ไม่มีความเห็น
ถาม - การอ่านค่า ใช้ลักษณ์ที่ได้คะแนนสูงสุดอันเดียว หรือว่าดูอันที่ได้คะแนนรองๆลงไปด้วย (คะแนนเป็น 7 6 5 ตามลำดับ มันดูไม่ห่างกันนัก)
ตอบ - ผมศึกษานพลักษณ์ตามแนวทางของเดวิด แดเนียล และเฮเลน พาล์มเมอร์ ซึ่งไม่ใช้แบบทดสอบเป็นเครื่องมือ แต่ใช้วิธีการสังเกตุตัวเอง และการเข้าร่วมกลุ่มศึกษา สัมภาษณ์กลุ่ม (panel interview) ตามแบบที่เรียกว่า narative tradition หรือประเพณีการบอกเล่าเรื่องราวโดยผู้ที่ค้นพบลักษณ์ของตัวเอง (เพื่อผู้ฟังจะได้เปรียบเทียบกับประสบการณ์ของตัวเอง) และก็ด้วยเหตุดังนี้ จึงไม่มี "ผู้เชี่ยวชาญ" ที่รู้หมดทุกรายละเอียดของทุกลักษณ์ คนที่เป็น expert จริงก็คือเจ้าของลักษณ์นั้นๆ คนอื่นก็ศึกษาทำความเข้าใจได้ในระดับหนึ่ง
ผมจึงไม่ค่อยมีความรู้เรื่องการใช้แบบทดสอบเพื่อค้นหาลักษณ์นัก เคยลองทำแบบทดสอบเหมือนกัน ทำแล้วก็ได้ความรู้สึกเดียวกับคุณ Conductor คือรู้สึกว่าอันนั้นก็ใช่อันนี้ก็ใช่ บางอันคะแนนก็ใกล้เคียงกันมาก ในภายหลังผมเลยไม่สนใจแบบทดสอบไปเลย (แต่ไม่ได้หมายความว่าวิธีการใช้แบบทดสอบไม่ดี หรือใช้ไม่ได้กับคนอื่น) ลูกๆ ผมก็ทดลองกันแล้วได้ผลแบบเดียวกันคือคะแนนเท่าๆ กันระหว่างหลายลักษณ์
อย่างไรก็ตาม ขอแสดงความเห็นเท่าที่พอมีความรู้(และประสบการณ์จากการสังเกตตัวเองและคนใกล้ชิด)อยู่บ้าง ดังนี้ครับ
คน 5 ขับเคลื่อนชีวิต "หัว" หรือการ "คิด" เป็นหลัก (เช่นเดียวกับ 6 และ 7 ที่อยู่ใน "ศูนย์หัว" หรือ "ฐานคิด" ด้วยกัน แต่คิดกันคนละอย่าง) คน 5 มักคิดถึงการขาดแคลน จึงชอบสะสมทั้งสิ่งของและข้อมูลความรู้ คน 5 จึงมีข้อมูลเยอะ จะทำอะไรทีก็ต้อง "หาข้อมูล" ก่อน กว่าจะ "ลงมือ" ทำอะไรทีจึงชักช้า กระทั่งไม่ได้ทำไปเลยก็มี และก็มัก "รู้จริง" หากยังไม่รู้จริงจะไม่แสดงออก หรือบอกเรื่องนั้นแก่ใคร และเลือกด้วยว่าจะบอกใคร ถ้าคน 5 บอกเรื่องที่เขารู้ให้ใคร คนนั้นโชคดีเพราะแสดงว่าเขารักและวางใจ คน 5 แสดงความรักต่อคนอื่นด้วยการ "ให้ข้อมูลความรู้" (โดยที่คน 5 เอง รู้ตัวหรือไม่ก็ตาม) คน 5 เก่งในการแยกข้อมูลออกจากความคิดเห็นและความรู้สึก จึงมักวิเคราะห์อะไรได้ดี ขณะที่แยกความคิดออกจากอารมณ์ความรู้สึกได้นั้น คน 5 กลับไม่เก่งในการเข้าใจความรู้ (ใช้ "ใจ" ไม่เก่ง) จึงมักจะทื่อๆ อ่าน "ความคิด" คนอื่นได้ขาด แต่อ่าน "ใจ" เขาไม่ออก กระทั่งบางคนก็ไม่ในใจที่อ่านใจใครด้วย ความที่คิดเก่งจึงมีเหตุมีผลมีหลักการมาก เถียงกันสู้คน 5 ไม่ได้ในเชิงการคิด(ข้อมูลและเหตุผล) แต่คน 5 ก็แพ้โดยไม่รู้ตัวอยู่ดี คือ คน 5 ไม่อาจชนะ "ใจ" คนใกล้ชิดหรือคู่สนทนาได้ คน 5 (รวมทั้ง 6 และ 7) ไม่เข้าใจเรื่อง "หัวใจมีเหตุผล ที่เหตุผลไม่เข้าใจ) คน 5 จำนวนมากจึงไม่เข้าใจเวลาถูกแซวว่าเป็นพวกไม่มีหัวใจ พวกเย็นชาไร้ความรู้สึก
คน 2 (รวมทั้ง 3 และ 4) เป็นพวกที่ชีวิตขับเคลื่อน(หรือสัมพันธ์กับโลกภายนอก)ด้วย "ใจ" เป็นหลัก หากงานบรรลุเป้าหมายโดยที่คนต้องแตกแยกกัน คน 2 อาจรับไม่ค่อยได้ เพราะเขาเอา "คน" มาก่อน คน 2 เก่งมากในการจับ "ความรู้สึก" คนอื่น คน 2 บางคนสามารถ "รู้สึก" แทนคนอื่นได้เลย (อย่างเดียวกับที่พวกศูนย์คิดชอบคิดแทนคนอื่น จนคิดมากเกินจริงอย่างคน 6 หรือคิดน้อยกว่าความจริงอย่างคน 7) คน 2 ไปรู้สึกแทนใครต่อใครอย่างเดียวไม่พอ take action ด้วย จนบางครั้งเป็นการยัดเยียดไป คน 2 (ที่ไม่ได้ศึกษาตัวเองอย่างดีพอ) จะไม่เข้าใจว่า "การให้" แก่คนอื่นนั้น ลึกๆ แล้วต้องการความรักความสนใจตอบแทน ปูมชีวิตในวัยเด็กมักได้รับความรักเมื่อได้ทำอะไรให้พ่อแม่หรือคนรอบข้างพอใจ คน 2 บางคนยอมเบียดเบียนตัวเองเพื่อทำให้คนอื่นพอใจ กระทั่งยอมสละตัวเอง คน 2 บางคนใช้ความสามารถพิเศษในการเข้าถึงความรู้สึกคนอื่นในการ "หว่านเสน่ห์" เพื่อแลกกับความรักความสนใจหรืออภิสิทธิ์บางอย่าง
คน 1 เป็นพวกสมบูรณ์แบบ ทนความไม่มีระเบียบวินัย ไม่มีกฏไม่มีเกณฑ์ไม่ได้ จะหงุดหงิด พฤติกรรมภายนอกที่คนอื่นเห็นจึงเป็นแบบขี้บ่นจนถึงแสดงอาการโกรธบ่อย(แต่ไม่รุนแรงเหมือนพวกเบอร์ 8 เจ้าของฉายา "เจ้านาย" ที่ระเบิดความโกรธอย่างรุนแรง แต่หายเร็ว 8-9-1 อยู่ในกลุ่มศูนย์ท้องหรือฐานกายด้วยกัน) คนหนึ่งมักหาอะไรทำทั้งวัน ทำอยู่นั่นแหละเพราะมีสิ่งที่ "สมควรทำ" อยู่ตลอดเวลา (ก็โลกมันไร้ระเบียบ ไม่สมบุรณ์แบบเสียที คนอย่างฉันจึงต้องจัดให้มันเข้าที่เข้าทางเป็นระเบียบ ก็เลยต้องทำ ทำ และทำ อยู่ตลอดเวลา แล้วก็ทำไปบ่นไปด้วย)
คุณคอนดักเตอร์บอกว่าทำแบบทดสอบแล้ว คะแนน 5 มาเป็นอันดับหนึ่งก็อาจเป็นไปได้ว่าเป็นพวก "ศูนย์หัว" (ฐานคิด) ถนัดการใช้ความคิดสัมพันธ์กับโลก และก็ใช้ใจแบบเบอร์ 2 รองลงมา สุดท้ายคือใช้การลงมือทำในสิ่งที่สมควรทำแบบ 1
การพัฒนาตนเองตามแนวทางนพลักษณ์สายพาล์มเมอร์-แดเนียลที่สำคัญอันหนึ่งคือการสร้างสมดุลย์ระหว่าง กาย-ใจ-หัว ดังที่แดเนียลเขียนคำนำให้หนังสือของพาล์มเมอร์ว่าเราแต่ละคนเข้าใจตัวตนแห่งบุคลิกภาพของเราเพื่อให้สามารถอยู่กับมันได้ (รู้เท่าทันตัวตนนั้นทุกขณะที่มันทำงานในตัวเรา) แต่มันก็มีประโยชน์ตรงที่มันทำให้เราได้เข้าถึง "ตัวตนแห่งแก่นแท้" ของเราด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อให้ชีวิตส่วนบุคคลของเรา "เปี่ยมสุขด้วยดุลยภาพ"
ขอบพระคุณมากครับอาจารย์ ที่จริงผมก็ทำเล่นสนุกๆ เวลาทำนั้นตอบไปตามที่รู้สึกอย่างรวดเร็ว ไม่ได้คิดอะไร แล้วไม่ได้สนใจว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ส่วนจะตรงหรือไม่ ต้องให้คนที่รู้จักประเมินเอาครับ
นี่ล่ะนะครับ ลองทดสอบอีกที่หนึ่ง ได้ผลมาคนละเรื่องเลย เหมือนปั่นแปะยังไงก็ไม่รู้ครับ
Main Type
|
Overall Self
|
![]() |
![]() |
Enneagram Test Results
Your variant is social |
ผลจากแบบทดสอบนี้ อาจจะไม่สามารถถือเป็นจริงจังได้มากนัก แต่ก็มีส่วนถูกด้วยกันทั้งคู่ครับ
คน ๕: ภาพลักษณ์ผมก็เป็นอย่างนั้นจริง แต่ด้วยหน้าที่การงาน ผมอ่านความคิด และอ่านคนได้ค่อนข้างดีนะครับ แถมยังไม่ต้องสนใจในเรื่องที่คิดว่าไม่จำเป็นได้ด้วย อาจดูแข็งไปบ้างแต่ผมไม่ถือครับ -- เลือกทำในเรื่องที่เกิดประโยชน์ ไม่มีเวลาเรื่อยเจื้อยครับ
คน ๒: อันนี้ไม่ต่างจากที่ประมวลได้จาก feedback ทั้งทางตรงและทางอ้อมครับ เคยเป็นศิราณีที่ใครๆมาปรึกษาบ่อยๆ (พึ่งได้) ซึ่งใช้เป็นวิธีเรียนรู้ชีวิต แต่ผมกลับไม่ค่อยไหลไปตามกระแส เลือกทำเฉพาะที่(รู้สึกว่า)ทำได้ดีเท่านั้นเนื่องจากมีงานเยอะครับ ผมเป็นนายคนที่ไม่ใช่แบบ "คน ๘" แน่นอนครับ
การค้นหาลักษณ์แบบคร่าวๆ ตามแนวทางของพาล์มเมอร์เขาจะใช้วิธีการที่เรียกว่า Type Interview (แบบสองต่อสองกับผู้ที่มีประสบการณ์และได้ผ่านการฝึกการสัมภาษณ์ลักษณ์มาแล้ว) สมาคมนพลักษณ์ไทยมีบริการนี้โดยไม่มีค่าใช้ แต่ต้องนัดล่วงหน้า
ตามความเข้าใจผม ขั้นแรกสุดเขาจะสัมภาษณ์เพื่อหา "ศูนย์" ก่อนว่าบุคคลนั้นอยู่ในศูนย์ใดใน ๓ ศูนย์ คือ ศูนย์กาย ศูนย์ใจ หรือศูนย์หัว จากนั้นเมื่อเห็นว่าคนนั้นมีแนวโน้มของแบบแผน หรือความเคยชินในการแสดงออกของพฤติกรรมตามแผนใดมากที่สุดแล้ว ก็ลงรายละเอียดต่อไปว่า คนนั้นน่าจะเป็นลักษณ์ในศูนย์นั้น ศูนย์กาย ๘-๙-๑ ศูนย์ใจ ๒-๓-๔ และศูนย์หัว ๕-๖-๗
โดยเขาจะสังเกตุหลายๆ อย่าง ที่สำคัญอันหนึ่งคือ keyword ที่แฝงอยู่ในคำพูด (เช่นเบอร์ ๑ มักพูดว่า "ต้อง" "สมควร" หรือ "ทำไม")
หากจะใช้การทำแบบทดสอบแทนการสัมภาษณ์ ดูจากผลเทสต์คร่าวๆ ของคุณ Conductor คะแนนรวมของ "ฐานใจ" (อารมณ์ความรู้สึก) สูงสุด
รองลงมือคือ "ฐานคิด" (ตรรกะ) และน้อยสุดคือ "ฐานกาย" (การลงมือทำ)
แต่ฐานคิดกับฐานใจก็ต่างกันไม่มาก และคะแนนในฐานคิด ๕ (ที่มีโลกทัศน์ว่าโลกนี้ขาดแคลน)กับ ๖ (ที่มีโลกทัศน์ว่าโลกนี้ไม่น่าไว้วางใจ)เท่ากัน
ในการทำ type interview โดยทั่วไปเขาก็จะตั้งสมมุติฐานให้ไป ๒ เบอร์ ให้คุณไป "สังเกต" ตัวเองต่อในเหตุการณ์เล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน (เหตุการณ์ใหญ่ๆ มักซับซ้อน ยากแก่การวิเคราะห์) จนเจ้าตัวสามารถให้น้ำหนักกับเบอร์ใดเบอร์หนึ่งมากขึ้นด้วตนเอง
ตามทฤษฎีของนพลักษณ์ยังมีเรื่องของ "ปีก" และ "ลูกศร" เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น ๖ (ศูนย์กลางของศูนย์คิด มีลูกศรโยงไปที่ ๓ (ศูนย์กลางของฐานใจ) และวิ่งไปที่ ๙ (ศูนย์กลางของฐานกาย) ๖ เป็นเบอร์เดียวของฐานคิดที่มีลูกศรโยงกับฐานใจ คุณคอนดักเตอร์จึงน่าลองสังเกตลักษณะของ ๓ ดูด้วย (แม้คะแนนจะน้อย - ผมพบหลายคนที่ทำเทสต์ออกมาคล้ายๆ คุณคอนดักเตอร์ พอสังเกตไประยะหนึ่งคล้ายจะเป็น ๓ ด้วย)
คน ๓ มีหลายชื่อ เช่น นักแสดง (เพราะเขาสามารถทำอะไรได้หลายอย่างหลายบทบาท ตามความคาดหวังของผู้อื่น และมักจะทำได้ดีทุกบทบาท เป็นผู้ที่มักทำอะไรก็สำเร็จ เพราะมีความมุ่งมั่นสูง motivate คนอื่นให้มาทำด้วยเก่ง บางครั้งก็ทำจนตัวเองหมดแรง