่ลึกซึ้งชัดเจนจึงผลิตนักเรียนที่ออกมาไม่มีคุณภาพเหมือนต้นแบบ  และส่งผลกระทบต่อไปเรื่อยๆจนถึงองค์กรและประเทศชาติ  ข้อสนับสนุนอีกประการที่มีส่วนที่ทำให้คนเก่งไม่สนใจในอาชีพครูได้แก่ค่าตอบแทน  ถ้าเปรียบเทียบรายได้ของครูในประเทศไทยกับประเทศที่พัฒนาแล้ว จะพบว่ามีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง จึงส่งผลให้คนเก่งๆ ไม่ให้ความสนใจเข้าศึกษาต่อในสายอาชีพครู  อีกประการหนึ่งระบบการศึกษาเบื้องต้นอ่อนแอและละเลยความสำคัญของการปลูกฝังวิชาพื้นฐาน ได้แก่ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีความสำคัญยิ่งต่อการค้นคว้าและเป็นรากฐานของการสร้างระบบการคิดแบบ Systematic Thinking  เพื่อให้ผู้เรียนมองอะไรอย่างเป็น Logic *** จากผลผลิต Output ได้แก่นักเรียน ในปัจจุบันพบว่าถ้ามองในภาพรวมของคุณภาพเด็กไทยมีความน่าเป็นห่วงมากเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในแถบเอเชีย เช่น สิงคโปร์  เวียดนาม เกาหลี ซึ่งผู้นำประเทศเหล่านี้ได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการพัฒนาด้านการศึกษาล่วงหน้าประเทศไทยไปแล้ว   ดิฉันเห็นว่าระบบการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบันถือได้ว่าอยู่ในขั้นวิกฤติที่รัฐบาลจะต้องให้ความสนใจอย่างจริงจังต่อเนื่องและเป็นวาระแห่งชาติ National Agenda ที่ต้องเร่งดำเนินการ หรือจะต้องรอให้ประเทศเพื่อนบ้านอย่าง ลาว และ กัมพูชา  แซงหน้าประเทศไทยไปก่อนจึงจะคิดแก้ไขอย่างจริงจัง.  *** ขอขอบพระคุณ ศาสตราจารย์ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ที่กรุณาส่งวิทยากรระดับที่เป็น Best Practice มาถ่ายทอดความรู้ให้กับพวกเรา *** ศุภรา  เจริญภูมิ  SUPPARA  CHAROENPOOM ***
นางสาวนพมาศ ช่วยนุกูล
เรียน ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์  การบ้าน PHD 8020 การจัดการทุนมนุษย์ (นพมาศ ช่วยนุกูล)    “Leadership in a changing world : อาจารย์ Peter Bjork   / 4 สิงหาคม 2550  1. ความเป็นผู้นำ  คือ การใช้อิทธิพลต่อผู้อื่นเพื่อให้เกิดความพยายามดำเนินงานให้บรรลุถึงเป้าหมายของกลุ่มหรือองค์กร2. ประเด็นสำคัญของภาวะผู้นำ  ได้แก่ การกำหนดเป้าหมายและวิสัยทัศน์ขององค์กร,  การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันขององค์กร,  การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงองค์กร,  การเปลี่ยนแปลงความต้องการ, ทัศนคติของคนให้อยู่ในทิศทางเดียวกัน,  การสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพ,  และการสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมองค์กร 3. ประเภทของผู้นำ  การนำปัจจัย 3 ประการได้แก่  เรื่องความสัมพันธ์ (Relation)  เรื่องการเปลี่ยนแปลง (Change)  และเรื่องโครงสร้าง (Structure)  เข้ามาจำแนกทำให้เกิดผู้นำประเภทต่าง ๆ รวม 8 ประเภท คือ  Laissez, Idea squirt, Nice guy,  Bureaucrat,  Gardener,  Transactional,  Entrepreneur,  Visible    อย่างไรก็ตาม เรายังอาจพบว่าการแบ่งหรือการจัดกลุ่มประเภทผู้นำนี้ บางตำราก็ใช้ปัจจัย 2 ประการ ได้แก่ คน และงาน มาเป็นตัวจำแนก ซึ่งทำให้ได้ผู้นำ 5 ประเภทคือ 1) ผู้นำแบบไม่เอาไหน คืออ่อนทั้งเรื่องคนและเรื่องงาน  2) ผู้นำแบบงานลูกเดียว คืออ่อนเรื่องคนแต่เน้นเรื่องงาน  3) ผู้นำแบบบันเทิงสโมสร คือเก่งเรื่องคนและอ่อนเรื่องงาน  4) ผู้นำแบบทีม คือเก่งทั้งเรื่องคนและเรื่องงาน  5) ผู้นำแบบครึ่งทาง คือให้ความสำคัญทั้งเรื่องคนและเรื่องงาน 4. การ workshop-instruction โดยการให้ยกตัวอย่างผู้นำคนต่าง ๆ ที่เรารู้จักเพื่อวิเคราะห์ว่าผู้นำแต่ละคนที่กล่าวถึงมีจุดแข็งและจุดอ่อน อย่างไร ใน 3 ประเด็นคือเรื่องความสัมพันธ์ (Relation)  เรื่องการเปลี่ยนแปลง (Change)  และเรื่องโครงสร้าง (Structure)  ซึ่งได้มีการยกตัวอย่าง ได้แก่ นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน เป็นผู้นำที่เป็นคนดี และมีจุดแข็งทั้ง 3 ประการ   ส่วนอดีตนายกรัฐมนตรี(คุณทักษิณ ชินวัตร) มีจุดอ่อนในเรื่องความสัมพันธ์ เป็นต้น 5. คุณสมบัติของผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง ประกอบด้วย 1)การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน (Partnership) 2)ความอดทน (Endurability)    3)การบริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ (MBO)  4)การปฏิบัติเพื่อขับเคลื่อน (Acting as driving force)  5)การคลี่คลายข้อโต้แย้ง (Conflict solving)   อย่างไรก็ตาม  บางครั้งเราจะเห็นได้ว่าคุณสมบัติของผู้นำมีมากมาย ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้บางครั้งก็มีความสำคัญบางครั้งก็ไม่ค่อยสำคัญ  กล่าวคือเราสามารถแบ่งคุณสมบัติของผู้นำตามระดับความสำคัญได้เป็น 1) คุณสมบัติที่จำเป็นต้องมี หรือคุณสมบัติที่สำคัญที่จะต้องมี  2) คุณสมบัติที่ควรต้องมี หรือคุณสมบัติที่พึงปรารถนา  3) คุณสมบัติที่สามารถมีได้ หรือคุณสมบัติที่ช่วยสนับสนุนให้ดีขึ้นแต่ไม่สำคัญมากนัก     6. หลักการสร้างภาวะผู้นำในงานและในชีวิต สามารถนำหลักพรหมวิหาร 4 มาใช้ได้ กล่าวคือ 1) เมตตา คือการอยากให้คนมีความสุขความสำเร็จ  2) กรุณา คือการช่วยให้คนสำเร็จในงาน 3) มุทิตา คือการยินดีเมื่อเขามีความสำเร็จ และ4) อุเบกขา คือกรวางเฉยหรือการตักเตือนเมื่อเขาทำออกนำกรอบงาน เป็นต้น 7. องค์กรที่ประสบความสำเร็จ ผู้นำจะต้องมีประสิทธิภาพ และผู้บริหารที่มีความเป็นผู้นำอาจมีจำนวนน้อย ดังนั้นการพัฒนาหัวหน้างาน หรือระดับอื่น ๆ ให้เป็นผู้นำจึงมีความจำเป็น  อย่างไรก็ตามหัวหน้างานอาจจะมีอำนาจที่เกิดจากตำแหน่ง (Authority)  เพื่อให้สามารถบริหารงานได้ แต่  Authority  อย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการผลักดันงานให้บรรลุผล จึงจะต้องสร้างอำนาจ (Power) จากการเป็นผู้นำด้วย โดยมีปัจจัยพื้นฐานที่เกี่ยวข้องได้แก่ อำนาจจากการให้รางวัล,  อำนาจจากการบังคับ,  อำนาจโดยทางกฎหาย,  อำนาจการอ้างอิง, และอำนาจจากความเชี่ยวชาญ เป็นต้น  
การบ้านครั้งที่ 6เรียนเสาร์ที่ 4 สิงหาคม 2550โดย อาจารย์ Peter Bjork

นักศึกษา นาย พนม ปีย์เจริญ

 

“Leadership in a changing world”

อาจารย์ Peter ได้เล่าเรื่องราวในอดีตถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสวีเดน กับประเทศไทย ตั้งแต่เมื่อ 100 ปี ที่ผ่านมาจนปัจจุบัน ว่าไทยและสวีเดนมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมายาวนานเพียงไร   และได้พูดคุยถึงคำว่า Leadership ว่ามีความหมายอย่างไร และมีบทบาทหน้าที่สำคัญอย่างไรบ้าง

1. Communicating goal and visionsผู้นำต้องมีการสื่อสารถึงเป้าหมายที่จะไปให้ถึงให้คนในองค์กรได้รับทราบรับรู้

 

2. Increasing companies’ competitive advantage ผู้นำต้องมีความสามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์กร

 

3. Implementing organizational change and development  ผู้นำจะต้องทำให้องค์กรมีความเปลี่ยนแปลงไปสู่การพัฒนาที่ดีกว่า

 

4. Influencing and transforming employees needs and attitudesผู้นำต้องมีอิทธิพลในการสร้างทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน  และต่อความต้องการของพนักงานทุกระดับ

 

5. Creating high performing teams at different levels ผู้นำต้องสามารถเป็นผู้สร้างสรรค์ให้ทีมงานมีประสิทธิภาพและความสามารถที่แตกต่างในแต่ละระดับ

 

6. Creating corporate values and culture ผู้นำจะต้องมีส่วนสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี  ตลอดจนช่วยสร้างคุณค่าให้กับการมีส่วนร่วมของ คนในองค์กร

 

อย่างไรก็ตามผู้นำที่ดีนั้นจะต้องเข้าใจบทบาทในแต่ละช่วงขณะ  กล่าวคือเมื่อเป็นผู้นำก็ต้องเป็นผู้นำที่ดี     และทรงประสิทธิภาพ   และเมื่อต้องเป็นผู้ตามก็ต้องรู้จักการเป็นผู้ตามที่ดีเช่นเดียวกัน

ED COHEN เขียนไว้ในหนังสือ   Leadership without borders ” หรือผู้นำไร้พรมแดนว่า    ผู้นำระดับโลก มีหน้าที่ที่จะต้องสร้างให้ทุกคนเป็นผู้นำให้มากขึ้น พร้อมทั้งได้พูดถึงลักษณะของผู้นำที่ดีว่าควรจะมีคุณสมบัติที่ดีอย่างไรบ้าง

 ดังนั้นผู้นำที่ดีของ  ED COHEN   จึงต้องมีคุณสมบัติดังนี้

 

1. เปิดรับประสบการณ์ใหม่ เพราะโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว  พร้อมที่จะให้เราได้เรียนรู้ตลอดเวลาเพื่อเป็นการปรับตัวให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงเราจึงเรียนรู้สม่ำเสมอ   เพื่อตั้งรับประสบการณ์ใหม่ๆที่ถาโถมเข้ามาอย่างไม่ขาดสาย

 

2. อยากรู้อยากเห็นเรื่องใหม่ๆในโลก   เพราะโลกแห่งการแข่งขันย่อมต้องรู้เขารู้เรา มิฉะนั้น เราจะไม่สามารถรับมือคู่แข่งได้ทันท่วงที

 

3. มีพลังในการกระตุ้นลูกน้องตลอดเวลา   ผู้นำต้องมีศักยภาพพอในการที่จะกระตุ้นให้คนอื่น กระตือรือร้นที่จะปรับตัวตามสถานการณ์และตามผู้นำ             ให้ทัน มิฉะนั้น จะไม่สามารถวิ่งตามความเปลี่ยนแปลงของโลกได้ทัน ที่สำคัญแทนที่ลูกน้อง จะเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนการทำงานก้าวไปข้างหน้าของผู้นำ  จะกลับกลายเป็นฉุดรั้งการก้าวไปข้างหน้าอันจะ เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้เสียเปรียบในการแข่งขัน

 

 

4. จะต้องฟังและเรียนรู้ตลอดเวลา   ผู้นำที่ดีจะต้องฟังคนรอบข้างในทุกระดับเพราะข้อมูลจากทุกด้าน ทุกระดับ จะทำให้เราสามารถวิเคราะห์   และเรียนรู้ปัญหาได้ลุกซึ้ง อันจะเป็นส่วนช่วยให้เราสามารถตัดสินใจได้อย่างแม่นยำและถูกต้อง

 5. ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง   ผู้นำต้องตระหนักอยู่เสมอว่า ทุกนาทีที่โลกหมุน ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา   ผู้นำต้องไม่ติดกับอยู่กับความสำเร็จเก่าๆ ข้อมูลเก่าๆ ความเชื่อเก่าๆ แนวคิดเก่าๆ กลยุทธ์เก่าๆ  อันจะเป็นหลุมพรางที่จะทำให้เราจมปลักอยู่กับวังวนเดิมๆที่ไม่สามารถปรับตัวได้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงอันจะทำให้เราถูกมองว่าเป็นคนหลงยุค

 

 

6. ต้องถามให้ตรงประเด็นและถามมีสาระ คำตอบที่ดีมาจากคำถามที่ตรงประเด็นและถูกต้อง   ผู้นำจึงต้องถามให้ตรงประเด็น เราจึงจะได้คำตอบตรงความต้องการ

  7. มีนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์

      ผู้นำต้องรู้จักคิดนอกกรอบ ( Think out of the  box ) ต้องเอาตัวเองออกจากกล่องเป็นคนแรก  เพื่อให้ได้แนวคิดมุมมองที่กว้างไกลออกไป ไม่อยู่ในวังวนที่ซ้ำซากจำเจที่สำคัญผู้นำต้องคิดเสมอว่า คำตอบที่ถูกในวันนี้ อาจเป็นคำตอบที่ผิดในวันหน้า และคำตอบที่          ผิดในวันนี้ อาจเป็นคำตอบที่ถูกในวันข้างหน้า เช่นเดียวกัน”  เมื่อเวลาเปลี่ยน เงื่อนไขก็เปลี่ยน  สถานการณ์ก็ย่อมเปลี่ยนเป็นธรรมดา   ผู้นำจึงหยุดคิดไม่ได้ เพราะหยุดก็เท่ากับถอยหลังเพราะคู่แข่งเราเขาไม่ได้หยุดไปด้วย

 

8. มีความมั่นใจในตนเอง    ผู้นำที่ดีจะสร้างความมั่นใจให้ผู้อื่นนั้น บันไดก้าวแรกต้องเริ่มต้นจากความมั่นใจในตนเองเสียก่อน  ถ้าตนเองไม่มั่นใจในตนเอง  จะให้ใครมามั่นใจในตัวเองได้ ผู้นำจึงต้องกล้าตัดสินใจ กล้ารับผิดชอบ ผลของการตัดสินใจ ไม่ว่าจะประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลว   แต่ความมั่นใจจะเกิดขึ้นได้ในตัวผู้นำก็ต่อเมื่อ ผู้นำต้องมีความรู้มากพอ...ข้อมูลมากพอ...อำนาจการ  ตัดสินใจและอำนาจในการต่อรองมากพอ... ฯลฯ

  9. จะต้องติดตามผลลัพธ์ที่ได้และต้องศึกษาเรียนรู้ว่าดีหรือไม่ดีอย่างไร                 ผู้นำจะต้องติดตามประเมินผล สิ่งที่ตัวเองคิดตัดสินใจ และทำลงไป ว่าได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นเช่นไร พร้อมทั้งเรียนรู้ข้อดี ข้อผิดพลาดและนำกลับมาแก้ไขต่อไปในโอกาสข้างหน้า

 

 

ในแนวคิดของผมนั้น นอกเหนือจากสิ่งที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ผมคิดว่าผู้นำคือ ผู้ที่สามารถทำกระบวนการสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นทำงานหนัก เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่เราต้องการ

           โดยที่ผู้นำที่จะทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ได้ 

 ผู้นำจะต้องมี 4 ลักษณะ ดังนี้

1. Provide Direction

             ผู้นำที่ดีต้องสามารถหยั่งรู้ทิศทางที่ถูกต้องและบอกทิศทางที่ดีที่สุดให้สมาชิกในทีมได้เดินไปในเป้าหมายที่ดีที่สุด

 

2. General Trust

             ผู้นำต้องสร้างความเชื่อถือศรัทธา ตลอดจนเป็นต้นแบบที่ดีกับสมาชิกผู้เกี่ยวข้อง

3. Proactive             ผู้นำต้องรู้จักทำงานเชิงรุก มีความกระตือรือร้นในการทำงาน...มองการไกลและต้องสามารถคาดหวังได้   แม่นยำ...มีการวางแผนงานล่วงหน้า พร้อมทั้งหาทางออกไว้ล่วงหน้าด้วย ว่าถ้าพบอุปสรรคแล้ว จะตัดสินใจหาทางออกหรือมีทางเลือกอื่นได้กี่หนทาง อย่างไร 4. Purveyors of Hope             ผู้นำต้องมีความหวังในหัวใจ พร้อมทั้งมองเห็นโอกาสที่ดีที่คนอื่นมองไม่เห็น และนำความหวังนั้นมาเป็น แรงกระตุ้นให้กับตนเองและสมาชิกในองค์กรให้เกิดแรงบันดาลใจ

 

นอกจากนั้นผู้นำยังจะต้องมีคุณสมบัติที่พร้อมจะสร้างทีมงานให้มีศักยภาพและสมรรถนะสูง  พอกับการแข่งขัน ในโลกแห่งการแข่งขันที่รออยู่ข้างหน้า

  1. Organization ability             มีความรอบรู้ลักษณะของคนในองค์กร ( People ) ลักษณะของงานในองค์กร ( Task ) และลักษณะขององค์กร ( Organization ) เป็นอย่างดี

2. Direction and leadership

             มีความสามารถในการนำหรือบังคับบัญชา หรืออำนวยการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ตลอดจนแบบอย่างที่ดีของผู้ตามในองค์กร

 3. Facilitating group decision making              เป็นผู้สนับสนุน อำนวยความสะดวกในการตัดสินใจของกลุ่ม          4. Motivation             ผู้นำต้องเป็นกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการทำงานหนัก และทุ่มเทเพื่อความสำเร็จขององค์กร          5. Conflict resolution 

          ผู้นำต้องมีความสามารถในการประสานความขัดแย้งในทีมเพื่อให้เกิดพลังแห่งความสามัคคี อันจะทำให้ทีมมีความพร้อมในการเผชิญอุปสรรคและปัญหา

 6. Team unification             ผู้นำต้องมีความสามารถในการสร้างความเป็นเอกภาพของทีม

 

7. Visibility and access ability             ผู้นำต้องมีความสามารถในการมองการไกล ละเข้าถึงงานในส่วนต่างๆได้ดี

 

8. Top management linkage             ผู้นำต้องสามารถจัดการและเชื่อมโยงระหว่างผู้บริหารในระดับสูง หรือมีการเชื่อมโยงในลักษณะมีความสัมพันธภาพที่ดีกับผู้บริหาร

 

นอกจากนั้นแล้ว ผู้บริหารจะต้องมีความรู้  เชิงสหวิทยาการอันจะมีอิทธิพลต่อการสร้างกลยุทธ์ทางการบริหาร   อาทิความรู้ด้านต่างๆ ดังนี้

 

 1. องค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการ ( Management )

              ผู้นำต้องสามารถออกแบบระบบบริหารจัดการองค์กรให้มีความกะทัดรัด คล่องตัว รวดเร็ว เพื่อให้สอดคล้อง กับสถานการณ์

2. องค์ความรู้ด้านการตลาด ( Marketing )              ผู้นำต้องมีความสามารถในการช่วยระดมความคิดเพื่อสร้างความพึงพอใจ ให้กับลูกค้าภายใต้กรอบ 4 P.                   2.1 Price        = ราคา                   2.2 Place       = สถานที่ตั้ง / ช่องทางการจำหน่าย                   2.3 Promotion = การส่งเสริมการตลาด

                   2.4 Product    = ผลิตภัณฑ์

 3. องค์ความรู้ด้านการบริหารการบัญชี ( Accounting )

              ผู้นำต้องรู้จักการสร้างข้อมูลข่าวสารทางการเงิน เพราะกลยุทธ์ทางการบริหารเกือบทุกด้านจึงเป็นต้องพึ่ง          พาข้อมูลข่าวสารทางการเงิน ซึ่งเกิดจากระบบบัญชีที่ดีขององค์กร

 

 4. องค์ความรู้ด้านการบริหารการเงิน ( Financial )

              ผู้นำต้องสามารถวิเคราะห์จุดอ่อน จุดแข็ง ทางด้านการเงินขององค์กรได้ถูกต้องโดยฝึกอบรมเรื่องการเงินสำหรับนักบริหารหรือผู้นำที่ไม่ใช่ผู้จัดการฝ่ายการเงินเพื่อให้นักบริหาร

 

 5. องค์ความรู้ด้านการผลิต ( Production )              ผู้นำต้องเรียนรู้เพื่อมุ่งเน้นการวางแผน,การควบคุมการผลิต เพื่อทำให้ต้นทุน งบประมาณ อยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม

 

6. องค์ความรู้ด้านการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ( Human Resource )              ผู้นำต้องมุ่งเน้นไปสู่การทำให้บุคลากรขององค์กรเป็นบุคคลที่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและหน้าที่ ตามภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากองค์กร   เพราะการกำหนดกลยุทธ์ใดๆจะไความหมาย ถ้าบุคลากรขาดประสิทธิภาพ โดยมิได้มีการพัฒนาให้มี    คุณภาพอยู่เสมอ

 

7. องค์ความรู้ด้านสภาพแวดล้อมทางการบริหารโดยเฉพาะสภาพแวดล้อมภายนอก (  External Environment )

              เป็นองค์ความรู้ที่มุ่งเน้นให้ผู้นำติดตามและตระหนักถึงปัญหาปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ที่รายล้อมองค์กรอยู่และ        อยู่นอกเหนือการควบคุมแต่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินการ เช่น สภาวะแปรผันทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง

  ผู้นำหรือนักบริหารองค์กร จะสร้างกลยุทธ์ทางการบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลก็ต่อเมื่อ  ผู้นำหรือนักบริหารมีความรู้  แบบสหวิทยาการ ดังที่กล่าวมา        เพราะเมื่อผู้นำมีกลยุทธ์ทางการบริหารที่มีประสิทธิภาพก็จะส่งผลให้องค์กรเจริญเติบโต ( Growth ) อย่างมีเสถียรภาพ ( Stability ) ตลอดจนมีความยั่งยืน     ยาวนาน ( Sustainability )  ตลอดไป 

พนม ปีย์เจริญ

 Mr.Panom Peecharoen

 

           

 

 

 

 

 

 

         

 

 
  

 

 

 

 

 
Leadership in a changing world วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม 2550                  CCM (Center for Change Management) เป็นองค์กรที่สนับสนุนธุรกิจด้านการวางกลยุทธ์ ซึ่ง CCM ก่อตั้งที่ประเทศสวีเดนในปี ค.ศ.1993 มีตัวอย่างโครงการ อาทิ อิริคสัน มอนนิลลินซ์ ซาป วัตเดินฟอล ทีเลีย และสำนักงานอียู สำหรับในประเทศไทย CCM ก่อตั้งในปี ค.ศ.1998 มีตัวอย่างโครงการ อาทิ สวีเดนมอเตอร์ เนสเล่ท์ ไทยลิฟท์ เทราภัค และโจตัน                แรงกระตุ้นของการเปลี่ยนแปลง มีดังนี้ 1) กฎหมายและกฎระเบียบ 2) ลดการผูกขาด 3) กระแสโลกาภิวัตน์ 4) วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ที่สั้น การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้องค์กรต้องมีการปรับตัวอยู่ตลอดเวลา โดยการปรับตัวขององค์กรนั้น ผู้นำ เป็นผู้ที่สำคัญที่สุดในการที่จะนำไปในทิศทางที่ถูกต้อง ซึ่งผู้นำในศตวรรษที่ 21 นี้จะต้องมีการบริหารจัดการแบบไม่เป็นทางการ ต้องมีการปรับตัวตามสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอนตลอดเวลาผู้นำ (ฟาริดา   อิบราฮิม, 2537)   เป็นการใช้อำนาจกับผู้อื่นให้เกิดการปฏิบัติเพื่อความริเริ่มของกลุ่ม   เกิดผลงานตามเป้าหมายผู้นำ (Greenberg  and  Baron, 1995) เป็นความสามารถที่มีอิทธิพลต่อสมาชิกภายในกลุ่ม  ทำให้บรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้     ซึ่งแหล่งที่มาของอิทธิพลมาจากตำแหน่งหน้าที่ภายในองค์การหรือภายนอกองค์การดังนั้นภาวะผู้นำเป็นการมีปฎิสัมพันธ์ที่ไม่หยุดนิ่งของกระบวนการ 4 อย่าง ที่มีความเกี่ยวเนื่องและมีอิทธิพลต่อกัน  ได้แก่ ผู้นำ  (Leaders) ผู้ตาม  (Follows)  สภาพแวดล้อมขององค์กร (Organizational Context) และวัฒนธรรมค่านิยมของสังคม (Culture and Values of the Society) อันนำไปสู่การบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายจากการวิจัยลักษณะผู้นำเมื่อประมาณ 50 ปีที่ผ่านมา ทำให้เกิดทฤษฎีพฤติกรรมผู้นำ หลากหลายทฤษฎี ได้แก่1. Managerial Grid (Blake and  McCanse ,1991) กล่าวว่า ภาวะผู้นำที่ดีมีปัจจัย 2 อย่างคือ คน (People) และผลผลิต (Product) โดยกำหนดคุณภาพและลักษณะสัมพันธภาพของคนเป็น 1 – 9 และกำหนดผลผลิตเป็น 1 – 9 เช่นกัน และสรุปว่าถ้าคนมีคุณภาพสูงจะส่งผลให้ผลผลิตมีปริมาณและคุณภาพสูงตามไปด้วย เรียกรูปแบบนี้ว่า Nine-Nine Style (9, 9 style) ซึ่งรูปแบบของการบริหารแบบตาข่ายนี้จะแบ่งลักษณะเด่นๆ ของผู้นำไว้ 5 แบบ คือ (1)  แบบมุ่งงาน (Task–Oriented/Authority Obedience) แบบ 9,1 ผู้นำจะมุ่งเอาแต่งานเป็นหลัก (Production Oriented) สนใจคนน้อย  มีพฤติกรรมแบบเผด็จการ  จะเป็นผู้วางแผนกำหนดแนวทางการปฏิบัติ   และออกคำสั่งให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตาม  เน้นผลผลิต   ไม่สนใจสัมพันธภาพของผู้ร่วมงาน  ห่างเหินผู้ร่วมงาน                                (2)  แบบมุ่งคนสูง  (Country  Club Management)  แบบ 1,9 ผู้นำจะเน้นการใช้มนุษยสัมพันธ์และเน้นความพึงพอใจของผู้ตามในการทำงาน  ไม่คำนึงถึงผลผลิตขององค์การ   ส่งเสริมให้ทุกคนมีความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวใหญ่ที่มีความสุข  นำไปสู่สภาพการณ์สิ่งแวดล้อมและงานที่น่าอยู่      จะมุ่งผลงานโดยไม่สร้างความกดดันแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา  โดยผู้บริหารมีความเชื่อว่า บุคลากรมีความสุขในการทำงาน  การนิเทศในการทำงานควรมีเพียงเล็กน้อยไม่จำเป็นต้องมีการควบคุมในการทำงาน  ลักษณะคล้ายการทำงานในครอบครัวที่มุ่งเน้นความพึงพอใจ  ความสนุกสนานในการทำงานของผู้ร่วมงาน   เพื่อหลีกเลี่ยงการต่อต้านต่างๆ                                (3)  แบบมุ่งงานต่ำมุ่งคนต่ำ  (Impoverished Management) แบบ 1,1 ผู้บริหารจะสนใจคนและสนใจงานน้อยมาก ใช้ความพยายามเพียงเล็กน้อยเพื่อให้งานดำเนินไปตามที่มุ่งหมาย และคงไว้ซึ่งสมาชิกภาพขององค์การ ผู้บริหารมีอำนาจในตนเองต่ำ มีการประสานงานกับผู้ใต้บังคับบัญชาน้อยเพราะขาดภาวะผู้นำ และมักจะมอบหมายให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำเป็นส่วนใหญ่                                 (4)  แบบทางสายกลาง  ( Middle   of The  Road Management)  แบบ 5,5 ผู้บริหารหวังผลงานเท่ากับขวัญและกำลังใจของผู้ปฏิบัติงาน  ใช้ระบบราชการที่มีกฎระเบียบแบบแผน  ผลงานได้จากการปฏิบัติตามระเบียบ  โดยเน้นขวัญ  ความพึงพอใจ  หลีกเลี่ยงการใช้กำลังและอำนาจ  ยอมรับผลที่เกิดขึ้นตามความคาดหวังของผู้บริหาร  มีการจัดตั้งคณะกรรมการในการทำงานหลีกเลี่ยงการทำงานที่เสี่ยงเกินไป  มีการประนีประนอมในการจัดการกับความขัดแย้ง  ผู้ร่วมงานคาดหวังว่าผลประโยชน์มีความเหมาะสมกับการปฏิบัติงานที่ได้กระทำลงไป                (5)  แบบทำงานเป็นทีม (Team   Management ) แบบ 9,9   ผู้บริหารให้ความสนใจทั้งเรื่องงานและขวัญกำลังใจผู้ใต้บังคับบัญชา   คือ ความต้องการขององค์การและความต้องการของคนทำงานจะไม่ขัดแย้งกัน  เน้นการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ     บรรยากาศในการทำงานสนุก   ผลสำเร็จของงานเกิดจากความรู้สึกยึดมั่นของผู้ปฏิบัติในการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิก  สัมพันธภาพระหว่างผู้บริหารกับผู้ตาม เกิดจากความไว้วางใจ  เคารพนับถือซึ่งกันและกัน   ผู้บริหารแบบนี้เชื่อว่า  ตนเป็นเพียงผู้เสนอแนะหรือให้คำปรึกษาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาเท่านั้น  อำนาจการวินิจฉัยสั่งการและอำนาจการปกครองบังคับบัญชายังอยู่ที่ผู้ใต้บังคับบัญชา  มีการยอมรับความสามารถของแต่ละบุคคล  ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน2. Theory X  and Theory  Y ของ Douglas McGregor   Theory X  พื้นฐานของคน คือ ไม่ชอบทำงาน  พื้นฐานคนขี้เกียจ  อยากได้เงิน  อยากสบาย เพราะฉะนั้นบุคคลกลุ่มนี้จำเป็นต้องคอยควบคุมตลอดเวลา  และต้องมีการลงโทษมีกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด                Theory  Y  เป็นกลุ่มที่มองในแง่ดี  มีความตระหนักในหน้าที่ความรับผิดชอบ เต็มใจทำงาน  มีการเรียนรู้  มีการพัฒนาตนเอง  พัฒนางาน  มีความคิดสร้างสรรค์  และมีศักยภาพในตนเอง                3. Theory Z ของ William Ouchi  เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนมีความคิดสร้างสรรค์และความดีอยู่ในตัว ควรเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานได้มีส่วนร่วมในการพัฒนางาน  และมีการกระจายอำนาจไปสู่ส่วนล่าง (Decentralization) และพัฒนาถึงคุณภาพชีวิต    ผู้นำเป็นเพียงผู้ที่คอยช่วยประสานงาน  ร่วมคิดพัฒนาและใช้ทักษะในการอยู่ร่วมกัน4. Transformational  Leadership  Theory ของเบิร์นส์ ซึ่งสรุปลักษณะผู้นำเป็น 3 แบบ ได้แก่1.       ผู้นำการแลกเปลี่ยน (Transactional  Leadership)  ผู้นำที่ติดต่อกับผู้ตามโดยการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน และสิ่งแลกเปลี่ยนนั้นต่อมากลายเป็นประโยชน์ร่วมกัน  ลักษณะนี้พบได้ในองค์กรทั่วไป เช่น ทำงานดีก็ได้เลื่อนขั้น  ทำงานก็จะได้ค่าจ้างแรงงาน และในการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรมีข้อแลกเปลี่ยนกับชุมชน เช่น ถ้าตนได้รับการเลือกตั้งจะสร้างถนนให้  เป็นต้น2.       ผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Transformational  Leadership)  ผู้นำที่ตระหนักถึงความต้องการของผู้ตาม พยายามให้ผู้ตามได้รับการตอบสนองสูงกว่าความต้องการของผู้ตาม  เน้นการพัฒนาผู้ตาม  กระตุ้นและยกย่องซึ่งกันและกันจนเปลี่ยนผู้ตามเป็นผู้นำ  และมีการเปลี่ยนต่อๆกันไป เรียกว่า Domino  effect ต่อไปผู้นำการเปลี่ยนแปลงก็จะเปลี่ยนเป็นผู้นำจริยธรรม ตัวอย่างผู้นำลักษณะนี้ ได้แก่  ผู้นำชุมชน3.       ผู้นำจริยธรรม (Moral  Leadership) ผู้นำที่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ตาม  ซึ่งผู้นำจะมีความสัมพันธ์กับผู้ตามในด้านความต้องการ (Needs) ความปรารถนา (Aspirations) ค่านิยม (Values) และควรยึดจริยธรรมสูงสุด คือ ความเป็นธรรมและความยุติธรรมในสังคม  ผู้นำลักษณะนี้มุ่งไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ตอบสนองความต้องการ และความจำเป็นอย่างแท้จริงของผู้ตาม  ตัวอย่างผู้นำจริยธรรมที่สำคัญ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ท่านทรงเป็นนักวางแผนและมองการณ์ไกล นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง  เช่น โครงการอีสานเขียว โครงการน้ำพระทัยจากในหลวง  โครงการแก้มลิง เป็นต้น ผู้นำจึงต้องมีทักษะ (Skill)   เป็นความชำนาญของบุคคลในการทำกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ (ไขแสง , 2536)1.  ความสามารถพื้นฐานเกี่ยวกับ ความรู้ ทัศนคติ และทักษะเฉพาะพฤติกรรม เพื่อสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ที่ผู้นำต้องเผชิญ ประกอบด้วย การรู้จักตนและการประเมินตนเอง (Self  awareness  and  self  evaluation  skills) การพูดและการสื่อสาร (Communication) พฤติกรรมการแสดงออกที่เหมาะสม (Assertiveness)  เทคนิคการบริหารเวลา (Time management)2.                   ความสามารถในการประยุกต์ความสามารถส่วนบุคคลในการเกี่ยวข้องกับบุคคล ได้แก่ การบริหารจัดการ และการจัดการทรัพยากรมนุษย์  เช่น การจูงใจ การแก้ไขความขัดแย้ง  การจัดการความเครียด  การใช้อำนาจและการให้อำนาจ  การให้อิสระและการสั่งงาน  การพัฒนาการศึกษา การฝึกอบรม และการติชม 3.       การประสานความร่วมมือ (Collaboration)4.       การใช้กระบวนการวิจัย5.       การเผยแพร่ข้อมูล6.       การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ7.       การเปลี่ยนแปลง8.       การเป็นตัวแทน (Representation)9.      การเป็นแบบอย่าง (Role  model) ความเป็นผู้นำเชิงเป้าหมาย (Transactional   Leadership)  หมายถึง  การที่ผู้นำชี้แนะหรือจูงใจให้ผู้ตามปฏิบัติตามเป้าหมายที่กำหนด  โดยระบุความชัดเจนด้านบทบาท  โครงสร้างงานและสิ่งที่ต้องการจากงานซึ่งจะแลกเปลี่ยนกันด้วยสิ่งตอบแทนที่ผู้ตามต้องการ เพื่อเป็นแรงผลักดันให้งานบรรลุจุดมุ่งหมายตามที่คาดหวังไว้ แบสส์ได้เสนอแนวทาง 2 ประการ ในการแสดงความเป็นผู้นำเชิงเป้าหมาย1.   การให้รางวัลตามสถานการณ์ (contingent  reward)2.   การจัดการโดยยึดกฎระเบียบ (management  by exception)การแยกผู้นำเชิงปฏิรูป และผู้นำเชิงเป้าหมาย  แยกที่ความสามารถในการกระตุ้นให้ผู้ตามเกิดสติปัญญา  รู้จักคิดแก้ปัญหาเก่าในแนวทางใหม่  มีความคิดสร้างสรรค์  มีโลกทัศน์ที่กว้างไกลในการทำงาน เพราะผู้นำเชิงปฏิรูปจะไม่ยินดีกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและพยายามที่จะหาวิถีทางใหม่ในการทำงาน  เพื่อให้งานประสบความสำเร็จมากที่สุดเท่าที่โอกาสจะอำนวยให้เขาทำได้  ในขณะที่ผู้นำเชิงเป้าหมายยังคงให้ความสำคัญอยู่กับการคงสภาพของระบบการทำงานในปัจจุบันต่อไป  เพื่อให้งานสำเร็จไปแบบวันต่อวัน  มั่นคง  และไม่เสี่ยง                การวัดผลจากพฤติกรรมผู้นำ ความสำคัญของพฤติกรรมผู้นำ ความสามารถของผู้บริหาร ความต้องการขององค์กร ความมีประสิทธิภาพของหน่วยงานต้องมองแบบ 360 องศา คือ ผู้บังคับบัญชา ผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน และตนเอง โดยมองบนหลักการของการบริหารการเปลี่ยนแปลง ผู้นำที่มีบทบาทต้องเป็นผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง คือการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน มีความอดทนอดกลั้น บริหารโดยยึดวัตถุประสงค์ ลงมือปฏิบัติเพื่อขับเคลื่อน และคลี่คลายข้อโต้แย้ง ซึ่งผู้นำที่ดีต้องยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้ใต้บังคับบัญชา และควรให้ความสำคัญกับการสื่อสารทั่วทั้งองค์กร
นางสาวญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา
การบ้านครั้งที่ 6  :  วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม 2550อาจารย์ PETER BJORK : เรื่อง: Leadership in A Changing World.........           ศูนย์การบริหารการเปลี่ยนแปลง Center for Change Management หรือ CCM สนับสนุนการพัฒนาด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติงานตลอดจนกลยุทธ์ในการนำไปปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จสู่องค์กรนั้น ต้องศึกษาว่า ความหมายของการนำ และภาวการณ์นำของผู้นำนั้นเป็นอย่างไร ตลอดจนรูปแบบการบริหารงานของผู้นำ  ในประเทศไทยได้มีการนำโครงการที่ประสบความสำเร็จ ที่ได้เข้าร่วมในโครงการของ Center for Change Management หรือ CCMอาทิ บริษัทเนสเลท์, สวีเดน มอเตอร์, เตตร้าแพ็ค (บริษัทผลิตบรรจุภัณฑ์ เช่น กล่องใส่นมสดพาสเจอร์ไรซ์ : ไม่ใช่บ.เทราภัคนะคะ) , บริษัทสีโจตัน ซึ่งองค์กรเหล่านี้ก็มีการทำ Change Management ในเรื่องเกี่ยวกับ กฎหมาย, โลกาภิวัตน์, การเปลี่ยนแปลงของอายุวัฏจักรวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์อันสั้น ทำให้เราต้องให้ความสนใจมากขึ้น ก็จะช่วยให้องค์กรมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ช่วยเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนทำงาน ตลอดจนวัฒนธรรมองค์กรและคุณค่าขององค์กรที่สูงขึ้น และให้ความสำคัญกับเรื่องภาวะผู้นำมากขึ้นการจัดการธุรกิจในสภาพปัจจุบันมีการใช้หรือนำแนวคิดธุรกิจและเครื่องมือ การจัดการธุรกิจใหม่ๆ เข้ามาดำเนินการ แต่สิ่งที่มีส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจตามสิ่งใหม่ๆนั้นจะขึ้นอยู่กับผู้นำองค์การ ที่จะใช้ภาวะผู้นำได้ดีมากน้อยเพียงใด  มีนักทฤษฎีด้านภาวะผู้นำชั้นนำ 5 ท่านคือ ดรักเกอร์ เบนนิส เซนเก้ โควีย์และคอลลินส์ ได้ให้แนวความคิดที่หลากหลาย และจากตัวอย่างของแจ็ค เวลซ์ โมเดลภาวะผู้นำแบบ 4E’s ของแจ็คเวลซ์
             ธุรกิจที่มาจากบริษัทตะวันตกในเรื่องภาวะผู้นำ ตัวอย่างของแจ็ค เวลซ์ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทจีอี หรือ General Electric ซึ่ง เครมส์ (2005) ได้สรุปไว้ในหนังสือ Jack Welch and the 4E’s of Leadership โดยนัยสำคัญของ โมเดลภาวะผู้นำแบบ 4E’s สรุปให้เห็นถึงหัวใจ 4 อย่างใน 4Eคือ
             -พลัง (Energy) เวลซ์บอกว่า คนที่มีพลังที่รักจะ ไป ไป ไปหรือมุ่งไปข้างหน้า อย่างที่เร็วกว่าคนอื่น เพราะในโลกใบนี้มีคนที่วิ่ง 95 ไมล์ต่อชั่วโมงในขณะที่โลกหมุนเร็วเพียง 55 ไมล์ต่อชั่วโมง
             -ผู้เติมพลัง (Energizers) ผู้นำธุรกิจแบบ 4E นี้ จะรู้วิธีว่าจะจุดพลังคนอื่นให้ทำงานได้อย่างเหมาะสมให้เกิดขึ้นได้อย่างไร ซึ่งจะทำได้ก็โดยการวางวิสัยทัศน์และสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นทำตามวิสัยทัศน์และจะละตนเองจากรางวัลแห่งผลสำเร็จโดยให้เครดิตกับคนอื่นๆ เมื่อผลงานนั้นได้เดินมาถูกต้อง แต่จะกระโจนเข้ารับผิดชอบอย่างทันทีเมื่อสิ่งนั้นไปคนละทิศละทาง
              -สุดขอบ (Edge) คือ รูปแบบของการแข่งขันกับคู่แข่งที่เข้มแข็ง ผู้นำธุรกิจแบบนี้ไม่ใช่คนที่ลังเลจะทำอะไร ซึ่งดรักเกอร์เรียกสิ่งนี้ว่าการตัดสินใจต่อชีวิตและความตาย” (Life and Death Decisions) คือ การว่าจ้าง การเลื่อนตำแหน่งและการไล่ออก
                -การปฏิบัติการ (Execution) สำหรับ E สามตัวแรกเป็นสิ่งจำเป็น แต่ถ้าขาดการวัดผลสำเร็จก็ไม่มีประโยชน์ต่อการนำเอาไปใช้ขององค์การ ผู้นำธุรกิจที่ปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เข้าใจดีว่ากิจกรรมและผลิตภาพไม่ใช่สิ่งที่เหมือนกัน
ผู้นำที่ดีที่สุดจะรู้ว่าจะทำอย่างไรจึงจะปรับเปลี่ยนพลังและสุดขอบไปสู่การปฏิบัติและผลลัพธ์
 ภาวะผู้นำ (Leadership) หรือความเป็นผู้นำ คำนิยามของคำว่า ผู้นำตามพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 ให้ความหมายของผู้นำว่า เป็นนามหมายถึง หัวหน้า แต่ความหมายของคำว่า ความสามารถในการนำ (The American Heritage Dictionary, 1985 : 719) จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับความสำเร็จของผู้นำ ภาวะผู้นำได้รับความสนใจ และมีการศึกษามาเป็นเวลานานแล้ว เพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นองค์ประกอบที่ จะช่วยให้ผู้นำมีความสามารถในการนำ หรือมีภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ
           การศึกษานั้นได้ศึกษาตั้ง แต่คุณลักษณะ (Traits) ของผู้นำ อำนาจ (Power) ของผู้นำ พฤติกรรม (Behavior) ของผู้นำแบบต่าง ๆ และอื่น ๆ ในปัจจุบันนี้ ก็ยังมีการศึกษาภาวะผู้นำอยู่ตลอดเวลา และพยายามจะหาภาวะผู้นำที่มี ประสิทธิภาพในแต่ละองค์การและในสถานการณ์ต่าง ๆ กัน
ภาวะผู้นำเป็นกระบวนการที่บุคคลหนึ่ง(ผู้นำ)ใช้อิทธิพลและอำนาจของตนกระตุ้นชี้นำให้บุคคลอื่น(ผู้ตาม) มีความกระตือรือร้น เต็มใจทำในสิ่งที่เขาต้องการ โดยมีเป้าหมายขององค์การเป็นจุดหมายปลายทาง  (พยอม วงศ์สารศรี, 2534:196)จากการวิเคราะห์ความหมายของภาวะผู้นำข้างต้น จะเห็นได้ว่า แนวคิดส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับกลุ่มคน และสมาชิกของกลุ่มมีความสัมพันธ์ภายในต่อกันอย่างสม่ำเสมอ ในการนี้จะมีสมาชิกคนใดคนหนึ่งหรือมากกว่าถูกกำหนดหรือยอมรับให้เป็นผู้นำ (Leader) เนื่องจากมีความแตกต่างในด้านต่าง ๆ จากบุคคลอื่น ๆ ของกลุ่ม ซึ่งถือว่าเป็นผู้ตาม (Followers) หรือผู้ใต้บังคับบัญชา หรือลูกน้อง(Subordinates) หรือผู้ปฏิบัติจากการ ศึกษางานวิจัย พบว่า เกณฑ์ (Criteria) ที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพผู้นำ พอแยกได้เป็น 3 ลักษณะคือ             1. ผลที่เกิดขึ้นของกลุ่ม (Outcome) เช่นผลสำเร็จของการปฏิบัติงานของกลุ่ม การสามารถ บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การอยู่รอดของกลุ่มความก้าวหน้าของกลุ่ม ความพร้อมของกลุ่ม ความสามารถในการแก้ปัญหาของกลุ่ม ความพึงพอใจของสมาชิกของกลุ่มที่มีต่อผู้นำ
            2. ทัศนคติของผู้ตาม (Attitude of Followers) นิยมใช้เป็นเกณฑ์ตัดสินประสิทธิภาพของผู้นำอีกเกณฑ์หนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่จะทราบได้ โดยการใช้แบบสอบถามหรือการสัมภาษณ์ผู้ตาม ดังตัวอย่างคำถามต่อไปนี้ -ผู้นำสามารถตอบสนองความต้องการและคาดหวังของผู้ตามได้ดีเพียงใด -ผู้ตามชอบ ยกย่องและยอมรับผู้นำเพียงใด -ผู้ตามมีความยินดีในการปฏิบัติงานตามคำสั่งหรือคำขอร้องของผู้นำแค่ไหน -ผู้ตามต่อต้าน เพิกเฉย ที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือคำขอร้องของผู้นำหรือเปล่า นอกจากนั้น อาจดูได้จากการมีคำร้องทุกข์และบัตรสนเท่ห์ต่าง ๆ 
            3. คุณภาพของกระบวนการกลุ่ม (Quality of Group Process)  โดยประเมินจากความสนับสนุนด้านต่าง ๆ และความตั้งใจที่จะทำให้คุณภาพของกระบวนการกลุ่มของลูกน้องมีคุณภาพดีขึ้นในด้านความ สามัคคี ความร่วมมือ แรงจูงใจ การแก้ปัญหา การตัดสินใจ การแก้ไขความขัดแย้ง ประสิทธิภาพ
ปัจจุบันองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างก็มีการปรับตัวกันอย่างขนานใหญ่ มีการกำหนดแผนงานและเป้าหมายของการทำงานแต่ละฝ่ายงานไปจนถึงแต่ละบุคคล ไปจนถึงการใช้ระบบการจ่ายผลตอบแทนแบบ Pay for performance เป็นต้น ความจำเป็นของผู้บริหารหรือหัวหน้างานในทุกระดับ จึงมีบทบาทที่สำคัญที่จะนำทีมงานของตนเองไปสู่ความสำเร็จภายใต้ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และนี่คือความท้าทายในอนาคตของผู้นำที่จะต้องเผชิญ. Charles Handy: คุณไม่สามารถมองอนาคตว่า เป็นความต่อเนื่องจากอดีต เพราะว่าอนาคตจะแตกต่างออกไป และเราต้องเลิกเรียนรู้วิธีการที่เราจัดการในอดีตเพื่อจัดการกับอนาคตPeter Senge: เราต้องยุติความพยายามที่จะคาดคะเนถึงสิ่งที่จะทำ ด้วยการดูในสิ่งที่เราทำมาแล้วMichael Hammer: ถ้าคุณคิดว่าคุณทำดีอยู่แล้ว คุณจะตายได้ ความสำเร็จในอดีตมิได้เป็นนัยสำคัญสำหรับความสำเร็จในอนาคต สูตรสำเร็จของเมื่อวานนี้เป็นแค่การรับประกันถึงความล้มเหลวในวันพรุ่งนี้ความท้าทายของผู้นำในวันนี้·        ลักษณะงานเปลี่ยนไปหลาย ๆ คนขาดทักษะและความรู้ในการทำงานแบบใหม่·         การต่อต้านจากวัฒนธรรม วิธีปฏิบัติ แนวคิด แบบเดิม·         ความเครียดของลูกน้อง ที่เกรงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง·         ลูกน้องที่รับเข้ามาใหม่ ๆ มีการศึกษาสูงขึ้น มีความมั่นใจในตัวเองสูง·         ลูกน้องต้องการทำงานที่มีความท้าทายมากขึ้น·         ลูกน้องต้องการมีส่วนร่วมในการทำงานมากขึ้นThe Managerial Grid 
  • 1,9 แบบบันเทิงสโมสร : ให้ความสนใจต่อความต้องการของคนในการรักษาสัมพันธภาพ เพื่อนำไปสู่บรรยากาศการทำงานฉันมิตรและสุขสบาย
  • 9,9 แบบเป็นทีม : ผลสำเร็จได้จากความผูกพันของคน การพึ่งพาหันและกันโดยมีเป้าหมายเดียวกันในองค์กรนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ต่างก็ไว้ใจกันและนับถือซึ่งกันและกัน
  • 5,5 แบบสายกลาง : ผลสำเร็จขององค์กรขึ้นอยู่กับความสมดุลระหว่างการทำงานให้แล้วเสร็จกับการรักษาขวัญในระดับที่ทุกคนพอใจ
  • 1,1 แบบเช้าชามเย็นชาม : ออกแรงทำงานให้แล้วเสร็จ เพียงเพื่อรักษาสมาชิกภาพขององค์กรไว้ได้เท่านั้น
  • 9,1 แบบทำตามคำสั่ง : ประสิทธิภาพของการทำงานเกิดจากการจัดสภาพการทำงานให้คนมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องน้อยที่สุด
จากหนังสือ Leadership Dilemmas-Grid Solutions By Robert R.Blake , Anne Adams McCanse แนวทางการพัฒนาทัศนคติเชิงบวกตัวอย่าง 3 วิธี เพื่อเป็นแนวทางช่วยให้เกิดมีการพัฒนาทัศนคติเชิงบวก
  • อโหสิกรรมให้หัวหน้า/ลูกน้องก่อนนอน
  • ร้องเพลงระหว่างอาบน้ำ
  • อ่านหนังสือธรรมะ เพื่อเสริมสร้างกำลังใจ
             ถึงเวลาที่นักคิดและนักวิชาการด้านการจัดการธุรกิจของไทย ควรสร้างหรือจำลองแนวคิดจากนักคิดในเรื่องภาวะผู้นำที่กล่าวไว้ทั้ง 5 ท่านคือ ดรักเกอร์ เบนนิส เซนเก้ โควีย์ และคอลลินส์ รวมถึงตัวอย่างที่เป็นภาคปฏิบัติของทั้งตะวันตกและไทยมาสร้าง ต้นแบบของผู้นำ” (A Leader Prototype)” ที่สอดคล้องกับบริบทและวัฒนธรรมการบริหารแบบไทย   โดยเฉพาะคุณลักษณะของผู้นำแบบเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งสังเคราะห์มาจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทาน ในวันที่ 4 ธันวาคม 2548 ได้ใน 3 ลักษณะคือ
               - ผู้นำต้องดำรงตนและดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียงทั้งการประกอบอาชีพและการเลี้ยงตนเอง มีสติที่จะรู้จักพอ ไม่โลภหรือแสวงหาเกินความพอดี
               - ผู้นำจะต้องถูกตรวจสอบแบบรอบมิติ หมายความว่าจะต้องบริหารและดำเนินงานแบบโปร่งใส โดยไม่เอื้อประโยชน์และจะต้องยอมรับฟังคำวิพากษ์ หรือตำหนิได้ทุกมิติเพราะไม่มีใครในโลกที่ไม่เคยทำผิด
                - ผู้นำต้องเป็นผู้คิดนวัตกรรมทางสังคม โดยเอาประโยชน์ของคน ชุมชน สังคม เป็นที่ตั้งเมื่อชุมชน สังคมและประเทศชาติมีปัญหา ผู้นำจะต้องสร้างนวัตกรรมทางสังคมออกมาเป็นประโยชน์กับชุมชนและสังคมได้เป็นความท้าทายสำหรับการคิดใหม่เรื่องภาวะผู้นำ ที่จะสร้างต้นแบบของผู้นำแห่งโลกตะวันออก โดยเฉพาะแนวทางข้างต้นสามารถนำมาสังเคราะห์เพื่อจะได้มี หลักการภาวะผู้นำแบบไทยหรือ ผู้นำแบบเศรษฐกิจพอเพียงที่ควรเสริมเติมแต่งให้นำไปสู่การปฏิบัติของธุรกิจได้อย่างเป็นที่ยอมรับ ทั่วทุกอุตสาหกรรมจนสามารถขยายไปสู่ภูมิภาคและนานาชาติ..........
 นางสาวญาณัญฎา  ศิรภัทร์ธาดา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คณะวิทยาการจัดการ “ A Leading University Quality for All ”
การบ้านครั้งที่  6 วันเสาร์ที่  4  สิงหาคม  2550  กับอาจารย์  MR. Tan From Rangsit University เรียบเรียงโดย  นางสาว  กฤษณา  ปลั่งเจริญศรี                ในหัวข้อ Leadership in a changing world Center for Change Management : CCM  นำเสนอโดย Peter Bjork วันที่ 3 สิงหาคม 2007  CCM: เริ่มก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ.1993 ที่เมือง Goteborg  ในสวีเดน และเริ่มมีในกรุงเทพฯ เมื่อปี 1998 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนธุรกิจและองค์กรที่ใช้กลยุทธ์ด้านภาวะผู้นำ เพื่อการดำเนินการให้มีประสิทธิภาพต่อองค์กรนั้น ๆ  เช่น  กลุ่มสวีเดนมอเตอร์, เนสเลท์ ,โคโค , ไทยลิฟท์ , เทราภัค ,โจตัน  ตัวอย่างเช่นกลุ่มบริษัท เนสเลท์ จากที่สวีเดนเป็นผู้นำ การตลาดของเนสเลท์ขาดทุนมาตลอดระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา แต่เมื่อเปลี่ยนผู้นำมาเป็น FCN Daily [Malaysia] เนสเล่ท์ กลับมีกำไรถึง 600 ล้านบาท ในช่วงระยะเวลาแค่ 3 เดือน  นอกจากนี้การบรรยายในวันนั้นอาจารย์ได้เล่าถึงความสัมพันธ์ระหว่าง 2ประเทศคือไทย กับ สวีเดนที่มีต่อกันมายาวนาน ตั้งแต่การเสด็จเยือนสวีเดนอย่างเป็นทางการของพ่อหลวงกว่า 100 ปีมาแล้ว  และการเสด็จมาไทยของ กษัตริย์  คาร์ล กุสต๊าฟ ที่ 16 และราชินี รวมถึงงานครองราชย์ครบ  60  ปี  ในปีที่ผ่านมาด้วย  ซึ่งความสัมพันธ์ของ  2 ราชวงศ์นี้ ทำให้นึกถึงการให้ความสำคัญของภาวะผู้นำเป็นอย่างยิ่ง Triggers of Changes-Examples  การให้ความสำคัญกับภาวะผู้นำต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ 1. Laws & Regulations  การเปิดโอกาสให้ภาครัฐเข้าร่วมในองค์กรการค้าร่วม 2. Deregulation  Of  Market  การเปิดโอกาสให้ภาครัฐออกมาแก้ไขกฎระเบียบต่าง ๆ  เช่น การเปิดการค้าเสรี3. Globalization โลกาภิวัฒน์  การเข้าใจในการดำเนินชีวิตในยุคนี้รวมถึงการพัฒนาทุนมนุษย์ที่มีอยู่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 4. Shorter product life cycles  ผู้นำต้องปรับตัวให้เข้ากับความทันสมัยอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นในเรี่องของเทคโนโลยี หรือเรื่องของการบริหาร รวมถึงการตลาด  เช่น โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ล่าสุด เทคโนโลยีด้านสารสนเทศ คอมพิวเตอร์  รถยนต์Leadership issues have increased in importance for example in :  สิ่งที่ผู้นำจำเป็นต้องมี คือ 1. การสื่อสารเพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมาย  แนวทางที่จะทำให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจในเป้าหมายที่ชัดเจนของบริษัท 2. สามารถสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันเชิงธุรกิจ  3. ผู้นำที่ดีควรมีอิทธิพลต่อมุมมองความคิด,แนวทางในการทำงาน และความต้องการของพนักงานในองค์กร  4. การสร้างวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นภายในองค์กร โดยการทำให้องค์กรมีคุณค่ากับบุคคลภายนอกองค์กร  ประเด็นสำคัญคือผู้นำต้องสามารถพาองค์กรของตนให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น  ภายใต้คำจำกัดความว่า  โลกาภิวัตน์”   คือ ยุคของการแข่งขันทางธุรกิจ การเปลี่ยนแปลง และในขณะที่ ผู้นำเอง ก็ต้องมีความสามารถในการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานเกิดแรงจูงใจในการใช้ความสามารถของตนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จากข้อมูลของฟาแร็กซ์ ที่ทำการสำรวจจากผู้บริหารกว่า  6,000  คน โดยมีการแบ่งประเภทของผู้นำเป็น  8  ประเภท  คือ 1. The Visible Leader 2. The Entrepreneur Leade  3. The Transactional Leader  4. The Gardener Leader  5. The Bureaucrat Leader 6. The Nice Guy Leader7. The Idea Squirt Leader 8. The Laissez fair Leader FARAX  ในการแยกประเภทของผู้นำทั้ง 8 ประเภทนั้นจะใช้หลักการ  3 ด้านในการวัดผลคือ 1.ความมีประสิทธิภาพของผู้นำ  2. ทัศนคติของผู้นำ  3. ความกดดันต่อตัวผู้นำ  นอกจากนี้  FARAX  ยังมีแนวคิดในการวัดผลผู้นำจาก  พฤติกรรมและความสำคัญในพฤติกรรมของผู้นำ  ความสามารถและความต้องการขององค์กร ที่สำคัญคือความมีประสิทธิภาพขององค์กร  หรือ มอง 360  องศา  คือ มองในมุมของตนเอง  ของผู้บังคับบัญชา  เพื่อนร่วมงาน  และผู้ใต้บังคับบัญชา  ผู้นำจึงเป็นผู้ที่มีบทบาทและความสำคัญต่อองค์กรอย่างยิ่งในปัจจุบัน  โดยเฉพาะยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและตลอดเวลา  จึงต้องให้ผู้อื่นเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานรวมไปถึงการตัดสินใจ  จำเป็นต้องมีความอดทนอดกลั้นต่อความกดดันทั้งหลายจากรอบด้าน  รวมทั้งตัวแปรอิสระต่าง ๆ  ในขณะที่ผู้นำต้องทำหน้าที่แก้ไขปัญหา และอุปสรรคต่าง ๆที่จะทำให้เกิดความไม่สะดวกในระหว่างการทำงานอีกด้วย   ในระหว่างกระบวนการสร้างสรรค์ และการพัฒนาองค์กรนั้น  ผู้นำต้องมีความมุ่งมั่น  มั่นคง  จริงใจ  มีความสม่ำเสมอในการกระทำ  ลงมือทำอย่างจริงจัง  ติดตามความผลอย่างใกล้ชิด  ใจกว้าง ยอมรับความคิดของผู้อื่น เพื่อปรับหาวิธีที่เหมาะสมในการทำงานร่วมกัน Implementation Skills : ทักษะในการดำเนินงาน มีความคงเส้นคงวา เลือกใช้วิธีที่เหมาะสมให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แก้ไขผลสะท้อนที่ได้รับกลับมาและทำให้เกิดผล วางรูปแบบความรู้สึกร่วมกันในสภาวะทางใจAction To Limit Negative Reactions : สิ่งที่ควรจำกัดปฏิกิริยาเชิงลบ1.การชี้แจงภารกิจที่จะกระทำการร่วมกันล่วงหน้า(มีการประชุมกันอย่างสม่ำเสมอ)2.กล้าพูดทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ 3.สนับสนุนกิจกรรมภายในกลุ่ม 4.หลีกเลี่ยงคำสั่งจากฝ่ายบริหาร-ควรมีการพูดคุยข้อคิดเห็นที่แตกต่างกันออกไป 5.ยอมรับว่าในการทำงานอาจมีผู้ร่วมงานบางคนไม่พอใจหรืออาจมีอารมณ์อื่น ๆ 6.มุ่งเน้นไปที่ธุรกิจ ลูกค้าและการตลาด) FARAX Customer: ลูกค้าของ ฟาแรกซ์ 1.บริษัทข้ามชาติของสวีเดน2.องค์กรสาธาณสุขแห่งอัฟริกาใต้ 3.บริษัทเอกชนและหน่วยงานรัฐบาลของฟินแลนด์4.ผู้บริหารระดับสูงแห่งยุโรป 5.หน่วยงานอเมริกัน ลีดเดอร์ เดเวอร์ลอปเม้นท์ 6.บริษัทเอกชนและหน่วยงานรัฐบาลของไทย The Importance of the Leader Role :ความสำคัญของบทบาทผู้นำ Leadership for change : ความเป็นผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ -มีความอดทน อดกลั้น การบริหารโดยมีวัตถุประสงค์ คลี่คลายข้อโต้แย้งต่าง ๆ The Role of the Leader when Implementing Change : บทบาทของผู้นำเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง 1.ผู้นำ คือ ตัวแทนขององค์กรและการเปลี่ยนแปลง แต่ควรต้องรับฟังความคิดเห็นของพนักงานด้วย 2.ผู้นำอาจมองข้ามความสำคัญในเรื่องของการชี้แจงให้พนักงานได้ทราบ 3.ผู้นำควรสร้างช่องทางการสื่อสารที่ดี กฤษณา : หลังจากที่ได้ฟังการบรรยายในวันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม ที่ผ่านมาและได้นำมาสรุปเทียบกับทฤษฎี จึงมีความเห็นว่า การที่ประเทศสวีเดนมีการพัฒนาทุนมนุษย์และการศึกษาเรื่องภาวะผู้นำนั้น ทำให้สวีเดนเป็นอีกหนึ่งประเทศที่มีเจริญก้าวหน้าในเรื่องเทคโนโลยีการเรียนรู้ของคนที่เป็นผู้นำ รวมถึงการเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การมุ่งให้ความรู้ในด้านต่าง ๆให้คนในประเทศ การพัฒนาเทคโนโลยีให้ทันสมัยอยู่เสมอ เนื่องจากมีการวางแผนในการบริหารจัดการได้เป็นอย่างดี จึงถือเป็นประเทศที่น่านำมาเป็นแบบอย่าง เมื่อผู้นำและคนในประเทศแข็งแรง ประสิทธิภาพในการทำงานต่าง ๆ ก็จะออกมาในมุมที่ดี  เช่นเทคนิคการสอนให้มองในมุม 360 องศาคือการมองสิ่งต่าง ๆรอบตัวเราเองว่า ควรเริ่มจากอะไร ปัญหาที่เกิดขึ้นต้องแก้จากอะไร และควรจะปฏิบัติตนให้ถึงจุดมุ่งหมายเมื่อไหร่นั้น ถ้าเรามองให้ครบทุกจุดดังทฤษฎีที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว เราจะสามารถปฏิบัติภารกิจต่าง ๆให้บรรลุจุดมุ่งหมายได้อย่างแน่นอน การมีผู้นำในประเทศที่ดี การวางแผนที่ดี ประสิทธิภาพของบุคลากรที่ดี ความอดทนอดกลั้นที่ดี ทีมเวิร์คที่ดี เมื่อทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งที่ดี แต่สำคัญที่คนในประเทศไทยยังมีมีในสิ่งเหล่านี้ แล้วจะทำให้ประเทศไทยพัฒนาไปในทิศทางที่ดีได้อย่างไร  ขอบคุณค่ะ 
หรรษา คล้ายจันทร์พงษ์
สรุปการบรรยายวันที่ 4 สิงหาคม  2550   อ. Peter Bjorkผู้นำในยุคโลกาภิวัฒน์  (Leadership  in  a  changing  world) เนื้อหาที่เรียน1.       แนะนำภูมิหลังและประวัติ2.       เทคนิคยุทธวิธีในการเปลี่ยนแปลง3.       นิยามของความเป็นผู้นำของการวิจัยในส่วนของรูปแบบของความเป็นผู้นำ4.       ปฏิบัติศึกษาผู้นำที่อยู่ในองค์กรการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่ดีใช้ในหน่วยงานจะต้องมีศูนย์โครงการเปลี่ยนแปลง  (Center  for  change  management)  ซึ่งศูนย์นี้จะมีหน้าที่ดังนี้         -ให้การสนับสนุนแก่ธุรกิจและองค์กรในด้านการฝึกหัด  การดำเนินงานเชิงกลยุทธ์และการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ        -ในประเทศสวีเดนได้จัดตั้งศูนย์นี้ที่เมือง  Goteborg  ในปี  1993  และในประเทศไทยนั้นได้จัดตั้งปี  1998 ตัวอย่างศูนย์การจัดการการเปลี่ยนแปลง ประเทศสวีเดน                                                                    -อิริคสัน                                                                                -บอนนิลลันตร์                                                                    -ชาร์ป                                                                                    -วัตเด็นพอล                                                                         -ที่เลีบ                                                                                    -สำนักงานอียู                                                                       ประเทศไทย-สวิเดนมอเตอร์-เนสเล่ห์-โดโด่-ไทยลิฟท์-เทราทัค-โอตัน  ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศสวีเดน

                ชื่อ    ราชอาณาจักรสวีเดน                                     เมืองหลวง สตอกโฮล์ม                ระบอบการปกครอง  ราชาธิปไตยภายใต้รัฐะรรนูญ                กษัตริย์ สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่16 กุสตาฟ                นายกรัฐมนตรี เฟรดดริค รายน์เฟลท์                จำนวนประชากร  9  ล้านคน                 ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในประเทศสวีเดน  อิสกุสัน  วอลโว่  อิเล็กโตรลักษ์  และอื่นๆ  รัชการที่ 5  ได้สร้างอนุสรณ์ศาลาเพื่อเป็นที่ระลึก ตัวอย่างกลยุทธ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง                 -กฎระเบียบข้อบังคับ                -การบริการที่ภาครัฐทำอย่างเดียว  ฉะนั้นต้องแก้ไขโดยให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมจะได้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น                -โลกไร้พรมแดน                -วงจรผลิตภัณฑ์ที่สั้นลง นิยามของภาวะผู้นำหรือความเป็นผู้นำ                 -กระบวนการของอิทธิพล  (อำนาจ)  มีค่ามากกว่าหรือดีกว่าตำแหน่ง                -ความเป็นผู้นำในยุคศตวรรษที่ 21  มีคุณลักษณะในสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอนและเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สรุปความเป็นเป็นผู้นำ    หมายถึง   ผู้ที่มีความสามารถในการใช้ศิลปะในการจูงใจผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จด้วยความเต็มใจ   ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับความเป็นผู้นำเช่น                -การติดต่อสื่อสารที่นำไปสู่จุดมุ่งหมายและวิสัยทัศน์                -การเพิ่มศักยภาพของบริษัทในสภาวะการแข่งขันที่มีสูง                -การดำเนินการการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงองค์กรและการพัฒนาองค์กรให้ไปสู่จุดมุ่งหมาย                -การศึกษาผลกระทบของความต้องการของลูกจ้างและทัศนคติที่มีต่อองค์กร                -การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานเพื่อยกระดับ  และสร้างความแตกต่างให้กับพนักงาน                -สร้างสรรค์คุณค่าของหน่วยงานและวัฒนธรรมองค์กรที่ดีให้กับธุรกิจ บริบทของความเป็นผู้นำ  (ภาวะผู้นำ) 1.บริบทองค์กร  (สิ่งแวดล้อม)  มีอิทธิพลต่อรูปแบบของความเป็นผู้นำ2.ผู้นำ  มีอิทธิพลต่อรูปแบบของความเป็นผู้นำ3.ผู้ตาม  มีอิทธิพลต่อรูปแบบของความเป็นผู้นำ4.วัฒนธรรมและคุณค่าทางสังคม  มีอิทธิพลต่อรูปแบบของความเป็นผู้นำ    รูปแบบภาวะผู้นำใน  50  ปีที่แล้วที่ทำการวิจัยแบบใหม่                                                                                                -ให้ความสำคัญกับบุคคล                                                   -มีเสรีภาพ  (ประชาธิปไตยหรือกระจายอำนาจ)          -ปัจเจกบุคคล  (ความเป็นส่วนตัว)                                   -ทฤษฎี  y                                                                              -ใช้ความสัมพันธ์เป็นเครื่องชี้วัด                                     -ผู้สั่งการจะมีหน้าที่สนับสนุน                                         -ยึดถือหลักการพิจารณาโดยสภาพ                                  แตกต่างที่หลากหลายแบบเก่า  -ให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์-การใช้อำนาจบังคับบัญชามีการควบคุม-เน้นการสร้างผลิตภัณฑ์-ทฤษฎี  x-ใช้ผลงานเป็นเครื่องชีวัด-การสั่งการจะสั่งงานโดยตรง-ยึดหลักโครงสร้างมีรูปแบบแน่นอนตารางข่ายของการจัดการ 1.ถ้าเรามุ่งไปสู่ที่คนต่ำและมุ่งไปสู่ผลงานต่ำ  ผลก็คือไม่ได้เรื่อง2.ถ้าเรามุ่งไปสู่ที่คนสูงและมุ่งไปสู่ผลงานต่ำ  ผลก็คือปล่อยปะละเลย3.ถ้าเรามุ่งไปสู่ที่คนต่ำและมุ่งไปสู่ผลงานสูง   ผลก็คือการใช้อำนาจ4.ถ้าเรามุ่งไปสู่ที่คนสูงและมุ่งไปสู่ผลงานสูง  ผลก็คือมีทีมการบริหารจัดการที่ดี  มีทีมงานที่เป็นเลิศ  การเปลี่ยนแปลงจะอยู่ระหว่าง  สัมพันธภาพกับการเป็นโครงสร้าง ข้อมูลของฟาแรกซ์   ได้อธิบายถึงรูปแบบของผู้นำ  มีดังนี้                                   การเปลี่ยนแปลง  รูปแบบโครงสร้าง   สัมพันธภาพ 1.แบบสบายๆ                    ไม่มี                 ไม่มี                    ไม่มี2.ความคิดสร้างสรรค์             มี                   ไม่มี                    ไม่มี3.คนดี                               ไม่มี                   ไม่มี                     มี4.ข้าราชการทำงานเหมือน                           เครื่องจักรไม่มีความคิดสร้างสรรค์ไม่มี              มี                   ไม่มี5.คนที่ทำตามคำสั่งของผู้อื่นมีหน้าที่   อย่างไรก็ทำอย่างนั้น          มี                    ไม่มี                      มี6.นักบริหารจัดการ           ไม่มี                       มี                         มี7.เจ้าของกิจการ                 มี                         มี                       ไม่มี8.มีความชัดเจน                 มี                         มี                        มี ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์  (ชัดเจน) 1.ความสามารถในการกระตุ้นพฤติกรรมหลัก  3  ประการคือ                1)  รูปแบบโครงสร้าง                         2)การดูแลทรัพยากรมนุษย์                3)การเปลี่ยนสถานที่ทำงานที่เหมาะสมกับงาน   การสร้างบรรยากาศในการทำงาน2.ผู้บริหารที่สมบูรณ์แบบจะต้องมีความสามารถและการเป็นที่ชื่นชอบหรือความเป็นที่นิยมของผู้อื่น3.ผู้บริหารที่มีผู้สนับสนุนและให้ความไว้วางใจ4.ผู้บริหารแบบนี้จะเป็นผู้นำที่ดีเลิศ ผู้นำแบบคนสวน  (ผู้ที่ทำตามคำสั่งของผู้อื่น) 1.เป็นผู้นำที่มีสัมพันธภาพและมีการเปลี่ยนแปลงแต่ไม่สามารถสร้างสรรค์รูปแบบของโครงสร้างการทำงานที่ดีให้กับองค์กรได้2.วิสัยทัศน์ของผู้บริหารแบบนี้  จะมีความสามารถในการจัดการองค์กรแบบไม่เป็นทางการให้กับพนักงานหรือไม่สามารถกระตุ้นพนักงานได้3.ทำทุกอย่างดีและมีข้อมูลในการพัฒนาคน  สร้างแรงจูงใจในการทำงาน4.ผู้บริหารแบบนี้จะมีมาก ผู้นำแบบเจ้าของกิจการ1.มีการสร้างความคิดริเริ่มและมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบโครงสร้างขององค์กร2.ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาสำหรับธุรกิจใหม่ ๆ  รวมถึงส่วนของราชการด้วย3.ร่วมกันปรับปรุงโครงสร้าง  และลดขนาดขององค์กรลง4.มีเจ้าของกิจการเพียงไม่กี่เปอร์เซ็นต์ที่จะอยู่ในองค์กรขนาดใหญ่ได้ ผู้นำแบบนักบริหารจัดการ 1.การวางโครงสร้างและการผลิตที่ดี2.โครงสร้างของลูกจ้างจะมีความสัมพันธ์แค่ความสนใจในบทบาทของตนเองกับผลตอบแทน3.ไม่มีความสามารถในการส่งเสริมการเปลี่ยนแปลงสำหรับสภาพแวดล้อมใหม่ของธุรกิจ4.ไม่ประสบความสำเร็จในการพัฒนา5.จะเป็นเพียงผู้ที่ดูแลองค์กรเท่านั้นมิใช่เจ้าองค์กร การวัดผลฟาแรกซ์    สามารถวัดได้ดังนี้1.       พฤติกรรมของผู้นำ2.       ความสำคัญของพฤติกรรมของผู้นำ3.       ความสามารถของผู้จัดการ4.       ความต้องการขององค์กร5.       ความมีประสิทธิภาพของหน่วยงาน ฉะนั้น   FARAX   ก็จะประกอบไปด้วย  1.ตัวเอง   2.หัวหน้า   3.เพื่อนร่วมงาน   4.  ผู้ใต้บังคับบัญชา 

    FARAX  จะต้องมีความสัมพันธ์การติดต่อสื่อสารกับทุกอย่าง  แบบ  360o  ในทุก ๆ  ด้าน

ขั้นตอนของฟาแรกซ์                ขั้นที่ 1    ข้อมูลฟาแรกซ์                ขั้นที่ 2    การวัดค่าฟาแรกซ์                ขั้นที่ 3    ผลฟาแรกซ์ของแต่ละบุคคล  การบริหารผลฟาแรกซ์และการปรึกษาในกลุ่ม                ขั้นที่ 4    ทำซ้ำการวัดค่า

ประสบการณ์ที่ได้รับจากผลการตอบรับของฟาแรกซ์ในประเทศไทย1.       มีแรงจูงใจในการพัฒนาตนเองของผู้จัดการ2.       มีทรรศนคติที่เปิดกว้าง  หรือมีโลกทัศน์3.       ได้ผลในระดับสูง4.       มีช่องว่างระหว่างการวัดค่าด้วยตนเองและผู้ใต้บังคับบัญชา5.       ผู้ใต้บังคับบัญชาต้องการควบคุมและเปลี่ยนแปลง6.       ผู้จัดการมีการแก้ปัญหา7.       ผู้จัดการต้องติดตามผลงานที่ทำ8.       การใช้ระบบ  360o  ทำได้ดีในประเทศไทย  แต่ข่าวสารข้อมูลและภาษานั้นเป็นอุปสรรคการจัดการการเปลี่ยนแปลงความเป็นผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลง·       มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน·       มีความอดทน  อดกลั้น·       บริหารโดยวัตถุประสงค์·       ลงมือปฏิบัติเพื่อขับเคลื่อน·       คลี่คลายข้อโต้แย้ง ภาระ/ความมุ่งมั่นของผู้บริหารสู่กระบวนการเปลี่ยนแปลง·       มีความสม่ำเสมอในคำพูด  และการกระทำ·       ลงมือปฏิบัติเพื่อขับเคลื่อน·       ติดตามความคืบหน้าอย่างกระตือรือร้น·       พร้อมและเต็มใจที่จะทบทวนความคิดของตนเอง ทักษะในการดำเนินงาน·       มีความคงเส้นคงวา·       เลือกใช้วิธีการที่เหมาะสมให้เกิดการเปลี่ยนแปลง·       แก้ไขผลสะท้อนที่ได้รับการกลับมาทำให้เกิดผล·       วางรูปแบบความรู้สึกร่วมกันในสภาวะทางใจ ปฏิกิริยาต่อการเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุง·       การเปลี่ยนแปลง  และการปรับปรุงทำให้เกิดความรู้สึกไม่มั่นคง  และกลัวในเหตุการณ์ที่คาดเดาไม่ได้·       มนุษย์แสวงหาสิ่งที่คาดเดาล่วงหน้าได้·       ความขัดแย้งระหว่างเหตุการณ์ที่คาดเดาได้  และเหตุการณ์ที่คาดเดา  เดาไม่ได้·      
การจัดการทุนมนุษย์ครั้งที่ 6Leadership in a changing worldCenter for change Management :CCMAJ. Peter Bjork

4  สิงหาคม 2550

วันนี้มาแต่เช้าเพราะตั้งใจที่จะได้พบกับ อาจารย์จีระเหมือนเสาร์ที่แล้วในบรรยากาศสบาย ๆกับการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันแบบไม่เป็นทางการ แต่การมาแต่เช้าทำให้มีโอกาสได้พูดคุยกับอาจารย์ Peter เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ในการสนทนากับชาวต่างชาติ และได้ข้อคิดในการใช้ภาษาอังกฤษจากอาจารย์ปีเตอร์ว่าเป็นการเรียนที่จำเป็น เสมือนเป็นภาคบังคับในภาวะโลกไร้พรมแดนอย่างปัจจุบัน แม้แต่อาจารย์ก็ต้องเรียนเช่นเดียวกัน เนื่องจากอาจารย์เป็นชาวสวีเดน อาจารย์เริ่มจาก CCM (Center for change Management)

ซี่งเป็นการเตรียมการนำกลยุทธ์ไปใช้ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยยกตัวอย่างโครงการต่าง ๆของสวีเดนและไทย ซึ่งมีความสัมพันธ์กันมานานนับรอยปีตั้งแต่สมัยรัชการที่ 5

ในโครงการมีการกำหนดโปรแกรมดังนี้          -Introduction & Background          -Trigger of Change

          -Leadership definitions and research on  

           Leadership style

          -Workshop

          -Q & A

นักวิจัยได้ศึกษาความเป็นผู้นำมาเป็นระยะเวลานานนับสิบ ๆปีแต่ก็ยังไม่สามารถระบุให้ชัดเจนได้ แต่นักวิชาการได้สรุปและให้ความหมายของความเป็นผู้นำไว้มากมาย เช่น

ผู้นำหมายถึงคนที่มีความสามารถในการวางแผน การตัดสินใจ การใช้อำนาจหน้าที่  การสื่อความหมาย การเข้าใจผู้อื่น การแก้ปัญหา  ยืดหยุ่นต่องาน (Brinckloe &Coughlin,1997 ในปรียาภรณ์ วงค์อนุบุตรโรจน์)

ไซมอนและคณะ (Simond et al :Swansburg) กล่าวว่าความเป็นผู้นำเป็นความสามารถของคนที่จะใช้อิทธิพลเหนือคนอื่นให้ยอมรับฟัง เห็นคล้อยตาม ยอมรับและปฏิบัติตามคำแนะนำรวมทั้งดำเนินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

 ลักษณะผู้นำที่ดีในอุดมคติของยุคโลกาภิวัตน์นี้ ความมีประสิทธิภาพของผู้นำมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นยุคแห่งการแข่งขันและปรับตัวผู้บริหารจึงจำเป็นต้องมีความสามารถกว่าในอดีต โดยเฉพาะต้องมีวิสัยทัศน์ (Vision) ฉลาดมีไหวพริบ รอบรู้ ทันต่อเหตุการณ์ ปรับตัวให้เข้ากับทุกสถานการณ์ มีชิวิตชีวา มีความคิดริเริ่มสร้างสรร (Creativity) มีความซื่อสัตย์ (Honest) กล้าตัดสินใจ ถูกต้องฉับไว (Decision maker ,Courage-boldness)  มีพลังกาย พลังใจ พลังความคิด (Energy) มีความสามารถในการจูงใจ (Ability to motivate other) รักษาสัจจะ (Keep promise) มีวินัย (Self discipline) มีคุณธรรมสูง (High Morality integrity) และต้องเป็นตัวอย่างที่ดี (Good example) 

ความมีประสิทธิภาพและความสำเร็จในการบริหารของผู้นำนอกจากคุณสมบัติดังกล่าวแล้วบางครั้งอาจต้องมีคุณลักษณะพิเศษที่นอกเหนือจากคนธรรมดาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นโค้ชในการทำงาน และผู้นำที่ดีจะต้องเป็นผู้ที่สามารถวางกลยุทธ์ให้องค์กรดำเนินไปในทิศทางที่สอดคล้องกับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในยุคโลกาภิวัตน์

 อย่างไรก็ตามผู้นำที่ดีต้องสามารถนำกลยุทธ์เพื่อให้องค์กรไปในทิศทางที่สอดคล้องกับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลง ผู้นำต้องเป็นพลวัต (Dynamic) เป็นกระบวนการที่มีปฏิสัมพันธ์กันในมิติต่าง ๆซึ่งอาจารย์สรุปบริบทของความเป็นผู้นำ จาก 4 มิติด้วยกันคือ          - บริบทขององค์กร (Organization context)          - ผู้นำ (Leader)          - ผู้ตาม (Follow)

          - วัฒนธรรมและคุณค่าของสังคม (Culture and

            Value of social) 

 

 

 

 
 
 

 

ทดสอบ

ทดสอบ

          การเรียนครั้งที่6
วันที่ 4 สิงหาคม 2550ผู้นำในยุคโลกเปลี่ยนแปลง             โดยสรุปจากการเรียนเรื่องผู้นำจากการสอนของอาจารย์ Peter Bjorlm นั้น ผู้นำ คือ ความเป็นผู้นำ คือบุคคลที่จะมาประสานช่วยให้คนทั้งหลายรวมกัน ทำงานร่วมกัน พากันไปด้วยดี สู่จุดหมายที่ดีงาม            องค์ประกอบความเป็นผู้นำ คือ ตัวผู้นำต้องเป็นผู้มีความตั้งใจทำเพื่อประโยชน์ขององค์กร เพื่อประโยชน์ของคนในองค์กร ต้องรู้จุดมุ่งหมายชัดเจนและรู้ทางที่จะเดินไปสู่จุดมุ่งหมายนั้น            ตัวผู้นำมีความดี มีความรู้ มีความสามารถเป็นแบบอย่างทำให้เกิดศรัทธา ผู้นำต้องพยายามให้คนที่มาร่วมงานได้มีการพัฒนาศักยภาพอยู่เสมอ ซึ่งมีผลต่อทั้งตัวเองและงานขององค์กร ผู้นำต้องทำให้คนในองค์กรเกิดความมั่นใจในงานหรือสิ่งที่ดำเนินการว่าสิ่งที่มีคุณค่าต่อองค์กรและตัวเอง จะทำให้คนเกิดความรักงานผู้นำทำให้คนในองค์กรมีกำลังใจในการทำงาน มีความมุ่งมั่นไม่ท้อถอย ผู้นำต้องรู้ธรรมชาติ รู้วัฒนธรรมของคนในองค์กรเพื่อการประสานให้เกิดงานอย่างเหมาะสมและร่วมกันสร้างวัฒนธรรมองค์กรร่วมกัน ผู้นำที่ดีจึงต้องสร้างให้เกิดความสัมพันธ์ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี มีโครงสร้างองค์กรที่เหมาะสมการเป็นผู้นำในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ในสังคมไทย ข้าพเจ้าคิดว่าต้องเป็นผู้ที่ปฏิบัติให้ได้ทั้งงาน ได้คน โดยไม่เสียหลักในการปกครองด้วย ไม่ว่าจะเป็นองค์กรใด ก็จะนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ โดยเฉพาะขณะนี้มีองค์กรภาคประชาชนเกิดขึ้นในชุมชนมากมาย มีผู้นำกลุ่มองค์กรเกิดขึ้นแต่ยังขาดการมีภาวะผู้นำ ที่ต้องได้รับการพัฒนาให้เป็นคนมองกว้าง มองไกล ฝึกการมีภาวะผู้นำ ต้องมีหลักสูตรการพัฒนาผู้นำเหล่านี้อย่างต่อเนื่องจะช่วยให้ชุมชนฐานล่างเป็นเสาเข็มที่เข็งแรงของประเทศ ในโลกยุคข่าวสารข้อมูลนี้ได้ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วนที่ต้องมีคนช่วยกันดำเนินการให้เกิดขึ้น อุษา   เทียนทอง
ชัยธนัตถ์กร ภวิศพิริยะกฤติ
งานครั้งบรรยาย  3  สิงหาคม  2550  Peter  Bjork  ผู้ส่งงาน  นายชัยธนัตถ์กร  ภวิศพิริยะกฤติ                         Leadership  in  a  Changing  world  จากยุคสมัยเก่าที่คนมีกำลังตัวโต  ก็จะเป็นหัวหน้า  หรือเป็นผู้นำในสังคม  ยุคแห่งการใช้กำลัง  ใครมีพลังอำนาจมากก็จะเป็นผู้นำได้  เมื่อโลกพัฒนาการมาสู่ยุคอุตสาหกรรม  คนที่มีเครื่องจักรกล  อาวุธ  ก็จะเป็นผู้นำในสังคมได้  แต่เมื่อโลกเข้าสู่ยุคไอที  ใครที่มีข้อมูลข่าวสารมากกว่าก็จะมีพลังอำนาจสูง  สามารถชักนำให้คนทำตามได้  การบริหารจัดการปัจจุบัน  ซึ่งต้องการผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถและมีภาวะผู้นำเพื่อจะได้นำพาองค์กรให้สำฤทธิ์ผลสูงสุด  ในโลกที่การแข่งขันรุนแรงเป็นโลกาภิวัฒน์  การที่ผู้บริหารจะมีภาวะผู้นำที่ดีมีองค์ประกอบหลายประการได้แก่  การมีความรู้  การมีวิสัยทัศน์  การมีคุณธรรม  การมีความคิดสร้างสรรค์  เป็นเบื้องต้น  องค์กรใดมีผู้นำที่มีคุณภาพย่อมนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จ  ได้แน่นอน

                        แรงกดดันของลูกค้าที่มีพฤติกรรมบริโภคที่เปลี่ยนไป  สินค้าและบริการมีอายุสั้นลง  คู่แข่งมากขึ้น  เทคโนโลยีเปลี่ยนและโลกาภิวัฒน์  ได้ทำลายของเขตแห่งดินแดนทำให้โลกเป็นหนึ่งเดียวที่มีการแผ่ขยายอิทธิพลในทุก ๆ เรื่อง ไปมาบนโลกด้วยไอทีและอินเตอร์เน็ต  ทำให้ผู้นำและผู้บริหารต้องพัฒนาศักยภาพให้รู้เท่าทันและแข่งขันได้  โดยมีการสื่อสารที่มีคุณภาพ  มีวิสัยทัศน์  มองกว้างมองไกล  ชัดเจน  และใกล้ความจริง  เพิ่มอำนาจการแข่งขัน  พัฒนาองค์การและบริหารการเปลี่ยนแปลง  กระตุ้น  ผลักดัน  สร้างทัศนคติที่ดีต่อการทำงาน  สร้างผู้ตามให้มีคุณภาพ  พร้อมจะเป็นผู้นำในอนาคต  รวมถึงการสร้างคุณค่าและค่านิยมที่ดีในองค์กร    อันจะส่งผลการเป็นผู้นำในรูปแบบต่าง ๆ ได้ 

                จากการศึกษาภาวะผู้นำในองค์กร    พบว่ามีความหลากหลายซึ่งจะเน้นงานและคน  ในสัดส่วนที่แตกต่างกันไป  ถ้าเป็นผู้นำที่เน้นคนความสัมพันธ์สูง  จะบริหารแบบประชาธิปไตยสนใจในความสัมพันธ์  มองคนในแง่ดีมีความรับผิดชอบ  ให้ความสนับสนุนลูกน้องทุกทางและหาข้อตกลงร่วมกันในการทำงาน  ในทางตรงข้าม  ผู้นำที่เน้นงานสูงก็จะใช้อำนาจ  หน้าที่  วางกฎเกณฑ์มาก  ดูผลผลิตเป็นหลัก  ความสัมพันธ์ในเชิงอำนาจ  และโครงสร้างที่เป็นทางการ  ในปฏิสัมพันธ์กันของงานและคนก็จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับจุดเน้น  โดยผู้นำแบบทีมงานจะให้คุณภาพของงานและคนอยู่ในเกณฑ์สูง  ซึ่งจะตรงกันข้ามกับผู้บริหารระดับล่าง  จะเป็นผลต่อการเปลี่ยนแปลง  การเป็นสุภาพไม่ก้าวร้าว  การเน้นโครงสร้างแบบทางการ  และการใช้อำนาจที่ไม่ชัดเจน  ในการประเมินผลว่าผู้นำจะเป็นที่ยอมรับ  ต้องมาจากการประเมิน  360  องศา  โดยมีหัวหน้าเพื่อนร่วมงาน  ตนเอง  และลูกน้อง  เพื่อหาข้อยุติว่าผลประเมินจะเป็นกลางและค่อนข้างเชื่อถือได้                        ในองค์กรโดยทั่วไปจะต้องการผู้นำที่มีองค์ประกอบทั้งคุณสมบัติคือสร้างความสัมพันธ์ที่ดี  เน้นโครงสร้างและอำนาจที่เป็นทางการ  มีความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลงได้สูง  ในเมืองไทยท่านอดีตนายกก็ถือว่าเป็นผู้นำที่เน้นการเปลี่ยนแปลง  และมีวิสัยทัศน์  องค์กรจะพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพได้ย่อมเกิดจากภาวะผู้นำของผู้บริหารที่จะนำพาไปโดยมีความร่วมมือกันของผู้ร่วมงานที่จะทุ่มเทสนับสนุนการทำงานร่วมกันให้บรรลุวัตถุประสงค์ของตนเองและส่วนรวม  ซึ่งก็คงเป็นตามที่วิทยากรได้บรรยายไว้ว่า  การสร้างผู้นำ  ผู้ตาม  ผู้บริหาร        ผู้ปฏิบัติการล้วนแล้วแต่มีบริบทที่แตกต่างกันไป  ซึ่งจุดเริ่มต้นคงเป็นที่  การให้การศึกษา  การวางระบบคิด  การวางระบบการสะสมความรู้และประสบการณ์  ตลอดจน  การวางระบบคุณธรรมจริยธรรม  ในตัวคนให้มีคุณภาพและมาตราฐาน  แล้วการพัฒนาทั้งหลาย  คงจะนำไปสู่คุณภาพและความสำเร็จได้แน่นอน  ดังเช่น  ประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย  หรือยุโรป      ซึ่งให้ความสำคัญต่อ  ระบบการศึกษา  ยิ่ง...                                                กราบขอบคุณครับ
  หัวข้อที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๐ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ “Leadership in a Changing World” ซึ่งมีอาจารย์ Peter Bjork จาก Center for Change Management (CCM) มาเป็นผู้บรรยายและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ซักถามและอภิปรายร่วมกัน             นอกจากการกล่าวถึงภาพกว้าง ๆ ของประเทศสวีเดนให้นักศึกษาได้ฟังแล้ว อาจารย์ได้กล่าวถึงความเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากกระแสโลกาภิวัตน์  ซึ่งทำให้ต้องมีการเปลี่ยนรูปแบบการทำงานและเกิดความร่วมมือชนิดใหม่ ๆ มากมาย  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเขตการค้าเสรีในรูปแบบของทวิภาคี (Bilateral) และพหุภาคี (Multilateral) ซึ่งการร่วมมือในลักษณะดังกล่าว ประเทศใดประเทศหนึ่งจะได้ประโยชน์ฝ่ายเดียวไม่ได้ จำเป็นที่จะต้องเปิดโอกาสให้แก่ประเทศคู่ค้าหรือประเทศที่มีความร่วมมืออยู่ด้วยเช่นกันแบบสมเหตุสมผลหรือแต่ละฝ่ายยอมรับได้เพื่อประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งบางครั้งอาจจะต้องมีการปรับปรุงกฎระเบียบหรือกฎหมาย รวมทั้งลดการผูกขาดและเปิดตลาด (deregulation of market) เพื่อให้แต่ละฝ่ายไดมีช่องทางการค้าต่างตอบแทนที่มีต่อกัน            การดำเนินการในเรื่องข้างต้นมีลักษณะที่เป็นพลวัตร (dynamic) ที่บุคคลที่รับผิดชอบโดยเฉพาะผู้นำจะต้องมีสมรรถนะและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก  ซึ่งการเป็นผู้นำในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงจะต้องมีความสามารถอย่างน้อยในเรื่องต่าง ๆ ประกอบด้วย-          ความสามารถในการเชื่อมโยงระหว่างเป้าหมายและวิสัยทัศน์ให้บังเกิดผล-          การสร้างความได้เปรียบในเชิงแข่งขันขององค์กรให้เพิ่มขึ้น-          การบริหารการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาองค์กร-          การเสริมสร้างทัศนคติและการแสดงออกซึ่งความต้องการของพนักงาน-          การสร้งทีมงานที่มีประสิทธิภาพสูงในระดับต่าง ๆ -          การสร้างค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กรที่ดีการเป็นผู้นำนั้น แต่ละคนอาจจะมีสไตล์ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น ตัวผู้นำเอง ผู้ตาม ค่านิยมและวัฒนธรรมของสังคมนั้น ๆ รวมทั้งบริบทขององค์กรที่ตนสังกัดด้วยหากเรายึดเอาคน (People) และผลผลิตหรือผลงาน (Production) เป็นปัจจัยในการพิจารณาแล้ว ก็อาจจะแบ่งสไตล์ของผู้นำได้โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี X และทฤษฎี Y ซึ่งตามทฤษฎี X นั้น มีความเชื่อว่าคนมักไม่ค่อยดี ต้องมีการควบคุมสั่งการ  ซึ่งผู้นำตามทฤษฎีนี้จะคำนึงถึงผลงานเป็นหลัก ต่างจากผู้นำตามทฤษฎี Y ที่จะคำนึงถึงเรื่องความสัมพันธ์ ความเอื้ออาทรอย่างไรก็ตาม ในทางเป็นจริงแล้ว ทั้งในเรื่องงานและคนอาจจะมีส่วนผสมและจุดเน้นไปในระดับที่แตกต่างกัน ในบางสถาการณ์อาจต้องเน้นเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น การเร่งการผลิตให้ทันกับคำสั่งซื้อ (ถึงแม้พนักงานจะไม่ชอบใจที่ต้องทำงานมากขึ้นก็ตาม) อาจารย์ Peter ได้นำเสนอ Managerial Grid ซึ่งเป็นทฤษฎีของ Blake and Muton มาแสดงให้เห็นถึงสหสัมพันธ์ระหว่างการเน้นที่คน (Concern for people) และการเน้นที่ผลงาน (Concern for production) ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงสไตล์ของผู้บริหารใน ๔ ลักษณะด้วยกัน ประกอบด้วย๑.     ผู้บริหารที่เน้นเรื่องคนแต่ไม่เน้นเรื่องงาน (Country club management)๒.    ผู้บริหารที่เน้นทั้งเรื่องคนและเรื่องงาน (Team management)๓.    ผู้บริหารที่ไม่เน้นทั้งเรื่องคนและเรื่องงาน (Impoverished management)๔.    ผู้บริหารที่ไม่เน้นเรื่องคนแต่เน้นเรื่องงาน (Authority obedience)ทฤษฎีข้างต้นผมเคยอ่านพบในหนังสือพิมพ์เมื่อประมาณ ๒๐ ปี เห็นจะได้ แต่ครั้งนั้น เรียกผู้บริหารว่าเจ้านาย (Boss) โดยแบ่งออกเป็น ๔ ประเภทเหมือนกัน เรียกว่า นาย 4 Ts” ได้แก่๑.     นายประเภท งานไม่สน คนไม่สร้าง (Toxic Boss)๒.    นายประเภท งานก็สน คนก็สร้าง” (Tam Boss)๓.    นายประเภท งานสน คนไม่สร้าง (Tough Boss)๔.    นายประเภท งานไม่สน แต่คนสร้าง (Toy Boss)แน่นอนว่าผู้บริหารหรือนายที่พึงปรารถนาย่อมจะต้องเป็นประเภท “Team Boss” หรือ “Team Management” เพราะจะทำให้ได้ทั้งการสร้างคนและผลงานอาจารย์ยังเอาสถิติข้อมูลที่เป็นผลการวิจัยของ FARAX ที่สำรวจจากผู้นำในประเทศต่าง ๆ มาให้ศึกษาด้วย โดยใช้ตัวแปรทางด้านโครงสร้าง ความสัมพันธ์ ความเปลี่ยนแปลง มาวิเคราะห์ประเภทของภาวะผู้นำ (Type of Leadership) ซึ่งได้ข้อสรุปว่าผู้นำมีหลายประเภท ทั้งประเภทที่เป็น Laissez fair, Idea squirt, Nice guy, Bureaucrat, Gardener, Transactional, Entrepreneur  และ Visible อย่างไรก็ตาม ภาพที่นำเสนอยังขาดการอธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ชัดเจนในภาพว่าแต่ละภาพต้องการจะนำเสนออะไร ผมจึงได้แนะนำเชิงขอร้องอาจารย์ Peter ว่าอยากให้อาจารย์ทำคำอธิบายภาพที่ชัดเจนเพื่อใช้สำหรับอ้างอิงต่อไป ซึ่งอาจารย์รับปากที่จะไปดำเนินการมาให้  ก็ต้องขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย ตามข้อเสนอของ FARAX นั้น ผู้นำต้องมีการประเมินผล ๓๖๐ องศา ทั้งจากตนเอง เพื่อนร่วมงาน ผู้บังคับบัญชาเหนือตน และลูกน้อง โดยจะต้องเปรียบเทียบกับระหว่างเป้าหมายที่ต้องการกับสิ่งที่เกิดขึ้นจริง เพื่อให้เห็นปัญหาที่จะนำไปสู่การพัฒนาปรับปรุงต่อไปในอนาคต ซึ่งผู้นำในโลกยุคการเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องมีลักษณะความเป็นหุ้นส่วน (Partnership) คือมีส่วนร่วมในการดำเนินการ มีความอดทน (Endurability) บริหางานโดยมีวัตถุประสงค์ (Management by objective) เป็นผู้ที่ลงมือขับเคลื่อน (Acting as driving force) รวมทั้งเป็นผู้แก้ไขความขัดแย้ง (Conflict solving) นอกจากนี้ ก็จะต้องเป็นผู้ที่รักษาคำพูด รับฟังผู้อื่น พัฒนาตนเองอยู่เสมอ แลที่สำคัญ ต้องพึงระลึกอยู่เสมอว่า ผู้นำคือผู้ที่คนอยากเดินตามหรืออยากทำตามด้วยความยินยอมพร้อมใจ ไม่ใช่ทำตามเพราะเป็นคำสั่ง แต่ไม่มีใจให้ อย่างนั้นก็อาจเป็นได้แค่ผู้บังคับบัญชา ไม่ใช่ผู้นำ                                                           รักษ์เกชา แฉ่ฉาย

Surachet  Suchaiya (Mobile: 089 205 3098, [email protected])

HomeWork# 7 Human Capital (4-Aug-07)

Leadership in a changing world

Peter  Bjork

 

ความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันนี้

                        Guest Speaker ในวันนี้คือ Mr.Peter Bjork จาก Center for Change Management (CCM) Sweden.  Mr.Peter Bjork สอนในระดับปริญญาโทในสถาบันอุดมศึกษาหลายที่ในประเทศไทย  เนื่องจาก Mr.Peter  Bjork เป็น Guest  Speaker ชาวต่างชาติที่มาบรรยายใน Class ทำให้ได้ความรู้สึกเปลี่ยนบรรยากาศ ไปกว่า Guest Speaker ท่านอื่นๆ  ดีครับมีผู้ทรงคุณวุฒิและชำนาญการในแต่ละด้านมาบรรยาให้ฟังโดยตรง.

                        ผมได้รับทราบว่าผู้นำในโลกปัจจุบันที่หมุนเร็วขึ้นหรือที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจะต้องปรับตัวให้เข้ากับ

-          Law and Reguration กฏหมายและระเบียบต่างๆ  รอบตัวเรา, องค์กรของเรามีการเปลี่ยนแปลง  เช่น กฏระเบียบต่างๆของภาครัฐ ที่บัญญัติออกมา ส่งผลกระทบต่อสินค้าและบริการขององค์กรของเรา ผู้นำจะต้องเรียนรู้วิธีที่นำองค์กรให้สามารถอยู่ร่วมกันได้  หรือ มีปรับกลยุทธ์ขององค์กรทั้งเชิงรุก หรือ เชิงรับ  กับกฏระเบียบต่างๆที่มีการเปลี่ยนแปลงไป.

-          Deregulation of  Markets  มีการเปิดการแข่งในตลาดใหม่ที่ยังไม่มีลูกค้า (non-consumer) แต่มีความต้องการจะใช้สินค้า/บริการนี้อยู่และพร้อมจะเป็นลูกค้าหากมีการเปิดตลาดในส่วนนี้ เช่น สายการบิน Lowcost airline หรือสายการบินต้นทุนต่ำบริการสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางรวดเร็วโดยเครื่องบินแต่ราคาไม่แพงกว่ารถยนต์ เป็นต้น ผู้นำจะต้องมองเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้และตระหนักดี.

-          Globalization  กระแสโลกาภิวัตน์ ปัจจุบันเป็นโลกยุค IT (Information Technology) ยุคข้อมูลข่าวสาร  (Borderless World) โลกไร้พรมแดน มีการเคลื่อนย้ายของผู้คนต่างชาติต่างภาษาและสินค้า/บริการ เข้ามาแข่งขันกันอย่างเสรี เป็นยุคของ Knowledge worker  ผู้นำจะต้องรู้เท่าทันโลกที่เปลี่ยนไป.

-          Shorter Product life cycle วงจรชิวิตของสินค้าสั้นลง เห็นได้ชัดเจนในสินค้าเทคโนโลยีและการสื่อสาร เช่น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือเป็นต้น. เป็นผลมาจากการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว  ผู้นำจะต้องรับรู้และตระหนักดีถึงข้อมูลที่เปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา.

 

Leadership issues have increased in importance  (ผู้นำต้องให้ความสำคัญเพิ่มมากขึ้นในสิ่งต่างๆดังนี้)

-          Communicating goals and visions สื่อสารให้ผู้ใต้บังคับบัญชา/เพื่อนร่วมงาน/ผู้บังคับบัญชาทราบถึงเป้าหมายและวิสัยทัศน์ขององค์กร.

-          Increasing companies’ competitive advantage เพิ่มความสามารถในการแข่งขันที่ได้เปรียบให้แก่องค์กร.

-          Implementing organizational change and development  ดำเนินการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาองค์กรให้เกิดขึ้นอย่างรูปธรรม.

-          Influencing and transforming employees’ need and attitudes  สร้างแรงจูงใจในการทำงานและให้ผู้ร่วมงานมีแนวคิดไปในทางเดียวกันกับองค์กร.

-          Creating high performing teams at different levels  สร้างทีมงานที่พร้อมจะทำงานให้เกิดขึ้นทุกระดับในองค์กร.

-          Creating corporate values and culture  สร้างมูลค่าเพิ่มและวัฒนธรรมที่ดีในการทำงานให้แก่องค์กร.

 

จากผลการวิจัยของ FARX เกี่ยวกับผู้นำที่ดีควรมีลักษณะดังนี้.

1.ผู้นำต้องเป็นผู้กำหนดกลยุทธ์และบทบาทให้องค์กร ชี้ทางให้คนเดิน.

2.ผู้นำต้องกำหนดบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจนให้แก่คนในองค์กร

3.ผู้นำต้องสร้างคนให้พร้อมทำงาน.

4.ผู้นำต้องเลือกใช้คนตรงงาน ตรงความสามารถที่เขาถนัด.

5.ผู้นำต้องส่งเสริมผู้ใต้บังคับบัญชาให้สามารถแสดงความรู้ความสามารถได้เต็มที่.

6.ผู้นำต้องเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่คนในองค์กร

7.ผู้นำต้องเปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นจากผู้ร่วมงานและลูกค้า.

8.ผู้นำต้องรู้เท่าทันปัญหาภายหน้าที่จะเกิดขึ้นและไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคพร้อมแก้ไข.

Dear Prof. Chira,

Saturday 11, August 2007 was another interesting Human Capital class. We had K. Sirilak Meksang as our instructor. The topic was "Competency-Based Management".

She described the important of the "Competency" and needs of the skills for modern organizations.

The definition of Competency and characteristics of the leaders were discussed. Class also went along and shared different views on these. I had an opportunity to share the "ABC Theory" which are one of the sample of the important of positive attitude, good behavior and consequences of the individual employee to the organization.

K. Sirilak introduced the "Organization Health Check" which are similar theory to the "SWOT". The Organization Healthe Check is now become more popular. This excercise provides the result on strategy, system, strucutre and process or practice.

The basic competency must covered :

 - Core Competency

-  Functional Competency

-  Leadership Competency

- Managerial Competency

Sample of the Leadership Competency are-:

- Systematic Thinking

- Intercultural Competences

- Extensive and Continuous Training

- Personal Standard and Standard of Behavior

Competencies can identified individual employee of their level and capabilities on their performance. The employees performance are the key factor to the sucess of the firm.

The 2 main factors of each organizations required "Organization Capability", therefore people or employee and business process are the basic factors. The Organization Capability are including the financial capability, marketing capability, technological capability and people management capability. 

With the competitiveness in the global environment, the organization must focus more on the key factors of success. Competency are one of the basic factor which required and must educated to their organization.

K. Sirilak had sample of the illustration on the different level of employee which most of the organization has 4 different levels to identified group of employees. 

The illustration of the Competency and Human Resouces Managment was also discussed and to understand more on the description and topic of competency, the instrutor had samples of the competency for the class.

I understand and foresee more on the important of competency identification and how the good leadership have direct impact to the firm's moral.

It was one of the fruitful class & we looking forward to have k. Sirilak back as our instructor again in near future.

Best regards,

Sarah (NaPombhejara)Allapach

SSRU/DM

12 August, 2007

 

Human Capital Management Homework#7. โดยนายปรีติ ปิติอลงกรณ์ เสนอ อ.Peter Bjork และ ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สิ่งที่ได้รับจากการเรียนในครั้งนี้คือ ระบบการศึกษาที่ดี และการได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง สามารถทำให้คนมีคุณภาพ นำพาประเทศสู่ความเจริญรุ่งเรืองได้อย่างประเทศ Sweden เป็นต้น ประชาชนในประเทศสามารถเรียนฟรีโดยมีรัฐบาลสนับสนุน ประเทศ Sweden เป็นประเทศเล็กๆ แต่มี Brand ระดับโลกเกิดขึ้นใน Sweden มากมาย เช่น Ericsson ABB Electrolux Scania เป็นต้น

อ.Peter ได้บรรยายเรื่องภาวะผู้นำในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงว่าโลกเราเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยมีปัจจัยที่ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงได้แก่ กฎหมายและความสงบสุข, ความไม่แน่นอนของตลาด, โลกาภิวัตน์ และ วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ที่สั้นลง ในเมื่อสภาวะแวดล้อมเปลี่ยนแปลงตลอดผู้ที่เป็นผู้นำต้องสามารถจัดการกับผลที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงนั้นให้ได้ โดย อ.Peter ยกตัวอย่างผู้นำในแบบที่เน้นคน กับเน้นงานหากนำ 2 อย่างมาสัมพันธ์กันจะทำให้เกิด Managerial Grid 4 แบบ คือ Improverished, Country Club, Authority Obedience และ team Managment 9.9 ซึ่งมี Style แตกต่างกัน อ.Peter ได้ยกตัวอย่างการพัฒนาผู้นำของ FARAX โดยมีการนิยามความเป็นผู้นำแบบต่างๆ แล้วนำไปใช้ประเมินหน่วยงานรัฐและบริษัทเอกชนกว่า 4,000 แห่ง เพื่อวัดผลมาให้ดู อ.Peter ได้บรรยายถึงลักษณะความเป็นผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงว่าต้องเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมในการดำเนินงาน, มีความอดทนอดกลั้น, บริการโดยวัตถุประสงค์, ลงมือปฏบัติเพื่อขับเคลื่อน, และเป็นนักคลี่คลายข้อโต้แย้ง อ.Peter พยายามใช้เวลาที่เหลือเพื่อทำ WorkShop สั้นๆ แต่หมดเวลาก่อนครับ

Test

Surachet  Suchaiya (Mobile: 089 205 3098, [email protected])

HomeWork# 8 Human Capital (11-Aug-07)

Competency

อ.ศิริลักษณ์  เมฆสังข์

 

ความรู้ที่ได้จากการเรียนในวันนี้

            นี่เป็นครั้งที่ 2 ที่ได้ฟังการบรรยายของ อ.ศิริลักษณ์ วันนี้เป็นหัวข้อ Competency  แปลเป็นภาษาไทยว่า สมรรถนะ   Competency หรือ  สมรรถนะ จะต้องจากองค์ประกอบดังนี้

                    ความรู้ (Knowledge)

                    พฤติกรรมและการนำไปปฎิบัติ (Behavior)

                    ทักษะ (Skill) 

                    ความสามารถ (Capability)

            เนื่องจากจะต้องมีความรู้ในด้านนั้นๆ เมื่อรู้แล้วก็ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของผู้รู้ว่าจะนำไปปฎิบัติได้อย่างไร  เมื่อมีการนำไปใช้บ่อยๆ เข้าผู้ใช้จะเกิดความชำนาญในสิ่งที่ปฎิบัตินั้นก็คือทักษะทำเราเป็นผู้มีความสามารถ

 

            Core Competency หรือ แกนหลักของสมรรถนะ  ปัจจุบันนี้องค์กรส่วนใหญ่เน้นที่ความซื่อสัตย์สุจริต หรือ Integrity เป็น Core Competency ขององค์กร  ซึ่ง Integrity ตัวนี้เองจะช่วยให้องค์กรอยู่รอด มีความสามารถแข่งขันในตลาดและประสบความสำเร็จได้.

 

ปัจจัยแห่งความสำเร็จ มีส่วนประกอบดังนี้

Compliance committee

Code of Conduct

Ethics

 

ความรู้ที่ได้จาก Share Knowledge กันในการเรียนวันนี้

ABC Theory

A = Attitude (ทัศนคติฉ)

B = Behavior (พฤติกรรม)

C = Consequence

 

            เมื่อมองดูองค์กรส่วนใหญ่สังคมไทยที่มีวัฒนธรรม การบริหารงานโดยถือความอาวุโสเป็นหลัก หรือ Seniority   ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ การปรับเลื่อนตำแหน่งในระบบราชการที่ยึดถือเรื่องความอาวุโสเป็นหลัก   ไม่ใช่เรื่องความรู้ความสามารถ ที่สร้างประโยชน์ให้กับองค์กร ทำให้เกิดปัญหาสมองไหล  เป็นต้น.  เรื่องนี้มิได้เกิดในระบบราชการของไทยเท่านั้นแต่ในบริษัทเอกชนส่วนใหญ่ของไทยก็เป็นเช่นนั้น เรียกได้ว่าเป็น Seniority System  Culture การบริหารงานของคนไทยส่วนใหญ่     หากจะแก้ไขเรื่องนี้คงเริ่มที่การปรับ กระบวนทัศน์ (Paradigm)

 

จากตัวอย่าง Chief Responsibility  Produce Leader  เป็น Succession Planning นั้นคือ หน้าที่ของผู้บริการระดับสูงคือ การสร้างผู้นำ  มีผู้เปรียบเรื่องนี้ไว้ ดังตะปู(ผู้ใต้บังคับบัญชา) กับกระดาน(ระบบงาน) หากตะปูตัวใดสามารถโผล่ไม้กระดาษขึ้นมาได้    หน้าที่ของผู้บริหารไม่ใช่การถือค้อนไปตอกตะปูแต่ละตัวให้อยู่ในระนาบไม้กระดาษเดียวกัน  แต่ผู้บริหารจะต้องปล่อยให้ตะปูโผล่พ้นไม้กระดาษขึ้นมา และพิจารณาว่าความสูงของตะปูแต่ละตัวที่สามารถโผล่พ้นไม้กระดาษขึ้นมาได้ สูงแสดงถึง Potential ยิ่งสูงมากแสดงว่ายิ่งมี Potential มาก    เมื่อรู้เช่นนี้แล้วคุณก็สามารถ Produce Leader ได้.

 

Cross Functional  การทำ Cross Functional องค์กรจะต้องมีตัวชี้วัด หรือ KPI (Key Performance Indicator)  เป็นระบบประเมินการทำงาน  ซึ่งการจัดการระบบการประเมินการทำงานที่ดี มีองค์ประกอบดังนี้

-          วัดผลในสิ่งที่มอบหมายให้เขาทำ

-          การวัดผลนี้คุณจะต้องบอกเขาล่วงหน้าตั้งแต่ต้นปี แจ้งว่าจะวัดในสิ่งใดที่มอบหมายให้

-          การวัดผลต้องทำเป็นระยะโดยอาจจะมีการจดบันทึกผลการประเมิน หรือไม่ก็ตาม แต่จะต้องมีการแจ้งให้เขาทราบ เพื่อให้เกิดการปรับปรุง

-          ต้องใช้ Performance ไปในการพัฒนาคน เน้นพัฒนาที่จุดแข้ง (Strength)

 

การวิเคราะห์จุดแข็ง/จุดอ่อนในองค์กร หรือ Organization SWOT Analysis  สำหรับในปัจจุบันเรานิยมทำ Organization Health Check แทนการ SWOT องค์กร

Organization Health Check  มีส่วนประกอบดังนี้

-          Strategy (กลยุทธ์ขององค์กร)

-          Structure  (โครงสร้างในองค์กร)

-          System  (ระบบในองค์กร)

-          Process / Practices  (กระบวนการทำงานและการฝึกหัดในองค์กร)

            ในส่วนของ กระบวนการทำงานและการฝึกหัดในองค์กร เมื่อมีการทำ Health check ไปแล้วมักจะสะท้อนกลับมาในรูป Communication และ Leadership ที่จะต้องปรับปรุงเป็นต้น.

;

 

 

จากภาพ Potential  Matrix เป็นเครื่องมือใน Talent Management  ใช้ในการจัดการ Talent ของพนักงานในองค์กรคล้ายกับตาราง Type of Performance ที่ อ.พจนาถ ซีบังเกิด  บรรยายไว้

ที่จะมี 4 กลุ่ม

Rising Start (High Performance / High Potential)

Work Horse (High Performance / Low Potential)

Deadwood (Low Performance / Low Potential)

                Problem Child (Low Performance / High Potential)

***   วันเสาร์ที่ 11 ส.ค. 50  อาจารย์ศิริลักษณ์  เมฆสังข์ นำความรู้มาถ่ายทอดให้พวกเราอีกครั้งในหัวข้อ Competency-Based  Management  เริ่มด้วยความหมายของ Competency หมายถึง ทักษะ ความรู้  ความสามารถ และพฤติกรรม (Skill, Knowledge and Attributes / Behavior)      ของบุคคล  การที่บุคคลมีเพียงความฉลาดยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เขาเป็นผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานที่โดดเด่น แต่จำเป็นต้องมีแรงผลักดันเบื้องลึก ที่ทำให้เขาสามารถนำศักยภาพที่มีอยู่ในตัวเองออกมาสร้างให้เกิดผลงานที่โดดเด่นได้ เพื่อประโยชน์ต่อตนเองและองค์กร  เนื่องจากภาวะการณ์แข่งขันที่เข้มข้น  องค์กรต้องสามารถดำเนินการในเชิงรุกมากกว่าการตั้งรับ ดังนั้นบุคลากรที่มี Competency เท่านั้นที่จะสามารถเดินไปพร้อมๆกับผู้นำLeadership เพื่อนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศในธุรกิจ *** คุณลักษณะของCompetencyที่ดีต้องวัดและประเมินผลได้ Competency ที่ใช้ในปัจจุบันแบ่งเป็นมุมมองตามลำดับขั้นของ Competency ดังนี้ 1.Core Competency คือ การแสดงออกของพฤติกรรมของพนักงานทุกคนในองค์กรที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ความเชื่อ และอุปนิสัยของคนในองค์กรโดยรวม 2. Functional Competency คือ ความรู้ ความสามารถในงานซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะและคุณลักษณะเฉพาะของงานต่างๆ ได้แก่ การตลาด การเงิน ฝ่ายขาย ฝ่ายทรัพยากรบุคคล เป็นต้น 3. Leadership Competency คือ ขีดความสามารถและคุณสมบัติของภาวะผู้นำในระดับผู้บริหาร  4. Managerial Competency คือ ความรู้ ความสามารถด้านการบริหารจัดการ เป็นขีดความสามารถที่มีได้ทั้งในระดับผู้บริหารและระดับพนักงานโดยจะแตกต่างกันตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ *** หน่วยงานที่มีความสำคัญต่อการนำ Competency มาใช้ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลการปฏิบัติงานคือฝ่ายทรัพยากรมนุษย์  ดิฉันขอนำข้อคิดเห็นซึ่ง Jack & Suzy Welch ได้เสนอไว้ในหนังสือ Winning: The Answers ว่า HR.เป็นหมัดเด็ดเพียงอย่างเดียวของบริษัททุกแห่ง เพราะจะมีงานอะไรสำคัญไปกว่าการพิจารณาว่าควรจ้างใคร พัฒนาใคร โปรโมตใคร หรือไล่ใครออก  ธุรกิจก็เปรียบได้กับเกมๆหนึ่ง ซึ่งเป็นเกมที่จำเป็นต้องมีทีมที่มีผู้เล่นฝีมือดีที่สุด และทำให้พวกเขาเล่นด้วยกันเพื่อคว้าชัยชนะได้ ซึ่ง HR.ในบริษัทส่วนใหญ่ยังไม่เข้าใจงานและบทบาทของตนเอง ฝ่ายHR.จึงมักสนใจแต่เรื่องวางแผนไปปิกนิก จัดทำจดหมายข่าวของบริษัท และทำให้พนักงานปวดหัวด้วยการออกกฏระเบียบที่ดูแล้วไม่น่าจะมีจุดหมายใดนอกจากเพิ่มความเป็นระบบราชการแก่องค์กรมากขึ้น  Jack & Suzy Welch ได้เสนอแนะการวางคนในฝ่ายHR.แบบลูกผสมคือ คนซึ่งภาคหนึ่งเหมือนนักเทศน์ รับฟังคำสารภาพบาปและเรื่องราวร้องทุกข์ทุกประเภทโดยสงบ และอีกภาคหนึ่งเหมือนพ่อแม่ คือให้ความรัก คอยดูแลแต่สามารถว่ากล่าวตรงไปตรงมาถ้าคุณออกมานอกลู่นอกทาง  แต่HR.ลูกผสม ไม่ได้มีหน้าที่ประคบประหงมให้ใครรู้สึกอบอุ่นหรือใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว  แต่ทำให้บริษัทดีขึ้นด้วยการดูแลเรื่องการประเมินผลอย่างจริงจังและมีระบบการประเมินผลที่บอกให้ทุกคนในองค์กรรู้ว่าตัวเองทำได้ดีแค่ไหน และคอยติดตามดูการทำงานของระบบดังกล่าวอย่างเข้มงวด ซึ่งสอดคล้องกับคุณลักษณะของ Competencyที่ดีต้องสามารถวัดและประเมินผลได้*** อย่างไรก็ตาม ฝ่ายHR.จะเป็นHR.แบบเดิมๆ หรือแบบในยุค New Economy ก็คงไม่พ้นวิสัยทัศน์และภาวะของผู้นำองค์กร  ในการนำองค์กรไปสู่การเป็นผู้ชนะในเชิงธุรกิจซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ คือ การบริหารจัดการในเรื่องของคนPeopleในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมBehavior และวิธีการดำเนินธุรกิจBusiness Procees ให้มีคุณภาพ  ซึ่ง C.K.Prahalad กล่าวถึงคุณสมบัติของผู้บริหารยุคใหม่ว่าจะต้องมีคุณสมบัติ 1.คิดอย่างมีระบบSystematic Thinking มีความเข้าใจและสังเคราะห์เรื่องต่างๆได้ - สามารถเชื่อมโยงแนวคิด กิจกรรมต่างๆ เข้าด้วยกันและมองไปในอนาคตได้ 2.สามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมอื่นIntercultural Competence มีความสามารถด้านภาษา ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในประวัติศาสตร์ ศาสนา และศิลปกรรม จะช่วยให้ปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมอื่นได้ดี 3.ฝึกฝนอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง Extensive and Continuous training ต้องเปิดใจกว้างรับความคิดใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจ 4.มีมาตรฐานและพฤติกรรมที่เหมาะสมPersonal Standard and Standard of Behavior ผู้บริหารต้องมีมาตรฐานความรู้ ความสามารถสูง มีความรับผิดชอบ และมุ่งทำให้เกิดผลสำเร็จของงานที่รับผิดชอบStandard of Excellence  *** ขอขอบพระคุณอาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ ที่ได้สละเวลามาให้ความรู้ที่มีคุณค่าแก่พวกเรา ***  ศุภรา เจริญภูมิ  SUPPARA  CHAROENPOOM ***
นางสาวชารวี บุตรบำรุง
การบ้าน เรียนวันที่ 11 สิงหาคม 2550 บรรยายโดย..อ. ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ผู้เรียน.. นางสาวชารวี  บุตรบำรุง        การเรียนในวันนี้อาจารย์บรรยายเรื่อง Competency-Based Management
  • Competency หมายถึง สมรรถนะ ประกอบด้วย ทักษะ : skill ความรู้ : Knowledge พฤติกรรม/ความสามารถ : Behavior/Capability เป็นการกำหนดว่าคนในองค์กรควรมีลักษณะแบบไหน ที่เรียกว่า Core Competency ประกอบด้วย Functional Competency , Leadership Competency , Managerial Competency
  • เราต้องรู้อะไร  ทำงานนั้นๆอย่างไร  ควรมีพฤติกรรม (ซึ่งเป็นเรื่องที่ยาก) หรือคุณลักษณะเฉพาะอย่างไร
        เพราะฉะนั้น Competency ต้องสามารถวัดได้          Core  Competency ที่สำคัญต้องมี จริยธรรม ความซื่อสัตย์ (ปัจจุบันเป็นส่วนที่สำคัญ เป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จ) และ CSR ซึ่ง  Core  Competency มาจาก ค่านิยม วัฒนธรรมขององค์กร
  • สิ่งที่องค์กรสมัยใหม่ต้องการ คือ การเป็นคนที่กล้าคิด รับผิดชอบ สร้างCredit ให้ตัวเอง และ Care ผู้อื่น รวมทั้งต้อง มีความรู้ใหม่ๆ มีทักษะ ทัศนคติที่ดี ภาวะผู้นำ ความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง
  • คุณลักษณะของผู้บริหารยุคใหม่ โดย .. C.K Prahalad
1.      คิดอย่างมีระบบ : Systemmatic Thinking สามารถเข้าใจและสังเคราะห์เรื่องต่างๆได้ เชื่อมโยงแนวคิด มองไปในอนาคต2.      สามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมอื่นได้ : Intercultural Competence มีความสามารถด้านภาษา เข้าใจในประวัติศาสตร์ ศาสนา เป็นต้น ซึ่งคนไทยยังได้รับการผลักดันน้อยในเรื่องนี้3.      ฝึกฝนอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง : Extensive and Continuous Training เปิดใจกว้างรับแนวคิดใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่ๆ การดำเนินธุรกิจใหม่ๆ4.      มีมาตรฐานและพฤติกรรมที่เหมาะสม : Personal Standard and Standard of Behavior ผู้บริหารต้องมีความรู้ ความสามารถ ความรับผิดชอบสูง เพื่อเกิดผลสำเร็จกับงานที่รับผิดชอบ     งานวิจัย “ Measures That Matters “ โดย Ernest & Young’s Center for Business Innovation กล่าวว่า ตัวชี้วัดสมรรถนะที่ไม่ใช่ด้านการเงิน ที่นักลงทุน ให้ความสำคัญ คือ การปฏิบัติตามกลยุทธ์ขององค์กร , ความน่าเชื่อถือของฝ่ายบริหาร , คุณภาพของกลยุทธ์ , ความสามารถด้านนวัตกรรม , ความสามารถในการดึงดูดบุคคลที่มีความสามารถ , ส่วนแบ่งการตลาด , การดำเนินงานในกระบวนการที่สำคัญ , การเป็นผู้นำด้านการค้นคว้าและพัฒนาความรู้ใหม่ๆ     เหตุที่ต้องมี Competency
  • ภาวการณ์แข่งขันที่เข้มข้น (ต้องสามารถบุกมากกว่าตั้งรับ)
  • ต้องการบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถที่นำไปใช้ได้จริงเกิดผลสำเร็จ
  • ต้องการผู้นำที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
     การจัดทำ Competency สำหรับองค์กร คือ การสำรวจว่า องค์กรต้องมีบุคลากรแบบไหนที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ อาจใช้การวิเคราะห์ SWOT ซึ่งเป็นการมองในภาพ Micro หรือ วิเคราะห์ Organization health check เป็นการมองภาพ Macro ใช้การCommunication , Leadership โดยดูจาก Strategy , Structure , System , Process หรือ Practices      คุณลักษณะของ Competency ที่ดี
  • พฤติกรรมที่แสดงออกให้เห็นว่า รู้อะไรบ้าง ทำอะไรได้บ้าง เป็นคนอย่างไร
  • จำเป็นต่อการปฏิบัติงานซึ่งได้ผลดีกว่ามาตรฐานทั่วไป
  • วัดและประเมินได้
  • พัฒนาได้
  • สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ขององค์กร
     ความสำเร็จในการจัดทำ Competency จะเกิดขึ้นได้
  • เชื่อมโยง Competency กับเป้าหมายขององค์กร เป้าหมายทางธุรกิจตลอดเวลา
  • เริ่มจากการร่าง Competency ที่ใช้กันโดยทั่วไปก่อน
  • คัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมเป็นทีมในการจัดทำ Competency
  • เน้นเรื่องการนำไปใช้ได้ ไม่ใช่สร้าง Model ขึ้นมา
  • การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง
  • สื่อสารแจ้งให้พนักงานทราบบ่อยๆ
  • จัดทำการประเมิน Competency ที่ง่ายไม่ซับซ้อน
  • จัดให้มีการฝึกอบรมและการสื่อสารสำหรับผู้จัดการและพนักงาน
  • เริ่มทดลองใช้ Competency กับบางแผนกก่อน
  • ผู้บริหารระดับสูงต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย
     นอกจากนี้อาจารย์ได้บรรยายถึง เครื่องมือ Talent Management ที่เป็นสากล (ที่กพ. ใช้อยู่) เรียกว่า Potential Matrix : แมทริกซ์ศักยภาพ พบว่า 
  • ผู้ถูกประเมินที่ Performance  , Leadership Competency = very good คือ High Potential
  • ผู้ถูกประเมินที่ Performance  , Leadership Competency = good คือ Good performer
  • ผู้ถูกประเมินที่ Performance  , Leadership Competency = Improvement คือ กลุ่มที่มีปัญหากับองค์กร ต้องเร่งพัฒนาด่วน
  • ผู้ถูกประเมินที่ Performance = good หรือ very good แต่ Leadership Competency = Improvement คือ กลุ่มที่เป็นนักวิจัยไม่ได้พบผู้คน
  • ผู้ถูกประเมินที่ Performance = Improvement แต่ Leadership Competency = good หรือ very good  คือ การที่ต้องกลับไปดูระบบของการประเมินว่าเป็นอย่างไร มีวิธีการประเมินที่ดีหรือไม่ เป็นต้น
ซึ่งจะเกิดผลสำเร็จได้ สิ่งที่สำคัญคือ ภาวะผู้นำที่ต้องมีทั้งคุณธรรมและจริยธรรมด้วย..ขอบคุณค่ะ .......................................................    
นายสิทธิชัย ธรรมเสน่ห์

เรียน ศ.ดร.จิระ  หงส์ลดารมภ์

     จากการศึกษาเรื่อง  Competency-Based Management กับท่านอาจารย์ ศิริลักษณ์  เมฆสังข์  เมื่อวันเสาร์ที่  11  สิงหาคม 2550 สรุปได้ดังนี้

Competency  หมายถึง สมรรถนะ ได้แก่ ทักษะ (Skill) , ความรู้ (Knowledge) และพฤติกรรม (Behavior) ของบุคลากรที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน

ความสำคัญของ Competency ต่อองค์กร                 

  • ใช้เป็นมาตรฐานในการประเมินศักยภาพของการปฏิบัติงาน
  • เพื่อเป็นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ และวิสัยทัศน์ขององค์กร

สิ่งที่องค์กรสมัยใหม่ต้องการ

  • ความรู้ใหม่ (New Knowledge)
  • ทักษะและความสามารถที่ใช้งานได้ (Effective Skills/Competency)
  • ทัศนคติที่ดี (Positive Attitude)
  • การทำงานที่มีระบบที่ดี (Systematic Approach)
  • ความสามารถในการแข่งขัน (Compettitiveness)
  • ความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)
  • ภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership)

คุณลักษณะของผู้บริหารยุคใหม่

  1. คิดอย่างมีระบบ (Systematic Thinking)
  2. สามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมอื่นได้ (Intercultural Competence)
  3. ฝึกฝนอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง (Extensive and Continuous Training)
  4. มีมาตรฐานและพฤติกรรมที่เหมาะสม (Personal Standard and Standard of Behavior)

ในยุค New Economy การเป็นผู้ชนะในเชิงธุรกิจ ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ นั่นคือ คน + วิธีการดำเนินธุรกิจ = ความสามารถขององค์กร

ปัจจัยหลักของการแข่งขัน

    ความสามารถขององค์กร ประกอบด้วยความสามารถ  4  ด้าน

  1. ด้านการเงิน
  2. ด้านการตลาด
  3. ด้านการบริหาร "คน"
  4. ด้านเทคโนโลยี

กุญแจแห่งความสำเร็จในการปรับเปลี่ยน

   คน + พฤติกรรม = ความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจ

People + Behavior =  Business Transformation

ลำดับขั้นของ Competency

  • ระดับองค์กร (Organization Level ) คือความสามารถหลักขององค์กร (Core Competency) ซึ่งพนักงานทุกคนต้องมี
  • ระดับฟังก์ชั่น (Function Level) ได้แก่ การเงิน , การตลาด , ฝ่ายขาย , ฝ่ายบุคคล ฯลฯ
  • ระดับตำแหน่งงาน (Specific Job Level) เช่น นักวิเคราะห์การเงิน

สาเหตุที่ต้องมี Competency

  1. ภาวะการณ์แข่งขันที่เข้มแข็ง (บุก มากกว่า    ตั้งรับ)
  2. ต้องการบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถที่นำไปใช้ได้จริง
  3. ต้องการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

การวิเคราะห์และจัดทำ Competency สำหรับองค์กร

      ศึกษา Strategic Intents , Vision , และ Organization Core Capabilities เพื่อให้ทราบ     ทิศทางการดำเนินธุรกิจ และจุดเด่นขององค์กร

การวิเคราะห์และจัดทำ Competency สำหรับองค์กร

  ผู้บริหารควรวิเคราะห์ในเรื่องต่างๆ ดังนี้

  1. องค์กรมีแผนกลยุทธ์และแผนงานสำคัญอะไรบ้าง
  2. วัฒนธรรมขององค์กร หรือค่านิยมที่บุคลากรในองค์กรมีร่วมกันมีอะไรบ้าง
  3. ความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงขององค์กร

คุณลักษณะของ Competencies  ที่ดี

  1. พฤติกรรมที่แสดงออกให้เห็นว่า รู้อะไรบ้าง ทำอะไรได้บ้าง และเป็นคนอย่างไร
  2. จำเป็นต่อการปฏิบัติงานซึ่งได้ผลดีกว่ามาตรฐานทั่วไป
  3. จัดและประเมินได้
  4. พัฒนาได้
  5. สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ขององค์กร

รูปแบบของการกำหนด Competency

  • หัวข้อ
  • คำอธิบายความหมาย
  • เครื่องบ่งชี้พฤติกรรมที่ต้องการ
  • ระดับของ Competency

ความสำเร็จในการจัดทำ Competencies จะเกิดขึ้นได้เมื่อ

  1. เชื่อมโยง Competencies กับเป้าหมายขององค์กร , ธุรกิจตลอดเวลา
  2. เริ่มจากการร่าง Competency ที่ใช้กันโดยทั่วไปก่อน
  3. คัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมมาเป็นทีมในการ    จัดทำ
  4. เน้นเรื่องการนำไปใช้ได้ ไม่ใช้สร้าง Model  ขึ้นมา
  5. การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง
  6. สื่อสารให้พนักงานทราบบ่อยๆ
  7. จัดทำการประเมิน Cpmpetency  ที่ง่ายไม่ซับซ้อน
  8. จัดให้มีการฝึกอบรม และการสื่อสารสำหรับ      ผู้จัดการ และพนักงาน
  9. เริ่มทดลองใช้ Competencies กับบางแผนกก่อน
  10. ผู้บริหารระดับสูงต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย

                                         - ขอบคุณครับ -

                                  นายสิทธิชัย  ธรรมเสน่ห์

การจัดการทุนมนุษย์ครั้งที่ 7Competency-based Managementอาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

วันที่ 11 สิงหาคม 2550

 

อาจารย์เริ่มบรรยาย Overview ตั้งแต่ความหมายของ Competency  และสิ่งที่องค์กรสมัยใหม่ต้องการ เช่นความรู้ใหม่ ๆ ทักษะและความสามารถที่ใช้งานได้ ทัศนคติที่ดีในการทำงานอย่างมีระบบ ผู้นำมีความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลงให้แข่งขันได้ในยุคโลกาภิวัตน์ ระหว่างการบรรยายมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันตลอดเวลาสร้าง

บรรยากาศที่ดีในการเรียน

Competency: an underlining characteristics of an individual that is causally related to criterion-referenced effective and/ or superior performance in a job or situation. (David C. McClelland, 1993)

 

Competency: The state or quality of being properly or well qualified (The American Heritage dictionary)

 

Competency เป็นองค์ประกอบ (Cluster) ของทักษะ ความรู้ความสามารถและพติกรรม (Knowledge, Skill, Attributes and Behavior) เป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้ของปัจเจกบุคคลที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ของงานอย่างมาก เป้าหมายของการจัดทำ Competency เพื่อ Good Quality or Excellent  

 Competency ที่นิยมใช้มี 3 ระดับ

1. ระดับองค์กร ซึ่งเป็นความสามารถหลัก (Core Competency) ที่ทุกคนในองค์กรต้องมี

2. ระดับการปฏิบัติ (Functional Competency) หรือบางครั้งอาจใช้คำว่า Professional Competency)3, ระดับตำแหน่งงาน อาจใข้คำว่า Leadership Competency หรือ Technical Competency

 

การเขียน Competency จะประกอบด้วย 4 ส่วน 1.      ชื่อหลักของ Competency2.      คำจำกัดความหรือคำอธิบาย3.      พฤติกรรมหลัก หรือตัวบ่งชี้พฤติกรรม4.      ระดับความสามารถ

 

อย่างไรก็ตามการจัดทำ Competency ขององค์กรต่าง ๆ

มีการเขียนไว้ตามขั้นตอนที่ถูกต้องชัดเจนตามวิสัยทัศน์

พันธกิจ มีการวัดและประเมินผลจากตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรม แต่ในสิ่งที่ปรากฎในองค์กรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาครัฐ

จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่ายังมีคำถามมากมาย เช่นทำไมพฤติกรรมการบริการที่แสดงออกกับการประเมินผล

ความพึงพอใจไม่สอดคล้องกัน  หรือในเมื่อมีการประเมินสมรรถนะแล้วทำไมยังส่งอบรม 100% แทนที่จะส่งอบรมเฉพาะที่ไม่ได้ตามเกณฑ์ หรือต่ำกว่าเกณฑ์ กรณีที่ประเมินสมรรถนะความเป็นผู้นำได้เพียงเกณฑ์หรือต่ำกว่าเกณฑ์

ที่กำหนดแต่ไม่ทำอะไรที่บ่งบอกถึงการมีแผนการเพื่อเพิ่มสมรรถนะนั้น ๆ ถ้าจะตอบคำถามนี้อาจจะต้องกลับไปทบทวน การทำ SWOT Analysis หรือ Health Check

อาจจะไม่ตรงประเด็นก็ได้

                               

                                        อรพินท์ มณีรัตน์

 
 
สรุปการบรรยายในวันเสาร์ที่ 11 ส.ค. 50  โดย อ. สิริลักษณ์  เมฆสังข์ ในหัวข้อ “ Competency-Based  Management ” Competency คือ ความสามารถ และนอกจากความสามารถแล้วยังต้องมีทักษะในความสามารถนั้น ๆด้วย เพราะสิ่งที่องค์กรยุคใหม่ต้องการนั้นไม่ได้มีแค่ความสามารถของบุคคลเพียงอย่างเดียว องค์กรยุคใหม่ยังต้องการความรู้ใหม่ ๆ,ทักษะและความสามารถที่นำไปใช้ได้,ทัศนคติที่ดี,การทำงานที่มีระบบที่ดี,ความสามารถในการแข่งขันรวมถึงความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง และสิ่งสุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือ ภาวะความเป็นผู้นำ เนื่องมาจากสภาวะเศรษฐกิจอ่อนแอ จึงทำให้ประเทศมีการแข่งขันที่สูงขึ้น  องค์กรต่าง ๆย่อมต้องพัฒนาองค์กรและบุคลากรของตนเองให้สามารถต่อสู้กับสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ จึงจำเป็นต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและทักษะในการทำงาน ส่วนตัวผู้นำเอง ก็ต้องมีความสามารถที่จะนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จและผ่านพ้นสภาวะเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันในเชิงธุรกิจสูงอย่างนี้ คุณลักษณะของผู้บริหารหรือผู้นำยุคใหม่ที่ดีนั้นจำเป็นต้องมีสิ่งต่าง ๆดังนี้ 1.คิดอย่างเป็นระบบคือ มีความเข้าใจและสามารถวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆได้ สามารถเชื่อมโยงแนวคิดต่าง ๆเข้าด้วยกัน 2. สามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมอื่นได้ คือ ความสามารถด้านภาษา ความรู้ความเข้าใจในประวัติศาสตร์ ศาสนา ศิลปะ เพื่อที่จะปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมอื่นได้ดี 3. ฝึกฝนอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง คือ ต้องเปิดใจของผู้นำให้กว้าง ๆเพื่อรับความคิดใหม่และเทคโนโลยีใหม่ ๆ รวมถึงแนวทางในการดำเนินธุรกิจจากผู้อื่น 4. มีมาตรฐานและพฤติกรรมที่เหมาะสม คือ ผู้บริหารต้องมีมาตรฐานความรู้ ความสามารถสูง มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นที่จะทำให้เกิดผลสำเร็จในการประกอบกิจการธุรกิจที่ตนรับผิดชอบอยู่ ในยุคของ New Economy การที่จะเป็นผู้ชนะในเชิงธุรกิจนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 อย่างคือ คนและวิธีการดำเนินธุรกิจ เมื่อปัจจัยทั้ง 2 ข้อนี้รวมกันได้ก็จะเป็น ความสามารถขององค์กร ส่วนปัจจัยที่สำคัญอื่นคือ 1.ความสามารถทางด้านการเงิน Financial Capability 2.ความสามารถด้านเทคโนโลยี Technological Capability 3.ความสามารถด้านการตลาด Marketing Capability 4.ความสามารถด้านการบริหารคน People Management Capability ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมานั้นรวมแล้วคือ ความสามารถขององค์กรนั่นเอง สรุปแล้วคือ เมื่อคนมีวิธีการดำเนินธุรกิจที่ดีจะสร้างความเป็นต่อในการแข่งขันทางธุรกิจ และเมื่อความสามารถในการบริหารจัดการคน รวมกับพฤติกรรมของคนที่ดีจะสร้างความสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงการดำเนินธุรกิจ  ลำดับขั้นตอนของ Competency ตามที่นิยมใช้กัน 1.ระดับองค์กร (Organization Level) คือความสามารถหลักขององค์ซึ่งพนักงานทุกคนต้องมีวิสัยทัศน์ คือการมองไปข้างหน้าว่าผู้บริหารต้องการเห็นองค์กรเป็นอย่างไรในอนาคต ส่วนผู้บริหารก็ควรพิจารณาว่าความสามารถหลักขององค์กรมีอะไรบ้างที่จำเป็นต่อความสำเร็จขององค์กรในอนาคต 2.ระดับฟังก์ชั่นงาน (Function Level/Functional Competency) ได้แก่ การเงิน,การตลาด,ฝ่ายขาย,ผ่ายทรัพยากรบุคคล3.ระดับตำแหน่ง(Specific Job Level) เช่นนักวิเคราะห์การเงิน ความสำคัญของ Competency ต่อองค์กร มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นมาตรฐานในการเมินศักยภาพของการปฏิบัติงาน และเพื่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ขององค์กร ***กฤษณา : อย่างไรก็ตามทั้งหมดที่กล่าวมานั้นล้วนเป็นความสำคัญอย่างมากกับผู้นำของแต่ละองค์กร การมองไปข้างหน้าของผู้นำเองมีผลอย่างมากสำหรับระดับความสามารถของพนักงานในองค์กร คือ ถ้าผู้นำมองข้ามไปไกลเกินกว่าความสามารถของพนักงาน ก็ไม่สามารถพาองค์กรของตนไปสู่การเป็นผู้ชนะในเชิงธุรกิจ เลยต้องกลับมาเริ่มใหม่ในเรื่องของการพัฒนาทุนมนุษย์ คือ พัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถของบุคลากรในองค์กรของตน แล้วค่อยเริ่มดำเนินการใหม่ แต่ส่วนใหญ่ในประเทศไทย ยังไม่ค่อยมีผู้นำคนไหนทำได้สำเร็จ ในเรื่องของการพัฒนาตนเองและบุคลากรให้โตไปพร้อมกัน ส่วนใหญ่ผู้นำจะโตอยู่ฝ่ายเดียว นึกถึงความคิดและความสำคัญของตนก่อนพนักงาน จึงไม่สามารถนำพาองค์กรของตนไปสู่ความสำเร็จได้ ต้องปรับเปลี่ยนผู้นำบ่อยขึ้น หรือบางองค์กรอาจต้องปิดกิจการไปเลยทีเดียว อยากให้ผู้นำของทุกองค์กรมองเห็นประโยชน์และความสำคัญของส่วนรวมเป็นหลักก่อน เพื่อการพัฒนาธุรกิจขององค์กรให้เป็นผู้ชนะในธุรกิจให้ได้ เพราะในเมื่อทุกองค์กรพัฒนาองค์กรของตนให้แข็งแรงแล้ว ประเทศชาติของเราก็จะแข็งแรงไปด้วย เนื่องจากในประเทศมีแต่องค์กรที่แข็งแรงนั่นเอง***ดิฉันต้องขอขอบพระคุณอาจารย์สิริลักษณ์ เมฆสังข์ เป็นอย่างมากที่ได้สละเวลามาให้ความรู้ที่มีประโยชน์และมีความสำคัญอย่างมากในเรื่องของทัศนคติ แก่ดิฉันและเพื่อน ๆ ขอบคุณค่ะ***  
นางเครือวัลย์ สมณะ
“Competency Base Management”โดยอาจารย์ ศิริลักษณ์  เมฆสังข์วันที่  11  สิงหาคม  2550 จากประสบการณ์สอนของอาจารย์  และวิธีถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้  ทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนและเสนอข้อคิดเห็นต่างๆ ทั้งเห็นด้วยและมีการโต้แย้งด้วยเหตุผลกันบ้าง  ทำให้นักศึกษาได้เพิ่มองค์ความรู้และเติมเต็มในส่วนที่แต่ละคนมีประสบการณ์ในองค์กรของตนเองมาแล้ว  ยังได้ตรวจสอบกระทบยอดเปรียบเทียบกับความคิดของตนเองดั้งเดิมนั้นเป็นอย่างไร “Competency – Base Management”  เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักที่จะวัดได้เป็นรูปธรรม  ทฤษฎีต่างๆ ที่ได้ผ่านการวิจัยจนเป็นตำรามาให้พวกเราได้ศึกษาและเพิ่มภูมิปัญญา  สามารถมาใช้เป็นฐานวิเคราะห์ได้อย่างเป็นเหตุและมีผลต่อสถานการณ์ที่เป็นจริง  ทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างถูกหลักวิชาการเกิดความมั่นใจในการกำหนดและวางแผนกลยุทธ์  ซึ่งสามารถนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กรของตนที่สังกัดและรับผิดชอบ Competency – Base เป็นเรื่องกว้างใหญ่มาก เอ่ยถึงตรงไหนก็ถูกหมด  เช่น  ประเภทของ Competency   หรือการแสวงหาบุคลากรที่เรียกว่า Core Competency ขององค์กรจะตั้งมาตรฐานไว้ระดับใด  กระบวนการและวิธีการสรรหาจะเป็นรูปแบบใด ใช้มาตรฐานใดเป็นตัวชี้วัด  สมมติฐานที่เป็นจุดเริ่มต้นจนถึงการคาดหวัง  ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจควรจะศึกษาให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น สุดท้ายน่าจะสรุปอยู่ที่ คน ความสำคัญของ Competency ต่อองค์กรเป็นทุนที่สำคัญ  อาจมากกว่าทุนทางการเงินในแนวทางการดำเนินธุรกิจ  จึงขอแสดงแนวความคิดเรื่อง  สมรรถนะหรือสมรรถภาพ และความสามารถ (Competency) มาในรูปแบบสร้างตัวอย่าง (Model) การจะเริ่มต้นทำธุรกิจระดับ SME แบบง่ายๆ จากการที่ได้เรียนรู้มาจากอาจารย์หลายท่านตามระดับความเข้าใจของดิฉันเอง ตัวอย่าง โครงการธุรกิจ SME”จุดเริ่มต้นคือ คน  ก่อนอื่นจะต้องมีคนเป็นทุนมนุษย์ (Human Capital) ที่มีความคิดริเริ่มจะลงทุนในธุรกิจนั้น และ/หรือ เป็นเจ้าของเองซึ่งเป็นผู้บริหารจัดการด้วย  การทำธุรกิจจะต้องมีข้อมูลว่าจะสร้างหรือจะเป็นการผลิตสินค้าประเภทใด และต้องมีความเข้าใจในธุรกิจนั้นๆ อย่างถ่องแท้และลึกซึ้งโดยเฉพาะต้องมีปัจจัยดังตัวอย่างข้างล่างนี้ 1.  สิ่งแรกที่จะต้องมี Key person คือ คน เป็นผู้บริหาร2.  เป็นธุรกิจที่ใช้ภูมิปัญญาและประสบการณ์ เช่น ธุรกิจซอฟต์แวร์ (Software) หรืออุตสาหกรรม                     ประเภทที่ต้องใช้วัตถุดิบซึ่งมีอยู่ภายในประเทศ หรือต่างประเทศ 3.  ต้องรู้จักตลาดหลักว่าเป็นตลาดภายในประเทศหรือตลาดต่างประเทศ ที่เป็นตลาดกลุ่มเป้าหมาย                       (Target Group)4.  คู่แข่งที่สำคัญ และรองลงมา (Competitors)5.  เงินลงทุน (Financial) จากแหล่งใด6.  อื่นๆ                อย่างน้อยที่สุดต้องมี 5 หัวข้อดังกล่าวข้างต้น หากขาดข้อใดข้อหนึ่งการดำเนินธุรกิจนั้น ก็จะเป็นเพียงความฝันที่จะไม่ปรากฏเป็นความจริงได้ตาม Model “แผนกลยุทธ์                ความสำคัญของ Competency ต่อองค์กร  อาจารย์ศิริลักษณ์ บรรยาย                -   ผู้บริหาร (Competency Leadership)  ต้องมีวิสัยทัศน์ที่มีความเป็นไปได้ในโลกแห่งความเป็นจริง (Realistic)  ต้องซาบซึ้งถึงภารกิจที่จะต้องปฏิบัติให้บรรลุผล จึงจะวางกลยุทธ์ขององค์กร (Corporate Strategy) ตามค่านิยมของสังคมซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กร บางครั้งอาจนอกเหนือการควบคุม กลยุทธ์ที่ดีต้องมีการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงของทุกสถานการณ์ได้เสมอ                 - ความสามารถหลักขององค์กร  (Organization Competency)  หมายถึง ผู้บริหารมีสมรรถนะ / สมรรถภาพ มีความสามารถ มีภาวะผู้นำ (Competency Leadership) ระดับใดที่จะบริหารให้บุคลากรในองค์กรมีความเข้าใจในกลยุทธ์ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ปรัชญา นโยบาย แนวทางปฏิบัติขององค์กรให้เป็นไปในแนวทิศทางเดียวกันอย่างมีเอกภาพ (Unity)                - การลงทุนในทรัพยากรบุคคล  ความสามารถของพนักงานในองค์กร ควรยึดหลักการสรรหาและคัดกรองก่อนจะรับเข้ามาเป็นพนักงานให้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ของงานที่จะต้องรับผิดชอบตาม  Job Description  เพียงแต่ลงทุนฝึกให้เข้าใจในกรอบของงานและแนวทางปฏิบัติ (ไม่ควรมาฝึกตั้งแต่ต้นเหมือนเป็นโรงเรียน) จะได้เป็นการประหยัดเวลา ประหยัดเม็ดเงิน ผู้บริหารจำเป็นต้องมีประสบการณ์ มีความเฉลียวฉลาด พร้อมทั้งมีปฏิภาณไหวพริบ มีจิตวิทยาสูง สามารถมองเห็นและคาดเดาคนได้บ้าง  จากพฤติกรรมของพนักงานว่างานใดเหมาะสมกับบุคคลประเภท  ชนิดใด  สามารถ  “Put the right man to the right job” เพื่อให้เกิด Functional Competency จึงจะนับได้ว่าการบริหารบุคคลตามแนวทาง Competency                - ความเป็นเลิศในธุรกิจ  เป็นเรื่องที่คิดง่ายแต่กระทำให้สัมฤทธิผล เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก  ขึ้นอยู่กับหลายสาเหตุ (Factors) ทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร สำคัญต้องมีต้นทุนมนุษย์ที่มีทักษะและความสามารถที่ทำงานได้ (Effective Skill/Competency)  มีทัศนคติที่ดี (Positive Attitude) ข้อนี้สำคัญมากที่สุดตามวัฒนธรรมของคนไทย  การทำงานที่มีระบบที่ดี (Systematice Approach) ผู้บริหารเป็นผู้นำที่มีความสามารถและมีการเตรียมพร้อม (Competency) เสมอที่จะเผชิญได้ทุกรูปแบบทุกสถานการณ์ต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม                  หากองค์กรใดมีความพร้อม (อย่างน้อยที่สุด) ดังกล่าวข้างต้น  เปรียบเสมือนหนึ่งมีเกราะป้องกันความเสี่ยง (Risk) ได้ดีที่สุด  สามารถนำพาองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศในธุรกิจได้                 ในยุค New Economy การเป็นผู้ชนะในเชิงธุรกิจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ ตามแผนภูมิของที่นำมาสอน  เป็นความจริงที่สุด                                                                                                                                            นางเครือวัลย์  สมณะ16  สิงหาคม  2550 
นางเครือวัลย์ สมณะ
“Competency Base Management”โดยอาจารย์ ศิริลักษณ์  เมฆสังข์วันที่  11  สิงหาคม  2550 จากประสบการณ์สอนของอาจารย์  และวิธีถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้  ทำให้นักศึกษาได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนและเสนอข้อคิดเห็นต่างๆ ทั้งเห็นด้วยและมีการโต้แย้งด้วยเหตุผลกันบ้าง  ทำให้นักศึกษาได้เพิ่มองค์ความรู้และเติมเต็มในส่วนที่แต่ละคนมีประสบการณ์ในองค์กรของตนเองมาแล้ว  ยังได้ตรวจสอบกระทบยอดเปรียบเทียบกับความคิดของตนเองดั้งเดิมนั้นเป็นอย่างไร “Competency – Base Management”  เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนักที่จะวัดได้เป็นรูปธรรม  ทฤษฎีต่างๆ ที่ได้ผ่านการวิจัยจนเป็นตำรามาให้พวกเราได้ศึกษาและเพิ่มภูมิปัญญา  สามารถมาใช้เป็นฐานวิเคราะห์ได้อย่างเป็นเหตุและมีผลต่อสถานการณ์ที่เป็นจริง  ทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างถูกหลักวิชาการเกิดความมั่นใจในการกำหนดและวางแผนกลยุทธ์  ซึ่งสามารถนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กรของตนที่สังกัดและรับผิดชอบ Competency – Base เป็นเรื่องกว้างใหญ่มาก เอ่ยถึงตรงไหนก็ถูกหมด  เช่น  ประเภทของ Competency   หรือการแสวงหาบุคลากรที่เรียกว่า Core Competency ขององค์กรจะตั้งมาตรฐานไว้ระดับใด  กระบวนการและวิธีการสรรหาจะเป็นรูปแบบใด ใช้มาตรฐานใดเป็นตัวชี้วัด  สมมติฐานที่เป็นจุดเริ่มต้นจนถึงการคาดหวัง  ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเรื่องที่น่าสนใจควรจะศึกษาให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น สุดท้ายน่าจะสรุปอยู่ที่ คน ความสำคัญของ Competency ต่อองค์กรเป็นทุนที่สำคัญ  อาจมากกว่าทุนทางการเงินในแนวทางการดำเนินธุรกิจ  จึงขอแสดงแนวความคิดเรื่อง  สมรรถนะหรือสมรรถภาพ และความสามารถ (Competency) มาในรูปแบบสร้างตัวอย่าง (Model) การจะเริ่มต้นทำธุรกิจระดับ SME แบบง่ายๆ จากการที่ได้เรียนรู้มาจากอาจารย์หลายท่านตามระดับความเข้าใจของดิฉันเอง ตัวอย่าง โครงการธุรกิจ SME”จุดเริ่มต้นคือ คน  ก่อนอื่นจะต้องมีคนเป็นทุนมนุษย์ (Human Capital) ที่มีความคิดริเริ่มจะลงทุนในธุรกิจนั้น และ/หรือ เป็นเจ้าของเองซึ่งเป็นผู้บริหารจัดการด้วย  การทำธุรกิจจะต้องมีข้อมูลว่าจะสร้างหรือจะเป็นการผลิตสินค้าประเภทใด และต้องมีความเข้าใจในธุรกิจนั้นๆ อย่างถ่องแท้และลึกซึ้งโดยเฉพาะต้องมีปัจจัยดังตัวอย่างข้างล่างนี้ 1.  สิ่งแรกที่จะต้องมี Key person คือ คน เป็นผู้บริหาร2.  เป็นธุรกิจที่ใช้ภูมิปัญญาและประสบการณ์ เช่น ธุรกิจซอฟต์แวร์ (Software) หรืออุตสาหกรรม                     ประเภทที่ต้องใช้วัตถุดิบซึ่งมีอยู่ภายในประเทศ หรือต่างประเทศ 3.  ต้องรู้จักตลาดหลักว่าเป็นตลาดภายในประเทศหรือตลาดต่างประเทศ ที่เป็นตลาดกลุ่มเป้าหมาย                       (Target Group)4.  คู่แข่งที่สำคัญ และรองลงมา (Competitors)5.  เงินลงทุน (Financial) จากแหล่งใด6.  อื่นๆ                อย่างน้อยที่สุดต้องมี 5 หัวข้อดังกล่าวข้างต้น หากขาดข้อใดข้อหนึ่งการดำเนินธุรกิจนั้น ก็จะเป็นเพียงความฝันที่จะไม่ปรากฏเป็นความจริงได้ตาม Model “แผนกลยุทธ์                ความสำคัญของ Competency ต่อองค์กร  อาจารย์ศิริลักษณ์ บรรยาย                -   ผู้บริหาร (Competency Leadership)  ต้องมีวิสัยทัศน์ที่มีความเป็นไปได้ในโลกแห่งความเป็นจริง (Realistic)  ต้องซาบซึ้งถึงภารกิจที่จะต้องปฏิบัติให้บรรลุผล จึงจะวางกลยุทธ์ขององค์กร (Corporate Strategy) ตามค่านิยมของสังคมซึ่งเป็นสิ่งแวดล้อมภายนอกองค์กร บางครั้งอาจนอกเหนือการควบคุม กลยุทธ์ที่ดีต้องมีการเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงของทุกสถานการณ์ได้เสมอ                 - ความสามารถหลักขององค์กร  (Organization Competency)  หมายถึง ผู้บริหารมีสมรรถนะ / สมรรถภาพ มีความสามารถ มีภาวะผู้นำ (Competency Leadership) ระดับใดที่จะบริหารให้บุคลากรในองค์กรมีความเข้าใจในกลยุทธ์ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ ปรัชญา นโยบาย แนวทางปฏิบัติขององค์กรให้เป็นไปในแนวทิศทางเดียวกันอย่างมีเอกภาพ (Unity)                - การลงทุนในทรัพยากรบุคคล  ความสามารถของพนักงานในองค์กร ควรยึดหลักการสรรหาและคัดกรองก่อนจะรับเข้ามาเป็นพนักงานให้เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ของงานที่จะต้องรับผิดชอบตาม  Job Description  เพียงแต่ลงทุนฝึกให้เข้าใจในกรอบของงานและแนวทางปฏิบัติ (ไม่ควรมาฝึกตั้งแต่ต้นเหมือนเป็นโรงเรียน) จะได้เป็นการประหยัดเวลา ประหยัดเม็ดเงิน ผู้บริหารจำเป็นต้องมีประสบการณ์ มีความเฉลียวฉลาด พร้อมทั้งมีปฏิภาณไหวพริบ มีจิตวิทยาสูง สามารถมองเห็นและคาดเดาคนได้บ้าง  จากพฤติกรรมของพนักงานว่างานใดเหมาะสมกับบุคคลประเภท  ชนิดใด  สามารถ  “Put the right man to the right job” เพื่อให้เกิด Functional Competency จึงจะนับได้ว่าการบริหารบุคคลตามแนวทาง Competency                - ความเป็นเลิศในธุรกิจ  เป็นเรื่องที่คิดง่ายแต่กระทำให้สัมฤทธิผล เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก  ขึ้นอยู่กับหลายสาเหตุ (Factors) ทั้งภายในองค์กรและภายนอกองค์กร สำคัญต้องมีต้นทุนมนุษย์ที่มีทักษะและความสามารถที่ทำงานได้ (Effective Skill/Competency)  มีทัศนคติที่ดี (Positive Attitude) ข้อนี้สำคัญมากที่สุดตามวัฒนธรรมของคนไทย  การทำงานที่มีระบบที่ดี (Systematice Approach) ผู้บริหารเป็นผู้นำที่มีความสามารถและมีการเตรียมพร้อม (Competency) เสมอที่จะเผชิญได้ทุกรูปแบบทุกสถานการณ์ต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคม                  หากองค์กรใดมีความพร้อม (อย่างน้อยที่สุด) ดังกล่าวข้างต้น  เปรียบเสมือนหนึ่งมีเกราะป้องกันความเสี่ยง (Risk) ได้ดีที่สุด  สามารถนำพาองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศในธุรกิจได้                 ในยุค New Economy การเป็นผู้ชนะในเชิงธุรกิจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ ที่นำมาสอน  เป็นความจริงที่สุด       คน (People) ที่มี Competency   +    วิธีการดำเนินธุรกิจ (Business Process)  --->   ความสามารถขององค์กร (Organization capability)                                                                                                                             นางเครือวัลย์  สมณะ 16  สิงหาคม  2550

การบ้านครั้งที่ 7

เรียนวันที่ 11 สิงหาคม 2550

กับ อาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

นายพนม ปีย์เจริญ

 

Competency

แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

1. Core Competency

2. Managerial Competency

3. Functional Competency

4. Individual Competency

ซึ่ง Competency นั้นต้องประกอบด้วย

- Skill (ทักษะ)

- Knowledge (ความรู้)

- Behavior (พฤติกรรม)

ในที่นี้ คุณซาร่าได้นำเสนอทฤษฎี ABC Theory ซึ่งผู้บริหารจากต่างประเทศนำมาให้

Baker Mcancy ในประเทศไทยคือปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน คือ

A = Attitude

B = Behavior

C = Consequences

ซึ่งได้มีการแลกเปลี่ยนแนวความคิดกันค่อนข้างหลากหลาย แต่ท้ายที่สุดไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีใดก็ตาม ก็ต้องนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมของไทยของเรา

Boyatzis ได้กล่าวถึงความหมายของ Competency ว่าเป็น

คุณสมบัติที่มีความเป็นเหตุเป็นผล นำไปสู่ผลลัพธ์ที่เหนือกว่า

อย่างไรก็ตามในโลกปัจจุบัน เราให้ความสำคัญเรื่อง Competency มากขึ้น เพราเราเชื่อว่า

ในอนาคต Competency จะเป็นตัวกำหนดอนาคตขององค์กร มากกว่าตัวสินค้าและบริการ และเชื่อว่า Competency Based ดีกว่า Technical Knowledge Based ” เพราะเรายังเชื่ออีกว่า Core Competency เป็นเอกลักษณ์ ที่แสดงถึง Know – How ขององค์กร อันเป็นที่มาของสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ในรูปสินค้าและบริการ และยังยากต่อการเลียนแบบอีกด้วยคำถามต่อมาก็คือ แล้วอะไรเล่าที่เป็น

องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิด Competency

1.Share Mind Set การมีทัศนคติร่วมกัน แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ

ภายใน ที่เราต้องเข้าใจ

- เป้าหมาย

- Vision

- Mission และ

- Strategy ขององค์กร

ภายนอก เป็นส่วนที่เราต้องเข้าใจ

- Costumer

- Supplier

- etc.

2. Management and Human Resources Practices

เป็นเรื่องของกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในทุกกระบวนการตั้งแต่

- กระบวนการ Recruit - Select

- การบวนการ Human Resource Development

- กระบวนการ Evaluation และ Compensation ไปจนถึง

- กระบวนการ Career Planning , Career Management

ตลอดจนกระบวนการของ Communication

3.Capacity for Change

ความสามารถในการปรับปลี่ยนพฤติกรรมและคนในองค์กร เช่น ต้องให้มี Empowerment ในองค์กร

4.Leadership

การพัฒนาภาวะผู้นำ ต้องให้เกิดมีในทุกระดับองค์ประกอบเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิด Competency ซึ่งการเกิด Competency ในทุกด้านจะทำให้องค์กร เป็นองค์กรที่เป็น High Performance Organization อันเป็นสิ่งที่ผู้บริหารในทุกองค์กรต้องการ

 

เหตุที่ต้องการองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูงก็เนื่องมาจาก

- ความล้มเหลวในการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมพนักงานด้วยการ Training และ Education

- สภาพการแข่งขันเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและกลุ่มผลประโยชน์ ทำให้ต้องช่วงชิง Market Share และเพื่อให้มีความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)

    เหนือสิ่งอื่นใดผู้บริหารมีความต้องการ Unique Assets อันเป็นสิทรัพย์ขององค์กรที่มีความแตกต่างไปจาก Generic Assets อันเป็นสินค้าและบริการทั่วไปที่ลอกเลียนแบบได้ไม่ยาก

   แต่ Competency ของคนในองค์กรที่นับว่าเป็นสินทรัพย์ที่เป็น Unique Assets นั้น ยากที่จะลอกเลียนแบบได้ง่ายๆ เพราะเป็นวัฒนธรรมที่สั่งสมมายาวนาน จนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรไปแล้ว  อันเป็นส่วนสำคัญทำให้เกิด Core Competency ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่แสดงถึง know – How ขององค์กรเป็นที่มาของสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ในรูปของสินค้า และบริการอันถือว่าเป็น Competency Advantage ที่ยากต่อการเลียนแบบ

   โดยมีองค์กรประกอบ 3 ด้านใหญ่ๆคือ

1. ทรัพยากรมนุษย์ ที่มีคุณภาพ  โดยต้องอาศัยกระบวนการทุกกระบวนการดังที่กล่าวไว้ข้างต้น คือ ตั้งแต่

- กระบวนการสรรหา,คัดเลือก

- กระบวนการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์

- กระบวนการวัดผล ประเมินผลและให้ผลตอบแทน

- กระบวนการ Career Planning และ Career Management

- ตลอดจนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

2. องค์กร ที่ต้องพัฒนาให้เป็นองค์กรสมัยใหม่ ( New Public Management )โดยต้องมีโครงสร้าง ( Structure ) ขององค์กรที่

- มีความเป็นทางการต่ำ ( Formalization )

- มีความซับซ้อนต่ำ ( Complexity )

- มีการกระจายอำนาจที่เหมาะสม ( Centralization )

โดยเฉพาะถ้าเป็นองค์กรภาครัฐก็ต้องยึดหลักปฏิบัติที่ถือเอาประชาชนเป็นศูนย์กลางกล่าวคือ

1. ต้องสนองตอบประชาชนมากกว่าองค์กร ( Social Equity )

2. ไม่เลือกปฏิบัติ ( Equality )

3. มุ่งสู่การบริหารจัดการที่มีธรรมาภิบาล ( Value – Based )

4. แสวงหารูปแบบโครงสร้างที่ Flexible ( Change )

ซึ่งอาจารย์ ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ ได้พูดถึงสิ่งที่องค์กรสมัยใหม่ต้องการในขณะนี้คือ

1. ความรู้ใหม่ๆ ( New knowledge )

2. ทักษะและความสามารถที่ใช้งานได้ ( Effective / Competency )

3. ทัศนคติที่ดี ( Positive Attitude )

4. การทำงานที่มีระบบที่ดี ( Systematic Approach )

5. ความสามารถในการแข่งขัน ( Competitive Advantage )

6. ความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ( Change Management )

7. ภาวะความเป็นผู้นำ

3. วัฒนธรรมองค์กร  เช่น การทำงานเป็นทีม   การเรียนรู้ตลอดเวลาและต่อเนื่อง   โดยมีผู้นำเป็นผู้สนับสนุนมากกว่าเป็นผู้กำหนดแนวทางทั้งหมด

 

การจัดทำ Competency สำหรับองค์กร

- กำหนดวิสัยทัศน์ ( Vision ) ภารกิจ ( Mission )

- กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ ( Business Strategy & Process )

- วิเคราะห์ประเมินจุดเด่น , จุดด้อย , โอกาสและอุปสรรคขององค์กร ( Swot Analysis )

- วิเคราะห์และประเมินจุดเด่น จุดด้อย ของพนักงานในองค์กรในแต่ละระดับ ตามทิศทางกลยุทธ์การ ดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ

- วิเคราะห์และจัดทำความสามารถหลักของบริษัทฯ ( Core Competencies ) และทักษะ ความสามารถที่จำเป็นที่จำเป็นต้องปฏิบัติงาน ( Professional or Technical Competencies )

- กำหนดแนวทางการประเมินทักษะความรู้และความสามารถหลัก

- นำผลการประเมินไปเชื่อมโยงกับการพัฒนาบุคลากร การสรรหาจ้างงาน การประเมินผลงาน ตลอดจนการบริหารค่าตอบแทน ดังที่กล่าวไว้

โดยต้องมองให้ออกว่า เราต้องการคนเช่นไร ถึงจะทำให้องค์กรของเราประสบความสำเร็จ  และมีความได้เปรียบในการแข่งขัน( CompetitiveAdvantage )

 

ซึ่งความสำเร็จในการจัดทำ Competencies จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ

1. ต้องเชื่อมโยง Competencies กับเป้าหมายขององค์กรและเป้าหมายของธุรกิจตลอดเวลา

2. โดยเริ่มจากร่าง Competencies ที่ใช้กันโดยทั่วไปก่อน

3. พร้อมทั้งคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมมาเป็นทีมในการจัดทำ Competency

4. ต้องเน้นเรื่องการนำไปใช้ได้ ไม่ใช่แค่สร้าง Model ขึ้นมา

5. ต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารทุกฝ่าย

6. ต้องมีการแจ้งให้พนักงานทราบอยู่บ่อยๆ

7. มีการจัดทำการประเมิน Competency ที่ง่ายและไม่ซับซ้อนเกินไป

8. จัดให้มีการฝึกอบรมและการสื่อสารสำหรับผู้จัดการและพนักงาน

9. มีการทดลองใช้ Competencies กับบางแผนกก่อน

10. ผู้บริหารระดับสูงต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย

   อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่จะทำองค์กรเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูง ( High Performance Organization ) อันจะทำให้มีความได้เปรียบในการแข่งขัน ( Competitive Advantage )

   คนทุกคนในองค์กรจะต้องมีศักยภาพที่เพียงพออันเนื่องมาจากทุกกระบวนการที่ช่วยพัฒนา ให้มีความพร้อม จนทุกคนในองค์กรเป็นสินทรัพย์ประเภท Unique Asset ที่องค์กรอื่น ก็ยากที่จะลอกเลียนแบบได้.

นายพนม ปีย์เจริญ

Mr.Panom Peecharoen

16.8.2007

การบ้านครั้งที่ 7

เรียนวันที่ 11 สิงหาคม 2550

กับ อาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

นายพนม ปีย์เจริญ

ทดสอบ front Cordia New 14

Mr.  Pamom Peecharoen

 

หรรษา คล้านจันทร์พงษ์
สรุปการบรรยายวันที่ 11 สิงหาคม 2550 โดย อาจารย์ ศิริลักษณ์  เมฆสังข์เรื่อง Competency – Bared Management(ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับยึดความสามารถในการบริหารจัดการ)            ขอบเขตเนื้อหาที่เรียน
  1. Overview
  2.  Competency คืออะไร
  3. ความสำคัญและประโยชน์ของ Competency ต่อการบริหาร
  4. ความสามารถหลักที่จำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมายและกลยุทธ์ธุรกิจ
  5. ขั้นตอนและกระบวนการจัดทำ Competency
  6. องค์ประกอบสำคัญต่อการเรียน Competency
Competency ประกอบด้วย ทักษะ (Skill) ความรู้ (Knowledge) พฤติกรรม (Behaviour) ความสามารถ (Competency)
  1. CORE  Competency
  2. Functional  Competency
  3. Leadership  Competency
  4. Managepial Competency
CORE  Competency เป็นเครื่องมือที่จะทำให้องค์กรจัดเป็นขององค์กรตามรูปแบบขององค์กรนั้นๆ เช่น คนที่อยู่ในฝ่ายบัญชี ควรมีทักษะหรือรู้อะไรบ้าง            Competency หมายถึง ทักษะ ความรู้ ความสามารถและพฤติกรรม (skill knowledge and atlributer) ของบุคลากรที่จำเป็นในการปฏิบัติงานใดงานหนึ่งนั้นคือ ในการทำงานอย่างหนึ่งๆ เราต้องรู้อะไร เสมอมีความรู้หรือข้อมูลแล้วเราต้องรู้ว่าจะทำงานนั้นๆอย่างไรและเราควรมีพฤติกรรมหรือคุณลักษณะเฉพาะอย่างไร ซึ่งสามารถกำกับดูแลได้ สังเกตได้ และวัดได้สิ่งที่องค์กรสมัยใหม่ต้องการ·       ความรู้ใหม่ๆ ( New Knowledge )·       ทักษะและความสามารถที่ใช้งานได้ ( Effective Skills / Competency )·       ทัศนคติที่ดี ( positive Attitude )·       การทำงานที่มีระบบที่ดี ( Systematic Approach )·       ความสามรถในการแข่งขัน ( competitiveness )·       ความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ( Change Management )·       ภาวะความเป็นผู้นำ ( Leadership)คุณลักษณะของผู้บริหารยุคใหม่1.      คิดอย่างมีระบบ (Systematic Thinking )·       มีความเข้าใจและสังเคราะห์เรื่องต่างๆได้ สามารถเชื่อมโยงแนวคิด / ภารกิจต่างๆเข้าด้วยกันและมองไปในอนาคตได้2.      สามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมได้ดี ( Intercultural Competence )·       ความสามารถด้านภาษา  ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในประวัติศาสตร์  ศาสนา  และศิลปกรรม จะช่วยปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมอื่นได้ดี3.      ฝึกฝนอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง ( Extensive and continuous Training )·       ต้องเปิดใจกว้างรับความคิดใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจ4.      มีมาตรฐานและพฤติกรรมที่เหมาะสม ( Personal Standard and Standard of behavior )·       ผู้บริหารต้องมีมาตรฐานความรู้  ความสามารถสูง  มีความรับผิดชอบ  และมุ่งที่ทำให้เกิดผลสำเร็จของงานที่รับผิดชอบ (  Standard of Excellence)ตัวที่ชี้วัดที่ไม่ใช่ด้านการเงินที่นักลงทุน /  นักวิเคราะห์ทางด้านการเงินให้ความสำคัญ1.      การปฏิบัติตามกลยุทธ์ขององค์กร ( Execution of Corporate Strategies)2.      ความน่าเชื่อถือของฝ่ายบริหาร ( Management Credibility)3.      คุณภาพกลยุทธ์ ( Quality of Strategy)4.      ความสามารถในด้านนวัตกรรม ( Ability to Innovate)5.      ความสามารถในการดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถ (Ability to Attract Talented people  )6.      ส่วนแบ่งการตลาด (  Market Share )7.      การดำเนินงานในกระบวนการที่สำคัญ  ( Quality of  Management Business Processes )  8.      การเป็นผู้นำด้านการค้นคว้าและด้านการพัฒนาความรู้ใหม่ๆ ( Research  Leadership )ในยุค New Economy การเป็นผู้ชนะในเชิงธุรกิจขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการ ความสามรถขององค์กรจะประกอบด้วยปัจจัยหลักคือ คนและวิธีการดำเนินธุรกิจ คน คะต้องเป็นคนที่มีความสามารถและมีวิธีการดำเนินงานธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ปัจจัยหลักของการแข่งขันจะประกอบด้วยความสามารถขององค์กร  ความสามารถที่จะทำให้องค์กรมีความสามารถได้นั้นจะมี
  1. ความสามารถทางด้านการเงิน
  2. ความสามารถทางก้านเทคโนโลยี
  3. ความสามารถด้านการบริหารคน
  4. ความสามารถด้านการตลาด
  5. ความสามารถด้านการผลิต
สิ่งต่างๆเหล่านี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จและสามารถต่อสู้กับคู้แข่งขันได้ปัจจัยหลักของการแข่งขัน            ความสำเร็จของกระบวนการปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงาน  การดำเนินธุรกิจเพื่อเพิ่มพลผลิตและคุณภาพ  สร้างความพึ่งพอใจให้กับลูกค้า  ลดค่าใช้จ่ายเพื่อสร้างความเป็นต่อในการแข่งขันขึ้นอยู่กับ
            1. การพัฒนาผู้นำในองค์กรให้สามารถจัดการกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง  ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อหน่วยงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ในขณะที่ยังคงต้องดำเนินงานที่รับผิดชอบต่อไปตามปกติ            2. การพัฒนาคนในองค์กรให้สามรถคิดและปฏิบัติโดยมองผลกระทบที่มีต่อองค์กรในภาพรวมมากกว่าการมองเฉพาะในหน่วยงานของตนเอง            3. ความสามรถในการสร้างความเข้าใจ   ลดความกลัว  ลดการต่อต้านในระหว่างที่องค์กรมีการเปลี่ยนแปลง            4.  การพัฒนาระบบการพัฒนาบุคลากร  ให้เกิดการเรียนรู้และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างจริงจัง  อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล            5. การพัฒนาระบบการทดสอบ  การพิจารณาผลงาน  รวมถึงการให้รางวัลผลงานที่สามารถกระตุ้นให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายทางธุรกิจที่องค์กรกำหนดไว้กุญแจแห่งความสำเร็จในการปรับเปลี่ยน คือ พฤติกรรมของคนลำดับขั้นของ Competency ตามที่นิยมใช้กัน·       ระดับองค์กร ( Organization Level ) คือ ความสามารถหลักขององค์กร ( Core Competency) ซึ่งพนักงานทุกคนต้องมี·       ระดับฟังก์ชั่นงาน (  Function Level / Functional Competency )  ได้แก่  การเงิน, การตลาด, ฝ่ายขาย, ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฯลฯ·       ระดับตำแหน่งงาน  ( Specific Job Level )เช่น นักวิเคราะห์การเงิน ทำไมต้องมี Competency·       ภาวะแข่งขันที่เข้มข้น ( ต้องสามารถบุก มากกว่าตั้งรับ )·       ต้องการบุคคลที่มีความรู้  ความสามารถที่นำไปใช้ได้จริงเกิดผลประโยชน์·       ต้องการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลความสำคัญของ Competency ต่อองค์กร·       วัตถุประสงค์ที่สำคัญของการวิเคราะห์ทักษะความรู้ความสามารถของบุคคล·       ใช้เป็นมาตรฐานในการประเมินศักยภาพของการปฏิบัติงาน·       เพื่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ขององค์กรความสำคัญของ Competency ต่อองค์กร            วิสัยทัศน์  หมายถึง การมองไปข้างหน้าของผู้บริหารว่าต้องการเห็นองค์กรเป็นอย่างไรในอนาคต            บริหารควรพิจารณาว่าความสามารถหลักขององค์กร  ทักษะความรู้ความสามรถขององค์กร  อะไรบ้างที่มีความจำเป็นต่อความสำเร็จขององค์กรในอนาคต            ดำเนินการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและประยุกต์สิ่งเหล่านั้นในการบริหารงานทรัพยากรบุคคล  เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของวิสันทัศน์ที่ได้กำหนดไว้            การวิเคราะห์และจัดทำ Competency สำหรับองค์กรจะเน้นคนจากการศึกษา แผนกกลยุทธ์ (Strategic Intents)             วิสัยทัศน์ (Vision) ความสามารถขององค์กรแล้วเราต้องทราบทิศทางในการดำเนินธุรกิจและจุดเด่นขององค์กรการวิเคราะห์และจัดทำ Competency สำหรับองค์กร ผู้บริหารควรวิเคราะห์ในเรื่องต่างๆดังนี้·       องค์กรมีแผนกลยุทธ์และแผนงานสำคัญอะไรบ้าง ( Corporate Strategy & Master Plan )·       วัฒนธรรมขององค์กรหรือค่านิยมที่บุคลากรมีร่วมกัน มีอะไรบ้าง (Corporate Culture / Core Values) ซึ่งพิจารณาถึงปรัชญาในการบริหารองค์กรและภาพลักษณะขององค์กร·       ความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงขององค์กรในเรื่องความสามารถหลักขององค์กร( Core Competencies ) รวมถึง ทักษะ ความรู้  ความสารถ  คุณสมบัติและพฤติกรรมที่ดีของบุคลากรในองค์กรCompetencyu            ศึกษาคุณสมบัติและพฤติกรรมการทำงานของบุคลากรที่มีศักยภาพสูงหรือมีผลการปฏิบัติงานดีกว่าบุคลากรเหล่านี้มีคุณสมบัติและพฤติกรรมที่ดีเด่น ที่สำคัญอะไรบ้าง             ศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะความรับผิดชอบที่สำคัญๆของแต่ละขั้น ( Jop content Analysis )   การจัดทำ Competency  สำหรับองค์กร  แนวทางการจัดทำ Competency1.      กำหนดวิสัยทัศน์  (Vision )      ภารกิจ  (Mission)2.      กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ (Business Strategy & Process)3.      การวิเคราะห์และประเมินจุดเด่น จุดด้อย โอกาส และอุปสรรคขององค์กร ( SWOT Analysis)4.      การวิเคราะห์และประเมินจุดเด่น จุดด้อย ของพนักงานในองค์กรในแต่ละระดับตามทิศทางกลยุทธ์การดำเนินกิจการบริษัท5.      การวิเคราะห์และจัดทำความสามารถหลักของบริษัท ( Core Competencies)และทักษะความสามารถที่จำเป็นต้องมีในการปฏิบัติงาน6.      การกำหนดแนวทางการประเมินทักษะความรู้ความสามารถหลัก7.      นำผลการประเมินไปเชื่อมโยงกับการพัฒนาบุคลากร  การสรรหาจ้างงาน   การประเมินผลงานตลอดจนการบริหารค่าตอบแทนคุณลักษณะของ  Competencies  ที่ดี1.      พฤติกรรมที่แสดงออกให้เห็นว่า  รู้อะไรบ้าง  ทำอะไรบ้าง และเป็นคนอย่างไร2.      จำเป็นต่อการปฏิบัติงานซึ่งได้ผลดีกว่ามาตรฐานทั่วไป3.      วัดและประเมินได้4.      พัฒนาได้5.      สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ขององค์กรตัวอย่าง   ความสามารถที่จำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมายและกลยุทธ์            ทีมงานที่แข็งแกร่ง   มุ่งผลลัพธ์   ความพอใจลูกค้า  ภาวะผู้นำ   การสื่อสาร  นวัตกรรมความชำนาญด้านเทคนิค         คุณภาพตามมาตรฐาน รูปแบบของการกำหนด Competency1.      หัวข้อ Competency 2.      คำอธิบายความหมาย Definition3.      เครื่องบ่งชี้พฤติกรรมที่ต้องการ Key Behavior 4.      ระดับของ Competency  (  proficiency Level )ตัวอย่างที่ 1 Competency            : การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องคำอธิบาย                :  แสวงหาช่องทางที่จะปรับปรุงผลงาน  และวิธีการทำงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอเครื่องบ่งชี้พฤติกรรม : ใส่ใจในกระบวนการปฏิบัติงาน                                   มองหาวิธีการปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพ ( ดีกว่า ถูกกว่า เร็วกว่า )                                    มองหาจุดที่สามารถแก้ไขปรับปรุงได้แม้แต่เรื่องเล็กน้อยโดยไม่คอยว่าต้องมีใครบอก                                   เสนอแนะแนวทางการปรับปรุงระบบงานอุปสรรค1.      จัดทำ Competency โดยไม่มีแนวคิด / ภาพขององค์กรที่ชัดเจน2.      พยายามออกแบบ Competency ให้สมบูรณ์แบบ ( Perfect ) โดยใช้เวลาในการออกแบบมากเกินไป3.      จัดทำและประเมิน Competency ไม่ชัดเจน4.      การฝึกอบรมผู้จัดการและพนักงานในเรื่องนี้ไม่เพียงพอขีดความสามารถมีประโยชน์ต่อ 1.      พนักงาน คือ พนักงานสามารถทราบขีดความสามารถของตนที่แท้จริง2.      องค์กร สามารถประเมินผลกิจกรรมการพัฒนาทรัพยากร การปฏิบัติงานและผลงานของหน่วยงานและช่วงในการเปลี่ยนแปลงของหน่วยงานและองค์กรมีความคล่องตัว3.      อุตสาหกรรม ทำให้มีการพัฒนาทักษะ ความชำนาญในเชิงกว้างที่มีประโยชน์และเชื่อมโยงกับการพัฒนาในอนาคต4.      เศรษฐกิจระดับประเทศ สามารถต่อสู้กับคู่แข่งขันในตลาดโลกได้  

การบ้านครั้งที่ 7

เรียนวันที่ 11 สิงหาคม 2550

กับ อาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

นายพนม ปีย์เจริญ

Competency

แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ

1. Core Competency

2. Managerial Competency

3. Functional Competency

4. Individual Competency

ซึ่ง Competency นั้นต้องประกอบด้วย

- Skill (ทักษะ)

- Knowledge (ความรู้)

- Behavior (พฤติกรรม)

ในที่นี้ คุณซาร่าได้นำเสนอทฤษฎี ABC Theory ซึ่งผู้บริหารจากต่างประเทศนำมาให้

Baker Mcancy ในประเทศไทยคือปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน คือ

A = Attitude

B = Behavior

C = Consequences

ซึ่งได้มีการแลกเปลี่ยนแนวความคิดกันค่อนข้างหลากหลาย แต่ท้ายที่สุดไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีใดก็ตาม ก็ต้องนำมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมของไทยของเรา

Boyatzis ได้กล่าวถึงความหมายของ Competency ว่าเป็น

คุณสมบัติที่มีความเป็นเหตุเป็นผล นำไปสู่ผลลัพธ์ที่เหนือกว่า

อย่างไรก็ตามในโลกปัจจุบัน เราให้ความสำคัญเรื่อง Competency มากขึ้น เพราเราเชื่อว่า

ในอนาคต Competency จะเป็นตัวกำหนดอนาคตขององค์กร มากกว่าตัวสินค้าและบริการ และเชื่อว่า Competency Based ดีกว่า Technical Knowledge Based ” เพราะเรายังเชื่ออีกว่า Core Competency เป็นเอกลักษณ์ ที่แสดงถึง Know – How ขององค์กร อันเป็นที่มาของสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ในรูปสินค้าและบริการ และยังยากต่อการเลียนแบบอีกด้วยคำถามต่อมาก็คือ แล้วอะไรเล่าที่เป็น

องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิด Competency

1.Share Mind Set การมีทัศนคติร่วมกัน แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ

ภายใน ที่เราต้องเข้าใจ

- เป้าหมาย

- Vision

- Mission และ

- Strategy ขององค์กร

ภายนอก เป็นส่วนที่เราต้องเข้าใจ

- Costumer

- Supplier

- etc.

2. Management and Human Resources Practices

เป็นเรื่องของกระบวนการบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ในทุกกระบวนการตั้งแต่

- กระบวนการ Recruit - Select

- การบวนการ Human Resource Development

- กระบวนการ Evaluation และ Compensation ไปจนถึง

- กระบวนการ Career Planning , Career Management

ตลอดจนกระบวนการของ Communication

3.Capacity for Change

ความสามารถในการปรับปลี่ยน พฤติกรรมและคนในองค์กร เช่น  ต้องให้มี Empowerment ในองค์กร

4.Leadership

การพัฒนาภาวะผู้นำ ต้องให้เกิดมีในทุกระดับองค์ประกอบเหล่านี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิด Competency ซึ่งการเกิด Competency ในทุกด้านจะทำให้องค์กร เป็นองค์กรที่เป็น High Performance Organization อันเป็นสิ่งที่ผู้บริหารในทุกองค์กรต้องการ

เหตุที่ต้องการองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูงก็เนื่องมาจาก

- ความล้มเหลวในการปรับเปลี่ยน พฤติกรรมพนักงานด้วยการ Training และ Education

- สภาพการแข่งขันเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคและกลุ่มผลประโยชน์ ทำให้ต้องช่วงชิง Market Share และเพื่อให้มีความได้เปรียบในการแข่งขัน (Competitive Advantage)

เหนือสิ่งอื่นใดผู้บริหารมีความต้องการ Unique Assets อันเป็นสิทรัพย์ขององค์กรที่มีความแตกต่างไปจาก Generic Assets อันเป็นสินค้าและบริการทั่วไปที่ลอกเลียนแบบได้ไม่ยาก

แต่ Competency ของคนในองค์กรที่นับว่าเป็นสินทรัพย์ที่เป็น Unique Assets นั้น ยากที่จะลอกเลียนแบบได้ง่ายๆ เพราะเป็นวัฒนธรรมที่สั่งสมมายาวนาน จนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรไปแล้ว

อันเป็นส่วนสำคัญทำให้เกิด Core Competency ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่แสดงถึง know – How ขององค์กรเป็นที่มาของสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ในรูปของสินค้า และบริการอันถือว่าเป็น Competency Advantage ที่ยากต่อการเลียนแบบ

โดยมีองค์กรประกอบ 3 ด้านใหญ่ๆคือ

     1. ทรัพยากรมนุษย์ ที่มีคุณภาพ

    โดยต้องอาศัยกระบวนการทุกกระบวนการดังที่กล่าวไว้ข้างต้น คือ ตั้งแต่

    - กระบวนการสรรหา,คัดเลือก

    - กระบวนการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์

    - กระบวนการวัดผล ประเมินผลและให้ผลตอบแทน

    - กระบวนการ Career Planning และ Career Management

    - ตลอดจนการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

    2. องค์กร ที่ต้องพัฒนาให้เป็นองค์กรสมัยใหม่ ( New Public Management )

    โดยต้องมีโครงสร้าง ( Structure ) ขององค์กรที่

    - มีความเป็นทางการต่ำ ( Formalization )

    - มีความซับซ้อนต่ำ ( Complexity )

    - มีการกระจายอำนาจที่เหมาะสม ( Centralization )

    โดยเฉพาะถ้าเป็นองค์กรภาครัฐก็ต้องยึดหลักปฏิบัติที่ถือเอาประชาชนเป็นศูนย์กลางกล่าวคือ

    1. ต้องสนองตอบประชาชนมากกว่kองค์กร ( Social Equity )

    2. ไม่เลือกปฏิบัติ ( Equality )

    3. มุ่งสู่การบริหารจัดการที่มีธรรมาภิบาล ( Value – Based )

    4. แสวงหารูปแบบโครงสร้างที่ Flexible ( Change )

    ซึ่งอาจารย์ ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ ได้พูดถึงสิ่งที่องค์กรสมัยใหม่ต้องการในขณะนี้คือ

    1. ความรู้ใหม่ๆ ( New knowledge )

    2. ทักษะและความสามารถที่ใช้งานได้ ( Effective / Competency )

    3. ทัศนคติที่ดี ( Positive Attitude )

    4. การทำงานที่มีระบบที่ดี ( Systematic Approach )

    5. ความสามารถในการแข่งขัน( Competitive Advantage )

    6. ความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง ( Change Management )

    7. ภาวะความเป็นผู้นำ

    3. วัฒนธรรมองค์กร

    เช่น การทำงานเป็นทีม การเรียนรู้ตลอดเวลาและต่อเนื่อง โดยมีผู้นำเป็นผู้สนับสนุนมากกว่าเป็นผู้กำหนดแนวทางทั้งหมด

     

    การจัดทำ Competency สำหรับองค์กร

    - กำหนดวิสัยทัศน์ ( Vision ) ภารกิจ ( Mission )

    - กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ ( Business Strategy & Process )

    - วิเคราะห์ประเมินจุดเด่น , จุดด้อย , โอกาสและอุปสรรคขององค์กร ( Swot Analysis )

    - วิเคราะห์และประเมินจุดเด่น จุดด้อย ของพนักงานในองค์กรในแต่ละระดับ ตามทิศทางกลยุทธ์การ ดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ

    - วิเคราะห์และจัดทำความสามารถหลักของบริษัทฯ ( Core Competencies ) และทักษะ ความสามารถที่จำเป็นที่จำเป็นต้องปฏิบัติงาน ( Professional or Technical Competencies )

    - กำหนดแนวทางการประเมินทักษะความรู้และความสามารถหลัก

    - นำผลการประเมินไปเชื่อมโยงกับการพัฒนาบุคลากร การสรรหาจ้างงาน การประเมินผลงาน ตลอดจนการบริหารค่าตอบแทน ดังที่กล่าวไว้  โดยต้องมองให้ออกว่า เราต้องการคนเช่นไรถึงจะทำให้องค์กรของเราประสบความสำเร็จและมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ( Competitive Advantage )ซึ่งความสำเร็จในการจัดทำ Competencies จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ

    1. ต้องเชื่อมโยง Competencies กับเป้าหมายขององค์กรและเป้าหมายของธุรกิจตลอดเวลา

    2. โดยเริ่มจากร่าง Competencies ที่ใช้กันโดยทั่วไปก่อน

    3. พร้อมทั้งคัดเลือกบุคคลที่เหมาะสมมาเป็นทีมในการจัดทำ Competency

    4. ต้องเน้นเรื่องการนำไปใช้ได้ ไม่ใช่แค่สร้าง Model ขึ้นมา

    5. ต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารทุกฝ่าย

    6. ต้องมีการแจ้งให้พนักงานทราบอยู่บ่อยๆ

    7. มีการจัดทำการประเมิน Competency ที่ง่ายและไม่ซับซ้อนเกินไป

    8. จัดให้มีการฝึกอบรมและการสื่อสารสำหรับผู้จัดการและพนักงาน

    9. มีการทดลองใช้ Competencies กับบางแผนกก่อน

    10. ผู้บริหารระดับสูงต้องมีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย

       อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญที่จะทำองค์กรเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูง ( High Performance Organization ) อันจะทำให้มีความได้เปรียบในการแข่งขัน ( Competitive Advantage )

    คนทุกคนในองค์กรจะต้องมีศักยภาพที่เพียงพออันเนื่องมาจากทุกกระบวนการที่ช่วยพัฒนา ให้มีความพร้อม จนทุกคนในองค์กรเป็นสินทรัพย์ประเภท Unique Asset ที่องค์กรอื่น ก็ยากที่จะลอกเลียนแบบได้.

    นายพนม ปีย์เจริญ

    Mr.Panom Peecharoen

    16.8.2007

ญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา

 

การบ้านครั้งที่ 5 จากการบรรยายพิเศษของ ท่านอาจารย์อาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์   (Thailand)  วันที่ 11 สิงหาคม 2550 ในเรื่อง Competency การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วย  Competency                    แนวคิดและหลักการเรื่องขีดความสามารถ (Competency) ที่กล่าวว่าเป็นบุคลิกลักษณะที่ซ่อนอยู่ภายใต้ปัจเจกบุคคล ที่สามารถผลักดันให้บุคคลนั้น สร้างผลการปฏิบัติงานที่ดีที่สุดในงานที่ตนรับผิดชอบ การที่บุคคลมีเพียงความฉลาดในการเรียนรู้ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เขาเป็นผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานที่โดดเด่นแต่จำเป็นต้องมีแรงผลักดันเบื้องลึก คุณลักษณะส่วนบุคคล แนวคิดในตนเองและการแสดงออกที่เหมาะสมจะทำให้เขาเป็นผู้ที่มีผลงานโดดเด่น              โดยขีดความสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ขีดความสามารถหลัก (Core Competency)  คือ บุคลิกลักษณะการแสดงออกของพฤติกรรมของพนักงานทุกคนในองค์การที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ความเชื่อ และอุปนิสัยของคนในองค์การโดยรวม ขีดความสามารถด้านการบริหาร (Managerial Competency) คือ ความรู้ ความสามารถด้านการบริหารจัดการ เป็นขีดความสามารถทีมีได้ทั้งในระดับผู้บริหารและระดับพนักงานโดยจะแตกต่างกันตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบขีดความสามารถตามตำแหน่งงาน (Functional Competency)  คือ ความรู้ ความสามารถในงานซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะและคุณลักษณะเฉพาะของงานต่าง ๆ             David C. McClelland ที่กล่าวว่า Competency  คือ บุคลิกลักษณะที่ซ่อนอยู่ภายใต้ปัจเจกบุคคล ซึ่งสามารถผลักดันให้ปัจเจกบุคคลนั้น สร้างผลการปฏิบัติงานที่ดีหรือตามเกณฑ์ที่กำหนด ในงานที่ตนรับผิดชอบ ความสามารถตามกรอบแนวคิดเรื่องขีดความสามารถ ซึ่งสามารถอธิบายได้ตามแผนภาพโมเดลภูเขาน้ำแข็ง  แสดงเกี่ยวกับ แนวคิด หลักการของ Competency        ประเภทของ Competency  แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้1. ขีดความสามารถหลัก (Core Competency) หมายถึง บุคลิกลักษณะหรือการแสดงออกของพฤติกรรมของพนักงานทุกคนในองค์การ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ความเชื่อ และอุปนิสัยของคนในองค์การโดยรวม2. ขีดความสามารถด้านการบริหาร (Managerial  Competency)  คือ ความรู้ ความสามารถด้านการบริหารจัดการ เป็นขีดความสามารถที่มีได้ทั้งในระดับผู้บริหารและระดับพนักงานโดยจะแตกต่างกันตามบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบ (Role – Based) แตกต่างตามตำแหน่งทางการบริหาร งานที่รับผิดชอบ3. ขีดความสามารถตามตำแหน่งงาน (Functional  Competency ) คือ ความรู้ ความ สามารถในงานซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะเฉพาะของงานต่าง ๆ (Job – Based)ผลการประเมินระดับของ Competency รายบุคคลจะถูกต้องและน่าเชื่อถือจริงหรือไม่?  เมื่อประเมินระดับ Competency ออกมาแล้ว ไม่ว่าจะถามใครว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ คนส่วนใหญ่บอกว่าไม่น่าเชื่อถือหรือไม่แน่ใจ เพราะการประเมินเกิดจากความรู้สึกส่วนบุคคลเพียงชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น (คือเวลา 5-10 นาที ที่กำลังทำแบบประเมิน) ถึงแม้จะประเมินแบบ 360 องศา ถ้าตัวผู้ประเมินขาดมาตรฐานรับรองได้ว่าต่อให้ประเมินแบบ 1000 องศาก็ไม่น่าเชื่อถือ หรือลองให้ผู้ประเมินคนเดิมประเมินใหม่หลังจากประเมินครั้งแรกไปแล้วสักสัปดาห์หรือสองสัปดาห์ รับรองได้ว่าผลการประเมินแตกต่างกัน ทั้งๆที่ผู้ถูกประเมินยังไม่ได้พัฒนาตนเองหรือไม่ได้ทำอะไรให้แย่ไปกว่าเดิม แสดงให้เห็นว่ามาตรฐานการประเมินทั้งแบบการประเมินและผู้ประเมินยังไม่ดีพอ อีกวิธีหนึ่งที่น่าจะลองนำมาตรวจสอบผลการประเมินคือ ให้เลือกคนที่ได้คะแนนประเมิน Competency สูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ ไปเปรียบเทียบกับผลการปฏิบัติงานจริงว่าสัมพันธ์กันหรือไม่ อาจจะพบว่าคนบางคนที่ได้คะแนนประเมินระดับ Competency สูง แต่ผลการปฏิบัติงานจริงต่ำกว่ามาตรฐานก็ได้ อย่างนี้บอกได้ว่า Competency ที่นำมาประเมินคนๆนั้นไม่สัมพันธ์กับงานที่ทำ หรือไม่ก็รูปแบบหรือวิธีการการประเมิน Competency ยังไม่มีประสิทธิภาพนั่นเอง

            การประเมินเรื่องบางเรื่องไม่ควรประเมินว่าอยู่ระดับไหน เช่น ความซื่อสัตย์ จริยธรรม มโนธรรม ฯลฯ เพราะประเมินออกมาไม่รู้จะบอกคนถูกประเมินว่าอย่างไร เช่น ผลการประเมินออกมาอยู่ระดับ 2 เต็ม 5 จะบอกว่าความซื่อสัตย์ของคุณมีเล็กน้อยหรือค่อนข้างน้อย ก็ฟังดูแปลกๆอยู่นะคะ เพราะเรื่องบางเรื่องเป็นเหมือนสวิทซ์ไฟที่เป็นแบบ
ON กับ OFF คือปิดกับเปิด หรือมีกับไม่มีเท่านั้น ไม่ต้องไปประเมินว่าไม่มีระดับไหน   (อ้างอิง : ณรงค์วิทย์  แสนทอง .2547. มารู้จัก COMPETENCY กันเถอะ. กรุงเทพ ฯ : เอช  อาร์  เซ็นเตอร์)นางสาวญาณัญฎา  ศิรภัทร์ธาดา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา [email protected]“A LEADING QUALITY UNIVERSITY FOR ALL”
นางสาวญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา

 

การบ้านครั้งที่ 5 จากการบรรยายพิเศษของ ท่านอาจารย์อาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์   (Thailand)  วันที่ 11 สิงหาคม 2550 ในเรื่อง Competency นักศึกษาชื่อนางสาวญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา (ส่งซ้ำเนื่องจากไม่ปรากฏชื่อผู้ส่งค่ะ....)การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้วย  Competency                    แนวคิดและหลักการเรื่องขีดความสามารถ (Competency) ที่กล่าวว่าเป็นบุคลิกลักษณะที่ซ่อนอยู่ภายใต้ปัจเจกบุคคล ที่สามารถผลักดันให้บุคคลนั้น สร้างผลการปฏิบัติงานที่ดีที่สุดในงานที่ตนรับผิดชอบ การที่บุคคลมีเพียงความฉลาดในการเรียนรู้ยังไม่เพียงพอที่จะทำให้เขาเป็นผู้ที่มีผลการปฏิบัติงานที่โดดเด่นแต่จำเป็นต้องมีแรงผลักดันเบื้องลึก คุณลักษณะส่วนบุคคล แนวคิดในตนเองและการแสดงออกที่เหมาะสมจะทำให้เขาเป็นผู้ที่มีผลงานโดดเด่น              โดยขีดความสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ขีดความสามารถหลัก (Core Competency)  คือ บุคลิกลักษณะการแสดงออกของพฤติกรรมของพนักงานทุกคนในองค์การที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ความเชื่อ และอุปนิสัยของคนในองค์การโดยรวม ขีดความสามารถด้านการบริหาร (Managerial Competency) คือ ความรู้ ความสามารถด้านการบริหารจัดการ เป็นขีดความสามารถทีมีได้ทั้งในระดับผู้บริหารและระดับพนักงานโดยจะแตกต่างกันตามบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบขีดความสามารถตามตำแหน่งงาน (Functional Competency)  คือ ความรู้ ความสามารถในงานซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะและคุณลักษณะเฉพาะของงานต่าง ๆ             David C. McClelland ที่กล่าวว่า Competency  คือ บุคลิกลักษณะที่ซ่อนอยู่ภายใต้ปัจเจกบุคคล ซึ่งสามารถผลักดันให้ปัจเจกบุคคลนั้น สร้างผลการปฏิบัติงานที่ดีหรือตามเกณฑ์ที่กำหนด ในงานที่ตนรับผิดชอบ ความสามารถตามกรอบแนวคิดเรื่องขีดความสามารถ ซึ่งสามารถอธิบายได้ตามแผนภาพโมเดลภูเขาน้ำแข็ง  แสดงเกี่ยวกับ แนวคิด หลักการของ Competency        ประเภทของ Competency  แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้1. ขีดความสามารถหลัก (Core Competency) หมายถึง บุคลิกลักษณะหรือการแสดงออกของพฤติกรรมของพนักงานทุกคนในองค์การ ที่สะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ ทัศนคติ ความเชื่อ และอุปนิสัยของคนในองค์การโดยรวม2. ขีดความสามารถด้านการบริหาร (Managerial  Competency)  คือ ความรู้ ความสามารถด้านการบริหารจัดการ เป็นขีดความสามารถที่มีได้ทั้งในระดับผู้บริหารและระดับพนักงานโดยจะแตกต่างกันตามบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบ (Role – Based) แตกต่างตามตำแหน่งทางการบริหาร งานที่รับผิดชอบ3. ขีดความสามารถตามตำแหน่งงาน (Functional  Competency ) คือ ความรู้ ความ สามารถในงานซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะเฉพาะของงานต่าง ๆ (Job – Based)ผลการประเมินระดับของ Competency รายบุคคลจะถูกต้องและน่าเชื่อถือจริงหรือไม่?  เมื่อประเมินระดับ Competency ออกมาแล้ว ไม่ว่าจะถามใครว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ คนส่วนใหญ่บอกว่าไม่น่าเชื่อถือหรือไม่แน่ใจ เพราะการประเมินเกิดจากความรู้สึกส่วนบุคคลเพียงชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น (คือเวลา 5-10 นาที ที่กำลังทำแบบประเมิน) ถึงแม้จะประเมินแบบ 360 องศา ถ้าตัวผู้ประเมินขาดมาตรฐานรับรองได้ว่าต่อให้ประเมินแบบ 1000 องศาก็ไม่น่าเชื่อถือ หรือลองให้ผู้ประเมินคนเดิมประเมินใหม่หลังจากประเมินครั้งแรกไปแล้วสักสัปดาห์หรือสองสัปดาห์ รับรองได้ว่าผลการประเมินแตกต่างกัน ทั้งๆที่ผู้ถูกประเมินยังไม่ได้พัฒนาตนเองหรือไม่ได้ทำอะไรให้แย่ไปกว่าเดิม แสดงให้เห็นว่ามาตรฐานการประเมินทั้งแบบการประเมินและผู้ประเมินยังไม่ดีพอ อีกวิธีหนึ่งที่น่าจะลองนำมาตรวจสอบผลการประเมินคือ ให้เลือกคนที่ได้คะแนนประเมิน Competency สูงกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ ไปเปรียบเทียบกับผลการปฏิบัติงานจริงว่าสัมพันธ์กันหรือไม่ อาจจะพบว่าคนบางคนที่ได้คะแนนประเมินระดับ Competency สูง แต่ผลการปฏิบัติงานจริงต่ำกว่ามาตรฐานก็ได้ อย่างนี้บอกได้ว่า Competency ที่นำมาประเมินคนๆนั้นไม่สัมพันธ์กับงานที่ทำ หรือไม่ก็รูปแบบหรือวิธีการการประเมิน Competency ยังไม่มีประสิทธิภาพนั่นเอง

            การประเมินเรื่องบางเรื่องไม่ควรประเมินว่าอยู่ระดับไหน เช่น ความซื่อสัตย์ จริยธรรม มโนธรรม ฯลฯ เพราะประเมินออกมาไม่รู้จะบอกคนถูกประเมินว่าอย่างไร เช่น ผลการประเมินออกมาอยู่ระดับ 2 เต็ม 5 จะบอกว่าความซื่อสัตย์ของคุณมีเล็กน้อยหรือค่อนข้างน้อย ก็ฟังดูแปลกๆอยู่นะคะ เพราะเรื่องบางเรื่องเป็นเหมือนสวิทซ์ไฟที่เป็นแบบ
ON กับ OFF คือปิดกับเปิด หรือมีกับไม่มีเท่านั้น ไม่ต้องไปประเมินว่าไม่มีระดับไหน   (อ้างอิง : ณรงค์วิทย์  แสนทอง .2547. มารู้จัก COMPETENCY กันเถอะ. กรุงเทพ ฯ : เอช  อาร์  เซ็นเตอร์)นางสาวญาณัญฎา  ศิรภัทร์ธาดา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา [email protected]“A LEADING QUALITY UNIVERSITY FOR ALL”
Competency-Based Management (วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม 2550 กับท่านอาจารย์ศิริลักษณ์.. จากน.ส.ดวงสมร  ฟักสังข์)  สมรรถนะ (Competency) หมายถึง ทักษะ (Skills) ความรู้ (Knowledge) และพฤติกรรม (Behavior) ของบุคลากรที่จำเป็นในการปฏิบัติงานใดงานหนึ่ง นั่นคือ ในการทำงานอย่างหนึ่งๆ เราต้องรู้อะไร เมื่อมีความรู้หรือข้อมูลแล้ว เราต้องรู้ว่าจะทำงานนั้นๆ อย่างไร และ เราควรมีพฤติกรรมหรือคุณลักษณะเฉพาะอย่างไร ซึ่งสามารถกำกับดูแลได้ สังเกตได้ และวัดได้ (ทักษะ ความรู้ และความสามารถที่ดี จะต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับแผนกลยุทธ์ และเป้าหมายเชิงธุรกิจขององค์กรอย่างชัดเจน)ลำดับขั้นของ Competency          1. ระดับองค์กร (Organization Level) คือ ความสามารถหลักขององค์กร (Core Competency) ซึ่งพนักงานทุกคนต้องมี          2. ระดับฟังก์ชั่นงาน (Function Level/Functional Competency) ได้แก่ การเงิน การตลาด ฝ่ายขาย ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ ฯลฯ          3. ระดับตำแหน่งงาน (Specific Job Level) เช่น นักวิเคราะห์การเงิน นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เป็นต้นอาจารย์กล่าวว่าความสามารถ (Capability) เกิดจากการปฏิบัติ โดยองค์กรต้องกำหนดคุณลักษณะของคนในองค์กร อันประกอบด้วย           1. Core Competency          2. Functional Competency          3. Leadership Competency          4. Managerial Competency          ด้าน Core Competency ปัจจุบัน Integrity กลายเป็นตัววัดความสำเร็จขององค์กรไปแล้ว และตามมาด้วย CSR ซึ่งองค์กรจะทำให้เกิด Integrity ได้นั้นมีปัจจัยแห่งความสำเร็จคือ Compliance Committee (คณะกรรมการดูแลความประพฤติด้านจริยธรรม) Code of Conduct และ Ethicsสิ่งที่องค์กรสมัยใหม่ต้องการ          1. ความรู้ใหม่ๆ (New Knowledge)          2. ทักษะและความสามารถที่ใช้งานได้ (Effective Skills / Competency)          3. ทัศนคติที่ดี (Positive Attitude)          4. การทำงานที่มีระบบที่ดี (Systematic Approach)          5. ความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness)          6. ความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)          7. ภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership)           เพื่อนๆ ในห้องได้นำเสนอ ABC Theory ถือเป็นพื้นฐานของ HR ได้แก่          1. Attitude           2. Behavior          3. Consequence           ทุกองค์กรได้นำ Attitude มาใส่ในองค์กรกันเป็นส่วนมาก ซึ่งท่านอาจารย์มองว่า Attitude เป็นพื้นฐานในตัวคนอยู่แล้ว ดังนั้นในองค์กรต้องมีคนที่มีทัศนคติที่ดี ส่วนความสามารถ (Ability) สามารถพัฒนาได้คุณลักษณะของผู้บริหารยุคใหม่ (by C.K Prahalad)          1. คิดอย่างมีระบบ (Systematic Thinking)           2. สามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมอื่นได้ (Intercultural Competence)          3. ฝึกฝนอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง (Extensive and Continuous Training)          4. มีมาตรฐานและพฤติกรรมที่เหมาะสม (Personal Standard and Standard of Behavior) ** Prof. Dipak C.Jain คณบดีวิทยาลัยการจัดการ Kellogg ได้เสนอแนวคิดของผู้บริหารมืออาชีพไว้ดังนี้ 1. การบริหารคือการขับเคลื่อนโดยใช้กลไกตลาด ผู้บริหารต้องเข้าใจว่าลูกค้าคือใคร/ ใครคือคู่แข่ง/ เราเก่งอะไร/ เราจะขายอะไร2. ต้องสร้างภาพลักษณ์และกำหนดจุดยืนในตลาด เช่น มีคุณลักษณะเฉพาะ และคุณภาพเทียบได้ทัดเทียมกับมาตรฐานสากล3. บุคลิกนักบริหาร ผู้จะก้าวหน้าในอันดับหัวแถวต้องสร้างคุณลักษณะพิเศษ ได้แก่
คิดใหญ่ฝันใหญ่ ต้องการสร้างชิ้นงานหรือโครงการที่สำคัญ ใช้สัญชาติญาณ ใช้ข้อมูล ใช้องค์ความรู้จนสามารถสร้างชิ้นงาน หรือนวัตกรรมใหม่ ขับเคลื่อนความฝันอย่างมีเป้าหมาย มีทิศทางที่มีโอกาสสู่ความสำเร็จ มีกลยุทธ์ และมีมิติวัดผลสำเร็จ ทำงานอย่างมีกระบวนการวางแผนรัดกุมรอบคอบทำงานไปแล้วติดตามวัดผลสำเร็จได้ สร้างทีมร่วมผลักดัน รู้จักทำเป็นแบบอย่าง ใช้ขีดความสามารถของแต่ละคนมาร่วมกันสร้างสรรค์งานใหญ่ โดยผู้บริหารมาร่วมคิดช่วย ชี้แนะ เป็นต้นแบบของการทำงานหนักเอาเบาสู้ สร้างแรงจูงใจ รวมทั้งการ มอบอำนาจ ผู้บริหารต้อง ให้กำลังใจสร้างขวัญในการทำงานและรู้จักกระจายอำนาจความรับผิดชอบให้ผู้บริหารระดับรองลงไป ช่วยแบ่งเบางานที่ต้องตัดสินใจ
4. การนำการเปลี่ยนแปลงของนักบริหาร คือการจัดการภารกิจเหล่านี้ให้เกิดผลดีการ คิดเชิงธุรกิจ (โอกาส + กำไร) คำนึงถึงความคุ้มทุนและคุ้มค่า โดยเฉพาะการทำงานราชการมักไม่คำนวณต้นทุนเนื่องจากเป็นงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรมาให้ ทัศนคติเชิงบวก มองวิกฤติให้เป็นโอกาส แม้เผชิญปัญหาอุปสรรคก็มิได้ย่อท้อ ความสามารถนำทีม นำคณะไปสู่การสร้างความสำเร็จการทำงานเชิงรุก บุกเข้าไปไม่ท้อถอย ป้องกันก่อนเกิดปัญหาจริง การสร้างวัฒนธรรมองค์กร สร้างทีมงานที่แข็งแกร่งรู้จักประสานสมานฉันท์คุณลักษณะของ Competencies ที่ดี          1. พฤติกรรมที่แสดงออกให้เห็นว่ารู้อะไรบ้าง ทำอะไรบ้าง และเป็นคนอย่างไร          2. จำเป็นต่อการปฏิบัติงานซึ่งได้ผลดีกว่ามาตรฐานทั่วไป          3. วัด และประเมินได้          4. พัฒนาได้          5. สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ขององค์กรOrganization Health Check ประกอบด้วย          1. Strategy กลยุทธ์องค์กร          2. Structure โครงสร้างองค์กร เพราะมีผลต่องาน          3. System ระบบการพัฒนาคน          4. Process/Practices กระบวนการ/วิธีการทำงาน : การลงรายละเอียดการปฏิบัติงานโดยสอดคล้องกับ System          ถ้าทั้ง 4 ส่วนไม่ประสานกัน สาเหตุมาจากการขาด Communication ส่งผลต่อภาวะผู้นำHR Value Preposition ของ Dave Ulrich ท่านอาจารย์ได้แนะนำแนวทางในการวางบทบาทของ HR ในอนาคต ซึ่งจากแนวคิดของ Dave Ulrich  (Dave Ulrich,1997) มีดังนี้           1. บทบาทที่ “Administrative Expert”          2. บทบาทที่เป็น  “Employee Champion”          3. บทบาทที่เป็น “Change Agent”          4. บทบาทที่เป็น “Strategic Partner”          เริ่มจากบทบาทแรก บทบาทผู้เชี่ยวชาญทางด้านงานธุรการ หรือ “Administrative Expert”  ในบทบาทนี้ HR ต้องสามารถทำงานธุรการอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งหมายถึง การใช้ต้นทุนให้น้อยลง สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้มากขึ้น HR สมัยใหม่อาจจะต้องทบทวนกระบวนการ เพื่อลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น (Non – Value added) เพื่อให้งานมีความคล่องตัวมากขึ้น กลยุทธ์ที่ถูกนำมาใช้ คือ การ Outsource งานบางอย่างออกไป ในบทบาทนี้ HR จะมุ่งเน้นเรื่องของกระบวนการทำงาน (Process)ปัจจุบัน (Present)          บทบาทที่สอง “Employee Champion” ในบทบาทนี้ HR จะต้องสร้างองค์กรให้พนักงานมีความพึงพอใจทั้งในด้านสภาพการทำงานและสภาพการจ้างงาน สิ่งที่เป็นดัชนีสำคัญในการชี้วัดความสำเร็จ คือ Job Satisfaction มิติการมองของ HR จะอยู่ที่เรื่องของคน (People) และปัจจุบัน (Present).          บทบาทที่สาม “Change Agent” นับว่าเป็นบทบาทใหม่ของ HR ที่จะต้องเป็นผู้นำ หรือกระตุ้นเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขององค์กร ต้องไม่ลืมว่าองค์กรไม่ได้อยู่ในสภาพสุญญากาศ องค์กรจะต้องมีการปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมว่าจะเป็น ตลาด ระบบเศรษฐกิจ คู่แข่ง ดังนั้นองค์กรที่จะสามารถแข่งขันได้ จะต้องสามารถปรับเปลี่ยนและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนับว่าเป็นบทบาทที่ HR จะต้องเข้ามามีส่วนร่วม เพราะการเปลี่ยนแปลงคนไปสู่สิ่งที่ดีกว่าในอนาคต           และบทบาทสุดท้าย “Strategic Partner” ซึ่งเป็นบทบาทที่ท้าทายมากที่สุดสำหรับ HR เนื่องจาก HR จะต้องเข้าใจในธุรกิจและปัจจัยที่จะทำให้ธุรกิจมีความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานที่เกี่ยวข้องกับคน เช่น จะต้องเตรียมบุคลากรสายพันธ์ใหม่ที่จะสามารถสร้างอำนาจในการแข่งขัน การนำเครื่องมือที่จะทำให้องค์กรมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น Balanced Scorecard, Six Sigma, Competency Base, Strength Base และอื่นๆอีกมากมาย  เครื่องมือเหล่านี้เป็นเครื่องมือของการพัฒนาองค์กร ที่เรียกว่า บทแทรก (Intervention) ของ OD หรือ Organization Development โดย HR จะต้องทำงานร่วมกับฝ่ายบริหารจากทุกๆ หน่วยงาน           ท่านอาจารย์ได้เสนอ Potential Matrix อยู่ในเครื่องมือการบริหารจัดการคนเก่ง (Talent Management) ระบบบริหารจัดการคนเก่ง (Talent Management System)      วาสิตา ฤทธิ์บำรุง (2548 อ้างถึงใน สุพรหม, 2549) กล่าวว่า ระบบการบริหารจัดการคนเก่ง (Talent Management System) แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การระบุคนเก่ง (Identification Talent)     เป็นจุดเริ่มต้นของระบบการบริหารคนเก่ง องค์การต้องเริ่มต้นจากการกำหนดเป้าหมายขององค์การว่า เป้าหมายสูงสุดขององค์การคืออะไร จากนั้นต้องแปลงเป้าหมายขององค์การมาสู่เป้าหมายของส่วนงานแต่ละส่วนงาน ซึ่งจะช่วยให้เป้าหมายของส่วนงานสอดคล้องและสามารถตอบสนองต่อเป้าหมายขององค์การได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล จากนั้นจึงจะสามารถกำหนดและระบุถึงคุณสมบัติและคุณลักษณะของคนเก่งตามที่แต่ละส่วนงานและองค์การต้องการ 2. การฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง (Training and Development Talents)      กระบวนการในการฝึกอบรมและพัฒนาคนเก่ง แบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้1. การประเมินทักษะ (Assess) เป็นการรวบรวม Feedback จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย2. การวิเคราะห์ (Analyze) เป็นการเก็บรวบรวม วิเคราะห์ ประเมินข้อมูล และกำหนดผลกระทบที่องค์การได้รับจากการพัฒนาทักษะ พิจารณาความสนใจของพนักงาน โอกาสในการใช้ทักษะในการปฏิบัติงาน เลือกทักษะสองหรือสามทักษะ มาวางแผนในการพัฒนา3. การวางแผน (Plan) เป็นการอธิบายทักษะที่เลือกออกมาในรูปของพฤติกรรม และอธิบายว่าพนักงานจะสามารถทำอะไรได้บ้างภายหลังจากการได้รับการพัฒนาทักษะ รวมถึงการออกแบบกิจกรรมที่จะใช้เพื่อการพัฒนาทักษะ และกำหนดว่าต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้างในแต่ละกิจกรรม ทั้งในเรื่องของงบประมาณ เวลา และผู้สอน รวมถึงการกำหนดวิธีการที่จะใช้ในการติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนา4. การดำเนินการ (Act) เป็นการนำแผนงานที่ได้กำหนดไว้ในขั้นต้นมาดำเนินการและติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนา 5. การประเมินความก้าวหน้า (Evaluate Progress) เป็นการประเมินผล และการให้ผลสะท้อนกลับแก่พนักงาน 3. การจ่ายค่าตอบแทนและให้รางวัลคนเก่ง (Compensation and Rewarding Talent)      คนเก่งขององค์การคือ คนที่มีผลการปฏิบัติงานดีและมีศักยภาพในการสร้างคุณค่าและผลงานให้กับองค์การได้ในระดับสูงกว่าพนักงานทั่วไป ดังนั้น การพิจารณาจ่ายค่าตอบแทนและให้รางวัลแก่คนเก่ง จึงควรได้รับการออกแบบที่มีความแตกต่างและมีความยุติธรรม  4. การรักษาคนเก่ง (Retention Talent)      การรักษาคนเก่งที่มีอยู่ในองค์การให้อยู่กับองค์การนานที่สุด และมีความจงรักภักดีและยึดมั่นต่อองค์การนั้น นับว่าเป็นงานที่มีความท้าทายและยากกว่าการรักษาพนักงานทั่วไปไว้กับองค์การ เพราะทุกองค์การต่างก็ต้องการคนเก่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้ว หากเป็นองค์การที่มีลักษณะงานคล้ายกัน ย่อมต้องแข่งขันในการแย่งชิงคนเก่งให้มาอยู่กับองค์การของตน ดังนั้น สิ่งที่สำคัญในการจะรักษาคนเก่งให้อยู่กับองค์การก็คือ ต้องเข้าใจว่าคนเก่งต้องการอะไร
ชัยธนัตถ์กร ภวิศพิริยะกฤติ
                                ผมนายชัยธนัตถ์กร ภวิศพิริยะกฤติ ขอแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการบรรยายของอาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ ในเรื่องของ การบริหารจัดการคนนั้น ความรู้ความสามารถการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจุดใหญ่ใจความแล้วก็จะเน้นในเรื่องของการให้ความรู้ ในเรื่องต่าง ๆ ในองค์กร เพื่อเข้าใจและปฏิบัติได้ สร้างทัศนคติที่ดีต่อหัวหน้า เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง และระบบงาน ในทางบวกอันจะเป็นแรงเสริมในการทำงานที่ทุ่มเทต่อไป สร้างสรรค์พัฒนาทักษะความรู้ในจุดที่พนักงานเป็นหรือต้องการ และองค์กรก็จะสนับสนุนให้ทำทั้งในปัจจุบันและอนาคต ในห้วงสุดท้ายก็คงจะเป็นเรื่องของการส่งเสริมและปลูกฝังทัศนคติที่ดีมีความเข้าใจในระบบคนและสิ่งแวดล้อม ก็จะส่งผลทำให้มีพฤติกรรมอันพึงปรารถนาในองค์กร                                 HR จึงต้องมองมุมใหม่ ๆ ในที่หลากหลายโดยจะต้องคอยสอดส่องสรรหาว่าอะไรใหม่อะไรดีอะไรเหมาะสม และอะไรจำเป็น สำหรับ ทุนมนุษย์ ในองค์กร  ที่จะพัฒนาสร้างสรรค์ให้เพิ่มศักยภาพและทักษะ ที่จะนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมายได้อย่างมีคุณภาพ จะเห็นได้ว่าองค์กรที่ยิ่งใหญ่ และประสบความสำเร็จล้วนแล้วแต่มี คน ที่มีคุณภาพ บริษัท ซีพี ฯ นับว่าเป็นบริษัทที่มีคนคุณภาพเต็มไปหมด ทั้งสมอง วิสัยทัศน์ ทัศนคติ พฤติกรรม    และความเข้าใจในสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว บริษัทจะรับคนเข้ามาในเกรดการศึกษาสูง มีการสัมภาษณ์ ดูวิสัยทัศน์ และทัศนคติ และยังมีการดูโหวงเฮ้งรวมอยู่ด้วย คนของซีพีจึงเต็มไปด้วย คนระดับหัวกะทิ ในการทำงาน ซึ่งชัดเจน เป็นระบบ มีพันธกิจ ในงาน และโอกาสความก้าวหน้าที่ชัดเจน รวมถึงค่าตอบแทนที่จูงใจยิ่ง สำหรับคนที่มีคุณภาพ ไม่ต้องต่อคิวรอ ขอให้ดีมีฝีมือ สร้างงาน สร้างระบบ สร้างตลาด สร้างเงิน และสร้างผลกำไรได้สูงเยี่ยมก็จะได้รับการสนับสนุนยิ่งใช้ไปแต่เมื่อใดการทำงานไม่ท้าทายแล้วคนเหล่านนี้ก็ไม่รอที่จะให้ถูกบีบออก เขาก็จะบอกลาเพื่อไปหางานที่ท้าทายต่อไปนั่น คือวิสัยของ คน ที่มีความสามารถ                ในองค์การจึงมีการสร้างคนรุ่นใหม่ตลอดเวลาที่คนรุ่นก่อน ๆ เติบโตไปในสายงานผู้บริหารจึงต้องมองโลกอย่างมีวิสัยทัศน์มองกว้างไกลระดับโลก รู้เห็นการเปลี่ยนแปลงทั้งหลายที่เกิดขึ้น เช่นกรณีต้มยำกุ้งของไทยรู้ก่อนก็เสียหายน้อย เพราะรองรับทันสำหรับเรื่องปัจจุบันก็เช่นปัญหา Sub-Prime และ CDO ซึ่งเกิดขึ้นนานแล้วกระทบมาถึงทุกส่วนในโลกแน่นอนเพราะอเมริกามีระบบเศรษฐกิจขนาดใหญ่ และมีนักลงทุนวิ่งเข้าไปลงทุนในกองทุน และตราสารหนี้ที่ด้อยคุณภาพโดยถ้วนทั่วก็คงเป็นได้ว่า ตลาดหุ้นไทย 13 วัน เปิดทำการดัชนีลดลง 150 จุดแล้ว ถ้ารู้ทันรู้ก่อน ความเสียหายก็บรรเทาลงแน่นอน สภาพแวดล้อมของการทำธุรกิจระบบบริหารจัดการ วัฒนธรรม ก็ เช่นกันจะเป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อองค์การได้สิ่งเหล่านี้ทำให้ผู้บริหารต้องคิดอย่างเป็นระบบ  ปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมรอบข้าง  ทั้งยังต้องฝึกฝนตลอดเวลาเพื่อหาความรู้ใหม่  แนวทางใหม่ในการกำหนดมาตรฐานการทำงานและพฤติกรรมในทุกองค์กรจึงมีการกำหนดวิสัยทัศน์เพื่อให้เห็นทิศทางร่วมกันว่าจะไปจะทำอะไรสร้างกลยุทธ์ในการทำงานโดยหาจุดอ่อนจุดแข็งของตัวเรา  องค์กร  สิ่งแวดล้อมเพื่อจะให้สอดคล้องกับเป้าหมายซึ่งต้องทำเฉพาะธุรกิจที่ชำนาญทำเป็นสิ่งที่ถูกต้อง  คนในองค์กรซึ่งจะเป็นตัวชี้จะและจะมีทีมที่เข้มแข็งทำงานมุ่งผลลัพธ์มีการสื่อสารที่ดีสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ มีคุณภาพมาตรฐานสร้างภาวะผู้นำและความชำนาญเฉพาะเพื่อตอบสนองความต้องการ  ความพึงพอใจของลูกค้า                                การจัดการทุนมนุษย์ในยุคปัจจุบันจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องจัดการ คน ที่ SMART ตอบสนองทั้งส่วนตัว องค์กร และลูกค้า อย่างสมดุล ระบบการศึกษา ระบบกิจกรรมในมหาวิทยาลัย ระบบการอบรม ระบบคิด ตลอดจนการปลูกฝังทัศนคติทางบวก และสร้างพฤติกรรมอันพึงปรารถนา คงเป็นหน้าที่ของสถาบันการศึกษา ซึ่งประเทศไทยก็ต้องบอกว่า ล้มเหลวในระบบการจัดการศึกษายิ่ง เพราะสอนคนให้มีสมองคิดเห็นแก่ตัว เอาแต่ได้ ขอให้ชนะเป็นพอโดยไม่คำนึงถึงคนอื่น องค์การ สังคม จะเป็นอย่างไรก็ช่าง  จากกีฬามหาวิทยาลัยโลก    ที่ทีมฟุตบอลไทยตะลุมบอลกับทีมแมคซิโก กันอย่างนัวเนียไม่พอผู้ช่วยโคชก็โดดลงสนาม ร่วมลงมือด้วย นี่แหละคำยืนยันว่าจัดการศึกษาล้มเหลว  แค่เพียงขอให้ชนะ ชาติ บ้านเมือง สังคมจะเป็นเช่นไรก็ช่าง น่าสงสารประเทศไทยวันนี้ ถึงอย่างไรก็ตามเมื่อ คน จบการศึกษาออกไปก็คงมีหลายส่วนที่เป็นทั้ง คนดี คนเก่ง องค์กรคงต้องทำหน้าที่ในการบริหารจัดการคนเหล่านี้ ให้เหมาะสม เพื่อการพัฒนาส่วนตัว ส่วนองค์กร และชาติบ้านเมืองในท้ายสุดผู้บริหาร HR จึงต้องมีคุณสมบัติดังข้างต้นที่นำเสนอไม่เช่นนั้นคนที่มี TALENT   สูงก็จะหมดคุณค่าไปอย่างแน่นอน     ดังระบบราชการกำลังทำอยู่  ขอบคุณครับ

 

    ทดสอบ

                   การเรียนกับอาจารย์ศิริลักษณ์ เมื่อวันเสาร์ที่11 สค2550 ผมนายสรณิต พุ่มพฤกษ์ขอแลกเปลี่ยนความคิดดังนี้จากการที่อาจารย์บรรยายในวันนี้ทำให้ได้นึกถึงภาพองค์กรชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่า การพัฒนาองค์กรให้ประสบความสำเร็จนั้นต้องเริ่มที่คนและคนเท่านั้นที่สำคัญที่สุด การที่จะพัฒนาคนให้เป็นผู้นำที่มีศักยภาพ เป็นผู้นำที่มีความคิดสร้างสรรค์สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และแก้ไขเหตุการณ์ที่เข้ามากระทบทั้งตนเองและองค์กรเป็นเรื่องที่บุคลต้องผ่านการหล่อหลอมด้วยประสบการณ์บวกทัศนคติในการคิดดี พูดดี ทำดี สอดคล้องกับทฤษฏี ของBAKER ทฤษฎี ABC

  1 attitude  ทัศนคติที่ดี

  2 behavior  พฤติกรรมที่ดี

  3. consequnce  ผลที่ก็ตามมาจะดี

     จะสังเกตุเห็นได้ว่าทัศนคติมาจากสภาพแวดล้อมบวกประสบการณ์บุคคลแม้จะอยูในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันประสบการณ์ที่แตกต่างกันหากมีพืนฐานของการปรับทัศนคติเพื่อให้เกิดความ balance สร้างทัศนคติที่ดีเป็นบ่อเกิดแห่งความสำเร็จ จะเป็นผู้นำที่สามารถและเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ ทักษะและยุทธวิธีนำพาองค์กรสู่ความสำเร็จได้และไม่เพียงผู้นำคนเดียวเท่านั้นที่จะทำให้องค์กรอยู่รอดได้หากแต่ต้องประกอบด้วยแนวคิดที่ว่า ความสำเร็จไม่ใช่เกิดที่จุดเดียวแต่ต้องร่วมกันทำแล้วกระจายความสำเร็จออกไป        

                                  นายสรณิต  พุ่มพฤกษ์

Competency Based Management  คือ หัวข้อที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับอาจารย์ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๐ ซึ่งบรรยากาศในห้องเรียนดีมาก เป็นการสะท้อน action training ที่ช่วยเสริมสร้าง competency ให้กับผู้เรียนและผู้สอนได้อย่างเป็นรูปธรรม            ในเชิงทฤษฎีนั้น อาจารย์ศิริลักษณ์บอกว่า competency หรือ สมรรถนะ หมายถึง ทักษะ ความรู้ ความสามารถ และพฤติกรรม (skill, knowledge, attributes and behavior) ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับแผนกลยุทธ์ และเป้าหมายเชิงธรกิจขององค์อย่างชัดเจน ซึ่งสามารถแบ่งเป็นมุมมองตามลำดับขั้นของ competency ตามที่นิยมกัน ได้แก่-          ระดับองค์กร (Organizational Level) คือความสามารถหลักขององค์กร (Core competency) ซึ่งพนักงานทุกคนต้องมี-          ระดับฟังก์ชั่นงาน (Function Level/ Functional Competency) ได้แก่ การเงิน การตลาด ฝ่ายขาย ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฯลฯ-          ระดับตำแหน่งงาน (Specific Job Level) เช่น นักวิเคราะห์การเงิน สมรรถนะ หรือ competency เป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรต่าง ๆ ต้องมีและต้องสร้างเพราะในภาวะที่มีการแข่งขันที่เข้มข้น เราจะต้องสามารถบุกงานหรือรุกคู่แข่งได้ ไม่ใช่ตั้งรับอย่างเดียว  คนขององค์กรจึงต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถรังสรรค์งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพื่อให้เกิดสัมฤทธิผลในการดำเนินงานในเรื่องดังกล่าว   องค์กรสมัยใหม่จึงต้องการสิ่งต่าง ๆ หลายประการ ประกอบด้วย-          ความรู้ใหม่ ๆ (New knowledge)-          ทักษะและความสามารถที่ใช้งานได้ (Effective skills/competency)-          ทัศนคติที่ดี (Positive attitude)-          การทำงานที่มีระบบที่ดี (Systematic approach)-          ความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness)-          ความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change management)-          ภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership) ผู้บริหารองค์กรยุคใหม่นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำพาองค์กรให้ก้าวหน้าและแข่งขันได้ ดังนั้น อย่างน้อยจะต้องมีคุณลักษณะ ดังนี้-          คิดอย่างมีระบบ (Systematic thinking)-          สามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมอื่นได้ (Intercultural competence)-          ฝึกฝนอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง (Extensive and continuous training)-          มีมาตรฐานและพฤติกรรมที่เหมาะสม (Personal standard and standard of behavior) หลักการข้างต้นได้มีการอภิปรายกันอย่างมากในห้องเรียน โดยยกประสบการณ์ของแต่ละคนและแต่ละหน่วยงานมาแลกเปลี่ยน เฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการพัฒนาคนและการเลื่อนตำแหน่งซึ่งในวัฒนธรรมไทยมักจะสนับสนุนคนที่มีอาวุโสมากกว่าความสามารถ ความจริงอาวุโสไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่ก็ไม่ชาคำตอบของทุกเรื่อง ดังนั้นควรจะต้องมีการผสมผสานกันไป อีกทั้งต้องให้ความสำคัญในเรื่องของการคิดดีหรือการมีทัศนคติที่ดีควบคู่ไปกับความเก่ง ในเรื่องนี้ เพื่อนนักศึกษาคนหนึ่ง (ซาร่าห์) ได้เล่าให้ฟังว่าบริษัทที่เธอทำงานอย่ได้มีการนำเอาทฤษฎี ABC Theory มาใช้ โดย ABC คือ Attitude, Behavior และ Consequence ตามลำดับ โดยทฤษฎีนี้มีความเชื่อว่าจะต้องสร้างทัศนคติ (Attitude) ที่ดีก่อน เมื่อมีทัศนคติที่ดีก็จะก่อให้เกิดพฤติกรรม (Behavior) ที่ดี และเมื่อทั้งทัศนคติรวมทั้งพฤติกรรมดี ก็ย่อมจะก่อให้เกิดผลตามมา (Consequence) ที่ดี ซึ่งทฤษฎีนี้ทกคนค่อนข้างจะเห็นด้วย

อย่างไรก็ตาม ก่อนการดำเนินการในเรื่องใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อองค์กร ก็จะต้องไม่ลืมที่จะต้องทำ SWOT ด้วย ซึ่งการบริหารสมัยใหม่เรียก SWOT ว่า Organizational Health Check โดยการดูที่ Strategy, Structure, System และ Process/Practices ว่าเป็นอย่างไร โดยพิจารณาเรื่อง Communication และ Leadership ประกอบด้วย

   

                          รักษ์เกชา แฉ่ฉาย

 
นายปลื้มใจ สินอากร
วันที่  11  สิงหาคม  2550            การจัดการทุนมนุษย์ Human Capital Management บรรยายโดย อ.  ศิริลักษณ์  เมฆสังข์  ให้หัวข้อเรื่อง  Competency – Base Management            -  Overview            -  Competency คืออะไร            -  ความสำคัญและประโยชน์ของ Competency ต่อการบริหาร            -  ความสามารถหลักที่จำเป็นต่อการบรรลุเป้าหมายและกลยุทธ์ธุรกิจ            -  ขั้นตอนและกระบวนการจัดทำ  Competency            -  องค์ประกอบสำคัญของการเขียน Competency สิ่งที่องค์กรสมัยใหม่ต้องการ            -  ความรู้ใหม่ๆ (New Knowledge)            -  ทักษะและความสามารถที่ใช้งานได้ (Effective Skills/Competency)            -  ทัศนคติที่ดี (Positive Altitude)            -  การทำงานที่มีระบบที่ดี (Systematic Approach)            -  ความสามารถในการแข่งขัน  (Competitiveness)            -  ความสามารถในการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management)            -  ภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership) คุณลักษณะของผู้บริหารยุคใหม่1.      คิดอย่างมีระบบ  (Systematic Thinking)มีความเข้าใจและสังเคราะห์เรื่องต่างๆ ได้ สามารถเชื่อมโยงแนวความคิด/กิจกรรมต่างๆ เข้าด้วยกัน และมองไปในอนาคตได้2.      สามารถปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมอื่นได้ (Intercultural Competence)ความสามารถด้านภาษา ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในประวัติศาสตร์  ศาสนา  และศิลปกรรม จะช่วยให้การปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมอื่นได้ดี3.      ฝึกฝนอย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง (Extensive and continuous Training)ต้องเปิดใจกว้างรับความคิดใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่ๆ รวมถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจ          4.  มีมาตรฐาน และพฤติกรรมที่เหมาะสม (Personal Standard and standard of Behavior)
                 ผู้บริหารต้องมีความรู้ความสามารถสูง มีความรับผิดชอบและมุ่งที่ทำให้เกิดผลสำเร็จของงานที่รับผิดชอบ (
Standard of Excellence)ตัวชี้วัดที่ไม่ใช่ด้านการเงินที่นักลงทุน/นักวิเคราะห์ทางด้านการเงินให้ความสำคัญ1.      การปฏิบัติตามกลยุทธ์ขององค์กร (Execution of corporate strategies)2.      ความน่าเชื่อถือของฝ่ายบริหาร (Management Credibility)3.      คุณภาพของกลยุทธ์ (Quality of Strategy)4.      ความสามารถในด้านนวัตกรรม (Ability to Innovate)5.      ความสามารถในการดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถ (Alsility to Attract Talented people)6.      ส่วนแบ่งการตลาด (Market share)7.      การดำเนินงานในกระบวนการที่สำคัญ (Quality of Management Business Processes)8.      การเป็นผู้นำด้านการค้นคว้าและด้านการพัฒนาความรู้ใหม่ๆ (Research Leadership) ปัจจัยหลักของการแข่งขัน            ความสำเร็จของกระบวนการปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานการการดำเนินธุรกิจเพื่อเพิ่มผลผลิตและคุณภาพ สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า ลดค่าใช้จ่ายเพื่อสร้างความเป็นต่อในการแข่งขันขึ้นอยู่กับ            1.  การพัฒนาผู้นำในองค์กรให้สามารถจัดการกับเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรุนแรง ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อหน่วยงานของคนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่บางคนต้องดำเนินงานที่รับผิดชอบต่อไปตามปกติ            2.  การพัฒนาในองค์กรให้สามารถคิดและปฏิบัติโดยมองผลกระทบที่มีต่อองค์กรในภาพรวมมากกว่าการมองเฉพาะในหน่วยงานของตนเอง            3.  ความสามารถในการสร้างความเข้าใจลดความกลัว ลดการต่อต้านในระหว่างที่องค์กรมีการเปลี่ยนแปลง            4.  การพัฒนาระบบการพัฒนาบุคลากรให้เกิดการเรียนรู้และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างจริงจัง อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล            5.  การพัฒนาระบบการทดสอบ การพิจารณาผลงาน รวมถึงการให้รางวัลผลงานที่สามารถกระตุ้นให้เกิดความสำเร็จตามเป้าหมายทางธุรกิจที่องค์กรกำหนดไว้   Competency คืออะไร            Competency หมายถึง ทักษะ ความรู้ ความสามารถและพฤติกรรม (Skill Knowledge and attributes/behavior) ของบุคลากรที่จำเป็นในการปฏิบัติงานใดงานหนึ่ง นั่นคือ ในการทำงานอย่างหนึ่งๆ เราต้องรู้อะไร เมื่อมีความรู้หรือข้อมูลแล้ว เราต้องรู้ว่าจะทำงานนั้นๆ อย่างไร  และ เราควรมีพฤติกรรมหรือคุณลักษณะเฉพาะอย่างไร ซึ่งสามารถกำกับดูแลได้ สังเกตได้และวัดได้            ทักษะ ความรู้และความสามารถที่ดี จะต้องเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับแผนกลยุทธ์และเป้าหมาย เชิงธุรกิจขององค์กรอย่างชัดเจน ซึ่งสามารถแบ่งเป็นมุมมองตาม ลำดับขั้นของ Competency            ตามที่นิยมใช้กัน-  ระดับองค์กร (Organization Level) คือความสามารถหลักขององค์กร (Core Competency) ซึ่งพนักงานทุกคนต้องมี-  ระดับฟังก์ชั่นงาน (Function level/ Function competency) ได้แก่ การเงิน, การตลาด, ฝ่ายขาย, ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฯลฯ-  ระดับตำแหน่งงาน  (Specific Job level) เช่น นักวิเคราะห์การเงินทำไมต้องมี  Competency-  ภาวะการแข่งขันที่เข้มข้น (ต้องสามารถบุกมากกว่าตั้งรับ)-  ต้องการบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถที่จะนำไปใช้ได้จริง เกิดผลสำเร็จ-  ต้องการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ความสำคัญของ Competency ต่อองค์กร            วัตถุประสงค์ที่สำคัญของการวิเคราะห์  ทักษะ  ความรู้ความสามารถของบุคคลากร-  ใช้เป็นมาตรฐานในการประเมินศักยภาพของการปฏิบัติงาน-  เพื่อการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ขององค์กร-  วิสัยทัศน์  หมายถึง การมองไปข้างหน้าของผู้บริหารว่าต้องการเห็นองค์กรเป็นอย่างไรในอนาคต-  ผู้บริหารควรพิจารณาว่าความสามารถหลักขององค์กร ทักษะ  ความรู้ความสามารถขององค์กร อะไรบ้างที่จำเป็นต่อความสำเร็จขององค์กรในอนาคต-  ดำเนินการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและประยุกต์สิ่งเหล่านั้นในการบริหารงานทรัพยากรบุคคล เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้  การวิเคราะห์และจัดทำ Competency สำหรับองค์กร            เริ่มต้นจากการศึกษาแผนกลยุทธ์ (Strategic Intents) วิสัยทัศน์ (Vision) ความสามารถหลักขององค์กร (Organization Core Capabilities)            วัตถุประสงค์ เพื่อทราบทิศทางการดำเนินธุรกิจและจุดเด่นขององค์กรผู้บริหารควรวิเคราะห์ในเรื่องต่างๆ ดังนี้-  องค์กรแผนกลยุทธ์และแผนงานที่สำคัญอะไรบ้าง (Corporate Strategy & Master Plan)-  วัฒนธรรมขององค์กรหรือค่านิยมที่บุคคลากรในองค์กรมีร่วมกัน มีอะไรบ้าง (Corporate Culture/Core Value) ซึ่งสามารถพิจารณาถึงปรัชญาในการบริหารองค์กรและภาพลักษณ์ขององค์กร-  ความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงขององค์กร ในเรื่องความสามารถหลักขององค์กร (Core Competencies) รวมถึง ทักษะ ความรู้ ความสามารถคุณสมบัติและพฤติกรรมที่ดีของบุคคลากรในองค์กร-  ศึกษาคุณสมบัติและพฤติกรรมการทำงานของบุคคลากรที่มีศักยภาพสูงหรือที่มีผลการปฏิบัติงานดีกว่า บุคคลากรเหล่านี้มีคุณสมบัติและพฤติกรรมที่เด่น ที่สำคัญอะไรบ้าง-  ศึกษาวิเคราะห์ลักษณะความรับผิดชอบที่สำคัญๆ ของงานแต่ละขั้น (Job Content Analysis) แนวทางการจัดทำ Competency            -  กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) ภารกิจ (Mission)            -  กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ (Business Strategy & Process)            -  วิเคราะห์และประเมินจุดเด่น จุดด้อย โอกาสและอุปสรรคขององค์กร (SWOT Analysis)            -  วิเคราะห์และประเมินจุดเด่น จุดด้อยของพนักงานในองค์กรแต่ละระดับตามทิศทาง
กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของบริษัท
            -  วิเคราะห์และจัดทำความสามารถหลักของบริษัท (Core Competencies) และทักษะความสามารถที่จำเป็นต้องมีในการปฏิบัติงาน (Professional or Technical Competencies)            -  กำหนดแนวทางการประเมินทักษะความรู้และความสามารถหลัก            -  นำผลการประเมินไปเชื่อมโยงกับการพัฒนาบุคคลากร การสรรหาจ้างงาน
การประเมินผลงาน ตลอดจนการบริการค่าตอบแทน
   ลักษณะของ Competencies ที่ดี            -  พฤติกรรมที่แสดงออกให้เห็นว่า รู้อะไรบ้าง ทำอะไรได้บ้าง และเป็นคนอย่างไร            -  จำเป็นต่อการปฏิบัติงานซึ่งได้ผลกว่ามาตรฐานทั่วไป            -  วัด และประเมินได้            -  พัฒนาได้            -  สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ขององค์กร    
การเรียนในวันที่  11  สิงหาคม  2550                เรื่อง  competency-based Management  โดยอาจารย์ศิริลักษณ์ Competency  หมายถึง  ทักษะความรู้ความสามารถและพฤติกรรมของบุคคลที่จำเป็นในการปฏิบัติงานใดงานหนึ่ง  ซึ่งมีความจำเป็นมากที่จะต้องนำมาสร้างเป็นตัวชีวัดในการปฏิบัติงานของคนในองค์กรในองค์กรหนึ่งองค์กรใดคนเป็นทรัพยากรที่สำคัญ  แต่ละคนมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันแต่พฤติกรรมของคนนั้นเปลี่ยนแปลงได้เพื่อได้มีการพัฒนาและพฤติกรรมของคนจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ  ที่พฤติกกรมของคนในองค์กรนั้นต้องแสดงออกให้เห็นว่าพร้อมที่จะเป็นผู้มีทักษะ  มีความรู้  มีความสามารถในบทบาทหน้าที่  นั่นคือต้องเป็นคนที่มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน  EQ และ IQ  คือคนฉลาดทำงานร่วมกับคนในองค์กรได้อย่างมีความสุขมีความเป็นทีม  มีคุณภาพจริยธรรมในการอยู่ร่วมในสังคมด้วยเพื่อให้องค์กรบุกไปข้างหน้ามากกว่าตั้งรับได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรขององค์กรผู้นำองค์กรต้องให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ กับการพัฒนาคนในองค์กรต้องมีการวิเคราะห์ทักษะความรู้ความสามารถของบุคลากรโดยมีมาตรฐานในการประเมินศักยภาพของการปฏิบัติงาน  มีแผนในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ขององค์กรนั่นคือองค์กรมีวิสัยทัศน์เป็นเป้าหมายให้คนในองค์กรเดินไปร่วมกัน  วิสัยทัศน์ที่มีพลังต้องมาจากการมีส่วนร่วมคิดของบุคคลในองค์กรเพื่อให้เกิดค่านิยมในองค์กรร่วมกัน  เพื่อการพัฒนาจัดการบุคคลกรจะไม่เกิดปัญหาความขัดแย้งเพราะได้มีการวิเคราะห์ร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ที่จะไปสู่เป้าหมายร่วมกันได้การเรียนรู้มรวันที่ข้าพเจ้าศึกษาองค์กรของชุมชนที่ยังไม่ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาเรื่อง  competency  กลุ่มองค์กรจึงยังไม่เข้มแข็งยังมีจุดอ่อนในเรื่องการสื่อสาร การทำงานเป็นทีม  การมีผู้นำที่มีภาวะความเป็นผู้นำสูง  ยังคิดเรื่องที่เป็นกิจกรรมใหม่ๆ ไม่ค่อยได้  ข้าพเจ้าจะนำหลักการจัดทำ    competency  ไปเสริมในกระบวนการ พัฒนาองค์กรที่ข้าพเจ้าเป็นที่ปรึกษาและดูแลอยู่  โดยการจะเริ่มต้นจากการนำกลุ่มให้มาจัดเวทีเรียนรู้ให้กำหนดวิสัยทัศน์ร่วมกัน  ให้เป็นวิสัยทัศน์ที่มาจากการคิดร่วมกัน  การมีข้อมูลของตนเองทำมุมของโลกยุคโลกาภิวัตน์มาวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อฝึกการคิดเป็นระบบให้คนในชุมชนด้วย  เมื่อได้วิสัยทัศน์แล้วจะให้วิเคราะห์สถานภาพปัจจุบันในองค์กรเป็นอย่างไรต้องมีภารกิจอะไรจึงจะทำให้องค์กรของเราสำเร็จดังเป็นในวิสัยทัศน์ได้  ก็แล้วร่วมกันกำหนดภารกิจ  กำหนดแนวทางการดำเนินงานร่วมกัน  ร่วมกันวิเคราะห์ศักยภาพ ความถนัด ความสามารถของคนในกลุ่มองค์กรจัดการคนให้เหมาะสมกับงาน  และมีแผนการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้เพิ่มศักยภาพให้มากขึ้น  โดยคำนึงถึงเรื่องบุคลากรต้องรู้อะไรต้องมีค่านิยมต่อองค์กรอย่างไรต้องมีทักษะในเรื่องอะไรซึ่งการดำเนินการเรียนรู้ข้าพเจ้าคิดว่าท่าจะทำให้องค์กรของชุมชนที่เกิดขึ้นในระดับท้องถิ่นแข็งแกร่งขึ้นแต่จะเป็นการค่อยๆ  ทำเพราะปัญหาคือคนในชุมชนไม่ได้ผ่านการเรียนรู้ที่เป็นการคิดวิเคราะห์มาจากในการเรียนเพราะบุคคลเหล่านั้นส่วนมากจะเรียนจบระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากการศึกษานอกโรงเรียน  ส่วนคนที่จบการศึกษาสูงๆ  มักจะไม่ค่อยกลับมาทำงานในท้องถิ่น  การพัฒนาคนในระดับนี้จึงสำคัญมากเพราะเป็นฐานล่างของประเทศที่มีอยู่จำนวนมาก  และข้าพเจ้ามีบทบาทในการสร้างการเรียนรู้ให้แก่กลุ่มองค์กรเหล่านี้อยู่แล้ว คิดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศอย่างมากต่อไป                                                                                 อุษา    เทียนทอง                                                                                 
ญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา
การบ้านครั้งที่ 7  :  วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม 2550 ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ : เลขาธิการมูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ เรื่อง : เรื่องทรัพยากรมนุษย์ต้องมองจากภาพใหญ่ (Macro) ไปสู่ภาพเล็ก (Micro) นักศึกษา : นางสาวญาณัญฎา ศิรภัทร์ธาดา วันนี้ท่านอาจารย์เน้นแนวคิดของ Peter Senge เรื่อง The Fifth Disciplineว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก   ทุนคืออะไรและมีที่มาอย่างไรทุนเกิดจากการบริโภค (Consumption) และการลงทุน (Investment) เพื่อนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มต่อไป การมอง Human Capital ต้องมองภาค Hr Political Economic Sociology ต้องใฝ่รู้ ข้ามศาสตร์  และการมองทุนมนุษย์ให้เป็น Global Citizen ซึ่งจะเป็นอย่างนั้นได้ต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาให้มาก เพราะเป็นเรื่องที่สำคัญ  คุณภาพการศึกษาไทย เพื่อนำคนไปสู่การเป็นประชาชนที่ดี (Good Citizen)  และเป็น Global Citizen ในสังคมที่ยั่งยืนและการเรียนรู้ในที่สุด  ทฤษฎีทุน 8 ประการที่เป็นพื้นฐานของ ทรัพยากรมนุษย์ Human Capital     ทุนมนุษย์Intellectual Capital       ทุนทางปัญญาEthical Capital     ทุนทางจริยธรรมHappiness Capital         ทุนแห่งความสุขSocial Capital                 ทุนทางสังคมSustainability Capital    ทุนแห่งความยั่งยืนDigital Capital               ทุนทาง IT         Talented Capital  ทุนทาง Knowledge, Skill และ Mindset(ท่านอาจารย์บอกว่า ทุนทั้งหมดเป็น Sub Set ของ  Human Capital ทุนมนุษย์ )เน้นที่การสะสมทุนทางปัญญาต้อง  ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง   ในยุค 21st Century อาวุธที่สู้กันมากที่สุดคือปัญญา การมีปัญญาอย่างเดียวก็คงไม่พอ ก็มีอะไรอีกหลาย ๆ อย่าง เช่น คนมีความสุข มีความพอใจในการทำงาน ซึ่งต้องคำนึงถึงลูกค้าได้ประโยชน์ และสังคมได้ประโยชน์อะไรบ้าง ทุกอย่างต้องมีความสมดุล เพื่อให้มีความสุข มีความยั่งยืน  ทฤษฎี 5 K’s ใหม่เพื่อการพัฒนามนุษย์ยุคโลกาภิวัตน์ Creativity Capital                   ทุนแห่งการสร้างสรรค์Knowledge Capital        ทุนทางความรู้Innovation Capital        ทุนทางนวัตกรรมCultural  Capital            ทุนทางวัฒนธรรมEmotional Capital                   ทุนทางอารมณ์ (เรื่อง Intellectual Capital (IC) ก็เป็นที่มาของ 8K’s และ 5K’s เรียกทฤษฎี IC ได้อีกอย่างหนึ่งว่า The Theory of Intangible. IC ให้ได้ผล ยังต้องไปเชื่อมกับ Social Capital  คือบูรณาการเชื่อมโยงเข้าหากลุ่มอื่น ๆ) วิธีคิด 4 แนวของพระเจ้าอยู่หัวฯก่อนที่จะเริ่มทำงานใดๆ ให้คิดถึงสิ่งต่อไปนี้
 1) ทำอะไร
 2) ทำอย่างไร

 3) ทำเพื่อใคร
 4) ทำแล้วได้อะไร
 ทุนทางความสุข  (Happiness Capital) เป็นทุนที่สำคัญมากในการทำงานสำหรับยุคแห่งการแข่งขันนี้ ซึ่งการทำงานให้มีความสุขได้จะต้อง           รู้จุดมุ่งหมายของงาน และรู้ว่าผู้รับบริการต้องการอะไร          รู้ว่าเรามีความสามารถในการนำเสนอ พอเพียงหรือไม่          ต้องเตรียมตัวดี มีเวลาเพียงพอ           พักผ่อนเพียงพอ          มีทีมที่ดี การปฏิรูปการศึกษาในประเทศไทยยังล้าหลัง ในหลายเรื่องที่ต้องทำคือ การปรับ mindset ทัศนคติของผู้บริหารให้มองการศึกษาเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืน และอยู่ในโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างเร็วได้ คือ เน้น ทุนทางปัญญา ทุนทางสังคม ( Networking ) และเน้นทุนแห่งความยั่งยืน   สังคมการเรียนรู้ ใฝ่รู้ตลอดเวลา นอกจากมีคุณธรรมแล้ว ยังต้องคิดเป็น ทำเป็น มี Head Heart และ Hand อย่างที่คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์แนะนำไว้ สำคัญที่สุดและยังจำเป็นที่จะต้องมีความคิดที่นอกกรอบ เช่น Creativity ความคิดสร้างสรรค์ และนำ Creativity ไปสู่ Innovation นวัตกรรม แต่ต้องมีคุณธรรมและมีความรู้ที่แน่น ไม่ใช่พอเพียงแค่อยู่รอด หากรอดแล้ว ต้องไม่ประมาท หาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา การขยายตัวอย่างมั่นคงจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะมนุษย์ต้องการความก้าวหน้า ( Progress ) ที่ยั่งยืน
       การที่จะเปลี่ยน mindset ได้ จะต้องหาความรู้ให้ทันโลกและสดใหม่อยู่เสมอ ข้ามศาสตร์ และวิเคราะห์แบบโป๊ะเชะ วิธีการหาความรู้ต้องเป็นวิธีที่ตัวเรามีส่วนร่วม ความรู้เกิดขึ้นได้ทุกที่ (Anywhere Learning / Study Tour / Tea Time .etc..) ไม่ใช่ฟังข้างเดียว ท่านอาจารย์บอกว่านักศึกษาต้องวิเคราะห์ให้เป็น และวิเคราะห์แบบทฤษฎี 2 R's คือ
      - Reality มองความจริง
      - และ Relevance ตรงประเด็น

ท่านอาจารย์มอบหมายให้นักศึกษาอ่านหนังสือที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งเรื่อง  Leveraging The New Human Capital1People, The Engine of Success  ได้ความรู้พอสังเขปดังนี้ หากองค์กรมองกำไรเป็นเป้าหมายที่มีความสำคัญมาในอันดับแรแล้วให้ความสำคัญกับ คน เป็นอันดับรองแล้ว นั่นคือสัญญาณอันตราย เพราะองค์กรนั้นกำลังมองความความสำคัญของทุนมนุษย์ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงสุดขององค์กรเสียแล้วเรื่องความสำคัญของคนกลายมาเป็นประเด็นที่องค์กรต่างๆนำมากล่าวถึง ความสามารถของคนที่จะนำพาองค์กรให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร และแน่นอน ทุนมนุษย์เป็นความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืน ทุนมนุษย์ ทรัพย์สินทางปัญญา ความรู้ ความสามารถ ทักษะ ความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม เป็นตัวผลักดันให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน และการเพิ่มขึ้นของผลิตภาพ ก็คือความสามารถในการผลิตสินค้าหรือบริการนั่นเอง สิ่งที่สำคัญ....เมื่อทุนมนุษย์มีการเปลี่ยนแปลง1.     เกิดผลกระทบในทางบวกสนับสนุนซึ่งกันและกัน2.     เห็นคุณค่าและใส่ใจพนักงานมากขึ้น3.     มีความเชื่อว่าองค์การแบ่งปันคุณค่าให้มากขึ้นผลกระทบในทางบวกสนับสนุนซึ่งกันและกันนี้ เกิดขึ้นระหว่างพนักงานกับลูกค้าหรือองค์กร ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของความสำเร็จ กลายมาเป็น คุณค่า ทักษะทางเทคนิค และความรู้ ทักษะในการสื่อสาร : ประสิทธิภาพของการสื่อสารที่ดีคือการได้สื่อสารโต้ตอบกัน การฟัง การสื่อสารหลายรูปแบบ อาทิ วัจนภาษา อวัจนภาษา สื่ออิเล็กทรอนิคส์  เพศ  อายุ วัฒนธรรม ทำให้เรามองเห็นคุณค่า ความจำเป็นที่จะสามารถจัดการกับสถานการณ์ของสิ่งแวดล้อมที่ต่างกันได้   ทักษะการติดต่อ : ต้องมีความเข้าใจที่จะเรียนรู้จากผู้คนในวงกว้างเพื่อสร้างมิตรภาพ ความสัมพันธ์ ให้เกิดความไว้วางใจ  ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ มีความจำเป็นต่อการทำงานให้ประสบความสำเร็จและความร่วมมือที่ดีต่อกัน คนชอบที่จะร่วมมือทำงานกันเพื่อผลงานที่ดี ผู้นำจึงต้องเป็นผู้ปฏิบัติให้เป็นแบบอย่างที่ดีมากกว่าการสั่งการ ตลอดจนการประเมินผลที่ถูกต้อง    ในขณะที่พนักงานเองก็ต้องทำงานภายใต้กระแสความเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอน ความซับซ้อน ทำงานด้วยความรับผิดชอบและมีคุณธรรม เรียนรู้ที่จะให้และรับความไว้วางใจ  สร้างแรงจูงใจ    การตัดสินใจ   เป็นผู้ที่รับความเสี่ยงอย่างชาญฉลาด สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้พนักงานก็ต้องมีความเข้าใจ ความผูกพันในองค์กร พนักงานเห็นคุณค่าขององค์กร องค์กรก็เห็นคุณค่าของพนักงาน  หากพนักงานไม่มีความเบื่อหน่าย  กระตือรือร้น ไม่ขาดศีลธรรม มีความฉลาดทางอารมณ์  ก็จะนำไปสู่บรรยากาศการกระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ แรงจูงใจ ความผูกพัน และสร้างสรรค์นวัตกรรมคือทุนมนุษย์ในที่สุด สรุป : องค์กรต้องนำเอาศักยภาพทางแนวคิดของพนักงานนั่นคือทุนมนุษย์ออกมา ด้วยการสร้างสัมพันธภาพและความผูกพันที่ดี  การสนับสนุน  การเชื่อในคุณค่าขององค์กรซึ่งต่างจากการจัดการทุนทางกายภาพ ทุนทางการเงินเพราะมนุษย์มีความสลับซับซ้อน แต่มนุษย์ก็คือมนุษย์ที่มีชีวิตจิตใจไม่ใช่เครื่องจักร Leveraging The New Human Capital ให้แนวคิดที่ไม่ได้แตกต่างจากท่านอาจารย์จีระ  เพราะให้ความสำคัญของทุนมนุษย์ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าสูงสุดขององค์กร แต่หนังสือเล่มนี้เน้นในเรื่องของ Engagement / Creativity / Interpersonal Skill / Relationship เน้นความเป็นผู้นำ จากการวิเคราะห์ความหมายของภาวะผู้นำข้างต้น จะเห็นได้ว่า แนวคิดส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับกลุ่มคน และสมาชิกของกลุ่มมีความสัมพันธ์ภายในต่อกันอย่างสม่ำเสมอ ในการนี้จะมีสมาชิกคนใดคนหนึ่งหรือมากกว่าถูกกำหนดหรือยอมรับให้เป็นผู้นำ (Leader) เนื่องจากมีความแตกต่างในด้านต่าง ๆ จากบุคคลอื่น ๆ ของกลุ่ม ซึ่งถือว่าเป็นผู้ตาม (Followers) หรือผู้ใต้บังคับบัญชา หรือลูกน้อง(Subordinates) หรือผู้ปฏิบัติส่วนท่านอาจารย์จีระนั้น มองทุนมนุษย์อย่าง Macro มีการบูรณาการ เชื่อมโยง Brain Lingkage ข้ามศาสตร์ ทำให้เห็นภาพ Big Picture  นำไปสู่Creativity ความคิดสร้างสรรค์ และนำ Creativity ไปสู่ Innovation นวัตกรรม  ภาวะผู้นำ (Leadership) หรือความเป็นผู้นำ คำนิยามของคำว่า ผู้นำตามพจนานุกรมฉบับเฉลิมพระเกียรติ พ.ศ. 2530 ให้ความหมายของผู้นำว่า เป็นนามหมายถึง หัวหน้า แต่ความหมายของคำว่า ความสามารถในการนำ (The American Heritage Dictionary, 1985 : 719) จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งสำหรับความสำเร็จของผู้นำ ภาวะผู้นำได้รับความสนใจ และมีการศึกษามาเป็นเวลานานแล้ว เพื่อให้รู้ว่าอะไรเป็นองค์ประกอบที่ จะช่วยให้ผู้นำมีความสามารถในการนำ หรือมีภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ
           การศึกษานั้นได้ศึกษาตั้ง แต่คุณลักษณะ (Traits) ของผู้นำ อำนาจ (Power) ของผู้นำ พฤติกรรม (Behavior) ของผู้นำแบบต่าง ๆ และอื่น ๆ ในปัจจุบันนี้ ก็ยังมีการศึกษาภาวะผู้นำอยู่ตลอดเวลา และพยายามจะหาภาวะผู้นำที่มี ประสิทธิภาพในแต่ละองค์การและในสถานการณ์ต่าง ๆ กัน
ภาวะผู้นำเป็นกระบวนการที่บุคคลหนึ่ง(ผู้นำ)ใช้อิทธิพลและอำนาจของตนกระตุ้นชี้นำให้บุคคลอื่น(ผู้ตาม) มีความกระตือรือร้น เต็มใจทำในสิ่งที่เขาต้องการ โดยมีเป้าหมายขององค์การเป็นจุดหมายปลายทาง  (พยอม วงศ์สารศรี, 2534:196) ความท้าทายของผู้นำในวันนี้·        ลักษณะงานเปลี่ยนไปหลาย ๆ คนขาดทักษะและความรู้ในการทำงานแบบใหม่·         การต่อต้านจากวัฒนธรรม วิธีปฏิบัติ แนวคิด แบบเดิม·         ความเครียดของลูกน้อง ที่เกรงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง·         ลูกน้องที่รับเข้ามาใหม่ ๆ มีการศึกษาสูงขึ้น มีความมั่นใจในตัวเองสูง·         ลูกน้องต้องการทำงานที่มีความท้าทายมากขึ้น·         ลูกน้องต้องการมีส่วนร่วมในการทำงานมากขึ้น นางสาวญาณัญฎา  ศิรภัทร์ธาดา : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คณะวิทยาการจัดการ “ A Leading University Quality for All ”   

ถึงลูกศิษย์ที่รักทุกท่าน

เนื่องจากเกิดความขัดข้องบางประการใน Blog นี้ อาจเพราะข้อมูลเริ่มมากเกินไปดังนั้น ผมได้เปิด Blog ปริญญาเอก ม.ราชภัฏสวนสุนันทา (2) สำหรับทุกท่านครับ www.gotoknow.org/blog/chiraacademy

                            

มนุษย์กับการสร้างนวัตกรรม                 โลกใบนี้ มีประเทศที่ร่ำรวยทรัพยากรธรรมชาติเช่นในจีเรียมีน้ำมัน  อินโดนิเซียมีป่าไม้แอฟริกาใต้ มีเพชรและทองคำ  บราซิลมีป่าไม้และแร่ธาตุ  เม็กซิโกมีเงินและน้ามัน  แต่ประเทศเหล่านี้กลับมีรายได้  เฉลี่ยมวลรวม  น้อยกว่าประเทศที่มีขนาดเล็กและไม่มีทรัพยากรธรรมชาติ  เช่นประเทศสิงคโปร์  ฮ่องกง  อิสราเอล  เพราะอะไรจึงเป็นเช่นนั้น  ถ้าไม่ใช่มาจากการที่ประเทศที่มีทรัพยากรสมบูรณ์ที่มีปัญญาในการคิดสร้างสรรค์  สิ่งนี้เป็นการเพิ่มมูลค่า  ให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ นั่นคือการเป็นนักคิดนวัตกรรม  ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ  ให้เป็นประเทศที่เรียกว่าประเทศพัฒนา                 ถ้าพิจารณาถึงคุณลักษณะของคนในประเทศพัฒนาแล้ว  ส่วนมากคนในประเทศเหล่านั้นจะมีจริยธรรม  มีความซื่อสัตย์  (คือมีข่าวเรื่องคอรัปชั่นน้อยมากถึงไม่มีเลย)  มีความรับผิดชอบเคารพกฎหมาย  เคารพสิทธิของผู้อื่น  รักการทำงาน  รักการเรียนรู้  ใฝ่รู้  (ชอบอ่าน)  รู้จักการออมและลงทุนตั้งใจทำสิ่งที่ใหญ่มีความแม่นยำและตรงต่อเวลา  แปลกหรือไม่ว่าประเทศที่ยังไม่พัฒนากลับพบว่าคนในประเทศจะมีปัญหาในเรื่องที่ตรงข้ามกับคุณลักษณะเช่นนี้  หรืออาจจะเป็นเพราะว่าคนที่ได้รับการพัฒนาให้ความรู้  มีความคิดสร้างสรรค์ให้มีปัญญานั้นจะได้รับการพัฒนาในเรื่องเหล่านี้ควบคู่กันไปด้วย  คนที่มีความรู้มีปัญญาจึงเป็นนักคิดสร้างสรรค์  สร้างนวัตกรรมได้มาก  ประเทศที่มีผลผลิต  ผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมได้มากเพราะเกี่ยวกับคุณลักษณะของคนในชาติเป็นปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจของสังคม  ของประเทศและของโลกด้วย                วันนี้โลกเข้าสู่ยุคของความรู้  ข้ามพ้นยุคอุตสาหกรรมมาแล้วแต่คนในประเทศไทยยังมีความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ในระดับแค่รับจ้างผลิตในกับผู้ว่าจ้างที่มียี่ห้อมาให้อยู่เป็นส่วนมา  เพราะการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของไทยขาดการกำหนดเป้าหมายประเทศในอนาคตว่าจะเป็นเช่นไร  เราจะยังขาดคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ในเรื่องการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้เองหรือกำหนดตลาดได้เองอยู่น้อยมาก  ประเทศไทยยังขาดเรื่องของการทดลอง  วิจัย  การคิดประดิษฐ์สิ่งใหม่ ๆ ขึ้นมาที่ทำให้เกิดเป็นนวัตกรรม  นวัตกรรมคือสิ่งใหม่ที่เกิดจากการใช้ความรู้และความคิดสร้างสรรค์ที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจต่อสังคม  คือ  สิ่งใหม่เพื่อการใช้ไม่ใช่เพียงแค่การสร้างอะไรขึ้นมาแต่ไม่ถูกนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์   ทั้งการสร้างนวัตกรรมแน่จะเกี่ยวกับการวิจัยแต่ไม่ใช่เรื่องการวิจัยที่รู้ผลการวิจัยแล้วจบแต่ต้องนำผลวิจัยให้เกิดประโยชน์      

การวิจัยใช่เงิน

    

สร้างความรู้

นำไปใช้เปลี่ยนความรู้เป็นเงิน
    

นวัตกรรม

    
และถ้าจะสร้างนวัตกรรมในผลผลิตที่ต่อยอดไปเรื่อย ๆ ก็จะเกิดวงจรนี้ต่อ ๆ ไป                 การสร้างนวัตกรรมทำได้ในทุกระดับโดยมีเป้าหมายเพื่อการเพิ่มมูลค่าและสร้างคุณค่า  ทางด้านเศรษฐกิจสังคมการคิดนวัตกรรมจะมีความสัมพันธ์กันตั้งแต่เรื่องของ Paradigm  การคิดนอกกรอบเรื่องการใช้สมองของมนุษย์การรู้จักบริบทของตนเอง  บริบทของโลกจะต้องเป็นคนมีความรู้  มีการเรียนรู้  การคิดนวัตกรรมปัจจุบันมักจะเป็นนวัตกรรมแบบผสมผสานแนวคิดที่แตกต่างกัน  ผลิตภัณฑ์แตกต่างกันแต่นำมาผสมผสานกันได้ไม่จำเป็นต้องใช่ความเชี่ยวชาญเท่านวัตกรรมเฉพาะทาง  แต่อาศัยความสามารถในการเชื่อมโยงความคิดต่าง ๆ เข้าด้วยกันในทางที่ไม่ธรรมดา  คนที่เป็นนักคิดสร้างนวัตกรรมจะต้องได้รับการพัฒนาให้ความรู้ข้ามสาขากันได้วันนี้การเรียนจะต้องเป็นการเรียนทับศาสตร์ ทับสาขาเป็นการเรียนที่มีการทดลอง  วิจัย  ปฏิบัติการ  ประมวลผลความรู้ใหม่ ๆ  นั้นคือการจัดการความรู้ที่กำลังเป็นเรื่องฮิตขององค์กรต่าง ๆ ในวันนี้ที่พูดกันมาเรื่อง  K.M.  ความสำเร็จของ  K.M.  ในองค์กรก็น่าจะวัดกันว่า  เกิดนวัตกรรมอะไรทำให้องศ์กร เช่น  รายการทำงาน  ระบบฐานข้อมูล  ระบบการฝึกงานในองศ์กร  มีรูปแบบวิธีการ  เทคนิค อุปกรณ์ ใหม่ ๆ เกิดขึ้น  ดังนั้นนวัตกรรม ทุกคนสร้างได้เริ่มตั้งแต่ในเรื่องที่ใกล้ตัวก่อน  แต่การสร้างนวัตกรรมจะต่อยอด  จะพัฒนาจากสิ่งเล็ก ๆ ไปเรื่องใหญ่ๆ ได้  ต้องมีเรื่องของการสร้างแรงบันดาลใจ  การเสริมแรง  ให้กับคนในองค์กรด้วย  มีการยกย่องชมเชย  ประชาสัมพันธ์ผลงานมีการพัฒนาฝึกอบรมในเรื่องระบบการคิดให้เห็นเรื่องที่คนมองไม่เห็น  หรือเห็นก่อนคนอื่นองค์กรจะต้องมีกระบวนทัศน์ พัฒนาใหม่ที่ให้ความสำคัญ กับ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ขององค์กร  สร้างให้คนในองค์กรมีความตื่นตัวในการเรียนรู้เปลี่ยน  Paradigm  จาก อำนาจบนลงล่าง เป็นการทำงานแบบรายความคิดทุกคนมีคุณค่าไม่ฆ่าความคิดใคร  แต่จะส่งเสริมสนับสนุนปรับโครงสร้างการทำงานที่เอื้อต่อการทำงาน  แบบมีส่วนร่วมในการคิดปฏิบัติ  การปรับเปลี่ยนกรอบการทำงานที่เอื้อต่อการคิดสร้างสรรค์เป็นการทำงานที่สร้างให้คนทุกคนทำงานร่วมกันอย่างมีความสุข เพราะความสุขทำให้คนมีความคิดสร้างสรรค์                สรุปวันนี้ประเทศไทย  อยู่ในประเทศในกลุ่มกำลังพัฒนาซึ่งก็อยู่ในกลุ่มนี้มาตั้งแต่แผนพัฒนาฉบับที่  1  จนถึงแผนพัฒนาฉบับที่  10  ก็ยังไปไม่ถึงขั้นประเทศพัฒนาสักทีทั้ง ๆที่มีทรัพยากรมากมาย  เป็นเพราะคนของเราขาดคุณลักษณะของการเป็นนักคิด  นักจัดการ  นักสร้างนวัตกรรม  การที่พัฒนาในประเทศจะต้องมีการปรับกระบวนการพัฒนาใหม่หรือจะเรียกว่าเป็นการปฏิรูปเลยก็น่าจะได้  เพราะบางทีประเทศส่วนมากแข่งขันสร้างผลิตภัณฑ์เป็นของตนเอง  แต่ไทยยังอยู่ในขั้นลอกเลียนแบบหรือรอให้คนอื่นทำแบรนด์มาจ้างผลิต  ถ้าไม่ปฏิรูปประเทศไทยอาจจะเป็นประเทศอยู่ในกลุ่มด้อยพัฒนาตลอดไปก็เป็นไปได้                                                                                                                                อุษา    เทียน                                                                                                       
นายสิทธิชัย ธรรมเสน่ห์
เรียน ศ.ดร.จีระ  หงส์ลดารมภ์    (Homework 10)

          จากการศึกษา เรื่อง การบริหารผลการปฏิบัติงาน(Performance Management = PM) กับ อ.พจนารถ ซีบังเกิด เมื่อวันเสาร์ที่ 1 กันยายน 2550 สรุปได้ดังนี้

 

          ในการสอนวันนี้ อาจารย์ได้มีการนำเข้าสู่บทเรียนด้วยสื่อที่น่าสนใจนั่นคือให้ชมบางตอนของภาพยนตร์ ซึ่งสื่อถึง การปฏิบัติงานของพนักงานในองค์กรที่มีทั้งองค์กรที่ใช้หลักของการบริหารทุนมนุษย์ที่ถูกต้อง และองค์กรที่ไม่ได้นำหลักของการบริหารทุนมนุษย์มาประยุกต์ใช้ ทำให้ไม่สามารถซื้อใจของพนักงานได้ เป็นการเปรียบเทียบให้เห็นเป็นรูปธรรมจากสื่อดังกล่าวได้อย่างชัดเจน และเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริงในสังคมปัจจุบันไม่ว่าในประเทศใดก็ตาม

 

          องค์กรยิ่งมีขนาดใหญ่มากเท่าใดก็ตาม ยิ่งจำเป็นต้องมี Performance Management มิฉะนั้นวันไหนที่หัวหน้าไม่อยู่ ลูกน้องก็จะทำงานไม่ได้ เพราะหัวหน้าไม่ได้มีการสั่งงานไว้ก่อนล่วงหน้า

 

          ความสำเร็จขององค์กร จะเกิดขึ้นได้ ต้องเริ่มต้นจากทิศทางของบริษัท (Vision , Mission) ทุกองค์กร ถ้าจ้างคนมาแล้วคนๆนั้นรู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง ก็จะทำงานตามหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมายไว้ได้

  • Vision ต้องกว้างและนิ่ง
  • แผนกลยุทธ์ ต้องทำทุกปี
  • องค์กรบางองค์กร อาจจะกำหนดMissionก่อนแล้วค่อยสรุปออกมาเป็น Vision ก็ได้
  •  ในส่วนของกลยุทธ์ (Strategies) หลายองค์กรวางกลยุทธ์ไว้สวยหรูแต่ไม่สามารถนำมาปฏิบัติได้จริง
  • ทุกองค์กรจะต้องทำตามกลยุทธ์ที่ได้วางไว้ และสร้างวัฒนธรรมให้เกิดขึ้นในองค์กรของตนเอง

          การบริหารผลการปฏิบัติงาน หมายถึง กระบวนการในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ HR. ที่จะให้องค์กรมีผลการปฏิบัติงานได้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยผ่านกระบวนการปรับปรุงผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ และมุ่งเน้นการพัฒนาบุคลากร

  1. ทางแนวดิ่ง > เป็นการเชื่อมโยง Vision Mission Goal ขององค์กร และพนักงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  2. ทางแนวราบ > เป็นการนำผลการปฏิบัติงานของพนักงานไปใช้ประโยชน์ในกิจกรรมการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เช่น training of Development

          นั่นคือเมื่อองค์กรนำ Performance Management System ไปใช้จะก่อให้เกิดการบูรณาการผลการปฏิบัติงานในทุกส่วนงาน ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และนี่แหละคือเป้าหมายสูงสุดขององค์กร 

           กระบวนการของ Performance Management (PM Process) ประกอบด้วย

  1. Performance Planning/Goal – Setting เป็นการวางแผนการปฏิบัติงานเพื่อให้พนักงานรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองอย่างชักเจน โดยวิธีฝึกอบรมและพัฒนา (Training & Development)
  2.  Continuous Coaching and Feedback การพิจารณาถึงความสามารถของพนักงาน โดยใช้วิธีการเป็นที่ปรึกษาให้แก่พนักงาน (Mentoring/Counseling)
  3.  Performance Review and Evaluation การทบทวนการปฏิบัติงานและการประเมินผล โดยการพิจารณาให้รางวัล/ค่าตอบแทน (Pay & Recognition)
  4. Corrective and Adaptive Action การแก้ไขและปรับปรุงวิธีการปฏิบัติงาน โดยการพุ่งเป้าไปที่การปรังปรุงเพื่อให้สำเร็จตามกลยุทธ์ที่วางไว้ (Career Development)

          ทั้งนี้การบริหารผลการปฏิบัติงานต้องมีการตั้งเป้าหมาย ซึ่งการตั้งเป้าหมายที่ดี(Smart Goal) จะประกอบด้วย

    Specific   เฉพาะเจาะจง

    Measurable   สามารถวัดได้ > เป็นตัวเลข

    Attainable   สามารถทำให้สำเร็จได้

    Relevant   สอดคล้องกับความเป็นจริง

    Time bound   กำหนดระยะเวลา

          และนอกเหนือจากการตั้งเป้าหมายที่ดีแล้วการ PM จะต้องมีการวัดคุณภาพ (Dashboard Metrics) ซึ่งต้องวัด/ประเมินในสิ่งต่างๆดังนี้

    • Quantity

    • Quality

    • Cost

    • Speed

    • Compliance

          ทั้งนี้วิธีการดังกล่าวข้างต้นถือเป็น Best Practices in Performance Measurement (วิธีการวัดผลการปฏิบัติงานที่ดีที่สุด)

          Architecture – Mixed Models  
VALUES R & R COMPETENCIES PERFORMANCE
คนดี คนเก่ง มีผลดี
SALARY BONUS

Culture

 

&

 Brand

Present

 

Job

 

 Roles

    • Core

 

 • Leadership

     • Technical
-Market

 Benchmark

 -Value to

 Organization

 

-Strategy

 Alignment

SALARY

          Model ดังกล่าวใช้ประกอบการพิจารณาการปฏิบัติงานของพนักงาน และการพิจารณาคำตอบแทนต่างๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมตามหลักธรรมาภิบาลในการบริหารองค์กร

                                     - ขอบคุณครับ-

                                  สิทธิชัย   ธรรมเสน่ห์

ชัยธนัตถ์กร ภวิศพิริยะกฤติ
งาน HRM  :  PERFORMANCE  MANAGEMENT  SYSTEM  For  Successful Manager  โดย  อาจารย์  พจนารถ ซีบังเกิด   เมื่อวันที่  1  กันยายน  2550                 การจัดการทุนมนุษย์ที่เป็นรูปแบบที่รู้จักโดยทั่วไปก็จะเป็นการมองหาคน การรับคน                การใช้คน การพัฒนาคน เพื่อให้ความสุข ความก้าวหน้า ความเป็นมืออาชีพของทรัพยากรมนุษย์  จะได้เป็นสินทรัพย์ขององค์กร  ที่นับวันจะเพิ่มมูลค่ายิ่ง ๆ ขึ้นไปจึงเห็นได้เสมอว่าโลกที่พัฒนาแล้วจะใช้งบประมาณทางด้านการศึกษาแก่พลเมืองที่มีสัดส่วนค่อนข้างมากกว่างบประมาณทางทหารหรือความมั่นคง ด้วยการศึกษาเหมือนการลงทุนมนุษย์กว่าจะผลิตดอกออกผล ต้องใช้เวลายาวนาน  และต่อเนื่องเมื่อสังคมได้มีทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพแล้ว การสร้างนวัตกรรมการดำรงชีวิต การมองเห็นสังคมและการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและสงบ เป็นสิ่งดีจะเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก ด้วยทุนมนุษย์  ได้ปลูกฝังคุณค่าทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม ความรับผิดชอบ ความรู้ไว้ในส่วนลึกของความเป็นมนุษย์อย่างถาวร                ทุนมนุษย์ในโลกที่เจริญแล้วจึงมีคุณภาพ ทั้งทางด้านกายภาพและจิตใจ หลายคนมองโลกตะวันตกเห็นแก่ตัวเป็นแก่ได้ ไม่เอื้อเฟื้อ เอาวัตถุจึงนิยมมองได้แต่อีกมุมหนึ่งก็จะเห็นได้ว่าทุนมนุษย์ส่วนใหญ่จะรับผิดชอบ ยอมรับสิทธิและหน้าที่ของพลเมืองอย่างมีมาตรฐาน รับงาน รับเงิน  รับโอกาส รับรางวัล รับเทคโนโลยีตามหน้าที่ หรือสิทธิ หรือโอกาสที่สมควรจะได้หรือมี                      ทุนมนุษย์พวกนี้ก็เป็นวิทยาศาสตร์ทำมากได้มาก ทำน้อยได้น้อย เก่งมากได้มาก เก่งน้อยได้น้อย  เก่งมากกว่าก็ก้าวหน้ามากกว่า ผมว่าเป็นธรรมดี คนเหล่านี้จึงเป็นคุณสมบัติเบื้องต้นของทุนมนุษย์ในองค์กรทุก ๆ หน่วยงานต้องการยิ่ง จึงเป็นได้เสมอว่าระบบการศึกษา หลักสูตร หนังสือ ตำราและอาจารย์มักจะพร้อมและมีคุณภาพชั้นดีเยี่ยม การผลิตทุนมนุษย์ที่ได้จึงมีมาตรฐานและมีคุณภาพเป็นส่วนใหญ่เมื่อก้าวสู่ตลาดแรงงาน ทุกคนก็จะทำงานและสร้างผลผลิตให้แก่องค์กรอย่างคุณค่า  คุ้มทุนจึงเป็นได้เสมอว่าระบบจ้างงานในประเทศเหล่านี้จะจ้างเป็นรายชั่วโมง ผิดกับประเทศที่ทุนมนุษย์ยังล้าหลัง ก็จะจ้างเป็นรายวัน ซึ่งค่าจ้างทั้งวันบางครั้งยังน้อยกว่าทุนมนุษย์ในประเทศ                      ที่จ้างเพียงหนึ่งชั่วโมง เมื่อคุณภาพทุนมนุษย์สูง ระบบการมองหาคนเข้ามาสู่ระบบก็จะเป็นประสิทธิภาพ ประสิทธิผลชัด ๆ โดยมองว่าทุนมนุษย์แต่ละคนที่เข้ามาทำงานได้คุ้มค่าเงินที่จ้างเพียงไร จึงทำให้ระบบการคัดเลือกคนต้อง เน้นระบบคุณธรรมค่อนข้างสูงมาก ผิดกับระบบประเทศด้วยพัฒนาจะเน้นพวกพ้อง ประเทศที่ทุนมนุษย์มีระบบเข้มแข็งและมีคุณภาพจะไม่เน้นการได้ปริญญา (กระดาษใบหนึ่ง)  เป็นสำคัญก็ต่างกับประเทศที่ด้อยพัฒนาที่คนต้องมีปริญญาจึงจะมีคุณภาพ ซึ่งจริง ๆ แล้วก็ไม่แน่เสมอไปว่ามีปริญญาแล้วจะเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณค่าและคุณภาพ            จริง ๆ หรือเปล่า                เมื่อทุนมนุษย์ได้ก้าวสู่ระบบเป็นสมาชิกในองค์กรแล้วก็คงเน้นเรื่องของระบบที่จะทำหน้าที่คัดทุนมนุษย์ที่ทำงานอยู่ว่ามีผลิตภาพมากน้อยแค่ไหนในระบบสากลที่มีตำแหน่งงาน  หน้าที่  ความรับผิดชอบ ทักษะประสบการณ์ ความคิด การตัดสินใจ เป็นรายละเอียดจากการทำงาน โดยสภาพที่ระบบมีคุณภาพและเป็นสากลก็จะมีการประเมินผลงานของทุนมนุษย์ในทุก ๆ หน้าที่และภารกิจ เป็นระยะ ๆ เพื่อให้สัญญาณว่าผลิตภาพของทุนมนุษย์ได้สร้างผลผลิตที่ตอบสนองต่อเป้าหมายมากน้อยเพียงไร  โดยจักได้ปรับสภาพการทำงานให้มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลมากขึ้น  เป็นวงจรเมื่อผลิตภาพต่ำก็จะได้พัฒนามาก  ฝึกอบรมและศึกษาเพิ่มเติมความรู้ทักษะให้สอดคล้องกับภารกิจ ทั้งผลของการประเมินก็จะนำสู่การก้าวหน้าสู่ตำแหน่งที่สูง ๆ ขึ้นไปในสาขา                ฝ่ายบริหารจึงต้องสร้างระบบการบริหารความสำเร็จให้มีระบบที่ดียิ่งขึ้น  ทั้งระดับองค์กร  ระดับทีมงาน  และระดับบุคคลโดยวางระบบให้มีการวางกรอบเป้าหมาย  และมาตรฐานการทำงานและการประเมินให้ชัดเจน  โดยการวางแผนสู่ผลิตภาพและเป้าหมาย  หากทุนมนุษย์อ่อนแอหรือไม่สามารถตอบสนองได้ก็จะนำไปพัฒนาอบรม  เพิ่มความรู้  ทักษะ  ประสบการณ์  และทัศนคติใหม่ ๆ ให้เกิดพฤติกรรมที่มีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองต่อเป้าหมายและแผนที่วางไว้ภายหลังจากการพัฒนาฝึกอบรมแล้วต้องมีการแนะนำแลกเปลี่ยน เรียนรู้ และมีข้อมูลป้อนกลับเพื่อปรับปรุงคุณภาพงานให้ได้ตามแผนและเป้าหมายที่วางไว้ ขั้นต่อไปก็จะมีการประเมินและตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ของการบริหารจัดการโดยใช้ระบบการแนะนำ แนะแนว และโมนิเตอร์ผลิตภาพ เพื่อการประเมินที่ถูกต้อง ถ้าผลผลิตได้ตามแผนและเป้าหมายก็จะมีให้รางวัลและให้โอกาสในความสำเร็จที่จะพัฒนาตนเองและกระบวนการต่อมาก็จะเป็นการแก้ไขและปรับปรุงผลิตภาพให้สอดคล้องกับแผนและเป้าหมาย เพื่อพัฒนาทุนมนุษย์ให้เข้าสู่ลู่ทางภารกิจในงานซึ่งต้องพัฒนาตลอดเวลาซึ่งจะนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ทั้งนี้จะมีกระบวนการต่อเนื่องและซ้ำไปอีกเป็นวงจร การทำให้องค์กรมีผลิตภาพสูงผู้บริหารจึงต้องวางวิสัยทัศน์และพันธกิจให้สอดคล้องกับคุณค่าของทุนมนุษย์                การจัดการความสำเร็จให้มีผลิตภาพสูงจะต้องหาคุณค่าเพื่อสร้างวิวัฒนาการทำงานที่ดีและตราสัญลักษณ์ ที่ยอมรับได้ โดยมีความสอดคล้องกับภาระและหน้าที่ในงาน อันจะส่งผลถึงความสามารถหลัก ภาวะผู้นำและทักษะการทำงานที่สอดคล้องโดยเปรียบเทียบกับหน่วยงานที่มาตรฐานมีค่านิยมขององค์กรและวางกลยุทธ์ที่สอดคล้อง ทั้งนี้จะส่งผลถึงค่าตอบแทนที่จะมีมากหรือน้อยตามองค์ประกอบที่ได้กล่าวมาแล้ว                การจัดการความสำเร็จในทุนมนุษย์ซึ่งมุ่งเน้นคนดี คนเก่ง และมีผลิตภาพ ซึ่งจะเกิดได้โดยการวางระบบ มีการจัดการที่ดีผู้บริหารมีภาวะผู้นำและจูงใจที่เหมาะ อันจะตอบสนองต่อเป้าหมายขององค์กรและส่วนตัว ทำให้ทุนมนุษย์เกิดความสุขในการทำงานอย่างทุ่มเทความรู้ ความสามรถทั้งมวลแก่องค์กรด้วยความรักและความเต็มใจ สร้างความเติบโตให้แก่องค์กรได้ในที่สุด อันเป็นผลสัมฤทธิ์ของการบริหารจัดการความสำเร็จนั่นเอง                ขอบคุณครับ                นายชัยธนัตถ์กร ภวิศพิริยะกฤติ
กฤษณา ปลั่งเจริญศรี
การฟังบรรยาย ในวันเสาร์ที่ 1 กันยายน 2550 จาก อาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิด

ดิฉัน นางสาวกฤษณา ปลั่งเจริญศรี ได้รับความเข้าใจจากการฟังและการอ่านเอกสาร ของอาจารย์ พจนารถ ซีบังเกิดดังนี้

 

การบริหารผลการปฎิบัติงาน (Performance Management) หมายถึง การพัฒนาพนักงานให้มีความรู้ ความสามารถ ทักษะ ในการปฎิบัติงานจนมีผลการปฎิบัติงานในอนาคตบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

·        กระบวนการบริหารผลการปฎิบัติงานของพนักงาน
  1. มีการบูรณาการเป้าหมายขององค์กร มาสู่เป้า-หมายของหน่วยงาน และพนักงาน
  2. มุ่งเน้นที่กระบวนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  3. มุ้งเน้นการปรับปรุงการปฎิบัติงานของพนักงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
  4. สร้างความร่วมมือ การยอมรับ และเห็นพ้องต้องกันมากกว่าการควบคุม
  5. การยอมรับในสาเหตุของการบกพร่องในการปฎิบัติงานของพนักงาน สามารถบ่งชี้ได้ว่าจะแก้ปัญหาความบกพร่องนั้นด้วยวิธีการอย่างไร
  6. รู้จักการบริหารการปฎิบัติงานของตนเอง
  7. บริหารงานแบบการมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง
  8. ข้อมูลย้อนกลับระหว่างพนักงาน และผู้บังคับบัญชาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
  9. ประเมิณผลปฎิบัติงานต่อเป้าหมายที่ได้ตกลงกันไว้
  10. การบริหารผลการปฎิบัติงานจะไม่ใช่เน้นเป็นวัตถุประสงค์หลักในการขึ้นค่าจ้างประจำปี
 
    • วัตถุประสงค์ของการบริหารผลการปฎิบัติงาน

1.      เพื่อปรับปรุง และพัฒนาผลการปฎิบัติงานขององค์กร ทีม และพนักงาน

2.      เพื่อให้เป้าหมายในการปฎิบัติงานขององค์กร ทีม และ พนักงานเป็นไปในแนวเดียวกัน

3.      เพื่อพัฒนาความสามารถ และทักษะในการปฎิบัติงานของพนักงาน

4.      เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บังคับบัญชา และพนักงานบนพื้นฐานของการเห็นพ้องต้องกันในการกำหนดเป้าหมาย การพัฒนาพนักงาน การให้คำปรึกษา และการให้ข้อมูลย้อนกลับ

5.      เพื่อเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถจัดการผลการปฎิบัติงานและการเรียนรู้ด้วยตนเอง

 ·        กระบวนการบริหารผลการปฎิบัติงาน

       ขั้นตอนที่ 1   การวางแผนการปฎิบัติงาน

       ขั้นตอนที่ 2   การปฎิบัติงาน

       ขั้นตอนที่ 3  การประเมิณผลและการปฎิบัติงาน

       ขั้นตอนที่ 4  การทบทวนผลการปฎิบัติงาน

 ·        สรุป การบริหารผลการปฎิบัติงานจะมีส่วนไปช่วยเหลือและปรับปรุงให้พนักงานแต่ละคนปฎิบัติงานบรรลุ เป้าหมาย ซึ่งในการกำหนดเป้าหมาย และดัชนีชี้วัดในการปฎิบัติงานของพนักงานจะต้องสอดคล้องกับเป้าหมาย และดัชนีชี้วัดของหน่วยงานและองค์กร การบริหารผลการปฎิบัติงานจะให้ความสำคัญกับการพัฒนาพนักงานที่จะต้องมีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และเน้นการปฎิบัติงานร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด ระหว่างผู้บังคับบัญชา และพนักงานด้วยการยอมรับซึ่งกันและกันอย่างจริงจังและจริงใจ ถ้ามีการประยุกต์ใช้อย่างมีประสิทธิภาพจะมีส่วนอย่างมากในการบูรณาการเป้าหมายในการปฎิบัตืงานของพนักงาน หน่วยงาน องค์กร ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งก็คือ เป้าหมายสูงสุดขององค์กรในการที่จะตอบสนองถึงความต้องการของผู้ที่มีส่วนได้เสียขององค์กร อันจะนำมาซึ่งการประสบความสำเร็จในการบริหารองค์กรได้ในอนาคต

ระบบการบริหารการปฏิบัติงานบุคคลเพื่อความสำเร็จขององค์กร             ในองค์กรความสำเร็จขององค์กรเป็นเป้าหมายที่ทุกคนในองค์กรต้องมีจุดร่วมกัน ซึ่งต้องมาจากการที่องค์กรมี Vision ร่วมกัน เป็น Vision ที่สั้น มีพลังเข้าใจ จดจำได้ เมื่อคนในองค์กรมีเป้าหมายร่วมกันแล้วการบริหารการปฏิบัติงานในองค์กรก็เป็นสิ่งที่ควรอยู่ในแผนการพัฒนาขององค์กรนั้นด้วยเพื่อให้ผลการปฏิบัติงานของพนักงานมีการบูรณาการซึ่งกันและกันสอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร            การพัฒนาการปฏิบัติงานของบุคลากรหลายองค์กรประสบความสำเร็จ แต่บางองค์กรก็ไม่  สามารถในการตัดสินใจในการออกแบบการปฏิบัติงานที่สร้างสรรค์ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพฤติกรรม การบริหารงานของหัวหน้างาน หัวหน้าองค์กรด้วย ยกตัวอย่าง เช่น บางองค์กรหัวหน้างานขาดความไว้ วางใจในการตัดสินใจของลูกน้อง จะสั่งการทุกอย่าง จนทำให้ลูกน้องค่อยๆลดความเชื่อมั่นในตนเองลดลงเรื่อยๆ เมื่อวันใดไม่มีหัวหน้าลูกน้องจะไม่รู้ว่าต้องทำอะไรบ้างเพราะไม่มีใบสั่งการทำงาน ตรงกันข้ามกับบางองค์กรที่ผู้บริหารมียุทธศาสตร์การบริหารมุ่งเป้าหมายขององค์กรให้เป็นเป้าหมายร่วม มอบหมายให้แต่ละแผนกได้มีการคิดสร้างสรรค์งานเพื่อเป้าหมายร่วมกัน ผู้บริหารไม่ต้องลงลึกเรื่องการสั่งการ กระจายความรับผิดชอบไปตามงานต่างๆ ทำให้บุคลากรมีอิสระในการคิดอย่างสร้างสรรค์ เกิดงานใหม่ๆ ได้มากมาย ไม่มีหัวหน้าไม่มีผู้บริหารอยู่ในสำนักงานงานก็สามารถสำเร็จลุล่วงได้ เพราะงานไม่ได้อยู่ขึ้นอยู่กับคนแต่ขึ้นอยู่กับเป้าหมายขององค์กร            การดำเนินงานขององค์กรจึงจะทำอย่างไรให้คนในองค์กรมีเป้าหมายร่วมกันให้ได้ การบริหารการปฏิบัติงานบุคลากรจึงต้องมีการดำเนินการสร้างค่านิยมให้กับองค์กร เกิดวัฒนธรรมขององค์กรร่วมกันองค์กรต้องมี Vision และ Mission ก่อน แล้วกำหนดเป้าหมายขององค์กร กำหนดวัตถุประสงค์ กลยุทธ์การดำเนินงาน เทคนิคการดำเนินงาน การสร้างความสัมพันธ์ร่วมกัน การสร้างวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร อาจจะมาจากผู้บริหารระดับต่างๆคิดร่วมกันตามเทคนิคของการคิดวิสัยทัศน์ที่นำไปแปลงเป็นการปฏิบัติงานได้ เมื่อได้วิสัยทัศน์แล้วต้องทำให้ทุกคนในองค์กรจำวิสัยทัศน์ให้ได้ ต้องนำมาสื่อสารให้เข้าใจตรงกัน การมีเป้าหมายร่วมกันมีวัตถุประสงค์การดำเนินงานร่วมกัน มีกลยุทธ์การทำงานไปในทิศทางเดียวกัน มีหลักการในเรื่องการประสานงาน ทำงานร่วมกัน องค์กรต้องถ่ายทอด  กลยุทธ์สู่การปฏิบัติให้กับคนในองค์กร เพราะปัญหาอยู่มี่ว่าถ้าคนในองค์กรไม่เข้าใจกลยุทธ์ ไม่เห็นอนาคตร่วมกันก็ไปสู่ความสำเร็จได้ยาก นักพัฒนาองค์กรจึงต้องมีเทคนิค มีกลยุทธ์ มีจุดเริ่มต้นที่สำคัญนักพัฒนาองค์กรจึงต้องเป็นผู้ที่มีจิตวิทยามีความเข้าใจมนุษย์ มีกลยุทธ์ในการบริหารบุคลากร ตั้งเป้าหมายการพัฒนาบริหารงานบุคลากรที่เฉพาะเจาะจงมีกำหนดมีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน กำหนดตัวชี้วัดได้ สามารถทำให้สำเร็จได้โชว์ได้ สอดคล้องกับความเป็นจริงในเวลาที่เหมาะสมสอดคล้องกับกาลเวลา โดยนักพัฒนาบุคลากรองค์กรต้องมีแผนการำเนินงานที่ชัดเจนมีการโค้ชชิ่งตลอดระยะเวลาของเส้นทางการดำเนินงาน มีการสะท้อนผลงานให้บุคลากรได้ทราบก่อนสิ้นสุดโครงการที่จะแก้ไขก็ไม่ได้แล้ว เพราะถึงขั้นสุดท้ายแล้ว  การสะท้อนผลให้ผู้ปฏิบัติได้ทราบเพื่อทำให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขพัฒนาให้ดีขึ้น มีการทบทวนผลงานเติมเต็มความรู้ประสบการณ์การปฏิบัติงานเมื่อทำสำเร็จแล้วมีรางวัลให้ ซึ่งอาจจะไม่ใช่เงินแต่เป็นการชมเชยยกย่องพูดถึงในทางที่ยินดี ก็เป็นการพัฒนาบุคลากรที่ยั่งยืนสำหรับองค์กร การบริหารผลการปฏิบัติงาน      ในการปฏิบัติงานของบุคคลในองค์กรต้องมีการติดตามผลประเมินผลเป็นระยะต่อเนื่องนั้นนอกจากเป็นการปรับปรุงและพัฒนางานขององค์กร ของทีมงาน ของพนักงาน ให้ไปสู่เป้าหมายในทิศทางเดียวกันแล้วยังเป็นการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้วย เพราะวันนี้เป็นสังคมความรู้พนักงานต้องเข้าใจเรื่องของการเปลี่ยนแปลงต้องมีความรู้ มีข้อมูลเพื่อการพัฒนาองค์กร พัฒนางาน การบริหารงานบุคลากรจึงต้องดำเนินถึงการสร้างการเรียนรู้ให้กับพนักงานอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นต้องมีกระบวนการในการถอดบทเรียนการดำเนินงานของพนักงานด้วย โดยให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคนในองค์กร จัดเวทีให้กับคนในองค์กรได้ทบทวนการดำเนินงานด้วยการให้บุคลากรได้นำวิสัยทัศน์พันธกิจมาเป็นตัวตั้ง แล้วช่วยกันหาคำตอบวาวันนี้ได้ดำเนินการไปสู่เป้าหมายร่วมกันได้อย่างไร ถึงขั้นตอนใดในเส้นทางเดินไปสู่เป้าหมายร่วมกันนั้น ที่ประสบความสำเร็จเพราะมีปัจจัยอะไร ที่ไม่ประสบความสำเร็จเพราะมีปัญหาอะไร เราจะหาทางแก้ปัญหานั้นร่วมกันได้อย่างไร เราจะช่วยกันทำให้สิ่งที่เราทำแล้วประสบความสำเร็จ สิ่งที่เป็นจุดแข็งของเราดีขึ้นได้อย่างไร วิธีการเช่นนี้คนในองค์กรจะได้เรียนรู้จักตนเอง รู้จักเพื่อน เกิดผลงานดีเด่นแลกเปลี่ยนกับคนในองค์กรด้วย ทำเช่นนี้อยู่เสมอความเป็นหนึ่งเดียวของคนในองค์กรจะมีความแข็งแรง คนในองค์กรจะเป็นนักจัดการความรู้ องค์กรเข้มแข็งและสำเร็จอย่างยั่งยืน กระบวนการเช่นนี้นำไปใช้ได้กับทุกองค์กรรวมทั้งองค์กรเล็กๆ ในกลุ่มชาวบ้าน ในชุมชน จนถึงกลุ่มองค์กรใหญ่ๆ เช่น บริษัทต่างๆ เพราะเป็นกระบวนการสร้างความเชื่อมั่นให้กับคนในองค์กร  อุษา   เทียนทอง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท