อนุทินล่าสุด


ธีรยุทธ ปลั่งวิจิตร
เขียนเมื่อ

ชื่อเรื่อง รายงานผลการประเมินโครงการห้องสมุดมีชีวิตโรงเรียนรัตนโกสินทร์๙

ผู้รายงาน นายธีรยุทธ ปลั่งวิจิตร

ระยะเวลาดำเนินโครงการ 16 พฤษภาคม 2553-31 มีนาคม 2554

บทคัดย่อ

              การประเมินโครงการห้องสมุดมีชีวิต โรงเรียนรัตนโกสินทร์๙ จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อประเมินโครงการห้องสมุดมีชีวิต โรงเรียนรัตนโกสินทร์๙ 2)เพื่อประเมินผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการห้องสมุดมีชีวิต โรงเรียนรัตนโกสินทร์ ๙ 3)เพื่อประเมินความพึงพอใจของครู ผู้ปกครองและนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการห้องสมุดมีชีวิต โรงเรียนรัตนโกสินทร์๙

              รูปแบบของการประเมินโครงการ ใช้รูปแบบจำลอง CIPP Model ซึ่งเป็นการประเมิน 4 ด้าน ได้แก่การประเมินด้านสภาพแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัย (Input) ด้านกระบวนการ (Process) และด้านการผลิต (Product) สำหรับผลกระทบ ผู้รายงานประเมินพฤติกรรมของนักเรียน ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ ได้แก่ ข้าราชการครู พนักงานราชการและครูอัตราจ้าง จำนวน 49 คน ศึกษาจากประชากรนักเรียนจำนวน 242 คน สุ่มอย่างง่ายจากประชากร 637 คน ผู้ปกครองนักเรียนจำนวน 242 คน สุ่มแบบเจาะจงจากผู้ปกครองนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการประเมินโครงการมีจำนวน 4 ฉบับดังนี้ ฉบับที่ 1 แบบประเมินโครงการห้องสมุดมีชีวิต ฉบับที่ 2 แบบประเมินกิจกรรม ฉบับที่ 3 แบบประเมินโครงการนักเรียน ฉบับที่ 4 แบบประเมินความพึงพอใจของครู ผู้ปกครองและนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการทั้ง 4 ฉบับเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบเกณฑ์เฉลี่ย ซึ่งผละการประเมินโครงการห้องสมุดมีชีวิตโรงเรียนรัตนโกสินทร์๙ สรุปได้ดังนี้

1. การประเมินโครงการห้องสมุดมีชีวิต โรงเรียนรัตนโกสินทร์๙ ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิตที่เกี่ยวกับด้านข้อมูลพื้นฐานห้องสมุด ด้านการส่งเสริมและให้บริการทางวิชาการแก่ครู นักเรียน บุคคลภายนอกและด้านการปลูกฝังการรักการอ่านของนักเรียน มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากทุกด้านและเมื่อประเมินผลกระทบพฤติกรรมนักเรียนเกี่ยวกับนิสัยรักการเรียนรู้และนิสัยรักการอ่าน พบว่าโดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก

2. การประเมินกิจกรรมตามโครงการห้องสมุดมีชีวิต จำนวน 20 กิจกรรม สรุปได้ว่ากิจกรรมที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดมี 5 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมที่ 16 ห้องสมุดเคลื่อนที่ กิจกรรมที่ 3 การเล่าเรื่องจากหนังสือ กิจกรรมที่ 7 การทายปัญหาจากหนังสือ กิจกรรมที่ 11 การประกวดเล่านิทางและกิจกรรมที่ 5 การจัดนิทรรศการ กิจกรรมที่มีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก มี 15 กิจกรรม

3. การประเมินความพึงพอใจ สรุปได้ว่า ทั้งครู ผู้ปกครองและนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการดำเนินโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนความพึงพอใจที่ห้องสมุดมีบรรยากาศจูงใจให้ครู นักเรียน ชุมชนเข้าไปใช้บริการ มีผลการประเมินอยู่ในระดับมากที่สุด



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท