อนุทินล่าสุด


กรกาญจน์ ศรีสกุล
เขียนเมื่อ

เส้นใยลินินได้จากพืชที่เรียกว่า แฟลกซ์(Flax) ซึ่งเป็นพืชใช้ทำเส้นใยผ้า นิยมปลูกกันมากในทวีปยุโรป เช่น เบลเยี่ยม ไอร์แลนด์ รัสเซีย ฯลฯ เป็นเส้นใยสำหรับการใช้เป็นผ้าที่เก่าแก่และทนทาน (ผ้าห่อมัมมี่ในประเทศอียิปต์)

ลินินชอบอากาศอุ่นค่อนข้างชื้น ลินินที่ปลูกในทวีปยุโรปส่วนมากจะนำไปทำเป็นผืนผ้าสำเร็จรูป ก่อนจะได้เส้นใยลินินมาผลิตเป็นผืนผ้านั้น ต้องผ่านกระบวนการหลายขั้นตอน โดยการนำต้นลินินที่ถอนแล้วมาหมักให้ต้นเปื่อยนุ่ม มัดเป็นฟ่อน ๆ ตากให้แห้ง เมื่อแห้งได้ที่แล้วจึงใช้ลูกกลิ้งกลิ้งขนาดใหญ่มาบดทับให้ต้นและก้านแตกแยกออกเป็นเส้นใยเส้นๆออกมา ต่อไปนำเส้นใยที่แตกออกมาแล้วเข้าเครื่องหวี หวีให้เส้นใยเรียบและแยกเอาเส้นใยสั้นๆ แล้วจึงนำไปปั่นเป็นเส้นใยและเส้นด้าย หากต้องการให้เส้นใยขาว ก็มักจะนำไปฟอกขาวก่อนนำมาปั่นเป็นเส้นด้ายเพื่อความรวดเร็ว

 คุณสมบัติโดยทั่วไปของลินิน  คุณสมบัติของผ้าลินินส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกับผ้าฝ้าย หรือเมื่อเปรียบเทียบผ้าลินินกับผ้าฝ้ายแล้ว จะมีข้อแตกต่างกันเล็กน้อย คือ ผ้าลินินเหนียวทนทานกว่าผ้าฝ้าย แต่ยืดหดได้น้อยกว่า เส้นใยหักและยับ-ง่าย ดูดซึมน้ำได้ดีกว่า สวมใส่สบายและให้ความรู้สึกเย็นกว่า เนื้อมันกว่าผ้าฝ้าย เนื้อผ้าลินินจะแข็งเหมือนลงแป้ง ยิ่งซักยิ่งมันและดูใหม่เสมอ

ผ้าลินินมีหลายชนิด ตั้งแต่เนื้อละเอียดบางจนถึงเนื้อหยาบหนา เหมาะที่จะนำมาใช้เป็นผ้าปูโต๊ะ ผ้าเช็ดหน้า ผ้าเช็ดมือ ผ้าเช็ดปาก ผ้าเช็ดตัว ผ้ากันเปื้อน ผ้าตัดเสื้อหน้าร้อน ผ้าม่าน ฯลฯ แต่ราคาค่อนข้างแพง

 เส้นใยลินินโดยสรุป 1.เส้นใยเหนียวมาก ทนทานต่อการซักรีด2.สวมใส่สบาย ดูดความชื้นและระบายความร้อนได้ดี3.ทนต่อกรด - ด่าง และสารเคมีชนิดอื่นๆ4.ยับง่าย และรอยยับจะหายยากถ้าไม่ผ่านกรรมวิธีทนยับมาก่อน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กรกาญจน์ ศรีสกุล
เขียนเมื่อ

ผ้าไหม มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและประเทศอินเดีย การทอผ้าไหมมีขึ้นราว 2,640 ปี ก่อนคริสตกาล พ่อค้าชาวจีนได้เผยแพร่ผ้าไหมสู่พื้นที่อื่นในแถบเอเชีย สำหรับประเทศไทยนักโบราณคดีพบหลักฐานที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงซึ่งบ่งชี้ว่ามีการใช้ผ้าไหมเมื่อ 3,000 ปีก่อน

การทอผ้าไหมในประเทศไทยในอดีตมีการทำกันในครัวเรือนเพื่อใช้เอง หรือทำขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธี เช่น งานบุญ งานแต่งงาน ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้ส่งเสริมให้ใช้ผ้าไหม ส่วนการปลูกหม่อนเพื่อเลี้ยงไหมได้รับการสนับสนุนจากประเทศญี่ปุ่น แต่การดำเนินงานของโครงการก็ทำได้เพียงระยะหนึ่งมีอันต้องหยุดไป เนื่องจากเกษตรกรไทยยังคงทำในลักษณะแบบเดิมเพราะความเคยชิน ไม่ตอบรับต่อการเปลี่ยนแปลงไปสู่แบบใหม่ที่ได้รับการพัฒนาขึ้นจากความช่วยเหลือของญี่ปุ่น

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของผ้าไหมไทยขึ้น โดย เจมส์ แฮร์ริสัน วิสสัน ทอมป์สัน ชาวสหรัฐอเมริกาหรือที่คนไทยรู้จักในนามว่า จิม ทอมป์สัน ซึ่งเป็นผู้ที่ให้ความสนใจผลงานด้านศิลปะ ในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย รวมทั้งลาว และเขมร จิม ทอมป์สัน ได้ซื้อผ้าไหมไทยลวดลายต่างๆ เก็บสะสมไว้ และทำการศึกษาลวดลายผ้าไหมในหมู่บ้านที่เป็นแหล่งการผลิตผ้าไหม พร้อมกับเสาะแสวงหาช่างทอผ้าไหมฝีมือดี ในที่สุดได้พบช่างมีฝีมือถูกใจที่กรุงเทพมหานคร บริเวณชุมชนบ้านครัว (หลังโรงแรมเอเชีย เขตราชเทวีในปัจจุบัน)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
กรกาญจน์ ศรีสกุล
เขียนเมื่อ

ฝ้าย (Cotton) คือ เส้นใยเก่าแก่ชนิดหนึ่งซึ่งใช้ในการทอผ้ามาแต่สมัยโบราณ โดยหลักฐานทางโบราณคดีที่บ่งบอกให้รู้ว่ามีการปลูกฝ้ายและปั่นฝ้ายเป็นเส้นด้ายมานานแล้ว คือ การขุดพบฝ้ายในซากปรักหักพังอายุประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ที่แหล่งโบราณคดีโมฮันโจ ดาโร (Mohenjo daro) บริเวณแหล่งอารยธรรมลุ่มน้ำสินธุในเขตประเทศปากีสถานปัจจุบัน

ใยฝ้ายได้มาจากส่วนที่ห่อหุ้มเมล็ดของต้นฝ้าย หรือที่เรียกว่า ปุยฝ้าย ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นเล็กๆ ฝ้ายมีคุณสมบัติเนื้อนุ่ม โปร่งสบาย ระบายความร้อนได้ดี เนื่องจากฝ้ายมีช่องระหว่างเส้นใย จึงเหมาะกับสภาพอากาศในฤดูร้อน และเมื่อเปียกจะตากแห้งได้เร็ว การใช้ฝ้ายมาใช้งานทำได้โดยนำฝ้ายมาปั่นเป็นเส้นด้าย แล้วนำมาท่อเป็นผืนผ้า



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท