ดอกไม้


ชิดชนก มีแก้ว
เขียนเมื่อ

ครูสอนดี ... รู้เท่าทันเทคโนโลยี

สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) ได้ดำเนินโครงการสังคมไทยร่วมกันคืนครูดีให้ศิษย์ เชิดชู ยกย่อง "ครูสอนดี" หรือที่เรียกย่อๆว่า "โครงการครูสอนดี" มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ขั้นตอนแรกแล้วเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2555 และได้ประกาศรายชื่อ "ครูสอนดี" และ "ครูผู้รับทุนครูสอนดี" ขั้นตอนแรกแล้วเมื่อวันที่ 19 เมษายน 2555 ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่ 2 คือ การรับฟังข้อทักท้วง สสค.ต้องปรับกลยุทธ์การทำงานหันมาพัฒนาครูด้าน ICT ด้วยการจัดหลักสูตร 3 หลักสูตร ได้แก่

หลักสูตรที่ 1 คอมพิวเตอร์พื้นฐาน (Introduction to Computer) เน้นการใช้งานคอมพิวเตอร์พื้นฐานที่มีความจำเป็นต่อการใช้งานในชีวิตจริง เช่น การเปิด – ปิด เครื่องคอมพิวเตอร์ การสร้างแฟ้มข้อมูล การแก้ไขชื่อแฟ้มข้อมูล การย้าย การคัดลอก การวาง การบันทึกข้อมูล ฯลฯ

หลักสูตรที่ 2 การใช้งานคอมพิวเตอร์ในโลกการสื่อสาร (Social Network) เนื้อหาครอบคลุมการใช้งานพื้นฐานทางอินเทอร์เน็ต การสร้างจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การใช้ Search Engine ค้นหาข้อมูล การใช้งานระบบสังคมออนไลน์ (Facebook , Twitter) ฯลฯ

หลักสูตรที่ 3 ICT กับการสร้างสื่อการเรียนรู้ (Presentation Multimedia) เนื้อหาครอบคลุมหลักการ นำเสนอผลงาน การวางแผนเพื่อนำเสนอ การเขียน story board การถ่ายภาพเบื้องต้น การใช้โปรแกรมสร้างชิ้นงาน

อ้างอิง จิราภรณ์ ศิริทวี. 2555. ครูสอนดี ... รู้เท่าทันเทคโนโลยี (ออนไลน์). แหล่งที่มา :

http:// www.qlf.or.th/Home/Contents/362. 23 มีนาคม 2558.

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/journals
3
0
ภัคจิรา เพชรกรด
เขียนเมื่อ

เปิดคู่แฝดความเหลื่อมล้ำ "คุณภาพการศึกษา-เศรษฐกิจ" พบเด็กไทยเกือบครึ่งประเทศสอบตก วิชาคณิตศาสตร์ เป็นสัดส่วนเดียวกับครัวเรืดอนยากจนครึ่งประเทศ ชี้แก้ปัญหาคุณภาพเด็กไทยต้องแก้ให้ลึกถึงรากของปัญหา การสอนในโรงเรียนต้องเตรียมพร้อมเด็ก 60% ก่อนออกสู่ตลาดแรงงาน

"ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางคุณภาพการศึกษากลายเป็นกลุ่มคนที่เผชิญกับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ โดยมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งเป็นปัญหาที่ซ้อนทับกันอยู่ หรือเรียกว่าเป็น "คู่แฝดความเหลื่อมล้ำทั้งคุณภาพการศึกษาและเศรษฐกิจดังนั้นการแก้ปัญหาคุณภาพเด็กไทยจึงต้องแก้ให้ลึกถึงรากของปัญหาทั้งความเหลื่อมล้ำของคุณภาพการศึกษาโดยมีมาตรการที่ไม่ให้ความยากจนเป็นอุปสรรคของโอกาสทางการศึกษา"นพ.สุภกร นอกจากนี้พบว่า ในจำนวนเด็กที่เกิดในรุ่นเดียวกันในแต่ละปี มีถึง 60% ที่ยุติการศึกษาในระดับม.6/ปวช.หรือต่ำกว่า มีเพียง 40% เท่านั้นที่ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา เมื่อเด็กส่วนใหญ่ไปไม่ถึงอุดมศึกษา ในขณะที่หลักสูตรการจัดการศึกษามุ่งสอนเพื่อเตรียมเด็กเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย คำถามที่ตามมาคือการสอนในรั้วโรงเรียนได้เตรียมความพร้อมแก่เด็กส่วนใหญ่ของประเทศกว่า 60% ที่เข้าสู่ตลาดแรงงานไว้อย่างไร ในขณะที่การเลือกเรียนสายอาชีวะของประเทศไทยซึ่งเป็นความต้องการของตลาดแรงงานก็ยังไม่เป็นที่นิยม ที่สำคัญเด็กที่เลือกเรียนสายอาชีวศึกษาก็เลือกเรียนสายบัญชี ธุรกิจ ซึ่งไม่ใช่ความต้องการของตลาดแรงงานที่ต้องการสายช่างเทคนิค และโจทย์สำคัญคือ ลักษณะแรงงานไทย 60% เป็นแรงงานนอกระบบที่ไม่มีนายจ้างหรือสวัสดิการใดๆ ซึ่งสสค.กำลังพัฒนาการทำงานร่วมกับจังหวัดเชิงพื้นที่เพื่อให้เกิดระบบข้อมูลความต้องการของตลาดแรงงานร่วมกับภาคธุรกิจ เพื่อนำมาปรับหลักสูตรในโรงเรียนให้ตอบสนองกับตลาดแรงงานในท้องถิ่น รวมถึงการศึกษาในระบบต้องผลิตครูแนะแนวเพื่อดูแลให้คำปรึกษาในเรื่องพฤติกรรมเพื่อป้องกันการหลุดออกจากระบบและการแนะนำอาชีพต่อไป


อ้างอิง : ผู้ดูแลระบบ สสค. 2558. เปิดคู่แฝดความเหลื่อมล้ำ "คุณภาพการศึกษา-เศรษฐกิจ"(ออนไลน์).

แหล่งที่มา : http://www.qlf.or.th/Home/Contents/998.23 มีนาคม 2558.

2
0
Jakkrit Bualoy
เขียนเมื่อ

การอ่านในใจ
การอ่านใจในถือว่าเป็นการอ่านเพื่อพัฒนาตนเองในด้านต่าง ๆ อันได้แก่
- พัฒนาด้านความรู้ คือ ได้ทั้งความรู้รอบตัวและความรู้เฉพาะด้าน
- พัฒนาด้านอารมณ์ ช่วยให้เกิดความเพลิดเพลิน บันเทิงใจคลายความขุ่นมัวต่าง ๆ
- พัฒนาคุณธรรม การมีคุณธรรมย่อมเกิดมาจากความจรรโลงใจซึ่งได้จากการอ่าน หนังสือประเภทธรรมะ ชีวประวัติ สารคดี ฯลฯ
การอ่านในใจจึงเป็นวิธีการศึกษาอย่างหนึ่ง เพื่อเรียนรู้และเข้าใจประสบการณ์ใหม่ ๆ ซึ่งช่วยให้มนุษย์เกิดการปรับตัวเพื่อการดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข

4
0
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท