อนุทินล่าสุด


montree AY
เขียนเมื่อ

               THARUEA   MODEL  

                     จากเหตุการณ์มหาอุทกภัยในพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทยที่เกิดขึ้น ตั้งแต่เมื่อกลางเดือน กันยายน 2554  ถึงปลายเดือน ตุลาคม 2554 ที่ผ่านมานี้  โรงพยาบาลท่าเรือสามารถป้องกันสถานที่ราชการให้พ้นจากสภาวะน้ำท่วมได้ และเมื่ออำเภอท่าเรือได้ผ่านวิกฤตการณ์มหาอุทกภัยในพื้นที่ไปแล้วข้าพเจ้าก็ได้พบกับคำถามของเพื่อนๆและคนรู้จักจากหน่วยงานอื่นหลายครั้ง และเป็นคำถามแนวเดียวกัน คือ “ทำอย่างไรน้ำจึงไม่ท่วมโรงพยาบาลท่าเรือ” เช่นเดียวกับบ้านเรือนประชาชนในพื้นที่อำเภอท่าเรือต่างก็ถูกน้ำท่วมอย่างรุนแรง ทั้งที่โรงพยาบาลท่าเรือก็ตั้งอยู่บริเวณท้ายเขื่อนพระราม 6  ซึ่งกั้นแม่น้ำป่าสัก   และต้องรับน้ำที่ระบายจากเขื่อนป่าสักชลสิทธ์โดยตรง ข้าพเจ้าพยายามลำดับเหตุการณ์ต่างๆ และสรุปตอบคำถามไปหลายครั้งหลายหน  แต่ถึงบัดนี้ก็ยังมีคำถามไม่สิ้นสุด ต้องคอยตอบอยู่เสมอ ข้าพเจ้าจึงรวบรวมกลวิธีที่โรงพยาบาลท่าเรือใช้ต่อสู้  ป้องกันวิกฤตการณ์มหาอุทกภัย ซึ่งผสมผสานกันทั้งประสบการณ์ / ความรู้ / ความรักสามัคคี  และทักษะชีวิตของทุกคนในองค์กร โดยแยกเป็น 4 กลยุทธ์ ให้เห็นชัดเจนได้ดังนี้

          1. ป้องกันน้ำเข้า เมื่อสถานการณ์น้ำเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ถึงบริเวณผิวถนนเทศบาล2 หน้าโรงพยาบาลท่าเรือ ต้องรีบใช้กระสอบทรายอุดกั้นทางเข้าของน้ำภายนอก ซึ่งเดิมเป็นช่องทางระบายน้ำทิ้ง จำนวน 3 จุด รวมทั้งที่ประตูทางเข้า – ออก ด้านหน้าโรงพยาบาล  และป้องกันน้ำซึมเข้าบริเวณริมรั้วโดยรอบ  ก่ออิฐบล็อกเสริมแนวรั้วด้านหน้าอีก3 ชั้น  สามารถกั้นน้ำได้ถึง 90 ซม. มีข้อดีที่ได้เปรียบ คือ มีกำแพงรั้วเป็น ค.ส.ล. และพื้นที่บริเวณส่วนใหญ่เป็น ค.ส.ล.จึงป้องกันการซึมเข้าของน้ำได้ดีมาก

          2.  สูบเอาน้ำออก  เร่งติดตั้งเครื่องสูบน้ำออก ทั้งเครื่องของโรงพยาบาลท่าเรือที่เตรียมสำรองไว้ และของบุคลากรที่มีอาชีพเกษตรกรรม รวม 8 เครื่อง  เนื่องจากการอุดกั้นป้องกันน้ำภายนอกเข้าได้แล้ว  แต่น้ำทิ้งจากภายในของโรงพยาบาลท่าเรือและน้ำที่รั่วซึมเพิ่มเติมเข้ามานั้นมีปริมาณมาก จึงต้องจัดการสูบออกให้ทันเพื่อรักษาสมดุลไว้จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย  มีข้อดีที่ได้เปรียบ คือ มีรางรวมน้ำทิ้งที่ออกแบบให้อยู่บริเวณด้านหน้าโรงพยาบาล  สะดวกต่อการติดตั้งเครื่องสูบน้ำออก  และสามารถรองรับได้หลายเครื่องตามต้องการ

         3. ประสานใจในนอก หมายถึง ท่านผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่าเรือโดยเฉพาะ ที่เปรียบเสมือนเสาหลักที่สำคัญ เชิญทีมนำของโรงพยาบาลและ คป.สอ.ท่าเรือร่วมประชุม WAR ROOM เตรียมพร้อมรับมือป้องกันภาวะน้ำท่วม อย่างต่อเนื่องทุกวัน เวลา 08.30 น.  เชิญชวนบุคลากรทุกคนให้ร่วมมือ  ร่วมใจปกป้องสถานบริการทุกระดับ รวมทั้งให้บริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่อย่างทั่วถึง เข้าดูแลผู้ป่วย/ผู้พิการทุกรายที่ไม่สะดวกมารับบริการต่อเนื่อง ทั้งทางบกและทางน้ำ  ประสาน รพ.สต. และ อสม. ทุกพื้นที่ร่วมมือดำเนินการและรายงานข้อมูลเป็นระยะ  ได้รับความร่วมมือช่วยเหลือจากหน่วยงานทหารเป็นอย่างมาก  ทั้งในด้านสรรพกำลังและยานพาหนะรับส่ง จนท. ขนวัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย  ประสานเทศบาลเพื่อจัดทำถนนชั่วคราวเป็นทางเข้าโรงพยาบาลเพื่อรองรับเหตุฉุกเฉินได้

        4. ย้ายรถออกยกของสูง  ถึงแม้จะมีการประเมินสถานการณ์ติดตามภาวะ 3 น้ำ (น้ำเหนือ / น้ำฝน / น้ำหนุน) อย่างใกล้ชิดอยู่ทุกวัน  แต่แผนป้องกันน้ำท่วมที่วางไว้ในระดับ 2 และ 3 ก็ยังมีความสำคัญ และเพื่อความไม่ประมาทท่านผู้อำนวยการโรงพยาบาลท่าเรือ  จึงสั่งให้เตรียมรับมือไว้ด้วยเสมอ  แจ้งให้ทุกคนย้ายรถยนต์เล็กออกนอกพื้นที่โรงพยาบาลนำไปไว้ที่สูง  ทุกหน่วยงาน  ตลอดจนบ้านพัก จนท. ให้ยกเครื่องมือที่สำคัญ  ทรัพย์สินมีค่าสูงพ้นระดับน้ำ อย่างน้อย 60 ซม. จนกว่าสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติ

       โรงพยาบาลท่าเรือ ได้ใช้ 4 กลยุทธ์นี้  ต่อสู้และผ่านวิกฤตการณ์ภาวะอุทกภัยได้ 2 ครั้งแล้ว  คือ ปี 2553 และ ปี 2554 สร้างความเชื่อมั่นและภาคภูมิใจแก่บุคลากรทุกคนทั้งองค์กร  ข้าพเจ้าเองก็ได้นำ THARUEA MODEL นี้ไปใช้ สามารถปกป้องภาวะน้ำท่วมของหมู่บ้านตนเองได้สำเร็จเช่นกัน ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา จึงขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้

                                   - - - - - - - -

 โดย   นายมนตรี พยัคฆ์เรือง   :   นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ

โรงพยาบาลท่าเรือ    จ.พระนครศรีอยุธยา



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

montree AY
เขียนเมื่อ

" ไม่ต้องบินให้สูงอย่างใครเขา

จงบินเอาเท่าที่เราจะบินไหว

ท่าที่บินไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร

แค่บินไปให้ถึงฝันเท่านั้นพอ"

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

montree AY
เขียนเมื่อ

แรกๆ...ก็ยังต้องพัฒนาต่ออีกอ่ะนะ...

ใจเย็นๆ...ขอกำลังใจกันหน่อยนะ...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท