ชวนอ่าน Palindrome


สวัสดีครับ อาจารย์สุขุมาล

        ชวนอ่านเรื่อง พาลินโดรม (Palindrome) พาเพลิน ครับ



ความเห็น (3)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

แอมแปร์
เขียนเมื่อ

เอ่อ..เรื่องของเรื่องคือดิฉันไม่อยากให้ค้างอยู่ที่ คำว่า  ยังไม่มีคำตอบ น่ะค่ะ อาจารย์   วันก่อนไม่เห็นกล่องเครื่องมือ  จัดการคำถาม  เลยทำไม่ถูก

วันนี้เห็นมีครบแล้ว...เลยเข้ามาตั้งอกตั้งใจตอบให้ครบทุกคำถามเลยค่ะ



ความเห็น (3)

ขอบพระคุณค่ะอาจารย์  ดิฉันเข้าไปอ่านแล้วสนุกมากค่ะ  เข้าใจง่ายดีจนกระทั่งมาถึงตอนบวกเลข 

เริ่มคล้ายๆจะเข้าใจเลย  ...  :-)

ดิฉันไม่ได้เรียนเลขตั้งแต่ตอน ม.4 แล้วค่ะ  จากนั้นคณิตศาสตร์กับดิฉันก็อยู่กันคนละโลก  จนกระทั่งได้มีเงินเดือนเป็นของตนเอง  เริ่มต้องจัดการรายรับรายจ่าย   และคำนวณอะไรต่อมิอะไรต่างๆในชีวิต  ถึงได้สำนึก  กว่าจะตรึกตรองได้ก็สายไปเสียแล้ว

เอ๊า....บ่นเฉยเลยค่ะ........

ตอนนี้ดิฉันต้องจัดรายการวิทยุของมหาวิทยาลัยอยู่เป็นช่วงๆค่ะ  เลยเรียนขออนุญาตอาจารย์เพื่อนำเกร็ดความรู้ที่น่าสนใจไปเล่าต่อเป็นระยะๆนะคะ  แถมประชาสัมพันธ์บล็อกอาจารย์ออกวิทยุอีกต่างหาก  ดิฉันอยากให้ลูกศิษย์ได้อ่านมากเลยค่ะ  (นอกเหนือจากการตามอ่านในคอลัมน์ที่อาจารย์เขียน)

สวัสดีครับ อาจารย์สุขุมาล

         พอดีเพิ่งเห็นอาจารย์ตอบประเด็นนี้ครับ เรื่องนำเกร็ดความรู้ต่างๆ ไปเล่าต่อนี่ยินดีเลยครับ และยิ่งถ้ามีการต่อยอด แตกแขนงออกไป ก็ยิ่งดีใหญ่

         ขอบคุณอาจารย์ที่ช่วยแนะนำ blog ให้ด้วยนะครับ ช่วงนี้ผมบันทึกน้อยลง และแวะเวียนไปอ่านบันทึกของเพื่อนๆ ในนี้มากขึ้น ก็รู้สึกว่าปฏิสัมพันธ์ของชุมชน GotoKnow นี่เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ นะครับ

         แต่อาจารย์เห็นเหมือนผมไหมครับว่า บางครั้งก็ emotional เอาเรื่องอยู่เหมือนกัน อย่างตอนที่ระบบดูเหมือนจะมีปัญหาถูก blocked เป็นต้น ครับ

 ดิฉันกำลังฝึกให้นักศึกษาได้  "หัดอ่าน" การสื่อสาร แบบที่มีการตั้งประเด็น  และมีการแสดงความคิดเห็นต่อๆกันไปค่ะอาจารย์ 

ลักษณะการสื่อสารเช่นนี้ ผู้สื่อสารจะ แสดงความคิด   และเหตุผล  ซึ่งมักจะเจือด้วยความคิดเห็นและบวกด้วยความรู้สึก   

เพราะ (ผู้สื่อสารรับรู้  และกำหนดไว้แล้วว่า) ช่องทางการสื่อสารนี้เป็นช่องทางสำหรับแสดงความคิดเห็น(และความรู้สึก)  

เท่าที่สังเกตและวิเคราะห์การสื่อสาร  ในเว็บบอร์ด หรือบล็อกทั่วไป     (มิได้หมายรวมถึง Gotoknow)  ดิฉันพบว่า ความเห็นก่อนหน้า มักจะมีอิทธิพลต่อความเห็นหลังๆ   และความเห็นหลังๆ  ก็มีแนวโน้มจะคล้อยตามต่อๆกันไป    จนกว่าจะมีความเห็นที่แตกต่างขึ้นมา  จากนั้นการจะคล้อยตาม   หรือเห็นแย้ง  ก็มีแนวโน้มว่าจะเริ่มคำนึงถึงความสมเหตุสมผลมากขึ้น 

คงเป็นเพราะเริ่มมีข้อมูลให้เปรียบเทียบมากขึ้น  มีการให้เหตุผลที่มีน้ำหนักมากน้อยต่างกันมากขึ้น  ทำให้เกิดการคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบ

เกิดการวิเคราะห์ ประเมินค่า และวินิจฉัยว่า เหตุผลใด "สมเหตุสมผล" ที่สุด 

จากนั้นจะเริ่มคล้อยตามกัน  หรือแย้งกันอย่างรอบคอบ  และระมัดระวังมากขึ้น 

แนวๆว่าจะเกิด emotional literacy กระมังคะ..... :)  

ดิฉันอยากให้เด็กๆนิเทศศาสตร์(ที่โรงเรียนดิฉัน)ได้เรียนวิชาจิตวิทยาการสื่อสาร และจิตวิทยาสังคมเหลือเกินค่ะ  จะได้ฝึก "การรู้เท่าทันการสื่อสาร" ได้ถนัดมือ  เพราะผู้รู้เท่าทันการสื่อสาร  จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง "รู้เท่าทันอารมณ์" ทั้งของตนเอง  ของผู้อื่น และของสังคม

คือดิฉันก็ขอตู่เอาว่า    " การรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง"   น่าจะใช้เป็นภาษาฝรั่งว่า emotional literacy ได้   

แบบฝึกหัดก่อนสอบปลายภาคเมื่อเทอมที่แล้วของเด็กเอกไทยสายครูนั้น  ดิฉันให้อ่านเว็บบอร์ดที่มีการสื่อสารแบบโต้แย้งกัน(อย่างเข้มข้น)    แล้ววิเคราะห์วิธีคิดของผู้สื่อสารทุกคนในหนึ่งกระทู้   จากนั้นก็ให้เด็กๆวิเคราะห์อารมณ์ของผู้สื่อสาร  และให้ฝึกแสดงความคิดเห็น 

ดิฉันคิดเอาเองว่า เด็กๆจะเกิด "ทักษะการรู้เท่าทันอารมณ์" หรือ emotional literacy  ของตนเอง จากการ"อ่าน" การสื่อสาร แบบ emotional   จากผู้ส่งสารหลายๆคน

เด็กๆน่าจะได้คำตอบด้วยตนเองว่า    เมื่อต้องสื่อสารในที่สาธารณะ เขาจะเลือกวิธีสื่อสารแบบใดจึงจะเหมาะ 

ดิฉันจะไม่ให้คำตอบสำเร็จรูป  เพราะขึ้นอยู่กับตัวเขา และปริบทการสื่อสารของเขา ณ ขณะนั้น 

อาจารย์พูดถึงประเด็นข้างต้น ทำให้ดิฉันนึกถึงเรื่องนี้     เลยเขียนเสียยืดยาวทีเดียวค่ะ .......

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท