ข้อคิดและข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอน (6)


เทคนิคการ warm - up เป็นอย่างไร มีคุณค่าอย่างไร ได้กล่าวไว้ในตอนที่แล้ว แต่สำหรับตอนนี้ เป็นเรื่องของตอนปลายในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งนับว่ามีประโยชน์และสำคัญที่สุด ได้แก่ การวัดและประเมินผล

ครั้งที่แล้ว  ได้กล่าวถึงเทคนิคการ warm-up  ข้อคิดและข้อเสนอแนะในการจัดการเรียนการสอน (5) ซึ่งมีท่านผู้สนใจได้อ่านและแสดงความคิดเห็นไว้  ถือว่าเป็นประโยชน์ต่อการจัดการศึกษา  ตลอดทั้งการเติมต่อบันทึกในคราวตอไปด้วย  ท่านคือ  ดร. แสวง รวยสูงเนิน  ที่ได้ให้ข้อคิดกับครูอ้อยไว้หลายประการ  ซึ่งต้องขอขอบคุณ มา ณ โอกาสนี้

คราวนี้จะเป็นบันทึกของการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ  ที่เน้นกิจกรรมที่มีความหมาย  ในการเตรียมแผนการจัดการเรียนรู้ในแต่ละแผนนั้น  ควรส่งเสริมกระบวนการกิจกรรมต่างๆให้แก่นักเรียน ด้วย  อาทิ

22.  การปฏิบัติกิจกรรมใดๆ  ในกระบวนการเรียนการสอน  ควรจัดให้ครบกระบวนการ  คือ  ใช้เวลาให้หนักไปในทางคิด วิเคราะห์  สรุปองค์ความรู้ ส่งเสริมการฝึกปฏิบัติ  แสดงผลในการปฏิบัติอย่างชัดเจน  และฝึกการประเมินตนเอง  รู้ตนเองว่ามีความสามารถอยู่ในระดับใด 

คุณสมบัติในข้อนี้  นักเรียนต้องได้รับการส่งเสริมให้เรียนรู้ด้วยตนเอง  รู้ตนเอง  ประเมินตนเอง  ควบคู่กับการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล  รู้จักการพิจารณา  ตัดสินใจอย่างมีเหตุผลทุกครั้ง

23.  เนื้อหาที่เตรียมมาในแต่ละครั้งของแผนการจัดการเรียนรู้นั้น  ต้องมีเวลาและเนื้อหาที่เหมาะสม  และสอดคล้องกัน  มีความร้อยรัดกันไปตลอดเวลาของการนำเสนอในแต่ละครั้งของการเรียนการสอน  ครูผู้สอนมีความสามารถในการปฏิบัติกิจกรรมในแผนนั้นได้อย่างครบถ้วน  หากครูผู้สอนใช้เนื้อหามาก  แต่เวลาน้อย  ไม่สัมพันธ์กัน  นักเรียนก็จะเรียนแบบหนัก  นักเรียนไม่ได้ฝึกปฏิบัติเท่าที่ควร  จึงไม่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในแต่ละครั้ง 

นักเรียนยังไม่ได้ฝึกทักษะปฏิบัติ  ไม่ได้ฝึกจิตพิสัย  ไม่ได้ฝึกคิดวิเคราะห์  และไม่ได้ มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของหลักสูตรอย่างชัดเจน

24.  ครูผู้สอนควรส่งเสริมนักเรียนที่ยังขาดทักษะในการคิดและการแสดงความคิดเห็น  โดยใช้กลวิธีหลายอย่าง 

เช่น  วิธีการคิดดัง .....เป็นการพูดแสดงความคิดเห็นที่เกิดขึ้นในตัวครูในขณะที่ทำงาน  หรือ  ขณะที่ขบคิดปัญหาจนกระทั่งได้คำตอบ 

หรือ  การใช้คำถาม  3 ระดับ  ช่วยแนะแนวทางในการคิด 

หรือ  การแสดงความคิดเห็นในเรื่องราวต่างๆรอบตัวอย่างมีหลักการและเหตุผล

การสาธิต  คือ  การนำความรู้ต่างๆที่มีอยู่ในหัว  ออกมาเชื่อมโยงกันเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาต่างๆ

การใช้แผนภาพ  แผนผัง  แผนที่ความคิด  ทำเรื่องที่เป็นสัญญลักษณ์  หรือ นามธรรมให้เป็นสื่อรูปธรรมจับต้องได้

แสดงแบบอย่างการทำงานที่เป็นกระบวนการ  ให้เห็นอย่างชัดเจน

25.  การประเมินผล   ถือเป็นขั้นตอนที่สุดของการจัดการเรียนการสอน  ต้องมีการประเมินในทุกปัจจัยที่มีผลต่อกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน  สาเหตที่นักเรียนไม่ประสบกับผลสำเร็จ  อาจจะเป็นเพราะ

ตัวครู.....การจัดการเรียนการสอนยังไม่ชัดเจน  ไม่ต่อเนื่อง  ความชำนาญในการสอน  ไม่มีมากพอ  ไม่โน้มน้าวให้สนใจ  การจัดชั้นเรียน  ยังไม่เข้าใจธรรมชาติของนักเรียนเท่าที่ควร  สื่อ..ยังไม่เหมะสม  อุปกรณ์ยังไม่พร้อม 

ตัวนักเรียน.....  ขาดความรู้พื้นฐาน  ต้องปรับพื้นฐานของนักเรียนให้ใกล้เคียงกัน  ไม่ใส่ใจ  หิว  หงุดหงิด  กังวลใจ  เครียด  เมื่อย  เหนื่อย  ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับนักเรียนเสมอ  ทำอย่างไรจึงจะจัดการเรียนรู้ให้แก่นักเรียนจนลืมปัญหาเหล่านี้ได้

สภาพแวดล้อม.....ร้อน  หนาว  แสงมากไปหรือน้อยไป  มีเสียงรบกวนมาก  ห้องเรียนอึกทึก  ไม่มีระเบียบ ฯ  ครูผู้สอนเห็นสภาพแล้ว  จะจัดการอย่างไร  ให้นักเรียนได้เรียนรู้แล้วประสบกับความสำเร็จในการเรียนการสอนให้มากที่สุด

26.  ถ้าประเมินแล้วนักเรียนก็ยังไม่ประสบกับความสำเร็จ  เพราะปัจจัยลบด้านใด  ให้ปรับปรุงแก้ไขในจุดนั้น  ทำกิจกรรมฝึกซ้ำย้ำทวนให้มาก  และหลากหลาย  ขึ้นอีก  แล้วประเมินผลใหม่  จนกว่าจะเป็นที่พอใจทั้งสองฝ่าย  พยายามให้มีร่องรอยแห่งความพยายามแล้วก็พอใจ

27.  นักเรียนแต่ละคนมีความถนัด  และมีศักยภาพในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน  ครูผู้สอนต้องฝึกให้นักเรียนรู้จักบูรณาการความรู้และประสบการณ์ด้านอื่นๆ  มาใช้ประโยชน์  เสริมกัน หรือชดเชยกัน  ต้องให้นักเรียนได้ทำงานกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์  และช่วยเหลือดูแลกัน  นักเรียนที่เรียนเก่งจะเป็นผู้ช่วยครูโดยอัตโนมัติ  และพวกเธอจะพยายามช่วยเพื่อนๆ จนสุดความสามารถ  เพราะผลงานของทุดคนส่งผลต่อภาพรวมของกลุ่ม  และที่สำคัญผู้ที่ทำงานจนเต็มสติกำลังจะได้รับการยอมรับนับถือจากทุกคน

ครูอ้อยหวังว่า  การนำเสนอประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอนครั้งนี้  จะนำประโยชน์มาให้ได้บ้าง  หากจะรู้ก็ต่อเมื่อนำไปปฏิบัติ  ได้ผลอย่างไร  มาเล่าสู่กันฟังให้ชื่นใจด้วยนะคะ

หมายเลขบันทึก: 65231เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2006 00:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2014 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

ครูขา

รู้อย่างเดียวตอนนี้ง่วงจังค่ะ

ครูอ้อยครับ

ผมขอเสนอนิดหนึ่งว่า แนวคิดและการทำงานของ ดร. อาจอง มีหลักการที่คล้ายกัน แต่ลงลึกในแนวปฏิบัติมาก

ผมนั่งฟังท่านแบบวางความคิดไม่ได้เลย เนื้อหาแน่น เต็มไปด้วยแก่นสาระในการพัฒนาคน ตามหลักการศึกษา(หรือ สิกขา=การพัฒนาตนเอง)ที่แท้จริง ที่วิเคราะห์โดยท่านพุทธทาส

ถ้านำมาผสานกัน จะแน่นแบบคุณภาพคับแก้วเลยละครับ

ที่ขอพึ่งครูอ้อย เพราะผมไม่มีฐานคิด ทำไม่เป็นจรีงๆ

ขอบคุณล่วงหน้าครับ

น่าอิจฉาลูกศิษย์คุณครูจังค่ะ

น้องอึ่งอ๊อบคะ

  • ครูอ้อยได้รับการฝึกเรื่องการนอนแบบนี้มานานแสนนานแล้วค่ะ  ร่างกายของครูอ้อยก็คงพอดีกับการปฏิบัติแบบนี้ 
  • เพราะยังไม่มีอาการแบบที่น่าเป็นห่วง  ง่วงเมื่อไรครูอ้อยก็นอนสักงีบ  เป็นอย่างนี้มานานแล้วค่ะ

ขอบคุณที่เป็นห่วง...ครูอ้อยจะยิ่งรักตัวเองมากขึ้น  เมื่อเห็นคนรักและเป็นห่วงค่ะ

เรียน  ดร. แสวง รวยสูงเนิน

  • ครูอ้อยยังไม่ได้อ่านข้อความของ ดร.อาจอง  แต่พอจะคาดเดาได้

แนวคิดและการทำงานของ ดร. อาจอง มีหลักการที่คล้ายกัน แต่ลงลึกในแนวปฏิบัติมาก

  • ครูอ้อยแอบอ่านบันทึกของหลายๆท่านที่กลับมาจากงานมหกรรม KM แล้วค่ะ  ก็ดีมาก
  • การแลกเปลี่ยนเรียนรู้  มีได้ตลอดชีวอต  เลยนะคะ
  • ครูอ้อยยินดีค่ะที่จะได้แลกเปลี่ยนกับท่าน  นามสกุลท่านกับครูอ้อย  การันตีความเป็นเพื่อนบ้านกันอยู่แล้วค่ะ 

ขอบคุณมากนะคะ

ขอบคุณค่ะน้อง Naughty Cat

  • ลูกค้าสำคัญ  มาเชียร์ครูอ้อยประจำ 
  • นักเรียนของครูอ้อย  เข้ามาอ่านบันทึกของครูอ้อยและชวนผู้ปกครองมาอ่าน 
  • สนุกดีค่ะ  อินเทอร์เนต G2K มีค่ามากเลยค่ะ 

ขอบคุณค่ะ

ครูอ้อยครับ

ขอบคุณครับที่เทียบนามสกุล

ของผมนะของจริงนะครับ ครูอ้อยยืมใครมาหรือเปล่า เดี๋ยวเจ้าของเขาจะค้อนเอานะครับ

ผมแสดงตัวจริงอยู่ในเวบ มข ด้วยนะครับ

ครูอ้อยอยู่ที่ไหนครับ

 

เรียน  ดร. แสวง รวยสูงเนิน

  • ครูอ้อยขออภัยหากท่านไม่พอใจกับการเทียบนามสกุล
  • ครูอ้อยคิดแค่..ดีใจที่มีนามสกุลใกล้เคียงกันมาพบกัน
  • ครูอ้อยไม่ได้คิดเลยไปว่า...ครูอ้อยขอยืมนามสกุลเขามา
  • ครูอ้อย..จะเรียนท่านว่า..นามสกุลนี้   เจ้าของยินดีให้ครูอ้อยใช้ค่ะ

เรียนเชิญอ่านที่นี่ก่อนค่ะ 

แล้วท่านจะรู้จัก  ครูอ้อยคนนี้ขึ้นค่ะ

ผมแซวเล่นๆ ทำไมต้องโกรธด้วยครับ

ผมขอโทษก็แล้วกัน ไม่คิดว่าจะเจอจุดเปราะตรงนี้ครับ

เรียน  ดร. แสวง รวยสูงเนิน

  • ครูอ้อยไม่ได้โกรธค่ะ  ท่าน  ครูอ้อยง้อท่านต่างหาก  อิอิ
  • ครูอ้อยชี้แจง  ท่านอีกคนหนึ่งล่ะที่คิดว่าครูอ้อยใจน้อย
  • ตื่นแต่เช้าจังเลยค่ะ  มารู้สึกว่า  ครูอ้อยไม่ได้โกรธค่ะ

ด้วยเพลง  โหว...โว...เหย่...เหย......................

ผมแค่จะถามว่าใช้มาแต่เกิด หรือมาใช้ทีหลังเท่านั้นแหละครับ 

ใช้คำอ้อมไปนิดหนึ่ง นึกว่าจะเข้าใจรหัสการเขียน

ทีหลังจะระวัง ถามให้ตรงกว่านี้

แต่กลัวจะไม่สุภาพนะครับ

ผมคนโคราช หลานย่าโมนะครับ(ที่จริงเหลน-โหลน-แหลน-หลอน ไปโน่นครับ แต่คนไม่ค่อยเข้าใจ ก็เลยพูดแค่หลานให้ฟังง่ายครับ)

ผมเกือบจะเป็นโหลนสายตรงเลยละครับ มีผังสายตระกูล กะว่าจะเอาขึ้น web อยู่ว่าญาติ ตระกูลผมอยู่ทีไหนบ้าง

ทำจากรุ่นย่าโมถึงระดับรุ่นผมครับ ที่เหลือให้ลูกหลานเขาไปต่อยอดเอาเอง สืบไม่ไหว สาขามากเหลือเกิน เป็นหมื่นคนครับ

ผมจึงบอกว่าเป็นของแท้ไงครับ ไม่มีความหมายอื่นครับ

เรียน  ดร. แสวง รวยสูงเนิน

  • ยินดีที่ได้พูดคุยกับท่านค่ะ ครูอ้อยก็ชอบหยั่งใจคนแบบนี้ล่ะค่ะ เป็นเรื่องหลายครั้งหลายท่านแล้ว เพราะไม่มีโอกาสได้แก้ตัวเลย ผิดแล้วผิดเลย โทรศัพท์ไปแก้ตัว  ก็บอกว่าก้าวก่ายเวลาอิสระของเธอ  เฮ้อ  ใจคน
  • แสดงว่าตระกูลของท่านเก่าแก่อายุหลายชั่วคนมากเลยค่ะ  

นับถือค่ะ  และยินดีอีกครั้งค่ะ 

ข้อคิดจากเตรียมการสอน  อีกอย่างหนึ่งที่มีประสบการณ์คือ  ต้องรู้จักนักเรียน  รู้ว่า เขาอายุเท่าไร  มีความสนใจเรื่องอะไร  หมายความว่าครูต้องหัดทำตัวให้ทันสมัยด้วย..เท่านั้นเอง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท