PCU Corner : สิ่งที่นำเสนอ สปสช. 4 ..... ผู้ป่วย และญาติได้อะไรบ้าง เมื่อเราจัดบริการใกล้บ้าน ( patient benefit profile )


วันที่ 28 พฤษภาคม 2550 ที่ CMU ห้วยขะยุง นำเสนอ สปสช. ผลการดำเนินงาน 6 เดือนแรก ของศูนย์แพทย์ชุมชนห้วยขะยุง   เรื่องที่เราอยากรู้ข้อต่อมา คือ แล้วคนไข้ได้อะไรบ้าง จากการจัดบริการ ดูแลผู้ป่วย ที่ต้องดูแลต่อเนื่อง  ( ถึงมันจะยาว แต่ผมก็  ชอบ เรียกมากกว่า ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ดูมีความหมายถึงงานที่ต้องทำ ชัดดีกว่า และมีความหวัง มากกว่าคำว่าเรื้อรัง  )  ที่ PCU


ผมเลยมีชุดข้อมูลชุดหนึ่ง ชื่อ Patient benefit profile  เก็บข้อมูลจาก ผู้ป่วยที่มารับบริการที่ pcu     มีข้อมูลที่น่าสนใจ อย่างนี้ ๆ ๆ ๆ  ครับ  ( แสดงว่า มีหลายอย่างนี้ )

ผมเก็บข้อมูลจาก คนไข้ ที่ต้องดูแลต่อเนื่อง  85 ราย ที่มารับบริการ ที่ PCU  และ เคยรับบริการที่ ร.พ.วารินฯ มาก่อน  ( และก็จะต้องเก็บไปอีก จนครบ ประมาณ 350 ราย  )

เราพบว่า ในคนไข้ 85 ราย มี 40 รายที่ ต้องทำงาน การรับบริการที่ pcu มีผลกระทบต่อการทำงานน้อยกว่า การที่ต้องมารับบริการที่ ร.พ.วาริน  ( ที่ pcu ต้องหยุดงาน 4 ราย ขณะที่ ไป ร.พ. ต้องหยุดงาน 28 ราย )

เวลามา ร.พ. ผู้ป่วยส่วนหนึ่งต้อง พึ่งพาญาติ เพื่อให้พามารักษา เราพบว่า ที่ PCU สามารถมาได้ด้วยตนเอง 76.9 % ขณะที่ ไป ร.พ.วาริน ฯ เกือบครึ่ง  ต้องมีญาติพามา ครับ

อันนี้หน่วยเป็นรายนะครับ ผมพบว่า พาหนะที่ใช้ในการเดินทางเพื่อเข้ารับบริการ  ก็อย่างที่เห็นนั่นแหละครับ เราก็เลยเห็นภาพแบบเนี้ย

ข้างหลังป่า เป็น pcu หนองกินเพล ครับ รูปนี้ชอบมาก

ผมตรวจคนไข้เสร็จประมาณ เที่ยงก็ไปเยี่ยมบ้าน คนไข้คนหนึ่ง เห็นป้าคนนี้เดินกลับมาจาก pcu หนองกินเพล ตระกร้าเขียว ใส่ สมุดเบาหวาน กับยา  ถุงข้างหน้าใส่ กระติบข้าวเหนียว กับขวดน้ำ ไว้กินเวลาเจาะเลือดเสร็จ ครับ

 

ดูคุณยายคนนี้แล้ว คุณยายจะข้ามถนน หน้า ร.พ.ผม ได้อย่างไรกัน

  

รูปข้างบนแสดงถึง ค่าใช้จ่าย  สูงสุด ต่ำสุด และค่าเฉลี่ยในการเดินทางเข้ารับบริการ

คิดรวม 85 ราย ค่าใช้จ่ายในแต่ละครั้งที่ต้องใช้ ในการเดินทาง ไม่นับค่ายา เป็นอย่างกราฟข้างบนเนี่ย ครับ 

 ต่างกัน 9,000 บาท ต่อเดือน ถ้าคิดคร่าว ๆ  ผู้ป่วย ประมาณ 350 ราย  น่าจะมีค่าใช่จ่ายที่ต่างกัน ประมาณ 36,000 บาท ต่อเดือน  หรือ  432,000 บาททีเดียว  ( อีกนัยหนึ่ง เราสามารถ ลดค่าใช้จ่ายในส่วนของคนไข้  ต.ห้วยขะยุง  ประมาณ 432,000 บาท ต่อปี )

 

 

ระยะเวลาที่ใช้ในการเข้ารับบริการ ก็อย่างที่เห็นนี่แหละครับ

 

ถามว่าให้เลือกที่จะรับบริการ  อยากรับบริการที่ไหน 90 % บอกว่าอยากรับบริการที่ PCU  ครับ


ทั้งหมด ที่เล่ามา ทั้งเรื่องผลกระทบ ในเรื่องของ

การลดการแออัด ในการ เข้ารับบริการ ใน บันทึก สิ่งที่นำเสนอ สปสช. 2 

เรื่องของผลลัพธ์ ในบันทึก สิ่งที่นำเสนอ สปสช. 3

และในบันทึกนี้  เรื่อง patient benefit profile     เราใช้เงินน้อยมาก ครับ เพราะเราปรับปรุงการจัดระบบบริการ  

 เราจัดบริการ ที่ PCU โดยจุดมุ่งหวังให้มีการบริการ ที่  " ใกล้บ้าน ใกล้ใจ "     แต่ทั้งหมดที่เล่ามา แสดงถึง ผลที่เกิดขึ้น ใน เรื่องของการจัดระบบบริการที่  ใกล้บ้าน นะครับ ไม่ได้แสดงถึง เรื่องของการใกล้ใจเลย ครับ  ตัวเลขเหล่านี้ ไม่ใช่การสรุปผลงาน แต่มีไว้เพื่อช่วยการตัดสินใจ  ในการทำงานต่อไป   บางอย่างก็พอมองออกว่าน่าจะดี  และคุ้มค่า  บางเรื่อง อย่างเรื่องผลลัพธ์ ก็ยังต้องปรับปรุง   ในการทำงานทุกวันนี้ 


ผมเลยได้ประสพการณ์ ว่า  การแสดงถึง งานที่เราทำ โดยเฉพาะเรื่อง ทุกข์ สุข ของคน   ก็ต้อง มีทั้งตัวเลข สถิติที่วัดได้  เพื่อการตัดสินใจ  และ ต้องมีเรื่องราวที่สัมผัสได้ด้วย ถึงจะพอมองเห็นภาพได้ 


หมายเหตุ ; บันทึก ทั้ง 4 ตอนนี้ ( เอ ! ไม่ใช่สิ เอาเป็นว่าบันทึกทั้งหมด )    ผมตั้งใจบันทึก ไว้  เพื่อนำเสนอ สปสช. และ  สพช.  สสมช สปช สส สว สสส สสม .........  ( จริง ๆ แล้ว แค่ สปสช และ สพช. ครับ ที่เหลือ เขียนเล่น ๆ )  เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการรายงานความก้าวหน้า การทำงานที่  cmu ห้วยขะยุง  นี่คือประโยชน์อย่างหนึ่ง ในหลายอย่าง ของการบันทึกใน G2K ที่ผมได้รับนะครับ 

หมายเลขบันทึก: 101311เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2007 23:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะ คุณหมอจิ้น   

Benefits ของ PCU ชัดมากๆ เลยค่ะ คุณหมอ...

นอกจากลดค่าใช้จ่ายแล้วนะคะ ดิฉันว่าคุณภาพชีวิตที่เพิ่มขึ้นของคนไข้เนี่ย ประเมินค่าไม่ได้เลยค่ะ...

ขออนุญาตชื่นชมการทำงานของคุณหมอและทีมงานนะคะ ...

ชอบรูปคุณยายหาบกระติ๊บอาหารกับล่วมยามากเลยค่ะ แล้วก็เป็นห่วงคุณยายคนที่จะต้องเดินข้ามถนนมากเลยค่ะ.. ขนาดตัวเองดิฉันยังไม่แน่ใจว่าจะวิ่งทันหรือเปล่าเลย .... 

ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีๆ ที่เล่าสู่กันฟังค่ะ..

นับถือจริงๆค่ะ

อาจารย์หมอ จิ้น เอา เรื่องที่เป็นเรื่องเล่า แต่ละคนมาทำเป็นกราฟ แท่ง กราฟ แบบขนมเข่งได้ด้วย

indicator แบบนี้ สุดยอด ตามด้วย ภาพประกอบยิ่งยอด

สุดซู้ดเลย

ถาม หน่อยค่ะ ว่าบรรยากาศ ตอนนำเสนอ เป็นไงคะ

คนฟังว่าอย่างไรบ้าง

เป็นข้อมูลที่น่าสนใจและสะท้อนประโยชน์ของงาน primary care ได้เป็นอย่างดีครับ
P
กมลวัลย์
เมื่อ พฤ. 07 มิ.ย. 2550
เรื่องราวแบบนี้ เราพบได้เรื่อยๆ ในการทำงานที่ต้อง สัมผัสกับผู้คน มีความสุขในการทำงานแบบนี้ด้วยครับ

P
พญ รวิวรรณ หาญสุทธิเวชกุล
เมื่อ พฤ. 07 มิ.ย. 2550 @ 07:57
 

น่านนะซี่ พอเขียนเสร็จ ผมก็นึกแบบพี่เลยครับ เอาเรื่องเล่ามา ทำเป็นกราฟ เอาเรื่อง กราฟมาทำเป็นเรื่องเล่าได้ด้วย

ขอบคุณสำหรับคำเยินยอ ผู้น้อยมิบังอาจ

เมื่อเดือน กพ. 50 ผมเคยเสนอเรื่องราวเหล่านี้ให้ คณะ อาจารย์ ไพจิตร ปวะบุตร อ. อุทัย สุขสุด อ.วีรวัฒน์ พันธ์ครุฑ แล้วครั้งหนึ่ง ตอนมาเยี่ยม cmu ห้วยขะยุง    อาจารย์ชอบมากเลยครับ  เมื่อตอนเย็นวันนี้ อาจารย์ไพจิตร ต้องมาบรรยายเรื่อง แผนพัฒนาระบบสาธารณสุข ที่อุบล  อาจารย์ให้เจ้าหน้าที่  ขอ รูป ที่ผมเล่าเอาไป ทำ slide ที่จะ  present วันที่ 12 นี้ครับ

P
โรจน์
เมื่อ ศ. 08 มิ.ย. 2550

ลองเก็บข้อมูลในพื้นที่ โรจน์ดู  พี่ว่าจะน่าสนใจกว่านี้อีก

  • สวัสดีคะคุณหมอจิ้น
  • เป็นข้อมูลที่มีอยู่จริง แต่ทางผู้ให้บริการไม่wfhนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลไปสู่การพัฒนา ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้รับบริการ
  • ขอบคุณสำหรับแนวทาง ในการจัดเก็บและใช้ประโยชน์จากข้อมูลคะ ...

สวัสดีค่ะคุณหมอ

ไม่ค่อยเข้าใจชัดค่ะ

สรุปว่า ต้องมีหน่วยย่อย อยู่ทุกหมู่บ้านหรือเปล่าคะ

และมีกำหนดไหมคะว่า แต่ละหมู่บ้าน ต้องมีประชากรเท่าใด จึงจะคุ้มกับการมีเจ้าหน้าที่ประจำตลอด

เวลาคุณหมอไปสอนชุมชนเรื่องการดูแลตัวเอง เขาทำตามต่อเนื่องไหมคะ

P
อรุฎา นาคฤทธิ์
เมื่อ ศ. 15 มิ.ย. 2550

ใช่แล้ว มันเป็นข้อมูลที่ เราน่าจะได้เอามา ช่วยการตัดสินใจ ทำงาน แต่พวกเรามักถูกกำหนดให้ ทำเรื่องอื่น ๆ ตัวเลขอื่น ๆ ที่ไม่ค่อยได้นำมาใช้เลย  จริง ๆ ยังมีข้อมูลที่น่านำมาใช้ในงานของเราอีกมาก  ถ้าเราอยากใช้ครับ

 

P
sasinanda
เมื่อ อ. 19 มิ.ย. 2550

ปรกติแล้ว เรามีหน่วยบริการเหล่านี้ เป็นหน่วยบริการสุขภาพ ระดับตำบล ครับ อย่าง PCU ห้วยขะยุงนี่ คือ สถานบริการสุขภาพ   ระดับตำบล   มี 13 หม่บ้าน ประชากรที่ดูแล  7-8 พันคน  ถึอเป็นหน่วยบริการสุขภาพที่ ใกล้ชิดชุมชนที่สุดครับ  ( ปรกติกำหนดไว้ ประมาณ 10,000 คน )   ทำงาน primary care เป็นหลัก

ขณะที่ ร.พ.วารินที่ผมทำงาน รับผิดชอบ ระดับอำเภอ  ก็ ซัก 20 กว่าตำบล ครับ ประชากร เป็น แสนคน  ความใกล้ชิดต่อเนื่อทำได้ยากกว่ามาก ครับ ทำงานระดับ secondary care

รพ.จังหวัดเป็นโรงพยาบาลศูนย์ มี 1 แห่ง  รับผิดชอบประชากร  เป็นล้านคน  ความต่อเนื่องใกล้ชิดยิ่งห่างออกไปมากขึ้น ตามบริบท ทำงานระดับ tertiary care ครับ

ทุกระดับล้วนต้องเกื้อกูลกัน ครับ แต่คนละ บริบทกัน

เรื่องการดูแลตัวเอง นี่แหละครับเป็นเป้าหมายสูงสุดของ งานของเรา  เพราะ งานจะยั่งยืนก็เพราะเรื่องนี้     เป็นโจทย์ของงานที่ ผมก็กำลังแก้ปัญหาอยู่ครับ

 

P

เรียนถามต่ออีกนิดค่ะ

แล้วสัญญาระหว่าง PCU กับ Secondary และTertiary  ยังเป็นปี ต่อ ปี ไหมคะ

การส่งเสริมสุขภาพเป็นงานหนักพอดุ คุณหมอว่า อะไรเป็นสาเหตุให้ คนไม่ค่อยสนใจดูแลตัวเองคะ มีโครงการนี้ ก็หลายปีมาแล้วนะคะ

P

ตอนนี้เป็นระบบริการหลักของ งานสาธารณสุข  เพื่อหลักประกันสุขภาพ ไปแล้วครับ ที่ secondary ต้องจัดบริการ primary ไปด้วยกัน  ( แสดงว่า มี secondary care ก็ต้องมี primary care ด้วยครับ  เฉพาะของรัฐ นะครับ )

งานส่งเสริม สร้างเสริม สุขภาพ ที่ต้องทำให้ คนพึ่งตนเองได้ เป็นงานหนักสำหรับเราเลยครับ  เป็นโจทย์ที่กำลังรอคำตอบที่ดีอยู่

แต่ ต้องมีนักสื่อสารสุขภาพ  ที่ดี อย่าง อาจารย์  กับอาจารย์วิจิตร มาก ๆ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท