10 ประเด็นที่ผู้นำท้องถิ่นต้องรู้จริง..เพื่อก้าวไปกับอาเซียนเสรี ครั้งที่ 8


เรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่มันกระทบต่อคนไทยทุกคน ดังนั้น เราจะต้องแสวงหาโอกาส และป้องกันความเสี่ยงที่กำลังจะเกิดขึ้นและจัดการกับมันให้ได้อย่างดี

สวัสดีลูกศิษย์และชาว Blog ทุกท่าน

วันนี้ (29 กันยายน 2554) ผมได้รับเกียรติจาก กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ครั้งนี้ก็เป็นครั้งที่ 8 (กลุ่มภาคใต้)

ซึ่งเป็นการบรรยายพิเศษ ให้กับ กลุ่ม อบต. อบจ. เทศบาล และบุคลากรของกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น ในโครงการติดอาวุธทางการค้าแก่ ผู้บริหารกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น หลักสูตร “องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รอบรู้ AEC”  โดยผมได้รับเกียรติให้กล่าวปาฐกถาพิเศษ และบรรยายหัวข้อ “10 ประเด็นที่ผู้นำท้องถิ่นต้องรู้จริง..เพื่อก้าวไปกับอาเซียนเสรี” ณ สถาบันพัฒนาบุคลการ กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งบรรยายที่ผ่านแล้ว ทั้งหมด 7 ครั้ง มีรายละเอียดดังนี้

ครั้งที่ 1  บรรยายในวันที่ 5 กันยายน 2554

(http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/457772)

ครั้งที่ 2  บรรยายในวันที่ 8 กันยายน 2554

(http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/459160)

ครั้งที่ 3  บรรยายในวันที่ 12 กันยายน 2554

http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/459981

ครั้งที่ 4  บรรยายในวันที่ 15 กันยายน 2554

http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/460608

ครั้งที่ 5  บรรยายในวันที่ 19 กันยายน 2554

http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/461450

ครั้งที่ 6 บรรยายในวันที่ 22 กันยายน 2554

http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/461922

ครั้งที่ 7 บรรยายในวันที่ 26 กันยายน 2554

http://www.gotoknow.org/blog/chiraacademy/462291

ผมจะนำสาระดี ๆ และภาพบรรยากาศมาฝากทุกท่านเช่นเคยครับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 463104เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2011 09:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
เขมิกา ถึงแก้วธนกุล

สรุปการบรรยาย โดย ทีมงาน ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

โครงการติดอาวุธทางการค้า แก่ผู้บริหารกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น

เรื่อง “บทบาทของผู้นำต่อการค้าเสรี”

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

วันที่ 29 กันยายน 2554

• ถ้าเราจะอยู่รอดและก้าวไปข้างหน้า ต้องรู้ว่าอาเซียนเสรีคืออะไร

• เน้น 4 เรื่องคือ ..รู้จริง นำไปปฏิบัติได้อย่างไร? ความเป็นไปได้แค่ไหน? มีความเหมาะสมอย่างไร?

• การมีอาเซียนเสรีอย่างน้อยต้องมีมาตรฐานที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นความจำเป็น

• เราต้องถามตัวเองว่าท้องถิ่นทำอย่างไรถึงยกตัวเองขึ้นมา เพราะ Unit เล็ก ๆ ที่อยู่ที่ท้องถิ่นคือเงินทั้งนั้น

สรุป Quotation

• โลกเปลี่ยนแปลงเร็วและไม่มีอะไรแน่นอน วันนี้ต้องตั้งสติให้ดีว่าเราจะจัดการกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร ผู้นำที่ยิ่งใหญ่ที่สุดต้องจัดการการเปลี่ยนแปลงให้ได้ การที่เราจะมีความสามารถทางการแข่งขันต้องมีสินค้าบริการที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน เราจะทำให้ต่อเมื่อเรามี Qualityของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ลองดูตัวเองว่าถ้าแข่งขันกับสิงคโปร์เราจะอยู่รอดหรือไม่

• ถ้าเรามีแรงงานเยอะแต่ผลผลิตของแรงงานต่ำ ทำให้เราแข่งขันกับใครไม่ได้เนื่องจากต้นทุนเราแพง

• เชื่อมั่นว่าคนคือทรัพยากรที่มีค่ามากที่สุด ดังนั้นปรัชญาของการอยู่รอดในอนาคต คือต้องหันมาดูทรัพยากรมนุษย์ของเรา เป็นนักการเมืองแล้วประชาชนได้ประโยชน์จริงหรือไม่ ?

• ทรัพยากรที่สำคัญที่สุดไม่ใช่เงิน ไม่ใช่เครื่องจักร แต่เป็นคน เช่น สิงคโปร์ หรือ อิสราเอล ประเทศอยู่ได้เพราะว่าเราต้องสนใจทรัพยากร การเปิดเสรีได้เราต้องมีความสามารถที่แข่งกับสิงคโปร์ อิสราเอล

• คิดระดับประเทศ Think Global Act Local ผู้นำในห้องนี้ต้องคิดไกล คิดถึงโลก คิดถึงอาเซียน แล้วดูว่าชุมชนได้อะไร แต่ถ้าเราคิดถึงแต่จังหวัดเรา ชุมชนเรา เราก็จะไปไม่รอด

• การมีอาเซียนเสรีทำให้เราคิดมากขึ้นว่าเราจะอยู่กับเขาได้อย่างไร อยู่กับอินโดนีเซียได้อย่างไร อยู่กับบรูไนได้อย่างไร ถึงเป็นมุสลิมก็มีจิตใจซอฟ เราต้องมองมาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ด้วย ในอนาคตติมอร์กำลังรออยู่ ก็อาจเข้ามาภายหลัง

• มาคอส เป็นชาวฟิลิปปินส์ ทำให้ชื่อเสียงเสียหายจากการคอรัปชั่นมาก อยากให้ไทยนึกถึงฟิลิปปินส์ด้วย แม้ว่าจะอยู่ห่างและมีปัญหา อยากให้มองประเทศเขาด้วย

วัตถุประสงค์ในวันนี้ คือ

อยากให้ตัวตนของท่านค้นหาตัวเองว่าอยู่ตรงไหน แล้วดึงออกมา

1. เปิดโลกทัศน์ของผู้นำในท้องถิ่นให้เห็นการเปลี่ยนแปลง การมีโลกทัศน์กว้างจะได้เปรียบ ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับเราเราต้องมอง Macro ไว้ก่อน

2. ต้องการให้นั่งฟังแล้วเกิดพลัง เกิดความรู้สึกและกระตุ้นความเป็นเลิศขึ้นมา สร้างแรงบันดาลใจ

3. กระตุ้นให้ทุกท่านค้นหาตัวเอง ถามว่าตัวเองเป็นผู้นำเพื่ออะไร ตอนนี้เราอยู่ตรงไหนของอาเซียนเสรี ค้นหาตัวเองว่าช่องว่างของอาเซียนเสรีอยู่ตรงไหน แล้วให้ช่องว่างลดลง

4. แสวงหาโอกาสใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้น เห็นอาเซียนเสรีแล้วอย่ากลัว ต้องคิดว่าเราจะต้องคิดยุทธศาสตร์ที่จะให้ชุมชนของเรามีส่วนร่วมกับการขยาย คุณได้เปรียบเพราะมีภูมิปัญญา รู้วัฒนธรรม แต่เสียเปรียบตรงที่ไม่รู้ว่าตลาดโลกต้องการอะไร สังเกตตัวอย่างของญี่ปุ่น OTOP ใช้เวลาเป็น 100 ปีกว่าจะสำเร็จ ภูมิปัญญาท้องถิ่นบางครั้งถูกนายทุนต่างชาติมาใช้ ดังนั้นจึงต้องเก็บวัฒนธรรมของชาติไว้แล้วแปลมาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องคิดที่จะให้การกระจายรายได้มาถึงคุณด้วย สิ่งสำคัญคือต้องให้คนของเรามีรายได้ สิ่งแรกสำคัญสุดคือต้องเพิ่มรายได้ อาเซียนต้องไม่มาลดรายได้

5. อย่าทำงานคนเดียว ขาดอะไรให้สร้างเครือข่าย อย่าคิดคนเดียว ท้องถิ่นต้องมีเพื่อนเป็นพันธมิตรมากขึ้นเรียกว่า Networking

6. ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นต้องมีปัจจัยทางลบแน่นอน เช่นหอม กระเทียม ขายสู้จีนไม่ได้ มีการหลั่งไหลของแรงงาน วัฒนธรรมที่ไม่พึงปรารถนา และโรคภัยไข้เจ็บทางชายแดน ถ้าเรารู้ปัจจัยทางลบคืออะไร เราต้องระมัดระวัง ภาษาเราอ่อนคือภาษาอังกฤษ แต่ที่สำคัญคือภาษาอาเซียนเราไม่รู้เช่นกัน ต่างกับที่ชาวต่างชาติเขารู้ภาษาเรา

7. มีการแบ่งกลุ่มเพื่อรับฟังความคิดเห็น และนำมาพัฒนาเพื่อเตรียมความพร้อมต่อไป

8. ทำให้ท่านเป็นผู้ถ่ายทอด แต่ไม่ใช่ถ่ายทอดแค่ไปสอน เราอาจแนะนำเขาด้วยให้เขาได้ประโยชน์จริง ๆ Training for Trainer ไม่ใช่ให้ความรู้อย่างเดียว หรือสอนอย่างเดียว บางครั้งต้องจัด Workshop ด้วย

…………………………………..

10ประเด็นที่ผู้นำท้องถิ่นต้องรู้จริงเพื่อก้าวไปกับอาเซียนเสรี “ฝึก Training for Trainers”

1. ใน10 ประเทศ ประเทศที่อยู่ทางใต้ของเราเป็นประเทศที่สูสีกับเรา หรือรวยกว่าเรา อย่างมาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน แต่ที่ยากจนคือลาว เขมร พม่า และอีกอย่างเป็นคอมมิวนิสต์มาก่อน เราชนะเศรษฐกิจ แต่ไม่ชนะวัฒนธรรม ถ้าทำธุรกิจเกี่ยวกับการค้าศึกษากฎหมายพวกนี้ให้ดี การค้า การลงทุนต้องรู้เขารู้เรา กฎระเบียบ Non Tariff Barrier เราต้องเน้นเรื่องมาตรฐานสินค้าให้ดี ท้องถิ่นต้องมีคนรู้กฎระเบียบมาตรฐานการค้าให้ดี ต้องให้ท้องถิ่นรู้เรื่องอาเซียนเสรีอย่างจริงจัง และเรื่องภาษาอาเซียน ตลาดเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 590 ล้านคน

- เรามีความหลากหลาย

- เรามีความเหลื่อมล้ำ อย่างสิงคโปร์ เราแพ้ด้านเศรษฐกิจ แต่ชนะด้านวัฒนธรรม แสดงว่าสูสีกัน

- เราต้องสนใจและศึกษาประวัติศาสตร์ของประเทศอาเซียนด้วย

2. ข้อตกลงร่วมมือในอาเซียนเสรี มี 3 สาขาใหญ่คือ ประเทศไทยต้องทำทั้ง 3 อย่าง เพราะมีทั้งโอกาสและการคุกคาม เป็นประโยชน์และเชื่อมโยงกันแต่ในสาขาที่ 2 มีการคุกคามเยอะหน่อย

- เศรษฐกิจ การค้า การลงทุน

- สังคมและวัฒนธรรม

- ความมั่นคงทางการเมือง

• สิ่งแรกที่ต้องระวังคือการเคลื่อนย้ายแรงงาน ถ้าเปิดเสรีก็หมายถึงมีการเคลื่อนย้ายแรงงานมากกว่าเดิม มีแรงงานไร้ฝีมือเข้ามาในไทยมากกว่าเดิมหรือไม่ ถ้ามีโอกาสเราต้องดึงแรงงานที่มีฝีมือเข้ามาทำงานร่วมกับเรา ตัวอย่างพยาบาลของไทยทำงานในอาเซียนมากมาย ยกเว้นที่พูดภาษาอังกฤษไม่ได้

• มีมัคคุเทศก์จากต่างประเทศแข่งกับประเทศไทยมากขึ้น อยากให้ทราบว่าความมั่นคงทางการเมืองเกี่ยวกับการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นหลัก เช่น ระนอง สมุทรสงคราม สมุทรสาคร ในภาคใต้คนกรีดยางก็ไม่ใช่คนไทย จึงขอฝากให้คิดด้วย

3. ไทยต้องสนใจเรื่องเศรษฐกิจมากหน่อย แต่ไม่ละเลยภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของเรา

• เสรี แปลว่าสินค้าและบริการที่ตกลงกันแล้ว ต้องศึกษาให้ดีว่าตกลงในเรื่องใดบ้างจะไม่มีการกีดกันทางด้านภาษีศุลกากร ถึงไม่มีภาษีศุลกากรก็มีการกีดกันด้านอื่น เช่น สารพิษ สารเคมี ต่าง ๆ โรคต่าง ๆ ดังนั้นต้องศึกษาในเรื่องมาตรฐานของสินค้าเกษตรต้องมีสุขอนามัยได้รับการยอมรับสูงสุด เพราะเมื่อไรก็ตามผู้บริโภคทานแล้วท้องเสีย ฟ้องเราจะเสร็จเลย มีการลดภาษีศุลกากรใกล้ 0 แต่มีการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีมากขึ้น ยังมีเรื่องสุขอนามัย ฯลฯ เราต้องมีการป้องกันไม่ให้เขาเข้ามามากเกินไป ตัวอย่างเช่นสินค้าเกษตร การแปรรูปสินค้าเกษตร อัญมณี สมุนไพร ฯลฯ จึงอยากให้โลกทัศน์เปิดกว้างตลอดเวลา อะไรที่รู้จริงให้เก็บไว้ อะไรรู้ไม่จริงก็ถาม

• ในขณะเดียวกันถ้าประเทศอื่นในอาเซียนเก่งกว่าประเทศเรา เขาก็มาแย่งงานเราได้ ถ้าท้องถิ่นอ่อนแอ ธุรกิจที่เราเคยมีอยู่ ก็อยู่ไม่ได้

• เปิดโอกาสให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานข้ามประเทศ

• นอกจากอาเซียนแล้ว เรายังไปเซ็นสัญญากับอีก 6 ประเทศ (จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) เซ็นสัญญาที่เป็นพันธมิตรกัน มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดมากขึ้น มีตลาดเพิ่มขึ้นเป็นเท่าไหร่ ?

4. เมื่อท่านเห็นภาพดังกล่าว วิเคราะห์ว่ามีอะไรเกิดขึ้น สิ่งสำคัญที่สุดคือการค้นหาตัวท่าน

• ถ้าผู้นำรู้จะมีโอกาสฉกฉวยให้เกิดประโยชน์จริง ๆ ขอให้นำไปปฏิบัติจริง คนหอกาค้าฯ สภาอุตฯ มีพื้นฐานอยู่แล้ว

• ต้องคิดวิเคราะห์ให้เป็นว่ามีอะไรเกิดขึ้น ข้อเสียของคนไทยคือชอบตาม ไม่ค่อยคิดว่า โอกาสและการคุกคามคืออะไร เพิ่มโอกาส หลีกเลี่ยงการคุกคามที่มีความเสี่ยงให้ได้

• ที่สำคัญที่สุดในวันนี้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น ขอให้มั่นใจตัวเองว่าเราจะอยู่รอด ย้อนกลับไปถึงความเป็นประเทศของไทย อย่าคิดว่า ลบมากกว่าบวก ในอาเซียนการแข่งขันบวกความร่วมมือด้วย ดังนั้นการร่วมมือกันเท่ากับการแข่งขัน มี Competition + Collaboration ท้องถิ่นทำงานร่วมกับอาเซียนไม่ใช่แข่งขันอย่างเดียว ชุมชนต้องการเด็กไปเรียนที่อินโดฯ เวียดนาม ฟิลิปปินส์แล้ว ประเทศอ่อนแอด้านเศรษฐกิจมากกว่าเราไม่ใช่ว่าเขาร่วมมือกับเราไม่ได้ เราต้องเรียนรู้การลดคอรัปชั่นกับประเทศเหล่านั้นให้ได้ ไม่ใช่เฉพาะการค้า การลงทุน

• วิชาสำคัญที่สุดคือ รู้เขา รู้เรา และวิชาเจรจาต่อรอง ต้องมีจังหวะการเข้าการออกที่ดี ต้องแน่ใจว่าเรารู้สิ่งที่ควรจะได้หรือที่เรียกว่า Win-Win เราไม่ต้องไปทำให้เขาได้มากกว่าเราในทุกเรื่อง

• การท่องเที่ยว อาเซียนเสรี คนไทยได้อะไรจริง ๆ

• อาเซียนเสรี มีโครงการช่วยท้องถิ่น การกระจายรายได้ทำให้มีฐานะดีขึ้น

5. การปรับตัวของผู้นำท้องถิ่น ต้องมีเรื่อง

- การเข้าใจและศึกษาให้ถ่องแท้ ว่าอาเซียนเสรีคืออะไรแน่ ต่อไปนี้จะทำงานร่วมกับ 10 ประเทศ มีการเคลื่อนย้ายประชากร เคลื่อนย้ายทุน ผู้นำในห้องนี้ต้องเป็นคนมีวิสัยทัศน์กว้างไกล เป็นผู้ใฝ่รู้

- เมื่อมีโอกาส จุดแข็งของท่านคืออะไร เอาจุดแข็งให้เกิดการปฏิบัติที่เป็นจริงให้ได้ ต้องหาโมเดลคล้ายกาฬสินธุ์ขึ้นมาแล้วรวมตัวกัน จะต้องฉกฉวยให้ได้ ยกตัวอย่างที่เก่งมา 2-3 เรื่อง ตลาดกว้างขึ้น เปลี่ยนจาก 66 ล้านคนมาเป็น 590 ล้านคน คือโอกาสมหาศาล โดยเฉพาะอาเซียน + 6 ยิ่งมหาศาล

- ถ้ามีสินค้าบริการแล้วต้องทำให้สินค้าบริการมีคุณภาพสูงขึ้น การบรรจุหีบห่อ การซื้อผ่านอินเตอร์เน็ต ถ้าขาดการบริหารจัดการใหม่ กระทรวงพาณิชย์ต้องลงมาช่วย

- ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับสินค้าโอทอปต้องไปบวกกับการจัดการสมัยใหม่ ทั้งการบรรจุหีบห่อ และการเข้าใจลูกค้าในต่างประเทศ

- สินค้ามีความต้องการในตลาดโลกอยู่แล้ว แต่ยังหาไม่เจอว่าสินค้าอยู่ที่ไหน ไม่ใช่เปิดเสรีแล้วจะรวยทันที

6. การปรับตัวที่สำคัญที่สุดคือปรับทัศนคติ ต่อไปนี้ประเทศไทยไม่เหมือนเดิมอีกแล้วเพราะเราอยู่คนเดียวไม่ได้ เราต้องอยู่ในสังคมอาเซียน ต้องอยู่ร่วมกัน แต่ต้องเป็น 1 คอมมิวนิตี้ การปรับตัวครั้งนี้ต้องกระจายความรู้ไปให้ชุมชนในแนวกว้าง อยู่ที่ท่านจะกระจายความรู้ไปอย่างไร สิ่งสำคัญที่สุดคือคงความเป็นไทยไว้ คงความเป็นท้องถิ่นไว้ ต้องรักษาภูมิปัญญาของเราไว้ได้ อย่าให้ภูมิปัญญาภาคเหนือถูกวัฒนธรรมตะวันตกครอบงำ ต้องมีความสามารถให้เยาวชนตัดสินได้ว่าสิ่งที่เข้ามาทางเทคโนโลยีสารสนเทศ เราต้องรักษาความเป็นไทยไว้ และนั่นคือเงิน ต้องทำการเกษตร ต้องทำการท่องเที่ยว ภูมิปัญญาท้องถิ่น และสมุนไพรที่มีคุณภาพ คนถึงซื้อจากเรา แต่ถ้าเราเก่งเรื่องรถยนต์อีกไม่นานก็เจ้งเพราะเราไม่มีภูมิปัญญาที่แท้จริง

7. ต้องพัฒนา “คนไทย” ให้ “สื่อสาร” ภาษาอังกฤษ+ภาษาอาเซียนได้อยากให้โรงเรียนท้องถิ่นมีการสอนวัฒนธรรมท้องถิ่นและวัฒนธรรมอาเซียน เน้นเรื่องการรู้เขารู้เรา มีสอนภาษาอาเซียน

8. การให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ ใฝ่รู้ เสนอให้มีคนดูแลอาเซียนพิเศษในระดับท้องถิ่น มีการสอนภาษาอาเซียนทุกอำเภอในจังหวัดโคราช

9. การพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์หรือทุนมนุษย์ ให้ดูว่าตัวท่านมีคุณสมบัติเหล่านี้หรือไม่ แล้วจะถ่ายทอดให้ท้องถิ่นได้อย่างไร K มาจาก ทุนคือ Capital

8K’s

Human Capital ทุนมนุษย์

Intellectual Capital ทุนทางปัญญา

Ethical Capital ทุนทางจริยธรรม

Happiness Capital ทุนแห่งความสุข

Social Capital ทุนทางสังคม

Sustainability Capital ทุนแห่งความยั่งยืน

Digital Capital ทุนทาง IT

Talented Capital ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

5K’s

Creativity Capital ทุนแห่งการสร้างสรรค์

Knowledge Capital ทุนทางความรู้

Innovation Capital ทุนทางนวัตกรรม

Emotional Capital ทุนทางอารมณ์

Cultural Capital ทุนทางวัฒนธรรม

• ทุนมนุษย์ สิ่งแรกคือหัวใจ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ 2-8 คือทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพ ต้องมีการลงทุน มีวิธีการเรียนรู้

• ทุนปัญญาหมายถึงคิดเป็น วิเคราะห์เป็น

• ทุนจริยธรรม เป็นคนดี มีเหตุมีผล ทำอะไรจริง ซื่อตรง ทำเพื่อส่วนรวม

• ทำงานอย่างมีความสุข

• ลองสังเกตเครือข่ายในอบต. อบจ. Network ระดับประเทศ

• ให้สิ่งที่ทำในวันนี้เป็นประโยชน์ระยะยาว

• ถ้าเราเก่งจริง ต้องมี 3 อย่างพร้อมกันคือทักษะ ความรู้ ทัศนคติ ในอาเซียนเสรีทัศนคติที่สำคัญคือความมั่นใจในตัวเอง เน้นการอยู่ร่วมกัน แล้วคิดบวก บางครั้งอาจมีการสร้างกระแสอาเซียนเสรีว่าเราสามารถสู้ได้

• วัฒนธรรมมาจากประวัติศาสตร์ วิถีชีวิตของเรา

• ทุนทางอารมณ์ต้องดี ควบคุมให้ได้

• มีความคิดสร้างสรรค์ แล้วต้องนำไปร่วมกับความรู้ แล้วเอาความรู้ใหม่ ๆ ความคิดสร้างสรรค์ทให้สำเร็จ ปรุงใหม่ แต่งใหม่ บรรจุภัณฑ์ใหม่

10. ต้องบริหารความเสี่ยงให้เป็น โดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

• เดินสายกลาง มีความพอประมาณ มีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกันที่ดี มีคุณธรรม มีความรู้

• รู้จริง อยู่กับความจริง อยู่ภายใต้ความสามารถที่จะจัดการได้ เช่นมีวรรณเกษตร สามารถจัดการเอง และเก็บกินเองได้

สรุป

• แนวคิด 10 ประเด็นเป็นเครื่องมือ หรือเบ็ดตกปลาที่จะจัดการกับอาเซียนเสรี ซึ่งเริ่มขึ้นจากตัวท่านเองในฐานะที่เป็นผู้นำ

• หนทางที่เดินมีอุปสรรคและขรุขระบ้าง ดังนั้นต้องฝึกไปเรื่อย ๆ อย่าคิดว่าฟังแล้ววันนี้เก่งทันที่ ต้องรู้ให้จริง

• ผู้นำในห้องต้องหวังดี ร่วมกันทำ ใกล้ชิดกับประชาชน แล้วท้องถิ่นจะก้าวไปข้างหน้า สู่อาเซียนเสรีได้อย่างเข้มแข็ง มีกรมเจรจาการค้า กรมการปกครองท้องถิ่น แล้ว ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ แล้วท่าน ร่วมกัน

สุดท้าย .. เสนอแนะวิธีการถ่ายทอดไปให้ประชาชนท้องถิ่น 6 ประเด็น

1.เตรียมการพูดและหัวข้อให้ดี รู้ให้จริงก่อน ถ่ายทอดให้ได้ ให้เขาคิดแล้วเอาไปทำ

2. เน้นว่าประชาคมอาเซียนคืออะไร มี 3 แท่งคือ เศรษฐกิจ การค้าการลงทุน, สังคมวัฒนธรรม ,ความมั่นคงทางการเมือง

3. สำคัญต่อท้องถิ่นอย่างไร

4. โอกาสคืออะไร ความเสี่ยงคืออะไร มีโอกาสแล้วนำไปปฏิบัติเป็นรูปธรรมให้ได้ มีทุนมนุษย์และมีการบริหารจัดการที่ดี นักรัฐศาสตร์ที่ดีคือรู้เรื่องการบริหารจัดการได้

5. วิธีการนำเสนอใช้ 2 R’s คือเน้นความจริง บริบทของท้องถิ่นคืออะไร และตรงประเด็นกับเขา ประเด็นที่สำคัญต่อชาวบ้านคืออะไร

6. การสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ เน้นวิธีการเรียนรู้แบบ 4L’s 1.มีการกระตุ้นให้คิด 2.สร้างบรรยากาศให้การเรียนสนุก 3.เปิดโอกาสให้เขาได้แสดงความคิดเห็น มีการปะทะกันทางปัญญา กระตุ้นให้ใฝ่รู้ 4.เขาต้องเป็นคนใฝ่รู้ โดยเริ่มจากตัวท่านก่อน เกิดวัฒนธรรมการเรียนรู้ สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ เมื่อคุณไม่อยู่แล้วชาวบ้านต้องหารือกัน ถกเถียงกัน อบต.ที่เทศบาลต้องเต็มไปด้วยปัญญา

• ความเป็นเลิศจริง ๆ พื้นฐานอยู่ที่ท้องถิ่น

Workshop

ให้เวลา 2 นาที คุยกับคนในโต๊ะสรุปในช่วงเช้าสิ่งที่ได้ฟังจากอาจารย์จีระ

จังหวัดตรัง

• ในวันนี้นับเป็นนวัตกรรมอีกด้านหนึ่งของท้องถิ่นที่ผ่านมาดูในเรื่องความจำเป็น และปัจจัยพื้นฐานส่วนใหญ่ ในวันนี้ถ้าดูจากหนังสือที่เชิญไปให้กับท้องถิ่น จริง ๆ มี 300 กว่าคน แต่คนเข้าร่วมไม่ถึงครึ่งเป็นความล้มเหลวข้างต้น

• ณ วันนี้ ทางกรม กระทรวงฯ ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มากน้อยแค่ไหน ในระดับจังหวัดไม่มีการพูดถึงเรื่องนี้เลย แต่ถ้าคิดให้ถึงความยั่งยืน ทางกระทรวงฯ ต้องมองที่คน เรื่องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มีหรือไม่ในคนของเรา ความเป็นอยู่ของแต่ละภาคไม่เหมือนกัน วิถีชีวิต ชุมชน การค้า การดำเนินการต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน มีท้องถิ่นเข้าไปร่วมกับเขาหรือไม่ การไปดูงานต่างประเทศที่ผ่านมา ไม่ได้คุยถึงเรื่องนี้โดยตรง ไปเที่ยวมากกว่า

• ยินดีสำหรับการเริ่มต้นก้าวแรกสู่การพัฒนาเข้าอาเซียนเสรี อยากให้ท้องถิ่นนำรายละเอียดไปใช้ทุกองค์กร กำหนดกรอบปฏิบัติขึ้นมา

จังหวัดบึงกาฬ

• เป็นโอกาสที่ดีที่ได้มาฟังสิ่งเหล่านี้ เพราะว่าอย่างบึงกาฬจังหวัดใหม่เป็นจังหวัดชายแดนใกล้ประเทศเพื่อนบ้านเป็นจุดยุทธศาสตร์หลายอย่าง ทั้งด้านเศรษฐกิจ การค้า ซึ่งเป็นศักยภาพที่เหนือกว่าประเทศกลางทะเลเช่นฟิลิปปินส์ และอีกอย่างจีนจะทำรถไฟความเร็วสูงมาบ้านเรา จะผ่านหนองคายรูปแบบไหน จึงจำเป็นที่ผู้บริหารท้องถิ่นดูเรื่องนี้ เนื่องจากเป็นพื้นดินที่ติดกับลาว และไทย อีก 4 ปีข้างหน้าในการเข้าอาเซียนเสรีนั้นไม่นาน จึงควรให้คนท้องถิ่นตื่นตัวมากกว่านี้ และเริ่มทำเรื่องนี้มากขึ้น สังเกตได้จากแรงงานจากต่างชาติเข้ามาแล้ว เช่นการกรีดยาง ทำนา เกี่ยวข้าว ซึ่งคนไทยไม่ทำ

• เราจะไปเรียนรู้ภาษาอาเซียนอย่างไร คนลาวเวียงจันทร์ พูดภาษากลางได้ดีมาก ภาษาฝรั่งเศสเก่งมาก เขมร เวียดนาม ก็เก่งภาษามากเช่นกัน

• ดร.จีระเสนอว่า ถ้ามีอบจ. อบต. เทศบาล ทำเรื่องการเรียนภาษาอาเซียนก็อาจทำร่วมกัน ภาษาจีนก็สำคัญเนื่องจากติดกับเรา

คุณภัทรชัย

• 3 C

• C1 - Customer คนไทย 66 ล้านคน ถ้ารวมอาเซียน 590 ล้านคน ขณะนี้มี + 3+6+8 ประมาณ 3,000 ล้านคน ครึ่งหนึ่งประชากรโลก ลูกค้าเป็นสิ่งที่ถูกเสมอ วันใดขาดลูกค้าวันนั้นรู้สึก

• C2 – Change การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจ การค้า ซึ่งเป็นบริบทของกระทรวงพาณิชย์ เรื่องที่สอง สังคม วัฒนธรรม เป็นเรื่องข้ามชาติ มีทั้งพึงปรารถนาและไม่พึงปรารถนา เรื่องที่สามเรื่องเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง โดยเฉพาะเรื่องอพยพแรงงาน ต้องปรับจุด ใส่ไฟ ใส่เชื้อ เพิ่มเติม

• C3- Competition & Collaboration ผู้นำในอาเซียนอันดับหนึ่งคือสิงคโปร์ และเป็นที่สามของโลก ที่สองคือฮ่องกง ที่หนึ่งคือสหรัฐฯอเมริกา ไทยอยู่อันดับที่ 27

• แนวทางการพัฒนาประเทศไทยเพื่อแข่งขันกับนานาประเทศด้วยการเทียบเคียง มีเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง , เรื่อง PMQA แต่อปท.ยังไม่ได้ขับเคลื่อน ดังนั้นจึงอยู่ที่ผู้นำ

• สิ่งหนึ่งที่น่าเป็นห่วงมากคือ ติดกระดุมผิด ปวดหัว สับสน และ Paperwork ไม่ดีมาก

• เรื่องภาษาเป็นเรื่องความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้, เรื่องแนวทางการพัฒนาปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ ถวายในหลวงฯ ,รูปแบบการพัฒนากองทุนหมู่บ้านอย่างยั่งยืนเทียบเคียงกับสากล

• ทรัพยากรสำคัญได้แก่ทรัพยากรมนุษย์ มีหลักสูตรเรียนฟรี เรื่อง..ผู้ประกอบการสังคม Social Entrepreneur

Workshop

1. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร? เสนอวิธีการพัฒนาจุดอ่อนที่เป็นไปได้

2. เสนอจุดแข็งของท้องถิ่นมา 2 เรื่อง ในการที่จะแข่งขันและร่วมมือกับประชาคมอาเซียน และเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาจุดอ่อน 2 วิธี

3. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ควรทำอย่างไร(3 ข้อ) และความสำเร็จคืออะไร

4. ถ้าต้องการจะเพิ่มความรู้เรื่องประชาคมอาเซียนในทางลึก เสนอมา 3 เรื่องมีอะไรบ้าง

5. ถ้าจะทำวิจัยต่อ เสนอหัวข้อวิจัยมา 3 เรื่อง

จังหวัดตรัง กระบี่ ภูเก็ต

1. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร? เสนอวิธีการพัฒนาจุดอ่อนที่เป็นไปได้

จุดแข็ง

1. คนมีความรู้ คนใต้ชอบเรียนหนังสือ แต่ขาดความกระตือรือล้น ขาดความคิดสร้างสรรค์ ขาดนวัตกรรม

2. ทุนทางปัญญา มีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่น่าเอามาเป็นตัวอย่างเป็นสื่อให้กับสังคม แต่ขาดการสนับสนุน ขาดการดูแล

• ดร.จีระ บอกว่า เมื่อไรก็ตามผู้นำชุมชนสนใจเรื่องความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ก็จะทำให้แข่งขันคนอื่นได้

• ต้องไปบวกกับการสนับสนุนจากรัฐบาล การบรรจุหีบห่อ ถ้าท้องถิ่นพร้อม เราก็ช่วยกันใช้หลักสูตรกระตุ้นให้กระทรวงพาณิชย์สร้างศักยภาพ คิดที่จะมีตลาดโลก ตลาดอาเซียนเพิ่มขึ้น

2. เสนอจุดแข็งของท้องถิ่นมา 2 เรื่อง ในการที่จะแข่งขันและร่วมมือกับประชาคมอาเซียน และเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาจุดอ่อน 2 วิธี

• จุดแข็ง คือความได้เปรียบในภูมิประเทศคืออันดามัน ที่เป็นรายได้ให้กับท้องถิ่นชุมชน คือการท่องเที่ยว สิ่งที่รองรับการท่องเที่ยวคือ ไกด์ ต้องสร้างคนขึ้นมาให้เป็นจุดเด่น

• เรื่องสิ่งแวดล้อม ความเป็นพื้นที่สีเขียวทางใต้ มีความสมบูรณ์ เรียกว่าเป็น Green Tourism พัฒนาทุกอย่างให้เป็นสีเขียวหมดเลย

• จุดอ่อน คือเรื่องความปลอดภัยในเรื่องภาคใต้ ทำให้ชาวต่างชาติไม่เข้าใจเรื่องการมีความรุนแรง การมีสามัญสำนึกในชุมชน เพื่อทำให้เป็นเมืองที่สะอาดจะได้เป็นการท่องเที่ยวที่สมบูรณ์แบบ

ดร.จีระ บอกว่าเราขาดมืออาชีพหรือการแนะนำการท่องเที่ยวที่เรียกว่าไกด์

3. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ควรทำอย่างไร(3 ข้อ) และความสำเร็จคืออะไร

ในชุมชนมีคน 100 คน เอาคนมาพูดมาฟัง มาเข้าใจในคราวเดียวกัน ให้ชุมชนเดินไปในทิศทางเดียวกัน มีเป้าหมายเดียวกัน เพื่อความเป็นหนึ่ง

ดร.จีระ บอกว่าให้เน้นการสร้างสังคมการเรียนรู้ เปิดโอกาสให้เขาเรียนรู้ ให้เขาโต้ตอบ ใครก็ตามเป็นลูกศิษย์ของคุณเปิดโอกาสให้เขามีส่วนร่วม

4. ถ้าต้องการจะเพิ่มความรู้เรื่องประชาคมอาเซียนในทางลึก เสนอมา 3 เรื่องมีอะไรบ้าง

เรื่องการเข้าสู่อาเซียน โดยเฉพาะความรู้ทางด้านกฎหมายของประเทศอื่น ทุกคนต้องให้ความรู้ด้านนี้กับชุมชน กับองค์กร

5. ถ้าจะทำวิจัยต่อ เสนอหัวข้อวิจัยมา 3 เรื่อง

เอาจุดเด่นของแต่ละพื้นที่มาทำวิจัยให้เป็นสากล

• ดร.จีระ บอกว่าสอดคล้องกับกลุ่มที่แล้วที่นครราชสีมาที่มีทรัพยากรมากมายแต่อยากให้เอางานเหล่านี้ไปสร้างกระบวนการเกิดมูลค่าเพิ่ม จังหวัดกระบี่ หรือภูเก็ตก็ต้องมาศึกษากระบวนการทั้งหมด อยากให้ทำวิจัยเรื่องห่วงโซ่อุปทาน เริ่มที่ตรงนี้แล้วไปจบที่มูลค่าเพิ่ม อย่าหยุดแค่นี้

จังหวัดชัยภูมิ มหาสารคาม

1. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร? เสนอวิธีการพัฒนาจุดอ่อนที่เป็นไปได้

จุดอ่อน

1. ทุนทางนวัตกรรมยังขาดเทคนิคใหม่ ๆ ในการพัฒนาสินค้า

2. มีความคิดสร้างสรรค์แต่ขาดผู้สนับสนุนและทุนในการต่อยอด

ดร.จีระ บอกว่า นวัตกรรมไม่ได้มีแค่สินค้าบริการอาจเกี่ยวกับการให้บริการ บริหารจัดการ การเงิน การตลาด การดูแลสิ่งแวดล้อม อยากให้ก.พาณิชย์ทำนวัตกรรมเกี่ยวกับอาเซียนเสรีในสินค้าท้องถิ่น

จุดแข็ง

1. ทุนในท้องถิ่นมีความพร้อมที่จะรับสภาพการเปลี่ยนแปลง มีภูมิปัญญาท้องถิ่นเพิ่มมูลค่าสินค้าได้

2. ทุนทางวัฒนธรรมคนในท้องถิ่นมีความภูมิใจในความเป็นอยู่ของตนเอง

2. เสนอจุดแข็งของท้องถิ่นมา 2 เรื่อง ในการที่จะแข่งขันและร่วมมือกับประชาคมอาเซียน และเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาจุดอ่อน 2 วิธี

จุดแข็ง

• เรื่องวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ มากมายทางการเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัด

• การบริการการส่งเสริมการท่องเที่ยว การจัดงานประเพณี ศิลปะ สามารถเป็นจุดขายการท่องเที่ยวได้

• เกษตรมีสินค้าเกษตรของชัยภูมิที่สำคัญคือพริก เป็นพริกที่มีคุณภาพที่ดี มีการส่งออกอยู่แล้ว และมีการนำนวัตกรรมซึ่งทาง ม.ขอนแก่นดำเนินการใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาแปลรูป เดิมพริกแห้งตากแดดธรรมดา ก็นำพลังแสงอาทิตย์มาอบทำให้คุณภาพดีขึ้นแล้วปลอดจากเชื้อรา

จุดอ่อน

• คือการดำเนินการต่าง ๆ ยังขาดการมีส่วนร่วมต้องให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วม

3. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ควรทำอย่างไร(3 ข้อ) และความสำเร็จคืออะไร

• ควรจัดอบรมให้ความรู้กับผู้นำในทุกระดับ และนำเอาความรู้ไปถ่ายทอดกับคนในท้องถิ่นของเราเพื่อให้เตรียมพร้อมกับการเข้าสู่ AEC และให้มีบุคลากรรับผิดชอบด้านนี้โดยตรง มีการสร้าง Network ของบุคลากร การศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศ ขององค์กรที่ประสบความสำเร็จเพื่อการพัฒนาอย่างเช่น ภายในประเทศดูองค์กรที่ทำแล้วเป็นแบบอย่างได้ การศึกษาดูงานในประเทศอาเซียนเช่นในเวียดนามเราไปเรียนรู้เรื่องการศึกษา อีกอย่างการจัดการศึกษาของเวียดนามที่เตรียมความพร้อมใน AEC คือการเรียนรู้ภาษาไทยในโรงเรียนของเขา แต่ประเทศไทยไม่ได้เตรียมความพร้อมทางด้านนี้เลย ประเด็นที่น่าสนใจคือเรื่องภาษา น่าจะไปเรียนรู้ไปศึกษาว่าเขาทำอย่างไร

• ดร.จีระ เสนอว่าให้กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ดีว่าจะพัฒนาข้าราชการก่อน หรือชุมชนก่อน ถ้าเราทำให้เขาเข้มแข็ง เราก็ช่วยเขาได้เยอะ ถ้าพัฒนาชุมชนเราต้องดูว่าจะพัฒนาธุรกิจส่วนไหน อุตสาหกรรมส่วนไหน

• ถ้าไม่มีอาเซียนเสรีก็ไม่มีแรงผลักทั้งด้านการศึกษา ภาษา ในระยะยาวถ้าเราไม่พัฒนาคนก็จะยาก เราควรให้ความสนใจในเรื่องนี้มากขึ้น

4. ถ้าต้องการจะเพิ่มความรู้เรื่องประชาคมอาเซียนในทางลึก เสนอมา 3 เรื่องมีอะไรบ้าง

1. การนำชุมชนหรือหมู่บ้านในชุมชนวิเคราะห์ตนเองถึงจุดแข็ง จุดอ่อนเพื่อสร้างโอกาสทางการค้า

2. การอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับอาเซียน

3. ศึกษาดูงานเกี่ยวกับอาเซียน และภาษาอาเซียน

5. ถ้าจะทำวิจัยต่อ เสนอหัวข้อวิจัยมา 3 เรื่อง

1. ศึกษาดูงานองค์กรที่ประสบความสำเร็จ

2. สำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับกลุ่มอาเซียน

• ดร.จีระ เสนอให้ทำ Survey ในระดับท้องถิ่นทั่วประเทศ พบว่าอาเซียนส่วนมากยังไม่เข้าใจประเทศไทยอยู่ในอันดับ 7 ของประเทศที่รู้เรื่องอาเซียนอย่างดี

จังหวัดยะลา นราธิวาส ปัตตานี

1. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร? เสนอวิธีการพัฒนาจุดอ่อนที่เป็นไปได้

จุดอ่อน

• ทุนทางปัญญา ทุนมนุษย์ ทุนแห่งความสุข ทุนทางสังคม ทุนแห่งความยั่งยืน ทุนทาง IT ทุนทางความรู้ ทักษะ ทัศนคติ

จุดแข็ง

• ทุนทางอารมณ์ ถ้าไม่มีอารมณ์ที่ดีอยู่ใน 3 จังหวัดไม่ได้

• ทุนทางวัฒนธรรมใน 3 จังหวัดเหนียวแน่นมาก เพราะมีชาวไทยมุสลิมอยู่ตรงนั้น เป็นวัฒนธรรมความหลากหลายของศาสนา สามารถผสมผสานกับพุทธศาสนาได้ ถ้าอยู่ร่วมกันจะอยู่อย่างมีความสุขมาก

• ดร.จีระ เสนอว่า ตอนอยู่ UNESCO มีวิชา Peace Education เสนอโอกาสการอยู่ร่วมกัน แต่ตอนนี้คงไม่สามารถเสนอได้แล้ว ถ้าเรามีอาเซียนเสรีเราน่าจะใช้โอกาสนี้พลิกประเทศของเรา 1 community ชุมชนเดียวต้องเป็นชุมชนเดียวกัน ใช้โอกาสสร้างสันติภาพ เรื่องอาเซียนเสรีจะคุ้ม

2. เสนอจุดแข็งของท้องถิ่นมา 2 เรื่อง ในการที่จะแข่งขันและร่วมมือกับประชาคมอาเซียน และเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาจุดอ่อน 2 วิธี

จุดแข็ง

• จารีตประเพณี ศาสนา คือมีจารีตประเพณี เป็นเพื่อนบ้านกับมาเลเซีย ชายแดนติดต่อการ สินค้าค้าขายกันแยกไม่ออก วัฒนธรรมใกล้เคียงกันแยกไม่ออก ศาสนาสามารถกลืนกับมาเลเซียได้อย่างดี

• ส่งลูกหลานไปเรียนทางด้านภาษาที่ กัวลาลัมเปอร์ และปีนัง

• การค้าขายมีการแลกเปลี่ยนสินค้ากันอย่างน้ำมันเราแพงเราก็เอาของมาเลเซียมาใช้

• ธรรมชาติสวยงาม

ดร.จีระ บอกว่า เกษตร อุตฯ บริการ การศึกษา ควรมีการพัฒนามากขึ้น เป็นไปได้หรือไม่ที่ส่งลองกองมาให้เรา

จุดอ่อน

• เรื่องการศึกษา บุคลากรที่มีความรู้ไม่มีใครอยากทำงานที่นั่น เลิกเรียน 3 โมงครึ่งก็จะกลับบ้าน คืออยากให้มีการสนับสนุนส่งเสริมการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบแล้วกระจายสู่ท้องถิ่น ให้มีความเท่าเทียมกัน สร้างภาคีเครือข่าย และให้ความรู้เขาในเชิงลึก

• ดร.จีระ เสนอการใช้ E-learning ในการสอน

3. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ควรทำอย่างไร(3 ข้อ) และความสำเร็จคืออะไร

• จัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้อาเซียนในเชิงลึกให้กับประชาชน ผู้นำและทุกองค์กรในพื้นที่

• มีการทัศนศึกษาและดูงานที่เป็นต้นแบบและนำร่องทั้งภายในและต่างประเทศ

• จัดให้มีกลุ่มวิทยากรแกนนำอาเซียนทั้งแนวสั้นและแนวลึก

ดร.จีระ เสนอการใช้ E-learning ในการสอน และมีเอกสาร

แนะนำให้ไปศึกษาดูงานที่มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

4. ถ้าต้องการจะเพิ่มความรู้เรื่องประชาคมอาเซียนในทางลึก เสนอมา 3 เรื่องมีอะไรบ้าง

ศึกษากฎระเบียบต่าง ๆ Non Tariff Barrier นอกจากเรื่องภาษีศุลกากร เช่นเรื่องสุขอนามัย

5. ถ้าจะทำวิจัยต่อ เสนอหัวข้อวิจัยมา 3 เรื่อง

• ไทยได้ไทยเสียจากการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

• วิถีชีวิตชุมชนกับการเปลี่ยนแปลงสู่สมาคมอาเซียน

• บุคคลที่ไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงจากสมาคมอาเซียนจะมีการดำรงชีวิตอย่างไร

กลุ่มจังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา

จังหวัด สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา

1. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร? เสนอวิธีการพัฒนาจุดอ่อนที่เป็นไปได้

จุดแข็ง

1.ผู้นำมีการยอมรับจากประชาชนส่วนใหญ่

2.วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีเหมือนกัน หรือคล้ายคลึงกันมาก

3.มีความสนิทสนม หรือการปฏิสัมพันธ์กันเสมือนญาติหรือพี่น้อง

4.มีรายได้ค่อนข้างดี

จุดอ่อน

1.การรวมกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมร่วมกันเกิดขึ้นได้ยาก หากเกิดขึ้นได้ก็ไม่ยั่งยืน

2.ขาดความกระตือรือร้น ไม่ค่อยแสวงหาโอกาสในการประกอบอาชีพ

3.ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงในการดำเนินชีวิตในช่วงเวลาอันรวดเร็ว

4.ขาดความรู้ในการใช้เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพ

5.ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีความรู้เรื่อง AEC

6.ประชาชนขาดความรู้ด้านภาษาอาเซียน,อังกฤษ

2. เสนอจุดแข็งของท้องถิ่นมา 2 เรื่อง ในการที่จะแข่งขันและร่วมมือกับประชาคมอาเซียน และเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาจุดอ่อน 2 วิธี

จุดแข็ง

1.มีวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียมประเพณีเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน

2.คนในชุมชน มีความสนิทสนมกัน มีปฏิสัมพันธ์เสมือนญาติพี่น้อง

วิธีการแก้ไขปัญหาจุดอ่อน

1.เพิ่มความรู้และจัดการศึกษาให้มีความาชำนาญด้านภาษาทั้งภาษาอังกฤษ และอาเซียน

2.ให้ความรู้ในการใช้ IT เพื่อการสื่อสารให้เกิดประโยชน์สูงสุด และก่อให้เกิดการยอมรับ การเปลี่ยนแปลง

3. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ควรทำอย่างไร(3 ข้อ) และความสำเร็จคืออะไร

1.จัดกิจกรรมเสริมความรู้ให้ประชาชนทุกวิธี เช่น จัดประชุมชี้แจง ประชาสัมพันธ์ทางแผ่นพับ เสียงตามสาย

2.จัดประชุมผู้นำเพื่อถ่ายทอดให้ประชาชนอีกทอดหนึ่ง

3.ศึกษาดูงานของชุมชนอื่นที่เข้มแข็ง และมีความพร้อม

4. ถ้าต้องการจะเพิ่มความรู้เรื่องประชาคมอาเซียนในทางลึก เสนอมา 3 เรื่องมีอะไรบ้าง

1. จัดทำชุมชนอาเซี่ยนจำลอง หรือชุมชนต้นแบบให้ประชาชนเห็นเป็นตัวอย่าง

2. เพิ่มความรู้ ให้วิเคราะห์ถึงการ “รู้เขา รู้เรา” เพื่อประโยชน์ในการเจรจา Win-Win

3. เพิ่มหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในระดับประถมศึกษา

5. ถ้าจะทำวิจัยต่อ เสนอหัวข้อวิจัยมา 3 เรื่อง

1. การบริหารจัดการเพื่อให้การผลิตที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน

2. การเพิ่มคุณภาพและปริมาณการผลิตสินค้าการเกษตร (ยางพารา,ปาล์มน้ำมัน) ให้สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านได้

3. ปัจจัยที่สามารถส่งเสริมการพัฒนาสู่สังคมอาเซียน

กลุ่มจังหวัดบึงกาฬ

จังหวัดบึงกาฬ

1. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร? เสนอวิธีการพัฒนาจุดอ่อนที่เป็นไปได้

จุดแข็ง

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

ทุนทางสังคมจังหวัดบึงกาฬอยู่ในจุดยุทธศาสตร์การพัฒนาการค้าชายแดน กับ สปป.ลาว เมืองปากชัน

2. เสนอจุดแข็งของท้องถิ่นมา 2 เรื่อง ในการที่จะแข่งขันและร่วมมือกับประชาคมอาเซียน และเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาจุดอ่อน 2 วิธี

จุดแข็ง

1. อยู่ใกล้เส้นทางพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จากจังหวัดบึงกาฬ (ด่านถาวร ด่านศุลกากรบึงกาฬ) ผ่านเมืองปากชัน ถึงท่าเรือน้ำลึกเมืองดานัง ประมาณ 250 กิโลเมตร

2. เป็นจุดพักสินค้าที่สำคัญเพื่อส่งออกไปยังประเทศลาว เวียดนาม และจีนตอนล่าง

จุดอ่อน

1.ขาดเส้นทางคมนาคมทางบก (สะพานข้ามแม่น้ำโขง)ที่เชื่อมต่อการเดินทางที่สะดวก

2.ประชาชนในพื้นที่ขาดความรู้เรื่องการใช้ภาษากับประเทศเพื่อนบ้าน ขาดทุนทางความรู้ ทักษะ

การแก้ไขปัญหา

1.รัฐบาลต้องให้การสนับสนุนการพัฒนาเส้นทางคมนาคมทางบก สร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงบริเวณจังหวัดบึงกาฬ เพื่อลดระยะเวลาการเดินทางการส่งออกสินค้าไปยังท่าเรือน้ำลึกเมืองดานัง ประเทศสังคมนิยมเวียดนาม เพื่อลดระยะเวลาและระยะทางการส่งออก สินค้าทุกชนิด

2.รัฐบาลจังหวัด อปท. ต้องให้ความสำคัญและกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อเพิ่มการแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านในทุกด้าน เช่น ด้านการศึกษา ประวัติศาสตร์ และภาษาของกลุ่มประเทศอาเซียน ด้านการส่งเสริมให้ความรู้ในการค้าชายแดน และการพัฒนาทางการค้า

3. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ควรทำอย่างไร(3 ข้อ) และความสำเร็จคืออะไร

1.หน่วยงานระดับท้องถิ่นจัดการศึกษาพิเศษแก่ประชาชนทุกวันให้เข้าถึง AEC และการเตรียมการรองรับการปรับตัวต่อ AEC

2.จัดการหลักสูตรทางด้านภาษาและการพัฒนาด้านการค้า การลงทุนเป็นหลักสูตรพิเศษในสถานศึกษาสังกัด อปท.

3.จัดการรวมกลุ่มและแบ่งงาน อปท.ในพื้นที่ในการจัดการศึกษา อปท.และด้านต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ร่วมกัน

4. ถ้าต้องการจะเพิ่มความรู้เรื่องประชาคมอาเซียนในทางลึก เสนอมา 3 เรื่องมีอะไรบ้าง

1.ให้การศึกษาเกี่ยวกับ AEC เป็นวิถีชีวิตโดยใช้หลักการ AEC คือวิถีชีวิต ทุกวัย ทุกเพศ

2.จัดให้มีบุคลากรสังกัด อปท. ในการให้ความรู้ AEC ในชุมชน

3. ให้ทุนการศึกษากับประชาชนในท้องถิ่นให้ไปศึกษาเรียนรู้กับประเทศในกลุ่ม AEC

5. ถ้าจะทำวิจัยต่อ เสนอหัวข้อวิจัยมา 3 เรื่อง

1.ภาษาที่ใช้ในการสื่อสารกับกลุ่มประชาคม AEC ที่สำคัญ

2. การปรับตัวของประชาชนต่อการเปลี่ยนแปลงสู่ AEC

3.การพัฒนาร่วมกันด้านเศรษฐกิจ การเมือง ในกลุ่ม AEC ที่มีผลต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาคม AEC ให้สามารถแข่งขันได้ในอนาคต

กลุ่มจังหวัดพังงา

จังหวัดพังงา

1. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร? เสนอวิธีการพัฒนาจุดอ่อนที่เป็นไปได้

จุดอ่อน

8K’s

1.ทุนทาง IT ความรู้ ความเข้าใจทาง IT ของท้องถิ่น ชุมชนท้องถิ่นมีน้อย ศักยภาพต่ำ

2.ทุนทางความรู้ ไม่มีผู้เชี่ยวชาญ ขาดแรงงานทักษะ (Skill Labor) ในท้องถิ่น

3.ทุนทางจริยธรรม ภาพลักษณ์ : การทุจริต คอรัปชั่น

5K’s

1.ทุนทางนวัตกรรม การคิดค้น การเข้าถึง โอกาสในการสร้างนวัตกรรมมีน้อย ขาดการจุดประกาย

2.ทุนทางความรู้ ยังมีคนในท้องถิ่นบางส่วนขาดโอกาสทางการศึกษา / ความรู้ในระดับด้อย ต่ำ

3.ทุนทางการสร้างสรรค์ ขาดแรงกระตุ้นในการมีการสร้างความคิดสร้างสรรค์ (Imagination greater than knowledge)

จุดแข็ง

8K’s

1.ทุนมนุษย์ คนมีความพร้อมในการเรียนรู้

2.ทุนทางสังคม ชุมชน สังคม ขนาดเล็ก มีโอกาสสูงในการพัฒนา พัฒนาง่าย Green Community

3.ทุนแห่งความสุข วัฒนธรรมแบบไทย เน้นความสุข สนุกสนาน

5K’s

1.ทุนทางวัฒนธรรม แต่ละท้องถิ่นมีวัฒนธรรม เอกลักษณ์ Way of life

วิธีพัฒนาจุดอ่อน

1.เพิ่มช่องทางการให้ความรู้

2.สร้างความเข้าใจ

3.Localization ท้องถิ่นภิวัตน์ : พัฒนาควบคู่ไปกับท้องถิ่น เศรษฐกิจพอเพียง : พัฒนาควบคู่กับธรรมาภิบาล

2. เสนอจุดแข็งของท้องถิ่นมา 2 เรื่อง ในการที่จะแข่งขันและร่วมมือกับประชาคมอาเซียน และเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาจุดอ่อน 2 วิธี

จุดแข็ง

1.ทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิประเทศ /ภูมิอากาศ ทางทะเล อันดามันเป็นที่ท่องเที่ยวทางทะเล ที่มีชื่อระดับโลกเช่น เกาะปันหยี

2.ครัวอันดามัน อาหารทะเล

3.Way of life : วิถีชีวิตความใกล้ชิดกับธรรมชาติ

จุดอ่อน

1.ตลาดไม่ชัดเจน ส่วนแบ่งทางการตลาดมีน้อย

2.ช่องทางการเผยแพร่ข่าวสารมีน้อย

วิธีแก้ไข

1. ควรทำการตลาดเพิ่ม ค้นหาเป้าหมายที่ชัดเจน

2. พัฒนา HR ความรู้ เทคนิค เช่นการบริการ ภาษา Service mind เพราะเป็นหัวใจหลักของการพัฒนาด้านอื่น ๆ

3. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ควรทำอย่างไร(3 ข้อ) และความสำเร็จคืออะไร

1.ถ่ายทอดแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ (LO)

ด้วยวิธี 1.ปากต่อปาก

2.ประชุมถ่ายทอดความรู้ในทุกเวทีที่มีโอกาส โดยนำเสนอใน

- ความสำคัญของอาเซียนเสรี

- ความหมาย ,ผลกระทบ,วิธีการปรับตัว

- ความเสี่ยง ,โอกาส

2.ใช้เทคนิคในการนำเสนอความรู้

3.บูรณาการถ่ายทอดความรู้แบบองค์รวม

1.เปิดโอกาสให้แลกเปลี่ยน

2.เน้นความต่อเนื่อง

3.ติดตามประเมินผล

ความสำเร็จคือ ประชาชน ชาวบ้านเข้าใจ ยอมรับกับการเปลี่ยนแปลงและสามารถปรับตัวให้เข้ากับอาเซียนเสรีได้ ทำให้สามารถอยู่รอด ปลอดภัย เข้าใจ มีความสุข

4. ถ้าต้องการจะเพิ่มความรู้เรื่องประชาคมอาเซียนในทางลึก เสนอมา 3 เรื่องมีอะไรบ้าง

1. Way of Life ของประชาคมอาเซียน – เพื่อรู้เท่าทัน

2. นวัตกรรม ของอาเซียนเสรีแต่ละประเทศ-เผยแพร่

3. ความถนัด/เชี่ยวชาญของประเทศในอาเซียน

การเพิ่มความรู้สู่ชุมชน

1. ต้องเพิ่มช่องการการรับรู้ ข้อมูล เกี่ยวกับอาเซียนเสรี เช่น หอกระจายข่าว หนังสือ ห้องสมุดท้องถิ่น

2. การศึกษาดูงาน : ประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับความรู้ด้านประชาคมอาเซียน

5. ถ้าจะทำวิจัยต่อ เสนอหัวข้อวิจัยมา 3 เรื่อง

1.บทบาทและผลกระทบอาเซียนเสรีต่อชุมชนท้องถิ่น

2.ท้องถิ่นภิวัตน์และการปรับตัวสู่อาเซียนเสรี

3.ท้องถิ่นและการแสวงหาความร่วมมือในเวทีอาเซียนเสรี

4.การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สู่เวทีอาเซียนเสรี

กลุ่มจังหวัดชุมพร

จังหวัดชุมพร

1. ในทฤษฎี 8K’s และ 5K’s จุดอ่อน จุดแข็งของท้องถิ่นคืออะไร? เสนอวิธีการพัฒนาจุดอ่อนที่เป็นไปได้

1.ทุนมนุษย์

จุดแข็ง-คนชุมพรยอมรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม (สามารถปรับเข้ากับสังคมได้ดี) , เป็นคนรักความสงบและเอื้ออาทรต่อกัน

จุดอ่อน – การรวมกลุ่มเป็นไปได้ยาก ,ขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ

2.ทุนทางปัญญา

จุดแข็ง-ระดับการศึกษาดีมีพอสมควร,มีภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร แพทย์แผนไทย และการรักษาโรค

จุดอ่อน – ขาดการถ่ายทอดและนำมาใช้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อสาธารณชน

3.ทุนทางจริยธรรม

จุดแข็ง – มีความซื่อสัตย์ มีคุณธรรม

จุดอ่อน – สภาพสังคมปัจจุบันทำให้เด็กและเยาวชนขาดการปลูกฝัง หรือชักจูงทางจริยธรรมที่ดี เช่น การทำบุญเข้าวัด

4.ทุนแห่งความสุข

จุดแข็ง-ระบบทางเศรษฐกิจอยู่ในสภาวะมั่นคง ทำให้การดำรงชีวิตมีความสุข

5.ทุนทางสังคม

จุดแข็ง-มีวัฒนธรรมประเพณีที่ดี

จุดอ่อน-ปัจจุบันสภาพทางสังคม มีการเปลี่ยนแปลงในกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้วัฒนธรรมประเพณีเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง, สภาพปัญหายาเสพติดในกลุ่มเด็กและเยาวชน ทำให้เกิดปัญหาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

6.ทุนแห่งความยั่งยืน

จุดแข็ง-สภาพอากาศที่เหมาะสมกับภาคเกษตร

จุดอ่อน-มีการบุกรุกทำงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

7.ทุนทาง IT

จุดแข็ง-ศูนย์เรียนรู้ IT ตำบล

จุดอ่อน-ประชาชนขาดความรู้ ความเข้าใจ จาก IT

8.ทุนทางความรู้ ทักษะ และทัศนคติ

จุดแข็ง-เป็นคนโอบอ้อมอารี รับฟังความคิดเห็นคนอื่น

จุดอ่อน – ไม่ค่อยกล้าแสดงออก,ขาดภาวะผู้นำ

2. เสนอจุดแข็งของท้องถิ่นมา 2 เรื่อง ในการที่จะแข่งขันและร่วมมือกับประชาคมอาเซียน และเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหาจุดอ่อน 2 วิธี

จุดแข็ง

1.คนว่างงานน้อย ประชากรมีรายได้สูงไม่แตกต่างกันมากนัก

2.ผลผลิตทางการเกษตรที่มีคุณภาพและเป็นที่คาดหวังในกลุ่มอาเซียนเพราะในเอเชียมียางพารา ทุเรียน มังคุดฯลฯ

จุดอ่อน

1.ขาดการรวมกลุ่มในการต่อรอง

2.ไม่มีอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร

3.สภาพภูมิศาสตร์เป็นปัญหาทางการขนส่งผลผลิต

แก้ไขจุดอ่อน

1.ส่งเสริมการรวมกลุ่ม การทำงานเป็นทีม ให้มีความเข้มแข็ง

2.ส่งเสริมอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และผลผลิตในพื้นที่

3.แก้ระบบขนส่งให้มีประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุน

3. วิธีการที่จะถ่ายทอดความรู้วันนี้ไปสู่ชุมชน ควรทำอย่างไร(3 ข้อ) และความสำเร็จคืออะไร

1.มีกระบวนการสร้างบุคลากรที่มีทักษะในการถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชน

2.ร่วมกันเรียนรู้โดยผ่านศูนย์การเรียนรู้ชุมชน เช่นศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจชุมชนของจังหวัด สถาบันเกษตรกร ฯลฯ

3.ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น วิทยุชุมชน หอกระจายข่าว เขียนข่าว ประชาสัมพันธ์ผ่านหน่วยงานรัฐ ท้องถิ่น ภาคเอกชน

ความสำเร็จคือ ประชาชนในชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจและสามารถนำไปเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตในชุมชนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล

4. ถ้าต้องการจะเพิ่มความรู้เรื่องประชาคมอาเซียนในทางลึก เสนอมา 3 เรื่องมีอะไรบ้าง

1. การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เผยแพร่ผ่านทางโทรทัศน์ อย่างสม่ำเสมอ และมีเป้าหมายที่ชัดเจน

2. จัดสัมมนาให้กับผู้นำในระดับพื้นที่อย่างทั่วถึงและกว้างขวาง

3. จัดการฝึกอบรมให้กับกลุ่มข้าราชการอย่างทั่วถึงและกำหนดเป็นตัวชี้วัด พร้อมทำเป็นคำรับรองการปฏิบัติราชการของข้าราชการในจังหวัด

5. ถ้าจะทำวิจัยต่อ เสนอหัวข้อวิจัยมา 3 เรื่อง

1.การตลาดที่จะรองรับผลผลิตทางการเกษตรของจังหวัดชุมพร

2.ทัศนคติของผู้นำในพื้นที่เกี่ยวกับเรื่อง AEC

3.ความสามารถในการแข่งขันของศักยภาพของจังหวัดชุมพรในเวทีอาเซียนคืออะไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท