นาย วีระ จำนงค์


ผ้อำนวยการสำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 2 (นักวิชาการศึกษา 9 ชช)
สำนักผู้ตรวจราชการ ประจำเขตตรวจราชการที่ 2
Username
weerajam
สมาชิกเลขที่
3204
เป็นสมาชิกเมื่อ
เข้าระบบเมื่อ
-
(ไม่มีตั้งแต่ พ.ศ. 2564)
ประวัติย่อ


1. ข้อมูลส่วนบุคคล


1.1 ชื่อ
นายวีระ จำนงค์

1.2 วัน เดือน ปีเกิด 18 มีนาคม 2497 อายุ 50 ปี ที่ ต.คุ้งสำเภา อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท

1.3 ตำแหน่ง (ปัจจุบัน) ผู้อำนวยการสำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 2 ระดับ 9

1.4 สถานที่ทำงาน  
สำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 2 พิษณุโลก  65000 โทร 0 5525 8925 โทรสาร 0 5525 2065

1.5 ประวัติการศึกษา


ปริญญาโท การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการศึกษาผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
ปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต ประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก

1.6 ประวัติการรับราชการ

ระยะเวลา
การรับราชการ
13 พฤษภาคม 2517
ครูตรี ระดับ 1 โรงเรียนวัดถ้ำพริก อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
18 พฤษภาคม 2520
ครูใหญ่ ระดับ 3 โรงเรียนวัดถ้ำพริก อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
1 สิงหาคม 2522
ครูใหญ่ ระดับ 3 โรงเรียนบ้านเข็กใหญ่ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
1 กรกฎาคม 2522
รักษาการในตำแหน่งครูใหญ่ ระดับ 3 โรงเรียนเกษตรสุขราษฎร์บำรุง อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
1 ตุลาคม 2522
ครูใหญ่ ระดับ 3 โรงเรียนบ้านเข็กใหญ่ อำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
1 มิถุนายน 2524
โอนไปดำรงตำแหน่งอาจารย์ 1 ระดับ 4 ศูนย์การศึกษาประชาชนจังหวัดน่าน
22 พฤษภาคม 2524
อาจารย์ 1 ระดับ 4 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดน่าน
1 ตุลาคม 2529
อาจารย์ 2 ระดับ 5 ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดน่าน
24 ธันวาคม 2530
เจ้าหน้าที่บริหารงานธุรการ 5 สำนักงานเลขานุการกรม
26 มิถุนายน 2532
เจ้าหน้าที่บริหารงานธุรการ 5 งานสารบรรณ สำนักงานเลขานุการกรม
6 มิถุนายน 2534
ปฏิบัติราชการในหน้าที่ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระดับ 5
26 สิงหาคม 2534
ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระดับ 6
21 มีนาคม 2537
รักษาการในตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดลพบุรี ระดับ 7
2539-2542
เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป 8 หัวหน้ากลุ่มช่วยอำนวยการและประสานราชการ สป.ศธ.
2542-2544
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 8 ผู้อำนวยการส่วนกิจการพิเศษ สป.ศธ.
2545-2546
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 8 ผู้อำนวยการกองตรวจและรายงาน สป.ศธ.
2546-2547
เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 8 ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักผู้ตรวจราชการกรุงเทพมหานคร
9 ธันวาคม 2547
ี่นักวิชาการศึกษา 8 ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 2 พิษณุโลก
4 พฤศจิกายน 2548
นักวิชาการศึกษา 9 ชช. ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 2 พิษณุโลก
ตามคำสั่ง สป.ศธ.ที่ 1/2549 ลงวันที่ 4 มกราคม 2549  

2. การฝึกอบรม/ดูงาน

ชื่อหลักสูตร
หน่วยงานที่จัด
สถานที่
ระยะเวลา
ทุนการอบรม
นักบริหารสถานศึกษาระดับสูง กรมการศึกษานอกโรงเรียน สถาบันพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษา สป. 45 วัน กรมการศึกษานอกโรงเรียน นักบริหารระดับกลาง สำนักงาน ก.พ. สำนักพัฒนาฝึกอบรม ก.พ. 30 วัน สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ การจัดการศึกษาใช้รถใช้ถนนอย่าง
ปลอดภัยสำหรับเด็ก รัฐบาลออสเตรเลีย
VICRORD ประเทศออสเตรเลีย 10 วัน ธนาคารพัฒนาแห่งเอเซีย (ADB) การอบรมภาษาอังกฤษสำหรับผู้บริหาร สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป. สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป. 21 วัน สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สป.  

3. วิสัยทัศน์

เร่งรัดติดตาม ประเมินผล สนใจเครือข่าย ทำความสบายแก่ผู้ตรวจ รวบรัดรายงาน ประสานการศึกษา

4. ความคาดหวัง

1. เร่งรัด ติดตาม ประเมินผลของหน่วยงานการศึกษา สถานศึกษา ในเขตที่รับผิดชอบให้ทันเวลาและรายงานให้เป็นระบบและรวดเร็ว
2. ต้องจัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็น เพื่อสนับสนุนการตรวจราชการติดตาม ประเมินให้ทันสมัยและถูกต้อง โดยเชื่อมโดยงเครือข่ายกับหน่วยงานทางการศึกษาสถานศึกษาในสังกัด และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. ดำเนินการสนับสนุนการตรวจราชการนิเทศ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลอย่างมีระบบ มีประสิทธิภาพรวดเร็วและทันต่อเหตุการณ์
4. ส่งเสริมการวิจัย พัฒนาระบบสนับสนุนการตรวจราชการ นิเทศ ติดตามประเมินผลและสามารถเผยแพร่ผลงานวิจัยต่อสาธารณชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5. ประสานงานเครือข่ายและบูรณาการ เพื่อสนับสนุนการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและทั่วถึง
6. สดับตรับฟังความเคลื่อนไหวทางการศึกษาในฐานะผู้แทนสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และรายงานให้ทันต่อเหตุการณ์

5. เป้าหมาย
1. จัดระบบการติดตาม ประเมินผลตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และรายงานให้รวดเร็ว ถูกต้องครบถ้วน
2. ร่วมมือกับหน่วยงานในสังกัดและเครือข่าย ออกแบบและจัดเก็บข้อมูลข่าวสารสารสนเทศเพื่อการตรวจราชการ และให้บริการแก่หน่วยงานทาง Website
ของสำนักงาน
3. พัฒนาบุคลากรของสำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ ๒ และเครือข่ายการตรวจราชการ ให้มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานสนับสนุน
การตรวจราชการ นิเทศ ติดตาม และประเมินผล
4. จัดทำวิจัยและส่งเสริมให้เครือข่ายการตรวจราชการในระดับเขตพื้นที่การศึกษาจัดทำวิจัย เพื่อพัฒนาการตรวจ นิเทศติดตามและประเมินผล
5. บูรณาการสนับสนุนการตรวจ นิเทศ ติดตาม และประเมินผลโดยปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เขตตรวจราชการ และรายงานต่อหน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องตามกำหนด
6. มีการประชาสัมพันธ์ผลงานให้แพร่หลายต่อสาธารณชน และให้บริการข้อมูลทางด้านการศึกษาต่อผู้ที่ขอรับบริการ

6. แนวทางการดำเนินงาน
1. วางระบบในการติดตาม ประเมินผล โดยวางแผนร่วมกับหน่วยงาน สถานศึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และมีรายงานอย่างถูกต้อง
2. จัดทำข้อมูล สารสนเทศ กับผู้แทนหน่วยรับตรวจและเครือข่ายการตรวจราชการออกแบบการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ และนำออกมาใช้ร่วมกันทาง Internet
ในรูปแบบ E – inspection พัฒนาบุคลากรของสำนักงานและเครือข่ายการตรวจราชการในด้านต่าง ๆ เช่น การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น การใช้ Internet
การสร้าง Web design การวิจัยและการประเมินผลการศึกษา เป็นต้น
3. ให้บุคลากรของสำนักงานทำวิจัยในหน่วยงาน (Action research) และปฏิบัติงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อนำผลการวิจัยเสนอกระทรวงศึกษาธิการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงพัฒนาการศึกษาให้เจริญก้าวหน้า
4. วางแผนสนับสนุนการตรวจราชการ นิเทศ การติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา ร่วมกับผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการที่รับผิดชอบหน่วยงานทางการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยงข้อง และปฏิบัติงานร่วมกันทั้งในระดับกระทรวงต่างกระทรวงและระดับเขตพื้นที่การศึกษา
5. ประสานเครือข่ายทุกระดับในการดำเนินการจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ

7. การแก้ปัญหา
1. สร้างความรู้ความเข้าใจกับข้าราชการภายในให้เข้าใจต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงของระบบโตรงสร้าง และวิธีการปฏิบัติราชการตามแนวทางปฏิรูประบบราชการ
และการปฏิรูปการศึกษา เพื่อให้เกิดความตระหนักในความรับผิดชอบในส่วนของตนเองและสำนักงาน
2. สร้างและพัฒนาทีมงานเพื่อปฏิบัติงานนโยบาย ที่ได้รับมอบหมายและงานประจำที่จะต้องดำเนินการปกติ ตามภารหน้าที่ความรับผิดชอบ
ทั้งนี้โดยยึดหลักการทำงานแบบมีส่วนร่วมเป็นประการสำคัญ โดยเฉพาะการสนับสนุนการตรวจ นิเทศ ติดตามและประเมินผล
3. การประสานงานระหว่างหน่วยงานทางราชการศึกษา สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยงข้องให้มีการประสานงานทั้งแนวตั้ง แนวนอน เพื่อเกิดความเข้าใจระหว่างหน่วยงาน สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยงข้องในเขตตรวจทั่บบริการให้ทันเวลาและทั่งถึง
4. จัดระบบการติดตาม ประเมินผล การจัดการศึกษาในเขตที่รับผิดชอบ ตามนโยบายและแนวปฏิบัติของกระทรวงศึกษาธิการ และรายงานปริมาณ และคุณภาพให้ทันตามกำหนดรวดเร็ว
5. จัดระบบข้อมูลสารสนเทศที่จำเป็นและข้อมูลครบถ้วนในการสนับสนุนการตรวจราชการ นิเทศ ติดตามและประเมินผล พร้อมทั้งมีระบบเชื่อมโยงเครือข่ายกับหน่วยงานสถานศึกษาในสังกัดและหน่วยงานที่เกี่ยงข้อง พร้อมใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล
ในการปฏิบัติงาน สามารถใช้ทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด
6. จัดระบบการประชาสัมพันธ์ให้สามารถให้เป็นเครื่องมือในการสร้างความรู้ความเข้าใจต่อเพื่อข้าราชการ หน่วยงานสถานศึกษา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
และต่อสาธารณชน ได้อย่างแท้จริง

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท