ดอกไม้


Curriculum and Instruction
เขียนเมื่อ

                                                                        บันทึกอนุทินครั้งที่  1


วันที่ : 27 กรกฎาคม 2557

เรื่อง : สังคมแห่งการเรียนรู้

วิชา : การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

ผู้สอน : ผศ. ดร. อดิศร เนาวนนท์

ผู้บันทึก : นางสาวอภิญญา รักพุดซา รหัสประจำตัว 57D0103121

                ระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาคพิเศษ หมู่ 1

                                                        

1. ความรู้ที่ได้รับ

----->วันที่ 27 กรกฎาคม 2557 ข้าพเจ้าเรียนวิชาการศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ บรรยายโดย ผศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์ ได้รับความรู้ดังต่อไปนี้

----->การเรียนรู้คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เป็นไปตามตัวชี้วัด คุณลักษณะอันพึงประสงค์ สมรรถนะสำคัญตามหลักสูตร

----->กรอบแนวคิด : การเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ สังคมในอนาคตจะเป็นสังคมฐานความรู้ อยู่ที่การเรียนรู้และนวัตกรรมเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องส่งเสริมและสร้างสภาพการณ์ เพื่อให้คนไทยทุกคนมีสิทธิและความเสมอภาค ในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและตลอดชีวิต

----->การเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ต้องเป็นมาตั้งแต่เกิด (เกิดขึ้นตลอดเวลา, เกิดขึ้นทุกนาที)

----->สังคมแห่งการเรียนรู้ เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญา ตระหนักถึงความสำคัญ ความจำเป็นของการเรียนรู้ที่ทุกคนและทุกส่วนในสังคมมีความใฝ่รู้ และพร้อมที่จะเรียนรู้อยู่เสมอ การเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นและมีความต่อเนื่องเป็นปกติวิสัย ในชีวิตประจำวันของคนทุกคน

----->บุคคลแห่งการเรียนรู้ มีลักษณะดังต่อไปนี้

------------------->>1. ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นของการเรียนรู้

------------------->>2. มีทักษะและกระบวนการในการคิด การวิเคราะห์ และแก้ปัญหา

------------------->>3. มีความใฝ่รู้ สามารถสร้างกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง และสามารถใช้ความรู้ได้อย่างถูกต้อง    เหมาะสม

------------------->>4. มีโอกาสและสามารถเลือกที่จะเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดช่วงอายุ แต่ละวัยด้วยรูปแบบที่หลากหลาย ยืดหยุ่นและมีคุณภาพตามความต้องการ ความสนใจและความถนัด

2. การนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวัน

----->สามารถนำความรู้ไปจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียน โดยเน้นให้ผู้เรียนใช้กระบวนการสร้างความรู้ด้วยตนเอง อีกทั้ง ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ ใฝ่เรียน กระตือรือร้นในการที่จะเรียนรู้ทุกเมื่อไม่เพียงแต่อยู่ในห้องเรียนเท่านั้น

3. การแสดงความคิดเห็น

----->ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่า สังคมแห่งการเรียนรู้ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับผู้เรียน แต่เป็นเรื่องที่อยู่ในชีวิตประจำวันเป็นปกติวิสัยของทุกคนอยู่แล้ว เพราะคนทุกคนพร้อมที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา

4. บรรยากาศในการเรียนการสอน

----->อาจารย์ผู้สอนมีความเป็นกัลยาณมิตรกับนักศึกษา

----->นักศึกษากับอาจารย์มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

----->อาจารย์ใช้คำถามปลายเปิดเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่อเนื้อหาที่เรียน

----->บรรยากาศในห้องเรียนน่าเรียน อากาศถ่ายเทสะดวก สื่อในการเรียนมีความพร้อมและทันสมัย

                                  

2
0
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท