นาย อรรถกร สมเเวง


Username
atzaly
สมาชิกเลขที่
182966
เป็นสมาชิกเมื่อ
เข้าระบบเมื่อ
-
(ไม่มีตั้งแต่ พ.ศ. 2564)
ประวัติย่อ

 

      การสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวให้อบอุ่น

ในการจะทำให้ครอบครัวของเราอบอุ่นนั้นทุกคนในครอบครัวจะต้องมา
ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของครอบครัวก่อนงั้นเรามาทำความเข้าใจ
ความหมายของครอบครัวกันเลย

      
         ครอบครัว หมายถึง การอยู่ร่วมกันของกลุ่มบุคคลที่เป็นสมาชิก ซึ่งมีความสัมพันธ์กัน
ผูกพันกัน เช่น ความสัมพันธ์ทางสายเลือด หรือการรับเป็นบุตรบุญธรรม สมาชิกที่มีความ
สัมพันธ์กันและมีบทบาทหน้าที่แตกต่างกัน เช่น เป็นบิดา เป็น  มารดา เป็นสามีหรือภรรยา 
หรือเป็นบุตร  ซึ่งสมาชิกเศรษฐศาสตร์แห่งประเทศไทยได้ให้ความหมายของครอบครัวใน
เชิงสหวิทยากรไว้ ดังนี้                                                                                


      1. ด้านชีววิทยา ครอบครัวหมายถึง กลุ่มคนที่มีความผูกพันทางสายโลหิต
 
      2. ด้านเศรษฐศาสตร์ ครอบครัวหมายถึง กลุ่มบุคคลที่ใช้จ่ายเงินจากงบประมาณเดียวกัน 
แม้จะอาศัยอยู่ต่างสถานที่กัน 











      
      3. ด้านสังคมศาสตร์ ครอบครัวหมายถึง กลุ่มคนที่อยู่ร่วมเคหะสถานหรือบ้านเดียวกันมี
ปฏิสัมพันธ์สนใจต่อทุกข์ซึ่งกันและกัน มีความผูกพันกัน มีความรักความปรารถนาดีต่อกัน 
โดยไม่จำเป็นต้องสืบสายโลหิตเดียวกัน 


 
      4.ด้านทางกฎหมาย หรือนิติศาสตร์ ครอบครัวหมายถึง ครอบครัวที่ชายหญิงจดทะเบียน
สมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งครอบคลุมถึงบุตรและบุตรบุญธรรม กฎหมายยังได้กำหนด
หน้าที่ความรับผิดชอบของบิดา มารดา สามี ภรรยา และบุตรที่มีต่อกัน และกำหนดสิทธิในการรั
บมรดกตามกฎหมาย 
                                                    
 
ครอบครัวในสังคมต่าง ๆ ย่อมมีโครงสร้างและลักษณะแตกต่างกันไป ซึ่งถ้าจะแบ่งครอบครัวเป็นประเภทใหญ่ ๆ เพื่อสะดวกในการศึกษาจะแบ่งได้เป็น 2 ประเภท 
 
ครอบครัวเดี่ยวหรือครอบครัวเฉพาะ 
         

    ประกอบด้วยบิดา มารดาและบุตรเท่านั้น ซึ่งสมาชิกในครอบครัวจะมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด คือทั้งทางสายโลหิตและทางกฎหมาย (การรับจดทะเบียน
บุตรเป็นบุตรบุญธรรม) ขนาดของครอบครัวขึ้นอยู่กับจำนวนบุตรที่ถือกำเนิดจากบิดา มารดา ถึงแม้จะมีการรับบุตรบุญธรรมบ้าง ก็มีจำนวนไม่มาก สังคมสมัยใหม่ทั่ว
ไปมักมีครอบครัวประเภทนี้เป็นจำนวนมาก จนมีผู้กล่าวว่าสังคมใดมีความเจริญทางอุตสาหกรรมและการค้า ครอบครัวในสังคมนั้นจะเป็นครอบครัวเดี่ยวหรือครอบ
ครัวเฉพาะเป็นส่วนใหญ่ 
ครอบครัวขยายหรือครอบครัวเสริม ครอบครัวประเภทนี้มีพื้นฐานจากครอบครัวเดิมมาจากครอบครัวเฉพาะ ซึ่งสมาชิกประกอบด้วย บิดา มารดา และบุตร นอกจากนี้ยังมีญาติพี่น้องอื่น ๆ เป็นสมา ชิกอาศัยร่วมอยู่ด้วย ซึ่งอาจจะเป็น ปู่ ย่า ตา ยาย หรือ ลุง ป้า น้า อา และอาจจะมีหลานร่วมด้วย ครอบครัวขยายจึง มีสมาชิกมากกว่าครอบครัวเฉพาะ นอกจากครอบ ครัวขยายหรือครอบครัวเสริมมีความแตกต่างกับครอบครัวเดี่ยวหรือครอบครัวเฉพาะในเรื่องของสมาชิกแล้ว ความสัมพันธ์และโครงสร้างระหว่างสมาชิกก็มีความแตก ต่างกันด้วย ............................................................................................................................... ต่อมาเราก็จะมาให้ความสนใจ ความสำคัญของครอบครัวเรากันดังนี้ ครอบครัวเป็นการรวมตัวของบุคคลที่มีความรัก ความผูกพันกัน มีปฏิสัมพันธ์กันช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน ครอบครัวเป็นสถาบันสังคมที่เล็กที่สุดแต่เป็นสถาบันที่มีความสำคัญที่สุด เพราะเป็น หน่วยสังคมแรกที่หล่อหลอมชีวิตของคนในครอบครัวให้การเลี้ยงดูอบรมสั่งสอน ครอบครัวเป็น แหล่งผลิตคนเข้าสู่สังคม สังคมจะดีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับครอบครัว เพราะครอบครัวเป็นสถา บันแรกที่ให้การอบรมสั่งสอน หล่อหลอมพฤติกรรม การกระทำ ความคิด ความรู้สึก เรียกโดย รวมว่า ช่วยหล่อหลอมบุคลิกภาพของมนุษย์ สร้างและพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ในสังคม แต่ปัจจุบันความ ผูกพันธ์ความเอาใจใส่คนในครอบครัวลดลง สิ่งแวดล้อมภายนอก คือ “กลุ่มเพื่อนมีความสำคัญมากกว่าครอบครัว” ถ้าได้ไปเข้ากลุ่มกับเพื่อนที่ไม่ดีเป็นคนเลวร้าย ปัญหาอื่นๆ อาจตามมา เช่น ติดการพนัน ยาเสพติด ซ่องโจร สำส่อนทางเพศ ก่ออาชญากรรม เป็นต้น สภาพที่เกิดขึ้นเช่นนี้สะท้อนให้เห็นถึง “ความล้มเหลวของสถาบันครอบครัว” ซึ่งสาเหตุสำคัญ ประการหนึ่ง คือ ความแตกแยกของพ่อแม่ในการครองชีวิตคู่ ความไม่สนใจ ใส่ใจดูแลลูก การทุ่มเทให้ กับการทำมาหากิน หรือสิ่งอื่นๆ มากกว่าลูก ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เด็กในครอบครัวรู้สึกขาดความมั่นคง ขาดความรักความอบอุ่นและขาดรูป แบบที่เหมาะสมที่จะยึดเป็นแนวทางได้ ทำให้เด็กมีโอกาสง่ายต่อการเดิน “หลงทางชีวิต” ดังนั้นครอบครัวจึงเป็นสถาบันสังคมที่สำคัญที่สุดในการสร้างรากฐานอนาคตให้กับมวล สมาชิก ซึ่งสมาชิกของครอบครัวจะมาเป็นสมาชิกของสังคมต่อไป อาจเขียนเป็นแผนภาพของครอบครัวที่มีผล กระทบต่อสังคมได้ดังนี้ จะเห็นว่าครอบครัวเป็นรากฐานที่สำคัญของสังคม ถ้าครอบครัวเข้มแข็งอยู่ได้อย่างมีความ พอดี ความสุขตามอัตภาพของแต่ละครอบครัว พออยู่พอกินและมีอยู่มีกิน ครอบครัวก็จะสร้างสมาชิกของ ครอบครัวที่ดีและมีคุณภาพต่อสังคม

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท