การบริหารงานบุคคลภาคราชการไทย กับ รธน. 2550


สุขสรร อนุแก่นทราย
ขออนุญาตรบกวนถามท่านอาจารย์ ในเรื่องของ การบริหารงานบุคคลภาคราชการไทย ขอเรียนถามเพื่อเป็นความรู้ ประกอบกับจะนำความคิดเห็นจากอาจารย์ผู้เป็นผู้รู้ไปเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ในบทเรียนเกี่ยวกับ HRM ครับว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญ 2550 ต่อการบริหารงานบุคคลภาคราชการไทย เป็นอย่างไรครับ ลักษณะว่าดีหรือไม่ แตกต่างกันมั้ยครับ และก็สิ่งที่ส่งผลต่างๆ ขอความอนุเคราะห์ท่านอาจารย์นะครับผม ขอบขอบพระคุณมา ณ โอกาศนี้ด้วยครับ


ความเห็น (2)

ไม่มีความเห็น


คำตอบ (1)

อาจารย์ยม
เขียนเมื่อ

สวัสดีครับ ผู้ที่ถามคำถามมา และท่านผู้อ่านทุกท่าน

 

คำถามที่ถามมาเกี่ยวกับเรื่องของ การบริหารงานบุคคลภาคราชการไทย อยากทราบว่า ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญ 2550 ต่อการบริหารงานบุคคลภาคราชการไทย เป็นอย่างไร ดีหรือไม่ แตกต่างกันมั้ยครับ และก็สิ่งที่ส่งผลต่างๆ

เป็นคำถามที่ต้องอธิบายกันยาว เพราะเป็นคำถามที่กว้างมาก อย่างไรก็ตามเป็นคำถามที่ดี  ที่น่าจะจัดให้มีการเสวนา เป็นทางการด้วยซ้ำไป  แต่หากจะให้ตอบในบันทึกนี้ จะมีข้อจำกัด เรื่องเวลา และขอจำกัดด้านเทคนิค คำตอบที่ให้ในตอนท้ายนี้ จึงไม่ใช่คำตอบที่สมบูรณ์ อาจเป็นเพียงแค่ภาพรวมสั้นๆ ดังนี้

การบริหารงานบุคคลภาคราชการไทย ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากรัฐธรรมนูญ 2550 ต่อการบริหารงานบุคคลภาคราชการไทย เป็นอย่างไร

 

รัฐธรรมนูญ 2550 เน้นการกระจายอำนาจการบริหารราชการแผ่นดิน

  1. มุ่งเน้นจัดระบบงานราชการ และงานอย่างอื่นของรัฐ เพื่อให้การจัดทำและการให้บริการสาธารณะเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชน (ม. 78 น.22)
  2. ศาล องค์กรอิสระที่เกิดขึ้นภายใต้ รัฐธรรมนูญ 2550  องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น มีอิสระในการบริหารงานบุคคลฯ  (รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550, ม.135 น. 49, ม.217 น. 80, ม.222, น.82, ม.227, น.84, ม.235,น.87, ม.242 น.92, ม.251, น. 97, ม.254 น.98, ม.255, น 99, ม. 256 น.100, ม.258, น.101,ม.283 น.113, ม.287-288, น.115 -116)
  3. ในการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ให้มีองค์กรพิทักษ์ระบบคุณธรรมของข้าราชการ เพื่อสร้างระบบคุ้มครองคุณธรรม และจริยธรรมในการบริหารงานบุคคล ตามที่กฎหมายกำหนด (ม.287น.116)
  4. การโยกย้าย การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษข้าราชการและลูกจ้าง ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ (ม.288 น.116)
  5. เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นของผู้พิพากษาและตุลาการ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ทั้งนี้ จะนำระบบบัญชีเงินเดือนหรือเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการพลเรือนมาใช้บังคับมิได้(ม.202)

ผมนำเอา บางมาตรา ของกฎหมายรัฐธรรมนูญ มาเป็นตุ๊กตาอธิบาย

 



ความเห็น (2)

ติดตามได้ในบันทึกต่อไป

การบริหารงานภาครัฐในปีพ.ศ.2550แตกต่างจากเดิมอย่างไร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท