การเลิกจ้าง พนง.ที่อยู่ระหว่างทดลองงาน


misterpump
อาจารย์ครับ ถ้าปฏิบัติแบบไม่มีคุณธรรม พนง.ที่อยู่ระหว่างการทดลองงาน (90-119วัน) บริษัทสามารถประเมินผลการปฏิบัติงานไม่ให้ผ่าน เพื่อไม่ให้มีการจ่ายค่าชดเชยได้ ใช่ไหมครับ


ความเห็น (37)

ในกรณีที่เป็น HR แล้วนายจ้างแจ้งให้เราไปบอกพนักงานคนนึงไม่ผ่านโปร แต่พนักงานไม่ได้ทำผิดอะไร แถมไม่เคย ขาด ลา มาสาย อายุงาน2เดือน เพียงแค่ทางบริษัทไม่มีงานแล้วตำแหน่งนี้ก็ไม่ได้จำเป็นอีกต่อไป จะใช้เหตุผลไหนในการบอกพนักงานว่าไม่ผ่านโปรดีคะ

ผมทดลองงานได้60วันตำแหน่งผจก.รงเงินเดือน50,000บาทแต่เดือนที่3ขแลดเงินเดือนลงเหลือ30,000และลดตำแหน่งเป็นผจก.QCและในวันที่80แจ้งว่าไม่ผ่านทดลองงานให้ทำงานครบ90วันผมอยากทราบว่าผผมจะได้เงินเดือน50,000เดิมได้หรือเปล่าครับ


คำตอบ (1)

อาจารย์ยม
เขียนเมื่อ

ขึ้นอยู่กับเจตนาและวิธีปฏิบัติของนายจ้างครับ  โดยหลักคุณธรรม ควรจะประเมินตั้งแต่เดือนแรก แล้วแจ้งผลว่ามีข้อดีอะไร มีข้อควรปรับปรุงอะไร

 

ผู้ถูกประเมิน(ซึ่งอยู่ระหว่างทดลองงาน) จะได้มีโอกาสปรับปรุงและพัฒนา  เมื่อประเมินเดือนที่สอง (ครั้งที่สอง) ในระหว่างทดลองงาน ถ้าเห็นว่ามีการพัฒนาขึ้นข้อใด ผู้ประเมินก็ควรชื่นชม ในทางตรงกันข้าม ถ้าเห็นว่า สิ่งที่ให้โอกาสปรับปรุงแล้วยังไม่ดีขึ้น ผู้ประเมินก็ต้องแจ้งว่า จะให้โอกาสอีก ถ้าไม่ดีขึ้นในคราวหน้า(เดือนที่สาม) อาจจะมีปัญหาไม่ผ่านการทดลองงานได้ 

ซึ่งหากมีการพูดคุยกันเช่นนี้ เมื่อถึงเวลาประเมินอีกครั้งหนึ่งแล้วดีขึ้น แต่ยังไม่แน่ใจ อาจจะขยายเวลาทดลองงานไปได้  และเมื่อประเมินอีกครั้งแล้วดีขึ้นก็น่าจะให้ผ่านทดลองงานได้ 

 ในอีกทางหนึ่งหากประเมินครั้งที่สาม ที่สี่ ยังไม่ดีขึ้น ก็สมควรครับ ไม่มีนายจ้างอยากได้คนที่ไม่รู้จักพัฒนา ครับ


ความเห็น (36)
อาจารย์ค่ะ ตอนนี้ดิฉันกำลังอยู่ระหว่างทดลองงาน ซึ่งจะครบ 119 วัน แล้ว แต่ทางนายจ้างยังไม่เคยเรียกไปพูดคุยด้วย อย่างที่อาจารย์ได้ตอบไว้ ถ้าเราทำครบกำหนดแล้วนายจ้างมาบอกว่าไม่ผ่านได้ไหมค่ะ

สวัสดี..จิน

กรณีนี้น่าจะเป็นของภาคเอกชน  ผมมีแนวคิดอย่างนี้  กรณีที่เราเข้าไปเริ่มงานใหม่ ที่ใดก็ตาม ในช่วงปฐมนิเทศ หรือช่วงที่ฝ่ายบุคคลเข้าเสวนากับเรา ก๊ ควรต้องถามเขาว่า ระบบการประเมินผลการทดลองงานมีอย่างไร มีคู่มือหรือไม่  มีหัวข้ออะไรบ้างที่ใช้ในการประเมิน  ใครเป็นคนประเมิน  ความถี่ในการประเมิน 

 บางแห่งไม่มีการประเมินด้วยซ้ำไป ถึงเวลาก็ทำงานไปเรื่อย ๆ จนลาออกไปเอง ก็ยังมีอยู่

บางแห่งประเมินเพียงหนเดียว มีทั้งประเมินก่อน ครบ 120 วัน บางแห่งปล่อยเวลาให้เลยไปเกิน 120 วันแล้วค่อยประเมินก็มี

บางแห่งประเมินทุกเดือน มีการแจ้งผลทุกเดือนตามที่ผมเขียนไว้ในบล็อคที่แล้ว

สำหรับผู้เริ่มงานใหม่ ควรต้องทราบเรื่องเหล่านี้ จะได้บริหารตัวเองได้ถูกต้อง

โอเค เลยเวลาวันเริ่มงานมานานแล้ว ทำไงดี  ผมแนะนำว่า ให้ตั้งใจทำงานให้ดี มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี  ทำงานให้เสร็จก่อนเวลา  ตรงต่อเวลา สุภาพเรียบร้อย คือถ้าเราไม่รู้หัวข้อที่เขาจะประเมินเรา ก็ให้นึกถึงว่า ถ้าเราเป็นนายจ้าง เราจะวัดลูกจ้างรายใหม่นี้ ด้วยพฤติกรรมพึงประสงค์อะไรบ้าง  จะวัดสมรรถนะ ความสามารถด้านใดบ้าง

สิ่งดี ๆ ที่นึกได้ขอให้มีอยู่ในตัวเรา+ทำอย่างจริงจังเห็นชด และรู้จักประเมินตนเอง ทุกวัน 

ผมแนะนำให้ถามผู้ประเมินเรา  คือเอางานเข้าไปคุยกับผู้ประเมินเรา ดูสีหน้าเขาพึงพอใจเราหรือไม่ หากเขา happy ก็ถือโอกาสถามเขาเลยว่า เราทำงานมาเกือบ 4 เดือนแล้ว เราพยายามทำดีที่สุด หากในสายตาผู้ใหญ่มีสิ่งใด ไม่ชอบ ขออภัยด้วย เพราะเรายังใหม่อยู่  ถามเขาว่า มีอะไรจะตำหนื แนะนำเราหรือไม่ เรายินดีรับฟังเพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนาตน และงาน

 จิน จะต้องใช้งานสร้างความสัมพันธ์ให้มาก ได้ทั้งงาน ได้ทั้งความสัมพันธ์ แล้วจะได้คำตอบว่าผ่านทดลองงานหรือไม่

 ผมแนะนำให้นำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ดำเนินชีวิตในการทำงาน คือ

ทำงานด้วยความรอบรู้

ทำงานด้วยความีจริยธรรม คุณธรรม

ทำงานอย่างรู้เหตุ รู้ผล

ทำงานอย่างรู้จ้กพอประมาณ และประมาณตน

ทำงานอย่างมีภูมิคุ้มกัน มีแผนรองรับไว้เสมอ  ชีวิตมีค่าเกินกว่าจะไม่มีแผน หรือมีแค่แผนเดียว

ขอให้โชคดี ผ่านทดลองงานไปด้วยดี

 

สวัสดี

 

 

แล้วในกรณีที่นายจ้างบอกเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีความผิดในระหว่างทดลองงานเพียงแค่ 30 วัน ลูกจ้างมีสิทธิ์เรียกร้องค่าชดเชย หรือไม่ครับ

 เรื่องการจ่ายค่าชดเชย ของภาคเอกชน มี พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ คุ้มครองไว้ดังนี้ ค่าชดเชย  กรณีถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด
  1. ทำงานครบ 120  วัน  แต่ไม่ครบ  1 ปี  ได้รับค่าชดเชยเท่ากับอัตราสุดท้าย  30  วัน
  2. ทำงานครบ ปี  แต่ไม่ครบ  3  ปี  ได้รับค่าชดเชยเท่ากับอัตราสุดท้าย  90  วัน
  3. ทำงานครบ ปี  แต่ไม่ครบ  6  ปี  ได้รับค่าชดเชยเท่ากับอัตราสุดท้าย  180  วัน
  4. ทำงานครบ ปี  แต่ไม่ครบ  10  ปี  ได้รับค่าชดเชยเท่ากับอัตราสุดท้าย  240  วัน
  5. ครบ 10  ปีขึ้นไป   ได้รับค่าชดเชยเท่ากับอัตราสุดท้าย  300  วัน
 

การเลิกจ้างไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย

  1. ลาออกเอง
  2. ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
  3. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
  4. ประมาท  เลินเล่อ เป็นเหตุให้นายจ้างได้รั
  5. ความเสียหายอย่างร้ายแรง
  6. ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย และเป็นธรรม ซึ่งนายจ้างได้ตักเตือน เป็นหนังสือแล้ว (หนังสือมีผลบังคับใช้ไม่เกิน 1 ปี) เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเดือน
  7. ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา วัน ติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
  8. ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
 

การจ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยปกติ

  1. ลูกจ้างทำงานติดต่อกันเกิน 6 ปี ขึ้นไป ให้จ่ายค่าชดเชยพิเศษเพิ่มขึ้นจากค่าชดเชยปกติ ไม่น้อยกว่าอัตราสุดท้าย 15 วัน ต่อการทำงานครบ ปี
  2. ค่าชดเชยพิเศษรวมแล้วต้องไม่เกินค่าจ้างอัตราสุดท้าย  360 วัน
  3. กรณีระยะเวลาทำงานไม่ครบ 1 ปีถ้าเศษของเวลาทำงานมากกว่า 180 วัน ให้นับเป็น 1 ปี
 

กรณีนายจ้างย้ายสถานประกอบการไปตั้ง  ณ ที่อื่นต้องแจ้งลูกจ้างทราบล่วงหน้า 30  วันก่อนย้ายหากลูกจ้างไม่ประสงค์ไปทำงานด้วย ลูกจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาจ้าง โดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยพิเศษ ไม่น้อยกว่าร้อยละ  50  ของอัตราค่า ชดเชยปกติที่ลูกจ้างมีสิทธิพึงจะได้รับ
 

นายจ้างไม่แจ้งล่วงหน้า ต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เท่ากับอัตราสุดท้าย  30  วัน

กรณีเลิกจ้างเพราะเหตุปรับปรุงหน่วยงาน  กระบวนการผลิต การจำหน่าย หรือการบริการ  อันเนื่องมาจากการนำ เครื่องจักรมาใช้หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรือเทคโนโลยี เป็นเหตุให้ต้อง ลดจำนวนลูกจ้าง  นายจ้างต้อง  แจ้งวันที่เลิกจ้าง  เหตุผล  และรายชื่อต่อพนักงานแรงงาน รวมทั้งตัวลูกจ้างเองล่วงหน้า  60  วัน


หากไม่แจ้งลูกจ้างทราบล่วงหน้า  หรือแจ้งน้อยกว่า  60  วัน  ต้องจ่ายค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกล่วงหน้าเท่ากับค่าจ้างอัตรา

 

สรุปได้ว่า  

  • การเลิกจ้างพนักงาน ให้พิจารณาดูว่า เข้าล็อค ของ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ  ว่าด้วย การจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างไม่มีความผิดหรือไม่  
  • หากเข้าล็อค คือ เป็นไปตามที่ พ.ร.บ.ฯ เขียนไว้ ก็ต้องจ่ายตามที่ พ.ร.บ.ฯ กำหนด ครับ

 อย่างไรก็ตาม ผมเคยเห็นนายจ้างบางแห่ง ใจมี มีเมตตา แต่มีความจำเป็นต้องเลิกจ้างพน้กงานที่ทำงานมาเพียง 30 วัน โดยพนักงานไม่มีความผิด แต่ด้วยเพราะพิษสงของวิกฤตเศรษฐกิจ  ผมก็เคยเห็น เขาจ่ายชดเชยให้ และมีการแจ้งให้ทราบถึงเหตุผล และแจ้งให้ทราบล่วงหน้าด้วยครับ

กรณีนายจ้างส่งหนังสือเลิกจ้างแก่ลูกจ้างแต่ลงวันที่ย้อนหลังได้หรือไม่? และมีผลอย่างไร

ขอเรียนถามอาจารย์ค่ะ ว่า เราเข้าไปทำงาน 1 เดือน กับอีก 18 วัน นานจ้างเรียกพบแล้วแจ้งว่าเราไม่ผ่านการทดลองงาน ด้วยเหตุผลว่าเราไม่ได้มีการตัดสินใจ ยังทำงานไม่ได้ ไม่มีผลงานทั้งที่เราพึ่งเข้าไปทำงานไม่ถึง 2 เดือน ถ้าเราฟ้องศาลแรงงานว่านายจ้างเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ไม่ได้เปิดโอกาสให้เราได้ทำงาน แต่ตัดสินว่าเราไม่มีผลงาน ทั้งที่ก่อนหน้านี้ราก็อยู่บริษัทเดิมที่มั่นคงดีอยู่ ตกลงรับเราเข้ามาแล้วเหมือนมาลอยแพเราอย่างนี้จะสู้คดีได้รึเปล่าค่ะ

การเลิกจ้าง ไม่เป็นธรรมหรือไม่

ต้องพิจารณาจากหลักฐานให้รอบคอบ การไปใช้บริการที่ศาลคุ้มครองแรงงานฯ เป็นสิทธิ์ของลูกจ้างและนายจ้าง แต่ขอให้รอบคอบ เป็นธรรม และเจรจากับคู่กรณีก่อนตัดสินใจ ครับ หากจะมาศาลฯ ต้องมั่นใจว่า เราได้รับความไม่เป็นธรรม ระบุความไม่สอดคล้องกับกฎหมายฯ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ ได้อย่างชัดเจน มีหลักฐานพยานเอกสาร พยานบุคคลที่ชัดเจน

 

ผู้ถามมาว่า ขอเรียนถามอาจารย์ค่ะ ว่า เราเข้าไปทำงาน 1 เดือน กับอีก 18 วัน นานจ้างเรียกพบแล้วแจ้งว่าเราไม่ผ่านการทดลองงาน ด้วยเหตุผลว่าเราไม่ได้มีการตัดสินใจ ยังทำงานไม่ได้ ไม่มีผลงานทั้งที่เราพึ่งเข้าไปทำงานไม่ถึง 2 เดือน ถ้าเราฟ้องศาลแรงงานว่านายจ้างเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ไม่ได้เปิดโอกาสให้เราได้ทำงาน แต่ตัดสินว่าเราไม่มีผลงาน ทั้งที่ก่อนหน้านี้ราก็อยู่บริษัทเดิมที่มั่นคงดีอยู่ ตกลงรับเราเข้ามาแล้วเหมือนมาลอยแพเราอย่างนี้จะสู้คดีได้รึเปล่าค่ะ

ผู้ถามไม่ระบุว่า ทำงานภาครัฐ หรือภาคเอกชน หรือ กรอบการตอบ ผมใช้ภาคเอกชน มาตอบดังนี้

สภาพการณ์ คือ ผู้ถาม เข้ามาทำงาน ได้ไม่ถึง 120 วัน(เพียง 1 เดือน กับ 18 วัน) แต่ถูกเลิกจ้าง    

การเลิกจ้างที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงินชดเชย

  1. ลูกจ้างลาออกเอง
  2. ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
  3. ลูกจ้างจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
  4. ลูกจ้างประมาท  เลินเล่อ เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับ
  5. ลูกจ้างความเสียหายอย่างร้ายแรง
  6. ลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมาย และเป็นธรรม ซึ่งนายจ้างได้ตักเตือน เป็นหนังสือแล้ว (หนังสือมีผลบังคับใช้ไม่เกิน 1 ปี) เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเดือน
  7. ลูกจ้างละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาวัน ติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
  8. ลูกจ้างได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ

ควรท่อยทีท่อยอาศัย เจรจากับนายจ้าง ค่อยพูดค่อยจากันก่อน  การเลิกจ้างเป็นสิทธิของนายจ้าง จะไปฟ้องศาลแล้วชนะได้ ต่อเมื่อนายจ้างเลิกจ้างไม่เป็นธรรม 

หากเจรจา ขอโอกาสให้เราปรับปรุงพัฒนาการทำงานไม่ได้ ควรต้องศึกษาประเด็นที่เขาเลิกจ้าง ขอให้ศึกษาให้ชัดเจน ต้องขอเป็นจดหมายเลิกจ้าง ระบุเหตุผลที่เลิกจ้าง นำมาพิจารณาและควรใช้กรณีนี้เป็นกรณีศึกษาเตือนใจ ไว้ในการหางานในโอกาสต่อไปให้ระมัดระวังให้มากขึ้น หมั่นทำบุญ สร้างบารมี อย่างสม่ำเสมอ หาความรู้ เพิ่มขีดความสามารถของตน ให้เป็นคนดี มีคุณภาพ ไปไหนก็มีใครอยากได้ และอยากให้อยู่นาน ๆ

ขอให้โชคดี พระคุ้มครองครับ

การเลิกจ้าง

 

ผู้ถามมาว่า กรณีนายจ้างส่งหนังสือเลิกจ้างแก่ลูกจ้างแต่ลงวันที่ย้อนหลังได้หรือไม่? และมีผลอย่างไร

การใช้ระบบคุณธรรม ธรรมาภิบาล ในการบริหารจัดการ จะนำองค์การไปสู่ความเจริญ ยั่งยืนได้ เป็นการละเว้นบาปทางการบริหาร

 

ผมแนะนำว่า ควรทำอะไรตรงไป ตรงมา โปร่งใส ตรวจสอบได้ ทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง  โลกปัจจุบัน เราอยู่ได้ด้วยความรอบรู้ ควบคุ่คุณธรรม

 

และจากนี้ไป ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจโลก วิกฤตการเมืองไทย มีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม ของไทย  การเลิกจ้างจะมีมากขึ้น ลูกจ้างพึงเตรียมการ มีแผนรองรับ เตรียมงานรองรับ  ฝ่ายนายจ้าง ขอให้เลิกจ้างอย่างเป็นธรรมโปร่งใส ตรวจสอบได้ ไปเป็นการสร้างปัญหา นำไปสู่ศาลคุ้มครองแรงงานฯ ทั้งสองฝ่าย ซึ่งย่อมมีฝ่ายแพ้และฝ่ายชนะ  จะมีประโยชน์อะไร ที่ชนะบนสภาพจิตใจ ทัศนคนติของผู้เกี่ยวข้องตกต่ำลง และสภาพองค์การ ต้องรองรับแรงกดดันรอบด้านมากยิ่งขึ้น  มีอะไรค่อยพูดค่อยจากกัน  ต่างฝ่ายต่างหันหน้าเข้าหารือกัน ช่วยกันลดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุนดำเนินการ เพิ่มขีดความสามารถในการทำงาน

 

 

เนื่องด้วยทำงานมาเป็นเวลา ๔ปี กว่า และ เพิ่งได้การแต่งตั้งให้มีตำแหน่งที่สูงขึ้น พร้อมรับผิดชอบงานเพิ่มขึ้น แต่ต่อมาบริษัทขอร้องให้เขียนใบลาออก (เลิกจ้าง โดยไม่มีเหตุผล) โดยที่ดิฉันไม่มีความผิดอะไร ดิฉันควรได้รับการจ่ายค่าชดเชยอย่างไรบ้าง กรุณาแนะนำค่ะ

ลองอ่านบันทึก ที่ผมเขียนไว้ เมื่อ อ. 26 พฤษภาคม 2552 @ 09:58  จะบอกได้ว่า การเลิกจ้างกรณีดังกล่าว จะมีสิทธิได้รับค่าชดเชยหรือไม่

ประการต่อมา บันทึกที่ผมเขียนไว้ เมื่อ อ. 27 พ.ย. 2550 @ 14:58 จะให้คำตอบได้ว่า  กรณีถูกเลิกจ้างและมีสิทธิได้รับค่าชดเชยนั้น  ทำงานมากี่ปี จะได้รับค่าชดเชยเท่าใด  การเลิกจ้าง การจ่ายค่าชดเชย ผมเขียนไว้ค่อนข้างละเอียด ในการถาม-ตอบ 

เกี่ยวกับการเลิกจ้าง ลองค่อย ๆ พิจารณาอ่านดูครับ และดีที่สุด หากคิดว่า การเลิกจ้างดังกล่าว ไม่เป็นธรรม ควรปรึกษา สวัสดิการคุ้มครองแรงงาน หรือฝ่ายกฎหมายที่ศาลแรงงานฯ ครับ

เศรษฐกิจวิกฤตรอบนี้ จะยังคงมีผลกับการประกอบการภาคธุรกิจอีกนาน  การเลิกจ้างมีแนวโน้มมากขึ้น น่าเห็นใจทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ครับ

ขอให้โชคดี

ผมขอรบกวนสอบถามหน่อยครับ

คือผมทำงานเป็นอาสาสมัครศูนย์เยาวชน สังกัดฝ่ายพัฒนาชุมฯ เขตพระนคร ซึ่งมีค่าตอบแทนให้วันละ 240 บาท แต่เมื่อถึงสิ้นปีงบประมาณ วันที่30กันยา 52 ทางหัวหน้าศูนย์เยาวชนได้บอกกับผมว่า ทางศูนย์ได้ถูกตัดงบประมาณในส่วนการจ้างอาสาสมัคร จึงให้ผมออก โดยไม่ได้บอกผมล่วงหน้าแต่ประการใด บอกวันที่ 30 ก.ย.เลย ทำให้ผมไม่สามารถเตรียมตัวไปหางานอื่นได้เลย และเงินเดือนๆสุดท้ายก็ยังถูกหัก จากการที่ผมหยุดงานเนื่องจากไม่สบายอีก ทำให้เหลือเงินเพียง3000-4000 บาท ซึ่งผมไม่มประกันสังคมเลยเพราะทางศูนย์ไม่ได้ทำให้ กรณีนี้ผมมีสิทธิขอเงินชดเชยได้บ้างมั้ยครับ รบกวนช่วยตอบผมหน่อยนะครับ ขอบคุณมากครับ

แนะนำ ให้ติดต่อกับสำนักงานสวัสดิการคุ้มครองแรงงานฯ ในเขตที่ตั้งของหน่วยงาน โดยเร็ว พบนิติกรประจำสำนักงานฯ ครับ

-การบอกเลิกจ้างพนักงาน4โดยมิได้แจ้งล่วงหน้า โดยแจ้งให้พนักงานมารับเงินชดเชยตอนสิ้นเดือนบอกเลิกจ้างวันที่ 11-11-2009

โดยบอกด้วยวาจามิได้ลงเป็นลายหลักอักษร

-จากกรณีนี้พนักงานทั้ง 4 คน ได้ไปร้องเรียนที่สำนักงานสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน เพื่อขอเรียกร้องเงินค่าชดเชย

-ในกรณีนี้พนักงานทั้ง4 อยู่ในระหว่างทดลองงาน ทำงานได้ประมาณคนละ 2 เดือนกับ 11วัน จากการประเมินพนักงานทั้ง 4ไม่ผ่านการทดลองงาน และมีความผิด เช่น แอบใช้โทรศัพท์ของบริษัทเพื่อการส่วนตัว /มาสาย /ไม่ตั้งใจปฏิบัติงานตามหน้าที่ /บางคนมาทำงานครึ่งวันแล้วขาดงานโดยไม่แจ้ง /โดยทางบริษัทเราทำงานอย่างครอบครัวจึงไม่ได้ ออกใบเตือน /แค่เตือนด้วยวาจา

-หลักฐานในกรณีที่พนักงานทำผิดกฎของบริษัทเรามีพร้อม

อยากทราบว่าถ้าเราจะใช้เป็นหลักฐานในการฟ้องกลับพนักงานทั้ง 4 จะมีผลอย่างไรบ้าง

จริงๆ ไม่อยากให้มีเรื่องราวกันเลย /แต่ในเมื่อคุยด้วยวาจาเค้าไม่เชื่อ/ไปร้องเรียน เราจึงต้องปกป้องรักษาชื่อเสียงบริษัทเหมือนกัน

ขอคำแนะนำด้วยค่ะ /ปวดหัวจริงๆ

สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านทุกท่าน

บันทึกนี้ ผมรีบเข้ามาตอบโดยไม่ได้เข้ารหัสตัวเอง จึงไม่มีรูปถ่ายผม รีบเพราะมีประเด็นคำถามที่่น่าสนใจและคำตอบจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านทุกท่านที่สนใจด้วยครับ

กรณีของคุณเวนุภา ครับ  การเลิกจ้างพนักงานทุกกรณี ขอให้เป็นธรรม ความเป็นธรรมนั้นจะต้องสามารถที่จะแสดงให้เห็นชัดต่อ ส่วนกลาง องค์กรกลาง หรือบุคคลกลาง หรือสำนักงานสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน หรือแม้กระทั่งศาลคุ้มครองแรงงานฯ ครับ

การเลิกจ้างจึงต้องทำด้วยความระมัดระวัง อย่างน้อยก็ระวังจะเสียเปรียบเวลาขึ้นศาลคุ้มครองแรงงานฯ  ซึ่งจะสร้างปัญหาอื่น ๆ ตามมาอีกมากครับ

พนักงานทำผิด ควรเตือน ตามระเบียบ อาจจะใช้เครื่องมือการประชุม การบันทึกการประชุม ระบุว่าฝ่าฝืนระเบียบเรื่องใด หากทำผิดต่อไปจะถูกทำโทษอย่างไร เหล่านี้ขอให้มีหลักฐานเอกสาร หลักฐานบุคคลเอาไว้ ทุกครั้งไป

ส่วนการจะฟ้องกลับลูกจ้าง ส่วนตัวผมไม่แนะนำให้ทำ ผมแนะนำให้ใช้หลัก "พุทธบริษัท" ในกาารบริหารองค์กร "ให้โอกาส ให้ความรู้ ให้อภัย"  พนักงานที่ทำไม่ดี ย่อมพบกับกรรมไม่ดี หนีไม่พ้นกฎแห่งกรรม เขาจะตกงาน ยากลำบาก ไม่เจริญก้าวหน้า ชีวิตจะตกต่ำ แค่นี้ก็หนักพอแล้วครับ  การบริหารปกครองคน อะไรอภัยกันได้ อภัยกันไป คิดถึงภาพลักษณ์ขององค์กร ของผู้บริหาร ของพนักงานที่ยังทำงานอยู่ ขวัญกำลังใจของคนที่ยังทำงานอยู่ หันมาดูแลเขา จะดีกว่าที่จะไปเปลืองสมองกับพวกที่มีปัญหา น๊ะครับ หรือถ้าอยากจะฟ้องกลับจริงๆ ก็ให้ทนายจัดการไปเลยครับ มอบอำนาจให้ทนายเก่ง ๆ จัดการไป  ซึ่งผมไม่อยากจะแนะนำให้ก่อเวรก่อกรรมกันอีกต่อไป ครับ คนไม่ดี ให้ออกไปก็ดีแล้ว  คราวต่อไปจะสรรหาคนเข้ามา ดูโหงวเฮ้งให้ดีด้วยจะดีครับ

สวัสดี

 

แล้วในกรณีที่นายจ้างบอกเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีความผิด แล้วถ้าอยู่ในระหว่างทดลองงาน 120 วัน

การเป็นลูกจ้างในยุคเศรษฐกิจไม่ดีในช่วงนี้ผู้ที่หาสมัครงานควรต้องนำแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ คือ ต้องมีความรอบรู้ รอบคอบในงานและในองค์กรที่สมัครงาน  และต้องรอบรู้เรื่องผู้คนในองค์กรที่เข้าไปทำงานให้มาก  ต้องมีจริยธรรม คุณธรรม ต้องมีอัตตาต่ำเอาไว้ คือไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าฉันจะต้องผ่านทดลองงาน จะต้องยึดมั่นอยู่ที่ทำงานที่แห่งนี้

ผมคิดว่า ต้องมีเหตุมีผล รู้จักประมาณการณ์ ประมาณตน รู้ประเมินตนเอง ไม่ต้องรอให้ใครมาประเมินฯเราแล้วแจ้งว่าไม่ผ่านทดลองงาน  ผมเองตอนเป็นลูกจ้างใหม่ ๆ ผมประเมินตนเองทุกวัน ๆ ทบทวนตนเองก่อนนอนทุกวัน  และสรุปทุกสัปดาห์และรายงานผลการประเมินฯตนเอง ต่อผู้บังคับบัญชา ทุกหนึ่งเดือนในระหว่างทดลองงาน และถามความเห็นผู้บังคับบัญชาต่อผลการทำงานของตัวเราในรอบหนึ่งเดือน

ครับ ผมทำอย่างนี้ทุกเดือนในระหว่างทดลองงาน  และอีกสิ่งหนึ่งที่เริ่มทำตั้งแต่เริ่มสมัครงานคือ ต้องมีแผนรองรับไว้ว่า หากไม่ผ่านทดลองงานจะทำอย่างไร ตัวผมเองก็ประเมินองค์กร บางองค์กรก็ผมพิจารณาแล้วก็ไม่ควรอยู่จนครอบทดลองงานครับ แต่บางองค์กรก็พบเจ้านายที่ดี เพื่อนร่วมงานที่ดีก็อยู่หลายปี

ฉะนั้น การสมัครงาน ไม่ควรสมัครไว้แค่ที่เดียวตั้งแต่ทีแรก ควรต้องสมัครไว้หลาย ๆ แห่งเป็นการเรียนรู้ฝึกฝนตนเอง และบางครั้งได้งานตั้งสามแห่งท่านก็เลือกเอาว่าจะเอาองค์กรใด องค์กรอื่น ๆ ก็สำรองเอาไว้บ้าง คือต้องมีภูมิคุ้มกันมีองค์กรที่ 2 ที่ 3 รองรับไว้ครับ

ฉะนั้น กรณีที่ท่านถามมาว่า หากนายจ้างบอกเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีความผิด แล้วถ้าอยู่ในระหว่างทดลองงาน 120 วัน ถ้าเป็นผม ผมจะไม่รอ ไม่อยู่องค์กรแบบนี้ครับ แสดงความองค์กรนี้ไม่เหมาะกับท่าน อย่ารอช้าครับรีบหางานใหม่ ถ้าท่านเป็นคนดีมีคุณภาพ ในไม่ช้าท่านจะได้งานที่ใหม่ครับ แต่อย่าลืมสำรองไว้หลาย ๆ แห่งครับ

พัฒนาตนเอง ให้เป็นของดี ราคาไม่แพง คือทำงานเก่ง ทำงานดี ไม่เกี่ยงเงินเดือน มุ่งมั่นขยันทำผลงาน ทำความสัมพันธ์ รู้จักประเมินตนเอง ปรับตัวพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงครับ  ไม่มีองค์กรใดมั่นคง  ความมั่นคงอยู่ที่ตัวเรา ถ้าเราเก่ง เราดี มีความรอบรู้ มีคุณธรรม มีเหตุมีผล รู้จักประมาณการณ์ ประมาณตน มีภูมิคุ้มกัน มีแผนรองรับไว้  องค์กรเขาจะเห็นคุณค่าเราเอง เมื่อนั้นความสุข ความสำเร็จก็จะมาถึงท่าน ครับ

สอบถามถึงกรณีการเป็นนายจ้างค่ะ ถ้าลูกจ้างยื่นใบลาออกล่วงหน้าแล้ว แต่บริษัทเห็นว่าลูกจ้างไม่จำเป็นต้องส่งมอบงาน และลูกจ้างมาทำงานอย่างขอไปที ไม่มีความสนอกสนใจในงานอีกต่อไป เข้าทำงานสาย (หลังจากยื่นใบลาออก แรอให้ครบ 30 วัน) นายจ้างสามารถอนุมัติให้ลูกจ้างออกจากงานหลังยื่นใบลาออกก่อน 30 วันได้หรือไม่คะ? สามารถให้ออกจากงานได้หลังจากยื่นใบลาออกทันทีหรือไม่ค่ะ??

ถ้าลูกจ้างยื่นใบลาออกล่วงหน้าแล้ว 

"ลูกจ้างทำถูกต้องแล้ว ลูกจ้างที่แย่ ๆ ไม่ยื่นล่วงหน้า แค่บอก แล้วไปเลยก็มี แบบนี้ก็ไม่ไหว การยื่นใบลาออกล่วงหน้า หากมองแง่ดีถือว่า มีมารยาท ทำถูกต้อง ครับ ล่วงหน้า 30 วัน เป็นมาตรฐานที่ปฏิบัติกันทั่วไปในภาคเอกชน  ต้วผมเองเมื่อสมัยทำงานเป็นลูกจ้างเขา ผมยื่นล่วงหน้า 6 เดือน แถมช่วยเป็นพี่เลี้ยงให้คนใหม่ที่เข้ามาแทนเราด้วยซ้ำไป บางครั้งคนที่มาแทนเราไม่ผ่านทดลองงาน ก็อยู่ช่วยสรรหาคนเก่ง ๆ คนดี ๆ เข้ามาแทนรออยู่จนองค์การเขาได้คนดีมีฝีมือมาแทนแล้ว ผ่านทดลองงานแล้วจึงไปครับ" 

แต่บริษัทเห็นว่าลูกจ้างไม่จำเป็นต้องส่งมอบงาน

"เป็นสิทธิของบริษัท ที่จะรับการส่งมอบงานหรือไม่ 

โดยมารยาท และลูกจ้างที่มีความรับผิดชอบ ควรจะต้องทำการส่งมอบงานก่อนลาออก  เป็นมาตรฐานลูกจ้างที่ดีทั่วโลกควรทำครับ เท่ากับเป็นการทำความดีก่อนลาออก  ผมคิดว่า ควรปล่อยให้ลูกจ้างได้ทำหน้าที่จนนาทีสุดท้าย ครับ  

ลูกจ้างบางคน ไม่สนใจทำอย่างนั้น จะลาออก บอกแค่สามวัน แล้วก็ไม่ส่งมอบงาน เปิดแน็บไปเลย ก็มีเยอะ สร้างความเสียหายแก่องค์การ อย่างมากครับ

หลังจากยื่นใบลาออก แรอให้ครบ 30 วัน "ลูกจ้างยังคงอยู่ภายใต้กฎระเบียบข้อบังคับในการทำงานครับ เรามีสิทธิที่จะให้คุณให้โทษ ตามระเบียบข้อบังคับการทำงาน" 

ลูกจ้างมาทำงานอย่างขอไปที ไม่มีความสนอกสนใจในงานอีกต่อไป เข้าทำงานสาย

" ผมแนะนำให้ทำโทษตามระเบียบข้อบังคับการทำงาน ครับ 

ระเบียบขั้นตอนการลงโทษมีอย่างไร  เตือนด้วยวาจา เตือนด้วยลายลักษณ์อักษร แล้วจากนั้นไล่ออก ปลดออก ต้องไปดูว่าระเบียบว่าด้วยการลงโทษ เขียนไว้อย่างไร ทำให้ถูกขั้นตอนครับ  ลูกจ้างยังคงอยู่ภายใต้กฎระเบียบข้อบังคับในการทำงานครับ เรามีสิทธิที่จะให้คุณให้โทษ ตามระเบียบข้อบังคับการทำงานจนกว่าจะครบวันลาออกครับ" 

นายจ้างสามารถอนุมัติให้ลูกจ้างออกจากงานหลังยื่นใบลาออกก่อน 30 วันได้หรือไม่คะ?

" การลา เช่น ลากิจ ลาป่วย ลาพักร้อน ลาออก เป็นสิทธิของลูกจ้าง ครับ

การอนุมัติให้ลาหรือไม่ให้ลา เป็นสิทธิอันชอบธรรมของนายจ้าง  ย้ำคำว่า "สิทธิอันชอบธรรม" ครับ กล่าวคือ ต้องมีเหตุผลสนับสนุนที่ชอบธรรม ครับ

กล่าวคือ เวลาเราจะอนุมัติ เราก็พิจารณาเหตุผลของลูกจ้างเป็นหลัก

เวลาเราจะไม่อนุมัติ เราก็ต้องมีตัวบทกฎหมาย เหตุผลอันชอบธรรมประกอบในการไม่อนุมัติ เป็นเหตุผลที่สอดคล้องกับกฎหมาย เมื่อสังคม สาธารณะทราบแล้ว เห็นด้วย เห็นสมควรคือเมื่อเรื่องไปถึงศาลแล้ว ศาลพิจารณาแล้วว่าเรามีความชอบธรรม ก็โอเค มั่นใจได้ว่า เราจะชนะคดีแน่ เพราะเรามีเหตุผลที่สมเหตุ สมผล มีคุณธรรม ครับ

ในกรณีลูกจ้างยืนลาออกล่วงหน้า 30 วัน แต่ระหว่างนั้นลูกจ้างรายนี้ ทำความผิดเล็กน้อย ไม่ถึงขั้นถูกไล่ออก แล้วเราไปบอกว่า นี่คุณไหน ๆ จะออกแล้ว ทำตัวอย่างนี้ ไปเลย ไม่ต้องมาแล้ว เท่ากับเราไล่เขาออก เขาอาจจะไปฟ้องเราได้ว่า เราไล่เขาออก อย่างไม่เป็นธรรม ก็จะยุ่ง และยาวครับ 

การบริหารองค์การ ควรใช้ "พุทธะบริษัท" เขามาบริหารจัดการ อย่างรอบรู้ ควบคู่คุณธรรม ลูกจ้างที่ทำไม่ดี เวรกรรมย่อมตามทัน นายจ้างที่ทำไม่ดี กรรมก็ตอบสนองเช่นกัน ทำความดี ลดบาป สร้างบุญ ครับ องค์การจะเจริญก้าวหน้า

เวลาสรรหาคน สรรหาคัดเลือกให้ดี จะได้ไม่มีปัญหาภายหลังครับ"

ขอให้โชคดี

สวัสดีคะทีเริ่องสอบถามดังนี้ะ ทำงานมา5เดือนแล้วแต่ไม่ได้เขียนไปสมัคร แต่ส่งประกันสังคม แต่ตอนนี้ทางร้างต้องการให้เขียนใบสมัคร และให้ทดลองงาน 3เดือน หากภายใน 3เดือนนี้ถูกให้ออกจะ ร้องขอค่าชดเชยได้ไหมคะ นายจ้างแจ้งว่าจะไม่ยอมจ่ายเงินชดเชยให้กับใครใดๆทั้งสิ้น ทำให้เกิดความวิตกกังวลกันมากในการเขียนใบสมัครการใหม่ กลัวว่าจะถูกไล่ออกทั้งหมดที่เป็น พนง.เก่า ขอบคุณคะ

เรียนถามอาจารย์ ว่า กรณีที่ลูกจ้างทำผิดจนได้ใบเตือน 3 ครั้งภายในเวลา 1 ปี แต่แต่ละครั้งไม่ใช่ความผิดเรื่องเดียวกันสามารถให้ออกได้หรือเปล่าค่ะ ขอบคุณค่ะ

ครับกรณีของคุณมยุรี ถามมาว่า

"กรณีที่ลูกจ้างทำผิดจนได้ใบเตือน 3 ครั้งภายในเวลา 1 ปี แต่ แต่ละครั้งไม่ใช่ความผิดเรื่องเดียวกันสามารถให้ออกได้หรือเปล่า"

มีสองประเด็นในคำถามเดียวกัน ครับคือ

  1. เรื่องการทำโทษทางวินัย(ใบเตือน.)
  2. เรื่องการให้ออก (เิลิกจ้าง)

ประเด็นที่ 1 เรื่อง การทำโทษทางวินัย  โดยหลักการต้องเป็นธรรม สมเหตุสมผล ใช้หลักธรรมาภิบาล และต้องสอดคล้องกับที่ระบุไว้ในข้อบังคับในการทำงาน ต้องมีพยานทั้งเอกสารและพยานบุคคล ต้องระบุว่าหากกระทำผิดซ้ำในเรื่องเดียวกันอีก จะถูกทำโทษอย่างไร  

ผมแนะนำให้พิจารณาในระเบียบข้อบังคับการทำงานว่าด้วย การทำโทษพนักงานที่กระทำความผิด ว่าขั้นตอนการทำโทษมีระบุไว้หรือไม่ว่าครั้งที่ 1 ทำโทษอย่างไร ครั้งที่ 2 ทำโทษอย่างไร ครั้งที่ 3 ทำโทษอย่างไร(กรณีทำความผิดเรื่องเดียวกัน)  ส่วนในกรณีทำผิดไม่ใช่เรื่องเดียวกันก็เช่นกัน  ท่านได้ลงโทษทางวินัยตามที่เขียนไว้ในระเบียบข้อบังคับการทำงานหรือไม่

ประเด็นที่ 2 การเลิกจ้า ในระเบียบข้อบังคับการทำงานกรณีของภาคเอกชน ที่ถูกที่ควรมักจะระบุไว้ว่า นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่งกรณีใดดังต่อไปนี้

(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย อย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่ง ของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน

ฉะนั้น ถ้าจะไล่ลูกจ้างออก โดยไม่จ่ายค่าชดเชย ก็ต้องปฏิบัติอยู่ในกรอบ ความผิดทางวินัยร้ายแรง 4 ข้อดังกล่าวครับ ถ้ามีพยานหลักฐานเพียงพอว่า พนักงานกระทำความผิดร้ายแรงด้งกล่าว ข้อใดข้อหนึ่ง ก็สามารถเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

การเลิกจ้างลูกจ้าง ขอให้กระทำด้วยความเป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ หลักการมีส่วนร่วมคือให้ผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วม(ได้เป็นพยาน)ด้วยจะเป็นการดี

ดีที่สุดคือมีอะไร ค่อยพูดค่อยคุยกัน ชี้แจงเหตุ และผล ผลดี ผลเสียของพฤติกรรม ความผิดให้เข้าใจกัน ผมเชื่อว่าไม่มีใครอยากเป็นคนไม่ดี นายจ้างเองก็คงไม่อยากไปเสียเวลาเลิกจ้างใคร เพราะงานขององค์การสำคัญ ประโยชน์ส่วนรวมสำคัญ ยังมีพนักงานอีกหลายคนที่ตั้่งใจทำงาน หันมาดูแลพวกเขา ใช้คนดี ล้อมคนไม่ดี ทฤษฎี ป่าล้อมเมือง ครัีบ

ค้นหาสาเหตุของพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ของพนักงานรายนี้ เกิดอะไรขึ้นในองค์การ เช่น ระบบการกลั่นกรองบุคลากร(สรรหาคัดเลือก) ระบบการฝึกอบรม ระบบแรงงานสัมพันธ์ ระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน ระบบการควบคุม ตรวจสอบพฤติกรรมพึงประสงค์และผลงานงานของพนักงาน  เป็นต้น มีอะไรบกพร่องหรือไม่ ขั้นตอนใด ทำให้เกิดปัญหา จะเป็นการแก้ไขป้ัญหาแบบนำพาองค์การไปข้างหน้าอย่างยั่งยืน ครับ

การจะให้คนออกหนึ่งคน ระวังอย่างให้กระทบขวัญกำลังใจของพนักงานที่มีอยู่ในองค์การครับ ไม่คุ้มกัน แต่หากเจอพนักงานประเภทเหลือขอจริง ๆ ก็ไม่ว่ากัน จะเลิกจ้างก็สมควรทำ แต่ขอให้ถูกขัีั้นตอนมาตรฐานสากล จะดีที่สุดครับ

ขอให้โชคดี


กรณีของ "คุณหมี" ถามมาว่า

"ทำงานมา5เดือนแล้วแต่ไม่ได้เขียนใบสมัคร แต่ส่งประกันสังคม"  

ประเ็ด็นนี้ เกี่ยวกับ หลักฐานการเป็นลูกจ้าง คุณหมีกังวลว่า ไม่ได้เขียนใบสมัครตั้งแต่แรกเข้ามาทำงาน ก็ควรขอหลักฐานทางประกันสังคม ว่ามีการส่งถูกต้องตั้งแต่เริ่มแรกเข้าทำงานหรือไม่ ครบ 5 เดือนหรือไม่ ตรงนี้เป็นหลักฐานการจ้างได้ครับ  สามารถสอบกลับไปยังค่าจ้าง และการเสียภาษีรายได้ 

"แต่ตอนนี้ทางร้ายนต้องการให้เขียนใบสมัครและให้ทดลองงาน 3 เดือน"

ประเด็นนี้ คุณหมีอาจจะกังวลเรื่องค่าชุดเชย นายจ้างจะให้เริ่มงานใหม่ ทดลองงาน 3 เดือน  ที่จริง คุณหมีทำงานมาเกิน 120 วันแล้ว กฏหมายคุ้มครองแรงงานฯ คุ้มครองทันทีเรียบร้อยแล้ว

หากนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย ดังนี้

  1. ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย  30 วัน
  2. ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ  3 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย  90 วัน
  3. ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ   6 ปี  ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย   180 วัน
  4. ทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ  10 ปี  ได้รับค่าชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
  5. ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้าย  300 วัน

มีข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างในเหตุใดเหตุหนึ่ง  คือ
               

  1. ลูกจ้างสมัครใจลาออกจากงานเอง นั่นเท่ากับลูกจ้างเสียสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชยไปเลย
  2. ทุจริตต่อหน้าที่หรือเจตนาทำความผิดอาญาต่อนายจ้าง  เช่นนี้ต้องไล่ออกและจับเข้าคุก 
  3. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย 
  4.  ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง ถ้าความประมาทของลูกจ้างนั้นทำให้นายจ้างเสียหายเล็กน้อยไม่ร้ายแรง  ก็ไม่เข้าข้อยกเว้นนี้
  5. ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน  หนังสือเตือนนั้นให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างได้ทำผิด  มิใช่นับแต่วันที่ลูกจ้างทราบหนังสือเตือนนะ
  6. ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
  7.  ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก  เว้นแต่เป็นความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ในกรณีประมาทหรือลหุโทษหากนายจ้างเลิกจ้าง นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย 
  8. การจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน  และเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น สำหรับงานที่ต้องแล้วเสร็จภายในเวลาไม่เกิน 2 ปี โดยนายจ้างและลูกจ้างได้ทำสัญญาเป็นหนังสือไว้ตั้งแต่เมื่อเริ่มจ้าง และเป็นการจ้างงานใดงานหนึ่ง คือการจ้างงานในโครงการเฉพาะที่มิใช่งานปกติของธุรกิจหรือการค้าของนายจ้าง ซึ่งต้องมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของงานที่แน่นอน หรืองานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราวที่มีกำหนดการสิ้นสุด  หรือความสำเร็จของงาน หรืองานที่เป็นไปตามฤดูกาลและได้จ้างในช่วงเวลาของฤดูกาลนั้น 

ถ้าเขาให้เขียนใบสมัครก็ควรทำให้ถูกต้อง คือควรระบุวันเริ่มงาน ตั้งแต่วันแรกที่เราเ้ข้าทำงาน จนครบ 5 เดือน เพื่อจะได้สอบกลับได้กับหลักฐานที่ได้มาจาก "ประกันสังคม"

 

"และให้ทดลองงาน 3 เดือน หากภายใน 3 เดือนนี้ถูกให้ออกจะ ร้องขอค่าชดเชยได้ไหมคะ"  

ประเด็นนี้ คุณหมีกังวลเรื่อง ค่าชดเชย ได้อธิบายไว้แล้วข้างต้น  

 

"นายจ้างแจ้งว่าจะไม่ยอมจ่ายเงินชดเชยให้กับใครใดๆทั้งสิ้น ทำให้เกิดความวิตกกังวลกันมากในการเขียนใบสมัครการใหม่ กลัวว่าจะถูกไล่ออกทั้งหมดที่เป็น พนง.เก่า"

ประเด็นนี้เกี่ยวข้องกับ "การถูกเลิกจ้าง" "การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย" ครับ ทุกอย่างต้องเป็นธรรมทั้งการกระทำของลูกจ้างและของนายจ้างครับ หากคิดว่า นายจ้างไม่เป็นธรรม อย่ากังวลไป ค่อยที ค่อยอาศัย พูดคุยกัีน ด้วยเหตุและผล ความเป็นธรรม แต่้ถ้าคุยกันเจรจากันไม่ได้ ก็ต้องอาศัยทางราชการมาเจรจาให้ ก็ใช้บริการของสำนักงานสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน ในเขตจังหวัดที่องค์กรตั้งอยู่ ครับ 

ขอให้ใช้สติ สมาธิ ความรอบรู้ คุณธรรม หลักการและเหตุผล ในการคิด การกระทำ การพูด ขอให้โชคดี ครับ

รบกวนสอบถามในฐานะฝั่งนายจ้างค่ะ ในกรณีที่พนักงานมาทำงานได้ 6 วัน แล้วลาโดยไม่ได้แจ้งนายจ้างให้ทราบ นอกจากนั้น ยังไม่สามารถติดต่อได้ (ไม่รับโทรศัพท์ ไม่โทรกลับ ไม่ส่งอีเมล์ หรือบอกกล่าวเพื่อนร่วมงานคนใดเลย) เป็นเวลา 2 วัน และในวันที่ 3 ได้รับ SMS ว่า Serious Illness จะเข้ามาทำงานในวันถัดไป พร้อมใบลาป่วย ซึ่งนายจ้างได้ตรวจสอบกับทางคลีนิคที่ออกใบรับรองให้ปรากฎว่าพนักงานจัดทำขึ้นมาเองไม่ได้เข้ารับการรักษา อย่างนี้ ทางนายจ้างสามารถให้ออกได้หรือไม่ เพราะเพิ่งเข้ามาทำงานแค่ 6 วัน และจำเป็นจะต้องจ่ายเงินชดเชยหรือไม่

อยากทราบว่าถ้าหากเราแจ้งลาออกล่วงหน้า เพียงแค่ 7 วันก่อนออก มีความผิดมั้ยคะ

แล้วนายจ้างมีสิทธ์หักเงินค่าไม่แจ้งล่วงหน้ามั้ยคะ แล้วกฎกติกาแท้จริงมันเป็นยังไงคะ เพราะหนูถูกหักเงินข้อหาไม่แจ้งล่วงหน้า ทั้งๆที่ไม่มีการตกลงอะไรกันเลย แต่ตลอดเวลาหนึ่งปีครึ่งที่หนูทำงานให้เค้าทำเกินเวลาแต่ไม่เคยได้รับโอทีเลย พอออกเค้าหักเงิน ขอคำตอบด่วนค่ะ แล้วถ้าหนูจะฟ้องร้องเรียกค่าโอทีย้อนหลังคืนบ้างจะได้มั้ยคะ ขอบคุณค่ะ

กรณีของคุณนวพร  ถามมาว่า

1. ในกรณีที่พนักงานมาทำงานได้ 6 วัน แล้วลาโดยไม่ได้แจ้งนายจ้างให้ทราบ นอกจากนั้น ยังไม่สามารถติดต่อได้ (ไม่รับโทรศัพท์ ไม่โทรกลับ ไม่ส่งอีเมล์ หรือบอกกล่าวเพื่อนร่วมงานคนใดเลย) เป็นเวลา 2 วัน และในวันที่ 3 ได้รับ SMS ว่า Serious Illness จะเข้ามาทำงานในวันถัดไป พร้อมใบลาป่วย

กรณีแบบนี้ ควรเขียนระเบียบการลาป่วย ให้ชัด ว่า กรณีลาป่วย ต้องแจ้งให้ทางบริษัททราบในวันที่ลาป่วย ด้วย อีเมล์ ด้วยโทรศัพท์มือถือ ด้วย SMS ในวันแรกที่ป่วย ยกเว้นกรณีเข้าห้อง ICU อาการหนักมาก สลบไปตั้งแต่วันแรก ก็สุดวิสัย  อย่างไรก็ตามเมื่อฟ้ืนได้สติ ต้องรีบแจ้งให้บริษัททราบทันที และมีใบรับรองแพทย์จากโรงพยาบาล ในการรับรองว่าป่วยจริง  แต่หากมีเขียนไว้แล้ว แต่ไม่ปฏิบัติตามก็ออกไปเตือนว่าฝ่าฝืน คำสั่งอันชอบธรรม หรือฝ่าฝืนระเบียบข้อใด หากฝ่าฝืนอีกจะถูกทำโทษอย่างไร

 

ซึ่งนายจ้างได้ตรวจสอบกับทางคลีนิคที่ออกใบรับรองให้ปรากฎว่าพนักงานจัดทำขึ้นมาเองไม่ได้เข้ารับการรักษา อย่างนี้ ทางนายจ้างสามารถให้ออกได้หรือไม่ เพราะเพิ่งเข้ามาทำงานแค่ 6 วัน

หากข้อมูลข้างต้นเป็นจริง เท่ากับพนักงานรายนั้นได้ขาดงานไป (ฝ่าฝืนวินัยข้อใด....) นอกจากนี้ ยังโกหก ปลอมแปลงเอกสาร (ฝ่าฝืนวินัยข้อใด.....) คนดีเขาไม่ทำกัน ท่านต้องทบทวนระบบการสรรหาคัดเลือก ใหม่  ครับ  ระบบสรรหาคัดเลือก ต้องสรรหาคนดี คนเก่งมาทำงาน ไม่ใช่แบบนี้  ส่วนประเด็นว่าให้ออกได้เลยหรือไม่  ไปดูระเบียบของท่านมีเขียนไว้อย่างไร  สำหรับพนักงานงานใหม่ ที่เข้ามาทำงาน   สัญญาจ้างเขียนไว้อย่างไร คลอบคลุมหรือไม่  เป็นผมนี่ จะมีข้อความระบุไว้ในสัญญาจ้างแล้วว่า หากระหว่างทอลองปฏิบัติงานมีการทำความผิดใด ๆ จะยกเลิกสัญญาโดยไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้า ฯ....ยังมีข้อความอีกมากที่สามารถจัดการกับพนักงานที่แย่แบบนี้  ระเบียบการเลิกจ้างพนักงานที่มีความผิด เขียนไว้อย่างไร ควรทบทวนดู แล้วปฏิบัติตามที่เขียนเอาไว้ครับ  

และจำเป็นจะต้องจ่ายเงินชดเชยหรือไม่ 

การจ่ายค่าชดเชย นับจากอายุงาน 120 วัน ขึ้นไป ครับ  อย่างไรก็ตามก่อนเลิกจ้าง ควรเรียกมาประชุม ให้มีพยานอยู่ด้วย สัก สองคน แล้วแจ้งพนักงานเกเรให้ทราบว่า เขาได้กระทำความผิดอะไร โทษคืออะไร และมีการบันทึกรายงานการประชุมไว้เป็นหลักฐาน บันทึกเสียงการประชุมไว้ด้วยเพื่อความรอบคอบในการทำบันทึกรายงานการประชุม และหากจำเป็นต้องใช้เป็นพยานหลักฐาน ครับ

ขอสอบถามกรณีนายจ้างค่ะ  ถ้าทางบริษัทฯ ได้มีการประเมินพนักงานระหว่างทดลองงาน ในช่วง 30 วัน (ช่วงระยะเวลาทดลองงานเป็น 90 วันค่ะ) และได้ประเมินพนักงานไม่ผ่านทดลองงาน ซึ่งมีเหตุผลว่าพนักงานไม่มีผลงาน และทำงานไม่เป็นไปตามที่บริษัทฯ คาดหวังไว้ โดยบอกให้พนักงานทำงานจนถึงสิ้นเดือน ถือว่าเป็นการบอกกล่าวล่วงหน้า 30 วันแล้ว  แต่พนักงานได้มีการเรียกค่าชดเชย กับทางบริษัทฯ ยังงี้ถือว่าถูกต้องหรือค่ะ ขออาจารย์ช่วยตอบด้วยค่ะ  ขอบคุณค่ะ 

เรื่อง การเเรียกร้องค่าชดเชย  การจ่ายค่าชดเชย ผมได้เขียนไว้แล้ว ข้างต้น ครับ  ควรอ่านดู จะทราบว่า เรามีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชยหรือไม่  หรือ นายจ้างต้องค่าชดเชยให้เราหรือไม่...ครับ

เรียนท่านอาจารย์

กระผมรบกวนสอบถามกรณีพนักงานป่วยเป็นมะเร็ง ไม่สามารถมาทำงานได้เป็นระยะเวลา 3 เดือนแล้ว แต่บริษัทยังไม่ได้ให้พนักงานออก และไม่ได้จ่ายเงินเดือนหรือนำส่งประกันสังคมแต่อย่างใด ถ้าบริษัทต้องการเลิกจ้างพนักงานทำได้หรือไม่? รบกวนด้วยครับ

ประการแรก  ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง  การลาป่วยตั้งแต่สามวันทำงาน นายจ้างอาจจะร้องขอดูใบรับรองแพทย์   ต้องให้แพทย์ เป็นผู้วินิจฉัยว่าต้องให้หยุดพักฟื้นรักษาตัว 3 เดือน คือ มีหนังสือรับรองแพทย์ และนำเอกสารดังกล่าวมาประกอบการลาป่วย 

หรือ ควรส่งแพทย์ ไปตรวจ ว่าป่วยเป็นมะเร็ง จะสามารถทำงานต่อได้หรือไม่  ถ้าสามารถทำงานได้ แต่ต้องพักฟื้นกี่วันก็ให้แพทย์ระบุไว้ในหนังสือรับรองแพทย์

นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้  แต่ให้ดำเนินการให้ถูกต้อง ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ครับ จ่ายค่าชดเชย ค่าไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ให้ถูกต้อง  ครับ

ค่าจ้าง และการจ่ายประกันสังคม ก็ควรทำหากลูกจ้างยังไม่พ้นสภาพการเป็นพนักงาน  น๊ะครับ

ในกรณีที่พนักงานลาออกโดยไม่แจ้งล่วงหน้า และสร้างความเสียหายให้กับบริษัท ทางบริษัทสามารถหักค่าเสียหายที่พนักงานได้ทำไว้ให้กับบริษัท ได้หรือไม่

การหักค่าจ้างของลูกจ้าง ทำได้ในกรณี เพื่อจ่ายค่าประกันสังคม  จ่ายเงินอื่นๆ ตามคำสั่งศาลฯ

หากคิดว่า ลูกจ้างกระทำความผิด สร้างความเสียหายแก่บริษัท  ขอให้ดำเนินการตามระเบียบข้อบังคับในการทำงานที่เขียนไว้   

กรณีสร้างความเสียหาย ก็แจ้งความดำเนินคดี เรียกร้องความเสียหายไปตามกระบวนการยุติธรรม ดีกว่าน๊ะครับ 

ยกตัวอย่าง เช่น พนักงานรายหนึ่ง ลักทรัพย์สินของบริษัท   ก็แจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ ดำเนินคดีไปตามกฎหมาย  และนำหลักฐานบันทึกประจำวัน ที่เจ้าหน้าที่ตำรวจบันทึกประจำวันไว้ มาพิจารณา ดำเนินการทำโทษตามขั้นตอนของระเบียบบริษัท ต่อไป ครับ

การหักค่าจ้่าง เพื่อชดเชยค่าเสียหายที่พนักงานได้ทำไว้  ควรขออำนาจศาลฯ ดีที่สุดครับ

เรียนอาจารย์

ขอถามดังนี้ครับ

ในกรณีพนักงานทำงานครบ120วันแล้วผลงานยังไม่น่าพอใจนัก แต่บริษัทต้องการจะให้โอกาสในการทดลองงานต่ออีกระยะหนึ่งจะต้องดำเนินการอย่างไร และ ยืดระยะเวลาต่อได้อีกเท่าไรครับ เพื่อไม่เป็นการทำผิดกฏหมายแรงงานและต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่ต่อเวลาทดลองงานให้แล้วไม่ผ่านอีก

ขอบคุณครับ

 

สวัสดีครับอาจารย์

ผมได้อ่านข้อความและการตอบของอาจารย์มีประโยชน์มากครับ ผมอยากถามว่ากรณีจ้างพนักงานขาย ในช่วงทดลองงานไม่มีเงินเดือนให้สามารถได้หรือไม่ และหากผ่านทดลองงานแล้วเงินเดือนที่จ่ายให้ก็ยังน้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำ ( ทั้ง 2 กรณี มีค่าคอมมิชชั่นให้มากกว่าค่าแรงขั้นต่ำหากพนักงานขายสินค้าได้ครับ )

ดังนั้นต้องทำสัญญาจ้างแบบไหนครับจึงจะไม่ผิด พรบ.คุ้มครองแรงครับ รอคำตอบนะครับ ทาง E-mail ครับ

ขอบพระคุณล่วงหน้าครับ

สวัสดีครับ

ผมทำงานได้หนึ่งเดือนแรกแล้วนายจ้างให้ผมเซ็นเอกสารว่าผมทำงานไม่ผ่านการทดลองงาน แล้วห้ผมออกวันถัดไป

ทางนายจ้างจ่ายค่าแรกปกติ แต่มีเงินค่าบริการอีกจำนวนหนึ่งโดยให้เหตุผลว่า

สาเหตุที่คุณพงษกรไม่ได้รับเซอร์วิซชาร์จ เนื่องจากคุณออกไม่ถูกต้อง คือถูกปลดออกจากตำแหน่งและตามกฏระเบียบของทางรีสอร์ทระบุไว้ว่า พนักงานที่ถูกปลดคืออกไม่ถูกต้องตามระเบียบ(ยื่นใบลาออกล่วงหน้า 15วัน)จะไม่ได้รับเซอร์วิสชาร์จในเดือนนั้น และเซอร์วิสชาร์จคือเงินพิเศษที่จะได้หรือไม่ได้ขึ้นอยู่กับกฎระเบียบของบริษัท ซึ่งพนักงานที่ออกไม่ถูกต้องจะไม่ได้รับเงินเซอร์วิสชาร์จ

ไม่ทราบว่าผมจะดำเนิการอย่างไรได้บ้างครับ

พงษกร

สวัสดีคะ อาจารย์

พอดีว่าดิฉันมีเรื่องจะปรึกษาอาจารย์คะ ดิฉันเข้างานมาวันที่17/5/53 ทดลองงาน 119 วันถ้านับจริง ๆ ครบ119 วันในวันที่ 13/9/53 แต่ในเอกสารระบุวันครบทดลองงานในวันที่ 17/9/53 แล้วผลปรากฏว่าเขาแจ้งดิฉันไม่ผ่านทดลองงานในวันที่ 16/9/53 แล้วเขาจะให้หนูเขียนใบลาออกคะโดยกำหนดในวันที่ 1/10/53 แล้วกรณีแบบนี้ดิฉันได้จะทำยังไงคะช่วยตอบหน่อยคะ จริง ๆ แล้วเมื่อรู้ผลแล้วดิฉันก็ไม่อยากจะทำงานต่อหรอกนะคะ

สวัสดีครับสอบถามครับทาง บ.เลิกจากผมโดยส่งผ่านไลน์กลุ่มขอให้มีผลวันที่7/4/65(คือวันที่ลาไปหาหมอ)แต่วันที่8/4/65ผมเข้าทำงานปรดติ แต่โดยกีดกัน และเตะออกจากไลน์กลุ่มช่วงบ่ายวันนั้นโดยให้เหตุผล3ข้อ1.ลาป่วยบ่อย(ทั้งที่ลาเดือนละ1-2ครั้ง) มีใบรับรองแพทย์2.เข้างานไม่ตรงเวลา8.30(อันนี้ยอมรับผิด)3.หยุดบ่อยในกรณีลากิจ จะมาทำชดเชยวันอาทิต(อันนี้ชี้แจงไปแล้วก่อนสมัครวว่าพึ่งผ่าตัดมาหมอนัดตรวจอาการทุกเดือนภายใน6เดือนต้องไปต่อเนื่องผมเข้างานวันที่26/10/64ทดลองงาน2เดือน(ในสัญญาจ้างระบุชัดเจน)จะสามารถฟ้องค่าชดเชย1เดือนที่ไม่แจ้งล่วงหน้าได้มั้ยครับ เพราะ บ.จ่าย ง/ดของเดือนเมษา มาแค่5วัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท